มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสื่อและสังคม
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
หมายเหตุ
: บทความนี้ยาวประมาณ 5 หน้า แปลและเรียบเรียงมาจากหนังสือ Media and Society
เขียนโดย Michael O'Shaughnessy,
Jane Stadler. Oxford University Press, Second edition, 2002 (ข้อมูลจากบทที่
1 Defining the Media)
1. Defining
the Media (นิยามความหมายเกี่ยวกับสื่อ)
สื่อ(media) เป็นศัพท์คำหนึ่งที่ถูกใช้โดยทั่วไป แต่ความหมายที่แท้จริงของมันคืออะไร?
คำว่า"สื่อ"เป็นคำที่คลุมถึงเรื่องทั้งหมดของระบบการสื่อสารสมัยใหม่ ยกตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร การโฆษณา และสื่อที่ใช้ในการโต้ตอบกันอย่างหลากหลาย อย่างเช่นพวก interactive multimedia. นอกจากนี้เรายังสามารถรวมเอาเรื่องของวิดีโอเกมส์ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ เพจเจอร์ อินเตอร์เน็ต และ virtual reality แม้กระทั่งตุ๊กตาสัตว์เลี้ยงทามากอชิ(tamagochi toy pets)เข้ามารวมไว้ด้วยได้
การนิยามเกี่ยวกับสื่อเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย เพราะสื่อได้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาด้วยพัฒนาการของรูปแบบใหม่ๆและเทคโนโลยี. แต่อย่างไรก็ตาม มันมีอัตลักษณ์อยู่จำนวนหนึ่ง และพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ รวมถึงปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดทางสังคมและเศรษฐกิจซึ่งได้มาวางเค้าโครงให้สื่อต่างๆเป็นไป และสิ่งเหล่านี้สามารถที่จะนำพาเราไปสู่นิยามความหมายเกี่ยวกับ"สื่อ"ได้
อัตลักษณ์ต่างๆของสื่อ (Media Characteristics)
- สื่อ คือระบบการสื่อสารต่างๆของมนุษย์
- สื่อ ใช้กระบวนการต่างๆทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเพื่อผลิตสารต่างๆ(messages)ขึ้นมา
- โดยทั่วไป สื่อมีเป้าหมายที่จะบรรลุถึงผู้รับจำนวนมาก และด้วยเหตุนี้บางครั้งจึงถูกอ้างในฐานะที่เป็นปฏิบัติการทางด้านสื่อสารมวลชน โดยผ่าน"การผลิตจำนวนมาก"ที่เรียกว่า mass production; ความสำเร็จของสื่อ บ่อยครั้งถูกสร้างขึ้นบนความนิยมชมชอบ
- ปกติแล้ว สื่อมีจุดมุ่งหมายที่จะยอมให้มีการสื่อสารข้ามระยะทาง(และข้ามเวลา)ระหว่างผู้คน หรือยินยอมให้มีการสื่อสาร ซึ่งผู้ส่งไม่ได้ต้องการให้เป็นปัจจุบัน ดังเช่นที่การสื่อสารจะมีการบันทึกรายการเอาไว้ล่วงหน้า และทำการถ่ายทอดสัญญานทีหลัง
- สื่อได้รับการเรียกขานว่า"สื่อ" เพราะโดยแท้จริงแล้ว พวกมันอยู่ในระหว่างกลางนั่นเอง หรือเป็นกระบวนการตรงกลางของสายโซ่ของการสื่อสารอันนี้(media หมายถึง middle ในภาษาลาติน); มันคือลัทธิจักรกลนิยมที่เชื่อมต่อระหว่างผู้ส่งและผู้รับสารทั้งหลาย
- พัฒนาการของสื่อได้รับผลกระทบโดยผลประโยชน์ทางการพาณิชย์ที่ยอมรับว่า สื่อโดยศักยภาพแล้ว เป็นอุตสาหกรรมที่ให้ผลกำไรสูง
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
(Historical Developments)
มันมีช่วงเวลาและประวัติศาสตร์ที่สำคัญๆอยู่หลายช่วงในพัฒนาการเกี่ยวกับสื่อดังนี้
:
1. สื่อหลักที่สำคัญอันแรกในวัฒนธรรมตะวันตกก็คือ เรื่องของการพิมพ์ในราวคริสตศตวรรษที่ 16 ซึ่งได้น้อมนำไปสู่การผลิตซ้ำและการกระจายตัวของข้อมูลและความบันเทิงโดยผ่านหนังสือ สิ่งพิมพ์ขนาดเล็ก(pamphlets) และหนังสือพิมพ์. พัฒนาการของการผลิตกระดาษขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ได้ช่วยให้ผลิตผลที่อออกมาของสื่อเพิ่มจำนวนมากขึ้น
2. ช่วงระหว่างคริสตศตวรรษที่ 18-19 การปฏิวัติทางด้านอุตสาหกรรมในยุโรป ได้มองเห็นรูปแบบใหม่ๆของพลังและการผลิตที่น้อมนำไปสู่พัฒนาการที่รวดเร็วมากขึ้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีการพิมพ์. ในเวลาเดียวกันนั้น ได้มีการปฏิวัติในระบบการคมนาคมต่างๆ เช่น ทางรถยนต์ รางรถไฟ และการลำเลียงทางน้ำ. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่สำคัญและรูปแบบใหม่ของการผลิตทางด้านอุตสาหกรรม นำไปสู่การเจริญเติบโตอย่างมากมายเกี่ยวกับจำนวนประชากรในเมืองและแบบแผนใหม่ๆเกี่ยวกับการทำงานและการพักผ่อนหย่อนใจ. อุปสงค์หรือความต้องการสำหรับการสื่อสารที่รวดเร็วเกี่ยวกับข้อมูลและความบันเทิง ได้เพิ่มจำนวนความสามารถในการอ่านออกเขียนได้มากขึ้นเป็นเงาตามตัว
3. ในช่วงปลายของคริสตศตวรรษที่ 19 และในช่วงครึ่งแรกของคริสตศตวรรษที่ 20 ได้เห็นถึงการแตกตัวอย่างขนานใหญ่ของระบบการสื่อสารและเทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งได้มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเราในหลายๆทาง. การปรากฎตัวของภาพถ่าย ภาพยนตร์ การบันทึกเสียง วิทยุ และต่อมาคือโทรทัศน์; พัฒนาการเกี่ยวกับโทรศัพท์ และโทรเลข; และระบบต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วพร้อมๆกันเกี่ยวกับการเดินทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รถยนต์ รถไฟ และเครื่องบิน ทั้งหมดได้ร่วมกันไปกับการเปลี่ยนแปลงแผนที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมของมนุษย์ไปตลอด. ผู้คนดำรงอยู่ในระบบอุตสาหกรรม ประเทศต่างๆที่พัฒนาแล้วยอมรับสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดในฐานะที่เป็นเงื่อนไขพื้นฐานสำหรับชีวิตมนุษย์. สื่อคือต้นตอที่สำคัญของความรู้และความบันเทิง และเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างที่แท้จริงเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของพวกเรา. ได้มีการประเมินว่า ในช่วงชีวิตถัวเฉลี่ย 70 ปี เป็นไปได้ว่าชาวตะวันตกคนหนึ่งจะใช้เวลาประมาณ 7 ปีเต็มไปกับการดูโทรทัศน์. และเมื่อพวกเราแยกแยะการใช้เวลาที่เกี่ยวพันอยู่กับการสื่อสารทางด้านคอมพิวเตอร์ (CMC) [computer-mediated communication), ถัวเฉลี่ยแล้วแต่ละคนจะใช้เวลาไปประมาณ 10% ของชีวิตไปกับการโฟกัสอยู่กับหน้าจอภาพ, เพื่อบริโภคสื่อที่มีรูปแบบแตกต่างหลากหลาย. ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวพับการพูดคุย(chatting)และการส่งสารต่างๆด้วยโทรศัพท์มือถือ อีเมล์, การโต้คลื่นหรือการช็อปปิ้งบนอินเตอร์เน็ต การฟังเพลงจากแผ่นซีดีหรือวิทยุอินเตอร์เน็ต(internet radio)ในขณะที่กำลังทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี, ดาวน์โหลดข่าวสารออนไลน์, การมีส่วนร่วมในอินเตอร์เน็ทแบงกิ้ง และตกอยู่ในโฆษณาออนไลน์ หรือกำลังดูรายการอย่าง Survivor บนจอโทรทัศน์ และล็อคออนเข้าไปสู่ระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อตรวจสอบเกี่ยวกับพัฒนาการระหว่างเรื่องราวต่างๆ, สื่อที่เป็นภาพเหล่านี้ล้วนมีอยู่ทั่วไปทุกหนทุกแห่งในชีวิตสมัยใหม่. แต่อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงสื่อก็ยังไม่ได้เป็นไปอย่างเสมอภาคทั่วโลก ผู้คนจำนวนมากและหลายๆวัฒนธรรมยังคงยังคงไม่สามารถเข้าถึงสื่อเป็นการส่วนตัวได้ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ หรือคอมพิวเตอร์
4. นับจากปี ค.ศ.1980 และดังที่เราเคลื่อนคล้อยเข้าสู่คริสตศตวรรษที่ 21, เรากำลังเผชิญหน้าและประสบกับการปฏิวัติอีกครั้งในเรื่องของการสื่อสาร - นี้คือผลอันเนื่องมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชิพคอมพิวเตอร์. ดาวเทียมและการสื่อสารผ่านสายเคเบิล, โทรทัศน์ระบบดิจิตอล, คอมพิวเตอร์, วิดีโอเกมส์, ภาพเสมือนจริง(virtual reality), และอินเตอร์เน็ตกำลังเปลี่ยนแปลงแบบแผนเกี่ยวกับพฤติกรรมของเราอีกครั้งหนึ่ง, วิธีการของเราเกี่ยวกับการเข้าถึงความรู้, ความบันเทิง, และวิธีการมองโลกของเรา รวมถึงปฏิกริยาโต้ตอบกับอีกคนหนึ่ง จริงๆแล้ว เรากำลังอยู่ในโลกของสื่อนั่นเอง
ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดทางสังคมและเศรษฐกิจ
(Economic and Social Determinants)
พัฒนาการต่างๆเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการใช้ประโยชน์ทางด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเพื่อผลิต
ส่ง และรับสาร. แต่อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมิได้เกิดขึ้นมาจากมนต์วิเศษแต่อย่างใด.
บรรดานักวิเคราะห์สื่อทั้งหลายได้ตั้งคำถามทำนองว่า: อะไรที่เป็นตัวก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีและการพัฒนาต่างๆ?
อะไรเป็นสาเหตุให้สื่อเป็นไปในหนทางอย่างที่พวกมันเป็นอยู่เช่นในปัจจุบัน? และอะไรคือตัวที่มากำหนดพวกมัน?
คำตอบหลักๆคือ สื่อต่างๆได้พัฒนาขึ้นมาในกรอบโครงร่างทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นตัวกำหนด
การเปลี่ยนแปลงทางด้านสื่อส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ด้วยเหตุนี้พัฒนาการของพวกมันจึงได้รับอิทธิพลด้วยแรงกระตุ้นต่างๆเกี่ยวกับผลกำไร: พวกมันได้รับการพัฒนาขึ้นในลักษณะที่เป็นส่วนตัว เป็นเรื่องของผลประโยชน์เกี่ยวกับการทำเงิน. ประวัติศาสตร์ของสื่อได้แสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีโน้มเอียงที่จะได้รับการทำให้สัมฤทธิผลเมื่อพวกมันถูกมองเป็นเรื่องของการให้ผลกำไรได้
แต่อย่างไรก็ตาม ข้อสังเกตคือว่า รัฐบาลต่างๆได้ให้ความเอาใจใส่เกี่ยวกับพลังที่เป็นศักยภาพของสื่อ และพยายามที่จะรักษาการควบคุมบางอย่างเอาไว้โดยผ่านกฎหมายการเซ็นเซอร์ การให้ใบอนุญาต และดังที่เรียกกันว่า public ownership of the media (สื่อที่เป็นเจ้าของโดยสาธารณชน)
ในความสัมพันธ์กับเรื่องของโทรทัศน์ ผลลัพธ์ของความพยายามอันนี้ที่จะรักษาการควบคุมเหนือพลังอำนาจของสื่อเอาไว้ บ่อยครั้ง เป็นระบบที่มีการแบ่งแยกออกเป็นสองส่วนในการเป็นเจ้าของสื่อ คือ การเป็นเจ้าของโดย"สาธารณชน"และโดย"เอกชน"(public and private ownership):
อย่างเช่น ในออสเตรเลีย สถานีโทรทัศน์ ABC เป็นระบบการกระจายสื่อที่เป็นเจ้าของโดยสาธารณะ ขณะที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 7, 9, และ 10 (รวมทั้งสัญญานดาวเทียมและเคเบิล)ทั้งหมดเป็นเจ้าของโดยเอกชน: ในสหราชอาณาจักร(อังกฤษ) สถานีโทรทัศน์ BBC เป็นของสาธารณะ ขณะที่ ITV, ช่อง 4 และ 5 สัญญานดาวเทียมและเคเบิลทีวีเป็นของเอกชน. และถ้าหันมาดูที่สหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่ของสถานีโทรทัศน์ในสหรัฐฯเป็นเจ้าของโดยเอกชน หรือเป็นอิสระ
โดยทั่วไป สื่อของเอกชนจัดหาทุนให้กับตัวเองโดยการโฆษณา และด้วยเหตุนี้มันจึงเชื่อมโยงกับการผลิตและการบริโภคทางด้านเศรษฐกิจ และมันมีขนาดที่ใหญ่กว่าระบบสาธารณะมาก แต่พวกมันยังคงผูกพันอยู่กับกฎหมายส่งเสริมและป้องกันต่างๆเกี่ยวกับเรื่องของความเหมาะสม และการยอมรับที่จะถูกตรวจสอบควบคุม โดยผ่านกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยรัฐบาล
พัฒนาการทางด้านเทคนิคและวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้ช่วยสนับสนุนต่อการพัฒนาทางด้านสื่อ(หนึ่งในรายล่าสุดคือการทำให้โทรทัศน์เป็นระบบดิจิตอล) ตัวของพวกมันเองได้ถูกกำหนดโดยปัจจัยอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น ความต้องการเทคโนโลยีเกี่ยวกับการสงคราม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 รวมทั้งช่วงสงครามเย็น ซึ่งได้มาช่วยสนับสนุนต่อนวัตกรรมใหม่ๆในด้านสื่อเป็นอย่างมาก
พัฒนาการเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางด้านกล้องถ่ายวิดีโอในช่วงต้นๆเป็นตัวอย่าง เป็นสิ่งที่สัมพันธ์กันกับการใช้ประโยชน์ของมันสำหรับการควบคุมตรวจตราทางด้านการทหารของอเมริกัน. อินเตอร์เน็ต, เคเบิลทีวี, และเทคโนโลยีดาวเทียม แรกเริ่มเดิมทีนั้นก็ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อกองทัพเป็นสำคัญ
เพราะเหตุแห่งเรื่องผลประโยชน์อันไม่เปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ที่ได้มีอิทธิพลต่อเนื้อหาและการตีความเกี่ยวกับเนื้อหาของสื่อ คำถามต่างๆเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสื่อ ผลกำไร และความเป็นเจ้าของ จึงเป็นสิ่งสำคัญและได้สร้างพื้นฐานสำหรับการศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองเกี่ยวกับสื่อ(the political economy of the media)ขึ้นมา
สรุป (conclusion)
ขณะที่ความสลับซับซ้อนเกี่ยวกับสื่อได้สร้างนิยามความหมายต่างๆที่ค่อนข้างยุ่งยากขึ้นมา
นิยามความหมายสั้นๆต่อไปนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการเป็นจุดเริ่มต้นอันหนึ่งในการทำความเข้าใจเรื่องของสื่อ
:
สื่อได้รับการพัฒนาขึ้นมาทางด้านเทคโนโลยี และรูปแบบเกี่ยวกับการสื่อสารของมนุษย์ที่ทำกำไรได้ทางเศรษฐกิจ ซึ่งได้รับการครอบครองเป็นเจ้าของโดยสาธารณชนและโดยเอกชน สื่อสามารถถ่ายทอดข้อมูลและความบันเทิงข้ามกาลเวลาและสถานที่ไปยังผู้คนกลุ่มใหญ่ได้
การถ่ายทอดข้อมูลอันนี้ไม่ได้เป็นไปในลักษณะทางเดียว บรรดาผู้รับเกี่ยวกับสารที่สื่อออกมาได้ถูกนำไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการสื่อสารด้วย ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของวงจรย้อนกลับที่มีอิทธิพลต่อการผลิตสื่อ. ขณะที่มันเป็นจริงด้วยว่า รูปแบบของสื่อเป็นจำนวนมาก อย่างเช่น โทรทัศน์ วิทยุ ภาพยนตร์ และหนังสือพิมพ์ มีการไหลเลื่อนที่ไม่สมดุลกันของการสื่อสาร จากด้านหนึ่งคือผู้ส่งสารไปสู่อีกด้านหนึ่งของผู้รับสารที่มีเป็นจำนวนมาก
การเกิดขึ้นมาของรูปแบบสื่อในลักษณะโต้ตอบกันได้หรือ interactive media forms ได้เปลี่ยนแปลงพลวัตอันนี้ แม้กระทั่งโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ ผู้รับสารได้ช่วยสนับสนุนบางสิ่งบางอย่างต่อการแลกเปลี่ยนทางการสื่อสารดังกล่าว (เริ่มต้นโดยผ่านกระบวนการเกี่ยวกับความหมายที่สร้างขึ้นมา และยังผ่านเรตติ้งหรือจำนวนผู้ดู, การวิจัย, การ talk-back (หมายถึงการสื่อสารสองทาง), จดหมายถึงบรรณาธิการ, และกลไกการย้อนกลับอื่นๆ)
จากแบบจำลองอันหนึ่งถึงแบบจำลองจำนวนมากเกี่ยวกับการสื่อสารมวลชน มันได้รับการเปลี่ยนรูปไปด้วย โดยความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ดังที่เราจะได้สัมผัสต่อไป
(สนใจอ่านต่อบทที่ 2 คลิกที่นี่)
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I ประวัติ ม.เที่ยงคืน
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้
1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)