เว็ปเพจบทความขนาดสั้น จัดทำขึ้นครั้งแรกเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๔๗ เพื่อเผยแพร่ความรู้ในเชิงปกิณกะ
Study is a process of gaining knowledge of a subject, especialy from book or from the midnight university's webpage
2004
The Alternative University
R
relate topic
110447
release date
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 371 หัวเรื่อง
เตือนแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
จาก สมาชิก ม.เที่ยงคืน
ส่งมาทางจดหมายอีเล็คทรอนิค
(บทความขนาดสั้น)


เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง
จะแก้ปัญหาได้


บทความของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สามารถคัดลอกไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ หากนำไปใช้ประโยชน์
กรุณาแจ้งให้ทราบที่

midnightuniv(at)yahoo.com

 

เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์
เตือนแปรรูปรัฐวิสาหกิจ…มหันตพลังทำลายชาติ
รายการโลกยามเช้า สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 เวลา 06.30-06.55 วันที่ 19 มีนาคม 2547
ช่วงวิจารณ์หนังสือประจำสัปดาห์
โดย ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล
(บทความนี้ยาวประมาณ 4 หน้ากระดาษ A4)
เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ 11 เมษายน 2547

 

ศาสตราจารย์ Joseph Stiglitz (โจเซฟ สติ๊กสิทซ์) เคยเป็นประธานที่ปรึกษาเศรษฐกิจของประธานาธิบดี บิล
คลินตัน แห่งสหรัฐอเมริกา และเป็นรองประธานอาวุโสของธนาคารโลก ศึกษาปัญหาการพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัตน์ ในหมู่ประเทศยากจน กำลังพัฒนามาทั่วโลกอย่างยาวนาน ปัจจุบันสอนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย

ศาสตราจารย์โจเซฟ สติ๊กสิทซ์ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ เมื่อปี ค.ศ. 2001 เป็นผู้รอบรู้และประสบการณ์เรื่องผลกระทบของการพัฒนาที่ตามกระแสโลกาภิวัตน์ว่า ทำลายรากฐานเศรษฐกิจและสังคมของประเทศยากจนและกำลังพัฒนาเพียงไร โดยเฉพาะเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ที่ทำลายรากฐานการพัฒนาในหลายประเทศไปแล้ว อย่างที่จะให้อภัยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ ผู้บงการในฐานะนายทุนเงินกู้ ไม่ได้

ศาสตราจารย์โจเซฟ สติ๊กสิทซ์ ไม่เห็นด้วยกับแนวทางของไอเอ็มเอฟหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ล้มเหลวในหลายประเทศ เพื่อทำตามสูตรคำแนะนำของ ไอเอ็มเอฟ โดยเร่งเร็ว ขาดความรอบคอบ ไม่คำนึงถึงหลักการสำคัญพื้นฐาน และผลสุดท้าย ก็ร่ำรวยกันเฉพาะคนกลุ่มน้อยคือนักลงทุนต่างชาติ กับนักการเมืองผู้กุมอำนาจสั่งการนโยบายแปรรูป

น่าเสียใจที่ ไอเอ็มเอฟ และธนาคารโลก มองเรื่องแปรรูปโดยอุดมการณ์ที่คับแคบ โดยต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้ได้โดยเร็ว ถึงขั้นเก็บคะแนนกัน ประเทศไหนทำได้มาก ก็ได้คะแนนมาก ผลลัพธ์ก็คือการแปรรูปรัฐวิสาหกิจมักจะไม่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ตามคำมั่นสัญญา

ศาสตราจารย์โจเซฟ สติ๊กสิทซ์ กล่าวว่า ยิ่งแปรรูปล้มเหลว ก็ยิ่งชิงชังความคิดแปรรูปมากขึ้น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่เป็นตัวอย่างความล้มเหลวมากที่สุดให้ดูที่รัสเซีย รัสเซียใช้นโยบายตาม ไอเอ็มเอฟ คือแปรรูปรัฐวิสาหกิจโดยไม่ยั้งมือ โดยแปรทุกอย่างที่ขวางหน้า เสียหายเท่าไหร่ไม่สนใจ ต้องแปรรูปให้หมด

ศาสตราจารย์โจเซฟ สติ๊กสิทซ์ วิจารณ์ว่าไม่น่าแปลกใจเลยที่ กระบวนการโกงการแปรรูปนั้นออกแบบมาเพื่อให้รัฐมนตรีในรัฐบาลได้กอบโกยผลประโยชน์สูงสุด เรื่องการแปรรูปไม่ใช่เรื่องผลประโยชน์ที่จะเกิดแก่รัฐ ไม่มีใครคำนึงถึงเรื่องประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจ รัสเซียคือตัวอย่างกรณีศึกษาที่พินาศร้ายกาจที่สุด ซึ่งว่าด้วยเรื่องอันตรายของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจแบบไม่สนใจความเสียหายอะไรทั้งสิ้น

ศาสตราจารย์โจเซฟ สติ๊กสิทซ์ กล่าวย้ำหนักแน่นว่า ที่จะต้องห่วงมากที่สุดในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจก็คือ การทุจริตคอรัปชั่น ท่านบอกว่า "หากไม่แปรรูปรัฐวิสาหกิจ และหากมีการคอรัปชั่นก็จะกินกันเป็นรายปี เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทีละเล็กทีละน้อย แบ่งกันไปในหมู่นักการเมืองและผู้บริหาร เป็นอย่างนี้ไปตลอด"

แต่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจนั้นเลวร้ายยิ่งกว่า การแปรรูปในหลายประเทศได้ผลตรงกันข้ามกับที่อยากได้ จนเรียกกันติดตลกว่า "Briberization"(การติดสินบน) ไม่ใช่ "Privatization" (การแปรรูป) เป็นการแปรรูปลักษณะติดสินบน ไม่ใช่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

ศาสตราจารย์โจเซฟ สติ๊กสิทซ์ กล่าวว่า หากรัฐบาลมีคณะรัฐมนตรีนิสัยโกหก ก็จะไม่มีหลักฐานใด ๆ บอกว่า การแปรรูปจะช่วยแก้ปัญหาได้ เพราะรัฐบาลที่จะแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ก็เป็นรัฐบาลเดียวกับที่แก้ปัญหาการบริหารรัฐวิสาหกิจที่ไร้ประสิทธิภาพไม่ได้

ศาสตราจารย์โจเซฟ สติ๊กสิทซ์ เดินทางไปศึกษาความล้มเหลวในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในหลายประเทศ รวมทั้งในประเทศไทย ท่านกล่าวว่า ประเทศแล้วประเทศเล่า ทุกรัฐบาลรู้ว่า "การแปรรูปรัฐวิสาหกิจครั้งเดียวหมายถึงการที่จะไม่ต้องมาจำกัดตัวเองให้คอยเก็บเกี่ยวใต้โต๊ะเป็นรายปี โดยการขายรัฐวิสาหกิจต่ำกว่าราคาตลาด

นักการเมืองทุจริตสามารถกอบโกยหุ้นมหาศาลให้กับตัวเอง แทนที่จะปล่อยให้กับนักการเมืองรุ่นถัดไป หมายความว่านักการเมืองคดโกงเหล่านี้ สามารถขโมยความมั่งคั่งจากการขายรัฐวิสาหกิจในวันนี้วันเดียวได้มหาศาล มากกว่าที่จะให้นักการเมืองสมัยหน้าเก็บกินในอนาคต

หัวใจสำคัญของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจนั้น ศาสตราจารย์โจเซฟ สติ๊กสิทซ์ บอกว่าอยู่ที่

1. การแข่งขันอย่างเต็มที่
2. การควบคุมโดยรัฐหลังการแปรรูป

รัฐวิสาหกิจใด ๆ ที่แปรรูปแล้วยังไม่มีการแข่งขัน ยังคงการผูกขาดเหมือนเดิม เช่น กิจการสาธารณูปโภค ไฟฟ้า น้ำประปา และกิจการโทรคมนาคม ไม่ต้องแปรรูป เพราะสถานการณ์จะเลวร้ายกว่าเดิม เนื่องจากการผูกขาดจะย้ายไปอยู่ที่นายทุน นักลงทุนภาคเอกชนที่ต้องทำกำไรให้กับผู้ถือหุ้นเป็นหลัก

ส่วนการแปรรูปอย่างเร่งด่วน โดยยังไม่มีกฎหมายหรือมาตรการกำกับดูแลหลังการแปรรูปรองรับ ผนวกกับการขาดการแข่งขันเสรี จะทำให้ไม่มีใครกำกับควบคุมใครได้ทั้งสิ้น ทิ้งให้เป็นเสรีภาพในการผูกขาดโดยบริษัทเอกชนโดยสมบูรณ์

ด้วยเหตุนี้ รัสเซียและอีกหลาย ๆ ประเทศ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจของประเทศเหล่านั้นจึงไม่ประสบผลสำเร็จ ในการเป็นพลังเพื่อสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ที่จริงแล้วการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ก่อให้เกิดการตกต่ำและพิสูจน์ว่า เป็นมหันตพลังในการทำลายสถาบันประชาธิปไตยและตลาดเศรษฐกิจ

-----------------------------------------------------------------------------------------
วิจารณ์หนังสือ Globalization and its discontents
เขียนโดย ศาสตราจารย์ Joseph Stiglitz เจ้าของรางวัลโนเบล ปี ค.ศ. 2001

 

ประวัติโดยย่อ ศาสตราจารย์ Joseph Stiglitz

Joseph Stiglitz, a Columbia professor who teaches in the Department of Economics, the School of International and Public Affairs, and the Graduate School of Business, has won the Nobel Prize. He shares the prize with George Akerlof of the University of California, Berkeley, and A. Michael Spence of Stanford.

The three researchers were selected for their "analyses of markets with asymmetric information." As Stiglitz explained at a press conference at Columbia, "Market economies are characterized by a high degree of imperfections. Older models assumed perfect information, but even small degrees of information imperfections can have large economic consequences. Our models took into account asymmetries of information, which is another way of saying, 'Some people know more than others.'"

Formerly a chief economist at the World Bank, Stiglitz began his career at Yale, earning tenure at 27. He has been a faculty member at Princeton, Oxford, and Stanford, and is also a member of the National Academy of Science. With substantial foundation support, Stiglitz is founding the Initiative for Policy Dialogue at Columbia's School of International and Public Affairs. The Initiative aims to provide an alternative to the International Monetary Fund and World Bank for countries in need of sound economic policy advice.

Stiglitz is the University's third economist in the last six years to receive the honor. The late William S. Vickrey won for economics in 1996, followed in 1998 by Horst Stormer, who received the honor for physics. Vickrey's colleague Robert Mundell won the prize in economics the following year, and Eric Kandel won it for medicine in 2000.

This year, Stiglitz is one of two Columbians to win the Nobel Prize. Alumnus William S. Knowles '42GSAS won the award in chemistry for groundbreaking research that led to the development of hundreds of therapeutic drugs, including L-DOPA, used to treat Parkinson's disease. Knowles shares the prize with Ryoji Noyori and K. Barry Sharpless.

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

 

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)

 

Joseph Stiglitz,
a Columbia professor who teaches in the Department of Economics, the School of International and Public Affairs, and the Graduate School of Business, has won the Nobel Prize. He shares the prize with George Akerlof of the University of California, Berkeley, and A. Michael Spence of Stanford.
ศาสตราจารย์ Joseph Stiglitz เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ เตือนแปรรูป รัฐวิสาหกิจ…มหันตพลังทำลายชาติ รายการโลกยามเช้า สถานีโทรทัศน์ช่อง 3. 06.30-06.55 (วันที่ 19 มีนาคม 2547) ช่วงวิจารณ์หนังสือประจำสัปดาห์ โดย ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล (ภาพประกอบ ถ่ายโดย Eileen Barroso)
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆของเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
H