H
home
His
Mid's history
ข้อคิด - ความเห็นเกี่ยวกับนิทรรศการของ Tate Britain ในหัวข้อ Exposed: The Victorian Nude

งานเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับศิลปะ ของ อ.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ขณะนี้กำลังศึกษา ในระดับปริญญาเอก อยู่ที่ The Bartlett School of Graduate Studies. Architecture History and Theory ณ University Colledge London

นอกจากจะได้รับความเพลิดเพลินใจการการได้เสพ ศิลปะที่ถูกคัดสรรมาร้อยเป็นเรื่องราวอย่างดีตามหัวข้อ Exposed: The Victorian Nude แล้วอย่างเต็มที พร้อมทั้งยังได้รับความรู้ และความเข้าใจต่อข้อความที่ศิลปินหลายๆ คน พยายามที่จะนำเสนอผ่านทาง วาทกรรมของร่างกายที่เปลือยเปล่า ไม่ว่าจะในแง่ สัญลักษณ์ทางเพศ (Sexual Symbolic) ความต้องการทางเพศ (Sexuality) ความฝันและจินตนาการทางเพศ (Sexual Fantasy) และรวมไปทั้งศีลธรรมจรรยา(Morality) อีกทั้งยังได้เรียนรู้อีกว่า ในสมัยยุควิกตอเรียน เป็นยุคที่ "ร่างกาย" (Body)ของมนุษย์ได้ถูกหยิบยก ขึ้นมาเป็นประเด็นในการถกเถียงกันในหลายๆ วงวิชาการ นอกจากวงการศิลปะที่ได้กล่าวถึงไปเบื้องต้นแล้ว
Quotation
04.12.44
release date
Contents P.
Member P
Webboard
ผลงานศิลปะของ Edward John Poynter (1836-1919) ชื่อภาพ Paul and Apollos 1872 เทคนิค Fresco on panel 61 x 61 Tate. Purchased 1918.
หากประสบปัญหา ภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลงมา จะแก้ปัญหาได้
บทความนี้ยาวประมาณ 6 หน้ากระดาษ ไม่รวมภาพผลงานศิลปะ
บริการการศึกษาทางไกลฟรี สำหรับนักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน จัดทำโดยคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : ประจำเดือน ธันวาคม ๒๕๔๔

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิกที่ปุ่ม member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ปุ่ม contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
(midnightuniv(at)yahoo.com)

และแล้ว วาทกรรมว่าด้วยเรื่อง ร่างกาย ก็ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึง
และตีความกันอีกครั้งหนึ่ง ในครั้งนี้เป็นนิทรรศการ ของ Tate Britain ในหัวข้อที่ว่า Exposed: The Victorian Nude (ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2001 - 27 มกราคม 2002) ตามจุดประสงค์หลักของการจัดงานนิทรรศการ Exposed: The Victorian Nude คือ การแสดงการเชื่อมโยง และความต่อเนื่องทางความคิด ทั้งในแง่ สุนทรียภาพ (Aesthetic), ศีลธรรม (Morality), ความฝันและจินตนาการทางเพศ (Sexuality and Desire) ในบริบทของร่างกาย ทั้งผู้ชาย และผู้หญิง โดยผ่านวิธีการแสดงงานตั้งแต่ ภาพเขียน ภาพวาดลายเส้น ประติมากรรม รวมทั้ง ภาพถ่าย และภาพยนตร์ และที่สำคัญ วาทกรรมว่าด้วยเรื่องร่างกาย ที่เกิดขึ้นในสมัยวิกตอเรียน บางส่วนยังคงมีการพูดถึงกันอยู่ และได้ถูกนำมาเชื่อมโยงถึงยุคสมัยปัจจุบัน

เนื้อหาในนิทรรศการถูกเลือกสรร และจัดแสดง ตามแนวความคิดของ Dr. Alison Smith, ซึ่งเป็นภัณฑารักษ์อาวุโส(Senior Curator) ของ Tate Britain ที่นำเสนอเรื่องราวของ
"ร่างกายและสุทรียศาสตร์ของความเปลือยเปล่า" (Nudity) ออกมาใน 6 หัวเรื่อง คือ
(1) The English Nude. (2) The Classical Nude. (3) The Private Nude. (4) The Artist's Studio. (5) Sensation! The Nude in High Art และ
(6) The Modern Nude.

R
related
1.1 Frederic Leighton (1830-1896) "The Fisherman and the Syren: from a ballad by Goethe c.1856-8" Bristol Museums and Art Gallery.
1.2 John Everett Millais (1829-1896), The Knight Errant 1870 Tate. Presented by Sir Henry Tate 1894.
2.1 Simeon Solomon (1840-1905), Love in Autumn, 1866 Private Collection.

(1) The English Nude, ในห้องที่ 1 เป็นการนำเสนอ ลักษณะความเปลือยเปล่าของร่างกาย ผ่านมุมมองและข้อคิด ทางศีลธรรมจรรยา และใช้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์และบทประพันธ์ต่างๆ ทางศาสนา (หรือที่เกี่ยวข้องกับศาสนา) มาเป็นเครื่องมือในการสร้างสรรผลงาน ส่วนในทางประติมากรรม ความงดงาม และบริสุทธิ์ ของสีขาวจากเนื้อหินอ่อน เป็นสิ่งสำคัญที่ประติมากรในยุคนี้นำมาใช้ แสดงถึงความบริสุทธิ์ และงดงามเทียบเคียงกับ ความบริสุทธิ์ และงดงามในสุนทรียภาพของเรือนร่างที่เปลีอยเปล่า

ผลงานเลือกสรรทางศิลปะ(Selected Work of Arts)
1.1 Frederic Leighton (1830-1896), "The Fisherman and the Syren: from a ballad by Goethe c.1856-8" Bristol Museums and Art Gallery.
1.2 John Everett Millais (1829-1896), The Knight Errant 1870 Tate. Presented by Sir Henry Tate 1894.
1.3 Joseph Pitts (fl. 1830-1870), Sir Calepine rescuing Serena 1852 Victoria & Albert Museum, London. (ไม่มีภาพประกอบ)

(2) The Classical Nude, ศิลปะในห้องที่ 2 ถูกนำเสนอออกมาในรูปแบบของการนำเอา แนวความคิดในยุค Classic Art ซึ่งลักษณะร่างกายและความเปลือยเปล่า เป็นการบอกเล่าเรื่องราวของความต้องการทางเพศ ทั้งของบุรุษและสตรีเพศอย่างชัดเจน นอกจากนั้น งานศิลปะในห้องนี้ยังแสดงให้เห็นถึง การเปลี่ยนแปลงทางกระบวนความคิด และวิธีการนำเสนอ ความบริสุทธิ์ และงดงาม โดยเฉพาะในบริบทของสตรีเพศ ซึ่งถูกนำเสนอผ่านร่างกายของบุรุษเพศ เป็นนัยที่ต้องการนำเสนอแนวความคิดทางเรื่อง Homosexuality (บริบทของการรักร่วมเพศ) ในท่ามกลางบริบทของ Heterosexuality (บริบทของการรักต่างเพศ)

ผลงานเลือกสรรทางศิลปะ(Selected Work of Arts)
2.1 Simeon Solomon (1840-1905), Love in Autumn, 1866 Private Collection.
2.2 Edward John Poynter (1836-1919), Paul and Apollos 1872 Tate. Purchased 1918.

(3) The Private Nude, บรรทัดฐานของศีลธรรมจรรยาในการนำเสนอ "สุนทรียศาสตร์ของร่างกาย" ของบรรดาศิลปิน ต่อสาธารณชนถูกแทรกแซง และถูกทำให้เปลี่ยนแปลง จากการว่าจ้างแบบส่วนตัวจากลูกค้า (Private Commissions) หรือพูดในอีกแง่หนึ่งคือ มีการนำเสนอ "สุนทรียศาสตร์ของร่างกายที่เปลือยเปล่า" ในแง่มุมที่ต่างออกไปอย่างเปิดเผย รวมไปถึงการพัฒนาขึ้นของเทคนิควิทยาการของภาพถ่าย ซึ่งทำให้ศิลปินสามารถนำเสนอ บทใหม่ๆ ของวาทกรรมว่าด้วยเรื่องร่างกายที่เปลือยเปล่า โดยเฉพาะการถ่ายภาพ เป็นการแสดงให้เห็นถึง ลักษณะของร่างกายแบบเหมือนจริง (realism) อย่างไรก็ตาม นอกจากความก้าวหน้าทางวิทยาการภาพถ่าย ที่เปิดโอกาสให้ศิลปินสร้างสรร ผลงานใหม่ๆ ในขณะเดียวกัน ภาพถ่ายยังได้สร้างข้อกำกวม กับปัญหาใหม่ๆ ต่อสังคม ในแง่ของการวัดคุณค่าทางศิลปะ เช่น การแบ่งแยกระหว่างศิลปะชั้นสูง กับศิลปะชั้นต่ำ(High-Low Art), ภาพถ่าย และภาพโป๊(Photography and Pornography)

ผลงานเลือกสรรทางศิลปะ(Selected Work of Arts)
3.1 Annie Swynnerton (nee Robinson, 1844-1933), Cupid and Psyche 1891 Oldham Art Gallery & Museum, UK.
3.2 John Watson (active c.1853-1863), Academic Study 1855 Victoria & Albert Museum, London.

(4) The Artist's Studio, วาทกรรมของร่างกายและความเปลือยเปล่าถูกนำเสนอจาก วิธีการสร้างสรรงานของศิลปิน จากการที่ขั้นตอนของ ศิลปินแต่ละคนที่ได้ศึกษา หาความรู้ จากการทดลอง วาดเส้น ปั้นในเบื้องต้น นั้นเป็นนัย ที่ต้องการนำเสนอถึง "ความสมบูรณ์" ที่สุดของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านความงาม และ เทคนิควิธีการ ภาพเขียนที่สำคัญในห้องนี้ที่สื่อถึงเรื่องราวของหัวข้อในห้องแสดงงานหมายเลข 4 ได้อย่างสมบูรณ์ คือ Ernest Normand, Pyamalion and Galatea 1886, Atkinson Art Gallery, Southport. เป็นภาพที่นำเสนอความสัมพันธ์ ของประติมากร (Pyamalion) กับความลุ่มหลงในความงาม ที่สมบูรณ์ในงานปั้นของเขา (Galatea) ภาพนี้ยังมีนัยยะที่แสดงให้เห็นถึง ความลุ่มหลงทางเพศ ความฝันและจินตนาการทางเพศ และรวมไปถึง ความต้องการในการควบคุม และครอบครองโดยเฉพาะบุรุษเพศ ที่มีต่อสตรีเพศ

ผลงานเลือกสรรทางศิลปะ(Selected Work of Arts)
4.1 Frederic Leighton (1830-1896), Figure and Studies c.1882 Royal Borough of Kensington & Chelsea, Leighton House Museum.
4.2 Ernest Normand (1857-1923), Pygmalion and Galatea 1886 Atkinson Art Gallery, Southport Arts & Cultural Services, Sefton M.B.C.

(5) Sensation! The Nude in High Art, เนื้อหาของศิลปะที่ถูกนำเสนอในห้องนี้ เป็นอีกครั้งที่พูดถึงการเปลี่ยนแปลง และการพยายามหนีจากกฎเกณฑ์ ของการควบคุมของ ระบบศีลธรรมจรรยา และการควบคุมของสังคม ที่มีขึ้นในช่วงปลายสมัยวิกตอเรียน จุดที่สำคัญในการแสดงงาน คือการเพิ่มขึ้นอย่างมากของการคุกคาม และการเอารัดเอาเปรียบ ในความงามของวัยเด็ก วัยรุ่น และภาพของผู้หญิง ที่ศิลปะและสุนทรียศาสตร์ของความ เปลือยเปล่า ถูกนำมาโจมตีว่าเป็น สิ่งที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มขึ้นของอาชญากรรมที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในยุค 1885 และมีผลกระทบมายังปัจจุบัน

ผลงานเลือกสรรทางศิลปะ(Selected Work of Arts)
5.1 Herbert Draper (1863-1920), The Lament for Icarus 1898 Tate. Presented by the Trustees of the Chantrey Bequest 1898.
5.2 Anna Lea Merritt (1844-1930), Love Locked Out 1889 Tate. Presented by the Trustees of the Chantrey Bequest 1890.

(6) The Modern Nude, กระบวนความคิดที่มีต่อสุนทรียศาสตร์ของร่างกายที่เปลือยเปล่า ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในรอยต่อของศตวรรษที่ 19 ไปสู่ศตวรรษที่ 20 ความงามที่เกิดขึ้นศิลปินต้องการนำเสนอ ความเหมือนจริงมากยิ่งขึ้น โดยไม่พยายามกำหนดท่าทางการนั่ง การยืน แต่พยายามจะนำเสนอภาพของร่างกาย ที่อยู่ในบริบท "ตามธรรมชาติ" มากที่สุด (Naturalism) โดยเฉพาะการเขียนภาพร่างกายและกิจกรรมกลางแจ้ง (Modern Outdoor Setting) ซึ่งนอกจากจะนำเสนอความงามตามธรรมชาติแล้ว ยังเป็นนัยยะที่นำเสนอถึง ความมีสุขภาพที่ดีที่ใช้ร่างกายเป็นลื่ออีกด้วย

ผลงานเลือกสรรทางศิลปะ(Selected Work of Arts)
6.1 Theodore Roussel (1847-1926), The Reading Girl 1886-1887 Tate. Presented by Mrs Walter Herriot in memory of the artist 1927.
6.2 Henry Scott Tuke, August Blue 1893-1894 Tate. Present by the Trustees of the Chantrey Bequest 1894.

นอกจากจะได้รับความเพลิดเพลินใจการการได้เสพ ศิลปะที่ถูกคัดสรรมาร้อยเป็นเรื่องราวอย่างดีตามหัวข้อ Exposed: The Victorian Nude แล้วอย่างเต็มที พร้อมทั้งยังได้รับความรู้ และความเข้าใจต่อข้อความที่ศิลปินหลายๆ คน พยายามที่จะนำเสนอผ่านทาง วาทกรรมของร่างกายที่เปลือยเปล่า ไม่ว่าจะในแง่ สัญลักษณ์ทางเพศ (Sexual Symbolic) ความต้องการทางเพศ (Sexuality) ความฝันและจินตการทางเพศ (Sexual Fantasy) และรวมไปทั้งศีลธรรมจรรยา (Morality) อีกทั้งยังได้เรียนรู้อีกว่า ในสมัยยุควิกตอเรียน เป็นยุคที่ "ร่างกาย" (Body)ของมนุษย์ได้ถูกหยิบยก ขึ้นมาเป็นประเด็นในการถกเถียงกันในหลายๆ วงวิชาการ นอกจากวงการศิลปะที่ได้กล่าวถึงไปเบื้องต้นแล้ว

ยกตัวอย่างเช่น วงการแพทย์ ที่พูดถึงร่างกายที่เป็นสัญลักษณ์ของโรคภัย และสุขภาพของตัวบุคคล (ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงร่างกายของส่วนตัวบุคคลเข้ากับร่างกายทางสังคม (สุขภาพที่ดีนำมายังสังคมที่ดี ) วงการเมือง ว่าด้วยการควบคุมและตรวจสอบทั้งทางด้านรูปธรรม และความคิด เป็นการบังคับและครอบคลุมทางความคิด ของส่วนตัวบุคคลผ่านวาทกรรมของร่างกาย เช่น การห้ามเด็กผู้ชายสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง ก่อนถึงวัยอันสมควร ด้วยการอ้างว่าจะทำให้สมองเสื่อม และกลายเป็นคนไม่มีประโยชน์ ต่อสังคมส่วนรวม ซึ่งในที่นี้อาจจะรวมความถึง วงการศีลธรรม และศาสนา เป็นต้น

คำถามที่น่าสนใจคือ ทำไมต้องเป็นร่างกาย ทั้งในวงการแพทย์ การเมือง ศีลธรรมและศาสนา ศิลปะ และรวมไปถึงสถาปัตยกรรม จากคำถามแรกของบทนำของ อาจารย์ ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล ที่เขียนเอาไว้ในหนังสือ เผยร่าง-พรางกาย "ทำไมเราจึงต้องให้ความสนใจกับร่างกาย?" อาจารย์ได้ให้คำตอบที่ สามารถมองเห็นภาพรวมของความสัมพันธ์ระหว่าง วาทกรรมของร่างกายกับสังคมของชาวตะวันตกเอาไว้ด้วยว่า

"…บทความเรื่อง "สำรวจทฤษฎีร่างกาย" เป็นการปูพื้นทางความคิดอย่างกว้างๆ แนะนำความคิดของนักสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา ที่มักจะได้รับการอ้างอิงครั้งแล้วครั้งเล่าเมื่อมีการพูดถึงการวิเคราะห์ร่างกาย อาทิ แมรี่ ดักลาส, มิเชล ฟูโค, ปิแอร์ บูร์ดิเยอ, และนอร์เบิร์ท เอเลียส นักคิดเหล่านี้เน้นถึงความสำคัญทางสังคมของร่างกายในมุมที่หลากหลาย ดักลาสเน้นที่การใช้ร่างกายเป็นสัญลักษณ์ในการทำความเข้าใจโครงสร้างและระเบียบของสังคม ฟูโคชี้ให้เห็นว่า อำนาจรัฐสามารถแทรกแซงเข้ามาบังคับควบคุมถึงภายในร่างกายมนุษย์ได้อย่างแยบยล บูร์ดิเยอมองเห็นว่าร่างกาย เป็นทุนที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งที่ชนชั้นสูง และชั้นกลางในสังคมสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาผลประโยชน์ทางชนชั้นของตนเองได้อย่างมีรสนิยม ส่วนเอเลียส มองในเชิงประวัติศาสตร์ และเสนอข้อคิดว่า กระบวนการสร้างอารยธรรม ของยุโรปคือการปราบให้ร่างกายเชื่องลง จากการเป็นร่างป่าเถื่อนที่เต็มไปด้วยพละกำลังรุนแรง กลายเป็นร่างอารยะที่สุภาพ เก็บงำความรู้สึกไว้ภายใน และมีกรรมวิธีควบคุมร่างกาย อย่างประณีตและประดิดประดอย โดยรวมๆ แล้วทุกคนจึงกล่าวถึงการสร้างวาทกรรมทางสังคมของร่างกาย โดยแสดงให้เห็นด้วยแนวการมองต่างๆ กันว่า ร่างกายถูกสร้างและหล่อหลอมมาด้วยเงื่อนไขทางสังคม การเมือง และวัฒนธรรม ในแต่ละช่วงเวลาของ ประวัติศาสตร์มนุษย์"

ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่าง ร่างกาย - วาทกรรมบนร่างกาย มีอยู่ในหลายมิติ และถูกนำมาใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อม (Literally and Metaphorically) ไม่ว่าจะเป็น Political Body, Sexual Body, Social Body or Spatial Body ล้วนแล้วแต่เป็นการนำเอา วาทกรรมต่างๆ เช่น สังคม การเมือง วัฒนธรรม ศาสนา ความต้องการทางเพศ การแพทย์ มาวางทาบลงบนร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการ กำหนดวิธีใช้ร่างกาย เข้าใจร่างกาย หรือ ควบคุมร่างกาย จากหน่วยเล็กที่สุดของพื้นฐานทางสังคม คือร่างกายของแต่ละคน (Individuality) ไปสู่สังคมโดยรวม (Society)

ไม่ใช่แต่เฉพาะนักคิดต่างชาติชาวตะวันตกที่นำประเด็น วาทกรรมบนร่างกาย มาคิดพิเคราะห์พิจารณา นักคิดในบ้านเมืองเราก็มีหลายท่านที่ให้ความสำคัญต่อการศึกษา วิเคราะห์ถึงกระบวนทัศน์ อันนี้ และ อาจารย์ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ก็เป็นอีกท่านหนึ่งที่นำเอา วาทกรรมบนร่างกาย มาสะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างของ สังคมไทยได้อย่างแยบยล ยกตัวอย่างเช่น

อาจารย์พูดถึง เรื่องพื้นที่สาธารณะ และพื้นที่ส่วนตัว จากมุมมองของการวิเคราะห์ การประกวด (เรือนร่างของ) นางนพมาศ ซึ่งยังถูกบังคับให้อาบน้ำในแม่น้ำยม (ปลอม) โชว์ จากบทความในมติชนสุดสัปดาห์ เรื่อง "ไม่เปลื้องผ้า แต่เปลื้องอำนาจ" และพูดถึง "เรื่องตัวตนของประชาชน" (Social Body) ในบทความเรื่อง "โลกาภิวัฒน์ของคนจน"ว่าสำนึกความเป็น "ประชาชน" กำลังแพร่หลายอยู่ทั่วโลก และเกิดขึ้นกับ "ประชาชน" จริงๆ เป็นครั้งแรก หลังจากคำนี้ถูกคนอื่นใช้ให้มีความหมายรวมๆ จนไม่รู้ว่าหมายถึงใครมานาน เป็นต้น

ในทางศิลปะไทย ร่างกาย หรือ เรือนร่าง ในภาพจิตรกรรมไทย ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ ครูช่างของไทยได้หยิบยกเอามา เป็นเครื่องมีอที่จะสะท้อนแนวความคิด ที่ซ่อนอยู่ภายใต้สังคมและวัฒนธรรมของไทยได้อย่างแยบยล ดังที่อาจารย์ นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว ได้นำเสนอในบทความเรื่อง "ความจริงและความหวังในโลกทัศน์ไทย" ในหนังสือ ถึงอย่างไรก็อยู่กันมาได้

"เรือนร่าง" ที่ปรากฎอยู่ในภาพจิตรกรรมไทย ก็มิได้เป็นภาพจำลองที่สมจริงของกายวิภาคตามธรรมชาติมนุษย์ ทั้งสัดส่วนของ ร่างกายก็ผิดแปลกไปจากปรกติที่เคยเป็น เช่น แขนขาและมือ อาจยาวหรือบิดโค้งผิดรูป ศรีษะก็มักใหญ่เกินจริง คนอยู่ใกล้ไกลตัวเท่ากันหมด แถมยังใหญ่คับหน้าต่าง คับปราสาทราชวัง เคยถามครูช่างพื้นบ้านท่านหนึ่งว่า ทำไมจิตรกรไทยโบราณถึงเขียนภาพ "แบน" ไม่มีความลึกเหมือนภาพฝรั่ง ที่บันทึกแสงเงา ระยะใกล้ไกลเหมือนดังกับ ที่ตามนุษย์ปกติมองเห็น ครูช่างให้คำตอบอย่างคมคายลึกซึ้งว่า เพราะช่างไทยนั้นท่านเขียน "ความจริง" ที่ใจสัมผัส คนจะอยู่ไกลจนเรามองเห็นเท่ามดหรือจะอยู่ใกล้แค่ตรงหน้า แต่ความจริงก็คือ ขนาดร่างกายยังเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ได้เล็กลงหรือใหญ่ขึ้น ขนาดของวัตถุไม่ได้เปลี่ยนตามระยะทาง ดวงตา - อายตนะหนึ่งต่างหากที่หลอกลวงเรา"

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า วาทกรรมบนร่างกาย ของคนไทยมีมาช้านานแล้ว แต่อาจจะเป็นไปได้หรือไม่ว่า กระบวนทัศน์ นี้ไม่ได้ถูกพัฒนาขึ้น หรือถูกนำมาหยิบยกให้เป็นประเด็นศึกษาทางวงการวิชาการ อย่างจริงจัง เพราะ อาจเนื่องด้วยว่า วิธีการเข้าใจ ร่างกาย ในวงการศึกษาของไทยยังยึดอยู่กับรากฐานของ เนื้อหาและวิธีการสอนเพศศึกษาในโรงเรียนที่อาจจะไม่ได้ก่อให้เกิดการเรียนรู้ และเข้าใจที่แตกฉานในวาทกรรมบนร่างกาย ในมุมมองต่างๆ และอีกทั้งการตอบรับสังคมแบบบริโภคนิยมอย่างกว้างขวาง ซึ่งแนวคิดในระบบสังคมบริโภคนิยมนี้ยังทำให้เกิดการ เปลี่ยนร่างกายให้เป็นสินค้า เพื่อตอบสนองต่อความต้องการทางเพศ ดังนั้น ร่างกาย และวาทกรรมบนร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในหมวดสุนทรียศาสตร์ในบ้านเราจึงถูก เปลี่ยนแปลงและลดคุณค่าของ มิติอันหลากหลาย ที่สะท้อนให้เห็นถึงสังคม และวัฒนธรรม ให้กลายเป็นแค่สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศ (Objects of Desire) หรือพูดง่ายๆ คือ เป็นสิ่งลามกอนาจาร (Pornography)

และอีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ จากคำบอกเล่าของครูช่างด้านบน ว่ากระบวนทัศน์ของครูช่างในสังคมไทย ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อ ร่างกาย - รูปลักษณ์ หรือ สิ่งที่จับต้องได้ อย่างเช่น รูปทรง และขนาด แต่ให้ความสำคัญต่อ สัจจะ - ความจริง ซึ่งน่าจะมาจากระบบความคิด ทางศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พุทธศาสนา ที่สอนว่า "ร่างกายเป็นสิ่งไม่เที่ยง มีทั้งเกิด แก่ เจ็บ ตาย" ดังนั้น เมื่อหัวใจแกนหลักของกระบวนทัศน์เกิดการสั่นคลอน และถูกแทนที่ด้วย ระบบบริโภคนิยม ที่ยึดติดกับรูปลักษณ์เป็นหลัก จึงทำให้การพัฒนาของกระบวนทัศน์ ทางวาทกรรมบนร่างกาย ของสังคมและวัฒนธรรมไทย ได้หยุดชงักไปด้วย

สงสัยจะจริงดังคำครูช่างที่กล่าวไว้ เพราะแค่ ร่างกายทางสถาปัตยกรรม (Architectural Body) ที่จับต้องได้ ที่เข้าไปใช้ได้จริง และรวมไปถึง ร่าง (Building) ที่กำลังจะเกิดขึ้นจริงๆ อย่างโครงการ หอแสดงงานศิลปะสมัยใหม่ ที่ประกวดแบบเสร็จสมบูรณ์ไปแล้ว อีกทั้งเป็นที่จับตามองของสถาปนิก และประชาชนทั่วไป ก็ยังสามารถเปลี่ยนไป และถูกลดคุณค่าลงได้อย่างไม่น่าเชื่อสายตาตัวเองแล้ว ร่าง (Body) ที่อยู่ในกระบวนทัศน์แบบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Social Body (สังคมและตัวตนของประชาชน), Abstract Body (ร่างในกระบวนทัศน์แบบนามธรรม) Sexual Body (ร่างที่นำเสนออัตลักษณ์แห่งตน) เราจะสามารถเข้าใจ ตีความ และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไรในเมื่อเกือบ ทุกอย่างในสังคมไทย ได้ถูกร่างใหญ่(Political Body) ที่บดบังวาทกรรมบนร่างกาย ด้านอื่นๆ ไว้จนมิด

ถ้าเป็นดังนี้แล้ว คงจะต้องถามกลับไปยังสังคมว่า อะไรคือร่างกายและวาทกรรมบนร่างกายของคนในยุคนี้ คำตอบอาจจะเป็นสถานเสริมความงาม ศูนย์สุขภาพต่างๆ สถานที่ออกกำลังกายในร่ม (Gym) การประกวดนางงาม-นายงาม หรือแม้กระทั่งโสเภณี ก็เป็นจุดสำคัญที่เราต้องยอมรับว่า นี้คือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมของเรา ความงามและกระบวนทัศน์แบบใหม่ๆ บนวาทกรรมบนร่างกาย มันเป็นสิ่งให้เราสามารถใช้เป็นกระจก สะท้อนให้เห็นถึง ภาพร่างกาย ของเราได้เป็นอย่างดีว่า กำลังดำเนินไปในทางใด

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

 

 

 

2.2 Edward John Poynter (1836-1919), Paul and Apollos 1872 Tate. Purchased 1918.
3.1 Annie Swynnerton (nee Robinson, 1844-1933), Cupid and Psyche 1891 Oldham Art Gallery & Museum, UK.
3.2 John Watson (active c.1853-1863), Academic Study 1855 Victoria & Albert Museum, London.
4.1 Frederic Leighton (1830-1896), Figure and Studies c.1882 Royal Borough of Kensington & Chelsea, Leighton House Museum.
4.2 Ernest Normand (1857-1923), Pygmalion and Galatea 1886 Atkinson Art Gallery, Southport Arts & Cultural Services, Sefton M.B.C.
5.1 Herbert Draper (1863-1920), The Lament for Icarus 1898 Tate. Presented by the Trustees of the Chantrey Bequest 1898.





 

5.2 Anna Lea Merritt (1844-1930), Love Locked Out 1889 Tate. Presented by the Trustees of the Chantrey Bequest 1890.
6.1 Theodore Roussel (1847-1926), The Reading Girl 1886-1887 Tate. Presented by Mrs Walter Herriot in memory of the artist 1927.
6.2 Henry Scott Tuke, August Blue 1893-1894 Tate. Present by the Trustees of the Chantrey Bequest 1894.
(ภาพประกอบทั้งหมด นำมาใช้เพื่อการศึกษาฟรี
โดยไม่เกี่ยวข้องกับผลกำไร : มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)

แนะนำบทความที่เกี่ยวเนื่องกับศิลปะ
ของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(สำรวจเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2544)

5. บทสนทนาเรื่องเพศกับศิลปะ (กามารมณ์ 101) (บทสนทนามหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
22.ศิลปะในสายตาสังคมวิทยา(สมเกียรติ ตั้งนโม / บทความแปล)
26. ฟูโกในสารานุกรมสุนทรียศาสตร์ (สมเกียรติ ตั้งนโม / เรียบเรียง[ปรับปรุงใหม่])
50. โพส์ทโมเดิร์นในศิลปะและปรัชญา (ชมรมเสวนาและการดนตรี คณะวิจิตรศิลป์ มช.)
60. ดิบงามในงานสร้างสรรค์(Raw Creation) สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง)
74. ปรัชญาการสร้างสรรค์ศิลปะเอเชียในอดีต (นิธิ เอียวศรีวงศ์)
102. โป๊-เปลือย-ลามก-อนาจาร (สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง)
123. สถาปัตยกรรมปกติ และที่ว่างที่ผิดปกต (สันต์ สุวัจฉราภินันท์ / สถาปัตยกรรม มช.)
135. ผลงานศิลปะในยุคของการผลิตซ้ำด้วยกลไก (Walter Benjamin สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง)