เว็ปไซค์บริการฟรี มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สมดุล และเป็นธรรม : บทความลำดับที่ 258 ประจำเดือน เมษายน ๒๕๔๖
ภาพประกอบดัดแปลงเพื่อใช้ประกอบบทความฟรีของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน 1. ภาพถ่ายขาวดำ ภาพประธานาธิบดีเรแกน 2. ภาพผลงานจิตรกรรมของ George Grosz,(เยอรมัน) ชื่อภาพ Gray Day, 1921 เก็บรักษาไว้ที่ Nationalgalerie Berlin (นำมาจากหนังสือห้องสมุดคณะวิจิตรศิลป์ มช.)

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 258 เดือนเมษายน 2546
หัวเรื่อง "ทุนนิยมกับการครอบงำสื่อ" นำอภิปรายโดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ : มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ 28 มีนาคม 2546 ณ ศูนย์สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


(ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการนำไปใช้ประโยชน์ เฉพาะทางด้านวิชาการเท่านั้น)

หากประสบปัญหาภาพ และตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะแก้ปัญหาได้

R
release date
100446
"ทุน"มีวิธีการครอบงำสื่อได้แนบเนียนกว่ารัฐมาก แนบเนียนเสียจนกระทั่งว่า สื่อที่ถูกทุนครอบงำกำกับควบคุมอยู่นั้น ไม่รู้สึกตัว
เวลาที่รัฐคุมสื่อ อย่างน้อยที่สุด รัฐต้องอ้างความชอบธรรมบางอย่างมาค้ำจุน"อำนาจ"...เป้าหมายของรัฐในการควบคุมสื่อก็คือ ต้องการให้สื่อสยบยอมต่ออำนาจของรัฐ

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

ในสหรัฐอเมริกาก่อนหน้าประธานาธิบดีเรแกน มีระเบียบซึ่งผมขอเรียกง่ายๆว่า กสช.อเมริกัน ที่จะห้ามมิให้มี"การลงทุนข้ามสื่อ" จนกระทั่งผู้ลงทุนข้ามสื่อที่เข้าไปบริหารสื่ออีกสื่อหนึ่งไม่ได้.
อย่าลืมนะครับ ถ้าเผื่อผมเป็นเจ้าของวิทยุ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ สื่อทุกอย่างอยู่ในมือผมหมด ผมจะปั่นหัวคุณอย่างไรก็ได้ เพราะคุณจะไม่มีโอกาสไปหาแหล่งข่าวอื่น เพื่อมาสร้างความสมดุลของข่าว หรือของความเห็น หรือของอะไรได้เลย ใครก็ตามที่สามารถจะไปเป็นเจ้าของสื่อทั้งหมด ก็คือเป็นเจ้าของหูทั้งหมดในสังคมนั้นเอง คุณก็มีอำนาจสูงสุด

QUOTATION

แต่สื่อไม่ใช่ก๋วยเตี๋ยว สื่อไม่ใช่สินค้าบริสุทธิ์อย่างนั้น เพราะอีกส่วนหนึ่งของประโยชน์ของสื่อ ไม่เกี่ยวกับผู้ขายไม่เกี่ยวกับผู้ซื้อ แต่เกี่ยวกับสังคม เพราะฉะนั้นจึงต้องระวัง ถ้าจะทำให้คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรสาธารณะได้ตลอด คุณจะต้องรักษาดุลยภาพที่เหมาะสม มีกรรมการกลางที่เข้ามารักษาดุลยภาพที่เหมาะสม ระหว่าง 3 ฝ่าย คือ ผู้ซื้อ, ผู้ขาย, และฝ่ายสังคม โดยถือประโยชน์ของฝ่ายสังคมเป็นตัวตั้ง ประโยชน์ของฝ่ายสังคมจะไม่ประนีประนอมกับประโยชน์ของผู้ขายหรือผู้ซื้อ สำหรับประโยชน์ของผู้ขายและผู้ซื้ออาจจะประนีประนอมกันได้ แต่ประโยชน์ของสังคมจะต้องเป็นตัวที่มาก่อนคนอื่นๆทั้งหมด

ท่ามกลางลัทธิเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ที่ให้ตลาดเป็นตัวตัดสิน บทบาทและอำนาจประชาชนมันหายไป คือ"เสรีนิยมใหม่"คือ"ศัตรูที่ร้ายการของประชาธิปไตย"ก็ว่าได้ บทบาทหน้าที่ของประชาชนมันหายไป จนกระทั่งคนไม่สนใจบ้านเมืองอีกต่อไปแล้ว มันสนใจแต่ตัวมันเอง ถ้าเราสนใจกับตัวเราเอง รายการโทรทัศน์ที่น่าเบื่อที่สุดก็คือข่าว เพราะมันพูดอะไรไม่รู้ไม่น่าสนใจเลย นายกฯจะไปเมืองนอก เรื่องของมึง ไม่เกี่ยวกับกู เมียกูจะไปเมืองนอกค่อยมาบอกกู ถูกไหมครับ (บางส่วนของการอภิปรายนำในหัวข้อ "สื่อเป็นพิษ ภายใต้การกำกับของทุน : นิธิ เอียวศรีวงศ์)

ร้ายยิ่งไปกว่านั้น สื่อเป็นทาสที่ปล่อยไม่ไปด้วย ถึงแม้ว่าจะไม่มีกฎหมายหรือมีอะไรในการที่จะเข้ามาปลดปล่อยสื่อจากการกำกับควบคุมของ"ทุน" หรืออย่างน้อยที่สุด มาสร้างความสมดุลของการกำกับควบคุมระหว่าง"ทุน"กับ"สังคม" สื่อ โดยบริสุทธิ์ใจ รู้สึกว่าอยู่ภายใต้"ทุน"ดีกว่าที่อยู่ใต้"สังคม" สนุกกว่า มันกว่าแยะเลย จะเห็นว่าท้าทายกว่าด้วยซ้ำไป

"ทุน"เวลาเข้าไปกำกับควบคุม"สื่อ"นั้น เป้าหมายของมันไม่เหมือนรัฐ

ผมอยากจะเตือนไว้ด้วยว่า เวลาที่รัฐคุมสื่อ อย่างน้อยที่สุด รัฐต้องอ้างความชอบธรรมบางอย่าง อาจจะมีการอ้างอย่างเบี้ยวๆก็ได้ เช่นเป็นต้นว่า เฮ้ย! อย่าให้มันลงบทความอันนี้เลยวะ เดี๋ยวบ้านเมืองมันปั่นป่วน อาจเกิดการจลาจลวุ่นวายในบ้านเมือง ทำลายความสามัคคีในชาติ คือจะอ้างอะไรก็ได้ที่เป็นความชอบธรรม อย่างน้อยที่สุด ต้องหา"ความชอบธรรม"มาค้ำจุน"อำนาจ"ของตัวเองในการควบคุมสื่อ เพราะเป้าหมายของรัฐในการควบคุมสื่อก็คือ ต้องการให้สื่อสยบยอมต่ออำนาจของรัฐ ไม่เข้าไปขัดขวางอำนาจของรัฐ

แต่"ทุน"ไม่ต้องการสิ่งเหล่านั้น คนละเรื่องกันเลย เพราะจุดมุ่งหมายของทุนนั้น สรุปเหลือสั้นๆก็คือ มุ่งหากำไรจากสื่อ สื่อเป็นธุรกิจชนิดหนึ่ง แล้วก็มุ่งหากำไรจากสื่อ เพราะฉะนั้น มอง"สาร"ที่สื่อมวลชนทั้งหลายสื่อออกไป มองมันในฐานะเป็นสินค้า… ซึ่งเดี๋ยวเราจะกลับมาพูดถึงว่า "สาร"หรือ"สื่อ"มันเป็นสินค้าได้จริงแค่ไหน?

อย่างไรก็ตามแต่ เป้าหมายของ"ทุน"ที่เข้าไปควบคุม"สื่อ" จุดมุ่งหมายของมันก็คือเพื่อจะหากำไร และมองสื่อเป็นสินค้าร้อยเปอร์เซ็นต์เต็มหรือเป็นสินค้าบริสุทธิ์ การจะทำอย่างนี้ได้ "ทุน"จะต้องทำอย่างน้อย 2 อย่างด้วยกัน

หนึ่ง, พยายามจะลดต้นทุน

อันนี้ก็เหมือนกับการทำธุรกิจทั่วๆไป คือพยายามลดต้นทุนได้เท่าไหร่ก็ได้กำไรมากเท่านั้น. วิธีการลดต้นทุนของสื่อ จะต้องทำสิ่งหนึ่งซึ่งมีอันตรายต่อสังคมอย่างยิ่ง คือการทำธุรกิจข้ามสื่อ

ธุรกิจข้ามสื่อหมายความว่า คุณเป็นเจ้าของบริษัททำเทปเพลงหรือซีดีเพลงขาย แล้วคุณพยายามจะไปเป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์สักช่องหนึ่ง อันนี้คุณกำลังข้ามจากสื่อประเภทขายตรงแบบนี้ ไปเป็นเจ้าของบริษัทโทรทัศน์ เพื่อจะเอาบริษัทโทรทัศน์นั้นไปโปรโมทเทปของคุณ

หรือมิฉะนั้นคุณเป็นเจ้าของสื่อหนังสือพิมพ์ แล้วคุณพยายามข้ามไปเป็นเจ้าของโทรทัศน์สักช่องหนึ่ง หรือสถานีวิทยุสัก 25 สถานี คุณจะพบได้ว่านี่คือการลดต้นทุนการผลิตที่ง่ายๆที่สุด เพราะว่าหนังสือพิมพ์ทุกฉบับย่อมต้องมีสำนักข่าวของตนเองอยู่แล้ว หรือกองข่าวของตนเองอยู่แล้ว และข่าวนั้นคุณจะเอาไปลงหนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือทีวีมันก็ลงทุนเท่าเก่า โดยไม่ต้องเพิ่มทุนมากนัก เพราะฉะนั้น การข้ามสื่อก็จะเป็นการลดต้นทุน

ในสหรัฐอเมริกาก่อนหน้าประธานาธิบดีเรแกน มีระเบียบซึ่งผมขอเรียกง่ายๆว่า กสช.อเมริกัน ที่จะห้ามมิให้มี"การลงทุนข้ามสื่อ" จนกระทั่งผู้ลงทุนข้ามสื่อที่เข้าไปบริหารสื่ออีกสื่อหนึ่งไม่ได้. อย่าลืมนะครับ ถ้าเผื่อผมเป็นเจ้าของวิทยุ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ สื่อทุกอย่างอยู่ในมือผมหมด ผมจะปั่นหัวคุณอย่างไรก็ได้ เพราะคุณจะไม่มีโอกาสไปหาแหล่งข่าวอื่น เพื่อมาสร้างความสมดุลของข่าว หรือของความเห็น หรือของอะไรได้เลย ใครก็ตามที่สามารถจะไปเป็นเจ้าของสื่อทั้งหมด ก็คือเป็นเจ้าของหูทั้งหมดในสังคมนั้นเอง คุณก็มีอำนาจสูงสุด

เพราะฉะนั้นอันนี้อันตรายต่อสังคมมาก ดังนั้นก่อนหน้าสมัยประธานาธิบดีเรแกน กสช.อเมริกันห้ามที่จะให้คุณลงทุนข้ามสื่อ จนกระทั่งคุณสามารถจะเข้าไปบริหารสื่อใหม่อีกสื่อหนึ่งไม่ได้ แต่ว่ารัฐสภาในสมัยเรแกนได้ผ่านมติที่จะปล่อยให้สื่ออเมริกันทำอย่างนี้ได้ ตามคติของลัทธิเศรษฐกิจที่เรียกกันว่า"เสรีนิยมใหม่"

"เสรีนิยมใหม่"ผมขอสรุปสั้นๆในที่นี้ว่า เป็นการเปิดให้มีการแข่งขันทางธุรกิจอย่างเต็มที่ ด้วยความเชื่ออย่างงมงายในทัศนะของผมว่า ตลาดจะเป็นตัวควบคุมทุกอย่างได้เองโดยธรรมชาติของมัน จะไม่เกิดการเอารัดเอาเปรียบ เกิดความชอบธรรมขึ้นในการซื้อขายแลกเปลี่ยน รัฐหรือใครก็ตามอย่าเข้าไปยุ่งกับการทำธุรกิจ ตลาดมันจะทำหน้าที่ของมันเอง ฉะนั้นจึงมองไม่เห็นอันตรายของการข้ามสื่อ

และตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา สื่ออเมริกันในทัศนะผมเสื่อมทรามลงไปอย่างรวดเร็วมากๆเลย ในการที่สื่อได้เข้าไปสู่ธุรกิจอย่างเต็มตัว ปล่อยให้มีการข้ามสื่อและอื่นๆ ซึ่งผมจะพูดต่อไปเป็นตัวอย่างข้างหน้า

เป้าหมายของ"ทุน"ที่เข้าไปควบคุม"สื่อ"ในประเด็นที่สอง คือ
จะต้องทำให้คนทำงานสื่อขาดความมั่นคงในการทำงาน

เพราะว่า ประการแรกเพื่อเป็นการลดต้นทุน ก็อาจจะมีการลดจำนวนคนลง มีการปลดคนงานออก ใช้งานคนให้คุ้มและเต็มที่ พยายามป้องกันไม่ให้พนักงานรวมกลุ่มกันเพื่อต่อรองในเชิงผลประโยชน์

ด้วยเหตุดังนั้น ผลสุดท้ายของการมีอำนาจในเชิงธุรกิจเหนือคนทำสื่อก็คือ คนทำสื่อขาดความมั่นคงในอาชีพการงานของตนเอง และเมื่อขาดความมั่นคง คุณสามารถที่จะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าของสื่อได้ง่ายขึ้น และขอให้สังเกตเปรียบเทียบวิทยุอเมริกัน โทรทัศน์อเมริกัน หนังสือพิมพ์อเมริกันในปัจจุบัน กับเมื่อตอนมีสงครามเวียดนาม จะเห็นว่าคนละเรื่องกันเลย

คุณเคยนึกแปลกใจไหมว่า ทำไมวิทยุโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์อเมริกัน จึงยอมที่จะไม่รายงานทหารฝ่ายอเมริกันที่บาดเจ็บล้มตายในสงครามครั้งนี้(ตามตัวเลขจริง) รายงานแต่ทหารบาดเจ็บและล้มตายของฝ่ายอิรัคแต่เพียงฝ่ายเดียว แล้วคุณลองย้อนกลับไปเปรียบเทียบกับเมื่อตอนสงครามเวียดนาม คนละเรื่องเลย เพราะมันจะมีภาพข่าวทีวีรายงานว่า ทหารอเมริกันล้มตายเท่าไหร่ๆตลอดเวลา

คนอเมริกันก็จะมีเสรีภาพในการประเมินตัวสงครามเวียดนามได้เที่ยงตรงกว่า แต่เวลานี้คนอเมริกันไม่มีสิทธิ์ที่จะประเมินสงครามครั้งนี้ได้เลยว่า จริงๆแล้วอเมริกันเสียหายเท่าไหร่ เพราะถือว่าเป็นความลับทางทหาร

ทำไมถึงเกิดสิ่งนี้ขึ้นได้ น่าประหลาดนะครับ ในสงครามเวียดนาม ผู้สื่อข่าวส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นทีวี หรือหนังสือพิมพ์ ผู้สื่อข่าวส่วนใหญ่ที่ไปทำข่าวในสงครามเวียดนาม คือ"ผู้สื่อข่าวอิสระ" คำว่า"ผู้สื่อข่าวอิสระ"แปลว่า กูเข้าไปเอง กูเสี่ยงเอง กูตายเองได้ด้วย โดยไม่มีกองทัพอเมริกันคุ้มกัน. แต่ส่วนใหญ่ของผู้สื่อข่าวในสงครามอิรัคครั้งนี้ เป็นผู้สื่อข่าวที่เข้าไปในอิรัคพร้อมกับกองทัพอเมริกัน แปลว่ากองทัพอเมริกันเป็นผู้ปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยของผู้สื่อข่าวที่ทำงานอยู่ในอิรัคเวลานี้เป็นส่วนใหญ่ มีผู้สื่อข่าวอิสระอยู่เพียงไม่กี่สิบคน แล้วก็คนเหล่านั้นก็ไม่มีประสิทธิภาพพอ เพราะว่าสื่อมันถูกปิดกั้นแล้ว ข่าวที่ส่งกลับมามันไม่ได้ถูกออกในทีวีอเมริกัน ในหนังสือพิมพ์อเมริกัน

น่าตกใจมากสำหรับในประเทศที่อ้างตัวเองว่ามีเสรีภาพอย่างหนัก ประเทศที่ประธานาธิบดีอเมริกันอย่าง โธมัส เจฟเฟอร์สัน ที่บอกว่า "การไม่มีรัฐธรรมนูญกับการไม่มีหนังสือพิมพ์ที่มีเสรีภาพ ผมขอเลือกอยู่ในประเทศที่ไม่มีรัฐธรรมนูญดีกว่า" ขอให้หนังสือพิมพ์มีเสรีภาพ ไม่มีรัฐธรรมนูญก็ไม่เป็นไร… แต่บัดนี้หนังสือพิมพ์ก็ตาม ทีวีก็ตาม สื่อของอเมริกัน ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของทุน ซึ่งสัมพันธ์เชื่อมโยงอยู่กับกลุ่มการเมืองที่มีอำนาจอยู่ในเวลานี้ คุณจัดการยังไงก็ได้หมด

อันนี้เอาตัวอย่างสุดโต่งในประเทศที่มันก้าวเข้าไปสู่ระบอบ"เสรีนิยมใหม่"ก่อนเรา แล้วก็ปล่อยให้ทุนเข้ามายึดกุมเอาธุรกิจสื่อไปเป็นธุรกิจร้อยเปอร์เซนต์เต็มได้

ส่วนการเพิ่มกำไร มันทำอย่างไร? คือเมื่อธุรกิจเข้าไปยึดทุน มันมุ่งที่จะลดต้นทุนและเพิ่มกำไร ตรงการเพิ่มกำไรนี่ทำอย่างไร? คำตอบง่ายๆที่สุดก็คือ ทำให้"สาร"ที่สื่อออกมา กลายเป็น"สินค้าบริโภค"

"สินค้าบริโภค"แปลว่าอะไร? พวกเราทุกคนเคยชินอยู่ในตลาดหรือในสังคมที่มันถูกบริโภคนิยมครอบงำเต็มที่ เราทุกคนรู้จักดี การบริโภคมันอิ่มเอมที่สุดตรงที่ คุณควักเงินซื้อแล้วได้"ความสุข"หรือความพอใจ instantly คือในทันทีทันใด คุณอยากจะได้โทรทัศน์เครื่องหนึ่ง คุณไม่ต้องสั่งจอง คุณไม่ต้องทำอะไร คุณเพียงเข้าไปในห้างสรรพสินค้า เอาเงินวางแล้วก็ยกโทรทัศน์ ความจริงคุณไม่ต้องยกด้วย มันยกไปให้คุณถึงบ้าน เอามือกดทีเดียว ภาพก็ปรากฏขึ้นมาบนจอแบนๆทันที

ความสุขหรือความพอใจที่ได้จากสินค้าในลัทธิบริโภคนิยม คือการได้มันมาโดยการแลกเปลี่ยน แล้วได้มันมาทันที คุณไม่ต้องทำงานหนัก คุณไม่ต้องทำใจตัวเอง ไม่ต้องเรียนรู้เพื่อจะหาความสุข ความสุขคือสิ่งที่เมื่อคุณเสียเงินแล้ว ใช้นิ้วชี้นิ้วเดียวกดปุ่มลงไป ทุกอย่างก็จะสนองความต้องการของคุณหรือความพอใจของคุณทันที

ขอให้สังเกตว่า "สาร"หรือข่าวทางโทรทัศน์ ข่าววิทยุ หรือข่าวหนังสือพิมพ์ จะเน้นสิ่งนี้ คือเน้นความพอใจทันทีที่คุณได้รับ สรุปให้เข้าใจง่ายๆก็คือว่า ทำทุกอย่างให้เป็นสินค้าให้หมด ทำสิ่งที่ออกมาจากสื่อให้เป็นสินค้าให้หมด เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ เรียกมันว่า"ความบันเทิง"ก็ได้ เพราะความบันเทิงมันเหมือนกับสินค้าบริโภคทั้งหลาย คุณหัวเราะได้ทันที คุณร้องไห้ได้ทันที คุณไม่ต้องเรียนรู้อะไร?

คุณอยากจะลืมความเหนื่อยยากเมื่อตอนทำงานในช่วงกลางวัน คุณนั่งดูละครน้ำเน่า คุณได้ทันทีเลย คุณลืมเลย เมียน้อยมันตบกันชนิดที่หน้าหันไปหันมาในทีวี สะใจคนดูทันที นี่คือสิ่งที่คุณทำให้สื่อมันขาย entertainment เพราะ entertainment เป็นสินค้าบริโภคที่ขายได้ดีที่สุด คุณได้สิ่งนั้นทันที คุณได้ผลนั้นทันที

เพราะฉะนั้น ถ้าเราเข้าใจสิ่งนี้แล้วหันกลับไปดูในกรณีของสหรัฐอเมริกา สงครามอิรัคครั้งนี้ เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่ามันมีการละเมิดเสรีภาพของสื่อมากมายเต็มไปหมด ไม่ทราบว่าทราบกันหรือเปล่าว่า สำนักข่าวอัล จัสซีร่าของอาหรับ ซึ่งนำเอาภาพเชลยศึกอเมริกันมาออกทีวี ปรากฏว่าผู้สื่อข่าวของอัล จัสซีร่า ถูกไล่ออกจากตลาดหุ้นอเมริกัน เพราะคุณเสนอข่าวอเมริกันถูกจับ ภาพศพทหารอเมริกันออกมา

อันนี้เป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญอเมริกันอย่างชัดเจน เป็นการละเมิดเสรีภาพของสื่อชัดเจนที่สุด คนอเมริกันไม่รู้สึกอะไรเลย ไม่รู้สึกว่ารัฐธรรมนูญซึ่งผู้ก่อตั้งประเทศอเมริกาได้ส่งทอดมาเป็นมรดก มันได้ถูกละเมิดไปอย่างมากถึงนาดนี้

ภาพข่าวจำนวนไม่น้อยใน BBC คนอเมริกันไม่เคยเห็น ถ้าไม่เปิดดู BBC. CNN ไม่ออก ช่องใหญ่ๆของอเมริกันไม่ออก เช่นภาพหนึ่ง อาจารย์อคิน รพีพัฒน์เล่าให้ผมฟังว่าท่านดูมาจาก BBC คือภาพ ทหารอิรัคถือธงขาวนอนตาย แต่ไม่มีหัว ธงขาวยังอยู่ในมือของศพเลย การที่มันไม่มีหัว แสดงว่า มันถือธงขาวยอมแพ้ แล้วปืนใหญ่รถถังหรือปืนอะไรก็แล้วแต่ยิงตูมเดียว หัวหายไปเลย! อีกภาพหนึ่งยิ่งน่ากลัวใหญ่ ภาพของทหารอิรัคถูกทหารอเมริกันบังคับให้ถือระเบิดมือไประเบิดรถถัง ซึ่งหมายถึงรถถังฝ่ายอิรัคที่ถูกยึดได้ ซึ่งหมายความว่าเจ้าตัวต้องตายด้วย แล้วถ่ายให้เห็นหน้ามันด้วยว่า หน้ามันเบลอหมดเลย เป็นต้น

คนอเมริกันไม่ถูกบอกให้รู้ว่า ทั้งสองฝ่ายทั้งฝ่ายอิรัคและฝ่ายพันธมิตร ละเมิดอนุสัญญาเจนีวาอย่างร้ายกาจทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่ฝ่ายเดียว ทั้งหมดเหล่านี้ สื่อไม่เป็นอย่างนั้นอีกแล้ว ผมคิดว่าการรายงานข่าวเกี่ยวกับสงคราม ซึ่งสถานีโทรทัศน์ไทยก็รับสืบทอดมาเกือบจะเต็มๆ จะเห็นได้ชัดเลยว่า

อันที่หนึ่งก็คือ "มันเข้าข้างฝ่ายเดียว" การเข้าข้างฝ่ายเดียวมันทำให้เราผู้รับสื่อไม่สามารถใช้วิจารณญานของตัวเองได้ ทั้งๆที่เราเป็นเจ้าของประเทศ และเราควรจะตัดสินชะตากรรมของประเทศเราเอง เราไม่สามารถจะใช้ได้ เพราะว่ามัน partial, มันเข้าข้างฝ่ายเดียว อันนี้เห็นได้ค่อนข้างชัดและหนังสือพิมพ์ไทยได้พูดถึงเรื่องนี้บ้าง ซึ่งทุกท่านก็คงทราบอยู่แล้ว

อีกอันหนึ่งก็คือมันมีลักษณะคล้ายๆกับสนุก คล้ายๆกับเกมคอมพิวเตอร์

ตอนที่ผมไปเสียภาษี หัวหน้าแผนกของสรรพากรซึ่งมีหน้าที่ตรวจรายการที่ยื่นต่างๆ ท่านจะมีโทรทัศน์วางอยู่ข้างๆเครื่องหนึ่งโดยหรี่เสียงเอาไว้ แล้วท่านก็ทำหน้าที่ตรวจรายละเอียดรายการของคนที่มาเสียภาษี พอข่าวมา ท่านเปิดเสียงดังทันทีแล้วหยุดทำงานไปชั่วขณะ เพื่อที่จะดูข่าวนั้น

มันเหมือนกับเกมคอมพิวเตอร์ มันมีการวิเคราะห์เกมให้ดูว่า เกมนี้มันไปถึงไหนๆแล้ว เราแทบจะไม่รู้สึกว่ามันมีคนตายจริงๆในนั้น มันมีบ้านที่ถูกถล่มลงไปจริงๆในนั้นนะ มันมีความทารุณโหดร้าย มันมีความไม่ยุติธรรมเกิดขึ้นต่อหน้าเรา แต่เราดูสิ่งเหล่านั้นเป็นเหมือนเกม นี่คือ entertainment นี่คือ"สินค้า"

ทำไมสถานี CBS ของอเมริกัน น่าประหลาดมาก ได้รับสิทธิในการถ่ายทอดบาสเกตบอล NBA ซึ่งเป็นเรื่องที่คุณสามารถตรึงคนดูได้ครึ่งประเทศ แต่ CBS ไม่ถ่ายทอด กลับไปยกให้สถานีเล็กๆอีกแห่งหนึ่งถ่ายทอด เพราะอยากถ่ายทอดสงครามแทน เพราะเกมอันนี้มันสนุกกว่า มันเป็นเกมทั้งคู่ระหว่าง"เกมบาสเกตบอล"กับ"เกมสงคราม" แต่กูดูแล้วไอ้เกมสงครามขายได้ดีกว่า กูหาโฆษณาได้มากกว่า เพราะงั้นกูขายเกมสงครามดีกว่า ไม่ได้ขายเกมบาสเกตบอล ซึ่งที่จริงก็เป็นเกมอีกชนิดหนึ่งซึ่งคนอเมริกันชอบมากๆ

ลูกสาวอาจารย์อรรถจักร์คนหนึ่งก็เป็นนักเล่นเกมเหมือนกัน แกเห็นอาจารย์อรรถจักร์นั่งจ้องจอทีวีมาหนึ่งอาทิตย์ แกบอกอาจารย์อรรถจักร์ว่า พ่อ! 7 วันที่ผ่านมามันมีแต่พูดเรื่องเดียวกัน เพียงแต่เปลี่ยนหน้าคนพูด พ่อจะดูอะไรต่อไปอีก ซึ่งก็ตรงเป๊ะเลย เวลาที่คุณเล่นเกมคอมพิวเตอร์ มีผู้ร้ายหลายคนที่โผล่เข้ามา มันมีผู้ช่วยพระเอกหลายคนที่โผล่เข้ามา แต่มันก็เล่นเหมือนเก่า เล่นคาราเต้บ้าง ฟันดาบบ้าง เท่ากับเท่าเก่า

นี่คือลักษณะของเกมคอมพิวเตอร์ คุณสนุกกับสิ่งเล็กสิ่งน้อยไป คุณหมดเวลาไป ลืมเรื่องชีวิตจริงของคุณไปซึ่งอาจจะเจ็บปวดหรืออะไรก็แล้วแต่ไปได้ ที่สำคัญก็คือว่า มันไม่มีประเด็นที่มีความสำคัญ หรือมีสาระสำคัญต่อประชาชน ต่อการที่เราจะมีอำนาจในการตัดสินใจของชะตากรรมของพวกเรากันเองโผล่ออกมาในทีวีเลย

ทีวีไทยนี่เห็นชัดเจน คือเราไม่สามารถได้เกมสดๆจากอิรัค เราก็เอาเกมมาจาก CNN มาฉายให้ดู คราวนี้กลัวว่าคนเล่นเกมจะไม่มัน ก็เลยไปเชิญทหารมาวิเคราะห์เกมให้คนฟัง ไม่เคยมีใครสนใจเลยว่า สงครามอิรัคมันมีนัยอย่างไรต่อคนไทย?

การที่องค์การสหประชาชาติ ซึ่งเป็นองค์การที่ค่อนข้างเฮงซวยในทัศนะผมที่ผ่านมาทั้งหมด ล้มเหลวมาตลอดเวลา แต่ครั้งนี้มันล้มเหลวชนิดที่จะเงยหัวไม่ขึ้นเอาเลย และอนาคตประเทศเล็กๆอย่างประเทศเรา ซึ่งไม่ว่ามันจะดีชั่วอย่างไรก็แล้วแต่ เราฝังตัวเราเอง ฝังผลประโยชน์ของเราเองไว้อยู่ภายใต้เยื่อบางๆที่ห้อยต่องแต่งอยู่ขององค์การสหประชาชาติใช่ไหม? อย่างน้อยอธิปไตยของเราถูกรับรองโดยองค์การสหประชาชาติ ถ้าไม่มีสหประชาชาติประเทศไทยจะทำอย่างไร อันนี้เราคิดกันหรือเปล่า? ซึ่งผมไม่โทษว่าพวกเราไม่คิดนะครับ แต่ทีวีแทนที่จะเป็นสื่อดึงให้เราคิด ไม่ได้คิด ไม่ได้เสนออะไรที่เป็นสาระเหล่านี้เลย ได้แต่เอาทหารมาเล่าเกมให้ฟังต่างๆนาๆ

ทั้งหมดเหล่านี้เพราะว่า การเรียนรู้ อย่างน้อยที่สุด มันมีสองด้านด้วยกัน ด้านหนึ่งของการเรียนรู้ ตัวการเรียนรู้มันคือความสนุก เป็นความเพลิดเพลิน เป็น entertainment ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้สิ่งที่ยากเพียงใดก็ตาม ยิ่งคุณต้องใช้กระบวนการศึกษามากเข้าๆ จนกระทั่งคุณเข้าใจมันได้ มันก็เป็นความสุขอย่างหนึ่ง

แต่เราถูกสื่อครอบงำจนมองไม่เห็นความสุขจากการเรียนรู้แบบนี้ เราสุขจากการเรียนรู้ง่ายๆ เรียนรู้แบบสินค้าบริโภค บอกเองแล้ว เองรู้เลย พอแล้วและเองอย่าไปคิดอะไรมาก แล้วเองก็รู้สิ่งใหม่สิ! สื่อในทุกวันนี้ขายสินค้าบริโภคแบบโยนใส่ ๆ เราก็รับทันที แล้วก็มีความเพลิดเพลิน มี entertainment กับการโยนใส่ของสื่อตลอดเวลา โดยไม่ต้องมีสาระ

เพราะฉะนั้น อย่าไปด่าละครน้ำเน่าดีกว่า ละครน้ำเน่าเป็นเพียงส่วนเดียว ไอ้ตัว"ข่าว"มันน้ำเน่าเสียยิ่งกว่าอะไร เพราะมันขายความรู้แบบ instant แบบกาแฟผงสำเร็จรูปให้เรารับรู้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องคิดอะไร ไม่ต้องวิเคราะห์อะไร ไม่ต้องนำให้เราไปหาความสุขความเพลิดเพลินอีกชนิดหนึ่งของการเรียนรู้ในกระบวนการที่มันมีขั้นมีตอน และมีการถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ในตัวมันเอง มันจะไม่มี เพราะฉะนั้นอันนี้เป็นตัวอย่างที่ค่อนข้างชัดเจนว่า สื่อที่อยู่ภายใต้ทุนน่ากลัวขนาดไหน

ผมคิดว่าน่ากลัวยิ่งกว่าสื่อที่อยู่ภายใต้รัฐเสียอีก อยู่ภายใต้รัฐ รัฐมันเฮงซวย สักวันหนึ่งเราคงจะสามารถเป็น 14 ตุลาอีกครั้งหนึ่ง จะเป็นพฤษภาทมิฬอีกครั้งหนึ่งหรืออะไรก็แล้วแต่ เราก็ล้มไอ้ตัวเฮงซวยนี้ได้

แต่ภายใต้ทุน ทั้งที่คนซึ่งทำงานอยู่ในสื่อ และเราในฐานะผู้บริโภคจะพอใจกับสิ่งเหล่านี้ และจะไม่รู้สึกเดือดร้อนอะไรกับการที่สื่อมันล้มเหลวได้ถึงขนาดนี้ สื่อมันทรยศเราได้ถึงขนาดนี้ อันนี้เราจะไม่รู้สึกอะไรเลย เพราะฉะนั้นผมถึงบอกว่ามันแนบเนียนมาก และมันน่ากลัวมาก

ประเด็นที่สองสำหรับเรื่องที่ผมจะพูดในวันนี้, ซึ่งขอให้พวกเราเชื่อมโยงกันเอาเองก็คือ เมื่อตอนที่รัฐธรรมนูญบอกว่า คลื่นความถี่มันเป็นทรัพยากรสาธารณะ ผมคิดว่าโดยตัวมาตรา 40 นี้ มันคือการปฏิรูปสื่อร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม เพียงแต่ว่าต้องระวังให้ดี

การเป็นทรัพยากรสาธารณะนั้น มันจะถูกคนยึดไปได้ง่ายมาก ที่ดินก็ถูกยึด ชายหาดก็ถูกยึด ป่าชายเลนก็ถูกยึด ภูเขาก็ถูกยึด โดยคนที่มีเงิน เพราะฉะนั้นการโยนสื่อลงมาเป็นทรัพยากรสาธารณะเฉยๆนั้น อันตราย

ครั้นจะให้ใครคอยปกป้องทรัพยากรสาธารณะต่อไป ให้"รัฐ"รึ ? รัฐมันก็ฉ้อฉลตลอดมา จนกระทั่งเราไม่สามารถไว้วางใจรัฐ ให้เป็นผู้ปกป้องคุ้มครองคลื่นความถี่ให้มันดำรงความเป็นทรัพยากรสาธารณะได้ตลอดไป เพราะเราไว้ใจรัฐไม่ได้. รัฐธรรมนูญจึงบอกว่าให้ตั้งองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ หรือพูดง่ายๆก็คือ กสช. ก็แล้วกันขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่อันนี้

ฉะนั้นจึงต้องเข้าใจนะครับว่า กสช. ไม่ใช่หอการค้า คือไม่ใช่เวทีสำหรับกลุ่มผู้มีผลประโยชน์ทั้งหลายเข้าไปเจรจาต้าอ่วยเพื่อต่อรองผลประโยชน์กันตรงนั้น องค์กรแบบนี้ก็มีประโยชน์ ไม่ใช่ไม่มี ในที่ซึ่งเรามีผลประโยชน์ขัดแย้งกันเยอะแยะไปหมด ไม่แปลกอะไรในการที่เราจะมีเวทีสักอันหนึ่งขึ้น แล้วก็มาเจรจาประนีประนอมต่อรองผลประโยชน์ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งที่รุนแรงเกินไป

แต่ กสช. ไม่ใช่องค์กรแบบนั้น กสช.เป็นผู้ทำหน้าที่ในการปกป้องสิ่งสำคัญอันหนึ่ง นั่นคือ ปกป้อง"ผลประโยชน์ของสังคม" เพราะอะไร ? ถึงอย่างไรผมก็ไม่ได้ปฏิเสธว่า ส่วนหนึ่งของสื่อมันเป็นธุรกิจ มันเป็นสินค้า แต่สื่อไม่เหมือนก๋วยเตี๋ยว สื่อไม่ใช่สินค้าบริสุทธิ์

ถ้าสินค้าบริสุทธิ์มันทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน บนประโยชน์ที่ลงตัวของผู้ซื้อและผู้ขาย เช่นก๋วยเตี๋ยวหน้า มช. หากคุณคิดว่ามันแพงไป คุณก็ไม่ต้องกิน อันนี้ก็จบ แต่ถ้าคุณคิดว่าราคามันสมควรแล้ว แลกกับการที่คุณไม่ต้องไปไหนไกล แค่ไปที่หน้า มช. ก็ได้กินก๋วยเตี๋ยวกินแล้ว คุณก็ไปกิน เขาก็ทำอาหารออกมา แล้วคุณคิดว่าอร่อยพอสมควร เขาก็ทำของเขาแค่นั้น เขาหวังได้กำไรแค่นั้น คุณกินแล้วก็ได้ความพอใจแค่นั้น ทั้งสองฝ่ายตกลงโอเคกันว่า เออ! มันคุ้ม คนขายก็คุ้ม คนซื้อก็คุ้ม มันก็อยู่กันต่อไปได้

แต่สื่อไม่ใช่ก๋วยเตี๋ยว สื่อไม่ใช่สินค้าบริสุทธิ์อย่างนั้น เพราะอีกส่วนหนึ่งของประโยชน์ของสื่อ ไม่เกี่ยวกับผู้ขายไม่เกี่ยวกับผู้ซื้อ แต่เกี่ยวกับสังคม เพราะฉะนั้นจึงต้องระวัง ถ้าจะทำให้คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรสาธารณะได้ตลอด คุณจะต้องรักษาดุลยภาพที่เหมาะสม มีกรรมการกลางที่เข้ามารักษาดุลยภาพที่เหมาะสม ระหว่าง 3 ฝ่าย คือ ผู้ซื้อ, ผู้ขาย, และฝ่ายสังคม โดยถือประโยชน์ของฝ่ายสังคมเป็นตัวตั้ง ประโยชน์ของฝ่ายสังคมจะไม่ประนีประนอมกับประโยชน์ของผู้ขายหรือผู้ซื้อ สำหรับประโยชน์ของผู้ขายและผู้ซื้ออาจจะประนีประนอมกันได้ แต่ประโยชน์ของสังคมจะต้องเป็นตัวที่มาก่อนคนอื่นๆทั้งหมด

กสช. คือ คณะกรรมการที่คอยระวังรักษาผลประโยชน์ของสังคม โดยไม่ได้ปฏิเสธว่า ส่วนหนึ่งของสื่อก็เป็นธุรกิจ คุณก็หากำไรกับมันได้ แต่ประโยชน์สังคมมาก่อนนะ เช่น คงเคยได้ยินข่าวว่าในรัสเซีย ข่าวโทรทัศน์เอาผู้หญิงแก้ผ้าเดินไปเดินมาข้างหลัง หรือไม่ก็ค่อยๆปลดกระดุมเสื้อตัวเอง และประเทศที่ทำตามต่อมาคือ คานาดา เห็นไหมว่ามันไม่เกี่ยวกับประเทศทุนนิยม หรือไม่ทุนนิยม อันนี้เพราะอะไร?

ท่ามกลางลัทธิเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ที่ให้ตลาดเป็นตัวตัดสิน บทบาทและอำนาจประชาชนมันหายไป คือ"เสรีนิยมใหม่"คือ"ศัตรูที่ร้ายการของประชาธิปไตย"ก็ว่าได้ บทบาทหน้าที่ของประชาชนมันหายไป จนกระทั่งคนไม่สนใจบ้านเมืองอีกต่อไปแล้ว มันสนใจแต่ตัวมันเอง ถ้าเราสนใจกับตัวเราเอง รายการโทรทัศน์ที่น่าเบื่อที่สุดก็คือข่าว เพราะมันพูดอะไรไม่รู้ไม่น่าสนใจเลย นายกฯจะไปเมืองนอก เรื่องของมึง ไม่เกี่ยวกับกู เมียกูจะไปเมืองนอกค่อยมาบอกกู ถูกไหมครับ

ฉะนั้นข่าวจึงเป็นรายการที่น่าเบื่อมาก แต่โทรทัศน์ต้องมีข่าว ดังนั้น ทำยังไงให้คนดูข่าว ก็เอาผู้หญิงแก้ผ้ามาเดินข้างหลัง มันจะทำให้มีคนดูข่าว อย่างน้อยที่สุดก็ทำให้ข่าวยังเหลือรอดอยู่ได้ อันนี้เป็นตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่า กสช.ปล่อยอย่างนี้ไม่ได้…

พวกนายทุนสื่อมันอยากจะข้ามสื่อมานานแล้ว เพราะว่ามันจะได้ลดต้นทุนของมัน มันจะได้ทำกำไรเพิ่ม มันอยากจะกระโดดเข้าไปเข้าไปกินไอ้ตัวรูปแบบนี้ ทันทีที่เราโยนออกมา ฉะนั้นในกฎหมายลูกที่ตามมาของมาตรา 40 ที่ให้มีการเลือกคณะกรรมการเพื่อเลือกสรรคณะกรรมการ กสช.อีกทีหนึ่งนี่ จึงปรากฏว่าพวกทุน โดยเฉพาะพวกทุนบันเทิง จะเป็นบันเทิงทีวี บันเทิงเทป บันเทิงอะไรก็แล้วแต่เหล่านี้ จึงกระโดดเข้ามา เพื่อจะส่งคนของตนเองเข้ามาสู่คณะกรรมการเพื่อเลือกสรรคณะกรรมการ กสช. เต็มไปหมด โดยอ้างเหตุผลว่าเขามีผลประโยชน์อยู่ในธุรกิจอันนี้ เขาจะต้องเข้ามาปกป้อง

ซึ่งอย่างที่ผมบอกแล้วเมื่อสักครู่นี้ว่า กสช.ไม่ได้มีหน้าที่เป็นหอการค้า แต่มีหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของสังคม ก็ส่งเข้ามา แล้วก็เกิดสิ่งที่อาจารย์จิรพร วิทยศักดิ์พันธ์พูดไปแล้วว่ามีผลประโยชน์ซ้อนทับ เช่นเป็นต้นว่า หลายคนด้วยกันในกรรมการชุดนั้น มีธุรกิจเกี่ยวข้อง หรือเป็นลูกจ้างของธุรกิจบันเทิงเหล่านี้ด้วยซ้ำไป ฉะนั้นในที่สุด ศาลปกครองก็ตัดสินออกมา อย่างที่รู้ๆกันอยู่แล้ว ซึ่งก็ปรากฏว่ามีกรรมการอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังดื้อด้าน ไม่ยอมลาออกไป

ประเด็นสุดท้ายที่ผมอยากจะพูดว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ จะทำอย่างไรต่อไป คำตอบของผมอย่างตรงไปตรงมาเลยก็คือว่า ไม่รู้เหมือนกัน คุณไปกดรัฐบาล รัฐบาลก็จะบอกว่านี่เป็นองค์กรอิสระ ผมเกี่ยวไม่ได้ ซึ่งความจริงแล้วเขาอาจจะพอใจก็ได้ที่จะมีคณะกรรมการเบี้ยวๆแบบนี้แหละ แต่ก็พูดถูกหลักการ ใช่เขาเกี่ยวไม่ได้

ผมมองเห็นแต่เพียงสองอย่างก็คือ เราต้องกดดันต่อไป กดดันด้วยวิธีไหนก็แล้วแต่ มีคนหน้าด้านมาออกทีวีบอกว่า จะไม่ยอมต่อการกดดันทุกชนิดตั้งแต่วันแรกที่มีคำพิพากษาของศาลปกครองเสียด้วยซ้ำไป เพราะฉะนั้น เราก็ต้องสู้กับความหน้าด้านเหล่านี้ด้วยการกดดันต่อไป ในหลายรูปแบบเท่าที่เราจะทำได้อย่างเต็มความสามารถ

กับอันที่สองซึ่งผมอยากจะฝากไว้คือ พวกเราในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม เป็นผู้ที่คิดว่าตัวเราเองค่อนข้างจะอ่อนไหวต่อผลประโยชน์ของสังคม เราพยายามที่จะทำงานเพื่อประโยชน์ของสังคม จะต้องช่วยกันให้ตัวเราและสังคม กลุ่มพรรคพวก เครือข่ายของเราทั้งหมด ทำการจับตามอง ทั้งกรรมการเลือกสรร กสช. ทั้งตัว กสช. เอง ทั้งสื่อที่จะมีต่อไปในภายหน้า

อย่าได้ไว้วางใจใคร ไม่ว่าใครจะได้มาเป็นกรรมการ กสช.ก็ตามแต่ ต้องช่วยกันด่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ กสช. ปล่อยให้มันเกิดการกระทบต่อผลประโยชน์ของสังคม เราต้องช่วยกันด่า เราต้องช่วยกันกดดัน ไม่ใช่แต่เฉพาะกรรมการเลือกสรร กสช. แต่เพียงอย่างเดียว จะต้องกดดันต่อไป จะต้องจับตามองอย่างเอาจริงเอาจังตลอดไปนะครับ

เพราะว่า สังคมที่ขาดสื่อ ผมเห็นด้วยกับโธมัส เจฟเฟอร์สัน ที่ว่า สังคมที่ขาดสื่อมันเลวร้ายยิ่งกว่าสังคมที่ขาดรัฐธรรมนูญเสียอีก ขาดสื่อที่มีเสรีภาพ ขาดสื่อที่มีประสิทธิภาพ มันเลวร้ายยิ่งกว่าสังคมที่ไม่มีรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นจำเป็นที่จะต้องทำอย่างนี้ต่อไป

และผมอยากจะเตือนเป็นเรื่องสุดท้าย และเป็นประเด็นท้ายสุดซึ่งผมจะพูดวันนี้ก็คือ รัฐธรรมนูญไทยฉบับปัจจุบัน เจตนารมณ์หรือ spirit ของมัน มันกำลังถูกคุกคามทั้งจากวงการเมืองและกลุ่มทุนรุนแรงมากขึ้นทุกที ในแต่ละมาตราที่กำหนดเอาไว้ในรัฐธรรมนูญ ถูกเบี้ยว ถูกทำให้มันผิดเจตนารมณ์ไปมากมาย ถามว่าใครจะปกป้องรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คำตอบมีอยู่อย่างเดียวคือพวกเรา หรือสังคมเท่านั้นที่จะปกป้องรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไว้ได้

แล้วถ้าหากเรายังคงนั่งอยู่เฉยๆแล้วรอให้คนอื่นทำ จะไม่มีใครทำ และจะไม่มีใครทำได้ด้วย นอกจากสังคมเท่านั้น ที่จะสามารถปกป้องเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ตลอดไป

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)

สื่อเป็นพิษ ภายใต้การกำกับของ"ทุน"
นิธิ เอียวศรีวงศ์
28 มีนาคม 2546 ศูนย์สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(ความยาวประมาณ 10 หน้ากระดาษ A4)

นมัสการพระคุณเจ้า และสวัสดีท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน วันนี้ผมมีประเด็นที่อยากจะพูดอยู่ 2-3 ประเด็นด้วยกัน ประเด็นแรกคือเรื่องของ"สื่อภายใต้ระบบทุนนิยม"
พวกเราที่อยู่ในประเทศไทยค่อนข้างจะเคยชินกับรัฐที่เข้ามาครอบงำหรือเข้ามากำกับควบคุมสื่อ จนกระทั่งสื่อไร้คุณภาพ เพราะเราต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตในรูปแบบต่างๆตลอดเวลา แต่ในระยะ 20 ปีที่ผ่านมานี้ สิ่งที่เข้ามายึดครองสื่อที่สำคัญที่สุดก็คือ"ทุน" ทุนได้เข้ามายึดครองสื่อ ซึ่งเป็นผลร้ายต่อสังคมโดยรวมมากยิ่งขึ้น

จริงๆในกรณีของเมืองไทย อยากจะพูดว่า ทุนได้เข้ามายึดครองเวทีการเมืองด้วย ผมไม่อยากให้มองแค่คุณทักษิณ หรือคุณสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และ ฯลฯ ขอให้สังเกตว่ามีกลุ่มทุนอื่นๆอีกมากมายที่อยู่นอกรัฐบาล อย่างเช่น กลุ่มทุนที่เน้นในทางด้านการเกษตร ที่ได้เข้าไปเชื่อมต่อกับกลุ่มทุนที่มีอำนาจทางการเมืองด้วย

เพราะฉะนั้น ในเมืองไทยมีกรณีของนักการเมืองและทุน เข้ามากำกับควบคุม คุกคามเสรีภาพของสื่อยิ่งกว่าอะไรทั้งสิ้น อันนี้ผมอยากจะชี้ให้เห็นว่า เมื่อตอนที่รัฐเป็นผู้กำกับและควบคุมสื่อ รวมถึงครอบงำสื่อ จริงๆแล้ว รัฐมีวิธีการครอบงำที่หยาบ เช่น ปิดหนังสือพิมพ์เขาบ้าง ไปทุบแท่นพิมพ์เขาบ้าง สั่งงดรายการทีวีเขาบ้าง อะไรก็แล้วแต่ อันนี้ค่อนข้างหยาบ

และเมื่อไหร่ก็ตามที่รัฐอ่อนอำนาจลง พวกสื่อก็จะลุกฮือขึ้นมา แล้วพยายามที่จะใช้เสรีภาพของตนเองในการตอบโต้กับรัฐได้เต็มที่ ผมอยากจะตั้งข้อสังเกตอันแรกเอาไว้ก่อนว่า "ทุน"มีวิธีการครอบงำสื่อได้แนบเนียนกว่ารัฐมาก แนบเนียนเสียจนกระทั่งว่า สื่อที่ถูกทุนครอบงำกำกับควบคุมอยู่นั้น ไม่รู้สึกตัวว่าตัวเองถูกกำกับควบคุม

 

Random