wbfish.gif (2301 bytes)

SacadeR.jpg (29139 bytes)

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอเสนอ รายการทีทรรศน์ท้องถิ่นในรูปบทความจากโทรทัศน์ ตอน "นักวิชาการเครื่องซักผ้า" โดยวิทยากร อ.ศรีศักร วัลลิโภดม, อ.ฉลาดชาย รมิตานนท์, อ.ชัยพันธุ์ ประภาสะวัต, คุณไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ, ดำเนินรายการโดย อ.ประมวล เพ็งจันทร์

ความรู้ของนักวิชาการเป็นสิ่งที่สังคมให้การยอมรับ ในเวลาเดียวกันนั้น นักวิชาการส่วนหนึ่ง ก็ได้เอาประโยชน์ที่สังคมให้ความไว้วางใจดังกล่าว ไปใช้กับผลประโยชน์ของตนเอง โดยการประพฤติปฏิบัติที่ออกมาในรูปของ ”นักวิชาการเครื่องซักผ้า”.
นักวิชาการเครื่องซักผ้า คือคนกลุ่มหนึ่ง ที่อยู่คราบของนักวิชาการที่คอยทำหน้าที่ฟอกโครงการขนาดใหญ่ หรือนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคม อันไม่น่าไว้วางใจให้สะอาด บริสุทธิ์ โดยเป็นที่น่าสงสัยต่อจริยธรรมทางวิชาการ.
ความจริงแล้ว ศาสตร์ทุกศาสตร์ วิชาการทุกสาขา ควรเป็นไปเพื่อชีวิตที่งดงามและชีวิตที่มีสุขของมนุษย์และธรรมชาติ มิใช่หรือ ?

สนใจโปรดคลิกไปอ่านได้ที่แบนเนอร์ midnight's article ในหัวข้อที่ 35

 

introduction

1.TV.Program

2.Questionnaire

3. Information

4. Article and Knowledge  

5. Discussion

6. Schedule

7. Member

8. History

9. Alternative School

10. answer & Letter

11. art & movie

12. Webboard

13. midnight's report

14. midnight's special

15. psychology

16.link

17. criticism

18. creativity

19.art link

HOME

WEBBOARD

reporter

 

Bmail1.jpg (10189 bytes)

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากท่านต้องการติดต่อมายังมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาส่งจดหมายของท่านมายังที่อยู่ข้างต้น หรือตามที่อยู่ใหม่นี้ [email protected] ที่ใดที่หนึ่งก็ได้ ซึ่งท่านสะดวกต่อการจำ ขอขอบคุณค่ะ

Bemail1.jpg (9665 bytes)

เรียนท่านอาจารย์นิธิและชาวมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

ดิฉันได้ทราบข่าวมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากหนังสือพิมพ์ และเพิ่งทราบว่ามีwebsite ดิฉันได้เข้าไปดูและสมัครเป็นสมาชิก รวมทั้งส่งข้อความมาร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยบ้างแล้ว เป็นwebsiteที่น่าดู เป็นมิตร และชวนให้ติดตามมากค่ะ

ดิฉันรู้สึกว่ามหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเป็นสิ่งที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในวงการศึกษาและการเรียนรู้ของสังคมไทย ดิฉันเชื่อว่ามันจะเติบโต แข็งแรง และขยายเครือข่ายออกไปได้อีกมากมาย หวังว่าชาวมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนคงจะไม่รังเกียจคนที่สังกัดอยู่ในมหาวิทยาลัยเที่ยงวันอย่างดิฉัน และwebsiteนี้จะเป็นวิถีทางที่จะทำให้เราได้เรียนรู้จากกันและกันได้สะดวกขึ้นค่ะ

ด้วยความนับถืออย่างสูง

ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล

answer1.jpg (12223 bytes)

หลังจากผ่านตา web site ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนแล้ว หากมีคำถาม หรือข้อสงสัย   รวมทั้งต้องการแสดงความคิดเห็นมายังทีมงานมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาส่ง E-mail ของท่านมายัง midnightuniv(at)yahoo.com (ในกรณีที่ต้องการติดต่อเป็นการส่วนตัว)

หรือหากต้องการแสดงความคิดเห็นกว้างๆ เพื่อเป็นสาธารณะประโยชน์ กรุณาใช้ webboard ในหัวข้อที่ 12 ทางด้านซ้ายมือ ซึ่งใช้เป็นกระดานข่าวสำหรับส่งข้อความ หรือตั้งประเด็นปัญหาให้ผู้สนใจทุกท่านที่เข้าไปดูได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น

ทีมงานมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : ตอบจดหมายสมาชิก นักศึกษา และผู้สนใจ

วันที่ 11 พฤษภาคม 2543

ได้รับ e-mail ฉบับหนึ่งแสดงความคิดเห็นมาเกี่ยวกับ home page ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนว่า ทำได้สวยงาม และชมภาพผลงานศิลปะประจำสัปดาห์ว่า เป็นผลงานที่น่าประทับใจ อยากให้เก็บเอาไว้นานๆ เพื่อเผื่อแผ่ให้คนมาทีหลังได้รับชมกัน นอกจากนี้ ยังรู้สึกว่า ภาษาอังกฤษที่ใช้ยังอ่านดูทะแม่งๆ ซึ่งก็จะรับนำไปแก้ไขต่อไป

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน. (ภาษาอังกฤษที่กล่าวถึงได้รับการแก้ไขแล้ว)

Banswer1.jpg (8437 bytes)

ข้อมูลบางส่วนซึ่งเป็นคำถาม ถามมาผ่าน webboard หรือ e-mail ของ midnight university ได้รับการตอบโดยชาวมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยหวังว่าคำถามและคำตอบเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้าง

    ตอบคำถามคุณดุษฎีพันธ์เรื่องประวัติศาสตร์มุขปาฐะ

ข้อความ กำลังเก็บข้อมูลในหัวข้อประวัติศาสตร์มุขปาฐะ โดยการสัมภาษณ์คนเฒ่าคนแก่ในจังหวัดลำปาง กำหนด ประเด็นต่าง ๆ ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ฯลฯ แต่พอไปสัมภาษณ์แล้วเกิดปัญหาคือ คนแก่จะจำอะไรไม่ค่อยได้ จะต้องนำคำสัมภาษณ์นั้นมาถอดเทป ซึ่งทำไปแล้วรู้สึกว่าตันค่ะ ไม่รู้จะถามอย่างไรให้ได้ข้อมูลมา และหากจะนำเสนอโดยการถอดเทปก็รู้สึกว่าคนอ่านคงอ่านยาก เนื่องจากไม่ได้แยกประเด็น และหากต้องนำมาแยกประเด็นเองก็ได้อย่างละนิดละหน่อย

ตอนนี้ก็จะแก้ปัญหาโดยการอ่านประวัติศาสตร์ที่เป็น fact แล้วจะนำข้อมูลที่สัมภาษณ์มาแล้ว
นำมาเขียนเป็นเรื่องโดยอิงกับประวัติศาสตร์จริง ๆ อาจารย์ หรือใครก็ได้ค่ะ มีข้อแนะนำดี ๆ ไหมคะ
ขอบคุณค่ะ โดย : ดุษฎีพันธุ์ - [ 13 มิ.ย. 2543 , 12:52:51 น. ]

เรียนคุณดุษฎีพันธุ์
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รับจดหมายจากอาจารย์ปริตตาเกี่ยวกับเรื่องที่คุณกำลังมีปัญหาอยู่ และคิดว่า
อาจารย์ปริตตาได้พูดถึงปัญหานี้เอาไว้ ซึ่งคงจะเป็นประโยชน์ต่อคุณ ดุษฎีพันธุ์ จึงขอนำจดหมายนั้น มาลงทั้งหมดดังนี้ ...
ข้อความ เรียนชาวมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน (ปริตตา)
ดิฉันอ่านพบปัญหาของคุณดุษฎีพันธุ์ เรื่องประวัติศาสตร์มุขปาฐะ และปัญหาของการสัมภาษณ์คนแก่
ที่จริงดิฉันไม่สามารถให้คำตอบได้มากนัก แต่ก็อยากจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพราะดิฉันคุยกับคนแก่อยู่บ้าง
คุณดุษฎีพันธุ์ไม่ได้ให้รายละเอียดมากนักว่ากำลังศึกษาอะไร หรือต้องการจะได้อะไรจากคำตอบของผู้สูงอายุ
แต่ก็ประสบปัญหาว่าคนแก่มักจะจำอะไรไม่ค่อยได้ ดิฉันคิดว่าเรื่องที่คน "ไม่อยากจำ" หรือ "ไม่จำ" หรือ
อาจจะจำได้แต่ไม่อยากเล่าไม่อยากพูดถึง ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก และบอกอะไรเราได้หลายอย่าง เกี่ยวกับประวัติศาสตร์
ดิฉันคุยกับคุณยายท่านหนึ่งอายุ ๘๐ กว่าแล้ว มาหลายครั้งมาประมาณ ๖ เดือน และพบว่า
คุณยายจะเล่าเฉพาะบางตอนของชีวิต และ เฉพาะเหตุการณ์บางอย่างในประวัติศาตร์ ดิฉันมีข้อสังเกตสองอย่าง อย่างแรกก็เป็นเรื่องธรรมดาว่า คนเราจำเหตุการณ์สำคัญที่เป็นเรื่องระทึกขวัญได้แม่นยำ อย่างคุณยายท่านนี้ก็จะจำ และเล่าเหตุการณ์เกี่ยวกับสงครามได้ดี และโดยเฉพาะที่มาเกี่ยวข้องกับท่านโดยตรง
เช่นเรื่องที่หนีระเบิดตอนสงครามจะมีรายละเอียดมาก เช่นหนีไปหลบระเบิดที่วัดไหน หลุมหลบภัยเป็นอย่างไร หนีไปต่างจังหวัดที่ไหน ฯลฯ ข้อสังเกตอย่างที่สองก็คือว่า คุณยายจะเล่าช่วงชีวิตที่ประสบความสำเร็จ ช่วงที่โด่งดัง มากกว่าช่วงที่ชีวิตเรียบๆไม่ค่อยมีอะไรมาก เพราะช่วงเวลานั้นสำคัญต่อการเป็นศิลปินของคุณยาย และดิฉันกำลังไปคุยกับท่านในฐานะทีท่านเป็นศิลปิน
ฉะนั้นดิฉันคิดว่าสิ่งที่น่าสนใจอาจจะไม่ใช่แต่เพียงเนื้อหาของความจำของคนแก่ แต่น่าจะเป็นการถามว่า คนแก่จำอะไร หรือไม่จำอะไร เพราะเหตุใด
ดิฉันไม่ทราบว่าคุณดุษฎีพันธุ์มีเวลาให้กับคนที่คุณจะคุยด้วยมากน้อยเพียงใด แต่ว่า บางอย่างที่เราคิดว่าเขาลืมไปแล้ว อาจจะเรียกกลับมาได้ถ้ามีบางสิ่งบางอย่างกระตุ้น เช่นภาพถ่ายเก่าๆ ทำนองเพลงเก่า บางทีก็ทำให้ได้เรื่องมามากเหมือนกัน
หวังว่าจะโชคดีค่ะ : ปริตตา  [14 มิ.ย. 2543 , 12:33:09 น.]
ข้อความ (อ.นิธิ ตอบ คุณ ดุษฎีพันธ์)
ผมคิดว่าส่วนใหญ่ของการใช้หลักฐานมุขปาฐะในประวัติศาสตร์ไทย
มักเป็นการหาหลักฐานอื่นมา”เสริม”ท้องเรื่องทางประวัติศาสตร์ซึ่งถูกสร้างสำเร็จรูปมาแล้วด้วยหลักฐานลายลักษณ์
ทำอย่างนี้ก็พอมีประโยชน์อยู่บ้าง แต่ผมคิดว่าไม่ค่อยคุ้มเหนื่อยนัก (อย่าลืมว่าการเก็บหลักฐานมุขปาฐะ
ก็อย่างที่อาจารย์ปริตตาส่อนัยะเอาไว้ ย่อมใช้เวลาและความพากเพียรมากทีเดียว)
หลักฐานมุขปาฐะกับหลักฐานลายลักษณ์ก็เหมือนกัน กล่าวคือไม่เคยพูดเอง แต่จะพูดตามคำถาม…
แน่นอนหลายครั้งพูดไม่ค่อยออก เพราะเราไม่ตั้งคำถามที่หลักฐานตอบไม่ค่อยได้
ฉะนั้นถ้ารู้ธรรมชาติของหลักฐานมุขปาฐะว่าอ่อนแอด้านใด (เช่นด้านความเที่ยงตรงในเรื่องวันเวลา,
รายละเอียดข้อเท็จจริง, เบื้องหลังเหตุการณ์ ฯลฯ) ก็อย่าตั้งคำถามประเภทนี้กับหลักฐานมุขปาฐะ
แต่หลักฐานมุขปาฐะก็มีความแข็งแกร่งบางอย่างที่ไม่มีในหลักฐานลายลักษณ์
เช่นเป็นความทรงจำของคนที่อยู่ในวัฒนธรรม, ปูมหลังทางการศึกษา, ชนชั้น, ตำแหน่งในโครงสร้างอำนาจ ฯลฯ ที่ไม่ได้ผลิตหลักฐานลายลักษณ์, หรือให้ความหมายแก่อุบัติการณ์ในประวัติศาสตร์อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งต่างจากในหลักฐานลายลักษณ์, หรือให้ข้อเท็จจริงที่หลักฐานลายลักษณ์ไม่เปิดเผย, หรือให้สีสันและข้อเท็จจริงเป็นตรงกันข้ามกับหลักฐานลายลักษณ์ ฯลฯ ฉะนั้นจากหลักฐานมุขปาฐะ เราจึงอาจอธิบายความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอดีตได้จากอีกมุมหนึ่ง… อาจเป็นตรงกันข้าม,
เสริมกัน, หรือสร้างดุลย์ กับคำอธิบายที่ได้จากหลักฐานลายลักษณ์ก็ได้

ฉะนั้นผมจึงคิดว่า คุณควรกลับไปทบทวนคำถามของคุณที่มีต่อหลักฐานมุขปาฐะใหม่
ทบทวนตั้งแต่คำถามการวิจัยได้เลยยิ่งดี คุณมีคำถามที่เหมาะสมจะถามกับหลักฐานมุขปาฐะหรือไม่?
โดย : นิธิ [14 มิ.ย. 2543 , 22:15:57 น.]

     ตอบคำถามคุณ Ace striker เรื่องเกี่ยวกับ"หมอลำผีฟ้า"

ข้อความ เนื่องด้วยตอนนี้ผมกำลังทำโปรเจคเพื่อจบการศึกษา เป็นรายการโทรทัศน์ ผมเลือกที่จะทำสารคดีเกี่ยวกับ"หมอลำผีฟ้า"ครับ ข้อมูลที่ผมหามาได้มักจะมาจากการวิจัยของ นักศึกษาปริญญาโทกับรายงานทางการแพทย์เป็นส่วนใหญ่ ข้อมูลส่วนหนึ่ง หรือจะเรียกว่าเกือบทั้งหมดก็ได้สรุปตามแบบคนเมืองมองชนบทว่า"นี่คือผลจากความล้าหลังทางสังคม ทำให้คนเหล่านั้นยังต้องพึ่งวิธีการดังกล่าวในการรักษาตัว" ผมรู้สึกว่าข้อมูลดูจะขาดความเป็นกลางและมองในทางลบมากเกินไป เลยอยากขอความเห็นจากอาจารย์ด้วยครับว่า อาจารย์มีความเห็นกับการรักษาด้วยหมอลำผีฟ้าอย่างไร และอาจารย์มองความต่างของ"ศรัทธาที่นำไปความสงบสุขทางสังคม"กับ"ความงมงาย ที่นำไปสู่ความเสื่อม"ต่างกันตรงไหน อย่างไรครับผม   ขอบคุณล่วงหน้าเลยนะครับ 

โดย : Ace striker [ 31 พ.ค. 2543 , 15:39:50 น. ]

ข้อความ (นิธิ) ผมคิดว่า การรำผีฟ้าเป็นการรักษาความเจ็บไข้ในอีกวัฒนธรรมหนึ่ง ถ้าไม่เริ่มต้นตรงนี้ให้ชัด เราก็จะพยายามเอาบรรทัดฐานของการรักษาความเจ็บไข้ของอีกวัฒนธรรมหนึ่งไปอธิบายและประเมินการรำผีฟ้า ซึ่งทำให้ไม่เข้าใจอะไรเลย เช่นเอาการรักษาของวัฒนธรรมการแพทย์แผนฝรั่งไปอธิบายเป็นต้น ผมคิดว่าจำเป็นต้องเริ่มที่คำถามพื้นฐานเลยว่า อะไรคือความเจ็บไข้ในวัฒนธรรมเดิมของอีสาน? ในวัฒนธรรมการแพทย์แผนฝรั่ง ความเจ็บไข้ทั้งหลายคือการผิดปรกติของปัจจัยทาง bio-medicine แต่ของอีสานไม่ใช่ ความเจ็บไข้คือความ”ไม่สบาย” ทั้งทางร่างกาย, จิตใจ และสังคม สมุฏฐานของความเจ็บไข้ก็กว้างกว่า bio-medicine มีตั้งแต่ฤดูกาลไปจนถึงชะตา การเปลี่ยนผ่านของช่วงชีวิต การผิดผี ฯลฯ และโรค เป็นต้น 

กระบวนการรักษาก็ไม่จำกัดเฉพาะแพทย์และคนไข้ แต่รวมไปถึงการปรับความสัมพันธ์, อาหาร, พฤติกรรมทั้งของคนไข้และคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโยงไยถึงคนไข้ด้วย จึงไม่มีประโยชน์ที่เอามาตรฐานของวัฒนธรรมหนึ่งไปตัดสินมาตรฐานของอีกวัฒนธรรมหนึ่งว่า งมงายหรือไร้การศึกษาหรือไร้เหตุผล ฯลฯ เพราะไม่ช่วยให้เข้าใจอะไรมากขึ้นสักอย่าง  

โดย : นิธิ [1 มิ.ย. 2543 , 21:30:12 น.]

ข้อความ (Anthro apologia)

ด้วยสติปัญญาอันต่ำต้อยของผม   แนวคิดแบบของอ.นิธิ โดยส่วนตัวแล้วเคยเห็นด้วย แต่ตอนนี้ผมชักไม่ค่อยแน่ใจแล้วว่า   การมองวัฒนธรรมแบบนี้ ออกจะเหมือนกับนักมนุษยวิทยาคนหนึ่งของฝรั่ง คือ ฟรานซ์ โบแอส เจ้าของสำนัก สัมพัทธ์นิยมทางวัฒนธรรม ซึ่งประเด็นอยู่ที่ว่า ในปัจจุบันนี้ โลกมีความซับซ้อนอย่างมาก การดำรงค์อยู่ในโลกใบนี้ ต้องมีการปฏิสัมพันธ์ และเกี่ยวข้องกับผู้คน แนวคิด ทรรศนะคติ แบบใหม่มากมาย ผมคิดว่า ที่อาจารย์บอกว่า ไม่มีประโยชน์ที่เอามาตรฐานของวัฒนธรรมหนึ่งไปตัดสินวัฒนธรรมอื่น อย่างที่บอกโดยส่วนตัวผมเห็นด้วย แต่เอาเข้าจริงแล้ว เหตุการณ์แบบนี้ การกระทำแบบนี้ ดำรงอยู่และมีมากมายจนเราไม่สามารถปฏิเสธมันได้ ประเด็นของผมคือ เมื่อมันเป็นแบบนี้ เราจะเอายังไง ยกตัวอย่างเช่น การกลับมาของดอนปู่ตา ก้เกิดมาจากการการฟื้นโดย นักวิชาการ ไม่ใช่ชาวบ้านเอง หรือจะเป็นการฟื้นคืนของ ยาพื้นบ้าน ภายใต้การประทับตรา approve จากวิทยาศาสตร์แล้วในรูปของสามารถอธิบายสรรพคุณและมีความสอดคล้องเข้ากันได้กับวิทยาศาสตร์ ที่ผมต้องการจะพูดคือ เราจะทำอย่างไรกับพลังที่มีอยู่จริงนี้ พลังของการตัดสินทำตัวเป็นมาตรวัดของวัฒนธรรมหนึ่งที่มีต่อวัฒนธรรมอื่นๆ สุดท้ายแล้วมันเป็นเรื่องการเมือง ในการแย่งชิงพื้นที่เพื่อการครอบงำรึเปล่า ผมอาจจะมองโลกในแง่ร้ายเกินไป โดย : Anthro apologia - [7 มิ.ย. 2543 , 23:55:02 น.]

ข้อความ (ปริตตา) สำหรับท่านที่ถามเรื่องผีฟ้า ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรได้ทำวีดีโอ เรื่อง พิธีลงข่วงผีฟ้า ไว้ ไม่ทราบว่าได้ดูหรือยัง วีดิโอชุดนี้ทำโดยคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ และอาจารย์ปรานี วงษ์เทศ ถ่ายทำจากพิธีที่ตำบลโนนสูง อำเภอยางตลาดจังหวัดกาฬสินธุ์ วีดิโอเรื่องนี้เสนอทัศนะที่แตกต่างจากการมองแบบยัฒนธรรมล้าหลังอย่างแน่นอน คือเสนอว่าพิธีกรรมเป็นการจินตนาการสภาพสังคมที่มีความรื่นรมย์สมบูรณ์ ผิดกับความเป็นจริงที่เต็มไปด้วยความทุกข์ยากลำเค็ญ สำหรับประเด็นสัมพัทธนิยมทางวัฒนธรรมนั้น ดิฉันคิดว่าคุณประโยชน์ของความคิดนี้ คือการเตือนไม่ให้ทึกทักเอาง่ายๆ

ตามที่เราคิดว่า "เป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป" เพราะสิ่งที่เราคิดว่ารู้หรือเชื่อว่าจริงนั้น เป็นสิ่งที่สมุมติกันภายในสังคมหรือกลุ่มคนหนึ่งๆ การคิดแบบนี้ จะเท่ากับกลายเป็นการนิ่งดูดาย ให้ผู้ที่มีอำนาจมากกว่า กดขี่รังแกผู้ที่อ่อนกำลังกว่าตลอดไปหรือ ดิฉันคิดว่าไม่จำเป็น ดิฉันเชื่อในพลังของคนตัวเล็กๆค่ะ และคิดว่าคุณAnthro apologiaก็คงเชื่อเช่นเดียวกัน ไม่เช่นนั้นเราคงไม่มาเป็นสมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนใช่ไหมคะ?

โดย : ปริตตา [13 มิ.ย. 2543 , 14:44:32 น.]

 

Egype1.jpg (23243 bytes)

ขอขอบคุณในความสนใจของท่านที่ติดต่อหรือส่งข้อความมายังมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน. ข้อคิดเห็น คำถาม หรือความรู้ใดๆ ที่ท่านส่งมา จะได้รับการพิจารณาและเอาใจใส่อย่างดียิ่ง / มหาวิทยาลัย. เที่ยงคืน (ขอแนะนำ e-mail ใหม่ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน [email protected] เนื่องจาก inbox ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเดิมใกล้จะเต็ม จึงใคร่เรียนสมาชิกส่ง mail ของท่านมายังที่อยู่ใหม่นี้ด้วยค่ะ (กรณีจดหมายที่ต้องการติดต่อโดยตรง)

ส่งข้อความถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน :
Post a Message to Midnight university:

ท่านผู้สนใจแสดงความคิดเห็น หรือส่งข้อความใดๆ ด่วน! ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โปรดใช้ช่อง Post a Message on My Message Board ข้างล่างนี้ / วิธีการคือ คลิกที่คำว่า click here  

Post a Message in My Message Board!

Post a Message in My Message Board!

จากนั้น ช่องที่จะใช้ส่งข้อความจะปรากฎขึ้น ดังตัวอย่างข้างล่างนี้

messageboard.jpg (26327 bytes)

เมื่อเห็นข้อความนี้แล้ว ให้คลิกตรงที่ Post ภาพข้างล่างนี้จะปรากฎขึ้นมาให้เราเขียนข้อความแล้วส่ง

messageboard2.jpg (17939 bytes)

ให้ใส่ชื่อ และ e-mail address (ถ้ามี) รวมทั้งหัวข้อเรื่อง(message subject) จากนั้นให้พิมพ์ข้อความที่จะส่ง ลงในช่องว่างที่กำหนด. สุดท้ายให้คลิกตรงที่ Post Message ข้อความก็จะส่งถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนทันที

HOST@THAIIS