ถ้าหากว่าสังคมประชาธิปไตยของตะวันตกเต็มไปด้วยความไม่เสมอภาคต่างๆทางสังคม ทำไมมันจึงไม่เกิดความสับสนหรือความไร้ระเบียบและความแตกแยกกันทางสังคมขึ้นมา? ทำไมจึงไม่เกิดการกบฎขึ้นบ่อยๆอันเนื่องมาจากความเสียเปรียบ การตกเป็นเบี้ยล่างที่ไม่เสมอภาคกันนี้? ทำไมผู้คนเป็นจำนวนมากจึงดูเหมือนยอมรับความเป็นรองของพวกเขา?
โดยทั่วไป สังคมประชาธิปไตยตะวันตกได้ค้นพบช่องทางต่างๆในการค้ำจุนหรือธำรงรักษาความมีเสถียรภาพของสังคมเอาไว้ ซึ่งในเวลาเดียวกัน มันก็เกื้อกูลความไม่เสมอภาคหรือความไม่เท่าเทียมทางสังคมเอาไว้ด้วยเช่นกัน. พวกเขาประสบความสำเร็จในการชักจูงหรือโน้มน้าวการรับรู้ ความเชื่อ และค่านิยมต่างๆของผู้คนจำนวนมากเอาไว้ได้ มันเป็นการเอาชนะใจและความคิดของพวกเขา จนกระทั่งพวกเขายอมรับสภาพการณ์ที่เป็นอยู่
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
อะไรคือสิ่งที่สื่อทำกับเรา?
สื่อและสังคม
What Do the Media Do to Us? Media and Society
สมเกียรติ
ตั้งนโม
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความนี้ยาวประมาณ
31 หน้า แปลและเรียบเรียงมาจากหนังสือ Media and Society
เขียนโดย Michael O'Shaughnessy, Jane Stadler. Oxford University Press, Second
edition, 2002
(ข้อมูลจากบทที่ 3 What Do the Media Do to Us?)
เรื่อง"การศึกษาเกี่ยวกับสื่อ"(media studies) เป็นเรื่องที่ไปเกี่ยวพันกับคำถามต่างๆทางสังคมในเรื่องบทบาทหน้าที่ของสื่อ ในบทนี้เราจะมาดูกันถึงเรื่องของสื่อกับสังคม และสำรวจถึงความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองส่วนนี้
ภาพกว้างเกี่ยวกับสังคมร่วมสมัย
(Contemporary Society)
ข้อเสนอที่เป็นสมมุติฐานเบื้องต้น 3 ประการต่อไปนี้จะเป็นพื้นฐานของการสนทนาต่อไป
1. ความเปลี่ยนแปลงและวิกฤตการณ์ (Change and crisis) พวกเรากำลังดำรงอยู่ในโลกที่กำลังเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงและความยุ่งยากทางสังคมและการเมือง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ดำเนินมาตลอดคริสตศตวรรษที่ 20 ซึ่งเมื่อมองอย่างผิวเผิน ดูเหมือนว่ามันเป็นบางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม อัตราความเร็วของความเปลี่ยนแปลงนี้ดูจะเป็นไปในอัตราเร่ง และปัจจุบันเรากำลังประสบกับประเด็นปัญหาที่สำคัญที่ตามมาคือ
ก. วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของความเจริญเติบโต การบริโภค และการผลิต
ข. วิกฤตการณ์ทางการเมืองในกรณีต่างๆเกี่ยวกับการต่อสู้กันเชิงอำนาจ ซึ่งได้รับการเติมเชื้อเพลิงโดยความแตกต่างทางชาติพันธุ์ ประชาชาติ และศาสนา เช่นเดียวกับความไม่เสมอภาคทางสังคม ที่กำลังทำให้สังคมแต่ละสังคมแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย: ยกตัวอย่างเช่น ความขัดแย้งในยูโกสลาเวียก่อนหน้านี้, รวมไปถึงความขัดแย้งที่ผ่านมาในสหภาพโซเวียต, ราวันดา, ไอน์แลนด์เหนือ, และแอฟริกาใต้: และการต่อสู้ระหว่างประเทศต่างๆ (ตัวอย่างเช่น, ติมอร์ตะวันออกกับอินโดนีเซีย, อินเดียและปากีสถาน, อิสราเอลกับปาเลสติเนียน, จีนและธิเบต, รวมถึงอิรัคกับประเทศพันธมิตรโลกตะวันตก(Irag and the Western-bloc countries)ค. วิกฤตการณ์ทางนิเวศวิทยาเกี่ยวกับมลภาวะต่างๆ, ความร้อนที่เพิ่มขึ้นของโลก, และทรัพยากรธรรมชาติที่กำลังลดน้อยถอยลง. ขอบเขตเกี่ยวกับวิกฤตการณ์อันนี้ยังไม่ชัดเจน แต่มันแขวนลอยเราอยู่ และทำให้เราปวดหัวเรื่อยมา
2. ความไม่เสมอภาคและความแตกต่าง
(Inequality and difference)
เมื่อมองโลกนี้ทั้งใบ และในสังคมตะวันตกแต่ละสังคม จะพบความไม่เสมอภาคทางสังคมที่สำคัญ.
สังคมทั้งหลายประกอบด้วยเครือข่ายที่สลับซับซ้อนอันหนึ่งของกลุ่มคนที่แตกต่าง
- บางครั้ง เป็นเรื่องของการแข่งขัน บางครั้งเป็นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนกัน.
บางกลุ่มของคนเหล่านี้ได้รับประโยชน์(อย่างในกรณีเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ทางสังคม
เช่น ที่อยู่อาศัย, หรือการศึกษา, และโอกาสของชีวิตต่างๆ) โดยทั้งนี้มาจากพื้นฐานกำเนิดที่ได้เปรียบ
ความมั่งคั่ง และฐานะทางชนชั้น สีผิวของพวกเขา, และรวมกระทั่งถึงเพศของพวกเขาด้วย
ผลลัพธ์ที่ตามมา จึงทำให้มีกลุ่มคนที่ได้เปรียบและเสียเปรียบทางสังคมเกิดขึ้น
หรือเมื่อวางเรื่องนี้ลงบนอีกด้านหนึ่ง จะพบว่ามีคนบางกลุ่มที่มีอิทธิพล ส่วนคนอีกกลุ่มหนึ่งต้องตกเป็นรอง. สำหรับพื้นที่การแบ่งแยกทางสังคม คำว่าพื้นที่ ได้แก่ ชนชั้น(class), เพศ(gender), และเชื้อชาติ(race) แม้ว่าในบางบริบท ศาสนา, อายุ, ลักษณะทางเพศ, วรรณะ-วงศ์ตระกูล, และการศึกษา สามารถเกี่ยวพันกับการแบ่งแยกที่ไม่เป็นธรรมอันนี้ในบางหนทางได้ด้วยก็ตาม ซึ่งบ่อยครั้ง มันถูกนำไปสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการแบ่งหมวดหมู่ทั้งสามข้างต้น. ชนชั้น, เชื้อชาติ, และเพศ มักจะมามีส่วนจำกัดและสร้างสรรค์โอกาสสำหรับปัจเจกชนทั้งหลายและกลุ่มคนต่างๆที่จะรุ่งเรืองเฟื่องฟู และบรรลุถึงฐานะตำแหน่งอันเป็นที่ปรารถนาในสังคม
ความไม่เสมอภาคทั่วโลก (Global inequality) นับจากการเริ่มต้นสำรวจต่างๆ และการล่าอาณานิคมในส่วนต่างๆของโลก โดยยุโรปในช่วงคริสตศตวรรษที่ 16 มันมีความแตกต่างหลักๆในเรื่องของความมั่งคั่งระหว่างประเทศและวัฒนธรรมที่ต่างกัน แต่อย่างไรก็ตาม ขณะที่เราอาจจินตนาการว่า โลกกำลังมีความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจมากขึ้นในคริสตศตวรรษที่ 20 และ 21ความตรงข้ามดูเหมือนว่าจะเป็นจริงขึ้นมาเช่นเดียวกัน ดังปรากฎเป็นหลักฐานขึ้นมาโดยข้อมูลจากเว็ปไซค์ในนิตยสาร New Internationalist ดังนี้:
ความไม่เสมอภาคยังคงเพิ่มขึ้น. การสำรวจในปี ค.ศ.1976 พบว่า ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ร่ำรวยกว่าประเทศโมซัมบิคกว่า 52 เท่า; และเมื่อสำรวจอีกครั้งในปี ค.ศ.1997 ปรากฎว่าประเทศแรกร่ำรวยกว่าประเทศหลังถึง 508 เท่า. เมื่อประมาณ 250 ปีมาแล้ว ประเทศต่างๆที่ร่ำรวยที่สุด รวยกว่าประเทศที่ยากจนที่สุดเพียง 5 เท่า และยุโรป รวยกว่าประเทศจีนและอินเดียเพียงหนึ่งเท่าตัวเท่านั้น (New Internationalist, www. Newint.org/index4.html)
3. การธำรงความยินยอมเอาไว้ในประชาธิไตยตะวันตก
(Maintaining consent in Western democraties)
ถ้าหากว่าสังคมประชาธิปไตยของตะวันตกเต็มไปด้วยความไม่เสมอภาคต่างๆทางสังคม ทำไมมันจึงไม่เกิดความสับสนหรือความไร้ระเบียบและความแตกแยกกันทางสังคมขึ้นมา?
ทำไมจึงไม่เกิดการกบฎบ่อยๆอันเนื่องมาจากความเสียเปรียบ การตกเป็นเบี้ยล่างที่ไม่เสมอภาคกันนี้
ทำไมผู้คนเป็นจำนวนมากจึงดูเหมือนยอมรับความเป็นรองของพวกเขา? แน่นอน มันมีภาวะความแตกแยกทางสังคมบางอย่างเกิดขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องของอาชญากรรม
แต่อย่างไรก็ตาม ปกติแล้ว อาชญากรรมไม่ได้ถูกเข้าใจในฐานะที่เป็นการกระทำต่างๆของคนกลุ่มต่างๆทางสังคมที่ถูกกดขี่ ผู้ซึ่งกำลังต่อสู้ดิ้นรนเพื่อการแบ่งสรรความมั่งคั่งร่ำรวยกันใหม่อีกครั้ง และมีวาระทางการเมือง. ตรงกันข้าม โดยปกติแล้ว อาชญากรรมถูกเข้าใจและได้รับการนำเสนอผ่านสื่อ ในฐานะที่เป็นการกระทำต่างๆของคนที่ผิดปกติ เป็นเรื่องความป่วยไข้ทางจิตวิทยา (หรือความชั่ว)ของแต่ละปัจเจกบุคคล
โดยทั่วไป สังคมประชาธิปไตยตะวันตกได้ค้นพบช่องทางต่างๆในการค้ำจุนหรือธำรงรักษาความมีเสถียรภาพของสังคมเอาไว้ ซึ่งในเวลาเดียวกัน มันก็เกื้อกูลความไม่เสมอภาคหรือความไม่เท่าเทียมทางสังคมต่อไปด้วยเช่นกัน. พวกเขาประสบความสำเร็จในการชักจูงหรือโน้มน้าวการรับรู้ ความเชื่อ และค่านิยมต่างๆของผู้คนจำนวนมากเอาไว้ได้ มันเป็นการเอาชนะใจและความคิดของพวกเขา จนกระทั่งพวกเขายอมรับสภาพการณ์ที่ดำรงอยู่
ความยินยอมอันนี้ถูกรักษาเอาไว้ได้อย่างไร? ข้อความต่อไปนี้คือข้อเสนอหรือสมมุติฐานเบื้องต้นบางอย่าง ที่เกี่ยวพันกับคำถามที่สลับซับซ้อนอันนี้
3.1 ระบบเสรีประชาธิปไตยต่างๆของตะวันตก
ในประเทศตะวันตกได้ให้สิทธิแก่คนทุกคนในการออกเสียงเลือกตั้ง (ในออสเตรเลีย อันนี้ถือเป็นข้อผูกมัดทางกฎหมายเลยทีเดียว). ความจริงในทางปฏิบัติ การออกเสียงเลือกตั้ง นำมาซึ่งพลังอำนาจที่เป็นตัวแทนของพรรคการเมืองซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวแทนและพูดถึงบุริมสิทธิ์, คุณค่า-ค่านิยมต่างๆ และความเชื่อทั้งหลายของคุณอย่างชัดเจนและดีที่สุด. เพราะบรรดานักการเมืองทั้งหลายเป็นตัวแทนทัศนะต่างๆของพลเมือง ซึ่งได้ออกเสียงเลือกตั้งให้กับพวกเขา ระบบอันนี้ได้รับการเรียกว่า"ประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน"อันหนึ่ง หรือ a representative democracyอย่างชัดเจน สื่อได้แสดงบทบาทหน้าที่สำคัญในกระบวนการเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนและการสื่อสารถึงนโยบายต่างๆทางการเมือง รวมไปถึงประเด็นปัญหาต่างๆ(ซึ่งแต่ละพรรคการเมืองยกขึ้นมา)และอื่นๆ. แต่ในเชิงปฏิบัติ มันมีข้อจำกัดต่างๆของประชาธิปไตย: นั่นคือ ในระบอบประชาธิปไตยส่วนใหญ่ จะมีพรรคการเมืองที่ทรงพลังและมีนัยสำคัญทางการเมืองเพียง 2-3 พรรคเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ พลังอำนาจในการออกเสียงของคุณ จึงถูกจำกัดกับนโยบายและค่านิยมต่างๆที่พวกนักการเมืองกำลังตั้งใจที่จะสนับสนุน ฃ
เนื่องจากความต้องการที่จะเรียกร้องดึงดูดผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งส่วนใหญ่ ทัศนะต่างๆของพรรคการเมืองหลักๆ จึงค่อนข้างมีลักษณะอนุรักษ์นิยมและค่อนข้างนิ่งอยู่กับที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกี่ยวกับฐานที่มั่นหลักๆที่สำคัญต่างๆ บ่อยครั้ง สิ่งเหล่านี้ถูกทำให้เป็นเสียงของคนส่วนใหญ่ โดยความพยายามต่างๆของสื่อที่จะเสนอต่อผู้คนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ในสหรัฐอเมริกา ผู้ที่มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งประมาณ 50 เปอร์เซนต์เท่านั้น ที่ออกเสียงให้กับการเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีจริงๆ. พวกเราจะสรุปได้ไหมว่า อีก 50 เปอร์เซนต์ของผู้คนที่มีสิทธิ์เหล่านั้น ไม่คิดว่า มันเป็นการออกเสียงเลือกตั้งที่มีค่าสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหลาย? ความเชื่อโดยทั่วไปคือ เราจะพูดได้ไหมว่า สังคมของเราทำงานโดยการให้สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง ด้วยเหตุนี้ ความยินยอมของประชากรจึงถูกเอาชนะ เพราะพวกเรามีความรู้สึกอันหนึ่งว่า เราสนับสนุนต่อและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจดังกล่าว - มันคือกระบวนการสร้างที่ได้สร้างโครงร่างของสังคมเราขึ้นมา
3.2 ลัทธิปัจเจกชนนิยม
ตะวันตกได้รับการสร้างขึ้นบนอุดมคติอันหนึ่งเกี่ยวกับลัทธิปัจเจกชนนิยม ซึ่งเน้นในเรื่องสิทธิส่วนตัว อิสรภาพ และความเสมอภาค. ความเชื่อต่างๆเหล่านี้ บ่อยครั้ง ได้รับการวางไว้บนหิ้งบูชาในเชิงกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องสิทธิและเสรีภาพตามกฎหมาย. อันนี้ดูจะตรงข้ามหรือแย้งกันกับข้อจำกัดต่างๆของประเทศคอมมิวนิสท์ทั่วไปและสังคมอื่นๆ อย่างเช่น จีนเป็นต้น ซึ่งปรากฎว่ามีข้อจำกัดในเรื่องสิทธิปัจเจกของผู้คนเมื่อเผชิญกับประโยชน์ของสังคมโดยรวม. ในฐานะปัจเจกบุคคลพวกเราอาจซาบซึ้งกับอิสรภาพที่ประชาธิปไตยตะวันตกได้ให้ไว้กับเรา และเราต่างได้รับการกระตุ้นให้เชื่อว่า พวกเขาได้ทำให้ระบบนี้ถูกต้องเที่ยงธรรมและเหมาะสมแล้ว
3.3 การพัฒนาทางเศรษฐกิจ
เนื่องจากสังคมตะวันตกทั้งหลายได้รับการพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นอย่างดี พวกเขาสามารถที่จะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่มีมาตรฐานค่อนข้างสูง ผู้คนส่วนใหญ่มีการเข้าถึง หรือมีโอกาสครอบครองโทรศัพท์ โทรทัศน์ เครื่องเล่นวิดีโอ ตู้เย็น และเครื่องคอมพิวเตอร์. อันนี้ได้รับการหนุนเนื่องโดยระบบสวัสดิการ ผู้คนเป็นจำนวนมากได้รับประโยชน์เกี่ยวกับระบบดังกล่าว (ในออสเตรเลียและสหราชอาณาจักร เป็นไปได้ที่คนไม่มีงานทำ และยังคงได้รับเงินบางส่วนสำหรับการครองชีพต่อไป แม้ว่าระบบสวัสดิการนี้กำลังประสบความยุ่งยากมากขึ้นก็ตาม) และได้รับการส่งเสริมทางด้านสุขภาพ. เงื่อนไขต่างๆเหล่านี้ทำให้ผู้คนทั้งหลายค่อนข้างพึงพอใจและสนับสนุนความเชื่อที่ว่า ประชาธิปไตยตะวันตกเป็นระบบที่ดีที่สุดซึ่งมีอยู่ในปัจจุบัน แม้ว่าคุณจะไม่เชื่อในมันก็ตาม แต่มันก็เป็นเรื่องค่อนข้างง่ายที่จะอยู่รอด และมันเป็นเรื่องที่ง่ายกว่าที่จะไปกับระบบนี้ยิ่งกว่าที่จะต่อต้านมัน
ความคิดและความเชื่อเหล่านี้ได้รับการธำรงรักษาโดยผ่านสถาบันต่างๆทางสังคมจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือสถาบันสื่อ. สื่อคือสังเวียนหรือเวทีกลางที่"ความยินยอม"ประสบความสำเร็จและได้รับการเกื้อกูลโดยการเป็นตัวแทน, การกำหนดวาระ, การประทับตรา, และกลไกอื่นๆที่ได้วางคุณค่าบางอย่าง, ประเด็นปัญหา, และให้เหตุผลความสำคัญ, ซึ่งทำให้เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา, เป็นธรรมชาติ, หรือเป็นเรื่องปกติ. ข้ออ้างเหตุผลอันนี้ได้ให้ข้อมูลที่เป็นประเด็นสำคัญจำนวนมากและจะแสดงให้เห็นภาพด้วยตัวอย่างต่างๆมากมาย ซึ่งได้รับการวางอยู่บนทฤษฎีหลายๆทฤษฎีเกี่ยวกับอุดมคติ, การมีอิทธิพลที่เหนือกว่า, และวาทกรรม ซึ่งจะได้รับการสำรวจอย่างกว้างขวางต่อไป
สื่อทำงานอย่างไร
(How the media work)
เรื่องที่ว่า "สื่อทำงานอย่างไร" ในที่นี้จะเริ่มต้นด้วยฐานที่มั่น 5 ประการ
1. สื่อได้แสดงให้เราเห็นว่า โลกนี้เป็นเหมือนกับอะไร; พวกมันสร้างความเข้าใจที่มีเหตุผลเกี่ยวกับโลกให้กับเรา
กระบวนการเกี่ยวกับการเป็นตัวแทน การตีความ, และการประเมินคุณค่าคือใจกลางที่แท้จริงต่อการศึกษาเรื่องสื่อ(media studies)การเป็นตัวแทน (Representation) สื่อต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และอื่นๆ ได้กลายเป็นสถานที่ซึ่งเราทั้งหลายได้รับข้อมูลข่าวสารส่วนใหญ่(และความบันเทิง)เกี่ยวกับโลก ด้วยเหตุนี้ สื่อต่างๆข้างต้นจึงเป็นต้นตอแรกสุดสำหรับการมองโลกของเราว่าเป็นอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น พวกเราส่วนใหญ่มีความคิดบางอย่างเกี่ยวกับเทือกหิมาลัยว่าเป็นอย่างไร และมันดูเหมือนกับอะไร แต่ความรู้อันนี้ เป็นไปได้มากที่ว่าถูกรับรู้มาไม่ใช่โดยผ่านจากประสบการณ์จริงของพวกเราในการไปยัง ณ ที่นั้น แต่โดยผ่านการอ่าน, การฟัง, และการดูเรื่องราวจากสื่อ ที่บอกให้เราทั้งหลายทราบและมองดูภาพเกี่ยวกับเทือกเขาแห่งนี้
การตีความ (Interpretation) ในการเป็นตัวแทนของสื่อ สื่อได้ให้คำอธิบายต่างๆแก่เรา และได้ให้วิธีการต่างๆเกี่ยวกับความเข้าใจโลกที่เราทั้งหลายอาศัยอยู่ พวกมันมีบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับการตีความโดยการให้สิทธิพิเศษแก่บางประเด็นและเอกลักษณ์บางอย่างอย่างเหนียวแน่น ในขณะที่ได้ลดคุณค่าต่อประเด็นอื่นๆลง
การประเมินคุณค่า (Evaluation) ในการกระทำเช่นนั้นเป็นประจำ สื่อได้สอนเราว่าจะเข้าใจโลกนี้อย่างไร คนอื่นๆและตัวของพวกเราเองจะเข้าใจเกี่ยวกับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับโลกที่เรารับรู้อย่างไรบ้าง
เราสามารถเข้าใจกระบวนการทั้งสามเหล่านี้(หมายถึงการเป็นตัวแทน การตีความ และการประเมินคุณค่า)ในความสัมพันธ์กับเรื่องเพศ(gender) และเรื่องชาติพันธุ์ / เชื้อชาติ (ethnicity / race). สื่อได้เสี้ยมสอนเราเกี่ยวกับความเป็นผู้ชายและความเป็นผู้หญิง ซึ่งหมายความถึงการเป็นผู้ชายและผู้หญิงตามปกติ; พวกมันเสี้ยมสอนเราเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางด้านเชื้อชาติ, เกี่ยวกับคนที่ไม่ใช่ชาวยุโรปและวัฒนธรรมของชาวยุโรป, เกี่ยวกับอัตลักษณ์ต่างๆที่เป็นแบบอย่างที่สมมุติขึ้นมาเกี่ยวกับคนกลุ่มต่างๆเหล่านี้
ในบทบาททางสังคมนั้น สื่อก็ได้มากำหนดความเป็นผู้ชายและผู้หญิง, คนขาวและคนที่ไม่ใช่คนขาว; ในส่วนของทัศนคติที่ตายตัว(stereotypes)เกี่ยวกับสิ่งที่น่าปรารถนาและสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ซึ่งสื่อยังคงนำเสนออย่างต่อเนื่อง พวกมันได้ให้โครงสร้าง เค้าโครง และแบบแผนแก่เราสำหรับการทำความเข้าใจในเรื่องชาติพันธุ์และประเด็นเกี่ยวกับเรื่องเพศ
อันนี้ไม่ได้กล่าวว่า สื่อได้ตระเตรียมหรือวางแนวทางการศึกษา-การสอน-และประเด็นขึ้นมาในความคิด หรือที่ว่าพวกมันมีสำนึกอย่างไรเกี่ยวกับสิ่งที่พวกมันกำลังทำ แต่เป็นการพูดถึงอิทธิพลอันนั้นที่สื่อต่างๆมีต่อพวกเราขณะที่เราเติบโตขึ้นมา การอ่านและการบริโภคสื่อ ที่ได้ให้แบบแผนอันนี้แก่เรา ซึ่งอธิบายว่า เราจะมองตัวของพวกเราเองและคนอื่นๆอย่างไร เราจะเข้าใจเรื่องเพศ เชื้อชาติ และเอกลักษณ์ของตัวเราเองในฐานะที่เป็นผู้ชายหรือผู้หญิง, เป็นคนขาวหรือไม่ใช่คนขาวอย่างไร
อันนี้เป็นเรื่องการเมืองเกี่ยวกับความเป็นตัวแทน. ดังที่ Richard Dyer กล่าวว่า, "เราถูกมองอย่างไร ขึ้นอยู่กับส่วนที่ว่า เราถูกปฏิบัติอย่างไร, เราปฏิบัติกับคนอื่นโดยวางอยู่บนพื้นฐานที่ว่าเรามองพวกเขาอย่างไร; การมองอันนั้นมาจากการเป็นตัวแทน (Dyer 1993, p.1)
แน่นอน เป็นไปได้สำหรับสื่อที่จะให้คำอรรถาธิบายที่แตกต่างกันมากมายเกี่ยวกับโลกใบนี้ มันมีวิธีการทำความเข้าใจอย่างมีเหตุผลในเชิงตรงข้ามจำนวนมากเกี่ยวกับความเป็นเพศชายและความเป็นเพศหญิง และแง่มุมอื่นๆเกี่ยวกับเอกลักษณ์ แต่หนังสือเล่มนี้จะให้เหตุผลว่า ทางออกหรือทางระบายของสื่อหลักๆที่ไขว้กันไปมา มันมีแนวโน้มอันหนึ่งซึ่งจะให้ทัศนะบางอย่างเกี่ยวกับโลกของเราอย่างกว้างๆในทำนองเดียวกัน สิ่งที่เราจะพูดถึงภายหลังในหนังสือเล่มนี้คือ วาทกรรมที่ครอบงำซึ่งมีต่อความเป็นชายและความเป็นหญิงที่มีน้ำหนักมากกว่าทัศนคติหรือข้อคิดเห็นอื่นๆ
2. ผลผลิตของสื่อไม่ได้แสดงหรือนำเสนอโลกที่แท้จริง; พวกมันได้สร้างและเป็นตัวแทนความจริงเท่านั้น
ผลผลิตสื่อเป็นจำนวนมากนำเสนอโลกความจริงใหม่อีกครั้ง(re-present) แต่ผลผลิตสื่อเหล่านี้ไม่ใช่โลกของความจริงในตัวของมันเอง; พวกมันคือ การเป็นตัวแทนใหม่อีกครั้ง หรือการสร้างโลกนี้ขึ้นมา. อันนี้คือสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งและจะถูกสำรวจในเชิงลึกต่อไป. การศึกษาเรื่องสื่อ จะตรวจตราดูว่า สื่อได้สร้างความจริงขึ้นมาอย่างไร และถัดจากนั้นจะสำรวจถึงเรื่องคุณค่า ค่านิยมต่างๆ ความเชื่อ และความรู้สึกที่ได้รับการสร้างขึ้นมาเหล่านี้3. สื่อเป็นเพียงหนึ่งในหนทางต่างๆที่ทำให้เราและสังคมเข้าใจโลกหรือสร้างโลกขึ้นมา
สื่อไม่ใช่พลังอำนาจทางสังคมเพียงอย่างเดียวที่สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโลกของเรา และมันไม่ได้มาควบคุมเราทั้งหมด เกี่ยวกับการมองโลกและการที่เรามีความคิดเกี่ยวกับโลกว่าเป็นอย่างไร. มันมีพลังอำนาจอื่นๆเกี่ยวกับการทำให้เป็นสังคมที่สื่อได้เข้ามามีส่วนร่วมด้วย. สิ่งที่มีนัยสำคัญที่สุดของบรรดาเด็กๆทั้งหลาย ซึ่งจะมาทำให้เป็นสังคมเป็นรูปเป็นร่างดังที่พวกเขารับรู้ ได้ถูกกระทำโดยผ่านสถาบันครอบครัวและระบบการศึกษา ซึ่งสอนพวกเขาว่า จะเข้าใจและกระทำกับโลกนี้อย่างไรเช่นดังที่เราเติบโตขึ้นมา ทัศนะอื่นๆเกี่ยวกับว่าเราควรจะประพฤติปฏิบัติตัวอย่างไร เกี่ยวกับศีลธรรมทางสังคม ได้รับการเผยแพร่ผ่านพลังอำนาจทางกฎหมาย วัฒนธรรม และการเมืองทั้งหมดชุดหนึ่ง. สื่อได้ทำหน้าที่จัดหาหรือตระเตรียมสังเวียนหรือเวทีอันหนึ่งขึ้นมาเท่านั้น ซึ่งทัศนะต่างๆเหล่านี้ได้ถูกนำเสนอและทำให้มันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป. ปกติแล้ว สื่อทำหน้าที่เพิ่มเติมเสริมส่งคุณค่าต่างๆ ซึ่งคือส่วนหนึ่งของสังคมทั้งหมด
4. สื่อถูกเป็นเจ้าของ ถูกควบคุม และถูกสร้างขึ้นมาโดยคนบางกลุ่มซึ่งมีความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมในนามของคนอื่น
ผู้คนเหล่านั้นซึ่งเป็นเจ้าของ ควบคุม และสร้างสื่อขึ้นมา คือผู้ผลิตสื่อ. พวกเขาไม่ใช่กลุ่มสังคมที่แยกตัวออกไปอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด พวกเขายังคงเป็นส่วนหนึ่งของผู้รับสื่อและสังคมในภาพรวมทั้งหมด แต่พวกเขาเป็นคนกลุ่มเล็กๆ กลุ่มพวกหัวกระทิ. พวกเขาคือกลุ่มที่สลับซับซ้อนที่ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้:- บรรดาผู้เป็นเจ้าของและผู้จัดการทางธุรกิจ ผู้ซึ่งได้ถูกนำไปเกี่ยวพันเป็นอันดับแรกกับความต้องการที่จะทำให้สื่อมีกำไร
- บุคลากรในฝ่ายสร้างสรรค์(creative personnel): ประกอบด้วยบรรดานักเขียนต่างๆ ผู้กำกับ ตากล้อง ผู้เชี่ยวชาญเว็ป หรือ webmaster และอื่นๆ
- บรรดาผู้ทำงานฝ่ายเทคนิค(technicians) ซึ่งทำงานกับเครื่องไม้เครื่องมือและเครื่องจักรต่างๆ การแบ่งหมวดหมู่เหล่านี้ข้างต้นนี้มีการทับซ้อนกันในหลายๆทาง: ยกตัวอย่างเช่น งานทางเทคนิคเป็นจำนวนมากเป็นเรื่องของการสร้างสรรค์ด้วย, บรรดาผู้จัดการบางคนมีความสนใจในเรื่องการสร้างสรรค์ และบรรดานักสร้างสรรค์ส่วนใหญ่ต่างตระหนักถึงความต้องการและการบีบบังคับทางการเงิน ดังหมายเหตุต่อไปนี้:- โดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้ผลิตสื่อเป็นเพียงคนกลุ่มเล็กๆ และมีจำนวนค่อนข้างจำกัด พวกเขาพูดกับ, และพูดในนามของสังคมทั้งหมด (เป็นการพูดข้ามหรือตัดผ่านสาธารชนอย่างกว้างขวาง)
- ผู้คนเหล่านั้นกับพลังอำนาจสื่อส่วนใหญ่ - โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อำนาจทางการเงินและพลังของการสร้างสรรค์ - เป็นกลุ่มที่เล็กลงไปกว่ากลุ่มที่หนึ่ง
- มันถูกจำกัดการเข้าถึงทรัพยากรสำหรับคนที่ต้องการผลิตสื่อ
- กลุ่มคนเหล่านั้นซึ่งเข้าใจเกี่ยวกับสังคมในนามของคนอื่นหรือ ในฐานะตัวแทนของคนอื่น คือพวกคนขาวที่เข้ามามีอิทธิพล, เป็นพวกชนชั้นกลาง, และเป็นผู้ชาย. โดยไม่ต้องเสนอแนะถึงการสมรู้ร่วมคิดใดๆในที่นี้ มันดูเหมือนจะเป็นที่ชัดแจ้งว่า บุริมสิทธิ์หรือสิทธิพิเศษของการเป็นคนขาว, ชนชั้นกลาง, คุณค่าต่างๆของความเป็นผู้ชายกลายเป็นบรรทัดฐานขึ้นมา ด้วยเหตุนี้ คุณค่าหรือค่านิยมต่างๆเหล่านี้จึงเป็นธรรมชาติของคนกลุ่มดังกล่าว. ผลลัพธ์ที่ตามมา สื่อจึงมีแนวโน้มอันหนึ่งที่จะเข้าใจโลก หรืออ่านโลกจากมุมมองและข้อคิดเห็นที่มีลักษณะเฉพาะข้างต้น
5. ความต้องการสำหรับความนิยม
ยาแก้พิษอันหนึ่ง ต่อความคิดเกี่ยวกับพวกหัวกระทิอันทรงพลังซึ่งได้เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบสื่อ หมายเหตุเอาไว้ว่า สื่อได้ขายตัวเองจนประสบความสำเร็จต่อประชากรจำนวนมาก: พวกเขาเอาชนะใจของผู้รับสื่อขนาดใหญ่ เพื่อที่จะอยู่รอดและเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไป. ความต้องการนี้เป็นไปเพื่อบรรลุถึงความนิยมที่ค่อนข้างซับซ้อน และเพิ่มการคลุกเคล้าเข้ากับพลังอำนาจของคนขาว ชนชั้นกลาง และความเป็นชายถ้าหากว่าผู้คนทั้งหลายไม่ชอบผลผลิตอันหนึ่ง พวกเขาก็จะมองไปยังที่อื่นๆซึ่งอาจเป็นที่ใดที่หนึ่ง ด้วยเหตุนี้ สื่อจะต้องทำให้ผู้รับสื่อเกิดความรู้สึกพึงพอใจ ซึ่งก็คือคนในวัยทำงานซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก และในหมู่คนทำงานเหล่านี้มีผู้หญิงอยู่ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์
เมื่อแรกที่โทรทัศน์ในเชิงพาณิชย์ได้ถูกนำเสนอเข้าสู่สังคมตะวันตกต่างๆ บรรดาผู้รับสื่อทั้งหลายได้หมุนลูกบิดไปยังโทรทัศน์ช่องเหล่านั้นนั้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งได้ให้ความบันเทิงอันที่นิยมชมชอบส่วนใหญ่แก่พวกเขา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายการเกมส์โชว์ และละครโทรทัศน์). มันเป็นการตีจากที่สำคัญไปจากสถานีโทรทัศน์สาธารณะ - อย่างเช่นสถานีโทรทัศน์ ABC ของออสเตรเลีย และ BBC ของอังกฤษ เป็นต้น - ซึ่งได้นำเสนอรายการโทรทัศน์กับบรรดาชนชั้นกลาง และค่านิยมต่างๆของคนที่มีการศึกษาและพวกรสนิยมสูง(highbrow values)
ช่องสัญญานโทรทัศน์เหล่านี้ยังคงต่อสู้ดิ้นรนกับความต้องการที่จะรักษาจำนวนผู้ดูหรือเรตติ้งต่อไปอย่างต่อเนื่อง และความต้องการที่จะสนองตอบรายการที่สร้างความพึงพอใจให้กับบรรดาผู้รับจำนวนมหาศาลของมัน สถานีโทรทัศน์ ABC ยังคงได้รับความเอาใจใส่และนับถือโดยพวกหัวกระทิจำนวนมาก เพราะมันให้สิทธิพิเศษแก่เนื้อหาวัฒนธรรมชั้นสูง อย่างไรก็ตาม มันสามารถได้รับการมองว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สำคัญต่อรายการกระแสหลัก และเนื้อหาอเมริกันที่มีอิทธิพลขึ้นหน้าขึ้นตา ซึ่งมีอยู่ตามสถานีโทรทัศน์ในเชิงพาณิชย์ทั่วไป
ผลที่ตามมาคือ นี่อาจเป็นความขัดแย้งที่น่าสนใจอันหนึ่งระหว่างค่านิยมหรือคุณค่าต่างๆของผู้ผลิตสื่อกับความปรารถนาของผู้รับสื่อทั้งหลาย ความขัดแย้งในเชิงตรงข้ามกันอันหนึ่งที่ได้รับการเปิดเผยออกมาในแนวทางเกี่ยวกับความพึงพอใจ สิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ในเรื่องความนิยม; มันเป็นการยอมรับเกี่ยวกับพลังอำนาจต่างๆของผู้รับสื่อหรือผู้บริโภค ที่มาตัดสินให้ผลผลิตสื่อทั้งหลายประสบความสำเร็จ. เราอาจให้เหตุผลว่า ผู้รับสื่อทั้งหลายมีอิทธิพล ถ้าหากว่ามีการควบคุมผลผลิตที่ออกมาของสื่อโดยผ่านทางเลือกต่างๆของพวกเขา เกี่ยวกับสิ่งที่สื่อต่างๆผลิตออกมาเพื่อการบริโภค
การวิเคราะห์ถึงบทบาทหน้าที่และฐานะตำแหน่งของวัฒนธรรมป๊อปปิวล่าร์ ในหนทางที่พิจารณากัน ทั้งในด้านของการผลิตสื่อ และผู้รับสื่อ/ผู้บริโภค เป็นเรื่องที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน สื่อถูกอธิบายโดยบรรดานักคิดแฟรงค์เฟริทสคูล ในฐานะที่เป็น"อุตสาหกรรมความสำนึก" หรือconsciouness industry มันเป็นปฏิบัติการเกี่ยวกับการควบคุมทางสังคมรูปแบบหนึ่ง โดยการทำให้มวลชนอยู่ในคำบัญชาหรืออยู่ในระเบียบ แต่นักวิจารณ์ในแนวการศึกษาทางด้านวัฒนธรรม(cultural studies)บางคน มองพวกมันในฐานะที่เป็นแหล่งต้นตออันหนึ่งของประชาธิปไตยที่มีศักยภาพ และเป็นการให้อำนาจแก่ประชาชน
ความขัดแย้งในเชิงตรงข้ามนี้ ได้ถูกให้ความกระจ่างโดยวิธีการให้นิยามความหมายเกี่ยวกับวัฒนธรรมป๊อปปิวล่าร์ที่แตกต่างกัน 2 วิธี
วิธีการแรก ได้ให้นิยามความหมาย"วัฒนธรรมป๊อปปิวล่าร์"ในฐานะที่เป็นการดำเนินรอยตามวัฒนธรรมเหล่านั้น ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้คนทั้งหลาย หรือมาจากผู้คนทั้งหลายนั่นเอง; นั่นคือ พวกมันถูกสร้างขึ้นมาในฐานะองค์ประกอบหนึ่ง โดยผู้คนทั้งหลายโดยตัวของพวกเขาเอง (การให้นิยามทำนองนี้ บ่อยครั้งมาก ได้ถูกนำมาใช้เวลาที่อธิบายถึงกิจกรรมทางวัฒนธรรมพื้นบ้านในช่วงต้นๆ(earlier folk-culture activities) อย่างเช่น เพลงพื้นบ้านและการเต้นรำแบบชาวบ้าน)
ในบริบทสมัยใหม่ ความคิดที่ว่าวัฒนธรรมป๊อปิวล่าร์คือวัฒนธรรมของผู้คน วางอยู่บนความคิดที่ว่า จำนวนคนดูหรือเรตติ้ง และกลไกการย้อนกลับอื่นๆซึ่งทำหน้าที่รับรองว่า เนื้อหาของรายการทีวีและรูปแบบสื่ออื่นๆ อย่างน้อยที่สุด บางส่วนได้ถูกกำหนดตัดสินโดยสิ่งที่ประชาชน(ผู้บริโภค)ต้องการ
วิธีการที่สอง ได้ให้นิยาม"วัฒนธรรมป๊อปิวล่าร์"ในฐานะที่เป็นวัฒนธรรมเพื่อประชาชน; อันนี้เป็นการเสนอว่า บางสิ่งบางอย่างได้ถูกถ่ายทอดลงมาสู่พวกเขาซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขายอมรับ.
อันนี้เป็นความแตกต่างที่ใหญ่มากอันหนึ่งระหว่างวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับผู้คน และมาจากผู้คน กับวัฒนธรรมที่ทำขึ้นเพื่อประชาชน; ความแตกต่างอันนี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการคิดถึงพลังอำนาจของสื่อ หรือส่วนใหญ่แล้ว มันวางอยู่กับบรรดาผู้ผลิตทั้งหลาย หรือผู้ใช้/ผู้รับสื่อ/ผู้บริโภคทั้งหลายกันแน่; หรือเนื้อหาของสื่อได้มาจากวัฒนธรรมของชนหัวกระทิของสังคม หรือจากวัฒนธรรมของกลุ่มคนส่วนใหญ่ของสังคมกันแน่. ปกติแล้ว มันไม่มีคำตอบง่ายๆในการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับสื่อ; เราอาจพบพื้นฐานปัจจัยสำคัญของทั้งคู่ที่ผูกมัดเข้าด้วยกัน
คำย่อของพยัญชนะตัวแรก
"CRASH" (The Acronym "CRASH")
การมองไปที่บทบาทหน้าที่ต่อสังคมของสื่อ
หมายถึง ความสนใจในคุณค่าทางสังคมและความเชื่อต่างๆเกี่ยวกับเนื้อหาสื่อ ซึ่งรวมไปถึงอุดมคติของสื่อด้วย.
คำย่อของพยัญชนะตัวแรก "CRASH" เป็นเรื่องของประเด็นทางสังคมและความแตกต่างกันทางสังคม.
แต่ละตัวอักษรมีความหมาย หรือใช้แทนวิธีการหนึ่งเกี่ยวกับผู้คนที่มีการจัดหมวดหมู่กันทางสังคม
และหมวดหมู่แต่ละหมวดหมู่ ปกติแล้วจะรวมทั้งเรื่องของการได้ประโยชน์และการเสียประโยชน์ทางสังคมด้วย
"C" ใช้แทนคำว่า class (ชนชั้น). สังคมสมัยใหม่ได้ถูกอธิบายในฐานะที่ประกอบตัวขึ้นมาโดยผู้คนต่างๆ 3 ชนชั้น คือ ชนชั้นสูง/ชนชั้นปกครอง, ชนชั้นกลาง, และชนชั้นล่าง/ชนชั้นคนงาน. ชนชั้นสูงหรือชนชั้นปกครองเป็นกลุ่มคนจำนวนน้อยที่สุดซึ่งได้ประโยชน์สูงสุดในทางสังคมหรือได้รับสิทธิพิเศษที่เหนือกว่าชนชั้นอื่นๆ ขณะที่ชนชั้นล่างหรือชนชั้นคนงานทั้งหลายคือกลุ่มคนที่มีขนาดใหญ่สุดและเป็นผู้เสียประโยชน์ทางสังคมมากที่สุด
การนิยามความหมายเกี่ยวกับชนชั้นนี้ ปกติแล้วได้ถูกวางกรอบในเทอมต่างๆของเรื่องอำนาจ(และความมั่งคั่ง) หรือค่านิยมทางวัฒนธรรมต่างๆของบุคคล. นิยามความหมายเหล่านี้ค่อนข้างสลับซับซ้อน และเป็นเรื่องยุ่งยากมากที่นำมาใช้ในทุกวันนี้ยิ่งกว่าในอดีต เพราะสังคมต่างๆค่อนข้างที่จะลื่นไหลไปมามากในเทอมต่างๆของชนชั้นทางสังคม กล่าวอีกนัยหนึ่ง มันไม่ง่ายนักที่จะแบ่งหมวดหมู่ผู้คนทั้งหลายไปตามเรื่องของชนชั้น
อย่างไรก็ตาม มันไม่มีค่าอะไรหรือมีประโยชน์ที่ว่า สังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ทั้งหลาย ในการตื่นขึ้นมาของการเพิ่มระดับของการจ้างงานมากขึ้นและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันมีการใช้คำว่า underclass หรือ"ชนชั้นล่าง" เพื่ออรรถาธิบายถึงชะตากรรมหรือส่วนที่มีนัยสำคัญของประชากร และมันเป็นที่ชัดเจนว่า สังคมยังคงมีการแบ่งแยกกว้างๆทั้งในเทอมของความร่ำรวย เงินทอง ค่าจ้าง/ค่าแรงอยู่ และในเทอมต่างๆของสิ่งที่ได้รับการเอาใจใส่ในฐานะที่เป็นคุณค่าต่างๆทางวัฒนธรรมที่ยอมรับได้. ด้วยเหตุนี้ มันจึงยังคงมีประโยชน์ที่จะใช้วิธีการแบ่งหมวดหมู่อันนี้ในการทำความเข้าใจสังคม
"R" ใช้แทนคำว่า race (เชื้อชาติ). คำนี้ได้รับการสร้างขึ้นมาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน และสังคมสมัยใหม่ส่วนใหญ่มีลักษณะวัฒนธรรมที่หลากหลาย และหลากหลายในเรื่องชาติพันธุ์. อย่างไรก็ตาม ในเชิงประวัติศาสตร์ บางเชื้อสายหรือบางกลุ่มชาติพันธุ์มีอิทธิพลครอบงำ และตักตวงผลประโยชน์จากกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผ่านลัทธิอาณานิคมและลัทธิจักรวรรดิ์นิยม. ความไม่เสมอภาคกันทางเชื้อชาติและความขัดแย้งที่ยังฝังแน่นอยู่นี้ เราสามารถที่จะเห็นได้ว่า มันยังคงดำรงอยู่เกี่ยวกับการครอบงำและความมีอิทธิพลเหนือกลุ่มคนที่มีเชื้อสายที่เป็นรอง เช่นเดียวกับทัศนคติในเชิงลบและทัศนคติที่ตายตัว(stereotype) ซึ่งมากำกับหรือควบคุมต่อกลุ่มคนบางสายพันธุ์อยู่
"A" ใช้แทน age (อายุ). สังคมได้รับการสร้างขึ้นโดยผู้คนที่มีอายุแตกต่างกันหลายหลากแต่สังคมเป็นจำนวนมากมีแง่มุมเกี่ยวกับอคติหรือการแบ่งแยกเรื่องอายุอยู่(ageist) ซึ่งในสังคมพวกนั้น คนแก่และเด็กๆจะได้รับการปฏิบัติในฐานะที่เป็นพลเมืองชั้นสอง(second-class citizen)
"S" ใช้แทนคำว่า sex (เพศ) และ sexual orientation (การกำหนดทางเพศ). ในการเปรียบเทียบกับผู้หญิง ผู้ชายเป็นฝ่ายได้เปรียบหรือได้ประโยชน์ในทางสังคมในสังคมสมัยใหม่ต่างๆ ผู้ชายทั้งหลายมีพลังอำนาจทางสังคมมากกว่า และมีพลังควบคุมมากกว่าผู้หญิง และมันเป็นเรื่องของการแบ่งแยก(discrimination)หรือการเลือกที่รักมักที่ชังที่มีต่อผู้หญิง
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการแบ่งแยกบนพื้นฐานเกี่ยวกับความชื่นชอบทางเพศของผู้คนด้วย หรือการกำหนดทิศทางเกี่ยวกับเพศ - นั่นคือ ใครคือผู้ที่พวกเขาถูกกระตุ้นความสนใจทางเพศ. ความดึงดูดใจในเพศตรงข้ามหรือความรักที่มีต่อเพศตรงข้าม(heterosexuality)ได้รับการมองว่าเป็นบรรทัดฐาน ขณะที่ความดึงดูดใจต่อเพศเดียวกัน หรือความรักในเพศเดียวกัน(homosexuality), หญิงรักร่วมเพศ(lesbianism), และความเป็นคนสองเพศ(bisexuality) ถูกมองโดยวัฒนธรรมกระแสหลักในฐานะที่เป็นคนซึ่งผิดปกติ โดยเหตุนี้ จึงทำให้คนเหล่านั้นที่ไม่ใช่คนที่รักเพศตรงข้ามกลายเป็นคนอีกกลุ่มหนึ่งที่เสียเปรียบและประโยชน์ทางสังคมไป
"H" ใช้แทนคำว่า handicap (คนที่เสียเปรียบ ผู้ด้อยกว่า). บุคคลที่ไร้ความสามารถ หรือด้อยกว่า (คำนี้ยังถูกรู้จักในฐานะคนที่มีความสามารถในเชิงที่แตกต่าง - differently abled people - หมายเหตุ, คำหรือป้ายฉลากที่แตกต่าง เช่น คำอธิบายที่แตกต่าง[different discourse], นำพาความสัมพันธ์ที่ต่างไปด้วย) คือคนอีกกลุ่มหนึ่งของสังคม ผู้ซึ่งเสียเปรียบหรือถูกแบ่งแยกออกไปในหลายๆทาง
เราสามารถที่จะใช้วิธีการอื่นๆในการจัดหมวดหมู่อีกได้ (เช่น ความสูง น้ำหนัก สีผม เป็นตัวอย่าง) ในฐานะที่เป็นเครื่องหมายเกี่ยวกับบรรทัดฐาน หรือสิ่งที่ต่างออกไป แต่การจัดแบ่งหมวดหมู่ทั้ง 5 ข้างต้น(ชนชั้น เชื้อชาติ อายุ เพศ และความด้อยกว่า)เป็นสิ่งที่มีประโยชน์โดยเฉพาะสำหรับการดึงความสนใจไปสู่การแบ่งแยกกันทางสังคม. มีใครบางคนอาจต้องการพิจารณาหรือดึงเอาเรื่องของศาสนาเข้ามาด้วย ในฐานะที่เป็นการจัดหมวดหมู่เพื่อทำความเข้าใจการจัดกลุ่มต่างๆทางสังคม
แต่ในที่นี้ เราต้องการที่จะเพิ่มเติมปัจจัยพื้นฐานอีกอันหนึ่งที่จะมาช่วยตระเตรียมบริบทกว้างๆอีกอันหนึ่ง ซึ่งปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญนี้ในคำย่อพยัญชนะของคำว่า CRASH จะถูกทำให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น นั่นคือคำว่า environment (สิ่งแวดล้อม)
สังคมของเราในปัจจุบัน ได้เผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ทางด้านสิ่งแวดล้อมของโลก ซึ่งนอกเหนือไปจากประเด็นปัญหาทางสังคมของมนุษย์แต่เพียงอย่างเดียว. มันเป็นเรื่องสำคัญที่จะมองว่า สื่อได้พรรณาถึงสิ่งแวดล้อมในทุกวันนี้อย่างไรบ้าง พวกเขากระตุ้นหรือสนับสนุนเราที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับโลกทั้งใบนี้อย่างไร
น่าสนใจที่ว่า สื่อดูเหมือนจะยกย่องสรรเสริญโลกธรรมชาติและโลกที่ไม่มีมนุษย์ในหลายๆทาง - ข้อสังเกตในที่นี้คือ บ่อยครั้ง สัตว์ต่างๆถูกนำมาใช้ในเชิงบวกเกี่ยวกับการโฆษณาและประชาสัมพันธ์. อย่างไรก็ตาม ความเจริญงอกงามของมนุษย์ยังคงคุกคามดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่อย่างต่อเนื่อง. ปัจจุบัน คุณสามารถที่จะทำให้คำย่อพยัญชนะ CRASH เข้าไปอยู่ในบริบทของข้อพิจารณาต่างๆทางด้านสิ่งแวดล้อมได้ และใช้มันเพื่อวิเคราะห์เนื้อหาสื่อ และเพื่อทำความเข้าใจว่า คุณและคนอื่นๆถูกทำให้เป็นตัวแทน ถูกจัดหมวดหมู่ และถูกวางตำแหน่งเอาไว้อย่างไรในทางสังคม
1. คุณถูกวางในความสัมพันธ์กับการจัดหมวดหมู่ทั้ง 6 หมวดหมู่เหล่านี้อย่างไร? และรู้สึกอย่างไรกับการถูกวางอยู่ในตำแหน่งเหล่านี้? นอกจากนี้ มันดีอย่างไรในการที่คุณถูกทำให้เป็นตัวแทนในสื่ออย่างนั้น?
2. สื่อเป็นตัวแทนโลกในความสัมพันธ์ทั้ง 6 หมวดหมู่นี้อย่างไร? ให้ตั้งคำถามที่ตามมาเกี่ยวกับเนื้อหา/ภาพของสื่อโดยเฉพาะ และให้ใช้คำย่อพยัญชนะ CRASH ในฐานะที่เป็นวิธีการศึกษา:
ก. เนื้อหาสื่อแต่ละอย่างรวมถึงภาพที่สื่ออกมาได้เป็นตัวแทนสภาพแวดล้อม, ชนชั้น เชื้อชาติ อายุ เพศ และความด้อยกว่า หรือไร้สมรรถภาพอย่างไรบ้าง?
ข. เนื้อหาสื่อแต่ละชนิดรวมทั้งภาพสื่อซึ่งดูเหมือนกับ ชนชั้นคนงาน, คนที่ไม่ได้สืบเชื้อสายมาจากชาวยุโรป, คนชราคนหนึ่ง, ผู้หญิง, บุคคลที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ, คนที่ด้อยโอกาส(handicapped person), คนที่ห่วงใยในสายพันธุ์สัตว์ที่กำลังตกอยู่ในอันตรายใกล้สูญพันธุ์ กำลังจะสื่ออะไรออกมา?
ค. สื่อได้ให้บุริมสิทธิ์หรือสิทธิพิเศษแก่ทัศนะบางอย่างของคนบางกลุ่มเหนือกว่าคนกลุ่มอื่นๆหรือเปล่า มันกำลังแสดงให้เห็นว่าคนบางกลุ่มได้ประโยชน์ และคนบางกลุ่มเสียประโยชน์หรือไม่?
สื่อและสังคม (Media and
Society)
คำถามใหญ่ซึ่งเรากำลังหวนกลับมาพิจารณากันก็คือ
สื่อมีผลกระทบและมีอิทธิพลต่อเราอย่างไร? การมองไปที่อิทธิพลของสื่อที่มีต่อตัวเรา
เกี่ยวข้องกับคำถามเชิงปรัชญาอย่างค่อนข้างกว้างขวาง ซึ่งเกิดขึ้นซ้ำๆในหลายๆรูปแบบและสถานการณ์:
พวกเราได้รับผลกระทบและถูกควบคุมอย่างไร้สำนึกโดยอำนาจที่อยู่นอกเหนือตัวของพวกเราเองใช่ไหม?
(ทัศนะเกี่ยวกับมนุษย์ในฐานะที่เป็นฟันเฟืองหนึ่งของเครื่องจักรขนาดใหญ่) หรือพวกเรามีอิสรภาพและสามารถดูแลตัวเองได้
(เรามีสิทธิในการปกครองตนเองหรือกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง) โดยการกำหนดตัดสินใจด้วยตัวของเราเองใช่ไหม?
(ทัศนะเกี่ยวกับมนุษย์ในฐานะที่มีเจตจำนงเสรี หรือ free-will)
ในความสัมพันธ์กับสื่อ เราถูกควบคุมโดยสื่อใช่ไหม หรือเรามีอิสรภาพและทางเลือกในการที่จะใช้มันอย่างไรใช่หรือไม่? สำหรับคำตอบเหล่านี้ ในบทที่ 13 เราจะสำรวจถึงทฤษฎีต่างๆอย่างหลากหลายเกี่ยวกับการสร้างทางสังคม(social construction) ซึ่งเสนอว่า เราถูกวางตำแหน่งอย่างไร้สำนึกและถูกกำหนดโดยไม่รู้ตัว โดยอำนาจที่อยู่นอกเหนือไปจากตัวของพวกเรา. สำหรับในที่นี้ เราให้เหตุผลว่า เราได้ถูกโปรแกรมหรือควบคุมโดยอำนาจภายนอกที่มาควบคุมตัวเรา(อันนี้รวมถึงสื่อด้วย) ทว่าผ่านความมีเหตุมีผลของตัวเราเอง, ความรู้สึกต่างๆของเรา, และความสำนึกซึ่งเรามีความสามารถที่จะตั้งคำถามและเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ: เราสามารถสร้างทางเลือกขึ้นมาได้
กุญแจสำคัญสำหรับความเป็นอิสระ ปกครองตนเองได้ คือการรับรู้และความเข้าใจของเรา, ความสำนึกของเรา, เกี่ยวกับว่าโลกใบนี้มันทำงานอย่างไร. บางครั้งการรับรู้ของเราเกี่ยวกับโลกอาจเป็นสิ่งที่แฝงอยู่อย่างสงบ ไม่เปิดเผย: "ถ้ามันยังไม่แตก อย่าได้ไปซ่อมมัน"(if it ain't broke, don't fix it) ประโยคที่ยกมานี้เป็นสุภาษิตที่รู้จักกันเป็นอย่างดี, ดังนั้น ถ้าหากว่าสิ่งต่างๆดูเหมือนมันกำลังทำงานไปหรือดำเนินการไปด้วยดี ถ้าเผื่อว่าผู้คนมีความสุขกับชีวิต หากเป็นเช่นนั้น สังคมก็สามารถที่จะดำเนินไปอย่างต่อเนื่องดังที่มันเป็น, เราไม่ต้องไปคิดถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น การรับรู้รับทราบของเราสามารถถูกทำให้เชื่องลงหรือนอนเนื่องอย่างสงบเสงี่ยม
แต่เมื่อไรก็ตามที่สิ่งต่างๆดำเนินไปในหนทางที่ผิด, ล้มเหลว, แตกร้าว, เมื่อนั้นเราต้องค้นหาหนทางใหม่ๆเกี่ยวกับความเป็นอยู่. เราต้องสร้างความพยายามอันหนึ่งขึ้นมาเพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น และค้นหาทางออกและระบบใหม่ๆ. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมจะบังเกิดขึ้น ณ ช่วงขณะเหล่านี้ของการแตกหักและวิกฤต
การฆาตกรรมหมู่ที่ Port Arthur ในทัสมาเนีย(อยู่ทางตอนใต้ของออสเตรเลีย) (ชายคนหนึ่งได้กราดยิงและฆ่าคนไปราว 35 คน) หรือกรณีเหตุของการบุกเข้าไปยิงที่ Columbine School ในอเมริกา (คน 13 คนถูกฆ่าโดยนักเรียนมัธยมปลาย) สามารถได้รับการมองว่าเป็นกรณีตัวอย่างเกี่ยวกับช่วงขณะของการแตกหักทางสังคม(social fracture) ในกรณีต่างๆเหล่านี้เป็นเหตุการณ์ที่น่าขนพองสยองเกล้า และเป็นการฆาตกรรมหมู่ซึ่งไม่อาจอธิบายได้อย่างแจ่มแจ้ง มันบีบบังคับให้ผู้คนทั้งหลายตั้งคำถามถึงกฎเกณฑ์ของสังคมและบรรทัดฐานที่ถูกยอมรับมาก่อนหน้านั้น ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่เป็นธรรมชาติ
ในกรณีของการฆาตกรรมหมู่ที่ Port Arthur พยายามที่จะตอบคำถามเกี่ยวกับว่า ทำไมคนๆหนึ่งถึงได้ยิงแบบเดาสุ่มอย่างสนุกสนาน ซึ่งอันนี้ได้ทำให้เกิดทฤษฎีต่างๆขึ้นมาอธิบายอย่างมากมาย. แนวทางปฏิบัติอันหนึ่งก็คือ เพื่อท้าทายและเปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธปืนที่ได้รับการยอมรับมาก่อนหน้านั้นของออสเตรเลีย
เหตุการณ์เหล่านี้ได้สร้างคลื่นของความตื่นตระหนกในสังคมออสเตรเลียและสังคมอเมริกัน มันบีบคั้นให้ผู้คนทั้งหลายตั้งคำถามว่า ทำไมและอย่างไร เหตุการณ์เหล่านี้จึงเกิดขึ้นมาได้. การโจมตีตึก Pentagon (กระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ) และ World Trade Center ในวันที่ 11 กันยายน 2001 ได้น้อมนำไปสู่อาการช็อค และความรู้สึกตื่นตระหนกอย่างกว้างขวางมาก เหตุการณ์เหล่านี้ได้นำผู้คนไปสู่การพิจารณาถึงเงื่อนไขเหตุปัจจัยต่างๆที่อาจเป็นแรงกระตุ้นของบรรดาผู้ก่อการร้าย. สื่อได้แสดงบทบาทที่เป็นแกนกลางในความพยายามต่างๆของผู้คนที่จะค้นหาคำอธิบายซึ่งนำไปสู่ปฏิกริยาโต้ตอบที่แตกต่างกันหลายๆอย่าง
เพื่อเปิดให้ประเด็นปัญหาข้างต้นนี้ได้รับการคิดใคร่ครวญอย่างเสรี ให้ถามตัวคุณเองด้วยคำถาม 2 คำถามต่อไปนี้... โดยทั่วไป คุณมองคนอื่นๆและตัวคุณเองจากมุมมองที่คิดว่ามนุษย์ได้ถูกกำหนดจากเหตุปัจจัยภายนอก(deterministic perspective)ในฐานะที่เป็นฟันเฟืองของเครื่องจักรขนาดใหญ่ หรือในฐานะที่คุณสามารถกำหนดตัดสินชะตากรรมของตัวเองได้ในฐานะปัจเจกชนด้วยเจตจำนงเสรี - คุณคิดว่าเป็นอย่างไหนกันแน่? ในความสัมพันธ์กับสื่อ คุณคิดว่าสื่อมีผลกระทบต่อพฤติกรรมของมนุษย์, หรือตัวคุณเอง มากน้อยเพียงใด; คุณคิดว่าคุณมีอิสระจากอิทธิพลครอบงำของมันมากน้อยเพียงใด?
ให้บันทึกความคิดของคุณเพื่อตอบคำถาม 2 ข้อข้างต้น บรรยายถึงความเข้าของคุณเกี่ยวกับผู้คนและสื่อ และยกตัวอย่างจากประสบการณ์ต่างๆของตัวคุณเอง. ให้ลองถามคำถามเดียวกันนี้กับคนอื่นๆและบันทึกทัศนะหรือคำตอบของพวกเขาเอาไว้. พยายามรวบรวมความคิดเห็นทั่วไปและกรณีตัวอย่างที่ชี้เฉพาะเหล่านี้ เพื่อแสดงให้เห็นภาพเกี่ยวกับทัศนะต่างๆโดยทั่วไปข้างต้น
สื่อสามารถสะท้อนหรือส่งผลกระทบต่อโลกได้ใช่ไหม?
(Do the media reflect or affect the world?)
โดยจารีตแล้ว มีแบบจำลอง 2 แบบที่ได้รับการนำเสนอในฐานะที่เป็นวิธีการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสื่อและสังคม
ข้อเสนอแรกก็คือ สื่อได้สะท้อน(reflect)ความจริง คุณค่า และบรรทัดฐานต่างๆของสังคม. ด้วยเหตุดังนั้น ถ้าเผื่อว่าเราต้องการศึกษาสังคมใดสังคมหนึ่ง เราสามารถที่จะมองมาที่สื่อของสังคมนั้นได้ เช่น ภาพยนตร์, นวนิยาย, รายการโทรทัศน์, และเรื่องราวซึ่งเป็นที่นิยมในสังคมดังกล่าว
พวกมันสามารถที่จะสะท้อนให้เราทราบว่า ผู้คนในสังคมนั้นรู้สึกและคิดอะไร, พวกเขาประพฤติปฏิบัติกันอย่างไร, และอื่นๆ. สื่อทำหน้าที่ในฐานะกระจกเงาของสังคม หรือหน้าต่างบานหนึ่งบนโลกใบนี้ ซึ่งสามารถถูกนำมาใช้ในฐานะที่เป็นหนทางหรือวิธีการเข้าใจสังคม
แบบจำลองที่สองเสนอว่า สื่อได้ส่งผลกระทบ(affect)ถึงความคิด ความเชื่อ และความประพฤติของผู้คนให้เป็นไป. สื่อสร้างค่านิยมและคุณค่าต่างๆขึ้นมาให้กับเรา และมีอิทธิพลโดยตรงต่อการกระทำของพวกเรา. เราควรสำรวจตรวจตราแบบจำลองทั้งคู่นี้
สื่อในฐานะที่เป็นการสะท้อนอันหนึ่งเกี่ยวกับสังคม
(The media as a reflection of society)
ข้อถกเถียงต่างๆที่สำคัญซึ่งมีต่อความนึกคิดที่ว่า
สื่อเป็นเครื่องสะท้อนบรรทัดฐาน คุณค่า และความจริงต่างๆของสังคมคือ สื่อได้"สร้างและเปลี่ยนแปลง"เหตุการณ์ต่างๆมากยิ่งกว่าจะ"สะท้อน"ถ่ายเหตุการณ์ทั้งหลายออกมาเท่านั้น.
ยกตัวอย่างเช่น ให้คิดถึงเหตุการณ์ต่างๆซึ่งเกิดขึ้นบนโลกที่เป็นจริง ซึ่งได้ถูกนำเสนออย่างกว้างขวางครอบคลุมอยู่ในสื่อ
- เหตุการณ์ต่างๆอย่างเช่น งานพระราชพิธีศพของเจ้าหญิง Diana, พิธีการมอบรางวัล
the Academy Award, หรือการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค. เหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างอิสระในสื่อ
แต่สื่อได้สร้างให้เหตุการณ์เหล่านี้ขึ้นมาเป็นบางสิ่งบางอย่างที่มากกว่า, เป็นเหตุการณ์ต่างๆของสื่อ(media
events) มันเป็นการสร้างมากกว่าที่จะสะท้อนเหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ออกมา (Wark
1994)
ในออสเตรเลีย การแข่งม้าเพื่อชิงถ้วย Melbourne Cup ได้รับการจัดขึ้นเป็นงานพิธีระดับชาติ(และเมื่อเร็วๆนี้ มีแนวโน้มที่จะเป็นงานระดับนานาชาติ อันนี้ต้องขอบคุณต่อการรายงานข่าวออกไปในโลกกว้างโดยสื่อต่างๆ) ในฐานะที่เป็น"การแข่งขันที่สะกดให้ประเทศทั้งประเทศถึงกับหยุดนิ่ง"(the race that stops a nation). อันนี้ถูกนำเสนอในประโยคปัจจุบัน(present tense), ดูประหนึ่งว่ามันเป็นความจริงเสมอและจะเป็นความจริงเช่นนั้นเสมอไป
ในเชิงประวัติศาสตร์ การแข่งม้าดังกล่าวย้อนวันเวลากลับไปได้เพียงคริสตศตวรรษที่ 19 เท่านั้น; แต่เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่ถึงกับ"สะกดให้ประเทศทั้งเทศหยุดลง"จนกลายเป็นความเป็นไปได้ที่เป็นจริงอันหนึ่ง เมื่อการสื่อสารของสื่อสามารถที่จะถ่ายทอดเหตุการณ์นี้อย่างสดๆไปได้ทั่วทั้งประเทศ โดยผ่านโทรเลข, ถัดมาก็วิทยุ, และต่อมาก็โทรทัศน์. ณ จุดนี้นี่เอง สื่อทำให้เกิดความเป็นไปได้เกี่ยวกับการแบ่งปันข่าวสารข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ กลายเป็นเหตุการณ์ระดับชาติ (นัยสำคัญของการแข่งม้าเพื่อชิงถ้วย Melbourne Cup สัมพันธ์กับการแสวงหาเอกลักษณ์ของชาติของประเทศออสเตรเลีย). เหตุการณ์ต่างๆที่นำพาให้ประเทศทั้งประเทศดังที่ Benedict Anderson (1983)เรียกว่า "ชุมชนจินตนาการ"(imagined community)ช่วยให้ออสเตรเลียนิยามตัวเองและวัฒนธรรมของพวกเขาขึ้นมาได้. แง่มุมอัตลักษณ์ของประชาชาติหนึ่งยกย่องการแข่งม้าเพื่อชิงถ้วย Melbourne Cup คือชัยชนะเกี่ยวกับเวลาว่างที่มีเหนือการทำงาน
สื่อได้กระตุ้นส่งเสริมเหตุการณ์บางเหตุการณ์ให้เกิดมีนัยสำคัญขึ้นมา หนังสือพิมพ์ วิทยุ และเครือข่ายโทรทัศน์เริ่มต้นการรายงาน และการคาดการณ์เกี่ยวกับการแข่งขันดังกล่าวอยู่หลายสัปดาห์ล่วงหน้า. (มันเข้ากันได้อย่างเหมาะเจาะกับปฏิทินกีฬาประจำปี โดยการมาถึงในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน หลังจากฟุตบอลออสเตรเลีย และฤดูกาลการแข่งขันรักบี้ได้สิ้นสุดลง และก่อนกีฬาคริกเก็ตและกีฬาในช่วงฤดูร้อนอื่นๆกำลังจะเริ่มต้นขึ้นอย่างเต็มที่ ดังนั้น จึงมีพื้นที่ว่างบนสื่อต่างๆเป็นจำนวนมากที่นำมาใช้ได้สำหรับการณ์นี้)
มันกลายเป็นสารคดีพิเศษอันหนึ่งของสื่อในรายการต่างๆที่ไม่ใช่กีฬา กลายเป็นเหตุการณ์ที่เป็นข่าวสำคัญอันหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น รายการข่าววิทยุแห่งชาติต่างๆ ได้มีการกระจายเสียงมาจากสถานที่แข่งขันจริงๆ. การคาดการณ์เกี่ยวกับว่าใครจะเป็นผู้ได้รับชัยชนะได้ถูกนำไปเชื่อมโยงกับการพนันขันต่อและวงการธุรกิจ: การมีส่วนร่วมในเหตุการณ์อันนี้หมายถึงถูกนำเข้าไปพัวพันกับการพนันในบางรูปแบบ
สองประเด็นได้เกิดขึ้นมาจากเหตุการณ์ที่สื่อทำขึ้น(media event)คือ
- "สะกดให้ประเทศทั้งประเทศหยุดชะงัก"(stopping the nation) เป็นเพียงสิ่งที่เป็นไปได้โดยสื่อ ด้วยเหตุนี้เราสามารถกล่าวได้ว่า สื่อได้สร้างเหตุการณ์นี้ขึ้นมามากกว่าที่จะทำหน้าที่ถ่ายทอดหรือสะท้อนมันเท่านั้น
- ถ้าหากว่าคุณเป็นนักบริโภคสื่ออยู่อย่างสม่ำเสมอ โดยธรรมชาติแล้ว คุณควรจะสนใจในเหตุการณ์นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเผื่อว่าคุณถือว่าตัวคุณเองเป็นออสเตรเลียน. อันที่จริงสื่อเสนอว่า ไม่ต้องไปให้ความสนใจ ซึ่งหมายถึงถ้าคุณไม่ได้เป็นออสเตรเลียน
ประเด็นข้อที่สองนี้ เกี่ยวข้องกับการที่สื่อได้สร้างและก่อรูปร่างการกระทำของเราขึ้นมาให้เป็นไปอย่างไร มันทำให้เรารู้สึกว่าเราคือใคร รวมไปถึงกำหนดวิถีชีวิตประจำวันและงานประจำปีของเราขึ้นมาด้วย. อันนี้คือตัวอย่างหนึ่งของวิธีการที่เราดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งที่เราเรียกว่า"โลกของสื่อ"(the media world)
สื่อสนับสนุนการสร้างปฏิทินเหตุการณ์ต่างๆประจำปีขึ้น การสร้างนั้นไม่ใช่สิ่งใหม่: ตลอดประวัติศาสตร์ บรรดาสังคมต่างๆได้รวมตัวของพวกมันเองขึ้นมาอย่างเป็นระบบรายรอบเหตุการณ์ที่หมุนวนอยู่ ส่วนใหญ่เป็นวันหยุดทางศาสนาและพิธีเฉลิมฉลองต่างๆ ซึ่งเชื่อมโยงในบางหนทางกับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล และการปฏิบัติ รวมไปถึงพิธีกรรมเกี่ยวกับการรวบรวมพืชพันธุ์ธัญญาหาร พิธีกรรมหรือกิจวัตรเหล่านี้ ได้เปลี่ยนแปลงไปกับกระบวนการเกี่ยวกับการทำให้เป็นอุตสาหกรรม เพื่อว่า วันหยุดต่างๆและพิธีกรรมทั้งหลายจะได้รับการรวบรวมขึ้นมาอย่างเป็นระบบ เพื่อเหมาะกับสภาพการณ์และความต้องการของสังคมอุตสาหกรรมในปัจจุบัน
เหตุการณ์ที่สื่อทำขึ้นที่ยิ่งใหญ่สุดประจำปีได้แก่วันคริสต์มาส แต่ยังมีวันอื่นๆซึ่งยังคงเป็นเหตุการณ์ที่สื่อทำขึ้นด้วย เช่น วันวาเลนไทน์ วันพ่อ วันแม่ ต่างก็กำลังกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของปฏิทินสังคมและปฏิทินสื่อทั้งหมด. ทั้งสามวันนี้คือ วันวาเลนไทน์ วันพ่อ วันแม่ ได้ถูกทำให้เป็นเรื่องการค้าหรือธุรกิจไป โดยผ่านการซื้อและส่งบัตรอวยพรและบัตรแสดงความรักรวมไปถึงของขวัญต่างๆ : การส่งเสริมของสื่อเป็นสิ่งที่สำคัญต่อธุรกิจและการค้าต่างๆ. อย่างค่อยเป็นค่อยไป เกือบทุกสัปดาห์และเกือบจะทุกๆวันของแต่ละปี ได้ถูกกำหนดให้เป็นเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งโดยเฉพาะ หรือเชื่องโยงกับจุดประสงค์ที่จำเพาะอันใดอันหนึ่ง และสื่อต่างๆเป็นตัวกลางที่จะเป็นผู้ส่งต่อหรือผู้เผยแพร่สู่สาธารณะเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆเหล่านี้
วันคริสต์มาสจะมาถึงก่อนวันอื่นๆในแต่ละปี; อย่างเช่นงานวันให้รางวัล the Academy Awards - ซึ่งเป็นรางวัลยอดเยี่ยมเกี่ยวกับการส่งเสริมตัวสื่อเองและส่งเสริมจักรวรรดิ์นิยมอเมริกัน - ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ต่างๆที่สื่อทำขึ้นอย่างยิ่งใหญ่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ. ให้หมายเหตุว่า พวกมันกลายเป็นส่วนหนึ่งของการสนทนาในชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง - เช่น คุณได้เห็นการมอบรางวัลออสก้าร์ไหม? มีคนถามผมอย่างนั้น. รู้ไหมว่าใครคือผู้ได้รับรางวัลและใครที่พลาดโอกาสรางวัลนี้ไป พวกเขาสวมใส่ชุดอะไร และใครที่พวกเขามาด้วยปีนี้ คำถามเหล่านี้กลายเป็นความรู้ทางสังคมที่สำคัญชิ้นหนึ่ง พื้นฐานสำคัญทางวัฒนธรรมชนิดหนึ่ง สำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันทางสังคม. การไม่รู้เรื่องเหล่านี้อาจคุกคามทำให้เราถูกกันออกไปจากสังคม
การรายงานข่าวเพิ่มขึ้นได้รับความสะดวกมากขึ้นโดยเทคโนโลยี ที่ได้รับการปรับปรุงอยู่เสมอ (การเชื่อมต่อกันของสัญญานดาวเทียม) ซึ่งทำให้เกิดการถ่ายทอดข่าวสารกันอย่างทันควันและราคาถูกลง ด้วยภาพและเสียงที่คมชัดสมบูรณ์จากทวีปหนึ่งไปยังอีกทวีปหนึ่ง ในหนทางที่ไม่อาจทำเช่นนั้นได้เมื่อไม่กี่ปีมานี้
ให้ลองบันทึกลงไปสำหรับตัวคุณเองว่า เหตุการณ์ต่างๆซึ่งเป็นเหตุการณ์เฉพาะได้กลายเป็นเหตุการณ์สื่อ(media events)ไปอย่างไรบ้าง และมันกำลังพัฒนาไปอย่างไรในแต่ละปี
มันเป็นกระบวนการคัดสรรอันหนึ่งที่ทำงานอยู่; เหตุการณ์บางเหตุการณ์ไม่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุน - ยกตัวอย่างเช่น ในปี 1988 การแข่งขันฟุตบอลเพื่อชิงถ้วย African Football Cup ของชาติต่างๆ ซึ่งเรื่องนี้ถกเถียงกันได้ ถือเป็นการแข่งขันฟุตบอลที่สำคัญเป็นอันดับสามในโลก รองลงมาจากการแข่งขันฟุตบอล World Cup และ European Cup, อันนี้ไม่ได้รับการรายงานข่าวเกือบทั้งหมด หรือเผยแพร่ในออสเตรเลียเลยนอกจาก SBS, ซึ่งเป็นช่องสัญญานโทรทัศน์เกี่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม(the multicultural television channel)
ในทางตรงข้าม อเมริกันฟุตบอลและการแข่งขันรถยนต์เวริล์ดกรังด์ปรีส์(world grand-prix motor racing)กลับได้รับรู้กันอย่างแพร่หลาย และมีการรายงานข่าวเพิ่มเติมทางโทรทัศน์ไปทั่วโลก. การคัดเลือกเหล่านี้ ทำขึ้นมาบนพื้นฐานเกี่ยวกับความปรารถนาและทางเลือกของผู้รับสื่อ หรือบนรากฐานในเชิงธุรกิจที่เป็นตัวขับเคลื่อนผลประโยชน์ต่างๆใช่หรือไม่? การแข่งขันรถยนต์ หนึ่งในเวทีมีที่อยู่ไม่มากนักซึ่งยังคงมีสำหรับการโฆษณาบุหรี่และให้การสนับสนุน เป็นเรื่องที่น่าสนใจโดยเฉพาะในประเด็นนี้. มันคือกลุมผลประโยชน์ขนาดใหญ่ที่ให้การสนับสนุนและการล็อบบี้เพื่อให้มีการรายงานข่าวทางสื่อเกี่ยวกับมัน
ดังนั้น ขณะที่สื่อได้สร้างและส่งเสริมเหตุการณ์ต่างๆขึ้นมา อย่างเช่น Melbourne Cup, พวกเขาก็เปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ทั้งหลายนี้ไปด้วย. การบันทึกเหตุการณ์ใดเหตุการร์หนึ่งธรรมดาง่ายๆจะเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์นั้นไป อันนี้เห็นได้ชัดกับกล้องถ่ายรูป การมีขึ้นมาของกล้องถ่ายรูปได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้คน อันนี้อาจเกิดขึ้นกับเรื่องที่ไม่สำคัญ แต่อย่างไรก็ตาม มันเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่สังเกตเห็นได้
เป็นความน่าสนใจและน่าใส่ใจที่สำคัญอันหนึ่งสำหรับผู้สร้างงานสารคดีทั้งหลาย ซึ่งพยายามที่จะบันทึกเหตุการณ์จริงๆเอาไว้อย่างเป็นภววิสัย; ปัจจุบันมีผู้สร้างงานสารคดีจำนวนมากยอมรับการมีอยู่ของพวกเขาที่เปลี่ยนแปลงเรื่องราวต่างๆไป
ให้ดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นเมื่อคุณหันกล้องไปยังเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นกล้องถ่ายรูปหรือกล้องถ่ายภาพยนตร์ ไปยังคนบางคน หรือเขากำลังหันกล้องมายังคุณ. เป็นไปได้ที่คนที่กำลังจะถูกถ่ายรูปหรือถ่ายภาพยนตร์จะกระทำบางสิ่งบางอย่างในการโต้ตอบกับกล้อง แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้ทำอะไรที่แตกต่างไปเลยภายนอก แต่คุณและพวกเขาจะกำลังรู้สึกบางสิ่งบางอย่างที่ต่างไปภายใน เช่น อารมณ์ เป็นต้น. โดยเหตุนี้ เหตุการณ์อันนั้นจึงถูกเปลี่ยนไป
การบันทึกของสื่อยังเป็นตัวเริ่มต้นที่ไปกำหนดว่า เหตุการณ์ต่างๆที่เป็นจริงจะเกิดขึ้นเมื่อไรและอย่างไรด้วย. ความเชื่อมโยงกันระหว่างกีฬาและสื่อเป็นสิ่งที่มีนัยสำคัญ; แต่ละอย่างดำรงอยู่ด้วยการพึ่งพาอาศัยกันและกันและส่งเสริมกัน. ความสัมพันธ์กันอันนี้หมายความถึง ตัวอย่างเช่น การยุติการแข่งขันชั่วคราวและการเริ่มเล่นต่อของรายการกีฬาต่างๆ ตัวของมันเองทำได้เหมาะเจาะสอดคล้องกับผลประโยชน์จากการรายงานข่าวผ่านสื่อหรือไม่. ดังกรณีตัวอย่าง เมื่อประตูฟุตบอลถูกยิงเข้า ตามกฎฟุตบอลออสเตรเลียนในเกมการแข่งขันที่ถูกถ่ายทอดทางโทรทัศน์ ผู้ตัดสินจะต้องรอจนเห็นแสงไฟจากช่องสัญญานโทรทัศน์บ่งชี้ว่า การโฆษณาทางโทรทัศน์ได้ยุติลงแล้วก่อน จึงจะเริ่มต้นการแข่งขันกันต่อไป
รายการแข่งขันกีฬาต่างๆยังถูกวางตารางในช่วงของวันหยุดสุดสัปดาห์ด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับเวลาการดูทีวีที่มีมากที่สุดนั่นเอง. การรายงานข่าวเกี่ยวกับกีฬาโอลิมปิคได้ถูกจัดการขึ้นอย่างเป็นระบบ รายรอบการรายงานข่าวทางโทรทัศน์ได้ดีที่สุด และสามารถที่จะนำเสนอข่าวกีฬาอันนี้ไปทั่วโลกเหมาะกับเวลาที่มีผู้ชมสูงสุด; เนื่องจากความจำเป็นที่ไม่หลีกเลี่ยงได้อันนี้ การแข่งขันการวิ่งมาราธอนจึงออกวิ่ง ณ เวลาที่เหมาะที่สุดสำหรับผู้ชมโทรทัศน์ทั่วโลก มากกว่าความเหมาะสมกับตัวนักกีฬาเอง
สื่อสามารถกลายเป็นผู้เล่นที่สำคัญอันหนึ่งในเหตุการณ์ต่างๆที่มีนัยสำคัญมากๆ. หนึ่งในตัวอย่างที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดคือ การรายงานข่าวผ่านสื่อเกี่ยวกับเรื่องของสงครามเวียดนาม. ภาพถ่ายทางโทรทัศน์เกี่ยวกับความโหดร้ายของทหารอเมริกันและความเสียหาย กลายเป็นปัจจัยหลักอันหนึ่ง ในการพัฒนาเกี่ยวกับขบวนการต่อต้านสงครามขึ้นมาในสหรัฐฯและออสเตรเลีย ผลลัพธ์ในการประท้วงของประชาชนได้ช่วยให้เกิดการยุติสงครามในเวลาต่อมา
จนกระทั่งปัจจุบัน ข้อถกเถียงเกี่ยวกับการสะท้อน(reflection)ที่ครุ่นคิดกันว่า สื่อมีอิทธิพลต่อสถานการณ์ในชีวิตจริงอย่างไร; ปรากฏว่า พวกมันไม่สามารถเป็นกระจกเงาที่ส่องสะท้อนอันบริสุทธิ์ไร้เดียงสาได้ นับตั้งแต่ที่พวกมันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์และเปลี่ยนแปลงมันไป
อย่างไรก็ตาม หากเราพิจารณากันถึงเรื่องราวที่แต่งขึ้นทั้งหลาย(fictions) มันคือแบบจำลองของการสะท้อนที่มีประโยชน์ขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่? เรื่องราวที่แต่งขึ้นแสดงให้คนภายนอกทั้งหลายเห็นว่าชีวิตเป็นอย่างไร มันคล้ายกับกับในสังคมบางสังคมโดยเฉพาะใช่ไหม? เราสามารถที่จะบรรลุถึงความเข้าใจเกี่ยวกับอเมริกา, แอฟริกา, หรือออสเตรเลียโดยการดูละครทางโทรทัศน์ของประเทศเหล่านี้ได้ไหม?
แบบจำลองการสะท้อน(reflection model)เป็นสิ่งที่ไม่น่าพึงพอใจในที่นี้ ถ้าหากว่าจะมาทึกทักเอาว่า ผลผลิตต่างๆของสื่อเปิดเผยอย่างโปร่งใสถึงความจริงเกี่ยวกับสังคมบางอย่าง. การใช้วิธีการเข้าถึงอันนี้ คุณจะทึกทักว่าละครทีวีประเภท television soap เรื่อง Neighbours ได้ให้ภาพสะท้อนที่ชัดเจนถูกต้องเกี่ยวกับชีวิตชานเมืองที่เป็นเช่นนั้นของออสเตรเลีย! แต่อย่างไรก็ตาม เป็นที่กระจ่างชัดว่า ขณะที่มันอาจจะสะท้อนถึงท่าทีหรือทัศนคติทางสังคมที่เป็นอยู่ เราต้องการที่จะเข้าใจเรื่อง Neighbours มากกว่านี้มาก โดยการวางมันลงในบริบทของสังคมทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โดยการมองไปที่ใครเป็นผู้ผลิตมันขึ้นมา และภายใต้ข้อจำกัดอะไรบ้าง. ยิ่งไปกว่านั้น เราต้องเข้าใจถึงสถานการณ์ที่เป็นจริงทางสังคมเกี่ยวกับออสเตรเลีย(หรือสหราชอาณาจักร) ณ เวลาของการสร้างและการบริโภคเกี่ยวกับรายการเหล่านี้ เพื่อเข้าใจถึงว่า รายการพวกนี้มันเหมาะกับจินตนาการซึ่งนิยมกันอย่างไรของผู้รับสื่อทั้งหลาย
อันนั้น เราต้องพยายามและเข้าใจว่า ทำไมชาวออสเตรเลียนและชาวอังกฤษ(Briton)จึงดูเรื่อง Neighbours กัน: การวาดภาพที่มีลักษณะเฉพาะอันนั้นเกี่ยวกับความเป็นจริง ทำให้ผู้รับสื่อรู้สึกถูกอกถูกใจบางอย่าง และความสุขเหล่านี้สัมพันธ์กับความเป็นจริงที่แท้อย่างไรบ้างของผู้ดู. อันนี้คือสิ่งทีสำคัญโดยเฉพาะเมื่อพยายามที่จะเข้าใจว่า ทำไมเรื่อง Neighbours จึงเป็นที่นิยมชมชอบกันมากสำหรับผู้ดูที่เป็นคนอังกฤษ
มันคือลักษณะของยูโธเปียของมันใช่ไหม แดดกล้า การดำเนินชีวิตที่สะอาดหมดจดไร้มลทิน ที่ได้ให้ความพึงพอใจจากการพยายามหนีรอดไปจากชีวิตจริงของผู้ชมทั้งหลาย ซึ่งต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ตึงเครียดและกดดันมากของความเปล่าเปลี่ยว, ชีวิตในเมือง, และทิวทัศน์ในประเทศอังกฤษที่น่าเบื่อใช่หรือไม่?
แม้แต่การไม่มีอยู่หรือการละเลยต่างๆในเนื้อหาของสื่อ ก็เปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้อย่างน่าสนใจเช่นกันเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางสังคม ซึ่งมันแพร่หลายอยู่ ณ เวลานั้น และในสถานที่ซึ่งเนื้อหาของมันได้รับการสร้างขึ้นมา ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จะตระหนักหรือรู้ถึงสิ่งที่ได้ถูกกีดกันออกไป. ยกตัวอย่างเช่น แม่ที่เก่งกล้าซึ่งอยู่คนเดียว และผู้คนในความสัมพันธ์แบบรักร่วมเพศที่น่าเป็นห่วง แทบจะไม่ถูกนำเสนอมาก่อนช่วงกลางทศวรรษที่ 1980s เลย เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากว่าเราพยายามที่จะทำความเข้าใจสังคมอังกฤษและออสเตรเลียในช่วงทศวรรษที่ 1980s และ 1990s, เรื่อง Neighbours ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสุดๆ จะเป็นแหล่งต้นตอที่มีประโยชน์อันหนึ่ง ท่ามกลางเรื่องอื่นๆอีกมากมาย, พยายามและบรรลุถึงภาพๆหนึ่งเกี่ยวกับสังคมเหล่านั้นว่ามันทำงานอย่างไร ความเชื่อและค่านิยมต่างๆของพวกเขาคืออะไร. กล่าวอีกนัยหนึ่ง บางส่วน มันสามารถที่จะถูกนำมาใช้ในฐานะที่เป็นการสะท้อนถ่ายอันหนึ่งเกี่ยวกับช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์อันนี้
แบบจำลองเรื่องผล: อิทธิพลชนิดใดที่ทำให้สื่อมีผลต่อคนดู?
(The effects model: what sort of influence do the media have on audiences?)
มาถึงตอนนี้ขอให้เรามาพิจารณากันถึงเรื่องแบบจำลองเกี่ยวกับผล(the effect model).
ส่วนหนึ่งของปัญหาในที่นี้คือ คำอะไรที่นำมาใช้เพื่ออธิบายถึงสิ่งที่สื่อได้กระทำกับพวกเรา.
คำนั้นก็คือคำว่า"ผล"(effect) ได้ถูกนำมาใช้อยู่บ่อยๆอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ เพื่อนำเสนอสิ่งที่เป็นคำตอบที่ชัดถ้อยชัดคำกับสิ่งที่ถูกกระตุ้นโดยสื่อ:
เราดูบางสิ่ง และมันทำให้เรากระทำบางสิ่ง. คำว่า"อิทธิพล"(influence)ค่อนข้างจะเป็นประโยชน์ในที่นี้
เพราะมันยินยอมให้เกิดความยืดหยุ่นได้มากกว่า: เราจ้องดูบางสิ่งบางอย่าง และมันกระตุ้นให้เราทำหรือเชื่อบางสิ่งบางอย่าง
ศัพท์คำว่า"ผล"(effect) ยังเป็นประโยชน์ด้วยในฐานะที่มันสามารถอ้างอิงถึง"การเปลี่ยนแปลง"(change)ในความรู้สึกทั่วๆไปอันหนึ่ง หรือสามารถถูกนำมาใช้เป็นการเฉพาะเพื่อบ่งชี้ถึงมิติต่างๆในเชิงกายภาพเกี่ยวกับการขานรับทางด้านอารมณ์ความรู้สึก (อย่างเช่น ความกลัวที่ทำให้ขนหัวลุก [hair-raising fear] หรืออาการร้อนผ่าวขึ้นมาทันที [hot flush] เกี่ยวกับความรู้สึกขวยเขิน หรือรู้สึกอับอาย)
ข้ออ้างเหตุผลของเราในที่นี้คือ สื่อสามารถกระทำ และมีอิทธิพลต่อเราในหลายๆวิธีการ. เพราะฉะนั้น เราควรจะโอนเอียงกับศัพท์คำนี้. แต่อย่างไรก็ตาม บางครั้งเราจะใช้ศัพท์คำว่า"ผล"(effect)เพื่อบ่งชี้ถึงผลลัพธ์โดยตรงหรือสามารถวัดได้เกี่ยวกับการบริโภคสื่อ และแน่นอน เราต้องตระหนักเกี่ยวกับศัพท์คำนี้ เพราะว่า มันเป็นแนวคิดสำคัญในการถกเถียงเกี่ยวกับอิทธิพลและพลังอำนาจของสื่อ
ประเด็นที่ก่อให้เกิด"ผล"เกี่ยวกับความนิยม มันถูกนำเสนอขึ้นมาอย่างไร? ในปี ค.ศ.1988 มีเรื่องราวหนึ่งในหน้าหนังสือพิมพ์ West Australian ซึ่งพาดหัว "Cartoon Triggers Illness"(การ์ตูนกระตุ้นให้เกิดอาการป่วย)รายงานว่า เด็กๆหลายร้อยคนถูกส่งตัวเข้าโรงพยาบาลทั่วทั้งประเทศญี่ปุ่น หลังจากรู้สึกไม่สบายขณะที่ดูรายการภาพยนตร์การ์ตูนยอดนิยมทางโทรทัศน์ซึ่งถ่ายทอดผ่านเครือข่ายทั่วประเทศ. การ์ตูน กระตุ้นให้เกิดอาการชักกระตุก อาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อในเด็ก เมื่อแสงแลบสีแดงแปลบปลาบที่สว่างเจิดจ้าปรากฎขึ้นมาบนจอทีวีราว 5 วินาที (West Australian 1988a)
ดูเหมือนไม่ต้องสงสัยเลยว่า ฉากนี้โดยเฉพาะของรายการยอดนิยม(Pokemon)ได้ก่อให้เกิดปฏิกริยาโต้ตอบของผู้ดูเป็นจำนวนมาก แต่ผลอันนั้นของสื่อในตัวอย่างกรณีนี้ไม่ได้สัมพันธ์กับเรื่องราวความรุนแรงแต่อย่างใด (เนื้อหาของรายการโทรทัศน์) แต่มันเนื่องมาจากรูปแบบการนำเสนอของมันมากกว่า (การถ่ายทอดของสัญญานแสงซึ่งเป็นเรื่องของอิเล็คทรอนิค)
ผลในทำนองเดียวกันซึ่งเป็นคำอธิบายในหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าว ได้รายงานว่าฉากของ Pokemon ถูกค้นพบว่า ปรากฎขึ้นในฐานะที่เป็นผลลัพธ์อันหนึ่งของแสงไฟแฟลชที่กระพริบอย่างรวดเร็ว(stroboscopic) ซึ่งสามารถที่จะก่อให้เกิดอาการโรคลมบ้าหมูได้ในผู้ดูบางคน. อันนี้คือตัวอย่างหนึ่งของวิธีการต่างๆที่สื่อทั้งหลาย สามารถส่งผลกระทบต่อสมาชิกที่เป็นคนดูได้ในระดับกายภาพ
ส่วนผลทางด้านจิตวิทยาและพฤติกรรมโดยตรงของเนื้อหาสื่อ เป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากกว่ามากที่จะวัดหรือประเมินผล. ในทำนองที่คล้ายกัน มันเป็นไปได้ที่จะตรวจวัดโดยทันทีได้, เช่นปฏิกริยาต่อความรู้สึกอย่างเช่น การหัวเราะ หรือแนวโน้มต่างๆที่เกี่ยวกับอาการเครียด ซึ่งเกิดขึ้นมาในช่วงระหว่างภาพกำลังตื่นเต้นและตัดไปยังโฆษณาหรือหยุดพัก, แต่นั่นยังไม่สลับซับซ้อนเท่าไรนัก มันเป็นการโต้ตอบทางอารมณ์เกี่ยวกับความต่อเนื่องเท่านั้น
สื่อยังสามารถสร้างผลต่อพฤติกรรมของพวกเราโดยผ่านรูปแบบต่างๆทางด้านเทคโนโลยีของมัน. อุปนิสัยและการดำรงอยู่ในชีวิตประจำวันของพวกเราได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรุนแรง โดยผ่านการเพิ่มจำนวนมากขึ้นของระบบการสื่อสาร. พัฒนาการเกี่ยวกับสื่อได้ทำให้ความเป็นอยู่ของพวกเรารวดเร็วขึ้น ยึดติดอยู่กับการนั่งมากขึ้น และอยู่กับบ้านมากตามไปด้วย: การสื่อสารผ่านโทรศัพท์ ผ่านอินเตอร์เน็ต ทำให้เราสามารถติดต่อกับคนอื่นๆได้อย่างทันทีทันควัน
โทรศัพท์มือถือทำให้วัยรุ่นทั้งหลายและบรรดานักธุรกิจ มีอิสรภาพในเชิงภูมิศาสตร์มากกว่าแต่ก่อน ทำให้พวกเขาสามารถติดต่อและถูกติดต่อได้อย่างสะดวกง่ายดายมากขึ้นโดยเพื่อนๆของพวกเขา, พ่อแม่, หรือการติดต่อทางด้านธุรกิจ เมื่อพวกเขาอยู่นอกบ้านหรือสำนักงาน. เราสามารถเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆ และสื่อสารความรู้สึกต่างๆกันได้ ข้ามระยะทางในชั่วขณะ และผู้คนไม่จำเป็นต้องมีความสามารถในทางคำนวณง่ายๆธรรมดากันอีกต่อไปแล้ว เมื่อพวกเขาได้เรียนรู้ว่าจะใช้เครื่องคิดเลขกันอย่างไรเท่านั้น
การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่าง word processor มีผลอย่างมากต่อการเขียนของพวกเรา มันทำให้ง่ายมากที่จะผลิตเนื้อหาต่างๆขึ้นมา และสามารถที่จะก๊อปปี้ได้สะดวกด้วย อันนี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการจัดระบบใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง. ดังนั้น แบบแผนที่แท้จริงเกี่ยวกับการดำรงอยู่ในชีวิตประจำวันของพวกเรา ในโลกของสื่อซึ่งเราอาศัยอยู่ร่วม ได้ถูกสร้างขึ้นมาในหนทางที่แตกต่างอันเนื่องมาจากเทคโนโลยีสื่อต่างๆ
อันนี้คือส่วนหนึ่งซึ่ง Marshall McLuhan กำลังได้รับเมื่อตอนที่เขาพูดประโยคที่ว่า "The Medium is the message" (สื่อก็คือสารนั่นเอง)(McLuhan 1987, p.7). มากยิ่งกว่าการเพ่งความเอาใจใส่ลงไปที่เนื้อหาของสาร เขาต้องการให้ผู้คนคิดถึงรูปแบบต่างๆทางด้านเทคโนโลยีของสื่อ และสิ่งเหล่านี้มันส่งผลกระทบต่อผู้คนทั้งหลายอย่างไร
แต่ในความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับคำถามเกี่ยวกับ"ผล", การส่งผล, และอิทธิพล มันคือพื้นที่เกี่ยวกับเนื้อหาของสื่อ(media content) และวิธีการที่มันถูกนำเสนอที่พวกเราต้องโฟกัสลงในรายละเอียดมากกว่านี้. อันนี้คือพื้นที่ที่ได้มีการหยิบยกขึ้นมาสนทนากันส่วนใหญ่และเป็นเรื่องที่โต้เถียงกันมาก. รายงานของหนังสือพิมพ์อีกฉบับหนึ่ง ด้วยการพาดหัวว่า"Suicide Alert on Film"(ระวังการฆ่าตัวตายในภาพยนตร์) ได้แสดงให้เห็นคำเตือนให้ระวังอันตรายเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายดังกล่าว ซึ่งสามารถถูกนำเสนอออกมาเป็นความนิยมได้
ฉากการฆ่าตัวตายในภาพยนตร์เรื่องล่าสุดในเรื่อง Romeo and Juliet ได้กระตุ้นความห่วงใยในท่ามกลางนักจิตวิทยาและผู้ให้คำปรึกษาทั้งหลาย เกี่ยวกับภาพยนตร์ที่มีฉากการฆ่าตัวตายแบบโรแมนติคต่างๆ "อะไรก็ตามที่มีอทธิพลต่อการฆ่าตัวตายให้สูงขึ้น ควรจะได้รับความเอาใจใส่จากสังคมเป็นอย่างสูง"(West Australian 1997)
ความเกี่ยวพันกันในที่นี้ก็คือ ภาพยนตร์สามารถที่จะกระตุ้นการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นได้โดยตรง เมื่อช่วงเริ่มต้นคริสตศตวรรษที่ 21ประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศหนึ่งซึ่งมีสถิติเด็กวัยรุ่นฆ่าตัวตายสูงที่สุดในโลก โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่นผู้ชายซึ่งมีอัตราการฆ่าตัวตายอยู่ในระดับสูง ผลที่ตามมาทำให้สังคมออสเตรเลียนมีความรู้สึกอ่อนไหวต่อประเด็นปัญหานี้
แต่อย่างไรก็ตาม หากเคลื่อนไปสู่การเซ็นเซอร์ภาพยนตร์นี้ เนื่องมาจากการที่มันให้ภาพเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย จะเป็นเรื่องที่ผิดที่ผิดทางไปอย่างลึกซึ้งในการแก้ปัญหา. การฆ่าตัวตายของเยาวชนเป็นผลผลิตของเงื่อนไขหรือสภาพการณ์ทางสังคมที่กว้างมาก และอันนี้เป็นเรื่องซึ่งต้องการการพิจารณาให้ถี่ถ้วน. ในเวลาเดียวกัน สื่อสามารถที่จะยังคงเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขทางสังคมเหล่านี้
การดูการรายงานข่าวเกี่ยวกับเรื่องโรดเอดส์, ผู้ก่อการร้าย ผู้อพยพลี้ภัย โลกที่กำลังร้อนขึ้น และความอดอยากหรือวาตภัย พอจะเป็นไปได้ว่ามันอาจทำให้ใครบางคนซึ่งรู้สึกหดหู่ ไร้พลัง และขาดความเชื่อมั่นอยู่แล้วทำการอัตวินิบาตกรรมตนเองสำหรับเหตุผลเหล่านี้ ซึ่งง่ายที่จะเข้าใจกว่าการได้รับการยั่วยวนโดยการแสดงที่ดึงดูดใจเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายของคนหนุ่มสาวในภาพยนตร์เรื่อง Romeo and Juliet
ลองดูตัวอย่างซึ่งเป็นรูปธรรมมากขึ้นอีกตัวอย่างหนึ่ง หนึ่งในสถิติเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายของเด็กวัยรุ่นผู้ชายในออสเตรเลียคือว่า วัยรุ่นที่เป็นเกย์จำนวนมากพยายามที่จะฆ่าตัวตาย. อันนี้ได้รับการให้เหตุผลว่า เกิดขึ้นเนื่องมาจากความทุกข์ยากลำบากใจของพวกเขา ที่มีต่อวิธีการที่สังคมปฏิบัติกับคนที่รักร่วมเพศ
จากสถิติที่เชื่อถือได้ที่สุดแสดงให้เห็น 20-35 เปอร์เซนต์ของวัยรุ่นที่เป็นเกย์ พยายามที่จะฆ่าตัวตาย. หนุ่มสาวชาวเกย์ บ่อยครั้ง มีท่าทีที่ฝังลึกภายในเกี่ยวกับภาพลักษณ์และทัศนคติที่ตายตัวเกี่ยวกับตัวของพวกเขาเอง. และเมื่อไรที่คุณถูกบอกว่าคุณเป็นคนป่วย, คนเลว และดำรงอยู่อย่างผิดๆ โดยไม่เข้าใจว่าคุณเป็นใคร คุณก็เริ่มเชื่อคำพูดเหล่านั้น (Herdt 1989, p.31)
Alan McKee (1997) ได้ให้เหตุผลว่า สื่อได้ถูกนำเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เพราะพวกมันนำเสนอภาพลักษณ์ที่เป็นไปในเชิงบวกน้อยมากเกี่ยวกับหนุ่มสาวเกย์. เขาเห็นถึงความต้องการเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนชาวเกย์ที่ป๊อปปิวล่าร์ ในฐานะที่เป็นหนทางหนึ่งซึ่งจะช่วยยกระดับความเข้าใจและความนับถือในตนเอง และต่อสู้กับสถิติการฆ่าตัวตายเหล่านี้. ในความสัมพันธ์กับประเด็นปัญหาข้างต้น และสำหรับคนทั่วไปส่วนใหญ่ ความเชื่อมโยงระหว่างสื่อและสังคมเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน
นอกจากนี้ ประเด็นเกี่ยวกับผล บ่อยครั้งมาก ยังถูกตั้งคำถามขึ้นมาเกี่ยวกับเรื่องเพศและความรุนแรงด้วย. สมมุติฐานง่ายๆธรรมดาคือว่า ความรุนแรงของสื่อกระตุ้นพฤติกรรมอันรุนแรงในหมู่ผู้รับ และการเสนอภาพเกี่ยวกับเรื่องเพศโดยสื่อ สามารถที่ทำให้ผู้รับชั่วหรือเลวลงได้. ถึงแม้ว่างานวิจัยเกี่ยวกับผลของสื่อต่างๆจะยังไม่สรุปเช่นนั้น บ่อยทีเดียว มันถูกเสนอว่าการก่ออาชญากรรมได้ถูกกระตุ้นหรือสนับสนุนโดยการดูเรื่องความรุนแรงหรือภาพโป๊ในสื่อ อันนี้คือข้ออ้างเหตุผลอันหนึ่งซึ่งบางครั้งได้ถูกนำมาใช้ในศาลสถิตย์ยุติธรรม
คำตอบในเชิงตรรกสำหรับผู้คนเป็นจำนวนมากคือ ต้องมีการจำกัดสิ่งที่สามารถถูกเฝ้าดูโดยผ่านการเซ็นเซอร์. แต่อย่างไรก็ตาม ดังแนวทางนี้จากภาพยนตร์เรื่อง Scream เสนอแนะอย่างเหมาะสมว่า สื่อไม่อาจที่จะรับผิดชอบสำหรับการทำให้ผู้คนเป็นคนเลว: "ภาพยนตร์ไม่ได้สร้างสรรค์ผู้ป่วยทางจิตขึ้นมา แต่พวกมันทำให้ผู้ป่วยทางจิตสร้างสรรค์มากขึ้น"
ขณะที่ยอมรับว่า สื่อสามารถที่จะมีอิทธิพลต่อเรา และนั่นทำให้เราต้องการการเซ็นเซอร์ในบางรูปแบบ เราได้สร้างข้อเสนอต่างๆที่ตามมาต่อไปนี้ ซึ่งสวนทางกับการเซ็นเซอร์ที่เพิ่มขึ้น และสวนทางกับการใช้แบบจำลองเกี่ยวกับผล(the effect models) เพื่อให้เหตุผลหรือหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนี้
1. เรามีความเป็นอิสระบางอย่าง(เช่น การควบคุมตนเอง, และการกำหนดตัดสินได้ด้วยตนเอง)ในสิ่งที่เราประพฤติปฏิบัติ; ขณะที่เราอาจลอกเลียนบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งเราเรียนรู้จากสื่อ - เช่น จะสวมใส่เสื้อผ้าชุดอะไร สไตล์ของการใช้ภาษา และปฏิกริยาต่อกันทางสังคม - เรารู้ถึงสิ่งที่มันมุ่งหมายหรือเจตนาให้เป็นเรื่องรุนแรงกับบางคน และเราระมัดระวังเกี่ยวกับการกระทำต่างๆอันนั้น. เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุผลซึ่งสามารถที่จะคิดและสะท้อนถ่ายสิ่งที่เราเห็นและกระทำ. เรายังรู้ถึงความแตกต่างระหว่าง การแสดงหรือเป็นตัวแทนต่างๆของสื่อ สำหรับเรื่องราวทั้งหลายและภาพความรุนแรงที่ปรากฏขึ้น - นั่นคือ พวกมันเป็นเพียงเรื่องราว"สิ่งที่เสกสรรค์"ขึ้นมาหรือ"สิ่งที่เป็นจริง"
เราสามารถตัดสินได้เกี่ยวกับสิ่งที่เราบริโภคจากสื่อ; เราไม่ได้ขานรับมันโดยอัตโนมัติในสิ่งที่เราเห็น. เราเชี่ยวชาญในการจำแนกระหว่าง การเป็นตัวแทนของสื่อ เรื่องราวและเรื่องที่แต่งขึ้น ที่อาจบรรจุภาพของความรุนแรงต่างๆเอาไว้ (เลียนแบบโดยการใช้เลือดหมูและแผลที่ทำปลอมขึ้นมา) และสิ่งที่เป็นจริง. การกล่าวโทษหรือตำหนิสื่อเป็นการแก้ตัวชนิดหนึ่งซึ่งปฏิเสธความรับผิดชอบของตัวเราเอง (และบ่อยครั้งมันถูกใช้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ในฐานะที่เป็นข้ออ้างเหตุผลเพื่อจุดประโยคบางประโยคขึ้นมา อันนำไปสู่การสอบสวนอาชญากรรมความรุนแรงต่างๆเหล่านั้น)
2. มันเป็นสิ่งสำคัญที่ว่า เราสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความรุนแรงจริงๆและเรื่องทางเพศได้ในโลกนี้ เพราะการจำกัดการเข้าถึงดังกล่าว และการควบคุมข้อมูลข่าวสาร ถือเป็นการสะกัดกั้นทางสังคมและทางการเมือง. สงครามเวียดนามถือเป็นตัวอย่างที่สำคัญยิ่ง เกี่ยวกับว่า การรายงานข่าวของสื่อสามารถจัดหาข่าวสารข้อมูลให้กับสังคมได้อย่างไรบ้าง ซึ่งได้ส่งผลทางการเมืองในเวลาต่อมา
การายงานข่าวของสื่อเกี่ยวกับสงครามครั้งนี้ เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อการผันเปลี่ยนชาวอเมริกันและชาวออสเตรเลียนให้ต่อต้านสงคราม. ในช่วงระหว่างสงครามอ่าวในปี ค.ศ.1991 สื่อตะวันตกได้ถูกควบคุมอย่างหนักโดยกองทัพ และการรายงานข่าว ถูกเปรียบเทียบคล้ายกับวิดีโอเกม ถูกทำอย่างมีสติมากในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อสนับสนุนสงคราม. เราต้องการที่จะเข้าถึงความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆได้อย่างเต็มที่ นั่นคือ อิทธิพลต่อสาธารณชนโดยตรงซึ่งมีต่อเรา
นับตั้งแต่ที่ผู้คนทั้งหลายได้ให้ความไว้วางใจในสื่อ เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่มาจากระยะไกลและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นห่างออกไป การควบคุมการเป็นตัวแทนโดยสื่อสามารถเป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพอย่างน่าทึ่งในการสนับสนุนความเชื่อและทัศนคติโดยเฉพาะทั้งหลาย: สื่อได้ก่อรูปหรือสร้างการรับรู้ของพวกเราขึ้นมาเป็นเนื้อที่ที่แน่นอนอันหนึ่ง
ยังมีคำถามอีกข้อหนึ่งเกี่ยวกับการที่ความรุนแรงจริงๆได้ถูกนำเสนอในโทรทัศน์อย่างไร. ที่เรียกว่า"reality TV"โปรแกรม อย่างเช่นรายการ When Animals Attack (เมื่อสัตว์จู่โจม) และการแสดงให้เห็นภาพที่ถูกถ่ายขึ้น ซึ่งเกี่ยวข้องการการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และคนขับรถที่เลวๆ ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการที่พวกมันได้ทำให้เกิดความตื่นเต้นจากความรุนแรง
หนึ่งในสิ่งต่างๆที่คุณควรตระหนักหรือรับรู้เกี่ยวกับมันในฐานะที่เป็นการวิจารณ์สื่อก็คือ ภาษาของสื่อมันแสดงออกมาอย่างไร เช่น มุมกล้อง ดนตรีประกอบ การตัดต่อ การถ่ายทำภาพช้า และอื่นๆ สามารถถูกนำมาใช้นำเสนอและกำหนดควบคุมเหตุการณ์ต่างๆในลักษณะที่เป็นการเฉพาะได้ และอันนี้ต้องการการวิเคราะห์ในเชิงวิพากษ์อย่างยิ่ง
3. กรณีรายรอบซึ่งเกี่ยวกับเรื่องเซ็กส์และความรุนแรงที่แต่งขึ้น(fictional) ก่อให้เกิดการตั้งคำถามที่แตกต่างกัน. กฎหมายการเซ็นเซอร์ในออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ประสบกับความเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการทำให้เป็นประชาธิปไตย และเสรีนิยมกว้างขวางขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1960s. เซ็กส์และความรุนแรงอย่างเปิดเผยกลายเป็นเรื่องธรรมดาในสื่อโดยเฉพาะเรื่องราวที่แต่งขึ้น อันนี้ได้รับการช่วยเหลือโดยเทคโนโลยีที่ปรับปรุงขึ้นมา และ special effect หรือเทคนิคพิเศษที่ได้มีการทำขึ้นเป็นรูปภาพลายเส้น หรือ graphic เพื่อมาใช้ช่วยอธิบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับเรื่องความรุนแรง ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการใช้ภาพจริงและเสริมรายละเอียดเข้าไปด้วย
ปฏิกิริยายาต่างๆต่อเรื่องนี้ และการรณรงค์ที่ต่อต้านเรื่องเซ็กส์และความรุนแรงผ่านสื่อ ได้เกิดขึ้นทั่วไปนับจากทศวรรษที่ 1970s และยังคงมีการถกเถียงกันอยู่อย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับประเด็นปัญหาดังกล่าว. พัฒนาการเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดคำถามที่ตามมาคือ: เราต้องการให้มีการเซ็นเซอร์ใช่หรือไม่? ควรจะมีการจำกัดสิ่งที่ถูกนำออกมาแสดงใช่ไหม? ใครคือคนที่ควรได้รับการยินยอมให้ดูอะไรได้บ้าง? เส้นแบ่งเขตอะไรที่เราต้องการลาก เพื่อที่จะทำให้ผู้ดูทั้งหลายได้มีข้อมูลทางเลือกเกี่ยวกับสิ่งที่เขาปรารถนาจะดู โดยไม่มีการตัดโอกาสทางการเมืองและศิลปะซึ่งเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออก และเสรีภาพในการเลือกทิ้งไป? เราจะนิยามถึงลักษณะเฉพาะหรือทิวทัศน์ต่างๆอย่างไร ที่เราต้องการหรือประสงค์จะให้มีในโลกของสื่อ
ในการถกเถียงกันระหว่างคนที่เชื่อในเรื่องเสรีภาพของตนเอง (การเป็นอิสระปกครองตนเองได้ และเสรีภาพที่จะเลือก) และพวกที่เชื่อในการกำหนด (เป็นเรื่องของเงื่อนไขที่มีมากกว่า, ฟันเฟืองของเครื่องจักรขนาดใหญ่ เข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์มาจากเหตุปัจจัยมากกว่าการเลือก) เราได้ถูกโน้มเอียงไปสู่ลัทธิเสรีนิยม. ในโลกอุดมคติพวกเราไม่ต้องการให้มีการเซ็นเซอร์ แต่โลกของเราไม่ได้เป็นดั่งอุดมคติ; เราต้องการที่ปกป้องประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กๆ ต่อภาพต่างๆซึ่งเป็นอันตรายและล่อลวงต่อพวกเขา หรือกระตุ้นสนับสนุนอันตรายเหล่านั้น - เราต้องการการตรวจสอบหรือการเซ็นเซอร์บางอย่าง และข้อจำกัดบางประการ. แต่อย่างไรก็ตาม ในที่นี้ได้เสนอข้อถกเถียงในเชิงเหตุผล 2 ประการซึ่งมีต่อเรื่องของการเซ็นเซอร์ดังนี้:
ประการแรก, เกี่ยวข้องกับคุณค่าและความสำคัญของความคิดเพ้อฝัน. เรื่องราวที่แต่งขึ้น(fictional stories) อย่างเช่นความฝัน ยินยอมให้เราสำรวจและหมกมุ่นอยู่กับเรื่องราวที่เพ้อฝันได้ ความฝันเกี่ยวกับการทำร้ายคนใดคนหนึ่ง ไม่ใช่อย่างเดียวกันกับการได้กระทำมันไปลงไปจริงๆ กระนั้นก็ตาม พวกเราเป็นจำนวนมาก ฝันเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ในบางครั้ง. เรื่องราวที่เสกสรรค์ขึ้นมาทั้งหลายยอมให้เราสำรวจและทำความเข้าใจความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องเพศและความรุนแรงของเรา
Bruno Bettelheim ได้ให้เหตุผลสนับสนุนคุณค่าเกี่ยวกับเทพนิยายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความรุนแรงสำหรับพวกเด็กๆ. แม้ว่า"เทพนิยายต่างๆ"จะประสบกับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เมื่อมีการค้นพบใหม่ๆทางด้านจิตวิเคราะห์และและจิตวิทยาเกี่ยวกับเด็ก ซึ่งได้เผยให้เห็นว่า เรื่องความรุนแรง ความกระวนกระวายใจ การทำลายล้าง และแม้กระทั่งเรื่องเกี่ยวกับการกระทำทารุณกับผู้หญิงในช่วงที่เกิดตัณหา(sadistic)ในจินตนาการของพวกเด็กๆเป็นอย่างไร
Bettelheim ให้เหตุผลว่า เทพนิยายต่างๆ ยอมให้เนื้อที่อันหนึ่งสำหรับจินตนาการอันนี้ และการไปห้ามปรามหรือประณามเทพนิยาย เพราะว่าพวกมันเป็นสิ่งซึ่งน่าเกลียดน่ากลัวและทำให้ตกอกตกใจ จะเก็บงำอสุรกายที่น่ากลัวอันนี้เอาไว้ภายในตัวเด็กและเป็นสิ่งที่ไม่ได้พูดถึงมัน, มันจะหลบซ่อนอยู่ในจิตไร้สำนึก... การปราศจากเรื่องราวที่เพ้อฝันเหล่านั้น เด็กๆจะขาดเสียซึ่งการได้รู้ถึงสัตว์ประหลาดหรืออสุรกาย[ที่มาโจมตี]เขาได้ดีขึ้น และมันก็จะไม่ช่วยแนะนำเขาเกี่ยวกับว่า เขาอาจจะควบคุมหรือเป็นนายเหนือมันได้อย่างไร (Bettelheim 1978, p.120)
ประการที่สอง, มีผู้กล่าวว่าการเซ็นเซอร์เกี่ยวกับเรื่องเพศและความรุนแรงนั้นมันไม่ทำงาน. การตรวจสอบหรือการเซ็นเซอร์สะท้อนความเชื่ออันหนึ่งที่ว่า ถ้าเผื่อเราควบคุมภาพที่ปรากฏบนสื่อได้ เราก็จะสามารถควบคุมพฤติกรรมของคนได้: ถ้าหากว่าเราหยุดยั้งการแสดงภาพของความรุนแรง ผู้คนก็จะยุติการกระทำอันรุนแรงลง. แต่อย่างไรก็ตาม ผู้คนกระทำและรู้สึกรุนแรงกับคนอีกคนหนึ่งด้วยเหตุผลที่หลายหลาก ถ้าเผื่อว่าคนทั้งหลายต้องการดูภาพของความรุนแรงหรืออาการโกรธเกรี้ยวในสื่อ มันอาจเป็นเพราะว่า มันมีความรุนแรงและความรู้สึกเกรี้ยวโกรธมากมายในโลกของความเป็นจริง (ด้วยเหตุนี้ สื่อจึงทำหน้าที่สะท้อนความรู้สึกเหล่านี้ออกมา). ความโกรธถูกทำให้เกิดขึ้นมาโดยการกดขี่บีบคั้นทางสังคม ซึ่งนั่นอาจเป็นเหตุผลที่สำคัญอันหนึ่ง
วิธีการเกี่ยวกับข้องกับความรุนแรงอันนั้นมิใช่โดยการไปเซ็นเซอร์สื่อ แต่ควรจะสำรวจตรวจตราสิ่งซึ่งกำลังเกิดขึ้นในสังคมจริงๆ และพยายามเกี่ยวข้องกับมูลเหตุที่ลึกซึ้งของความเกรี้ยวโกรธและความรุนแรง. การโฟกัสความสนใจลงไปที่ความรุนแรงในสื่อและทำการเซ็นเซอร์ จะเป็นการทำให้เราไขว้เขวจากการมองดูปัญหาต่างๆของสังคมที่กำหนดความรุนแรงขึ้นมา. ถ้าหากว่าความรู้สึกรุนแรงมีอยู่ที่นั่นจริง การเซ็นเซอร์ก็จะไม่ทำให้มันหายห่างจากไปได้
ข้ออ้างในเชิงเหตุผลอย่างเดียวกันนี้ ประยุกต์ใช้กับภาพเกี่ยวกับเรื่องทางเพศด้วย
ในโลกอุดมคติ เราจะต้องใช้เวลาเพื่อทำความเข้าใจถึงสิ่งที่ผู้คนกำลังรู้สึกในเรื่องทางเพศและเรื่องทางอารมณ์ มากกว่าที่จะพึ่งพาวิธีการเซ็นเซอร์สื่อ. มันกำลังเป็นเรื่องยุ่งยากลำบากขึ้นว่า ผู้คนทั้งหลายต้องการล่อลวงทางเพศกับพวกเด็กๆ หรือต้องการดูการแสดงต่างๆเหล่านั้น แต่ข้อเท็จจริงคือ พวกเขากลับชี้ไปที่ปัญหาต่างๆทางเพศในสังคมตะวันตก. บางครั้งสื่อยกย่องความรู้สึกทางเพศ แต่บ่อยครั้ง พวกเขาก็ชี้ไปยังปัญหาทางเพศและการปราบปรามด้วย ซึ่งถูกรู้สึกโดยคนจำนวนมาก. การเซ็นเซอร์หรือความเกรงกลัวภาพที่ปรากฏบนสื่อเกี่ยวกับเรื่องเพศ ได้ดึงความสนใจไปสู่ความต้องการที่จะมองเข้าไปใกล้มากขึ้นในความรู้สึกต่างๆทางเพศของพวกเรา เพื่อเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้อย่างเปิดเผยในโลกของความเป็นจริง. เราอาจถกว่า จริงๆแล้ว มันมีเรื่องเพศน้อยเกินไปในสื่อต่างๆ มีรายการหรือโปรแกรมเกี่ยวกับเรื่องนี้น้อยมาก (อย่างเช่น Sex/Life) ซึ่งพยายามที่จะนำเอาแง่มุมเกี่ยวกับเรื่องเพศมาสู่การสนทนาหรือถกเถียงกันอย่างเปิดเผยมากขึ้น
การถกเถียงกันเกี่ยวกับผลของสื่อ(media effect)เป็นเรื่องซึ่งชอบทะเลาะกันเรื่องหนึ่ง เพราะมันกลายเป็นเรื่องเชื่อมโยงกันกับประเด็นทางการเมือง. คนจำนวนมากเหล่านั้นถกกันว่า ความรุนแรงบนจอโทรทัศน์มีผลอันตรายต่อบรรดาผู้ดูทั้งหลาย และกำลังแสวงหาหนทางที่จะเสนอให้มีการการเซ็นเซอร์ในเชิงอนุรักษ์และข้อจำกัดในทางกฎหมายขึ้นมาพิจารณากัน
แต่อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้สนับสนุนเสรีภาพของพลเมืองรู้สึกห่วงใยกับการกัดเซาะที่เป็นไปได้เกี่ยวกับอิสรภาพประชาธิปไตย ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงปรารถนาที่จะเสนอประเด็นแย้งที่ว่า มันยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนใดๆเกี่ยวกับผลโดยตรงที่สามารถถูกนำมาวัดได้, ดังนั้น สื่อจึงไม่มีผลหรืออิทธิพลโดยตรงแต่อย่างใด
อันตรายที่ตามมาเกี่ยวกับฐานคิดที่สองนี้คือว่า เราได้ละเลยในการมองไปยังข้อเท็จจริงบางอย่างที่ว่า สื่อต่างๆมีผลหรืออิทธิพลต่อผู้รับอย่างไร แม้ว่ามันอาจยากที่จะวัดและประเมินก็ตามในความสัมพันธ์กับผู้ดูแต่ละคน
การบำบัดรักษาโดยการใช้ดนตรี หรือที่เรียกว่า music therapy ถือเป็นตัวอย่างที่ค่อนข้างแจ่มชัด. มันวางอยู่บนที่มั่นของข้อสมมุติฐานที่ว่า ดนตรี(รูปแบบหนึ่งของสื่อ)สามารถที่จะมีผลต่อผู้ฟัง. ในหนังสือของเขาเรื่อง The Mozart Effect ซึ่ง Don Campbell ได้สำรวจถึงตัวอย่างเป็นจำนวนมาก ที่ซึ่งดนตรีประสบความสำเร็จในการนำมาใช้สร้างความรู้สึกที่แตกต่างและภาวะทางอารมณ์ที่ต่างไป(Campbell 1997). ถ้าเผื่อว่าดนตรีสามารถเปลี่ยนแปลงหรือสร้างสรรค์ห้วงอารมณ์และความรู้สึกของคนให้แตกต่างได้สำหรับบรรดาผู้ฟังมันทั้งหลาย ก็ดูเหมือนจะฟั่นเฟือนหรือเหลวไหลมากหากจะปฏิเสธว่า ผู้รับสื่อจะไม่ได้รับผลกระทบอะไรจากสื่อในบางหนทาง
ท้ายที่สุดคือ ทำไมบรรดาบริษัทต่างๆจึงลงทุนด้วยเงินจำนวนมหาศาลในการโฆษณาหรือทำประชาสัมพันธ์กัน? บางที เราต้องพัฒนาวิธีการที่ละเอียดอ่อนและช่ำชองมากขึ้นกว่าแต่ก่อน เกี่ยวกับการศึกษาและทำความเข้าใจผลกระทบของสื่อและอิทธิพลต่างๆของมัน
นักวิเคราะห์คนหนึ่งได้ใช้แนวคิดเกี่ยวกับ"concept of compassion fatigue"(ความเมตตาสงสารที่ยากลำบากเกินไป)เพื่อนำเสนอว่า มันมีผลอันหนึ่งซึ่งทับทวีขึ้นเกี่ยวกับการดูรายงานข่าวมากจนเกินไปในเรื่องเกี่ยวกับหายนภัยของโลก, ภาวะข้าวยากหมากแพงหรือทุพภิกขภัย, และความทุกข์ยากของมวลมนุษย์. เราเรียนรู้ที่จะปิดการโต้ตอบหรือขานรับทางอารมณ์ของเราบางอย่าง - ความรู้สึกเมตตาสงสารสำหรับผู้คนเหล่านี้และเหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้น - อย่างง่ายๆ เพราะพวกเขาหรือเหตุการณ์เหล่านั้น มันมากเกินไปสำหรับเราที่จะจัดการอะไรมันได้
มีคนบางคนหลีกเลี่ยงที่จะดูข่าวร้ายๆ เพราะพวกเขารู้สึกว่าตัวเองได้รับผลกระทบในเชิงลบโดยการวนเวียนสนอข่าวนั้นอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่มารบกวนใจ. ดังนั้นจึงไม่น่าปฏิเสธว่า สื่อได้ส่งผลกระทบกับเราในบางวิธีการ
ในเรื่อง Politics of Pictures (การเมืองเกี่ยวกับภาพ), Hartley บันทึกว่า "เวลาที่เรากำลังจะตัดสินข้อดีต่างๆของผู้สมัครรับเลือกตั้งเพื่อเข้าสู่การดำรงตำแหน่งสาธารณะ สาธารณชนจะต้องใช้ภาพถ่ายและภาพยนตร์ที่บันทึกเสียง(talking picture)ที่ทำขึ้นมา เพื่อตัดสินใจดังกล่าว; การกระทำในฐานะที่เป็นพลเมืองคนหนึ่ง หมายถึง การมีภาระผูกพันอยู่ในการเมืองเกี่ยวกับภาพ(Politics of Pictures)"(Hartley 1992b, p.35)
ข้อความที่ยกมานี้ได้สาธิตให้เห็นว่า สื่อมีความสำคัญอย่างไรในชีวิตสาธารณชนภายใต้ระบอบประชาธิปไตย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการให้ข้อมูลสาธารณะเกี่ยวกับทางเลือกที่แตกต่างซึ่งพวกเขาเผชิญอยู่ในฐานะผู้ออกเสียงเลือกตั้ง. โดยเหตุนี้ การสื่อสารทางการเมืองจึงเป็นหนึ่งในบทบาทสำคัญที่สื่อแสดงอยู่ในสังคม
ในยุคที่บุคลิกภาพและสไตล์ได้รับการเชื่อว่าเกือบจะเป็นนโยบายและแก่นแกนที่มีนัยสำคัญอันหนึ่ง วิธีการปรากฏตัวของนักการเมืองคนหนึ่งที่ถูกรายงาน หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนบนหน้าหนังสือพิมพ์ สามารถที่จะสร้างผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อความเชื่อถือของบุคคลและจุดยืนทางการเมือง - และต่อความเชื่อมั่นเกี่ยวกับสื่อ
เป็นที่น่าเศร้า หนังสือพิมพ์ทำให้แนวโน้มในการตัดสินของผู้คนเป็นสิ่งที่ถาวรขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรดานักการเมืองหญิง โดยการปรากฏตัวที่เป็นส่วนตัวของพวกเธอ. ยกตัวอย่างเช่น ผู้นำพรรค One Nation, Pauline Hanson ซึ่งเป็นที่ดึงดูดความสนใจของสื่ออย่างยิ่งเหนือเส้นทางอาชีพทางการเมือง. ในการพยายามอันหนึ่งที่จะแกว่งไกวและหันเหความคิดเห็นทางการเมืองซึ่งต่อต้านพวกเหยียดชนชาติ(racist), นโยบายต่างๆของพวกปีกขวาที่เธอให้การสนับสนุน หนังสือพิมพ์ออสเตรเลียเฝ้าคอยที่จะหัวเราะเยาะการพูดออกเสียงของเธอ การศึกษาของเธอ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรากฏตัวของเธอ
หนังสือพิมพ์ระดับชาติฉบับหนึ่ง ได้นำเสนอเรื่องราวซึ่งเกี่ยวกับแฟชั่นของ Hanson ทั้งหมด (ภาพลักษณ์ของเธอ - วิธีการในการจัดการตัวเธอเอง) ซึ่งบรรดานักออกแบบแฟชั่นชั้นนำของออสเตรเลียหลายคน ได้รับการเชื้อเชิญให้มาวิพากษ์วิจารณ์สไตล์ส่วนตัวของนักการเมืองคนนี้. การแสดงความคิดเห็นในเชิงวิจารณ์ที่เป็นส่วนตัวมากๆอันนี้ ได้รับการตีพิมพ์ซึ่งทำให้หนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าว ดูเหมือนได้ขาดความรับผิดชอบและขาดเสียซึ่งความน่าเชื่อถือไป
การโต้เถียงเกี่ยวกับผลที่ตามมาได้ก่อให้เกิดรูปลักษณ์ภายนอกที่เป็นสาธารณะของนักการเมือง. ไกลห่างไปจากการหันเหผู้คนจากนโยบายเหยียดชาติของพรรค One Nation, การรายงานข่าวที่ไม่รับผิดชอบนี้ได้ดึงความสนใจไปจากสารทางการเมืองต่างๆของ Ms. Hanson และได้สร้างคลื่นหรือกระแสเกี่ยวกับความเห็นอกเห็นใจจากบรรดาผู้อ่านทั้งหลายขึ้นมา ซึ่งเชื่อมั่นจริงๆว่า การโจมตีในเรื่องสไตล์ส่วนตัวเป็นเรื่องการแบ่งแยกและมีอคติทางเพศ(sexist)และไม่เป็นมืออาชีพ
ลองเขียนลายชื่อนักการเมืองที่เป็นผู้หญิงสักสามคนที่คุณรู้เกี่ยวกับพวกเธอและพิจารณาดูว่า สื่อเป็นตัวแทนของพวกเธออย่างไร. พวกเธอได้รับการรายงานข่าวแบบเดียวกันกับนักการเมืองผู้ชายหรือเปล่า?
การสื่อสารทางการเมือง พาดพิงถึงสิ่งต่างๆมากมาย อย่างเช่น การถ่ายทอดโทรทัศน์ หรือรายงานข่าวเกี่ยวกับการรณรงค์การเลือกตั้ง และการสัมภาษณ์บรรดานักการเมืองเกี่ยวกับนโยบายต่างๆของพวกเขา. นอกจากที่กล่าวมาแล้ว มันยังรวมถึงการรณรงค์ทางด้านการให้ข้อมูลสาธารณะ, การจัดการสื่อ, และการจัดการภาพลักษณ์ในนามของตัวของพวกนักการเมืองเอง
การจัดการสื่อ(media management) ดังที่อรรถาธิบายโดย McNair (1995, p.114) รวมถึงยุทธวิธีทั้งหมดที่บรรดานักการเมืองทั้งหลาย (และประชาสัมพันธ์ส่วนตัวของพวกเขา) ใช้เพื่อควบคุม, จัดการอย่างชำนิชำนาญ, หรือมีอิทธิพลต่อการควบคุมสื่อในหนทางต่างๆที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ต่างๆทางการเมืองของพวกเขา. ยุทธวิธีเหล่านี้รวมทั้งการกำหนดวาระ(agenda setting) และการจัดการควบคุมเหตุการณ์สื่อ(media event) อย่างเช่น การเรียกประชุมนักข่าว(press conference) และการเปิดอาคารสาธารณะอย่างเป็นทางการ ทำให้สมบูรณ์ด้วยการถ่ายภาพเหตุการณ์นั้นๆและกล่าวสุนทรพจน์ โรยพริกไทยด้วยข้อความง่ายๆสั้นๆที่เผ็ดร้อนตามสมควรสำหรับการเผยแพร่ผ่านสื่อ
นับจากที่การเมืองได้เป็นศูนย์กลางที่นำไปสู่ช่องทางการมีบทบาทหน้าที่ระดับชาติ เนื้อหาอันนั้นคือสิ่งที่สำคัญยิ่งสำหรับข่าวหนังสือพิมพ์, เพราะฉะนั้น สื่อและนักการเมืองทั้งหลายจึงมีสัมพันธ์ภาพหรือพันธะที่ขึ้นต่อกันและกัน. บทบาทของสื่อในการสื่อสารทางการเมืองหมายความว่า สื่อมีความรับผิดชอบที่จริงจังอันหนึ่งต่อสาธารณชน
แบบจำลองการไหลเวียนเป็นวงจร
(A circular model)
ที่ผ่านมาหวังว่าคุณเริ่มที่จะมองเห็นความสลับซับซ้อนบางอย่างเกี่ยวกับสื่อ-ในความสัมพันธ์กับโลก.
เราได้นำเสนอแบบจำลองต่อไปนี้ ในฐานะที่เป็นวิธีการอันหนึ่งซึ่งแสดงให้เห็นว่าสื่อได้สะท้อนและมีอิทธิพลต่อสังคมอย่างไร
MEDIA reflecting/influence ----------- media texts ----------- affecting/influence I I I I I I I I I I Media producers audiences I I I I I I I I I WORLD reflecting/influence -------- popular common sense -------- affecting/influence
ในแบบจำลองนี้ บรรดาผู้ทำสื่อทั้งหลาย, เนื้อหาของสื่อ, และผู้รับสื่อได้ถูกแยกจากสามัญสำนึกโดยทั่วไป. พวกผู้ผลิตสื่อ ในการสร้างภาพต่างๆของพวกเขาและเรื่องราวทั้งหลาย ซึ่งกำลังสะท้อนถ่ายไอเดียและความเชื่อต่างๆของสังคม ที่ได้รับการยึดถือโดยกลุ่มคนซึ่งมีความแตกต่างกันในทางสังคม. บรรดาผู้รับที่บริโภคเนื้อหาเหล่านี้ได้รับอิทธิพลและผลกระทบบางส่วนโดยสิ่งที่พวกเขาดู. ครั้นแล้ว อิทธิพลเหล่านี้ก็ได้ไปช่วยสนับสนุนต่อการถักทอความคิดที่เป็นสามัญสำนึกทั่วไปของสังคมทั้งหมดขึ้นมา
ผู้ทำสื่อทั้งหลาย เนื้อหาสื่อ และผู้รับ เหล่านี้คือส่วนทั้งหมดของสังคมทั้งมวล; พวกมันไม่ได้แยกขาดออกจากกันอย่างสิ้นเชิง. สื่อคือหนึ่งในพลังอำนาจของสังคมที่ผลิตสามัญสำนึกของคนทั่วไปขึ้นมา ความเชื่อและความรู้สึกต่างๆของสังคมโดยทั่วไปของสังคมหนึ่ง
ในลำดับต่อมา ความเชื่อและค่านิยมของสังคมเหล่านี้ก็มีอิทธิพลต่อสื่อด้วย ซึ่งสะท้อนถ่ายความเชื่อและค่านิยมเหล่านี้ของพวกเขา. คล้ายกับไก่กับไข่ มันไม่มีคำตอบง่ายๆว่าอะไรเกิดก่อนกัน การเป็นตัวแทนของสื่อ หรือสามัญสำนึกทั่วๆไป; ทั้งสองถูกฟั่นเกลียวหรือคลุกเคล้าเข้าด้วยกันอย่างถาวร
มากยิ่งไปกว่านั้น ในโลกของสื่อทุกวันนี้ ภาพของสื่อและความจริง บ่อยครั้ง มันเบลอๆเข้าหากัน: เราเริ่มจะเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในความสัมพันธ์กับภาพสื่ออันคุ้นเคย. ยกตัวอย่างเช่น สงครามอ่าวอาจดูเหมือนวิดีโอเกม และผู้เห็นเหตุการณ์คนหนึ่งเกี่ยวกับการจู่โจมของตำรวจสามารถแสดงความคิดเห็นออกมาว่า "มันค่อนข้างคล้ายๆกับเรื่อง NYPD Blue ในจอทีวีเลยเพื่อน"(West Australian 1998b)
สรุป (Conclusion)
ในบทนี้ได้นำเสนอสมมุติฐานจำนวนหนึ่งและข้อถกเถียงบางประการเกี่ยวกับสื่อและสังคม
และเกี่ยวกับความสัมพันธ์กันระหว่างทั้งสองส่วนนี้. สิ่งเหล่านี้ควรจะก่อรูปก่อร่างบางอย่างอันเป็นประโยชน์สำหรับการเริ่มต้นการวิเคราะห์และความเข้าใจของคุณเกี่ยวกับสื่อ.
มันอาจจะเป็นประโยชน์ที่จะหวนกลับไปสู่ข้อถกเถียงกันอันนี้เป็นครั้งคราว เพื่อเตือนตัวคุณเองเกี่ยวกับเรื่องนี้
และดูว่า ความเข้าใจของคุณเกี่ยวกับมันกำลังพัฒนาไปอย่างไร
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I ประวัติ ม.เที่ยงคืน
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้
1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)