นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
R
related topic
100948
release date

คลิกไปหน้าสารบัญ(1)
คลิกไปหน้าสารบัญ
(2)
คลิกไปหน้าสารบัญ(3)
คลิกไปหน้าสารบัญ(4)
เพื่อดูบทความใหม่สุด

เว็ปไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลด text size ของ font ลง
จะช่วยแก้ปัญหาได้
ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
เว็ปไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานของท่านมายัง midarticle(at)yahoo.com หรือ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
The author of this work hereby waives all claim of copyright (economic and moral) in this work and immediately places it in the public domain... [copyleft] กรุณานำบทความไปใช้ต่อโดยอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร

The Midnight University

เรื่องพระราชอำนาจ
Same Old Royalism Hatches Again
Thongchai Winichakul
Madison, Wisconsin.

บทความชิ้นนี้ได้รับมาจากผู้เขียน
หมายเหตุ :
บทความชิ้นนี้เขียนให้แก่ น.ส.พ. The Nation แต่ไม่ได้รับการตีพิมพ์ด้วยเหตุผลว่า แรงเกินไป (too strong)
โดยอธิบายว่า หนังสือพิมพ์มีข้อจำกัดมากมายรวมทั้งจากกฎหมายหมิ่นฯ
เริ่มแรกนั้น ผู้เขียนเขียนจดหมายวิพากษ์วิจารณ์ข้อเขียนใน The Nation ฉบับวันที่ 5 September 2005
เกี่ยวกับหนังสือ พระราชอำนาจ ของประมวล รุจนเสรี แต่จดหมายดังกล่าวไม่ได้รับการตีพิมพ์ ผู้เขียนเข้าใจ (ผิด)ว่า The Nation
ไม่อยากตีพิมพ์ข้อเขียนซึ่งผู้เขียนเองนำไปเผยแพร่สู่สาธารณะในที่อื่นแล้ว (หมายถึง webboard ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน # 07472)
ดังนั้น เมื่อได้รับคำแนะนำว่า น่าจะเขียนเป็นบทความเต็มฉบับแสดงความเห็นให้กระจ่างขึ้นให้แก่ The Nation
บทความชิ้นนี้จึงเกิดขึ้น แต่ปรากฏว่า ไม่ได้รับการตีพิมพ์อยู่ดีด้วยเหตุผลข้างต้น

ผู้เขียนจึงขออนุญาตมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเผยแพร่บทความชิ้นนี้
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเห็นว่าเป็นการแสดงความเห็นอย่างสุจริตใจ มีเหตุผลข้อมูลน่าสนใจ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน
โดยมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับความเห็นใดๆในบทความ
จึงยินดีเผยแพร่บทความภาษาอังกฤษ ณ ที่นี้เป็นแห่งแรก
ผู้เขียนกำลังตรวจแก้และปรับปรุงเพิ่มเติมฉบับภาษาไทยเพื่อเผยแพร่ต่อไป

(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
บทความฟรี มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 664
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๔๘

(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 7 หน้ากระดาษ A4)

 

 

Same Old Royalism Hatches Again

The fad about Pramuan Rujanaseri's book, The Royal Power, baffles me. It is an overly rhetorical book that happens to come out at the right timing, namely when the public get fed up with the Prime Minister's enormous power and his arrogance.

Among the haphazard thinking and poor argumentation, perhaps one example is enough.
"The fact is that His Majesty will endorse every constitution before it can be implemented. His power apparently overwhelms what's stated in the charters." This is a quoted from the article in The Nation, Sept 5, but Pramuan himself is apparently very proud of this argument too.

This is pervert logic. Is a US president above the law since he signs it into law? Does having the authority to veto a law mean he is above the law? NO and NO. How many orders and regulations Pramuan himself signed at the Ministry of Interior? Was he above those regulations? (Perhaps he was.)

It is irresponsible to mislead the public by logical tricks, especially as those tricks lead to the suggestion that the king is above the constitution.

Pramuan's book is nothing but a popularization of the ideas held among the royalists after 1932 who had tried several times to revive the power of the monarch. The fierce struggle over this issue led to the Boworadet Rebellion in 1933 - a civil war of sort that cost dozens of lives, and the abdication of King Prachadhipok (Rama VII) in 1935 after he lost the political fight to have more power under the constitution.

The royalists were subdued during the first Phibun regime (1938-44). After WWII, it was Pridi Phanomyong who allowed the royals to participate in politics (except the immediate family members of the monarch) and returned all the titles and privileges to the royals, including the chief of them, Prince Rangsit or Kromkhun Chainat Narendhorn, who was the last surviving son of King Chulalongkorn and who had been a leader of the royalists.

Pridi's compromise was the result of domestic politics during WWII when many royalists were among the backbone of the Free Thai movement against Phibun. What Pridi didn't anticipate was that the royalists began to plot revenge against him almost immediately, and to revive the king's power - not to the pre-1932 absolute monarchism but along the line that King Rama VII (ditto: the royalists) wanted. The wrongful accusation that Pridi had something to do with the assassination of King Ananda in June 1946 was the dirty work of these people. Pridi suffered tremendously from 1946 to the end of his life at the hand of these royalists in cooperation with the army.

The 1947 coup finished Pridi, even though he tried to come back a few years later. It ended the People's Party's era. Historians usually pay attention to the role of the new generation of the army leaders, such as Phin Choonhavan and Phao Sriyanond. The fact is that the hand prints of the royalists were everywhere in this coup and a few years after, belonging to people from the high princes to the energetic Pridi hunters like the Pramoj brothers, and more.

In March 1946, Prince Dhaninivat (Kromamun Phitthayalap Phrutthayakorn) delivered a historic presentation to the special audience that included the young King Anand, his mother and his brother (the present king). Prince Dhani played an important role in the Privy Council during Rama VII that blocked the king's efforts to "reform" Thai politics. He was a brilliant scholar who after the royalist set back during the first Phibun, spent time on scholarly works. He was among the kings' teachers who quietly groomed the young monarchs from the late 1940s to the 1950s, and also became the President of the Privy Council after Prince Rangsit died in 1951.

Prince Dhani's presentation, "The Old Siamese Conception of the Monarchy", was a short but truly original work of scholarship. It laid the intellectual foundation for the royalist discourse to enhance the royal power in the post-1932 era, and the discourse originated by this article is the framework for the development of the monarchical institution in the past 60 years. (Historians who only see the rise of the monarchy from Sarit's era will find both Sarit's ideology and the king's activities the offshoots of the discourse begun by Prince Dhani. So was Kukrit Pramoj's idea on the monarchy)

ALL the major points in Pramuan's book are merely derivatives of this Dhani's work (via the exegesis by Thongthong Jantharangsu's thesis in 1986). Pramuan only adds his own non-sense argumentation in the up-to-date rhetoric and in timely politics. Nothing more, really.

Pramuan's contribution to this royalist theory of the royal power is to popularize it for consumption by anybody who lacks historical perspective, have short memory, or who want to appear more royalist than the royals themselves. Those people, including famous journalists, are doing a great service to the royalist efforts in trying to make the de facto royal power into de jure.

If concerned citizens of the present generation, like those at the Manager or at this newspaper, are fascinated and convinced by Pramuan's ideas, it reflects how superficial and uncritical they are and how poor their historical knowledge is. For the royalists, their responses to Pramuan's book are predictable. What else we expect them to say, except not saying at all.

Before going crazy with Pramuan's book, we should study how horribly Pridi Phanomyong had suffered at the hands of the royalists especially during 1946-49. The great irony is that some of the advocates for enhancing the royal power tell the story of Pridi working hand in hand with the royals for the enhanced royal power. "Ridiculous" would be my softest comment on these royalist pretenders.

Sorry, I am not Thaksin's supporter. I have written and talked in many places against the current government, especially its hopeless handling of the crisis in the Deep South. But an effort to undermine the government by reviving the old royalism is very dangerous and must be countered. It is easy to see short term benefits for Pramuan, and probably for those journalist critics of Thaksin too. But this kind of short term tactic is extremely short-sighted and very dangerous, unless all of them truly want the royalist regime of democracy in Thailand.

By the way, you write, "more than 1,000 years of absolute monarchy in Thailand". Can you tell me from when to when -- since Thailand was a Happy Valley kingdom at the Altai Mountain in Mongolia when the Thai kings ruled over the whole Asia? With such a statement in your highly educated newspaper, I am not surprised that Pramuan's book is a fad among Thais. As a historian, I plead guilty for failure to make people intelligent about history. The absolute monarchy in Siam lasted less than 60 years -- around the 1870s to 1932 only. Your statement makes the royalist ideas Paleolithic indeed.

Thongchai Winichakul
Madison, Wisconsin

 

วาทกรรมพระราชอำนาจหรือประชาธิปไตยแบบคิดสั้น
ธงชัย วินิจจะกูล
Madison, Wisconsin
บทความชิ้นนี้ได้รับอนุญาตจากผู้เขียนให้เผยแพร่

(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
บทความฟรี มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 664
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๘

หมายเหตุ - บทความนี้เขียนขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ
"Same Old Royalism Hatches Again "
เพื่อหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ฉบับภาษาไทยนี้แปลโดย ไอดา อรุณวงษ์
แต่ผู้เขียนปรับปรุงต้นฉบับเองพอสมควรตลอดทั้งบท แล้ว เขียนเพิ่มตอนท้ายประมาณหนึ่งหน้า
คำว่า royalist - บางคนใช้ว่าพวกนิยมเจ้า บางคนใช้ว่าพวกกษัตริย์นิยม บทความนี้ใช้ทั้งสองคำในความหมายเดียวกัน


กระแสคลั่งไคล้หนังสือ พระราชอำนาจ ของประมวล รุจนเสรี สร้างความมึนงงแก่ผู้เขียนเป็นอย่างยิ่ง หนังสือนี้เป็นความคิดเก่าๆเดิมๆที่ "เวอร์" ไปด้วยสำนวนโวหาร ทว่าบังเอิญออกมาได้จังหวะพอดี คือในยามที่สาธารณชนกำลังรู้สึกเหลืออดเหลือทนกับอำนาจล้นฟ้าและความอหังการของนายกรัฐมนตรี

หนังสือเล่มนี้เต็มไปด้วยวิธีคิดเลื่อนเปื้อนและการให้เหตุผลที่ลุ่มๆดอนๆอ่อนแอ ลองมาดูกันแค่ประเด็นเดียวซึ่งประมวลภูมิใจนักหนาในความคิดของตน จนมักจะยกมาแสดงในที่ต่างๆ นั่นคือ ข้อถกเถียงของเขาที่ว่า ในเมื่อพระมหากษัตริย์ต้องทรงลงพระปรมาภิไธยรับรองรัฐธรรมนูญก่อนจึงจะประกาศใช้ได้ แสดงว่าพระราชอำนาจของพระองค์ย่อมล้นพ้นกว่าที่ระบุไว้ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ

นี่เป็นตรรกวิตถาร การที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯเป็นผู้ลงนามในกฎหมายทุกฉบับก่อนประกาศใช้ หมายความว่าเขาอยู่เหนือกฎหมายหรือ? การที่เขามีอำนาจในการยับยั้งกฎหมาย เท่ากับว่าเขาอยู่เหนือกฎหมายหรือ? ไม่ใช่เลย ประมวลเองเป็นคนลงนามคำสั่งและระเบียบต่างๆมาหลายฉบับสมัยที่อยู่กระทรวงมหาดไทย หมายความว่าเขาอยู่เหนือกฎระเบียบพวกนั้นใช่ไหม? (อาจจะใช่ก็ได้)

การอาศัยกลอุบายในทางตรรกะมาชี้นำสาธารณชนให้ไขว้เขวเช่นนี้ ย่อมเป็นการไร้ความรับผิดชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกลอุบายเหล่านั้นนำไปสู่ข้อเสนอว่ากษัตริย์อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ

หนังสือ พระราชอำนาจ นั้น เป็นแค่การเผยแพร่ความคิดเดิมๆ ที่ดำรงอยู่ในหมู่พวกกษัตริย์นิยมหลัง ๒๔๗๕ ให้กว้างขวางต่อสาธารณชนในปัจจุบันเท่านั้นเอง พวกกษัตริย์นิยมพยายามอยู่หลายครั้งที่จะรื้อฟื้นอำนาจของพระมหากษัตริย์ การต่อสู้อย่างดุเดือดในข้อนี้นำไปสู่กบฏบวรเดชในปี ๒๔๗๖ ซึ่งเป็นสงครามกลางเมืองราคาแพง มีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน และต่อมานำไปสู่การสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ในปี ๒๔๗๘ หลังจากที่พระองค์ทรงพ่ายแพ้ในการต่อสู้ทางการเมืองเพื่อจะเพิ่มพระราชอำนาจของกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ

พวกกษัตริย์นิยมถูกกดปราบลงไปในสมัยแรกของจอมพลป.พิบูลสงคราม
(๒๔๘๑-๒๔๘๗) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ปรีดี พนมยงค์ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นผู้ผลักดันให้ยกเลิกกฎหมายซึ่งห้ามเจ้านายมีส่วนร่วมทางการเมือง และคืนฐานันดรศักดิ์ให้กับพระราชวงศ์ทั้งหลาย ในที่นี้รวมถึงสมเด็จฯกรมขุนชัยนาทนเรนทร พระราชโอรสของรัชกาลที่ ๕ พระองค์สุดท้ายที่ยังดำรงพระชนม์ชีพอยู่ในขณะนั้น พระองค์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในเวลาต่อมา และเป็นผู้นำสำคัญพระองค์หนึ่งของฝ่ายนิยมเจ้านับจาก ๒๔๗๕ ตราบจนสิ้นพระชนม์

การประนีประนอมของปรีดีเป็นผลมาจากการเมืองภายในประเทศช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ เนื่องจากฝ่ายกษ้ตริย์นิยมหลายคนเป็นแกนนำของขบวนการเสรีไทยเพื่อต่อต้านจอมพล ป. สิ่งที่ปรีดีไม่ได้คาดไว้ก็คือ พวกกษัตริย์นิยมวางแผนแก้แค้นปรีดีเกือบจะในทันที ควบคู่ไปกับการเริ่มกอบกู้พระราชอำนาจแก่พระมหากษัตริย์ พวกเขาไม่ได้ต้องการระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบก่อน ๒๔๗๕ แต่ต้องการขยายพระราชอำนาจให้มากที่สุดภายใต้รัฐธรรมนูญ ในแนวที่รัชกาลที่ ๗ ได้ทรงพยายามต่อสู้แต่ไม่บรรลุผล

การใส่ร้ายป้ายสีว่าปรีดีเกี่ยวข้องกับกรณีลอบปลงพระชนม์พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ ในเดือนมิถุนายน ๒๔๘๙ ก็เป็นผลงานสกปรกของคนกลุ่มนี้ ปรีดีต้องประสบความยากลำบากอย่างแสนสาหัสตั้งแต่ปี ๒๔๘๙ จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตก็ด้วยฝีมือของพวกนิยมเจ้าเหล่านี้

รัฐประหารปี ๒๔๙๐ เป็นการปิดฉากปรีดี (ท่านพยายามกลับสู่อำนาจในไม่กี่ปีต่อมาแต่ล้มเหลว) จึงถือกันว่ารัฐประหารปี ๒๔๙๐ เป็นการปิดฉากคณะราษฎรด้วย นักประวัติศาสตร์มักจะให้ความสนใจกับบทบาทของผู้นำรุ่นใหม่ในกองทัพบกอย่างผิน ชุณหะวัณและเผ่า ศรียานนท์ ข้อเท็จจริงก็คือว่า พวกกษัตริย์นิยมมีบทบาทมากมายเต็มไปหมดในการรัฐประหารครั้งนี้ตั้งแต่พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงบางองค์ ลงมาจนถึงพี่น้องสกุลปราโมชที่ต่อต้านปรีดีอย่างเอาการเอางาน

พวกกษัตริย์นิยมมีบทบาทสูงในการเมืองไทยต่อมาอีก ๔ ปี บุคคลหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในช่วงนั้น คือ สมเด็จฯ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร หรือพระองค์เจ้าธานีนิวัต พระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญในอภิรัฐมนตรีสภา ซึ่งขัดขวางความพยายามของรัชกาลที่ ๗ ในการที่จะ "ปฏิรูป" การเมืองไทย พระองค์ทรงเป็นปราชญ์ที่ปราดเปรื่อง ในระยะที่ฝ่ายกษัตริย์นิยมถอยร่นในช่วงสมัยแรกของจอมพล ป. พระองค์ท่านเก็บตัวทำงานวิชาการอยู่เงียบๆ บทบาทสำคัญต่อมาคือ ทรงเป็นพระอาจารย์ที่ถวายการอบรมตระเตรียมยุวกษัตริย์ทั้งสองพระองค์เพื่อขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์เจ้าธานีฯ ทรงรับหน้าที่นี้หลายปีต่อมากระทั่งพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันทรงมีวุฒิภาวะ พระองค์เจ้าธานีฯ ยังเป็นประธานองคมนตรีหลังจากที่สมเด็จฯ กรมขุนชัยนาทฯ สิ้นพระชนม์ในปี ๒๔๙๔

ในเดือนมีนาคม ๒๔๘๙ พระองค์เจ้าธานีฯ แสดงปาฐกถาถวายแด่พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล สมเด็จพระราชชนนี และพระอนุชาของพระองค์ (พระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน) ต่อเนื่องมาจากปาฐกถา พระองค์เจ้าธานีฯได้ทรงนิพนธ์บทความวิชาการเป็นภาษาอังกฤษ ในหัวข้อ "The Old Siamese Conception of the Monarchy" พระนิพนธ์นี้เป็นงานสั้นๆ กระชับ ทว่ามีความสำคัญอย่างสูง เพราะงานชิ้นนี้ประมวลรวบยอดแนวความคิดหลักๆของลัทธิกษัตริย์นิยมขึ้นเป็นทฤษฎีว่าด้วยสถาบันกษัตริย์ของไทย และกลายเป็นฐานทางภูมิปัญญาของ "วาทกรรมพระราชอำนาจ" ซึ่งมุ่งขยายพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญหลัง ๒๔๗๕ ทฤษฎีและวาทกรรมชุดนี้เป็นกรอบเค้าโครงสำหรับพัฒนาการของสถาบันกษัตริย์ไทยตลอดระยะ ๖๐ ปีที่ผ่านมา จนทุกวันนี้มีสถานะสูงส่งอย่างไม่เคยมีมาก่อน

นักประวัติศาสตร์มักเห็นว่า การฟื้นฟูสถาบันกษัตริย์เริ่มในยุคสฤษดิ์ แต่เราจะพบว่าทั้งความคิดทางการเมืองของระบอบสฤษดิ์ และพระราชกรณียกิจของพระเจ้าอยู่หัวในระยะ ๒๐ ปีแรก รวมทั้งความคิดของคึกฤทธิ์ ปราโมชเรื่องสถาบันกษัตริย์ ต่างเป็นผลิตผลของวาทกรรมตามทฤษฎีที่พระองค์เจ้าธานีฯทรงเสนอไว้ตั้งแต่ระยะใกล้กับที่คณะราษฎรปิดฉากลง

ประเด็นหลักแทบทั้งหมดในหนังสือ พระราชอำนาจ เป็นแค่การถ่ายทอดความคิดเดิมๆ ของนักคิดฝ่ายกษัตริย์นิยมเมื่อหลายสิบปีก่อน (ผ่านการอธิบายขยายความโดยวิทยานิพนธ์ของธงทอง จันทรางศุในปี ๒๕๒๙) ทั้งสิ้น ประมวลเพียงแค่เพิ่มเติมข้อถกเถียงที่ไม่ค่อยเข้าท่าของตน นำเสนอด้วยสำนวนโวหารและกรณีที่ทันยุคสมัย และผลิตออกมาในจังหวะทางการเมืองที่เหมาะเจาะ ไม่มีอะไรมากกว่านั้นเลยจริงๆ

คุณูปการของหนังสือนี้ที่มีต่อทฤษฎีแบบกษัตริย์นิยม และ"วาทกรรมพระราชอำนาจ" ก็คือ ทำให้งานวิชาการเข้าใจยาก กลายเป็นที่นิยมบริโภคง่ายในหมู่ผู้คนที่ขาดความรู้ความเข้าใจและขาดมุมมองทางประวัติศาสตร์ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้หนังสือนี้เป็นที่ฮือฮาก็เพราะมันสอดรับกับการเคลื่อนไหวเชิดชูเจ้าเสียยิ่งกว่าเจ้าเอง ของผู้เกลียดชังรัฐบาลปัจจุบัน คนกลุ่มหลังนี้กำลังกลายเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของพวกกษัตริย์นิยมที่จะทำให้พระราชอำนาจในทางพฤตินัย กลายเป็นพระราชอำนาจอันชอบธรรมตามธรรมชาติของพระมหากษัตริย์ในทางนิตินัย

ถ้าหากว่าพสกนิกรผู้ห่วงใยบ้านเมืองในรุ่นปัจจุบัน รวมถึงนักหนังสือพิมพ์ใหญ่โตหลายท่าน จะรู้สึกดื่มด่ำเห็นคล้อยตามความคิดในหนังสือ พระราชอำนาจ ย่อมสะท้อนความผิวเผินและขาดวิจารณญาณของคนเหล่านั้น และสะท้อนว่าความรู้ทางประวัติศาสตร์ของพวกเขานั้น แย่เอามากๆ สำหรับผู้สมาทานลัทธิกษัตริย์นิยมนั้น พวกเขาตอบสนองต่อหนังสือเล่มนี้อย่างไร ย่อมเป็นเรื่องคาดเดาได้ไม่ยาก เราจะคาดหวังให้พวกเขาตอบรับในแบบอื่นได้อย่างไร ยกเว้นนิ่งเงียบไม่พูดอะไรทั้งสิ้น

ก่อนที่จะเห่อหนังสือเล่มนี้ เราจึงควรจะศึกษาให้ตระหนักว่าปรีดี พนมยงค์ ตกระกำลำบากเพียงใดด้วยน้ำมือของพวกนิยมเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างปี ๒๔๘๙-๒๔๙๒ เรื่องตลกเศร้าที่สุดก็คือผู้สนับสนุนการขยายพระราชอำนาจบางคนเล่าเรื่องของปรีดีว่าท่านร่วมมือกับพวกเจ้าในการกอบกู้พระราชอำนาจด้วย

หากจะให้ความเห็นอย่างเบาที่สุดต่อเรื่องพรรค์นั้น คงต้องขอบอกว่า "เหลวไหลทั้งเพ"

ผู้เขียนไม่ใช่ผู้สนับสนุนทักษิณ ทั้งได้เขียนและพูดวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลนี้ในหลายๆแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความผิดพลาดล้มเหลวแต่ยังอวดดีกับนโยบายผิดๆ วิธีการผิดๆ ในการแก้วิกฤติในภาคใต้ แต่ผู้เขียนเห็นว่าความพยายามต่อสู้กับรัฐบาลบ้าอำนาจด้วยวาทกรรมพระราชอำนาจ ยอมตนเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของพวกกษัตริย์นิยม เป็นเรื่องที่อันตรายอย่างยิ่ง และควรต้องมีการทัดทาน

ทำไม? เพราะเราไม่น่าสิ้นคิดและจนตรอกถึงขนาดโยนความสำเร็จเมื่อ ๗๓ ปีก่อนลงถังขยะประวัติศาสตร์

การต่อสู้ด้วยวิถีทางพรรค์นี้ผิดหลักการโดยพื้นฐาน

ประการแรก ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หมายถึง ระบอบประชาธิปไตย ที่มีประมุขดำรงสถานะตำแหน่งเป็นพระมหากษัตริย์ มิได้หมายถึงระบอบสุ่มสี่สุ่มห้าอะไรก็ได้ ขอให้มีพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีพระราชอำนาจมากๆ เป็นใช้ได้

ทัศนะอย่างหลังมักอิงกับจินตนาการว่า พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ในอดีตและอนาคตย่อมวิเศษเหมือนพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันตลอดชั่วกาลปาวสาน การอภิปรายที่ธรรมศาสตร์เมื่อ ๖ กันยายน ที่ผ่านมา ยืนยันความเพ้อฝันข้อนี้อย่างเห็นได้ชัด ประวัติศาสตร์ในทัศนะลัทธิกษัตริย์นิยมก็อิงกับความเพ้อฝันแบบเดียวกัน

วาทกรรมพระราชอำนาจชอบอ้างอิงอดีต แต่กลับขาดสำนึกอดีตและวิสัยทัศน์ทางประวัติศาสตร์โดยสิ้นเชิง พวกเขากำลังวางระเบิดเวลาลูกใหญ่แก่ประเทศไทยในอนาคต เพื่อแลกกับผลทางการเมืองระยะสั้นๆในปัจจุบัน

หรือว่าผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องพระราชอำนาจไม่เคยคิดถึงอนาคตเลย?

ประการที่สอง การใช้อาวุธตอบโต้อาวุธ ไม่ก่อให้เกิดสันติ ฉันใด การต่อสู้กับรัฐบาลอำนาจนิยม ด้วยอำนาจพิเศษ เป็นวิถีทางที่ไม่ช่วยให้ประชาชนหรือสังคมเข้มแข็งขึ้นมา ไม่ก่อผลดีใดๆเลยต่อประชาธิปไตย ฉันนั้น

ทำไมเราจึงมักง่าย จะต่อสู้กับรัฐบาลซึ่งทำลายประชาธิปไตย ด้วยการละทิ้งวิถีทางประชาธิปไตย ?

ทำไมเราคิดจะต่อสู้กับสื่งที่ผิด ด้วยวิถีทางที่ไม่ถูกต้อง? ผิด+ไม่ถูก จะกลายเป็น ถูก ได้อย่างไรกัน?

ผู้เขียนเห็นด้วยอย่างยิ่งว่ารัฐบาลปัจจุบันทำร้ายระบอบประชาธิปไตย ด้วยการจูงจมูกประชาชน ไม่ส่งเสริม ไม่ไว้ใจ ไม่ให้โอกาส แต่กลับทำลายการมีส่วนร่วมของประชาชน แต่หากเราต่อสู้จนชนะด้วยวิถีทางที่ไม่เห็นหัวประชาชนพอๆกัน เราจะชนะไปทำไม ในเมื่อเราช่วยกันย่ำยีหลักการและวิถีทางประชาธิปไตย จนไม่เหลืออะไรที่น่าเคารพอีกต่อไป

ยอมเจ็บตัวระทมทุกข์กับปัจจุบัน แล้วต่อสู้อย่างยึดมั่นในหลักการกันต่อไปดีกว่า อย่างน้อยเราจึงจะสามารถยืดอกเชิดหน้าได้อย่าสง่างาม

หาไม่แล้ว จะเหลือเกียรติภูมิอะไรในตัวเราเองอันควรค่าแก่การเคารพอีก



 

บทความวิชาการฟรีที่ผ่านมา ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 650 เรื่อง หนากว่า 8500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

 

คำโปรย คัดลอกมาจากบทความ เพื่อให้มองเห็นเนื้อความที่น่าสนใจบางส่วน
บทความชิ้นนี้เขียนให้แก่ น.ส.พ. The Nation แต่ไม่ได้รับการตีพิมพ์ด้วยเหตุผลว่า แรงเกินไป (too strong)
โดยอธิบายว่า หนังสือพิมพ์มีข้อจำกัดมากมายรวมทั้งจากกฎหมายหมิ่นฯ
เริ่มแรกนั้น ผู้เขียนเขียนจดหมายวิพากษ์วิจารณ์ข้อเขียนใน The Nation ฉบับวันที่ 5 September 2005 เกี่ยวกับหนังสือ พระราชอำนาจ ของประมวล รุจนเสรี แต่จดหมายดังกล่าวไม่ได้รับการตีพิมพ์ ผู้เขียนเข้าใจ (ผิด)ว่า The Nation ไม่อยากตีพิมพ์ข้อเขียนซึ่งผู้เขียนเองนำไปเผยแพร่สู่สาธารณะในที่อื่นแล้ว (หมายถึง webboard ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน # 07472) ดังนั้น เมื่อได้รับคำแนะนำว่า น่าจะเขียนเป็นบทความเต็มฉบับแสดงความเห็นให้กระจ่างขึ้นให้แก่ The Nation บทความชิ้นนี้จึงเกิดขึ้น แต่ปรากฏว่า ไม่ได้รับการตีพิมพ์อยู่ดีด้วยเหตุผลข้างต้น
ผู้เขียนจึงขออนุญาตมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเผยแพร่บทความชิ้นนี้ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเห็นว่าเป็นการแสดงความเห็นอย่างสุจริตใจ มีเหตุผลข้อมูลน่าสนใจ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน โดยมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับความเห็นใดๆในบทความ จึงยินดีเผยแพร่บทความภาษาอังกฤษ ณ ที่นี้เป็นแห่งแรก
ผู้เขียนกำลังตรวจแก้และปรับปรุงเพิ่มเติมฉบับภาษาไทยเพื่อเผยแพร่ต่อไป

H