wbfish.gif (2301 bytes)

SacadeR.jpg (29139 bytes)

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอเสนอ รายการทีทรรศน์ท้องถิ่นในรูปบทความจากโทรทัศน์ ตอน "นักวิชาการเครื่องซักผ้า" โดยวิทยากร อ.ศรีศักร วัลลิโภดม, อ.ฉลาดชาย รมิตานนท์, อ.ชัยพันธุ์ ประภาสะวัต, คุณไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ, ดำเนินรายการโดย อ.ประมวล เพ็งจันทร์

ความรู้ของนักวิชาการเป็นสิ่งที่สังคมให้การยอมรับ ในเวลาเดียวกันนั้น นักวิชาการส่วนหนึ่ง ก็ได้เอาประโยชน์ที่สังคมให้ความไว้วางใจดังกล่าว ไปใช้กับผลประโยชน์ของตนเอง โดยการประพฤติปฏิบัติที่ออกมาในรูปของ ”นักวิชาการเครื่องซักผ้า”.
นักวิชาการเครื่องซักผ้า คือคนกลุ่มหนึ่ง ที่อยู่คราบของนักวิชาการที่คอยทำหน้าที่ฟอกโครงการขนาดใหญ่ หรือนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคม อันไม่น่าไว้วางใจให้สะอาด บริสุทธิ์ โดยเป็นที่น่าสงสัยต่อจริยธรรมทางวิชาการ.
ความจริงแล้ว ศาสตร์ทุกศาสตร์ วิชาการทุกสาขา ควรเป็นไปเพื่อชีวิตที่งดงามและชีวิตที่มีสุขของมนุษย์และธรรมชาติ มิใช่หรือ ?

สนใจโปรดคลิกไปอ่านได้ที่แบนเนอร์ midnight's article ในหัวข้อที่ 35

 

introduction

1.TV.Program

2.Questionnaire

3. Information

4. Article and Knowledge  

5. Discussion

6. Schedule

7. Member

8. History

9. Alternative School

10. answer & Letter

11. art & movie

12. Webboard

13. midnight's report

14. midnight's special

15. psychology

16.link

17. criticism

18. creativity

19.art link

HOME

WEBBOARD

reporter

 

reportlogo.jpg (9273 bytes)

ข่าวด่วน ข่าวร้อน ที่ที่สังคมสนใจ และต้องการทราบข้อมูลเบื้องลึกของฝ่ายที่ถูกเอารัดเอาเปรียบในสังคม   มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนพร้อมรายงานให้ทราบทุกแง่มุม พร้อมทั้งเสนอทัศนะของตนเองต่อข่าวชิ้นนั้นๆอย่างตรงไปตรงมา รายงานมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เป็นของประชาชน เพื่อประชาชน และเพื่อความเป็นธรรมและสันติของสังคม

BenvironR.jpg (17284 bytes)

กลุ่มอนุรักษ์เมืองกาญจนฯ ได้จัดให้มีการเสวนาและอภิปรายในวันสิ่งแวดล้อมโลก เมื่อวันที่ 3-5 มิถุนายน 2543 ที่ผ่านมา ณ ศาลาอเนกประสงค์"60 พรรษามหาราช" กิจกรรมครั้งนี้ได้เชิญมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเข้าร่วมงานด้วย โดยทีมงานมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ได้เดินทางจากจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่เวลา 12.00 น ของวันที่ 3 ไปยังจังหวัดกาญจนบุรี และศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้เข้าร่วมในการอภิปรายด้วย ในหัวข้อ "สู่อนาคตการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม : ข้อเสนอเพื่อไม่ต้องให้มีบทเรียนในอนาคต". นักศึกษา, สมาชิก และ ผู้สนใจทุกท่าน หากต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลเรื่องนี้ โปรดคลิกที่นี่ click here

Bpakmoon1.jpg (15246 bytes)

เพราะทุกวันนี้เขื่อนปากมูลได้ดึงดูดพลังชีวิตของสายน้ำที่ชื่อแม่มูลไป แปรเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้าเสียแล้ว เมื่อสายน้ำไม่ไหลก็เท่ากับว่าสายน้ำตาย เมื่อสายน้ำตายปลาที่อยู่ในน้ำก็ตาย เมื่อปลาตายชีวิตผู้คนสองฝั่งน้ำจะอยู่ได้อย่างไร   (อ่านรายละเอียด โปรดคลิกที่นี่ click here)

dams2.jpg (7264 bytes)

การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ไม่มีอำนาจที่จะเปิดเขื่อนราคา 6600 ล้านบาท นักการเมืองเป็นผู้มีอำนาจ แต่กลับไม่ตัดสินใจในเรื่องนี้ ด้วยการปัดความรับผิดชอบโดยโยนอำนาจดังกล่าวกลับไปยังการไฟฟ้าฯ จึงทำให้เกิดสูญญากาศของการตัดสินใจขึ้นมา เรื่องนี้จะทำให้พวกเราตีกันตาย และจะก่อให้เกิดเกิดความรุนแรงทางสังคมตามมา

นิธิ เอียวศรีวงศ์

เมื่อวันที่ 19 พค.43 เวลา 11.20 น. ที่ศูนย์สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์, ร่วมกับเครือข่าย 32 องค์กรภาคเหนือ สมัชชานักวิชาการเพื่อคนจน ตัวแทนนักศึกษาพรรคยุวธิปัตย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และตัวแทนเกษตรกรภาคเหนือ ได้ร่วมกันแถลงข่าวกรณีเกี่ยวกับกลุ่มสมัชชาคนจน บ้านแม่มูนมั่นยืน ได้พากันขึ้นไปบนสันเขื่อนปากมูล เพื่อเรียกร้องให้ทางรัฐบาลเปิดประตูน้ำให้ปลาเข้ามาวางไข่ เหตุการณ์ครั้งนี้ได้ทำให้เกิดการเผชิญหน้ากันขึ้น และมีทีท่าว่าจะมีการใช้ความรุนแรงเข้าแก้ปัญหาเพื่อสลายการชุมนุมของชาวบ้านและคนจน ดังนั้น คณาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับองค์กรเครือข่ายฯภาคเหนือ และตัวแทนนักศึกษา ประชาชน จึงออกแถลงการณ์เพื่อเสนอทางออกในทางสันติวิธีดังนี้

แถลงการณ์เครือข่าย 32 องค์กรภาคเหนือ และสมัชชานักวิชาการเพื่อคนจน ฉบับที่ 3

สืบเนื่องจากสถานการณ์การชุมนุมของสมัชชาคนจนที่เขื่อนปากมูลขณะนี้ ส่อไปในทางที่จะเกิดความรุนแรงโดยไม่จำเป็น เครือข่าย 32 องค์กรภาคเหนือ จึงใคร่เสนอทางเลือกในทางสันติวิธี และเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมดังนี้

1. เป็นที่ชัดเจนว่า การชุมนุมของประชาชนครั้งนี้ จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆต่อสมบัติของส่วนรวม ดังที่สมัชชาคนจนได้ยืนยันในเรื่องนี้หลายครั้ง และสืบเนื่องมาจนถึงบัดนี้ ก็ยังไม่มีข่าวว่าผู้ชุมนุมจะทำอันตรายแต่อย่างใดต่อสมบัติส่วนรวม ฉะนั้น รัฐบาล และ กฟผ. จึงควรยุติการกดดันในทุกๆรูปแบบลงเสีย โดยเฉพาะการใช้สื่อของรัฐเพียงด้านเดียวในการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารในเรื่องนี้ การปกปิดความผิดพลาดของเขื่อนปากมูล และการจัดฝูงชนออกมาเผชิญหน้ากับผู้ชุมนุม

บรรยากาศที่เงียบสงบขึ้น จะเป็นหนทางนำไปสู่การเจรจา และยุติความขัดแย้งกันได้โดยสันติวิธีและเป็นธรรม

2. นายกรัฐมนตรีได้ให้สัมภาษณ์ว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนี้เป็นภาระหน้าที่ของ กฟผ. เป็นผู้ตัดสินใจว่าจะเปิดเขื่อนหรือไม่ ในขณะเดียวกันก็ปัดภาระรับผิดชอบเกี่ยวกับการชุมนุมให้ทางจังหวัดเป็นผู้จัดการ โดยไม่มีแนวนโยบายอย่างใดให้หน่วยงานดังกล่าวใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ เครือข่าย 32 องค์กรภาคเหนือเห็นว่า การปัดความรับผิดชอบเช่นนี้ของฝ่ายบริหาร จะยิ่งเป็นผลให้เกิดความรุนแรงในสังคมมากขึ้น เหมือนสร้างสูญญากาศของการตัดสินใจขั้นสุดท้ายและการบริหารบ้านเมืองให้เกิดขึ้น โดยขาดความรับผิดชอบ

3. ในสถานการณ์เช่นนี้ ทางออกที่จะให้เกิดความสงบเรียบร้อยและเป็นธรรมได้ดีที่สุด ก็คือ การนำเอารายงานการศึกษาของคณะกรรมการเขื่อนโลกนำมาประกอบการตัดสินใจ คณะกรรมการชุดนี้เป็นคณะกรรมการอิสระ ตั้งขึ้นโดยธนาคารโลกและองค์กรที่มีชื่อเสียงทั่วโลก 56 องค์กร จาก 34 ประเทศ เขื่อนปากมูลเป็นเขื่อนหนึ่งในสิบของเขื่อนทั่วโลก ที่คณะกรรมการเลือกหยิบขึ้นมาศึกษาโดยเจาะลึก และรัฐบาลก็ได้ให้ความเห็นชอบต่อกระบวนการศึกษานี้ ในขณะที่ กฟผ. ก็ได้เข้าร่วมในกระบวนการนี้ด้วย

วิธีเช่นนี้จะสามารถระงับความขัดแย้งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการตั้งอนุญาโตตุลาการ เพราะรายงานการศึกษานี้มีข้อมูลและข้อเสนอแนะที่มีฐานอยู่บนการศึกษาที่ละเอียดรอบด้านอยู่แล้ว จึงจะช่วยให้การตัดสินใจของรัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและความเป็นธรรมได้ง่าย

เครือข่าย 32 องค์กรภาคเหนือ / สมัชชานักวิชาการเพื่อคนจน

19 พฤษภาคม 2543

dams-image.jpg (11309 bytes)

ต่อกรณีของแถลงการณ์ข้างต้นนี้ จะเห็นได้ชัดว่า แถลงการณ์ต้องการเรียกร้องให้ใช้วิธีการทางสันติวิธีเข้ามาแก้ปัญหา และเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีเข้ามารับผิดชอบ แทนที่จะลอยตัวอยู่เหนือปัญหา และขอให้นำเอารายงานการศึกษาของคณะกรรมการเขื่อนโลก ที่รัฐบาลไทยให้ความเห็นชอบต่อกระบวนการนี้แล้ว มาเป็นบรรทัดฐานในการตัดสิน เพื่อยุติปัญหาด้วยสันติวิธี

ประสิทธิภาพของเขื่อนปากมูลกับรูปธรรมที่เป็นจริง

เขื่อนปากมูลเมื่อแรกสร้างนั้น ได้รับอนุมัติจาก ครม.ให้สร้างในวงเงินกู้ประมาณ 2900 ล้านบาทเพื่อเป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าในช่วง peak หรือความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงในประเทศ (ราว 18.00-22.00 น.) การออกแบบขั้นต้น ต้องการให้เขื่อนแห่งนี้สามารถผลิตไฟฟ้ามารองรับได้ ราว 136 เมกกาวัตต์ แต่มาถึงปัจจุบัน เขื่อนปากมูลไม่มีประสิทธิภาพที่จะทำเช่นนั้นได้ อีกทั้งต้นทุนในการผลิตกระแสไฟฟ้ายังสูงมากด้วย จนไม่คุ้มทุน ดังรายละเอียดเป็นข้อๆต่อไปนี้

1. ต้นทุนวงเงินกู้เพื่อภารกิจการผลิตกระแสไฟฟ้าดังกล่าว ปัจจุบันได้กลายเป็นภาระต้นทุนของการผลิตกระแสไฟฟ้ารวมแล้วประมาณ 6600 ล้านบาท(เพิ่มขึ้นราว 70%) อันเนื่องมาจาก เมื่อแรกที่มีการกู้เงินมาสร้างเขื่อนนั้น อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินดอลล่าร์กับเงินบาทไทย ตกอยู่ราว 25 บาท แต่ปัจจุบันเพิ่มเป็นเกือบ 40 บาท ประกอบกับต้องจ่ายเงินเพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนสำหรับชาวบ้านที่อยู่ท้ายเขื่อนนับเป็นพันๆครอบครัว อันเนื่องมาจากการวางแผนและการศึกษาผลกระทบที่ไม่รัดกุม ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ต้นทุนการผลิตกระแสไฟฟ้าของเขื่อนปากมูลมีราคาแพงมาก จนไม่คุ้มที่จะทำการผลิต เมื่อเทียบกันกับการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง หรือถ่านหิน ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ดังรายงานการศึกษาของคณะกรรมการเขื่อนโลก

2. ในช่วงฤดูฝน เขื่อนปากมูลไม่สามารถที่จะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ตามที่ได้วางแผนเอาไว้ ทั้งนี้เนื่องมาจาก ปริมาณน้ำที่อยู่เหนือเขื่อนและท้ายเขื่อนมีปริมาณเท่ากัน จึงไม่มีแรงดันน้ำมากพอที่จะไปหมุนเครื่องจักรให้ทำการผลิตกระแสไฟฟ้าได้

3. จากการออกแบบทางวิศวกรรมการไฟฟ้าเมื่อแรกที่มีการสร้างเขื่อนปากมูลนั้น คำนวณกันว่า เขื่อนนี้จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 136 เมกกาวัตต์ แต่ปัจจุบัน เขื่อนแห่งนี้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้จริงเพียง 40 เมกกาวัตต์เท่านั้น ซ้ำร้ายในช่วงฤดูฝนยังไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เลย อันสืบเนื่องมาจากสาเหตุในข้อที่สอง

4. การที่อ้างว่า การสร้างเขื่อนปากมูลขึ้นมาแล้ว จะเป็นประโยชน์ต่อการชลประทานในพื้นที่น่าประมาณ 1 แสน 6 หมื่นไร่นั้น อันที่จริง ไม่มีไร่นาที่ไหนได้รับประโยชน์จากโครงการชลประทานของเขื่อนปากมูนเลย

5. กรณีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชีวิตธรรมชาติ เขื่อนปากมูลได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเกาะแก่งมากมายตามธรรมชาติกว่า 50 แก่งที่เป็นแหล่งอาศัยของพันธุ์ปลาหลายร้อยชนิดซึ่ง ต้องจมหายและสูญไปอันเนื่องมาจากปริมาณน้ำจำนวนมาก นอกจากนี้ เขื่อนยังทำหน้าที่เป็นกำแพงหรือปราการปิดกั้นพันธุ์ปลานับเป็นร้อยชนิดที่ไม่สามารถเข้ามาวางไข่ได้ กรณีนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของความไร้ประสิทธิภาพของเขื่อนอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากไม่ได้มีการวางแผนศึกษาและสำรวจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของเขื่อนให้ดีพอนั่นเอง

6. การสร้างเขื่อนปากมูล เป็นการวางแผนและสร้างขึ้นมาโดยไม่ได้ให้โอกาสกับชาวบ้านเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจใดๆ ซึ่งต่อกรณีนี้ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนที่ต้องอาศัยลุ่มน้ำมูนตลอดสายอย่างทั่วถึง อันนำมาซึ่งผลเสียในเรื่องของต้นทุนที่ลงไป ได้เพิ่มขึ้นมาโดยขาดความรอบคอบนี้ในรูปของการต้องหาเงินมาชดเชยต่อผลกระทบดังกล่าวกับชาวบ้าน ข้อนี้ถือว่าเป็นความไร้ประสิทธิภาพของการวางแผนและการมีส่วนร่วมในแง่ของการบริหารและการจัดการด้านเขื่อนกับสิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตชุมชนอย่างชัดเจน

กรณีชาวบ้านแม่มูนมั่นยืนกับเขื่อนปากมูลที่ไร้ประสิทธิภาพ

ต่อกรณีที่ชาวบ้านซึ่งเป็นประชาชนคนจน ออกมาเรียกร้องที่บนสันเขื่อนให้มีการเปิดประตูน้ำนั้น เป็นกรณีที่สมเหตุสมผลทีเดียวเมื่อมองดูในเชิงเปรียบเทียบกับการวิเคราะห์ถึงประสิทธิภาพของเขื่อนปากมูนไปแล้วข้างต้น กล่าวคือ ในฤดูฝนที่เขื่อนไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้อยู่แล้วนั้น( เพราะปริมาณน้ำต้นทุนกับน้ำนอกเขื่อนเสมอกัน) ย่อมเป็นการสมควรที่จะเปิดประตูน้ำเพื่อให้ปลาหลายร้อยชนิด ว่ายทวนน้ำขึ้นมาวางไข่ ทั้งนี้จะได้เป็นปัจจัยในการดำรงชีพของชาวบ้านในยามแล้งปีต่อปีของชาวบ้าน.

การที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตอ้างว่า เขื่อนปากมูลมีช่วงระยะเวลาในการเปิดปิดประตูน้ำอยู่แล้วในเดือน กันยายน-ตุลาคม. ต่อกรณีนี้ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ ณ ลุ่มน้ำมูนทราบดีว่า ช่วงเวลาดังกล่าว ไม่ใช่ฤดูที่ปลาจะว่ายขึ้นมาวางไข่ ดังนั้น การเปิดประตูน้ำในช่วงเดือนดังกล่าวจึงไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนจำนวนมากที่ต้องอาศัยการประมงเป็นการเลี้ยงชีพแต่อย่างใด

คุณชัยณรงค์ เศรษฐเชื้อกล่าวว่า ต่อการเรียกร้องให้มีการเปิดเขื่อนนั้น อันที่จริงแล้วไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด. เพราะในสหรัฐอเมริกาและในฝรั่งเศส การเปิดเขื่อนถือว่าเป็นเรื่องปกติ หรือแม้กระทั่งการระเบิดเขื่อนทิ้ง ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สมควรทำ หากว่าการทำลายเขื่อนจะเป็นการช่วยให้เกิดการฟื้นฟูลุ่มน้ำ หรือพันธุ์ปลาต่างๆ ให้อุดมสมบูรณ์ขึ้น และเหตุการณ์อย่างที่เรียกร้องให้มีการเปิดเขื่อนที่ปากมูนนี้ ปัจจุบันในประเทศออสเตรเลียก็กำลังเรียกร้องกันอยู่เช่นกัน

ความเห็นของตัวแทนนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กับกรณีชาวบ้านแม่มูนมั่นยืน ที่ขึ้นไปเรียกร้องให้มีการเปิดประตูเขื่อนดังที่กล่าวมาแล้ว ตัวแทนนักศึกษา มช. มีความเห็นด้วยกันสองข้อคือ

1. กรณีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงให้กับ กฟผ. เพียงฝ่ายเดียวนั้น นักศึกษาไม่เห็นด้วยกับการกระทำเช่นนี้ ทั้งนี้เพราะ สื่อควรทำหน้าที่ของตนโดยยึดหลักของความเป็นกลาง โทรทัศน์ช่อง 11 ควรทำหน้าที่ที่ธำรงความเป็นกลางจริงๆไม่ใช่เป็นกระบอกเสียงของทางราชการ ควรทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเสียงชาวบ้านที่สะท้อนถึงรัฐและผู้คนในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของราชการที่สื่อถึงประชาชนจึงจะถูกต้อง

2. ขอเรียกร้องให้นาย ศิวะ แสงมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ให้ใจเย็นๆ อย่าใช้วิธีการอันรุนแรงเหมือนกับกรณีผู้ว่าราชการ จังหวัดเชียงใหม่ กับเรื่องการชุมนุมของชาวเขาที่หน้าศาลากลาง จ. เชียงใหม่

ตัวแทนเกษตรกรภาคเหนือ กับกรณีชาวบ้านที่ไปรวมตัวกันบนสันเขื่อนปากมูล

ตัวแทนเกษตรกรภาคเหนือ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลชวนอย่าใช้วิธีการสลายม๊อบด้วยวิธีการอันรุนแรงดังที่เคยทำๆมาหลายๆครั้ง อย่างเช่น กรณี ชาวเขาที่มาชุมนุมกันหน้าศาลากลาง จ.เชียงใหม่ หรืออย่างกรณีการแก้ปัญหาเกษตรกรที่ จ.กำแพงเพชร เป็นต้น

กรณีชาวบ้านแม่มูนมั่นยืนที่ขึ้นไปบนสันเขื่อน เพื่อเรียกร้องให้ผู้มีอำนาจยอมเปิดประตูน้ำนั้น อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้ให้ความเห็นว่า "เรื่องนี้ก็น่าเห็นใจ กฟผ. ทั้งนี้เพราะ กฟผ. ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องการจะเปิดเขื่อนราคาเป็นพันๆล้านได้ ผู้มีอำนาจที่แท้จริงคือรัฐบาลและนักการเมือง แต่การที่ผู้นำรัฐบาลออกมาปัดความรับผิดชอบเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องของ กฟผ. และเรื่องการชุมนุมของชาวบ้านแม่มูนมั่นยืนเป็นเรื่องของของผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น ถือว่าเป็นการขาดความรับผิดชอบอย่างสิ้นเชิง ต่อประเด็นนี้ที่ไม่แสดงอำนาจการตัดสินใจใดๆออกมา มันจะทำให้พวกชาวบ้านตีกันตาย อันเนื่องมาจากต้องการปัดความ รับผิดชอบ"

นอกจากนี้ อ.นิธิ ยังเสริมว่า "กรณีเขื่อนปากมูล ดังที่พวกเราทราบกันดีว่ามีประสิทธิภาพมากแค่ไหน และต้องลงทุนไปมากน้อยเพียงใด สำหรับเรื่องนี้ การจะยังคงใช้เขื่อนปากมูนต่อไป นอกจากจะไม่คุ้มทุนแล้ว มันยังทำให้ทุนทรัพยากรของสังคมไทยต้องร่อยหรอลงไปมากยิ่งขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ พันธุ์ปลา วิถีชีวิตของชุมชน และวัฒนธรรม"

มีผู้ถามว่า การที่เขื่อนปากมูลต้องมีต้นทุนในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมากมายขนาดนี้ จะทำให้การไฟฟ้าขาดทุนหรือไม่ ? คำตอบของคุณไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ ต่อกรณีนี้ก็คือ ต้นทุนที่สูงขึ้นในการผลิตกระแสไฟฟ้าต่อหน่วยของเขื่อนปากมูล จะไม่ทำให้ กฟผ.ขาดทุนลงได้ ทั้งนี้เพราะ กฟผ. จะโยนภาระนี้ไปให้กับชนชั้นกลางในเมืองที่ใช้ไฟฟ้าจำนวนมากนั่นเอง ให้เป็นผู้ออกสตางค์ในรูปของการคำนวณค่าเอฟทีที่สูงขึ้น.

ดูดูแล้ว ต่อเรื่องราวที่เกิดขึ้นข้างต้น อุปมาอุปมัยแล้วก็ไม่ต่างไปจากเกมฟุตบอล ที่มีผู้เล่นอยู่สองฝ่ายคือ ทีมชาวบ้านแม่มูนมั่นยืน กับ ทีม กฟผ. กรรมการคือนายชวน แต่นายชวนไม่ได้ทำหน้าที่กรรมการที่เป็นกลาง ต้องการลอยตัวอยู่เหนือเกมดังกล่าว แล้วบอกให้ทีม กฟผ. แก้ปัญหาเอง เกมนี้จึงไม่มีกรรมการ และทุกๆเกมที่ผ่านมากรรมการก็ไม่ทำหน้าที่ที่ควรจะทำ คำถามก็คือว่า แล้วเราจะมีกรรมการอย่างนี้ไปทำไม ?

usaletter.jpg (15447 bytes)

จดหมายจากนักวิชาการไทยศึกษาส่งถึงนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี

๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๓

เรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย

ในนามของนักวิชาการไทยศึกษาพวกเราได้ร่างจดหมายฉบับนี้ ขึ้นเพื่อแสดงเจตนารมย์ต่อกรณีการชุมนุมของชาวบ้านที่เขื่อนปากมูล   พวกเรามีความเป็นห่วงอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ความขัดแย้งและคำข่มขู่ของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีว่า จะทำการสลายการชุมนุมของชาวบ้านในวันศุกร์นี ้พวกเราอยากจะขอให้ท่านสดับฟังคำเรียกร้องนี้และขอวิงวอนให้ท่านใช้มาตรการอันจะนำไปสู่การสร้างความเข้าใจกันซึ่งวางอยู่บนฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืนและส่งเสริมประชาธิปไตยแบบมีส่วมร่วมในสังคมไทย

ข้อเรียกร้องของชาวบ้านให้ทำการเปิดประตูน้ำของเขื่อนปากมูลนั้นมีเหตุผลอันควรจะรับไว้พิจารณาอย่างจริงจัง อันเนื่องจากทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนั้นไม่สามารถที่จะเสนอทางออกต่อปัญหาซึ่งเขื่อนปากมูลได้ก่อขึ้น ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนอย่างหนักหนาสาหัส จำนวนของปลาที่ชาวบ้านเคยได้ใช้หากินได้ลดจำนวนลง

การเปิดประตูเขื่อนนั้นย่อมเป็นการเปิดให้ปลาได้เดินทางไปวางไข่ที่ต้นน้ำและนำความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำกลับคืนมา ดังนั้น ข้อเรียกร้องนี้จึงมีความชอบธรรมและควรจะได้รับการพิจารณาอย่างยิ่ง หนทางที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาคือการเปิดการเจรจา ไม่ใช่การใช้กำลังปราบปราม

แม้ว่าท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีจะประกาศว่าชาวบ้านเองได้ก่อความรุนแรงขึ้นโดยการชุมนุมประท้วงที่สันเขื่อน คำอธิบายเช่นนี้ไม่เพียงพอต่อการเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องว่าวิถีชีวิตของชาวบ้านได้ถูกทำลายโดยกระบวนการที่ชาวบ้านเองมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือได้รับการปรึกษาหารือแต่อย่างใด

ในสถานการณ์เช่นนี้ ปฏิกิริยาของชาวบ้านนั้นจึงเป็นสิ่งที่เข้าใจได้และควรรับฟัง มิใช่ปราบปราม พวกเราอยากจะย้ำเตือนว่าวิธีการอันจะนำไปสู่การสร้างความเข้าใจกันที่ได้เสนอไปนั้น เป็นไปตามหลักแห่งรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้โครงการพัฒนาของรัฐนั้นจะต้องปรึกษาหารือกับชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างนั้นด้วย และกำหนดให้เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แห่งประชาชนไทย การสลายการชุมนุมโดยใช้กำลังนั้น รังแต่จะก่อให้เกิดความรู้สึกว่ารัฐบาลไทยนั้นยังคงใช้กำลังเป็นหนทางแห่งการแก้ไขความขัดแย้งซึ่งเป็นบทสรุปอันเลวร้ายที่มิพึงเกิดขึ้น

พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะพิจารณาข้อคิดเห็นนี้อันเป็นความเห็นร่วมของประชาชนที่อาศัยอยู่ทั้งในและนอกเขตประเทศไทย

ขอแสดงความนับถือ,

ดร. แคทเทอริน โบวี่, รองศาสตราจารย์ ประจำมหาวิทยาลัยวิสคอนซินเมดิสัน,

ประเทศสหรัฐอเมริกา(Katherine Bowie, Associate Professor, University of Wisconsin-Madison, USA)

ดร.จิม กลาสแมน, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำมหาวิทยาลัยซิราคูส, ประเทศสหรัฐอเมริกา

(Jim Glassman, Assistant Professor, Syracuse University, USA)

ดร.เควิน เฮวิสัน, ศาสตราจารย์และผู้อำนวยการเอเชียศึกษา ประจำมหาวิทยาลัยนิวอิงแลนด์,

ประเทศออสเตรเลีย(Kevin Hewison, Professor and Chair of Asian Studies, University of New England,

Australia)

ดร.ฟิลลิป เฮิร์ส, ผู้อำนวยการศูนย์ทรัพยากรลุ่มน้ำโขงแห่งออสเตรเลีย, ประเทศออสเตรเลีย

(Philip Hirsch, Director, Australia Mekong Resource Center, Australia)

ดร.ชาร์ล ไคยน์, ศาสตราจารย์ด้านการศึกษาระหว่างประเทศ ประจำมหาวิทยาลัยวอชิงตัน,

ประเทศสหรัฐอเมริกา (Charles Keyes, Henry Jackson Professor of International Studies, University of

Washington, USA)

ดร.คริส ลิทเทิลตัน, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำมหาวิทยาลัยแมคไควร์รี่,

ประเทศออสเตรเลีย (Chris Lyttleton, Assistant Professor, Macquarie University, Australia)

ดร.บรูส มิสซิ่งแฮม, ศูนย์การเปลี่ยนแปลงของสุขภาพ

ประจำมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย, ประเทศออสเตรเลีย (Bruce Missingham, Health

Transition Centre, Australian National University, Australia)

คริส ชเนทดอน, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำมหาวิทยาลัยดาร์ทเมาท์, ประเทศสหรัฐอเมริกา (Chris

Sneddon, Assistant Professor, Dartmouth College, USA)

ดร.เดวิด ชเตร็คฟัส, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำมหาวิทยาลัยวิสคอนซินเมดิสัน,

ประเทศสหรัฐอเมริกา(David Streckfuss, Assistant Professor, University of Wisconsin-Madison, USA)

ดร.ปีเตอร์ แวนเดอร์กีส, รองศาสตราจารย์ ประจำมหาวิทยาลัยยอร์ค, ประเทศแคนาดา

(Peter Vandergeest, Associate Professor, York University, Canada)

ดร.ธงชัย วินิจจะกูล, รองศาสตราจารย์ ประจำมหาวิทยาลัยวิสคอนซินเมดิสัน,

ประเทศสหรัฐอเมริกา (Thongchai Winichakul, Associate Professor, University of Wisconsin-Madison,

USA)

Bdams1.jpg (9890 bytes)

24 พฤษภาคม 2543 / เรื่อง การแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจน

เรียน วุฒิสมาชิก

สืบเนื่องจากการที่สมัชชาคนจนได้ตั้งหมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน 7 ข้างโรงไฟฟ้าเขื่อนปากมูล ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2543 เป็นต้นมา เพื่อเรียกร้องให้ รัฐบาลสั่งให้ กฟผ.เปิดประตูระบายน้ำเขื่อนให้ปลาขึ้นวางไข่ตามฤดูกาล แต่รัฐบาลก็ยังไม่มีท่าทีใดๆ ต่อการแก้ไขปัญหาตามข้อเรียกร้อง ในทางตรงกันข้ามกับพยายามสร้างกระแสปลุกให้ชาวบ้าน เกลียดชังเพื่อให้ลุกขึ้นมาต่อต้านกันเอง และในขณะเดียวกันการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้อ้างว่าจำเป็นต้องเข้าไปตรวจเช็ค เพื่อซ่อมบำรุงเครื่องภายในโรงไฟฟ้าฯ สมัชชาคนจนขอเสนอเงื่อนไขการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหา ดังต่อไปนี้

1.การเจรจาระหว่างสมัชชาคนจน (15 คน) ตัวแทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัด จะมีขึ้น ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2543 เวลา 10.00 น.เป็นต้นไป

2.สถานที่เจรจา หมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน 1 ริมสันเขื่อนปากมูล

3.สมัชชาคนจนขอเสนอเงื่อนไขที่จะอนุญาตให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯเข้าตรวจเช็คภายในอาคารโรงปั่นไฟดังต่อไปนี้

    3.1 รัฐบาลได้แต่งตั้งผู้มีอำนาจในการเจรจาแทนนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการ

    3.2 ได้มีการเจรจาเกิดขึ้นจริง โดยแสดงออกถึงความจริงใจ บริสุทธิ์ใจ ที่จะร่วมมือกันแก้ไขปัญหา อย่างสร้างสรรค์ สมัชชาคนจน ยืนยันจะยึดมั่นในแนวทางสันติวิธีในการเรียกร้องครั้งนี้จนถึงที่สุด โดยจะยอมรับความทุกข์ยากต่างๆ เช่น การจับกุมคุมขัง การข่มขู่คุกคาม การปราบปรามอย่างรุนแรง จะใช้ความรัก ความเมตตาและการให้อภัย จะยืนหยัดเพื่อพิสูจน์ความจริง เพราะเราถือว่า รัฐบาลและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯไม่ใช่ศัตรูของเรา เราเข้าใจดีว่านโยบายการพัฒนาและโครงสร้างทาง สังคม เศรษฐกิจคือตัวปัญหาที่แท้จริง

ขอแสดงความนับถือ

ตัวแทนสมัชชาคนจน หมู่บ้านแม่มูนมั่นยืน 1-7 (นายสมเกียรติ พ้นภัย) (นางสุดใจ มหาไชย) (นายบุญชู สาวิสา) (นางสมปอง เวียงจันทร์) (นายภักดี จันทะเจียด) (นายสันต์ มาบขุนทด)

ผู้สนใจเกี่ยวกับปัญหาเขื่อนปากมูน ต้องการแสดงความคิดเห็น โปรดกรุณาคลิกไปที่หัวข้อ 13 webboard ในประเด็น"เขื่อนปากมูน" มีข้อมูลอยู่ที่นั่นมากมายรอให้รายละเอียดอยู่

                    back to home                

                    back to information

 

 

 

 

 

 

 

HOST@THAIIS