เนื่องในโอกาสมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้ย้ายที่ทำการใหม่ จึงได้มีการจัดให้มีปาฐกถาพิเศษขึ้นในวันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน 2545 ซอย รร.เชียงใหม่ภูคำ จ.เชียงใหม่
บทความชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของ การเปิดชั้นเรียนเรื่อง "ทางเลือกอุดมศึกษาเพื่อความเป็นไท" ซึ่งจะจัดให้มีขึ้นมา เนื่องในโอกาสที่ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้ย้ายที่ทำการ และจะมีการเปิดมหาวิทยาลัยฯ วันที่ 22 มิถุนายน 2545 ณ ซอย โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ เวลา 9.30 น. เป็นต้นไปจนถึง 16.30 น.
release date
150645

คนในภาคเหนือเขาสั่งสมภูมิปัญญามหาศาลทีเดียว
มีสองรูปแบบ อันหนึ่งคือรูปแบบที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
อาจจะเป็นนิทาน นิยาย คำสั่งสอนอะไรก็แล้วแต่ ซึ่งมันไม่ได้
ถูกจดเอาไว้ กับอีกมหึมาเลยจดเอาไว้ในคัมภีร์ใบลาน หรือกระดาษสาอะไรก็ตามแต่ วันหนี่งเราจัดระบบโรงเรียนเราบอกเลิก ไม่ต้องเรียนภาษาที่เขาเรียกว่าตัวเมือง เลิกไม่ต้องเรียน ก็แปลว่าเรากำลังบอกเด็กภาคเหนือทั้งหมด คุณจงลืมภูมิปัญญาของพ่อแม่คุณเสียให้หมด เพราะว่า คุณจะสืบต่อภูมิปัญญาเหล่านั้นได้คุณจะต้องอ่านออก

หรือในภาคใต้ก็เหมือนกัน ที่เรียกเป็นทางการคือตัวยาวี ไม่มีการสอน เขาฝากภูมิปัญญาเขาไว้ในตัวยาวี และก็ตัดขาดจากกันโดยสิ้นเชิง ผมจึงคิดว่านี่เป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมชัดเจนว่า ภูมิปัญญาของคนมันไม่ได้สัมพันธ์กับการศึกษาในระบบโรงเรียน

ภาพประกอบดัดแปลง
ผลงานของ Fernando Botero เทคนิคสีน้ำมัน
บนผ้าใบ

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร
บทความนี้ยาวประมาณ 10 หน้ากระดาษ A4
ปาฐกถาเรื่อง
"การศึกษาทางเลือกของภาคประชาชน"

โดย ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์
เนื่องในการสัมนา "เครือข่ายการศึกษาทางเลือก"
วันที่ 26 พฤษภาคม 2545
จัดโดย โครงการวิจัยการศึกษาทางเลือก ฯ (สกว.)

นมัสการพระคุณเจ้าสวัสดีครับท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน ช่วงนี้อาจจะเสียเวลาเปล่า คือผมเองก็มีประสบการณ์เกี่ยวกับการศึกษาทางเลือกไม่มาก ร่วมกับเพื่อนฝูงทำมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนก็ตั้งหน้าตั้งตาทำ ความสนใจเกี่ยวกับการศึกษาทางเลือกโดยกว้างขวางนี้ก็ไม่พอ รู้สึกว่าในโครงการวิจัยอันนี้ ผมได้รับประโยชน์มากกว่าที่จะเป็นผู้ให้ประโยชน์แก่โครงการวิจัยฯ

ขอเริ่มต้นโดยการพยายามจะนิยามก่อนว่าอะไรคือการศึกษาทางเลือก ผมคิดว่า การศึกษาทางเลือกนี้คือ กระบวนการที่ประกอบด้วยเจตนารมณ์ ในการทำให้เกิดการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียน ซึ่งจะเป็นการเรียนรู้อะไรก็ได้ นับตั้งแต่งานฝีมือ ทำขนม อะไรก็แล้วแต่ ไปจนกระทั่งถึงเรียนรู้หลักสูตรตามที่กระทรวงศึกษาธิการหรือทบวงมหาลัยกำหนดเอาไว้ก็ได้ ไม่ว่าจะมีการเรียนรู้อะไรก็แล้วแต่

ประเด็นสำคัญที่ผมอยากจะชี้ให้เห็นก็คือว่าอย่างนี้ จริงๆมนุษย์เราในการใช้ชีวิตปกติประจำวัน เราก็ได้เรียนรู้อยู่ตลอดเวลาเหมือนกัน ฉะนั้นถามว่าคนมีชีวิตปกติ ก็ทำการศึกษาทางเลือกอยู่หรือ ผมว่าไม่ใช่ ผมถึงเน้นในคำว่าเจตนารมณ์ อย่างน้อยสุดคุณต้องมีเจตนารมณ์ในการที่จะทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ขึ้นในสิ่งที่คุณทำ (รายละเอียด)

รายละเอียดการเปิดมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
22 มิถุนายน 2545

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2543 ที่ผ่านมา เป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้เปิดที่ทำการขึ้นมา
ในซอยวัดอุโมงค์ จ.เชียงใหม่ เพื่อทำเป็นชั้นเรียนอุดมศึกษาทางเลือก
โดยได้รับความอนุเคราะห์ให้ใช้สถานที่ชั่วคราวจากผู้มีพระคุณท่านหนึ่ง
หลังจากนั้น ด้วยเหตุผลบางประการทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจำเป็นต้องย้ายที่ทำการใหม่
และมาได้รับความอนุเคราะห์จากผู้มีพระคุณอีกท่านหนึ่ง ในซอยโรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จ.เชียงใหม่
ซึ่งจะเปิดทำการขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 22 มิถุนายน 2545 นี้ เวลา 9.30 น.เป็นต้นไป

ในโอกาสพิเศษนี้ จึงได้เชิญวิทยากรที่ทำงานอุทิศตัวให้กับสังคม รวม 4 ท่าน ประกอบด้วย
ศ.เสน่ห์ จามริก, ศ.นพ.ประเวศ วะสี, พระไพศาล วิสาโล, และ อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์
มาเป็นองค์ปาฐกโดยลำดับ เพื่อให้ความรู้แก่นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน
โดยวิทยากร 2 ท่านแรก คือ ศ.เสน่ห์ จามริก และ ศ.นพ.ประเวศ วะสี
จะมานำเสนอก่อนในวันเปิดมหาวิทยาลัยฯ ในหัวข้อ "ทางเลือกอุดมศึกษาเพื่อความเป็นไท"
ในวันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน 2545 ตั้งแต่เวลา 9.30-16.30 น.
ณ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซ. โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จ.เชียงใหม่
และหลังจากนั้น วิทยากรอีก 2 ท่านที่จะมาเป็นองค์ปาฐกในหัวข้อเดียวกัน
ในเดือน กรกฎาคม และสิงหาคม ตามลำดับ
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมจะแจ้งให้ทราบโดยทั่วกันในเวลาอันใกล้ บน website ของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(ในส่วนของนักศึกษาและสมาชิกที่อยู่ไกล จะได้รับความรู้เรื่องนี้ผ่านการถอดเทปปาฐกถาเพื่อเผยแพร่บนเว็ปไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
สำหรับผู้สนใจรายการข้างต้น ขอทราบรายละะอียดเพิ่มเติมได้ที่
midnight2545(at)yahoo.com

 

 

 

 

N
next


Documenta 10 / 1997 ถือเป็นครั้งแรกที่มีผู้อำนวยการซึ่งเป็นผู้หญิงเป็นคนแรกที่เข้ามาจัดนิทรรศการศิลปะ
Documenta ครั้งที่ 10 นามว่า Catherine David, จากฝรั่งเศส.
เธอได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวความคิดของตัวเธอในการจัดให้มีการแสดงว่าเป็น
"วิกฤตการเผชิญหน้าที่สำคัญกับยุคปัจจุบัน"(critical confrontation with present)
และได้เน้นถึงข้อเรียกร้องทางด้านจริยธรรมและการเมืองของเธอ: สำหรับนิทรรศการศิลปะ Documenta
ครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งสุดท้ายของศตวรรษที่ 20 ซึ่งเพิ่งผ่านไปหมาดๆ เธอกล่าวว่า
แทบจะไม่สามารถหลบเลี่ยงได้เลยถึงภารกิจอันละเอียดอ่อนและซับซ้อน
ในการที่เราจะต้องจ้องมองไปที่ประวัติศาสตร์และวิกฤตการณ์เกี่ยวกับช่วงเวลาในอดีตของตัวมันเอง
สำหรับเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านพ้นมาเมื่อไม่นานนี้ของช่วงยุคหลังสงคราม และทุกสิ่งทุกอย่างจากปัจจุบัน
ตรงนี้มันเป็นยุคที่กำลังจะอันตรธานไป ซึ่งมันยังคงทิ้งร่องรอยและเชื้อหมัก-
ความเน่าบูดเอาไว้ในศิลปกรรมและวัฒนธรรมร่วมสมัย

บทความพิเศษ

ราคาของกระดาษแผ่นนั้น
โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

ทราบกันอยู่แล้วใช่ไหมครับว่า ปริญญาบัตรนั้นถือกำเนิดจากวุฒิบัตรของสมาคมช่างฝีมือ มอบสิทธิในการรับจ้างทำงานฝีมือหรือถ้าเป็นถึง Master ก็อาจรับนักเรียนมาสอนให้เป็นช่างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าแรง

คนที่ได้วุฒิบัตรจากสมาคมช่างฝีมือต้องพิสูจน์ความสามารถตัวเองมากกว่าคนที่ได้ปริญญาจากมหาวิทยาลัย เช่นถ้าเป็นช่างห่วยแตก นายจ้างซึ่งเป็นเจ้าของกิจการเล็กๆ สามารถตรวจสอบและประเมินงานของลูกน้องได้ง่ายย่อมไล่ออก ส่วนถ้ามีวุฒิบัตรถึงตั้งตัวเป็นครูได้ ฝีมือไม่ดีและสอนไม่ได้เรื่อง ลูกค้าก็หนี แรงงานก็หนีไปเรียนที่อื่นหมด กิจการย่อมเจ๊งไปเป็นธรรมดา

นี่แหละครับคือ QA และการตรวจสอบจากภายนอกที่มีประสิทธิภาพจริง ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเรียกร้องอยู่เวลานี้

ส่วนปริญญาด๊อกเตอร์นั้น ไม่เกี่ยวกับอาชีพหรือช่างฝีมือโดยตรง เพราะเป็นวุฒิบัตรทางด้านวิชาการหรือความคิดความอ่าน โดยเฉพาะทางด้านปรัชญาและเทววิทยา ส่วนใหญ่ของคนที่เรียนมักเป็นคนที่ยังชีพด้วยการให้คนอื่นเลี้ยง เช่นพระ หรือลูกหลานเจ้าที่ดินรายใหญ่ เพราะไม่ต้องทำอาชีพอะไรอยู่แล้ว

ครั้นภายหลัง เมื่อระบบอุตสาหกรรมนิยมครอบงำมหาวิทยาลัยจนมืดมิด ปริญญาบัตรจึงเปลี่ยนจากวุฒิบัตรมากลายเป็นใบขับขี่

หมายความว่ารับรองความสามารถของทุกคนที่ได้ปริญญาใบเดียวกันให้เหมือนกันหมดเหมือนใบขับขี่ คือขับรถในท้องถนนได้เท่ากัน

ทั้งนี้ เพราะอุตสาหกรรมต้องการเกณฑ์คนเข้าทำงานโดยสะดวก จึงผลักภาระการกลั่นกรองคนให้มหาวิทยาลัยทำ

ระบบตรวจสอบจากภายนอกจึงอ่อนล้าลงไป เพราะระบบอุตสาหกรรมต้องการเพียงความรู้เฉพาะด้านแคบๆ ซึ่งทุกคนย่อมสามารถเรียนรู้จากการฝึกอบรมในระหว่างปฏิบัติงานได้อยู่แล้ว

ปริญญาบัตรจึงกลายเป็นกระดาษศักดิ์สิทธิ์ เพราะเปิดโอกาสให้แก่ชีวิตของแต่ละบุคคลกว้างขึ้นในทุกทาง เนื่องจากไม่มีใครตรวจสอบคุณค่าที่แท้จริงของมัน แม้แต่เอาไปเปรียบกับใบขับขี่ ก็ยังสู้ใบขับขี่ไม่ได้ เพราะอย่างน้อยผู้ถือใบขับขี่ก็ได้ผ่านการสอบขับรถจริงบนถนนมาแล้ว ในขณะที่ผู้ถือปริญญาบัตรอาจยังไม่เคยเข้าไปนั่งในรถยนต์เลย

ระบบปริญญาบัตรซึ่งโดยตัวของมันเองก็ขาดๆ เกินๆ อยู่แล้วนี้แหละ เมื่อนำไปใช้ในเมืองไทยยิ่งเลอะเทอะมากขึ้นไปอีก ทั้งนี้ด้วยเหตุผลอย่างน้อยสองประการ

ประการแรก รัฐโดยสำนักงาน ก.พ.กระโดดเข้ามาช่วยรับรองใบขับขี่ของมหาวิทยาลัยต่างๆ

ฟังดูเหมือนมีเหตุผลดี เพราะสมัยก่อนนี้รัฐเป็นผู้จ้างผู้จบปริญญามากที่สุด ก็ชอบที่จะเป็นผู้ประเมินว่าหลักสูตรไหนผลิตคนที่ได้มาตรฐานออกมาบ้างแต่ ก.พ.มีกึ๋นพอจะประเมินได้หรือครับ โดยไม่มีเจตนาจะดูหมิ่น ก.พ. ประเด็นที่ผมต้องการจะชี้ให้เห็นก็คือหน่วยงานแห่งเดียว ซึ่งใช้ความสามารถของคนอย่างค่อนข้างจำกัด ย่อมไม่มีความสามารถจะประเมินสัมฤทธิผลทางการศึกษาได้จริง จะเห็นได้ว่าแม้แต่วิธีประเมินของ ก.พ.ก็ใช้วิธีที่ง่ายเกินไป คือประเมินตัวหลักสูตร ไม่ใช่ประสิทธิผลของผู้จบหลักสูตร ผลก็คือเสนอตัวหลักสูตรให้ ก.พ.พอใจ จนได้รับคำรับรอง หลังจากนั้นก็ตัวใครตัวมัน

แต่ในปัจจุบัน ผู้จ้างงานรายใหญ่ของเหล่าผู้ถือปริญญาไม่ใช่ราชการแล้ว ระบบประเมินของ ก.พ.ซึ่งไม่มีประสิทธิภาพอยู่แล้วนั้นยิ่งผิดยุคผิดสมัยเข้าไปใหญ่ ผมไม่ได้หมายความว่าฉะนั้นสมาคมอุตสาหกรรมไทย หรือหอการค้าไทยจึงควรออกมาตรฐานของตนเองสำหรับรับรองปริญญาบัตร อันนั้นก็ไม่เลวนัก แต่ไม่พอครับ

จะให้ดีกว่าคือเลิกรับรองปริญญาบัตรกันไปเลยไม่ดีกว่าหรือ อยากจ้างใครก็วัดความสามารถกันด้วยวิธีอื่นที่ได้ผลกว่า เดี๋ยวนี้มีคนคิดวิธีวัดความสามารถกันหลายชั้นหลายเชิงด้วยเทคนิควิธีที่บริษัทห้างร้านหรือหน่วยราชการอาจทำได้เอง

ผมไม่เชื่อนักหรอกครับว่าเทคนิควิธีอย่างนี้จะมีประสิทธิภาพสูงส่งนัก แต่ก็ดีกว่าวางใจไว้กับปริญญาบัตรไม่ใช่หรือครับ ที่สำคัญกว่าเทคนิควิธีการวัดก็คือหน่วยงานทั้งหลายมีระยะเวลาสำหรับการทดลองงานทั้งนั้น ทำไมไม่ใช้ช่วงเวลานี้สำหรับการเรียนรู้คนที่ตัวรับเข้ามาอย่างเที่ยงธรรมและมีประสิทธิภาพล่ะครับ

การเลิกรับรองปริญญาบัตรจะทำให้ผู้เรียนและผู้สอนให้ความสำคัญแก่ความรู้และการเรียนรู้มากขึ้น ไม่มีใครเข้าเรียนมหาวิทยาลัยเพื่อเอาแต่กระดาษแผ่นเดียวอีก แต่ต้องหาความรู้อย่างจริงจังเพื่ออนาคตของตัวเอง หรืออย่างน้อยเพื่อเอาไปตอบปัญหาชีวิตของตัวเองจริงๆ

อันที่จริงในหลายสังคมนั้น การรับรองปริญญาบัตรเป็นกระบวนการทางสังคม ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของหน่วยงานใด หมายความว่ามีองค์กรทางสังคมหลากหลายที่กระโดดลงมาประเมินปริญญาบัตรของหลักสูตรต่างๆ และของมหาวิทยาลัยต่างๆ การจัดอันดับมหาวิทยาลัยก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการประเมินดังกล่าว บางทีเขาจัดละเอียดลงไปถึงศาสตร์แต่ละศาสตร์ด้วยซ้ำ วงการที่ใช้งานจากผู้ถือปริญญาก็ยังอาจประเมินและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันอีกด้วยว่า จะรับคนทำงานด้านนั้นด้านนี้ต้องเลือกจากมหาวิทยาลัยอะไร

ถ้าสังคมไม่ทำเอง ปล่อยให้รัฐทำ รัฐก็จะทำแบบรวมศูนย์ คือมีมาตรฐานเดียว หยาบ และไม่ค่อยบ่งบอกอะไรมากนักเหมือนใบขับขี่

ความเลอะเทอะของระบบปริญญาบัตรเมื่อนำมาใช้ในเมืองไทย ประการที่สองก็คือ ในทุกสังคมนั้น การศึกษาคือการลงทุนเพื่อการเลื่อนสถานภาพทั้งนั้น แต่ในเมืองไทยเราค่อนข้างจะปิดไม่ให้ระบบที่จะเลื่อนสถานภาพเปิดกว้างแก่คนทั่วไป ฉะนั้นการศึกษาจึงเป็นเครื่องมืออย่างดีของคนชั้นนำที่จะหวงแหนสถานภาพอันสูงของตนไว้ให้แก่บุตรหลาน

ความศักดิ์สิทธิ์ของปริญญาบัตรในเมืองไทยจึงยิ่งมีสูงกว่าสังคมอื่นๆ อีกหลายสังคม เพราะตัวปริญญาบัตรเองก็หมายถึงสถานภาพที่สูงอยู่แล้ว ทั้งยังส่อว่าผู้ถือปริญญาบัตรน่าจะสืบทอดสถานภาพที่สูงของครอบครัวและพรรคพวกเส้นสายกว้างขวางอีกด้วย

ราคามันถึงแพงไงครับ อย่าว่าแต่มหาวิทยาลัยนอกที่เข้ามาหลอกคนไทยเลยที่ขายปริญญาบัตรกันในราคาเป็นแสน

มหาวิทยาลัยของรัฐเองก็ตั้งราคาปริญญาบัตรไว้สูงเหมือนกัน เป็นหลายแสนในระดับปริญญาตรีบางหลักสูตร และเป็นหลายๆ แสนในระดับหลังปริญญาตรี

เพียงแต่มหาวิทยาลัยของรัฐไม่ได้หลอกใคร เพราะ ก.พ.รับรองจริงๆ ส่วน ก.พ.จะหลอกใครหรือไม่ ผมไม่ทราบ

ฉะนั้น ผมอยากเดาว่า สมมุติว่าปราบปรามมหาวิทยาลัย "เถื่อน" ที่เข้ามาเปิดหลักสูตรปริญญาในเมืองไทยลงได้ราบคาบในครั้งนี้ ในเวลาอีกไม่กี่ปี ก็จะมีคนแอบเข้ามาทำอย่างเดียวกันอีก เพียงแต่ทำได้แนบเนียนกว่า เพราะมีปัจจัยดังที่กล่าวแล้วซึ่งทำให้เมืองไทยเป็นตลาดสินค้าปริญญาที่น่าจะทำกำไรได้ง่าย และมากที่สุด

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด หรือ Ctrl + A
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งยอหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ