บทความต้อนรับปีใหม่ เพื่อเป็นของขวัญแด่สมาชิก
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนทุกคน และบรรดาผู้สนใจเกี่ยวกับ การปฏิรูปการศึกษาไทย
เขียนโดย
อรศรี งามวิทยาพงศ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภาพประกอบ ผลงานของ John
Mattos
เทคนิค Airbrushed Ink จากหนังสือ ILLUSTRAION / THIRTY-THREE
สวัสดีปีใหม่
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน กับบทความเรื่อง"ปฏิรูปการศึกษา : มุมมองทางกระบวนทัศน์และบริบทสังคมไทย"
โดย อรศรี งามวิทยาพงศ์
หลังสงครามโลกครั้งที่
๒ สิ้นสุดลง ประเทศสหรัฐอเมริกาได้เป็นผู้นำทางแนวคิดที่สำคัญ ในการพัฒนามนุษย์และสังคมทุกด้าน
เป็นต้นแบบของการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ฯลฯ วัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตแบบอเมริกันได้เป็นต้นแบบของสังคมที่พึงปรารถนา
สำหรับประเทศอดีตอาณานิคมและประเทศเกิดใหม่หลังสงครามโลก แนวคิดการพัฒนาของโลกตะวันตกที่มีสหรัฐเป็นผู้นำนั้น
อยู่ภายใต้กระบวนทัศน์หรือฐานคิดของวิทยาศาสตร์เชิงปริมาณ/วัตถุ ที่มองโลกแบบแยกส่วน
ลดส่วน (reductionist) และแบบกลไก (mechanistic) ที่ให้ความสำคัญและยอมรับ"ความรู้"เฉพาะกับสิ่งที่ชั่ง
ตวง วัด คำนวณได้ และทดลองได้ด้วยหลักการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific
Method) เท่านั้น ความรู้อื่น ๆ ที่ชั่ง ตวง วัด คำนวณไม่ได้อย่างชัดเจนแม่นยำ
หรือพิสูจน์ให้ประจักษ์ (Empirical) เป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อถือ
020145
release
date
Contents
P.
Member
P.
Webboard
The
Reformation of Education from A Thai Perspective
กระบวนทัศน์และวิธีคิดแบบแยกส่วน ลดส่วน ได้ทำให้"การศึกษาเรียนรู้"ใน หลายทศวรรษที่ผ่านมา
กลายเป็นเรื่องของนักวิชาการด้านศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ หรือเป็นเรื่องของโรงเรียน
ครูอาจารย์ กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัยฯ มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน (เหมือนกับที่เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องของแพทย์และโรงพยาบาล)
การจัดการศึกษาภายใต้กระบวนทัศน์และวิธีคิดแบบดังกล่าวของรัฐ ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์และตกเป็นจำเลยจากวิกฤตการณ์ทางสังคมมากมาย
อันสะท้อนถึงความล้มเหลวของการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามนุษย์ (ปัญหาศีลธรรมเสื่อมถอย
ยาเสพติด การขาดจิตสำนึกทางสังคม ฯลฯ) ซึ่งสังคมร่วมกันสรุปว่า เกิดจากความล้มเหลวของระบบการศึกษาในกระบวนทัศน์แบบแยกส่วน
นำมาสู่การปฏิรูปการศึกษาที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ด้วยเป้าหมายเพื่อสร้างการเรียนรู้แบบองค์รวม
ที่จะทำให้"ผู้เรียนเก่ง-ดี-มีความสุข"
คำถามที่ผู้เขียนสนใจในการปฏิรูปการศึกษาที่ดำเนินการในปัจจุบัน คือ
๑.การปฏิรูปการศึกษาในปัจจุบันดำเนินการภายใต้กระบวนทัศน์แบบบูรณาการ (องค์รวม)
ตามที่ตั้งจุดประสงค์ไว้จริงหรือไม่ อย่างไร
๒.ในบริบทของสังคมไทยปัจจุบัน หากจะปฏิรูปการศึกษาเพื่อไปสู่การเรียนรู้ อย่างบูรณาการจริง
จะต้องปรับเปลี่ยนปัจจัยหรือเงื่อนไขอะไรอีกหรือไม่ อย่างไร
next
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยความร่วมมือจากศูนย์อุษาคเนย์ศึกษา (Center of Southeast
Asian Studies) และภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน (University
of Wisconsin, Madison) ได้จัดการสัมมนาในหัวข้อ "พรมแดนความรู้ มานุษยวิทยากับการศึกษารัฐ
ความทรงจำ พื้นที่สาธารณะ ศิลปะ คติชน และการเขียนงานชาติพันธุ์" ระหว่างวันที่
23 -25 กรกฎาคม 2544 ที่ผ่านมา
(สนใจรายละเอียดกรุณาคลิกเข้าไปอ่านได้ที่ banner)
ในช่วงระหว่างทศวรรษที่
1980s Jean Baudrillard ได้รับการสนับสนุนในวงการต่างๆในฐานะ McLuhan คนใหม่
และเป็นนักทฤษฎีที่ก้าวหน้ามากที่สุดเกี่ยวกับเรื่องสื่อและสังคมในยุคที่เรียกกันว่า"หลังสมัยใหม่"
(สนใจอ่านรายละเอียด กรุณาคลิกที่ Banner)
โครงการวิจัยการศึกษาทางเลือก
: สร้างฐานข้อมูลและการวิเคราะห์
ในการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ขอเชิญชวนประชาชนทั่วไป
ส่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวบุคคล กลุ่ม หรือชุมชนชาวบ้าน ที่มีกิจกรรมการรวมกลุ่มพึ่งตัวเอง
หรือมีการจัดการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวกับธุรกิจชุมชน การแพทย์พื้นบ้าน
ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น การออมทรัพย์ การเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น
เพื่อเป็นเบาะแสและข้อมูลแก่โครงการในการศึกษาวิจัย ส่งข้อมูลทางโทรสารที่
053-810779 [email protected] หรือ
สำนักงานโครงการฯ 77/1 หมู่ที่ 5 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200