คำชี้แจงของบรรณาธิการ
เมื่อหลายเดือนมาแล้ว คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยความร่วมมือจากศูนย์อุษาคเนย์ศึกษา
(Center of Southeast Asian Studies) และภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน
แมดิสัน (University of Wisconsin, Madison) ได้จัดการสัมมนาในหัวข้อ "พรมแดนความรู้
มานุษยวิทยากับการศึกษารัฐ ความทรงจำ พื้นที่สาธารณะ ศิลปะ คติชน และการเขียนงานชาติพันธุ์"
ระหว่างวันที่ 23 -25 กรกฎาคม 2544 ที่ผ่านมา
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ได้เคยขอต้นฉบับเรื่องดังกล่าว เพื่อเผยแพร่บนเว็ปไซต์แห่งนี้ และได้รับความอนุเคราะห์จากท่าน อาจารย์ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล จึงขอขอบพระคุณอย่างสูง มา ณ ที่นี้
ข่าวเกี่ยวกับเกย์และเลสเบียนในนามิเบียที่อาจารย์แคทยกมา เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คำถามว่าหากเป็นเกย์แล้วคุณมีสิทธิที่จะประกันสุขภาพหรือไม่ ตลอดจนสิทธิที่จะขอหย่าของหญิงที่ถูกทำร้ายร่างกาย ภาระในการดูแลผู้ป่วยในครอบครัว ฯลฯ ล้วนเป็นคำถามง่ายๆที่แสดงให้เราเห็นว่ารัฐสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของเราอย่างไร
และอาจนำไปสู่การตอบคำถามที่น่าสนใจยิ่งขึ้นอย่างในงานศึกษาอิทธิพลของรัฐนาซีต่อผู้หญิง
โดยจีเซลลา บ็อค (Gisela Bock)
ซึ่งแสดงให้เห็นกระบวนการที่รัฐนาซีควบคุมคนยากจนไม่ให้มีลูก โดยการทำแท้ง หรือบังคับให้ผู้หญิงเหล่านั้นทำหมัน
ขณะที่ออกนโยบายให้หญิงในชนชั้นสูงมีเวลาว่าง เพื่อจะเพิ่มจำนวนประชากรให้กับรัฐ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิกที่ปุ่ม member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ปุ่ม contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
(midnightuniv(at)yahoo.com)
พรมแดนความรู้
มานุษยวิทยากับการศึกษารัฐ ความทรงจำ
พื้นที่สาธารณะ ศิลปะ คติชน และการเขียนงานชาติพันธุ์
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยความร่วมมือจากศูนย์อุษาคเนย์ศึกษา (Center of Southeast Asian Studies) และภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน (University of Wisconsin, Madison) ได้จัดการสัมมนาในหัวข้อ "พรมแดนความรู้ มานุษยวิทยากับการศึกษารัฐ ความทรงจำ พื้นที่สาธารณะ ศิลปะ คติชน และการเขียนงานชาติพันธุ์" ระหว่างวันที่ 23 -25 กรกฎาคม 2544 ที่ผ่านมา
ตลอดช่วงเวลา 3 วันของการสัมมนา ได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างนักวิชาการจากวิสคอนซิน และธรรมศาสตร์ รวมทั้งนักวิชาการทางด้านมานุษยวิทยาจากสถาบันอื่น ในประเด็นทางมานุษยวิทยาที่กำลังได้รับความสนใจอยู่ในปัจจุบัน และเป็นประเด็นที่อาจารย์จากวิสคอนซินมีความเชี่ยวชาญ 5 ประเด็น ได้แก่ (1) มานุษยวิทยากับการศึกษารัฐ (2) ปริมณฑลสาธารณะ (3) มานุษยวิทยากับโลกศิลปะ (4) ความทรงจำกับสำนึกทางการเมือง และ (5) การเขียนงานชาติพันธุ์และการสร้างภาพแทนในงานมานุษยวิทยา
การบรรยายทางวิชาการในประเด็นที่กล่าวมาข้างต้น โดยวิทยากรจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ได้ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นทางด้านวิชาการ เรียนรู้ประเด็นความสนใจ และแนวทางการวิจัยใหม่ๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งอาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัย ไม่เฉพาะในสาขามานุษยวิทยา
วารสารสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาฉบับนี้ได้รับความร่วมมือจากผู้ร่วมสัมมนาบางท่าน
สรุปเนื้อหาจากการบรรยาย 5 หัวข้อไว้ตามลำดับการบรรยาย พร้อมรายละเอียดของเอกสารสำหรับอ่านประกอบหัวข้อสัมมนาทั้งหก
ดังนำเสนอในส่วนต่อไปนี้
หมายเหต : มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รับมอบต้นฉบับนี้จากท่านอาจารย์ ดร.ปริตตา
เฉลิมเผ่า กออนันตกูล เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2545 มาเพื่อเผยแพร่แก่นักศึกษา สมาชิก
และผู้สนใจทุกท่านฝ่านระบบเครือข่าย ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการและความรู้สำหรับที่กว้างขวางออกไป
และขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ ดร.ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล เป็นอย่างสูง ณ ที่นี้
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม