มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com
๒. ข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน 26 กค.46
คำข้อเสนอจาก นักวิชาการ4ภาค จี้รัฐบาลเปิดเจรจา"สันติ" ยุติปัญหาขัดแย้ง"ท่อก๊าซใต้" รายงาน
นักวิชาการ
4 ภาคออกแถลงการณ์จาก 4 พื้นที่เสนอให้รัฐบาลจัดเวทีสาธารณะเพื่อคลี่คลายปัญหาการสร้างท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย
ที่กำลังเขม็งเกลียวอยู่ในขณะนี้ พร้อมกับเรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมกันประคับประคองระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมให้ดำรงอยู่ในสังคมต่อไป...
หมายเหตุ - เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคมนี้ แกนนำมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน พร้อมด้วยนักวิชาการในภาคเหนือ
นำโดย นายนิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเวทีสาธารณะเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในเรื่องท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย
ขณะเดียวกันนักวิชาการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ก็จัดประชุมนำเสนอเรื่องนี้ในทิศทางเดียวกันด้วย
แถลงข่าวกรณีความขัดแย้งการสร้างท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย
เรียนพี่น้องประชาชนชาวไทยที่เคารพ
สืบเนื่องจากที่รัฐบาลอนุมัติให้บริษัท
การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย(ปตท.) เข้าไปดำเนินการก่อสร้างท่อส่งก๊าซไทย-มาเลเซียที่อำเภอจะนะ
จังหวัดสงขลา ตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ได้ก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างผู้ดำเนินการก่อสร้างและชาวบ้านที่คัดค้านการก่อสร้างจนต้องใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนมากเข้าไปคุ้มกันการก่อสร้าง
ส่งผลให้เกิดความตึงเครียดในพื้นที่เป็นอย่างมาก และเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงได้
ความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นในทุกสังคม การใช้กำลังและอำนาจรัฐเข้าไปแก้ไขความขัดแย้ง
แม้ว่าอาจทำให้ความขัดแย้งเฉพาะหน้าไม่บานปลาย แต่ก็เป็นผลให้เกิดการแบ่งแยกที่ลึกลงไปกว่านั้น
อันไม่เป็นผลดีต่อส่วนร่วมแต่อย่างใด ทั้งสองฝ่ายของความขัดแย้งในกรณีนี้ ต่างก็อ้างว่ามีเหตุผลสนับสนุนการดำเนินงานของตน
และต่างก็ใช้สื่อเพื่อโฆษณาจุดยืนของตนเอง ฝ่ายใดที่เข้าถึงสื่อได้มากกว่าก็มีโอกาสโฆษณาเผยแพร่ได้แพร่หลายกว่า
แต่น่าเสียดายที่ทั้งสองฝ่ายไม่มีโอกาสนั่งลงเจรจากันอย่างสันติ ยกข้อมูลและเหตุผลของแต่ละฝ่ายขึ้นโต้แย้งกันอย่างเปิดเผยต่อหน้าสาธารณชนไทย
เพื่อที่ว่ารัฐบาลซึ่งมีหน้าที่ตัดสินใจ ไม่ว่าจะตัดสินใจไปในทางหนึ่งทางใดก็ต้องรับผิดชอบต่อความชอบธรรมของโครงการเบื้องหน้าสังคมไทยเอง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจึงขอเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ในฐานะตัวแทนของรัฐผู้ดูแลจัดสรรทรัพยากรของชาติอย่างเป็นธรรม ออกมาแสดงความรับผิดชอบ โดยจัดให้เกิดการพบปะระหว่างตัวแทนของ ปตท.ฝ่ายหนึ่ง กับกลุ่มผู้คัดค้านอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อคลี่คลายปัญหาความขัดแย้ง ผ่านทางการชี้แจงพูดคุยกันอย่างสันติ ตอบข้อสงสัยต่างๆ ของชาวบ้าน เป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณะ โดยเปิดให้สื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟัง เป็นสักขีพยานและทำความจริงให้ปรากฏผ่านสื่อหรือถ่ายทอดผ่านสื่อวิทยุโทรทัศน์
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเชื่อว่า การเปิดการเจรจาอย่างสันติ ด้วยข้อมูลและเหตุผล เป็นการแก้ไขความขัดแย้งที่สร้างสรรค์ อันเหมาะกับกระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม จึงใคร่เรียกร้องพี่น้องประชาชนชาวไทยให้ร่วมกันกดดันให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานตอบสนองข้อเรียกร้องนี้ เพราะเราประชาชนชาวไทยเท่านั้นที่จะร่วมกันประคับประคองให้ระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมดำรงคงอยู่ในระดับที่ลึกกว่ารูปแบบได้ต่อไป เพื่อที่ว่าสังคมไทยจะสามารถเผชิญความขัดแย้งซึ่งต้องเกิดมากขึ้นเป็นธรรมดาได้อย่างสงบสุขสืบไป
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน 26 กรกฎาคม 2546
นิธิ เอียวศรีวงศ์ แกนนำมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กล่าวว่า ขณะนี้ถึงจุดที่น่ากลัว ที่อยู่ๆ ปล่อยให้คนไปตั้งป้อมเผชิญหน้ากัน "ขณะนี้ถึงจุดที่น่ากลัว ที่อยู่ๆ ปล่อยให้คนไปตั้งป้อมเผชิญหน้ากัน ไม่ใช่วิธีที่รัฐบาลควรทำ เพราะมันไม่เกี่ยวกับคนส่วนมากหรือส่วนน้อย หากคนส่วนน้อยถูกรุมกระทืบไม่ใช่สิ่งที่น่ายินดี รัฐบาลควรมีบทบาทเข้าไปทำอะไร เข้าไปในฐานะคนกลาง และเปิดให้สองฝ่ายเข้ามาโต้แย้งถกเถียงกันด้วยเหตุและผลต่อหน้าสาธารณชนคนไทย
แม้ว่าที่ผ่านมารัฐบาลจะไม่สนใจการที่นักวิชาการจะออกมาเรียกร้อง แต่เราก็จะเรียกร้องต่อไป เพราะเราเชื่อว่ารัฐบาลขึ้นมามีอำนาจโดยการเลือกตั้งของเรา ไม่ว่าคนที่ลงคะแนนจะเลือกพรรคไทยรักไทยหรือไม่ก็ตาม แต่รัฐบาลมีหน้าที่รับผิดชอบต่อคนไทยทุกคน เราจึงต้องเรียกร้องให้ทำในสิ่งที่เราอยากให้ทำ
นายกรัฐมนตรีไปเอามาจากไหนที่ว่า นักวิชาการยุชาวบ้าน และเมื่อเสร็จงานก็ทิ้งชาวบ้าน เพราะนักวิชาการ 100 คน อยู่เฉยๆ 80 คน อีก 18-19 คน ที่เหลือเป็นฝ่ายรัฐบาลและนายทุน จะเหลือนักวิชาการเพียง 1 ใน 100 คน เท่านั้นที่พยายามฟังชาวบ้านพูด ศึกษา และเสนอจุดยืนของชาวบ้าน เพราะชาวบ้านอ่อนแอที่ไม่สามารถเสนอจุดยืนของตนเองให้ดังต่อสังคมได้
การที่นายกฯออกมาตอบโต้นักวิชาการอย่างรุนแรงนั้น เราก็ไม่รู้ว่าจะแก้อะไรและอย่างไร แต่อยากเรียกร้องถึงนักวิชาการว่า อย่าน้อยใจในการทำหน้าที่ที่กระทำอย่างถูกต้องต่อไป เพราะทุกครั้งที่นายกฯตอบโต้ ไม่เคยตรงประเด็นกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้น แต่กลับโจมตีไปที่บุคลิกภาพของนักวิชาการซึ่งก็จริงบ้างไม่จริงบ้าง เช่น อยู่แต่ในห้องสมุด เราอยากให้นายกฯหยิบประเด็นที่นายธีรยุทธ บุญมี พูดมาบอกว่าจริงหรือไม่ ไม่ถูกต้องอย่างไร ไม่ใช่การโจมตีกัน ไม่อย่างนั้นก็จะเหมือนแม่ค้าทะเลาะกันในตลาด--"
เกษียร
เตชะพีระ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าว
"เชื่อว่าการเปิดเจรจาอย่างสันติ ด้วยข้อมูลและเหตุผล เป็นการแก้ไขความขัดแย้งที่สร้างสรรค์
อันเหมาะกับกระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม จึงใคร่ขอเรียกร้องให้ประชาชนร่วมกันกดดันให้
รมว.พลังงาน ตอบสนองข้อเรียกร้องนี้ เพราะเราประชาชนชาวไทยเท่านั้นที่จะร่วมกันประคับประคองให้ระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
ดำรงอยู่ในระดับที่ลึกกว่ารูปแบบได้ต่อไป เพื่อที่ว่าสังคมไทยจะสามารถเผชิญความขัดแย้งที่เกิดมากขึ้นเป็นธรรมดาได้อย่างสงบสุขสืบไป
ความเห็นส่วนตัว ซึ่งไม่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรณีที่เกิดขึ้นที่ อ.จะนะ นึกเป็นห่วง น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เข้าใจฐานะของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ว่ามีหน้าที่หลักคือหาพลังงานให้คนในชาติได้ใช้ ให้ได้ราคาค่อนข้างถูกและย่อมเยา ขณะเดียวกันพลังงานนั้นต้องมีอย่างพอเพียงด้วย แต่ทั้งนี้อย่าลืมว่า น.พ.พรหมินทร์เป็นรัฐมนตรีพลังงานในรัฐบาลเสรีประชาธิปไตย การที่จะหาพลังงานมาให้กับประชาชนในชาติใช้นั้น จะต้องหาแบบประชาธิปไตยด้วย กล่าวคือเป็นกระบวนการที่ให้คนทั้งหมดได้มีสิทธิมีเสียง มีส่วนร่วมด้วย
ข้อเสนอของเราเป็นข้อเสนอที่มีการเปิดเจรจา ตั้งเวทีให้ชาวบ้านได้พูดคุยกับ ปตท. รวมถึงข้อกังวลอื่นๆ ที่ต้องฝากให้รัฐมนตรีพลังงานคิดให้มาก ว่าทำอย่างไรที่จะให้เวทีที่จัดขึ้นนี้ไม่ออกมาในลักษณะเป็นที่ตีกัน และปาหี่ กรณีตีกันก็มีตัวอย่างมาแล้วกับครั้งที่จัดเวทีประชาพิจารณ์แล้วไม่ได้รับการยอมรับ ขณะที่การจัดแบบปาหี่ คือความหมายที่จัดพอให้มี หรืออยากมีก็จัดให้ แต่ความเป็นจริงคือไม่อยากเป็นสื่อกลางประสานความขัดแย้ง
ในการ rethink หรือ review โครงการไปในทิศทางที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของชาวบ้านในพื้นที่ อันเป็นส่วนเล็กส่วนน้อยที่เห็นแตกต่าง นอกจากนี้สิ่งที่ผมเป็นห่วงว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะเหมือนกับที่เกิดเมื่อ 20 ปีก่อน ซึ่งไม่ใช่เหตุการณ์ 6 ต.ค.19 ซึ่งครั้งนั้น น.พ.พรหมินทร์กับผมต่างก็เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ด้วยกันทั้งคู่ หลบเผด็จการเข้าป่าเพื่อต่อสู้กับอำนาจ ผมเชื่อว่าเหตุเกิดที่ อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ซึ่งขณะนี้นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์คล้ายกับที่ อ.จะนะ จ.สงขลามากกว่า เมื่อผู้ชายเกือบทั้งหมู่บ้าน 30 คน ข่มขืนนางสาวสำเนียง กล่าวคือเมื่อให้ผู้ชายในหมู่บ้านทำการโหวตในคืนเกิดเหตุว่าจะข่มขืนหรือไม่ แน่นอนว่าเสียงข้างมากบอกว่าข่มขืน
ที่ผมสงสัยคือว่า ประชาธิปไตยมีสิทธิข่มขืนหรือไม่ ในระบอบประชาธิปไตยของเรากำลังข่มขืนใครอยู่หรือเปล่า ต่อการที่มีการส่งกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนมากเข้าไป เพื่อที่จะให้มีการวางท่อก๊าซผ่านเข้าจะนะ ได้สร้างความรู้สึกคล้ายๆ กับที่นางสาวสำเนียงประสบ ให้กับชาวบ้านจะนะหรือไม่ว่า เสียงข้างมากของชาติกำลังใช้กำลังข่มขืนน้ำใจ บังคับให้เขารับในสิ่งที่เขาไม่ยินยอม กำลังล่วงล้ำ ละเมิดสิทธิในชีวิต ทรัพย์สิน อากาศและสิ่งแวดล้อมของเขา
ดังนั้น การจัดเวทีนี้ต้องออกมาให้ดี ไม่เป็นปาหี่ ไม่ตีกัน มันสำคัญคล้ายๆ จัดให้คุณสำเนียงได้พูดคุยกับชาวบ้าน ฟังดูมันรู้สึกสยอง ลองพูดคุย ฟังเหตุฟังผล ปรับเปลี่ยนทรรศนะ ท่าทีต่อกัน โดยไม่มีตัวเลขลงท้ายล่วงหน้า ทำอย่างไรให้การข่มขืนมันกลายเป็นการเจรจาสู่ขอก็ได้ ชาวบ้านเขามีความห่วง ต้องการอะไร และนั่นคือสิทธิที่เขาควรจะมีด้วย ถ้าหากเราไม่ทำแบบนี้ ผมวิตกว่าอีก 20 ปีข้างหน้าอาจต้องเชิญคุณมานพ อุดมเดช ผู้กำกับฯหนังคืนบาปที่พรหมพิราม มาสร้างหนังเรื่อง "คืนบาปที่จะนะ" ก็เป็นได้ จึงอยากฝากถึงรัฐมนตรีพลังงาน รัฐบาล และคนในชาติให้คิดกันอย่างจริงจังว่า กรณีพรหมพิรามเกิดในประเทศเรา แล้วประชาธิปไตยเรากำลังข่มขืนใครอยู่หรือเปล่า
นักวิชาการ 4 ภาคผนึกกำลังออกแถลงการณ์ จี้รัฐบาลเปิดเวทีกลางหาข้อยุติข้อขัดแย้งปัญหาท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ชี้ปล่อยไว้จะตึงเครียดและเสี่ยงต่อเหตุการณ์รุนแรง "นิธิ"แนะดึง ปตท.-กลุ่มค้านนั่งโต๊ะ มีสื่อเข้าร่วม
เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 26 กรกฎาคม ที่มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ นายนิธิ เอียวศรีวงศ์ แกนนำมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน นำนักวิชาการภาคเหนือ จำนวน 20 คน แถลงการณ์ถึงรัฐบาล เรียกร้องให้เปิดเวทีกลางท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย โดยมีสื่อมวลชนเป็นสักขีพยาน เพื่อแสวงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการสร้างท่อส่งก๊าซไทย-มาเลเซียที่ อ.จะนะ จ.สงขลา แถลงการณ์ระบุว่า ขณะนี้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างผู้ดำเนินการก่อสร้างและชาวบ้าน จนต้องใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนมากเข้าไปคุ้มกันการก่อสร้าง เกิดความตึงเครียดในพื้นที่และเสี่ยงต่อความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะอาจจะมีการแบ่งแยกที่ฝังรากลึกลงไปมากขึ้น ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อส่วนรวม ต่างฝ่ายต่างใช้สื่อมาโฆษณาจุดยืนของตน ฝ่ายใดเข้าถึงสื่อได้มากกว่าก็ได้รับการเผยแพร่มากกว่า โดยไม่มีโอกาสเจรจากันอย่างสันติ
"ในนามมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอเรียกร้องให้ น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะตัวแทนรัฐบาลผู้ดูแลจัดสรรทรัพยากรของชาติอย่างเป็นธรรม ออกมาแสดงความรับผิดชอบ โดยจัดให้เกิดการพบปะกันระหว่างตัวแทนบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย(ปตท.) กับกลุ่มผู้คัดค้าน เพื่อคลี่คลายปัญหาความขัดแย้ง ผ่านการชี้แจงและพูดคุยกันอย่างสันติ เพื่อตอบข้อสงสัยต่างๆ ของชาวบ้าน และเปิดเผยต่อสาธารณะ มีสื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟังและเป็นสักขีพยาน และควรถ่ายทอดสดผ่านสื่อวิทยุโทรทัศน์เพื่อทำความจริงให้ปรากฏ และขอเรียกร้องถึงประชาชนชาวไทยให้ร่วมกันกดดันให้มีการตอบสนองข้อเรียกร้องนี้ เพราะชาวไทยทุกคนมีส่วนร่วมในการรักษาระบอบประชาธิปไตยให้ดำรงอยู่ เพื่อลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้น"
นายนิธิกล่าว และว่า รัฐบาลควรรับฟังความเห็นนักวิชาการ ไม่ใช่มองว่านักวิชาการไปยุชาวบ้าน ในส่วนนักวิชาการก็ต้องทำหน้าที่ที่ถูกต้องต่อไปไม่ควรไปน้อยใจจากการกล่าวหาของรัฐบาล
ด้านนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาสถาบันราชภัฏนครราชสีมา กล่าวว่า นักวิชาการทั้งภาคเหนือ กลาง อีสานและใต้ ได้ต่อสู้กับพี่น้องประชาชนมานาน ไม่อยากเห็นการพัฒนาที่รัฐบาลชนะความรุนแรงด้วยการจับกุมคุมขังหรือชนะความสำเร็จท่อก๊าซฯบนคราบน้ำตาของประชาชน นักวิชาการไม่ต้องการเห็นเรื่องนี้เพราะเจ็บปวดมาก จึงพร้อมใจกันแถลงข่าวเรียกร้องให้รัฐบาลใช้สติปัญญานำหน้าการแก้ปัญหาด้วยการเปิดเวทีสาธารณะหลีกเลี่ยงความรุนแรง
ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลระบุว่าที่นักวิชาการออกมาคัดค้านเพราะมีผลประโยชน์มีความเห็นอย่างไร นายสมเกียรติกล่าวว่า นักวิชาการยังมีประโยชน์ต่อสังคม ข้อท้วงติงของนักวิชาการไม่มีฝ่ายค้านและฝ่ายการเมืองหนุนหลัง ไม่มีเล่ห์เพทุบายไปโค่นล้มรัฐบาล แต่ต้องการเตือนอันตรายที่เกิดขึ้นในชาติ ส่วนที่รัฐบาลจะมองว่าเป็นเรื่องแข็งกร้าวหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความอ่อนโยนของผู้นำประเทศแต่ละคน นายกรัฐมนตรีบางคนน้อมรับนักวิชาการ บางคนก็ตอบโต้หรือเมินเฉย ประชาชนต้องประเมินผู้นำประเทศเอง แต่นักวิชาการยังคงทำหน้าที่เตือนสติสังคมและเฝ้าระวังประเทศโดยไม่เสื่อมคลาย
เวลา 11.00 น. วันเดียวกัน ที่คณะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(มอ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ จ.สงขลา นายจรวย เพชรรัตน์ นายสมบูรณ์ เจริญจิระตระกูล น.พ.สุรินทร์ จุติดำรงพันธ์ นายอุตส่าห์ จันทร์อำไพ นักวิชาการ มอ.หาดใหญ่ นายศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี นักวิชาการ มอ.ปัตตานี และนายเลิศชาย ศิริชัย นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมแถลงกรณีความขัดแย้งการก่อสร้างท่อส่งก๊าชไทย-มาเลเซียว่า การส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนมากเข้าไปคุ้มกันการก่อสร้าง ส่งผลให้เกิดความตึงเครียดในพื้นที่เป็นอย่างมาก และเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงได้ ทั้งที่ความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นในทุกสังคม การใช้กำลังและอำนาจรัฐเข้าไปแก้ไข แม้ว่าอาจทำให้ความขัดแย้งเฉพาะหน้าไม่บานปลาย แต่เป็นผลให้เกิดการแบ่งแยกที่ลึกลงไปกว่านั้น ไม่เป็นผลดีต่อส่วนรวม น่าเสียดายที่ทั้งสองฝ่ายไม่มีโอกาสนั่งเจรจากันอย่างสันติ ยกข้อมูลและเหตุผลของแต่ละฝ่ายขึ้นโต้แย้งกันอย่างเปิดเผยต่อหน้าสาธารณชน
"ขณะนี้เวทีสาธารณะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพื่อให้สาธารณชนมีส่วนร่วมกันตัดสินใจ ซึ่งมีอยู่ 6 ประเด็นที่สาธารณชนควรได้รับทราบ คือ 1.ใครเป็นผู้สนับสนุนโครงการและใครเป็นผู้คัดค้าน 2.ความชัดเจนของสัญญาทั้งหมด 3.สถานะที่แท้จริงของพลังงานในประเทศไทย 4.อุตสาหกรรมต่อเนื่องจะเกิดขึ้นหรือไม่ มีอุตสาหกรรมประเภทใดบ้าง 5.โครงการท่อก๊าซฯกระทบสิ่งแวดล้อมหรือไม่ และ 6.กระทบวิถีชีวิตของชาวบ้านอย่างไรบ้าง" แถลงการณ์ระบุ
นายจรวยกล่าวว่า จากการขอข้อมูลไปยัง ปตท.เมื่อปี 2541 ได้รับสัญญาจะซื้อจะขายมา แต่สิ่งสำคัญก็คือข้อมูลที่เป็นตัวเลขถูกคาดทับ ราคาซื้อขายก๊าซหายไป 2 หน้าครึ่ง ถือว่าไม่มีความจริงใจ เพราะไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่าใครได้ใครเสียประโยชน์อย่างไร หากโครงการนี้โปร่งใสจริง ก็ควรจะเปิดเผยให้ชัดเจน กลุ่มนักวิชาการคัดค้านด้วยเหตุผล ภายใต้กรอบข้อมูลที่ได้รับจาก ปตท.เอง
น.พ.สุรินทร์กล่าวว่า จริงๆ แล้วชาวบ้านมีความเข้าใจว่าก๊าซเป็นพลังงานที่สะอาด และเข้าใจว่าไม่มีการพัฒนาใดที่ไม่มีการเสียสละ ไม่กระทบสิ่งแวดล้อม เพียงแต่ควรจะมีความชัดเจนในเรื่องที่ชาวบ้านสงสัย แต่ที่ผ่านมารัฐบาลไม่ชี้แจงข้อซักถาม และสร้างภาพในทางบวกให้กับตัวเองต่อสาธารณะ มุ่งเน้นใช้อำนาจที่มีอยู่เดินหน้าโครงการ รัฐควรเห็นใจชาวบ้านทั้งที่ได้รับบาดเจ็บและถูกยึดรถจากเหตุปะทะกับตำรวจชุดปราบจลาจล และช่วยเหลือเป็นเงินชดเชยให้กับคนเหล่านี้บ้าง
นายเลิศชายกล่าวว่า หากปล่อยให้เหตุการณ์ยืดเยื้อต่อไป โอกาสที่จะเกิดความรุนแรงยิ่งมีสูง ยิ่งเมื่อก่อสร้างโครงการเส็จแล้ว ชาวบ้านมีโอกาสที่จะทำอะไรรุนแรงขึ้นมาจะกลายเป็นปัญหาบานปลาย กลายเป็นสมรภูมิหนึ่งที่ยืดเยื้อ สาธารณชนน่าจะเห็นความสำคัญของโครงการ และร่วมกันเรียกร้องให้เปิดเวธีสาธารณะเสียที
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I ประวัติ ม.เที่ยงคืน
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้
1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 291 หัวเรื่อง "ข้อเสนอจาก นักวิชาการ4ภาค จี้รัฐบาลเปิดเจรจา"สันติ" ยุติปัญหาขัดแย้ง"ท่อก๊าซใต้" ตัดข่าวมาจากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน 26 กรกฎาคม 2546
เรียนพี่น้องประชาชนชาวไทยที่เคารพ
สืบเนื่องจากที่รัฐบาลอนุมัติให้บริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย(ปตท.) เข้าไปดำเนินการก่อสร้างท่อส่งก๊าซไทย-มาเลเซียที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ได้ก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างผู้ดำเนินการก่อสร้างและชาวบ้านที่คัดค้านการก่อสร้าง จนต้องใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนมากเข้าไปคุ้มกันการก่อสร้าง ส่งผลให้เกิดความตึงเครียดในพื้นที่เป็นอย่างมาก และเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงได้
ความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นในทุกสังคม การใช้กำลังและอำนาจรัฐเข้าไปแก้ไขความขัดแย้ง แม้ว่าอาจทำให้ความขัดแย้งเฉพาะหน้าไม่บานปลาย แต่ก็เป็นผลให้เกิดการแบ่งแยกที่ลึกลงไปกว่านั้น อันไม่เป็นผลดีต่อส่วนรวมแต่อย่างใด
ทั้งสองฝ่ายของความขัดแย้งในกรณีนี้ ต่างก็อ้างว่ามีเหตุผลสนับสนุนการดำเนินงานของตน และต่างก็ใช้สื่อเพื่อโฆษณาจุดยืนของตนเอง ฝ่ายใดที่เข้าถึงสื่อได้มากกว่าก็มีโอกาสโฆษณาเผยแพร่ได้แพร่หลายกว่า
แต่น่าเสียดายที่ทั้งสองฝ่ายไม่มีโอกาสนั่งลงเจรจากันอย่างสันติ ยกข้อมูลและเหตุผลของแต่ละฝ่ายขึ้นโต้แย้งกันอย่างเปิดเผยต่อหน้าสาธารณชนไทย เพื่อที่ว่ารัฐบาลซึ่งมีหน้าที่ตัดสินใจ ไม่ว่าจะตัดสินใจไปในทางหนึ่งทางใด ก็ต้องรับผิดชอบต่อความชอบธรรมของโครงการเบื้องหน้าสังคมไทยเอง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจึงขอเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ในฐานะตัวแทนของรัฐผู้ดูแลจัดสรรทรัพยากรของชาติอย่างเป็นธรรม ออกมาแสดงความรับผิดชอบ โดยจัดให้เกิดการพบปะระหว่างตัวแทนของปตท.ฝ่ายหนึ่ง กับ กลุ่มผู้คัดค้านอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อคลี่คลายปัญหาความขัดแย้ง ผ่านทางการชี้แจงพูดคุยกันอย่างสันติ ตอบข้อสงสัยต่าง ๆ ของชาวบ้าน เป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณะ ทั้งนี้โดยเปิดให้สื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟัง เป็นสักขีพยานและทำความจริงให้ปรากฏผ่านสื่อ หรือถ่ายทอดสดผ่านสื่อวิทยุและโทรทัศน์
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเชื่อว่า การเปิดการเจรจาอย่างสันติ ด้วยข้อมูลและเหตุผล เป็นการแก้ไขความขัดแย้งที่สร้างสรรค์ อันเหมาะกับกระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
ดังนั้นจึงใคร่เรียกร้องพี่น้องประชาชนชาวไทย
ให้ร่วมกันกดดันให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานตอบสนองข้อเรียกร้องนี้ เพราะเราประชาชนชาวไทยเท่านั้น
ที่จะร่วมกันประคับประคองให้ระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมดำรงคงอยู่ในระดับที่ลึกกว่ารูปแบบได้ต่อไป
เพื่อที่ว่าสังคมไทยจะสามารถเผชิญความขัดแย้ง ซึ่งต้องเกิดมากขึ้นเป็นธรรมดาได้อย่างสงบสุขสืบไป
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
๒๖ กรกฎาคม ๒๕๔๖