เว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ทางเลือกเพื่อการศึกษาสำหรับสังคมไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สมดุล และเป็นธรรม : ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2543 (ครบรอบ 3 ปี)

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

เฮอร์เบิร์ต ไอ. ชิลเลอร์ :
การเข้าครอบครองพื้นที่สาธารณะของบรรษัทเอกชน
นิษฐา หรุ่นเกษม (นิสิตปริญญาเอก คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)(1)

ในข้อเขียนชิ้นนี้ ผู้แปลใช้วิธีการแปลแบบสรุปใจความสำคัญจากงานเขียนของ เฮอร์เบิร์ต ชิลเลอร์ (Herbert Schiller) นักคิดสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง จากหนังสือเรื่อง Culture, Inc. : The Corporate Takeover of Public Expression โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษกับบทที่ส่องสะท้อนให้เห็นถึงปรากฏการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในปริมณฑลวัฒนธรรม "พื้นที่สาธารณะ" ของประเทศไทยในปัจจุบัน

ในบทที่ 5 "The Corporate Capture of the Sites of Public Expression" ชิลเลอร์ได้จุดประเด็นเกี่ยวกับปัญหาในยุคอุตสาหกรรมวัฒนธรรม ซึ่งบรรษัทเอกชนหรือกลุ่มทุนขนาดใหญ่ เข้าบุกรุกและครอบครอง "พื้นที่" (space) ในการแสดงออกซึ่งความรู้สึก (public expression) ของบุคคล ทั้งในปริมณฑลสาธารณะและพื้นที่ส่วนตัวภายในบริเวณบ้าน

บรรษัทเอกชนหรือกลุ่มทุนขนาดใหญ่มีอำนาจในการให้เงินทุนสนับสนุนการจัดกิจกรรมต่างๆ หรือการผลิตเนื้อหาในรายการต่างๆของสื่อมวลชน อำนาจดังกล่าวเป็นผลให้เกิดการเซ็นเซอร์ตัวเองของหน่วยงานหรือผู้ผลิตงาน ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อจิตวิญญาณ สร้างสรรค์ของมนุษย์ และเพิ่มพลังอำนาจให้กลุ่มทุนเจ้าของสื่อมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

ในบทที่ 5 นี้ ชิลเลอร์เปรียบกระบวนการเข้าครอบครองที่ดินของนายทุนอังกฤษในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ว่าเหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอเมริกาเมื่อ 25 ปีก่อน นั่นคือ การเข้าครอบครองสถานที่หรือช่องทางในการแสดงออกซึ่งความรู้สึกของมนุษย์โดยบรรษัทเอกชนอเมริกา ชิลเลอร์เรียกกระบวนการนี้ว่า "enclosure"

ในระหว่างการเข้าครอบครองพื้นที่สาธารณะ บรรษัทเอกชนเหล่านี้ให้การสนับสนุนการจัด กิจกรรมสาธารณะต่างๆเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม การจัดกิจกรรมสาธารณะเหล่านั้นมิได้ทำให้ ผลประโยชน์ที่ได้รับตกอยู่กับสาธารณชน แต่มันคือผลประโยชน์ตอบแทนต่อบรรษัทดังกล่าว ในด้านของการสร้างชื่อเสียงและภาพลักษณ์

ปริมณฑลสาธารณะแห่งแรกที่ถูกครอบครองโดยบรรษัทเอกชนที่ชิลเลอร์พูดถึง คือ พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ต่างๆ ในอดีตที่ผ่านมา พิพิธภัณฑ์ที่ถูกสร้างขึ้นมักเป็นไปเพื่อระลึกถึงบุคคลหรือกลุ่มผู้สร้าง ซึ่งก็จะเป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านเงินทุนในการดำเนินงานด้วยเช่นกัน แต่ทว่าชื่อของผู้สร้างหรือผู้สนับสนุนก็มิได้เป็นสิ่งที่นำมาโฆษณาเช่นในปัจจุบัน

พิพิธภัณฑ์ในอดีตมักถูกใช้เพื่อเป็นแหล่งความรู้สาธารณะ จนกระทั่งในช่วงกลางทศวรรษ 1960s ที่พิพิธภัณฑ์ถูกรวมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นเครื่องมือหรือช่องทางในประชาสัมพันธ์ของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ เริ่มจาก Metropolitan Museum of Art, New York ที่ประดับประดาบริเวณด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ในระหว่างการจัดแสดงนิทรรศการครั้งหนึ่ง ด้วยแบนเนอร์ชื่อของบริษัทสปอนเซอร์ขนาดใหญ่

กลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ที่ใช้พิพิธภัณฑ์เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ดังกล่าว ตัวอย่างเช่น Mobile Oil Corporation, Chase Manhattan Bank, AT&T, Exxon เช่นเดียวกันกับ Phillip Morris Company, Inc. เจ้าของธุรกิจบุหรี่ ที่ซื้อหน้าศิลปะใน New York times เพื่อประชาสัมพันธ์รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดแสดงงานศิลปะและนิทรรศการต่างๆ ในครั้งหนึ่ง Phillip Morris ถึงกับทุ่มทุนลงโฆษณาสีในหนังสือพิมพ์ New York times ขนาดหน้าคู่ เพื่อบอกกล่าวถึงการจัดงานนิทรรศการ "art in black America" ชิลเลอร์กล่าวถึงเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า เป็นไปได้ว่า Phillip Morris ต้องการจับกลุ่มเป้าหมายใหม่ซึ่งเป็นคนผิวดำ เพื่อทดแทนยอดจำหน่ายที่ลดลง อันเป็นผลมาจากการสูบบุหรี่น้อยลงของคนชั้นกลางผิวขาว

นอกจากนี้ การเป็นผู้อุปถัมภ์การจัดงานแสดงนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์หรือหอศิลป์ต่างๆยังก้าวไกลไปถึง การใช้สถานที่สาธารณะเหล่านี้เพื่อเป็นสถานที่จัดงานเลี้ยงหรือจัดกิจกรรมพิเศษของบริษัทเอกชน ดังเช่น Tiffany ที่ใช้ Metropolitan Museum of Art เพื่อเป็นสถานที่จัดงานเลี้ยงฉลองครบรอบ 150 ปีของบริษัท หรือ Isabella Stewart Garden Museum ซึ่งยินยอมให้ Elizabeth Arden จัดงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์น้ำหอมใหม่

ข้อที่น่าสังเกตประการหนึ่งคือ กลุ่มธุรกิจสปอนเซอร์เหล่านั้นจะให้เงินหล่อลื่นในการจัด กิจกรรมหรือแสดงนิทรรศการ เฉพาะประเด็นที่เป็นกลางหรือไม่เป็นประเด็นที่เป็นวิพากษ์วิจารณ์สังคม ผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมา ก็คือการเซ็นเซอร์ตัวเอง (self-censorship) ของ คณะกรรมบริหารพิพิธภัณฑ์ ซึ่งก็ไม่แตกต่างไปจากรายการโทรทัศน์ ที่อิทธิพลจากกลุ่มผู้อุปถัมภ์มีส่วนเป็นอย่างมากในการกำหนดเนื้อหาที่จะผลิตหรือเนื้อหาที่จะเผยแพร่

นอกเหนือจากพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเป็นช่องทางในการแสดงออกในปริมณฑลสาธารณะแล้ว ชิลเลอร์ยังพูดถึงการเข้าควบคุมบริเวณห้างสรรพสินค้า ถนน หรือพื้นที่สาธารณะของเมืองของบรรษัทเอกชน

ในอเมริกา การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพด้านที่อยู่อาศัยของบุคคลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ผนวกกับการอำนวยความสะดวกด้านการคมนาคมและ การขนส่งสาธารณะ ทำให้มีการอพยพโยกย้ายไปอยู่ชานเมืองมากยิ่งขึ้น ปรากฏการณ์ดังกล่าว ทำให้คนต้องการสถานที่ในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน และนี่คือการเกิดขึ้นของห้างสรรพสินค้า (shopping mall)

แต่การเกิดห้างสรรพสินค้า มิใช่การสร้างพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ขึ้นมาทดแทนของเดิมของประชาชน เนื่องจากห้างสรรพสินค้าเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นที่ดินหรือทรัพย์สินส่วนบุคคล ซึ่งรวมไปถึงม้านั่ง ลานน้ำพุ ทางเดินภายในห้าง โรงหนัง ร้านค้า ฯลฯ ดังที่ชิลเลอร์ได้ยกคำกล่าวของ Russell Jacoby ที่มีต่อห้างสรรพสินค้ามาไว้ว่า "ห้างสรรพสินค้าคือเครื่องจักรกลในการขายของ มันแตกต่างไปจากบริเวณริมถนนในเมือง เพราะมันถูกออกแบบและอยู่ภายใต้การจัดการของบรรษัทเอกชน ดังนั้น ทุกๆตารางนิ้วภายในห้าง รวมถึงบริเวณม้านั่งและลานน้ำพุ จึงถูกออกแบบมาเพื่อสร้างอารมณ์ในการช้อปปิ้ง…"

และด้วยคุณลักษณะของการเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคลนี่เอง ที่ทำให้ห้างสรรพสินค้าไม่ใช่สถานที่ของการแลกเปลี่ยนความคิดเสรีหรือการกระทำกิจกรรมทางสังคมต่างๆ กฏหมายให้สิทธิ์แก่เจ้าของห้างที่จะไม่อนุญาตให้มีการกระทำกิจกรรมใดๆที่ไม่ได้รับอนุญาตจากทางห้าง แม้กระทั่งการแจกใบปลิวรณรงค์ต่อต้านการครอบครองอาวุธนิวเคลียร์

"ถนน" ก็เคยเป็นพื้นที่สาธารณะอีกแห่งหนึ่ง ในการต่อสู้เรียกร้องแสดงสิทธิ์ของประชาชน John Friedmann นักทฤษฎีผังเมืองกล่าวว่า "เมืองจะถูกเรียกว่าเป็นเมืองได้อย่างแท้จริง ก็ต่อเมื่อถนนของเมืองนั้นเป็นของประชาชน" และเขายังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ประชาชนจะใช้ถนนในสองโอกาสเท่านั้น คือ เมื่อลุกขึ้นต่อสู้กับอำนาจที่กดขี่ประชาชนและเพื่อเฉลิมฉลองในวาระต่างๆ

อย่างไรก็ตาม พร้อมๆกับที่สื่อโทรทัศน์ได้รับการพัฒนาขึ้นมาและได้รับความนิยมอย่าง รวดเร็วภายในครัวเรือนของบุคคล การจัดกิจกรรมสาธารณะ การเดินขบวนพาเหรด งานเทศกาล งานเฉลิมฉลองตามท้องถนนต่างๆ ก็เป็นที่จับตามองของบรรษัทเอกชนมากยิ่งขึ้น กิจกรรมที่ได้รับความนิยม ที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ และได้รับการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ ก็จะเหมาะสมสำหรับบริษัทในการเป็นผู้อุปถัมภ์มากยิ่งขึ้นเท่านั้น และในขณะเดียวกับที่บรรษัทเอกชนเยื้องกรายเข้ามา การให้ความหมายหรือความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของการจัดกิจกรรมดังกล่าว ก็สูญสลายเปลี่ยนรูปไปสู่ความว่างเปล่าด้วยเช่นกัน

การจัดกิจกรรมสาธารณะเหล่านั้น กลายเป็นเพียงเครื่องมือในการส่งเสริมการขายของบริษัท ในที่ๆมีบุคคลมาชุมนุมกันอยู่เป็นจำนวนมากเท่านั้นเอง

อาจกล่าวได้ว่า พื้นที่ทางกายภาพภายนอกดังกล่าว ได้กลายเป็นพื้นที่สงวนสำหรับเอกชน ในการถ่ายทอดเนื้อหาสารที่เข้ามาครอบงำชีวิตของเราทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง เช่นเดียวกันกับการขยายทิศทางเข้าสู่พื้นที่อีกประเภทหนึ่ง ได้แก่ คลื่นอากาศในการกระจายเสียง (airwaves) และนั่นคือการรุกรานเข้ามาครอบครองพื้นที่ส่วนบุคคลในชีวิตประจำวัน ภายใน ห้องนั่งเล่น ในห้องนอน และในห้องครัว

ทั้งนี้ นับตั้งแต่การเกิดของสื่อโทรทัศน์ในช่วงปลายทศวรรษ 1940s การณ์กลับปรากฏว่า โทรทัศน์ได้กลายเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่สำคัญ ในการส่งผ่านโฆษณาจำนวนนับพันๆชิ้นไปสู่สายตาของผู้ชม ในปี 1985 เมื่อนับจำนวนโฆษณาที่ออกอากาศเฉพาะในสถานทีโทรทัศน์ระดับชาติแล้ว ปรากฏว่ามีถึง 5,131 ชิ้นต่อสัปดาห์

และในขณะที่โทรทัศน์เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือทางการตลาด ในการสร้างให้เกิดความนิยมในการบริโภคอย่างไม่หยุดหย่อนอยู่นั้น วิถีของการตลาดก็ได้กลายไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมืองด้วยเช่นเดียวกันอย่างแยกไม่ออก

ตัวอย่างเช่น ในช่วงต้นของการรณรงค์การเลือกตั้งประธานาธิบดี ปี 1987 การจัดให้มีการโต้แย้งทางนโยบาย (debate) ทางโทรทัศน์ของผู้สมัคร 12 คน ( 6 คนสังกัดพรรคเดโมแครตและอีก 6 คนสังกัดพรรครีพับลิกัน) ก็ต้องอาศัย "สปอนเซอร์" เช่นเดียวกัน ผู้ที่อาสาเข้ามาซื้อเวลา ถ่ายทอดรายการดังกล่าว คือ Ford Motor Company, The Travelers Corporation, และ Wang Laboratories, Inc. แต่ละบริษัทผู้อุปถัมภ์เหล่านี้จะได้รับเวลาในการออกอากาศโฆษณาสินค้าในจำนวนที่เท่าๆกันกับการหาเสียงของผู้สมัคร ซึ่งก็จะเป็นข้ออ้างต่อผู้ชมรายการได้ว่า การโฆษณาดังกล่าวนั้นเป็นส่วนหนึ่งของรายการ ขณะเดียวกัน การเลือกสนับสนุนการถ่ายทอดช่วงเวลา หาเสียงของผู้สมัครแต่ละคน ก็เป็นไปได้ว่าแต่ละบริษัทจะมีประธานาธิบดีของตัวเองในใจอยู่แล้ว

อาจกล่าวโดยสรุปต่อความคิดของชิลเลอร์ในบทที่ 5 นี้ได้ว่า ในพื้นที่ใดที่บรรษัท เอกชนย่างเท้าก้าวเข้ามา ความล่มสลายก็จะถูกเร่งให้เกิดขึ้นต่อพื้นที่สาธารณะนั้นๆอย่างรวดเร็ว

ภาคผนวก "ประวัติและแนวความคิด"
เฮอร์เบิร์ต ไอ. ชิลเลอร์ (Herber Irving Schiller) ศาสตราจารย์ด้านการสื่อสารจากUniversity of California at San Diego เป็นนักวิพากษ์สื่อและสังคมอเมริกา ผู้ซึ่งได้รับความเคารพนับถือในหมู่ของนักสื่อสารมวลชนและนักวิชาการจากทั่วโลก มีชื่อเสียงโด่งดังจากการเขียนหนังสือเรื่อง Mass communication and American empire และหนังสือเล่มอื่นๆของเขาที่มุ่งวิพากษ์และเปิดโปงลัทธิจักรวรรดินิยมอเมริกา

ชิลเลอร์เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) ที่นิวยอร์ค จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก City College ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่ Columbia University และปริญญาเอกจาก New York University สมรสกับ Anita R. Schiller และมีบุตรสองคน

ชิลเลอร์เริ่มต้นงานสอนหนังสือเป็นครั้งแรกทางด้านเศรษฐศาสตร์ ทว่านับตั้งแต่ช่วง ทศวรรษ 1960s เป็นต้นมา ชิลเลอร์ได้หันเหความสนใจของเขามายังวงการสื่อสารมวลชน ในปีค.ศ. 1969 เขาเข้าร่วมงานกับ University of California at San Diego (UCSD) และร่วมเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งหลักสูตรทางการสื่อสารด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง ทำให้ภาควิชาของเขากลายเป็นภาควิชาที่มีหลักสูตรดีเยี่ยมที่สุดแห่งหนึ่งของโลก(2)

งานเขียนของชิลเลอร์ในช่วงแรกมุ่งความสนใจมายังอิทธิพลทางการเมืองและเศรษฐกิจที่มีต่อสถาบันต่างๆในสังคม เช่น โรงเรียน ห้องสมุด ฯลฯ ระบบสื่อสารมวลชน และอิทธิพลในการครอบงำระบบสื่อมวลชนโลกของบรรษัทเอกชนของอเมริกา ดังจะเห็นได้จากผลงานของเขาในเรื่อง Mass communication and American Empire และ The mind managers

ในช่วงทศวรรษ 1980s และ 1990s ชิลเลอร์มองเห็นความยุ่งยากอันเกิดจาก ปรากฏการณ์ยุคสังคมข่าวสาร (information society) ผลงานทางวิชาการของเขาที่ออกมาใน ช่วงเวลานี้ จึงมีลักษณะของการวิพากษ์วิจารณ์ไปยังเทคโนโลยีการสื่อสาร ที่มีส่วนสำคัญในการเพิ่มพลังอำนาจทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองต่อกลุ่มอภิสิทธิ์ชนและรัฐบาลอเมริกัน ดังเช่น Who knows : information in the age of the fortune 500 และ Culture, Inc. : the corporate takeover of public expression(3) ในหนังสือเล่มหลังนี้ ชิลเลอร์ได้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของ ผู้อุปถัมภ์ (sponsor) ในการเข้าครอบครองปริมณฑลการแสดงออกซึ่งความรู้สึกของสาธารณชน (public expression) รวมตลอดถึงการเปลี่ยนแปลงสถานะของข่าวสาร จาก "สาธารณะ" ไปสู่การตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน ซึ่งสอดคล้องกับยุคสมัยที่ความคิดที่ท้าทายหรือข่าวสารที่สามารถเชื่อถือได้ ได้ถูกแทนที่ด้วยลักษณะของเนื้องานแบบ "สาระบันเทิง" (infotainment)(4)

ในช่วงบั้นปลายชีวิต ชิลเลอร์ยังผลิตผลงานเขียนชิ้นสำคัญๆออกมาอย่างสม่ำเสมอ เช่น Living in the number one country : reflections from a critic of American Empire ที่เขามุ่งวิพากษ์ให้เห็นถึงวาทกรรมโฆษณาชวนเชื่อของอเมริกา "the free flow of information" ที่ถูกใช้เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับกลุ่มทุนข้ามชาติในการเข้าครอบครอง "อาณานิคม" ของตน(5)

ชิลเลอร์ยังได้คาดทำนายอนาคตของวงการสื่อมวลชนไว้ด้วยว่า ด้วยอิทธิพลของ ยักษ์ใหญ่ในวงการสื่อและการควบรวมกิจการของบรรษัทข้ามชาติ จะส่งผลกระทบอย่าง ใหญ่หลวงต่อการนำเสนอข่าวสารและชีวิตประจำวันของคน(6) ซึ่งเราอาจกล่าวได้ว่า ข้อสังเกต ดังกล่าวของชิลเลอร์ คือสิ่งที่สังคมไทยต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบัน

มีผู้กล่าวถึงบทบาทอันโดดเด่นในการวิพากษ์สื่อและสังคมของชิลเลอร์ไว้ว่า เปรียบเสมือนการผสมผสานกันอย่างดีระหว่างการวิพากษ์ของ Noam Chomsky นักวิพากษ์ฝ่ายซ้ายเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของอเมริกากับการวิเคราะห์สื่อมวลชน และ Neil Postman นักวิพากษ์แบบอนุรักษ์นิยม(7)

ชิลเลอร์ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) สิริรวมอายุได้ 80 ปี

NOTED UC SAN DIEGO COMMUNICATION SCHOLAR, MEDIA CRITIC HERB SCHILLER DIES

Herbert I. Schiller, professor emeritus of communication at the University of California, San Diego, who documented key shortcomings in the new information economy years before anyone called it that, died Jan. 29 in La Jolla, CA, after a long illness. He was 80 years old.

Schiller warned of two major trends in his prolific writings and speeches: the private takeover of public space and public institutions at home, and U.S. corporate domination of cultural life abroad, especially in the developing nations. His eight books and hundreds of articles in both scholarly and popular journals made him a key figure both in communication research and in the public debate over the role of the media in modern society.

The founding member of UCSD's Department of Communication, Schiller was an immensely popular teacher who always played to packed classrooms and was known for combining his biting criticisms of the media with dry humor and an openness to students' own ideas.

Schiller was a frequent and much sought after contributor to leading journals of opinion, including The Nation and Le Monde Diplomatique.

"Herb Schiller was a valuable national resource," said Neil Postman, author of "Amusing Ourselves to Death" and a professor of media ecology at New York University, where Schiller often taught in recent years. "It is not too much to say that he gave shape and texture to the modern study of communication and culture in America."

An economist by training, Schiller turned to the study of the media in the 1960s, publishing "Mass Communications and American Empire" in 1969 and "The Mind Managers" in 1973. The mass media, he argued, were closely tied to the centers of political and economic power. Because of these ties, they often fell short in their most crucial roles of providing a democratic forum and acting as the watchdog of powerful interests. This critique, which represented a dramatic break with the conventional wisdom in communication research at the time, permanently changed the agenda of communication scholarship by reintroducing issues of political and economic power, which had drawn little attention in the 1950s and'60s. With a very few other scholars, Schiller's early work founded what came to be known as the critical political economy school of communication research.

Appearing at a time of political activism both at home and around the world, Schiller's work also had wide impact beyond the scholarly community, inspiring media critics and activists of many kinds. It was widely translated, and had perhaps its greatest impact in developing countries, where the subservience of media to ruling elites and the dominance of world media markets by U.S. companies became significant political issues.

"Herbert Schiller was a media intellectual on a global scale," as Kaarle Nordenstreng, a Finnish scholar and president of the International Association for Mass Communication Research put it. "His ideas traveled well in the divided world of the East, West and South." In the 1970s, when sharp debates arose in UNESCO and other forums over cultural imperialism, Schiller's work was important in defining the position of the critics of Western media industries.

In the 1980s and '90s, Schiller turned his attention to the rise of the "information society," publishing, among other works, "Who Knows: Information in the Age of the Fortune 500" and "Culture Inc.: The Corporate Takeover of Public Expression." In these works, he argued that the new information technologies extended the power relations he criticized in his earlier work, allowing corporate power to penetrate new parts of the world and new areas of life, including education.

Schiller continued writing to the end of his life, recently completing "Living in the Number One Country: Reflections from a Critic of American Empire," which will be published by Seven Stories Press this year. The book is in part an account of the development of his own political ideas.

Schiller was born in 1919 in New York City, the son of Benjamin Schiller and the former Gertrude Perner. He grew up in the Washington Heights section of northern Manhattan, and attended DeWitt Clinton High School and City College of New York.

His own life, he liked to say, paralleled in many ways that of the United States in the 20th century. His father, a jeweler, was thrown out of work early in the Great Depression, and only regained steady employment when the war economy revved up a decade later. Schiller himself was able to finish a Ph.D. at New York University because of the GI Bill, and became a professor at the University of Illinois soon after the build-up of higher education after the Soviet Union launched the Sputnik satellite. As an occupation officer in Berlin after World War II, Schiller saw the recreation of much of the prewar economy in West Germany as a business-dominated social order.

Schiller came to UCSD in 1970 to establish the Communication Program. Throughout the 1970s, Communication at UCSD was a fragile entity, popular among students but marginal within the academic structure of the university. On a number of occasions it was close to elimination. In 1982, it finally became a regular department of the university, and two years later it established a Ph.D. program, which came to be among the best known worldwide.

"When I arrived here in 1978," recalls Communication Department colleague, Professor Michael Cole, "Herb was the heart, soul, and rallying point for students interested in critical studies of the media. The conversion of Communication from a small program to a large, world-class department, is in no small measure a monument to Herb's energy and determination."

Schiller is survived by his wife Anita of La Jolla; two sons, Dan, of Del Mar, CA and Zach of Cleveland, OH; and two grandchildren.

เอกสารอ้างอิง
2 อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์. 2544. การสื่อสารและการครอบงำทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : โครงการสื่อสันติภาพ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
3 http://www-senate.ucsd.edu/assembly/schiller.htm
4 http://www.guardian.co.uk/print/0,3858,3964644,00.html
5 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก http://www.ralphmag.org/AD/schiller.html
6 http://cryptome.sabotage.org/schiller.htm
7 http://cryptome.sabotage.org/schiller.htm

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)

 

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 293 หัวเรื่อง "เฮอร์เบิร์ต ไอ. ชิลเลอร์ : การเข้าครอบครองพื้นที่
สาธารณะของบรรษัทเอกชน" แปลโดย : นิษฐา หรุ่นเกษม เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซค์ ม.เที่ยงคืน 2 สิงหาคม2546

 

020846
release date
R
ภาพประกอบดัดแปลง : ภาพถ่าย Herbert Schiller ใช้ประกอบบทความฟรีของ ม.เที่ยงคืน
Schiller was born in 1919 in New York City, the son of Benjamin Schiller and the former Gertrude Perner. He grew up in the Washington Heights section of northern Manhattan, and attended DeWitt Clinton High School and City College of New York.
บทความทางวิชาการนี้ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปใช้ ประโยชน์ทางวิชาการ
หากสมาชิกหรือนักศึกษาประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะแก้ปัญหาการซ้อนกันได้
เว็ปไซค์นี้ออกแบบขึ้นมาให้ใช้กับ Microsoft Internet Explorer ขนาด font = medium
บทความจากสมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เผยแพร่โดยไม่มีการตัดทอน (บทความนี้ยาวประมาณ 11 หน้ากระดาษ A4)
พิพิธภัณฑ์ในอดีตมักถูกใช้เพื่อเป็นแหล่งความรู้สาธารณะ จนกระทั่งในช่วงกลางทศวรรษ 1960s ที่พิพิธภัณฑ์ถูกรวมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นเครื่องมือหรือช่องทางในประชาสัมพันธ์ของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ เริ่มจาก Metropolitan Museum of Art, New York ที่ประดับประดาบริเวณด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ในระหว่างการจัดแสดงนิทรรศการครั้งหนึ่ง ด้วยแบนเนอร์ชื่อของบริษัทสปอนเซอร์ขนาดใหญ่กลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ที่ใช้พิพิธภัณฑ์เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ดังกล่าว ตัวอย่างเช่น Mobile Oil Corporation, Chase Manhattan Bank, AT&T, Exxon
ข้อที่น่าสังเกตประการหนึ่งคือ กลุ่มธุรกิจสปอนเซอร์เหล่านั้นจะให้เงินหล่อลื่นในการจัด กิจกรรมหรือแสดงนิทรรศการ เฉพาะประเด็นที่เป็นกลางหรือไม่เป็นประเด็นที่เป็นวิพากษ์วิจารณ์สังคม ผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมา ก็คือการเซ็นเซอร์ตัวเอง (self-censorship) ของ คณะกรรมบริหารพิพิธภัณฑ์ ซึ่งก็ไม่แตกต่างไปจากรายการโทรทัศน์ ที่อิทธิพลจากกลุ่มผู้อุปถัมภ์มีส่วนเป็นอย่างมากในการกำหนดเนื้อหาที่จะผลิตหรือเนื้อหาที่จะเผยแพร่
N
next