ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

R
related topic
070948
release date

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 660 หัวเรื่อง
ลิขสิทธิ์ในโลกตะวันตก
สมเกียรติ ตั้งนโม
: เรียบเรียง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความบริการฟรี ม.เที่ยงคืน
The Midnight 's free article

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 50,000 สูงสุด 75,000 สำรวจเมื่อเดือน ส.ค. 48
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า
ลิขสิทธิ์ในโลกตะวันตก : นิยามความหมายและสารัตถะ

สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนลำดับที่ 660
Copyright From Wikipedia, the free encyclopedia

เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 20 หน้ากระดาษ A4)



นิยามความหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์(copyright) คือสิทธิผูกขาดต่างๆ ที่อนุญาตให้โดยรัฐบาล และจำกัดด้วยช่วงเวลาหนึ่งเพื่อควบคุมดูแลการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างที่สร้างขึ้นด้วยรูปแบบเฉพาะ หรือวิธีการซึ่งความคิด(ไอเดีย)หรือข่าวสารข้อมูลหนึ่ง ได้รับการแสดงออกในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ลิขสิทธิ์อาจคงอยู่ในรูปแบบต่างๆที่กว้างมากของการสร้างสรรค์ เช่น รูปแบบทางศิลปะ หรือผลงานต่างๆ. สิ่งเหล่านี้รวมถึง ผลงานทางวรรณกรรม, ภาพยนตร์, งานเพลง, การบันทึกเสียง, งานจิตรกรรม, ภาพถ่าย, ซอฟท์แวร์, และการออกแบบอุตสาหกรรมต่างๆ. ลิขสิทธิ์จัดอยู่ในรูปแบบอย่างหนึ่งของทรัพย์สินทางปัญญา

กฎหมายลิขสิทธิ์ เพียงครอบคลุมรูปแบบที่มีลักษณะเฉพาะ หรือวิธีการซึ่งไอเดียหรือข่าวสารข้อมูลได้ถูกนำเสนอในลักษณะเจาะจงเท่านั้น. ลิขสิทธิ์ไม่ได้รับการออกแบบหรือตั้งใจให้ครอบคลุมแนวความคิด, ข้อเท็จจริง, สไตล์หรือเทคนิคที่อาจได้รับการทำให้ปรากฏเป็นรูปร่างขึ้น หรือถูกนำเสนอโดยไอเดียหรือข้อมูลข่าวสารนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น

ลิขสิทธิ์ซึ่งดำรงอยู่ในความสัมพันธ์กับการ์ตูน Mickey Mouse คือการห้ามหรือไม่ยินยอมให้บุคคลที่สามทำการเผยแพร่การ์ตูนรูปดังกล่าว หรือสร้างผลงานอนุพันธ์(ที่แตกกิ่งก้านสาขา)ดังกล่าว โดยสำเนาหรือเลียนแบบการ์ตูนหนู(mouse)ที่มีลักษณะเฉพาะของ Disney อันนี้ แต่ไม่ได้ห้ามการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเกี่ยวกับหนูที่พูดถึงนี้ทั่วๆไป

การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์และการบังคับใช้ (Obtaining and enforcing copyright)
โดยแบบแผนแล้ว ผลงานจะต้องมีมาตรฐานต่างๆขั้นต่ำของความเป็นต้นฉบับซึ่งมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อที่จะมีคุณสมบัติสำหรับการมีลิขสิทธิ์ และลิขสิทธิ์จะหมดอายุลงหลังจากช่วงเวลาหนึ่งถ้าไม่ได้มีการขยายเวลาออกไป

ประเทศที่ต่างกันก็จะมีการกำหนดกฎเกณฑ์การตรวจสอบแตกต่างกันไป แม้ว่าโดยทั่วไป ข้อบังคับทั้งหลายจะอยู่ในขั้นต่ำ ตัวอย่างเช่น ในสหราชอาณาจักร(อังกฤษ) จะต้องมี"ทักษะบางอย่าง, ความเป็นต้นฉบับและผลงาน" ที่มีลักษณะร่วมกันอันนั้น. แต่อย่างไรก็ตาม จำนวนเล็กๆน้อยๆของคุณสมบัติเหล่านี้ก็เป็นการเพียงพอแล้วสำหรับพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการคัดลอก ที่ไปเกี่ยวพันกับการละเมิดหรือฝ่าฝืนการแสดงออกในเชิงริเริ่มสร้างสรรค์ของผู้เขียน หรือผู้สร้าง

ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งไม่นานมานี้เอง ลิขสิทธิ์เป็นเรื่องที่มีขึ้นมาได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งมีผลทำให้มันคล้ายคลึงกับสิทธิในทรัพย์สิน(property right). ด้วยเหตุดังนั้น ลิขสิทธิ์จึงไม่ต้องถูกให้หรือได้รับมาโดยผ่านการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการกับหน่วยงานรัฐ. ลิขสิทธิ์จะทำหน้าที่แสดงออกถึงการปกป้องคุ้มครองสื่อกลางที่กำหนดหรือมีลักษณะเฉพาะอันหนึ่ง (อย่างเช่น งานวาดเส้น(drawing), งานเขียนทางด้านดนตรี, วิดีโอเทป หรือตัวหนังสือ) ผู้ถือครองลิขสิทธิ์ก็พร้อมที่จะใช้ข้อบังคับในการมีสิทธิต่างๆที่ผูกขาดเป็นการเฉพาะตัวของเขาหรือเธอได้ในทันที

แต่อย่างไรก็ตาม ขณะที่ลิขสิทธิ์ไม่ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ สำหรับผู้เขียนหรือผู้สร้างเพื่อการมีสิทธิผูกขาดเฉพาะตัวของเขา คำถามคือการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ผลงานจะมีประโยชน์อย่างไร? สำหรับประโยชน์ก็คือ มันจะทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นหลักฐานขั้นต้นทั่วๆไปเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ ซึ่งมีผลทางกฎหมายหรือเป็นทางการ และทำให้ผู้ถือครองลิขสิทธิ์ใช้ตรวจสอบความเสียหายที่ตราเป็นกฎหมายบังคับใช้นั้น และแสวงหาค่าธรรมเนียมลิขสิทธิ์ของตัวแทนผู้รับมอบอำนาจ (ในขณะที่การจดทะเบียนหลังจากการฝ่าผืนหรือละเมิด เพียงทำให้ผู้เป็นเจ้าของ สามารถได้รับค่าเสียหายจริงและผลประโยชน์ต่างๆเท่านั้น - แต่ไม่ได้ค่าธรรมเนียม)

ผู้เป็นเจ้าของต้นฉบับลิขสิทธิ์อาจเป็นตัวของผู้ว่าจ้างตัวผู้เขียนหรือผู้สร้าง ถ้าผลงานนั้นเป็น"ผลงานที่มีการว่าจ้าง". สำหรับ หลักการดังกล่าวเป็นเรื่องกว้างๆ ยกตัวอย่างในกฎหมายอังกฤษ ซึ่งเรียกว่า Copyright Designs and Patents Act 1988 ระบุว่า ผลงานชิ้นหนึ่ง ที่มีลิขสิทธิ์อยู่ ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยลูกจ้างคนหนึ่งในระหว่างการจ้างงานนั้น ลิขสิทธิ์จะกำหนดโดยอัตโนมัติให้เป็นของนายจ้าง

โดยทั่วไปแล้ว ลิขสิทธิ์มีผลบังคับใช้โดยผู้เป็นเจ้าของในศาลกฎหมายแพ่ง แต่มันมีสถานะของการฝ่าฝืนหรือละเมิดในเชิงอาญาด้วย. การลงโทษทางอาญาโดยทั่วไปแล้ว ได้รับการวางเป้าที่กิจกรรมการปลอมแปลงเป็นประการสำคัญ แต่ปัจจุบันกลายเป็นเรื่องธรรมดา ดังที่เรื่องของลิขสิทธิ์ต่างๆ อย่าง the RIAA (RIAA Recording Industry Association of America)กำลังตั้งเป้าไปที่ file sharing สำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ตตามบ้านมากขึ้นเรื่อยๆ

อย่างไรก็ตาม จวบกระทั่งปัจจุบัน กรณีต่างๆเหล่านี้ปกติแล้ว ได้รับการระงับหรือตกลงกันภายนอกศาล โดยการเรียกร้องให้มีการจ่ายเงินหลายพันเหรียญ ประกอบกับการไม่มีการคุกคามเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีพวก file sharer ไปมากกว่านี้ ดังนั้นกรณีที่ยกมาข้างต้นจึงไม่ได้ถูกนำไปสู่ศาลแพ่งในความเป็นจริงเท่าไรนัก

วิธีการลิขสิทธิ์ในประเทศอังกฤษ (UK copyright methodology)
กฎหมายอังกฤษกำหนดเอาไว้ว่า ผลงานของปัจเจกบุคคลใดก็ตาม จะได้รับการวินิจฉัยให้ได้มาซึ่งลิขสิทธิ์โดยทันทีภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ หากมันได้ฝากความคิด-จิตใจของบุคคลนั้นเอาไว้ และได้ถูกกำหนดในรูปลักษณ์ทางกายภาพบางอย่างเป็นการเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นงานจิตรกรรม, ผลงานทางดนตรีที่ถูกเขียนลงในกระดาษ, หรือแผนผังทางสถาปัตยกรรมก็ตาม

ในรูปของกายภาพ ตราบเท่าที่มันเป็นผลงานริเริ่มสร้างสรรค์ชิ้นหนึ่ง มันจะได้รับลิขสิทธิ์โดยอัตโนมัติแก่คนๆนั้น. แต่อย่างไรก็ตาม อันนี้ยังไม่น่าเชื่อถือ เมื่อบุคคลนั้นมีเพียงคำพูดของตัวเขาที่จะพิสูจน์ว่ามันคือต้นฉบับและผลงานของตัวเขาเองจริง. ปฏิบัติการง่ายๆและธรรมดาที่สุดสำหรับเรื่องนี้ที่จะได้รับการพิจารณาว่า เป็นข้อพิสูจน์ถึงการหลอกลวงหรือไม่ก็คือ การใส่ข้อความดังกล่าวลงในซองจดหมายหรือหีบห่ออันหนึ่งพร้อมด้วยเอกสารซึ่งได้รับการเซ็นชื่อกำกับโดยคนหลายๆคนที่ระบุว่า พวกเขาได้ตรวจสอบผลงานนั้นแล้วก่อนที่จะได้รับการปิดผนึกและนั่นคือต้นฉบับที่แท้จริง. เมื่อซองหรือหีบห่อนี้ถูกผนึกแล้ว จะถูกส่งทางไปรษณีย์ไปยังบ้านของผู้เป็นเจ้าของ โดยการรส่งที่มีการบันทึกอย่างถูกต้อง

ซึ่งการกระทำข้างต้น ไม่เพียงพิสูจน์ว่า เมื่อใดที่ผลงานชิ้นนี้ได้รับการสร้างขึ้น แต่จะรู้ด้วยว่าใครเป็นคนเขียนต้นฉบับผลงานชิ้นดังกล่าว และนั่นคือข้อพิสูจน์ความจริงที่มีการลงนามรับรองว่า มันคือต้นฉบับที่แท้จริง และเมื่อกระบวนการดังกล่าวนี้เสร็จสมบูรณ์ หีบห่อหรือซองจดหมายนั้นและเนื้อหาต่างๆสามารถถูกนำมาใช้ได้ในศาล ในฐานะที่เป็นหลักฐานชิ้นหนึ่ง ถ้าหากว่ามีความจำเป็น

สิทธิผูกขาด(เฉพาะตัว) เกี่ยวกับผู้ถือครองลิขสิทธิ์ (The exclusive rights of the copyright holder)
สิทธิผูกขาดเฉพาะตัวต่างๆ โดยแบบแผนแล้ว ผูกพันกับผู้ครอบครองลิขสิทธิ์ ดังนี้:

- สามารถผลิต หรือทำสำเนาเกี่ยวกับผลงาน และขายสำเนาเหล่านั้นได้ (รวมทั้ง การสำเนาด้วยเครื่องไฟฟ้า เช่น การถ่ายเอกสาร เป็นต้น)
- สามารถนำเข้าและส่งออกผลงานได้
- สร้างสรรค์ผลงานอนุพันธ์ได้
- สามารถนำเสนอหรือนำออกแสดงผลงานในที่สาธารณะได้
- จำหน่ายจ่ายแจก หรือกำหนดมอบหมายสิทธิต่างๆเหล่านี้ให้กับผู้อื่นได้

วลี"สิทธิผูกขาดเฉพาะตัว"(exclusive right) หมายความว่า เพียงเฉพาะผู้ครอบครองลิขสิทธิ์ มีอิสระที่จะดำเนินการเกี่ยวกับสิทธิในการเป็นผู้ดูแลต่างๆ และคนอื่นจะถูกห้ามการกระทำใดๆเกี่ยวกับมัน โดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครองลิขสิทธิ์

บ่อยทีเดียว ลิขสิทธิ์ได้รับการเรียกขานว่า "สิทธิภาคเสธ"(negative right) ดังที่มันทำหน้าที่ห้ามผู้คนทั้งหลาย (ตัวอย่างเช่น ผู้อ่าน, ผู้ดู, หรือผู้ฟังทั้งหลาย)กระทำการบางสิ่งบางอย่าง มากกว่าที่จะอนุญาตให้ผู้คนทั้งหลายกระทำบางสิ่งบางอย่าง. ในหนทางนี้ มันมีความคล้ายคลึงกับสิทธิการไม่จดทะเบียนในกฎหมายอังกฤษ และกฎหมายยุโรป

อย่างไรก็ตาม ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งปฏิเสธการยืนยันหรือการอ้างสิทธิ์ข้างต้น โดยมีฐานอยู่บนการตีความทางปรัชญาเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ในฐานะที่เป็นแก่นอันหนึ่ง และไม่ถูกแบ่งปันอย่างเป็นสากล นอกจากนี้ยังมีการถกเถียงกันด้วยว่า ลิขสิทธิ์ควรได้รับการพิจารณาในฐานะที่เป็นสิทธิทางทรัพย์สิน(property right) หรือสิทธิทางศีลธรรม(moral right)

ผู้คนเป็นจำนวนมากถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ลิขสิทธิ์ไม่ได้ดำรงอยู่เพียงเพื่อจำกัดบุคคลที่สามจากการตีพิมพ์ความคิดต่างๆและข้อมูลข่าวสารเท่านั้น และการนิยามลิขสิทธิ์อย่างบริสุทธิ์ในฐานะที่เป็นสิทธิภาคเสธอันหนึ่ง เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับนโยบายสาธารณะ ที่มีวัตถุประสงค์ในการกระตุ้นสนับสนุนบรรดาผู้เขียนหรือผู้สร้างทั้งหลาย ให้สร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆออกมา และทำให้ขอบเขตปริมณฑลสาธารณะร่ำรวยหรือมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น

ในสหรัฐอเมริกา ศัพท์คำว่า"ลิขสิทธิ์"(copyright) และ"สิทธิบัตร"(patent) ไม่มีปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้เพราะพวกมันเป็นเพียงรูปแบบต่างๆ ของสิทธิผูกขาดเฉพาะตัว ที่หน่วยงานทางด้านนิติบัญญัติของอเมริกันได้รับการให้อำนาจที่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ เพื่อรับประกันในการบรรลุถึงวัตถุประสงค์แห่งรัฐเกี่ยวกับ "การส่งเสริมความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ และศิลปกรรมต่างๆที่เป็นประโยชน์"

ยกตัวอย่างเช่น ตามมาตร 1, ตอนที่ 8, วรรคที่ 8 ระบุว่า: "สภาคองเกรสมีอำนาจ […] ที่จะให้การส่งเสริมความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และศิลปะที่เป็นประโยชน์ โดยการรับประกันด้วยช่วงเวลาที่จำกัดช่วงหนึ่ง เพื่อให้นักเขียนหรือนักประดิษฐ์ทั้งหลายมีสิทธิผูกขาดเฉพาะตัว สำหรับงานเขียนและการค้นพบต่างๆ โดยลำดับ")
(according to Article I, Section 8, Clause 8: "Congress shall have Power [...] To promote the Progress of Science and useful Arts, by securing for limited Times to Authors and Inventors the exclusive Right to their respective Writings and Discoveries.").

ข้อจำกัดและข้อยกเว้นบางอย่างเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ (Limits and exceptions to copyright)
การแสดงออกถึง "ข้อจำกัดต่างๆและข้อยกเว้นทั้งหลายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์" อ้างถึงสถานการณ์ต่างๆที่สิทธิผูกขาดเฉพาะตัว ซึ่งได้ให้กับผู้เขียนทั้งหลาย (หรือผู้รับโอนสิทธิ์ต่างๆของพวกเขา)ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ ห้ามนำไปใช้


ตัวอย่างที่สำคัญ 2 ตัวอย่างเกี่ยวกับข้อจำกัดและข้อยกเว้นในเรื่องลิขสิทธิ์คือ fair use หรือหมายถึง เงื่อนไขต่างๆซึ่งสามารถนำเนื้อหา(วัสดุ)ที่มีลิขสิทธิ์ ไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าธรรมเนียม ซึ่งหลักการนี้มีในสหรัฐอเมริกา, และ fair dealing ซึ่งพบได้ในหลายๆประเทศภายใต้กฎหมาย common law (กฎหมายจารีตประเพณี)

ขอบเขตเกี่ยวกับข้อจำกัดและข้อยกเว้นในเรื่องลิขสิทธิ์ โดยทั่วไปแล้ว เป็นหัวข้อหนึ่งที่มีการถกเถียงกันอย่างมีนัยสำคัญในประชาชาติต่างๆอย่างหลากหลาย ส่วนใหญ่เนื่องมาจาก ผลกระทบเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิตอล และการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับ"การต่อต้านกฎระเบียบการกีดกั้นหรือจำกัด"(anti-circumvention rules) เพื่อเป็นการโต้ตอบกับ WIPO Copyright Treaty หรือสนธิสัญญาลิขสิทธิ์ของ WIPO
(WIPO - world Intellectual Property Organization - องค์กรทรัพย์สินทางปัญญาโลก)

บรรดาผู้ปกป้องเกี่ยวกับการยกเว้นเรื่องลิขสิทธิ์กลัวว่า เทคโนโลยี DRM จะลดทอนขอบเขตข้อยกเว้นต่างๆ ที่สำคัญลงไปมาก. ส่วนฝ่ายตรงข้ามของพวกเขาเชื่อว่า ถ้ายังคงมีข้อยกเว้นต่างๆ ให้ดำรงอยู่ต่อไป พวกเขาก็จะต้องยอมให้มีการทำสำเนาส่วนตัว และ/หรือ การละเมิดลิขสิทธิ์จำนวนมาก - ถ้าหากว่าบรรดาผู้บริโภคทั้งหลายสามารถที่จะก็อปปี้ CD ได้สำหรับใช้ในรถยนต์ พวกเขาก็สามารถที่จะให้ MP3 กับทุกๆคนได้

ข้อจำกัดและข้อยกเว้นต่างๆ ยังเป็นหัวเรื่องเกี่ยวกับกฎข้อบังคับที่มีนัยสำคัญในสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้วย. สนธิสัญญาเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วประสานสอดคล้องไปกับสิทธิผูกขาดเฉพาะตัว ซึ่งจะได้รับการได้มาโดยกฎหมายลิขสิทธิ์ต่างๆ, และการตรวจสอบสามขั้นตอนกรุงเบิร์น(the Berne three-step test - ดูหัวข้อถัดไป) จะทำหน้าที่เป็นตัวทดสอบ ซึ่งทำหน้าที่บังคับใช้ข้อยกเว้นและข้อจำกัดต่างๆเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ชนิดต่างๆ ที่แต่ละชาติสามารถที่จะประกาศใช้เป็นกฎหมายได้

ในอีกด้านหนึ่งนั้น สนธิสัญญาลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ เกือบไม่ได้วางข้อกำหนดหรือข้อบังคับใดๆกับรัฐบาลชาติต่างๆ ที่จะจัดหาข้อยกเว้นทั้งหลายจากสิทธิผูกขาดเฉพาะตัวทั้งหลาย (หนึ่งในข้อยกเว้นที่น่าสังเกตในที่นี้ก็คือ มาตรา 10 (1) เกี่ยวกับสนธิสัญญากรุงเบิร์น(the Berne Convention) ซึ่งรับรองสิทธิขอบเขตอันหนึ่งที่จะทำการอ้างอิง(quotation - ยกคำพูดมา) จากงานที่มีลิขสิทธิ์ได้

การตรวจสอบ 3 ขั้นตอนของสนธิสัญญากรุงเบิร์น (Berne thress-step test)
การทดสอบ 3 ขั้นตอนของกรุงเบิร์นคือ ชุดหนึ่งของข้อบังคับควบคุมบนข้อจำกัดและข้อยกเว้นต่างๆ เกี่ยวกับสิทธิผูกขาดเฉพาะตัวทั้งหลาย ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์แห่งชาติ. แรกสุดมันถูกประยุกต์ใช้กับสิทธิผูกขาดเฉพาะตัวเกี่ยวกับการทำซ้ำโดยมาตรา 9 (2) ของสนธิสัญญากรุงเบิร์น เพื่อปกป้องคุ้มครองงานวรรณกรรมและงานศิลปะในปี ค.ศ.1967

นับจากนั้นมา มันได้รับการยักย้ายและขยายเข้าไปสู่ข้อตกลงทริปส์(TRIPs Agreement), the WIPO Copyright Treaty, the EU Copyright Directive และ the WIPO Performances and Phonograms Treaty.

ข้อความที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับการตรวจสอบนั้น ถูกรวมอยู่ในมาตรา 13 ของ TRIPs มีใจความว่า

สมาชิกทั้งหลายจะจำกัดขอบเขตและข้อยกเว้นต่างๆ เกี่ยวกับสิทธิผูกขาดเฉพาะตัวใน "กรณีพิเศษบางอย่าง"(1) ซึ่ง"ไม่ไปขัดแย้งกับการได้ประโยชน์ตามปกติเกี่ยวกับผลงาน"(2) และ"ไม่มีอคติอย่างไร้เหตุผลกับผลประโยชน์ต่างๆ ตามกฎหมายเกี่ยวกับผู้ครอบครองสิทธิ์อันนั้น"(3)
(Members shall confine limitations and exceptions to exclusive rights to certain special cases which do not conflict with a normal exploitation of the work and do not unreasonably prejudice the legitimate interests of the rights holder.)
(การตรวจสอบ 3 ขั้นตอน ได้มีการใส่เครื่องหมายคำพูดและมีวงเล็บข้างท้ายเอาไว้ให้เป็นข้อสังเกต)

เหตุผลในทางเทคนิคเกี่ยวกับกฎหมาย ได้ถูกใช้เพื่อเสนอว่า คำหรือข้อความนี้ที่มีความหมายซ่อนเร้นอยู่ควรได้รับการตีความ. ก่อนหน้านี้ เพียงกรณีเดียว(ก่อน WTO จะมีการถกเถียงกันในหมู่คณะกรรมการเพื่อตกลงกัน) อันนี้เกี่ยวพันกับการยกเว้นลิขสิทธิ์ต่างๆในสหรัฐฯ ที่ยอมให้ภัตตาคาร, บาร์ และร้านค้าต่างๆ เปิดวิทยุและโทรทัศน์โดยไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาต, อย่างไรก็ตาม ผ่านมาในปี ค.ศ.1998 ได้มีการปรับปรุงข้อความเพิ่มเติมใน พ.ร.บ. the Sonny Bono Copyright Term Extension Act ซึ่งอันที่จริงต้องมีการตีความเกี่ยวกับการตรวจสอบดังกล่าว


การตรวจสอบ 3 ขั้นตอน อาจพิสูจน์ให้เห็นถึงเรื่องที่สำคัญมากๆ ถ้าประเทศใดก็ตามพยายามที่จะไปลดทอนขอบเขตของกฎหมายลิขสิทธิ์ลงมา เพราะนอกจาก WTO จะตัดสินว่า การแก้ไขดัดแปลงของพวกเขา จะต้องเป็นไปตามขั้นตอนการตรวจสอบดังกล่าวแล้ว ยังเป็นไปได้ที่ว่า หากรัฐต่างๆไม่ปฏิบัติหรือดำเนินการไปตามนั้น ก็จะต้องเผชิญกับการลงโทษทางการค้าตามมา

แบบทดสอบ(ตรวจสอบ) 3 ขั้นตอนยังสามารถถูกพบได้ในมาตรา 10 ของ WIPO Copyright Treaty, มาตรา 6(3) ของ Council Directive 91/250/EEC of 14 May 1991 on the legal protection of computer programs, มาตรา 6(3) ของ Directive 96/9/EC of the European Parliament and of the Council of 11 March 1996 on the legal protection of databases และมาตรา 5(5) ของ Directive 2001/29/EC of the European Parliament and of the Council of 22 May 2001 on the harmonisation of certain aspects of copyright and related rights in the information society ด้วย

References
1. Ficsor M. 2002 How much of what? The "three-step test" and its application in two recent WTO dispute settlement cases, Revue Internationale du Droit D'auteur 192 pp 110-251.

2. Ginsburg, J.C. 2001 Toward supranational copyright law? The WTO Panel decision and the "thee-step test" for copyright exceptions, Revue Internationale du Droit D'auteur 187, p 3.

3. World Trade Organisation 2000 Dispute Resolution Panel Report on Section 110(5) of the United States Copyright Act, http://www.wto.org/english/tratop_e/dispu_e/1234da.pdf


สองขั้วของการแสดงออกทางความคิด และหลักการรวมเข้าด้วยกัน
(Idea-expression dichotomy and the merger doctrine)
ในกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา การแบ่งแยกการแสดงออกทางความคิดเป็นหลักการอันหนึ่ง ซึ่งกำหนดเอาไว้ว่า หน้าที่ของกฎหมายดังกล่าวก็คือ ปกป้องการแสดงออกที่มีลักษณะเฉพาะ(fixed expression)บางอย่าง หรือวิธีการที่ทำให้ความคิดอย่างใดอย่างหนึ่งปรากฏออกมาเป็นการเฉพาะเท่านั้น มากกว่าแนวความคิดพื้นฐานหรือข้อมูลข่าวสารซึ่งก่อให้เกิดความคิดดังกล่าว. ทั้งนี้เพราะไอเดียหรือความคิดในตัวของมันเอง ไม่อาจที่จะได้รับการปกป้องหรือคุ้มครองได้

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหนังสือเล่มหนึ่งได้รับการเขียนขึ้นเพื่ออธิบายถึงวิธีการใหม่ๆในการจัดระบบหนังสือในห้องสมุด ผู้อ่านสามารถจะใช้วิธีการอันนั้นได้อย่างอิสระ โดยปราศจากการถูกฟ้องร้องในฐานะที่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่สิ่งที่ถูกเขียนในหนังสือเล่มดังกล่าว การแสดงออกที่มีลักษณะริเริ่มหรือต้นฉบับของไอเดีย-ความคิดอันนั้น ไม่อาจที่จะถูกคัดลอกหรือก็อปปี้ได้. (แต่สำหรับใครคนหนึ่งซึ่งได้รับสิทธิบัตรสำหรับวิธีการดังกล่าว อันนี้ถือว่าเป็นประมวลกฎหมายที่แยกออกไปต่างหาก ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้)

ถ้าเป็นศิลปะที่อยู่บนปกหนังสือ ศิลปะนั้นอาจได้รับลิขสิทธิ์คุ้มครองด้วย. ถ้าหากว่ารายชื่อต่างๆของหนังสือเป็นข้อเท็จจริงต่างๆ ใครคนหนึ่งอาจกล่าวว่ามันไม่ใช่ต้นฉบับหรือความคิดริเริ่ม, แต่ถ้าเผื่อว่าข้อเท็จจริงต่างๆดังกล่าว ได้ถูกคัดสรรและจัดการในวิธีการใดวิธีการหนึ่งซึ่งเป็นความคิดริเริ่ม หนังสือเล่มดังกล่าวก็อาจได้รับลิขสิทธิ์คุ้มครองให้เป็นไปตามประมวลกฎหมาย

การตัดสินคดีในประเทศอังกฤษเกี่ยวกับ Donoghue v. Allied Newspapers Ltd (1938) Ch 106, ศาลได้ให้เหตุผลว่า "บุคคลซึ่งได้ตกแต่งไอเดียหรือความคิดในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะด้วยภาพ, บทละคร, หรือหนังสือ" บุคคลนั้นได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ดังกล่าว. ที่ยิ่งน่าประทับใจไปกว่านั้น, Latham CJ ในการตัดสินชาวออสเตรเลียนเกี่ยวกับ Victoria Park Racing and Recreation Grounds Co. Ltd v. Taylor (1937) 58 CLR 479 และ 498 ได้ให้เหตุผลว่า ถ้าหากว่าคุณเป็นคนแรกที่ประกาศว่า ชายคนหนึ่งตกลงมาจากรถเมล์ คุณไม่สามารถใช้กฎหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ได้เพื่อหยุดยั้งคนอื่นจากการนำเสนอข้อเท็จจริงดังกล่าว

บางศาลนั้นได้ให้การยอมรับว่า มีไอเดียหรือความคิดบางอย่างเป็นการเฉพาะ ที่สามารถได้รับการแสดงออกให้เข้าใจได้ง่ายเพียงวิธีการเดียว หรือด้วยวิธีการที่มีข้อจำกัดจำนวนหนึ่งเท่านั้น. ด้วยเหตุนี้ การแสดงออกในสถานการณ์ต่างๆเหล่านั้น จึงไม่ได้รับการคุ้มครอง หรือหากจะมีการการจำกัดกับการคัดลอกก็เป็นเพียงแต่เฉพาะคำต่อคำเท่านั้น

ในสหรัฐอเมริกา อันนี้ถูกรู้จักในฐานะที่เป็นหลักการหลอมรวม(merger doctrine - การเกลื่อนกลืนกัน) เพราะการแสดงออกดังกล่าวได้รับการพิจารณาว่า เป็นการหลอมรวมกับไอเดียต่างๆอย่างไม่อาจแยกออกจากกันได้. การหลอมรวม(การเกลื่อนกลืนกัน) บ่อยครั้ง ได้รับการยกขึ้นมาเป็นการแก้ต่างในฐานะที่เป็นการยืนยันและปกป้องสำหรับข้อกล่าวหาต่างๆเกี่ยวกับการละเมิด

หลักการ first-sale (exhaustion of rights)
ในกฎหมายลิขสิทธิ์ ไม่ได้ห้ามใครขายซ้ำหรือขายต่อก็อปปี้ที่ได้มาอย่างถูกกฎหมายกับงานที่มีลิขสิทธิ์ กฎหมายระบุว่า ก็อปปี้เหล่านั้น เดิมที่ถูกผลิตขึ้นมาโดยหรือด้วยการอนุญาตของผู้ครอบครองลิขสิทธิ์ เหตุนี้ มันจึงถูกต้องตามกฎหมายที่จะขายต่อหนังสือที่มีลิขสิทธิ์หรือ CD

ในสหรัฐอเมริกา การกระทำดังกล่าวข้างต้นถูกรู้จักในฐานะที่เป็น first-sale doctrine, และได้รับการบัญญัติขึ้นมาโดยศาลต่างๆ เพื่อทำให้มันมีเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายชัดเจนขึ้น เกี่ยวกับการขายต่อหนังสือในร้านขายหนังสือมือสอง. The first-sale doctrine ยังถูกรู้จักในฐานะ exhaustion of rights ในประเทศอื่นๆ และเป็นหลักการอันหนึ่งซึ่งประยุกต์ใช้กับสิทธิในทรัพยสินทางปัญญาต่างๆด้วย

แน่นอน อาจเกิดข้อสงสัยว่าทำไมสิทธิเฉพาะตัวในการขายงานก็อปปี้ของใครคนหนึ่ง ต้องได้รับการตระเตรียมขึ้นมาเป็นพิเศษโดยกฎหมาย ดังเช่นการขายงานก็อปปี้ต่างๆที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือยินยอม ทั้งนี้เพราะเหตุผลดังที่ชี้แจงไว้แล้วข้างต้น นอกจากนี้ลิขสิทธิ์, ในกรณีส่วนใหญ่ยังไม่ได้ห้ามใครคนหนึ่งจากการกระทำ อย่างเช่น ดัดแปลงแก้ไข, ทำให้เสียรูป, หรือทำลายก็อปปี้ที่ได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมายของเขาหรือเธอ เกี่ยวกับงานที่มีลิขสิทธิ์ต่างๆ ตราบใดที่ไม่ไปเกี่ยวข้องกับการทำซ้ำหรือสำเนา แต่อย่างไรก็ตาม ในหลายๆประเทศมีการใช้สิทธิทางศีลธรรม(moral right), ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ในบางกรณี ซึ่งสามารถที่จะปกป้องคุ้มครองการทำให้เกิดเสียหาย หรือทำลายผลงานที่พบเห็นแก่สาธารณชนได้

สิทธิการใช้ประโยชน์โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม (Fair use and fair dealing)
(ศัพท์คำว่า Fair Use หมายถึงภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ซึ่งคุณสามารถใช้วัสดุหรือเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ - การใช้ประโยชน์โดยไม่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์)

ลิขสิทธิ์ไม่ได้ห้ามการคัดลอก หรือสำเนาหรือการจำลองทั้งหมด ในสหรัฐอเมริกา หลักที่เรียกว่า fair use doctrine ได้รับการเขียนขึ้นเป็นประมวลกฎหมาย Copyright Act of 1976 as 17 U.S.C. Section 107 หรือ พรบ. ลิขสิทธิ์ปี 1976 ข้อที่ 17 U.S.C. มาตราที่ 107 โดยอนุญาตให้คัดลอกและเผยแพร่ได้. แต่อย่างไรก็ตาม ในพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ได้มีการให้นิยามอย่างชัดเจน แต่ได้ให้เงื่อนไขต่างๆ เอาไว้ 4 ข้อเกี่ยวกับการไม่ผูกขาดสิทธิ์ เพื่อพิจารณาและใช้ในการวิเคราะห์เกี่ยวกับ fair use นี้แทน

ในสหราชอาณาจักร(อังกฤษ) และประเทศเครือจักรภพเป็นจำนวนมาก, ความคิดในทำนองเดียวกันนี้ได้รับการเรียกว่า fair dealing ซึ่งได้รับการบัญญัติขึ้นมาโดยศาลต่างๆ หรือผ่านสภานิติบัญญัติเป็นกฎหมาย. แนวความคิดดังกล่าว บางครั้ง ก็ไม่ได้มีการนิยามอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามในประเทศคานาดา การคัดลอกเป็นการส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ถือว่าได้รับการอนุญาตให้ทำได้อย่างชัดเจนโดยมี พรบ.รองรับนับจากปี 1999 เป็นต้นมา

ในสหรัฐอเมริกา the AHRA (Audio Home Recording Act Codified in Section 10, 1992 หรือ พรบ.เกี่ยวกับการบันทึกเสียงในบ้าน ที่ถูกประมวลไว้ในมาตราที่ 10, 1992 โดยห้ามกระทำการใดๆต่อผู้บริโภคที่ทำการบันทึกเพลงหรือดนตรีโดยอ้างการไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหรือการพาณิชย์

มาตราที่ 1008. ห้ามการกระทำใดๆที่เป็นการฝ่าฝืนบางอย่าง กล่าวคือ

ห้ามการกระทำใดๆ ที่อาจนำมาใช้อ้างเพื่อละเมิดหรือฝ่าฝืนเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ โดยมีพื้นฐานอยู่บนการผลิต, การนำเข้า, หรือการเผยแพร่เกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์เพื่อการบันทึกเสียงดิจิตอลหรืออนาล็อก, สื่อการบันทึกเสียงดิจิตอลหรืออนาล็อก, โดยหลักการใช้ประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยผู้บริโภคเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์หรือสื่อกลางนั้น เพื่อทำการบันทึกเสียงเพลงหรือเสียงดนตรีดิจิตอลหรืออนาล็อกต่างๆ
(หมายเหตุ : สำหรับการนำไปใช้ประโยชน์จริงเกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์นี้ กรุณาตรวจทาน พรบ. ต้นฉบับ ที่ระบุเอาไว้แล้วข้างต้น เพื่อความสมบูรณ์และความชัดเจนของเนื้อหาทางกฎหมาย)

พระราชบัญญัติต่อมา ได้มีการแก้ไขปรับปรุงเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์อเมริกัน โดยระบุว่า หากมีการคัดลอกเพียงเล็กน้อย เช่นเพียงแค่ 10 ก็อปปี้ ก็จะถูกพิจารณาว่าเป็นไปเพื่อการพาณิชย์โดยทันที และในพระราชบัญญัติ Digital Millennium Copyright Act อนุญาตให้ (Digital Rights/Restrictions Management) ปกป้องการผลิต, การนำเข้า, หรือการเผยแพร่เกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์เกี่ยวกับการบันทึก ถ้าหากว่าสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวหลีกเลี่ยงการควบคุมการก็อปปี้หรือการทำสำเนา

ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ (History of copyright)
ผู้ประพันธ์, ผู้อุปการะ, และบรรดาผู้เป็นเจ้าของเกี่ยวกับผลงานต่างๆตลอดทุกยุคทุกสมัย ต่างพยายามที่จะชี้นำและควบคุมการทำสำเนา คัดลอก เกี่ยวกับผลงานเหล่านั้น ซึ่งสามารถนำมาใช้เผยแพร่สู่คนอื่นๆได้. ผู้อุปการะของ Mozart, Baroness von Waldstatten, ยินยอมให้บรรดาผู้ประพันธ์ของเขาแสดงดนตรีได้อย่างอิสระ ในขณะที่ผู้อุปถัมภ์ของ Handel (George I, the first of the Hanoverian kings) คอยพิทักษ์ปกป้อง"Water Music"อย่างหวงแหน
(Water Music - เป็นเพลงเห่เรือของฝรั่ง ซึ่งตามธรรมเนียมตะวันตกเวลากษัตริย์และขุนนางไปร่องเรือ จะมีเรืออีกลำที่เล่นดนตรีคลอไปด้วย เป็นการสร้างความสำราญ)

วิธีการควบคุม มักจะถูกนำมาใช้เป็นมาตรการอันหนึ่งเสมอ เพื่อไม่ยอมให้ผลงานต่างๆถูกก็อปปี้โดยความยินยอมของผู้ประพันธ์หรือผู้เป็นเจ้าของ. ห้องสมุดแห่งอเล็กซานเดรีย (The Library of Alexandria [aka "The Kings Library"]) ไม่ใช่สถานที่ซึ่งคนทั่วไปจะสามารถเดินเข้าออกและหยิบยืมหนังสือจากห้องสมุดได้. Ptolemy III ได้ใช้ช่างเงิน 15 คนที่มีพรสวรรค์เกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยยินยอมให้จำลองหรือก็อปปี้ผลงานของ Aeschylus, Sophocle และ Euripides.

ขณะที่การผูกขาดหรือเอกสิทธิ์โดยทั่วไป แน่นอนถูกเข้าใจว่าเป็นบ่อน้ำหรือความอุดมสมบูรณ์ ก่อนการคิดประดิษฐ์เกี่ยวกับการพิมพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลิขสิทธิ์ยังไม่ปรากฏว่าได้รับการพัฒนาขึ้นในฐานะที่เป็นแนวคิดหนึ่งจวบจนกระทั่งตอนนั้น

ก่อนพัฒนาการของ Gutenberg นักประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ (1390-1468) (movable type - เกี่ยวกับตัวพิมพ์ซึ่งเคลื่อนที่ได้) ซึ่งทำให้การผลิตซ้ำจำนวนมากเกี่ยวกับงานพิมพ์ต่างๆเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีราคาถูก, ซึ่งก่อนหน้านั้นกระบวนการเกี่ยวกับการก็อปปี้ผลงาน เกือบจะเป็นความเข้มข้นของแรงงานและความอุตสาหะ ซึ่งมีราคาแพงเท่าๆกันกับการสร้างต้นฉบับขึ้นมาเลยทีเดียว. ปรากฏว่าเป็น"ผู้พิมพ์"มากกว่า"ตัวผู้ประพันธ์"หรือ"ผู้สร้าง" ซึ่งเป็นคนแรกที่แสวงหากฎข้อบังคับต่างๆในการก็อปปี้งานพิมพ์ขึ้นมา

โดยเฉพาะหลังจากนั้น บรรดาผู้พิมพ์ทั้งหลายอย่างเช่นในปัจจุบัน ได้ลิขสิทธิ์จากบรรดาผู้ประพันธ์หรือผู้สร้าง ในฐานะเป็นเงื่อนไขอันหนึ่งของการผลิตซ้ำจำนวนมากเกี่ยวกับผลงาน, หนึ่งในคำวิจารณ์ทั้งหลายเกี่ยวกับระบบที่แพร่หลายโดยทั่วไปคือว่า มันให้ประโยชน์แก่บรรดาผู้พิมพ์มากกว่าที่มันให้ประโยชน์กับตัวผู้เขียนหรือผู้สร้างผลงานทั้งหลาย. อันนี้เป็นข้อถกเถียงที่สำคัญอันหนึ่งของผู้ให้การสนับสนุนระบบ peer-to-peer file sharing system (เป็นระบบเครือข่ายชนิดหนึ่ง ซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละตัวสามารถทำหน้าที่ในฐานะที่เป็น server ของเครื่องอื่นๆได้)

ขณะที่รัฐบาลต่างๆ ก่อนหน้านี้ได้ให้สิทธิผูกขาด(หรือเอกสิทธิ์)แก่บรรดาผู้พิมพ์ทั้งหลายในการขายผลงานพิมพ์ต่างๆ แนวความคิดสมัยใหม่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ที่ถือกำเนิดขึ้นในปี 1710 โดย the British Statute of Anne. กฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ แรกเริ่มเดิมที ได้ให้สิทธิผูกขาดเฉพาะตัวโดยเห็นพ้องกับ"ตัวผู้เขียน"มากกว่า"ตัวผู้จัดพิมพ์" และมันรวมถึงการปกป้องผู้บริโภคทั้งหลายเกี่ยวกับงานพิมพ์ เพื่อประกันหรือหรือรับรองความมั่นใจว่า บรรดาผู้จัดพิมพ์จะไม่อาจควบคุมการใช้ประโยชน์ของพวกเขาได้หลังจากที่ขายไปแล้ว. มันยังจำกัดช่วงระยะเวลาเกี่ยวกับสิทธิการผูกขาดนั้นด้วยเป็นเวลา 28 ปี หลังจากผลงานทั้งหมดได้ผ่านเข้าไปสู่พื้นที่สาธารณะ

สนธิสัญญากรุงเบิร์นสำหรับการปกป้องเกี่ยวกับงานวรรณกรรมและงานศิลปะ ปี ค.ศ. 1886 (The Berne Convention for the Protection of Literary and Artistic Works of 1886) ได้ถูกบัญญัติขึ้นมาครั้งแรกและเป็นที่รู้จักในฐานะเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ(ที่มีเอกราช)ต่างๆ (ลิขสิทธิ์ ยังถูกนำเสนอโดย Universal Copyright Convention of 1952, หรือสนธิสัญญาลิขสิทธิ์สากล ปี ค.ศ.1952, แต่ในทุกวันนี้ ข้อตกลงดังกล่าวส่วนใหญ่ เป็นความสนใจในเชิงประวัติศาสตร์เท่านั้น)

ภายใต้สนธิสัญญากรุงเบิร์น ลิขสิทธิ์ต่างๆสำหรับผลงานสร้างสรรค์ทั้งหลายไม่ได้เป็นการให้ แต่เป็นเรื่องการถือครองในแบบอัตโนมัติมากกว่า(คล้ายกับการครอบครองทรัพย์สิน); นักเขียนหรือผู้สร้างไม่ต้องจดทะเบียนหรือยื่นใบสมัครเพื่อที่จะได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ แต่พวกเขาจะได้มันมาโดยทันทีที่ผลงานได้ถูกจัดการเรียบร้อย นั่นคือ ได้รับการเขียนหรือบันทึกลงบนสื่อกลางทางกายภาพบางอย่าง ผู้เขียนหรือผู้สร้างผลงานชิ้นนั้นก็จะได้รับสิทธิ์โดยอัตโนมัติ เกี่ยวกับสิทธิผูกขาดเฉพาะตัวทั้งหมดต่อผลงานชิ้นดังกล่าว และผลงานอนุพันธ์ใดๆ จนกว่าผู้เขียนหรือผู้สร้างงานชิ้นนั้นจะสละสิทธิ์ดังกล่าวอย่างเปิดเผย หรือจนกระทั่งลิขสิทธิ์นั้นหมดอายุลง

การวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์ (Critiques)
บรรดานักวิจารณ์ทั้งหลายเกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์ทั้งหมด แบ่งออกกว้างๆได้เป็น 2 ค่ายด้วยกัน:

ค่ายแรก, คือบุคคลทั้งหลายที่ยืนยันว่า แนวความคิดที่แท้เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ไม่เคยเป็นเรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์หรือกำไรของสังคมเลย และมักจะเป็นเรื่องการเพิ่มพูนความร่ำรวยให้กับคนเพียงไม่กี่คนอย่างง่ายๆ ต่อการสร้างสรรค์นั้น

ค่ายที่สอง, คือกลุ่มคนที่ยืนยันว่า ระบบลิขสิทธิ์ที่มีอยู่จะต้องได้รับการปฏิรูปขึ้นมาใหม่ เพื่อธำรงรักษาความสอดคล้องของมันกับสังคมข่าวสารข้อมูลที่พัฒนาไปอย่างในปัจจุบัน

ในท่ามกลางคนกลุ่มหลัง ยังรวมถึงบางคนที่ยังคงเห็นด้วยกับลิขสิทธิ์อยู่ ในฐานะที่เป็นแนวความคิดหนึ่งที่จะให้สิทธิ์ต่างๆแก่บรรดาผู้สร้างหรือผู้เขียน แต่รู้สึกว่ามัน"มีอายุมานานเกินไปกว่าจะรับได้". การให้ลิขสิทธิ์ที่ออกจะยาวนานมากเกินไป ซึ่งบ่อยครั้งมันนานจนพ้นไปจากช่วงชีวิตของผู้เป็นเจ้าของมันเสียอีก และด้วยเหตุดังนั้น มันจึงเป็นประโยชน์โดยตรงเพียงเล็กน้อยต่อเขาหรือเธอ. อันนี้เป็นแบบหรือตัวอย่างที่มีการให้เหตุผลเพื่อร่วมกันทำการล็อบบี้ให้มีการปรับปรุงแก้ไขทางด้านกฎหมาย

นักวิจารณ์จำนวนมากมีทัศนะว่า, ปัญหาทั่วไปคือว่า ระบบลิขสิทธิ์(ระหว่างประเทศ)ที่แพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน ได้มาทำลายวัตถุประสงค์ของตัวมันเองลงไปทีละน้อยๆ (Boyle 1996, 142). แนวความคิดต่างๆเกี่ยวกับปริมณฑลสาธารณะ และอิสรภาพภายในของข้อมูลข่าวสาร(the intrinsic freedom of information)นั้น เป็นภาษิตต่างๆที่สำคัญสำหรับบรรดานักสร้างสรรค์ทั้งหลาย ที่ทำให้สามารถสร้างผลงานออกมาในรูปการแสดงออกที่ได้รับการตีพิมพ์. แต่สิ่งเหล่านี้กำลังได้รับการกัดกร่อนอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังเช่นกรณีต่างๆเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ที่ถูกขยายเวลาออกไปซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนในที่สุด เกินกว่าช่วงชีวิตของผู้รับ(ผู้ชมหรือผู้อ่าน) ซึ่งมีประสบการณ์และรู้เกี่ยวกับผลงานต้นฉบับหรือผลงานริเริ่มสร้างสรรค์อันนั้น

นักวิชาการลิขสิทธิ์อื่นๆเชื่อว่า การไม่คำนึงถึงเกี่ยวกับความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีร่วมสมัย ทำให้ลิขสิทธิ์ยังคงเป็นช่องทางพื้นฐานอันหนึ่ง ซึ่งบรรดานักเขียน, ประติมากร, ศิลปิน, นักดนตรี, และนักสร้างสรรค์อื่นๆ สามารถที่จะได้ทุนการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ และถ้าไม่มีการปกป้องทางกฎหมายเกี่ยวกับผลประโยชน์จากงานของพวกเขา หนังสืออันทรงคุณค่าจำนวนมาก และชิ้นงานต่างๆทางศิลปะก็จะไม่ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นมา

ผลประโยชน์อันนี้ ในเชิงที่ถกเถียงกันได้ ได้ทำหน้าที่รับใช้โดยการขยายเวลาลิขสิทธิ์ออกไปซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกระทั่งยาวนานเไปจนหลายชั่วอายุคน ยืนยาวเกินกว่าชีวิตของผู้ครอบครองลิขสิทธิ์เสียอีก ไม่ใช่เฉพาะเพียงตัวผู้เขียนจำนวนมากและผู้ถือครองลิขสิทธิ์ทั้งหลายเป็นหมู่คณะเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงสิทธิของทายาทผู้สืบทอดของผู้เขียนด้วย ที่จะได้รับประโยชน์ต่อไปจากผลงานดังกล่าว

ผลอีกประการหนึ่งของการขยายระยะเวลาลิขสิทธิ์ออกไปเรื่อยๆก็คือ นักเขียนทั้งหลายในปัจจุบันได้รับการปกป้องคุ้มครองจากการแข่งขันจากปริมณฑลสาธารณะที่กว้างขวาง. ถึงตอนนี้ ผลงานที่เข้าไปสู่พื้นที่หรือปริมณฑลสาธารณะในปัจจุบัน พวกมันจึงแทบจะกลายเป็นสิ่งที่พ้นสมัยไปแล้ว

ความสำเร็จเมื่อเร็วๆนี้เกี่ยวกับโครงการ free software อย่างเช่น Linux, Mozilla Firefox, และ the Apache web server ได้แสดงให้เห็นว่า ผลงานคุณภาพสามารถสร้างสรรค์ขึ้นมาได้ แม้ว่าจะไม่มีเรื่องของข้อบังคับลิขสิทธิ์ก็ตามที่ผูกขาดค่าเช่าใช้ต่างๆ. ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ใช้ลิขสิทธิ์เพื่อใช้บังคับกรณีต่างๆเกี่ยวกับการให้อนุญาตของพวกมันแทน ซึ่งได้รับการออกแบบขึ้นมาเพื่อทำให้มั่นใจหรือประกันถึงธรรมชาติที่เป็นอิสระของผลงานนั้น มากกว่าที่จะรับรองในเรื่องสิทธิผูกขาดเฉพาะตัวสำหรับเจ้าของเพื่อจะได้เงินมา; อย่างเช่นใบอนุญาตที่เรียกว่า"ลิขซ้าย"(copyleft) หรือใบอนุญาตฟรีซอฟต์แวร์(free software license). ไม่ว่าผลงานคุณภาพจะสามารถได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นได้ แม้จะไม่มีกฎหมายลิขสิทธิ์ใดๆก็ตาม, ปัจจุบัน ส่วนใหญ่แล้วยังไม่มีการพิสูจน์หรือทดสอบแต่อย่างใด

ทุกวันนี้ผลงานลิขสิทธิ์ถูกสำเนาหรือคัดลอกสู่สื่อดิจิตอลได้อย่างง่ายดาย และเป็นเรื่องหยุมหยิมมากเมื่อจะก็อปปี้โดย file sharing, และคนเหล่านั้นที่กระทำการอันนี้ ได้ทำลายกฎหมายลิขสิทธิ์อยู่เป็นประจำนับร้อยนับพันครั้งต่อวัน, ซึ่งโดยทั่วไปแล้วคนเหล่านี้ได้ใช้ความคิดหรือให้ความเอาใจใส่เกี่ยวกับเรื่องนี้น้อยมาก. ความพยายามต่างๆที่จะปกป้องเรื่องดังกล่าว ส่วนมากแล้วล้มเหลว และ file sharing เกือบไม่เคยมีผลที่ตามมาอย่างรุนแรงแต่อย่างใดเลย สำหรับพวกที่ละเมิดหรือฝ่าฝืน

บรรดาผู้ผลิตเกี่ยวกับวัสดุที่มีลิขสิทธิ์ทั้งหลาย บ่อยทีเดียวอ้างการสูญเสียในการขายของพวกเขาเกี่ยวกับการก็อปปี้บนระบบ online, กระนั้นก็ตามโดยทั่วไป พวกเขายังคงผลิตวัสดุและทำกำไรอยู่อย่างต่อเนื่อง. การขาดเสียซึ่งผลลัพธ์ที่เด่นชัดนี้ ได้ค่อยๆไปกัดเซาะความเชื่อที่ว่า ลิขสิทธิ์ดังที่ได้รับการสร้างขึ้นในปัจจุบัน เป็นสิ่งซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งหรือขาดเสียไม่ได้

บรรดาศิลปินจำนวนไม่มากนักได้ให้การสนับสนุนเรื่อง file sharing อย่างจริงจังเกี่ยวกับผลงานต่างๆของพวกเขาเอง ทั้งนี้โดยให้เหตุผลว่า มันได้ขยายฐานของผู้รับงานของพวกเขาออกไปเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงผู้คนซึ่งไม่สามารถซื้อผลงานของพวกเขาได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และรวมถึงพวกที่จะตั้งใจหาซื้องานของเขาอย่างถูกต้องด้วย

อันนี้ได้รับการถกว่า เป็นเรื่องยิ่งกว่าการกระทำอาชญากรรมเสียอีก, file sharer หลายล้านคนทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันใช้อินเตอร์เน็ตเป็นประจำ ได้กระทำการผิดกฎหมายในฐานะที่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ (กฎหมายลิขสิทธิ์ต่างๆดังกล่าว ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าไม่อาจบังคับใช้ได้), ด้วยเหตุนี้บรรดาผู้ครอบครองลิขสิทธิ์ จึงพยายามที่จะใช้ตัวบทกฎหมายมาบีบบังคับ โดยการคิดค่าใช้จ่ายสำหรับผลผลิตต่างๆ ซึ่งหาได้ง่ายๆ และฟรีด้วย

Bill Gates ดังที่บันทึกไว้ในเอกสาร กล่าวว่า ไม่มีวิธีการในทางเทคนิคใดๆ เกี่ยวกับการป้องกันเนื้อหาดิจิตอลที่มีลิขสิทธิ์ไม่ให้ถูกก็อปปี้ได้ ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับความพยายามทั้งหลายในอนาคต ที่จะมีการบังคับใช้ลิขสิทธิ์ต่างๆ และนั่นจะกลายเป็นความสิ้นเปลืองและสูญเปล่า เช่นเดียวกับการไม่เป็นที่นิยมกันในทางการเมือง

ลิขสิทธิ์สามารถถูกนำไปใช้ปรามหรืออุดปากการวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองด้วย ยกตัวอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกา เนื้อหาต่างๆเกี่ยวกับรายการ talk show และรายการต่างๆในทำนองเดียวกัน ได้รับการคุ้มครองโดยลิขสิทธิ์. Robert Greenwald, ผู้อำนวยการสารคดีเรื่อง Uncovered: The Whole Truth About the Iraq War (การเปิดโปง: ความจริงทั้งหมดเกี่ยวกับสงครามอิรัค) ถูกปฏิเสธสิทธิที่จะใช้ส่วนหนึ่งของการสัมภาษณ์ประธานาธิบดี George W. Bush จากรายการ NBC's Meet the Press. แม้ว่าบทบัญญัติ fair use (หมายถึง อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่จะใช้งานที่มีลิขสิทธิ์ได้) อาจสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับกรณีนี้ก็ตาม แต่ก็เสี่ยงและได้รับแรงกดดันจากบริษัทประกันต่างๆ ซึ่งปกติแล้วจะปกป้องคุ้มครองการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับเนื้อหาใดๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต

นักเขียน online บางคน อย่างเช่น Cory Doctorow, รักษาลิขสิทธิ์ไว้เพื่อผลงานของพวกเขา แต่อนุญาตให้มันเผยแพร่ได้ฟรี (ยกตัวอย่างเช่น ภายใต้ Creative Commons License). อันนี้มีประโยชน์ต่อผู้เขียนทั้งหลายให้คลายจากอุปสรรคกีดขวางบางอย่างที่ลิขสิทธิ์มีอิทธิพลมากำหนด โดยยินยอมให้พวกเขาช่วยสนับสนุนผลงานบางส่วนไปสู่ชุมชน ขณะที่สงวนรักษาสิทธิผูกขาดเฉพาะตัวบางอย่างเอาไว้ ซึ่งพวกเขาถือครองมันอยู่

ลิขสิทธิ์ยังได้รับการนึกคิดโดยบางคนในฐานะที่เป็น"อุปสรรคเทียม"(artificial barrier)ด้วย ในการแสดงออกอันนั้น ซึ่งสามารถได้รับการแลกเปลี่ยนกันอย่างอิสระ ระหว่างปัจเจกแต่ละคนกับกลุ่มต่างๆ ถ้ามันไม่มีลิขสิทธิ์หรือข้อจำกัดทางกฎหมายอื่นๆปกป้องไว้. ผู้คนเหล่านั้นเชื่อว่า ในฐานะรัฐ ไม่จำเป็นที่จะต้องครอบครองอำนาจทางศีลธรรมที่จะประกาศใช้(หรือออกพระราชบัญญัติ)กฎหมายลิขสิทธิ์ต่างๆ, ปัจเจกชนทั้งหลายอาจเปลี่ยนแปลงในข้อมูล ข้อสังเกตของพวกเขาเกี่ยวกับกฎหมายทั้งหลายอันนั้นได้

แนวความคิดเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ต่างๆรับรู้ว่า กำลังตกอยู่ภายใต้การท้าทายในยุคเทคโนโลยีสมัยใหม่ จากการใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นของ peer to peer file sharing, ซึ่งนำไปสู่แนวโน้มผลกำไรที่ลดลงสำหรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์และการบันทึกข้อมูลที่สำคัญลักษณะต่างๆ. กลุ่มเพื่อประโยชน์สาธารณะและอุตสาหกรรม และอะไรทำนองนี้กำลังก้าวเข้าสู่ระบบการศึกษาสาธารณะ ที่สอนเกี่ยวกับหลักสูตรต่างๆจากมุมมองหรือทัศนียภาพของพวกเขา

กลุ่มล็อบบี้ของ MPAA (Motion Picture Association of America) มีหลักสูตรที่ชื่อว่า What's the Diff? สอนโดยบรรดาอาสาสมัครที่เรียกว่า Junior Achievement. พันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ก็มีหลักสูตรของพวกเขาเองด้วย เป็นโปรแกรมที่เรียกว่า Play it Cybersafe, ซึ่งได้ถูกเผยแพร่สู่โรงเรียนเด็ก โดยผ่านนิตยสารฉบับหนึ่งชื่อว่า The Weekly Reader. ดูเหมือนจะเป็นความสอดคล้องต้องกันโดยทั่วไปที่ว่า มันต้องมีเนื้อหาหลักสูตรบางอย่างสำหรับเด็กวัยเรียนเกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์

Public-wiki ได้รับการสถาปนาขึ้นมาโดย Downhill Battle ในการสร้างหลักสูตรลิขสิทธิ์ขึ้นมาเรียกว่า Copyright Curriculum สำหรับครูอาจารย์ทั้งหลาย เพื่อดาวน์โหลดและใช้ประโยชน์ในชั้นเรียนของพวกเขา. The American Librarian Association (สมาคมบรรณารักษ์อเมริกัน) ก็กำลังเผยแพร่หลักสูตรของพวกเขาเองด้วยเช่นกัน สำหรับบรรดานักบรรณารักษ์ศาสตร์ทั้งหลาย ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ในช่วงฤดูหนาวของปี ค.ศ.2004

สิทธิทางศีลธรรม (Moral rights)
หลายๆประเทศตระหนักหรือยอมรับถึงสิทธิทางศีลธรรมบางอย่างของผู้เขียน หรือผู้สร้างเกี่ยวกับผลงานที่ได้ลิขสิทธิ์ โดยดำเนินรอยตามการรับรองเกี่ยวกับ WTO Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights (ข้อตกลงเกี่ยวกับการค้าในสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาของ WTO) ซึ่งเรียกร้องต้องการเครื่องไม้เครื่องมือเกี่ยวกับบทบัญญัติที่เหมาะสมหรือตรงประเด็นกับสนธิสัญญากรุงเบิร์น) คณะนักแสดงละครเล่หัสนาฏกรรม The Monty Python ที่มีชื่อเสียง ให้ความไว้วางใจต่อสิทธิทางศีลธรรมในปี 1975 ในการดำเนินการทางกฎหมายต่อเครือข่ายทีวีอเมริกัน ABC สำหรับการออกอากาศงานที่เรียบเรียงหรือตัดต่อขึ้นมาใหม่ในรายการ Monty Python's Flying Circus.

ขนบประเพณีเกี่ยวกับสิทธิผูกขาดเฉพาะตัวอเมริกัน เป็นเรื่องที่ไม่สอดคล้องลงรอยกับความคิดเกี่ยวกับสิทธิทางศีลธรรม ดังที่มันได้รับการบัญญัติขึ้นในประเพณีประมวลกฎหมายแพ่ง(Civil Code) ซึ่งมีกำเนิดขึ้นมาจากการปฏิวัติฝรั่งเศส. ในสหรัฐอเมริกา สิทธิผูกขาดเฉพาะตัวเป็นสิ่งที่ตราขึ้นเป็นกฎหมายใช้แล้ว และได้มีการอนุญาตโดยสภาคองเกรส

กรณีลิขสิทธิ์ที่สำคัญอันดับแรกในสหรัฐอเมริกา, Wheaton v. Peters, กำหนดว่า ลิขสิทธิ์ไม่ใช่สิทธิทางธรรมชาติหรือสิทธิตามกฎหมายจารีตประเพณี. แม้ว่ากรณีดังกล่าวได้ถูกทำให้โมฆะในเวลาต่อมาเมื่อศาลสูงได้ประกาศว่า มันเป็นโมฆะและไม่มีผลทางกฎหมาย แต่ในไม่ช้า มันได้กลายเป็นสัญลักษณ์อันหนึ่งสำหรับเรื่องทางศีลธรรมเกี่ยวกับลิขสิทธิ์

เมื่อสหรัฐอเมริกาได้ลงนามในสนธิสัญญากรุงเบิร์น พวกเขาได้วางเงื่อนไขว่าบทบัญญัติ"สิทธิทางศีลธรรม"ของสนธิสัญญาดังกล่าว ได้รับการพูดถึงมาเพียงพอแล้ว โดยกฎข้อบังคับที่เป็นลายลักษณ์อักษรอื่นๆ อย่างเช่น กฎหมายที่ครอบคลุมเรื่องการหมิ่นประมาท และการใส่ร้ายป้ายสีหรือทำให้เสื่อเสียชื่อเสียง

ในประเทศยุโรปส่วนใหญ่ นับว่าเป็นไปไม่ได้สำหรับผู้เขียนหรือผู้สร้างที่จะกำหนดหรือระบุถึงสิทธิต่างๆทางศีลธรรม (อันนี้ไม่เหมือนกับลิขสิทธิ์ในตัวของมันเอง, ซึ่งได้รับการพิจารณาในฐานะที่เป็นเรื่องหนึ่งของทรัพย์สินที่สามารถถูกขายได้, ให้อนุญาต, หยิบยืม, จำนอง, หรือให้เหมือนกับทรพัย์สินอย่างอื่นๆ). พวกเขาไม่สามารถเห็นด้วยกับการบังคับใช้พวกมัน (และในกรณีดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องธรรมดามาก ในหนังสือสัญญาต่างๆในยุโรป)

มันอาจต้องการการยืนยันจากผู้เขียนหรือผู้สร้างด้วยในสิทธิทางศีลธรรมเหล่านี้ ก่อนที่พวกมันสามารถจะถูกบังคับใช้. ในหนังสือหลายๆเล่ม เป็นตัวอย่าง จะถูกกระทำหรือยืนยันลงบนหน้าหนังสือช่วงหน้าแรกๆ, ในท่ามกลางข้อมูลเกี่ยวกับ the British Library/Library of Congress data.

ประเทศยุโรปบางแห่งได้จัดให้มีสิทธิการขายซ้ำของศิลปิน(artist resale rights)ขึ้นมาด้วย ซึ่งหมายความว่า บรรดาศิลปินทั้งหลายจะได้รับการใส่ชื่อลงไป ในฐานะส่วนหนึ่งของความซาบซึ้งในเชิงคุณค่าเกี่ยวกับผลงานของพวกเขา แต่ละครั้งที่มันถูกขาย. สิทธิต่างๆเหล่านี้ได้รับอนุญาตภายใต้ขนบประเพณีที่แตกต่าง ซึ่งให้ droits d'auteur (สิทธิต่างๆของผู้เขียน) มากกว่าลิขสิทธิ์ และยังให้สิทธิทางศีลธรรมต่างๆกับผู้สร้างสรรค์ทั้งหลาย ซึ่งพ้นไปจากสิทธิทางเศรษฐกิจในขอบเขตอำนาจลิขสิทธิ์ส่วนใหญ่

การให้การยกเว้นเรื่องลิขสิทธิ์ (Unusual copyright grants)
ในบางโอกาสที่ไม่บ่อยครั้งนัก สิทธิต่างๆสามารถถูกให้อนุญาตภายนอกตัวบทบัญญัติทางกฎหมายตามปกติ. เมื่อบทบัญญัติเกี่ยวกับลิขสิทธิ์แพร่หลายในประเทศอังกฤษ และถูกนำมาถกเถียงกันในรัฐสภา อดีตนายกรัฐมนตรี Lord Callaghan ประสบผลสำเร็จในการนำเสนอข้อปรับปรุงที่มีชื่อว่า the Great Ormond Street Hospital for Sick Children เพื่อสงวนไว้ซึ่งสิทธิต่างๆในการจ่ายค่าธรรมเนียมโดยไม่กำหนดตายตัวสำหรับการแสดงเรื่อง Peter Pan. สิทธิพิเศษอันนี้สามารถพบเห็นได้อย่างเปิดเผย ซึ่งถูกเขียนขึ้นใน Schedule 6 of the Act.

พระคัมภีร์ไบเบิล ฉบับ The King James Version ก็มีสถานะพิเศษที่เป็นข้อยกเว้นอันนี้: ขณะที่มันอยู่ในปริมณฑลสาธารณะทั่วโลกจะได้รับการยกเว้น แต่การผลิตในประเทศอังกฤษจะต้องอยู่ภายใต้พระราชอำนาจหรืออนุญาตโดยพระมหากษัตริย์(the Crown). Lillys Latin Grammar ก็เช่นกันคือ อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์ตลอดไป ดังเช่นปี ค.ศ. 1911. ขณะที่มันดำรงอยู่ในปริมณฑลสาธารณะที่แพร่กระจายไปทั่วโลกจะได้รับการยกเว้นลิขสิทธิ์ แต่การผลิตในประเทศอังกฤษจะต้องอยู่ในพระราชอำนาจของกษัตริย์. Lillys Latin Grammar ยังอยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของกษัตริย์ตลอดไปด้วย เช่นเดียวกับเมื่อปี ค.ศ.1911

การถ่ายโอนและการให้ลิขสิทธิ์ (Transfer and Licensing)
ลิขสิทธิ์อาจถูกกำหนดให้โยกย้ายถ่ายโอนจากส่วนหนึ่งไปยังอีกส่วนหนึ่งได้ ยกตัวอย่างเช่น นักดนตรีซึ่งได้บันทึกงานอัลบัมของเขา สามารถลงนามตามข้อตกลงกับบริษัทบันทึกเสียง ซึ่งนักดนตรียอมที่จะโยกย้ายถ่ายโอนลิขสิทธิ์ทั้งหมดในการบันทึกเสียงไปให้กับบริษัท เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับค่าธรรมเนียมและกรณีอื่นๆ ได้

ใครคนหนึ่งอาจถามว่า ทำไมผู้ถือครองลิขสิทธิ์จะสละสิทธิต่างๆของเขาไปตลอด. คำตอบคือว่า บริษัทต่างๆส่วนใหญ่โดยทั่วไปมีความสามารถทางการผลิตและตลาดที่เหนือกว่าตัวผู้เขียนหรือผู้สร้างมาก. ในยุคดิจิตอลของดนตรี, ดนตรีอาจถูกก็อปปี้และเผยแพร่ด้วยต้นทุนที่ต่ำมาก โดยผ่านช่องทางระบบอินเตอร์เน็ต แต่อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมการบันทึกแผ่น พยายามที่จะจัดหาบริการเกี่ยวกับการส่งเสริมและการตลาด เพื่อทำให้ผลงานของศิลปินไปถึงมือของผู้รับได้อย่างกว้างขวาง

แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ถือครองลิขสิทธิ์อาจไม่ต้องโยกย้ายถ่ายโอนสิทธิทั้งหมดไปอย่างสมบูรณ์ก็ได้. สิทธิบางอย่างอาจถูกโยกย้ายถ่ายโอนไป หรือผู้ถือครองลิขสิทธิ์อาจให้ใบอนุญาตที่ไม่ใช่สิทธิผูกขาดกับอีกคนหนึ่งทำการก็อปปี้ และ/หรือ เผยแพร่ผลงานในพื้นที่ที่เฉพาะก็ได้

ลิขสิทธิ์อาจได้รับการอนุญาตด้วย. อำนาจบังคับบางอย่างอาจนำเสนอช่วงชั้นต่างๆของผลงานที่มีลิขสิทธิ์ โดยให้มันใช้ได้ภายใต้ใบอนุญาตที่เรียกว่า statutory license (ใบอนุญาตตามกฎหมายกำหนด) (ยกตัวอย่างเช่น ผลงานทางด้านดนตรีในสหรัฐอเมริกา). อันนี้ได้รับการเรียกว่า compulsory license (ใบอนุญาตตามข้อบังคับ)ด้วย เพราะภายใต้แบบแผนอันนี้ ใครก็ตามซึ่งต้องการที่จะก็อปปี้ผลงานที่ได้รับการคุ้มครอง ไม่ต้องการการอนุญาตจากผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เพียงแต่ยื่นคำร้องที่และจ่ายค่าธรรมเนียมอย่างเหมาะสมตามที่บัญญัติเอาไว้โดยกฎหมายแทน (หรือโดยการตัดสินใจของตัวแทนภายใต้คำแนะนำตามกฎหมาย) สำหรับการทำก็อปปี้ทุกๆ ก็อปปี้

การไม่ปฏิบัติตามระเบียบวิธีปกติเกี่ยวกับลิขสิทธิ์จะมีผลต่อผู้ทำการก็อปปี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ง่ายต่อการฟ้องร้องเกี่ยวกับการละเมิดหรือฝ่าฝืน. เนื่องจากความยุ่งยากเกี่ยวกับการดำเนินรอยตามกระบวนการดังกล่าวสำหรับทุกๆชิ้นงาน, ลิขสิทธ์แบบหมู่คณะ(copyright collectives)และ สิทธิต่างๆในทางปฏิบัติที่เป็นองค์กร(performing rights organisations) (อย่างเช่น ASCAP, BMI, RIAA และ MPAA) จึงได้ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อขายสิทธิต่างๆกับผลงานเป็นร้อยๆชิ้นในครั้งเดียว. แม้ว่าทางออกหรือการแก้ปัญหาทางการตลาดนี้จะเลี่ยงใบอนุญาตตามกฎหมาย แต่สามารถใช้ได้กับค่าธรรมเนียมทางกฎหมาย ซึ่งยังคงช่วยควบคุมราคาต่อผลงานแต่ละชิ้น ที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมกับผู้ใช้สิทธิแบบหมู่คณะที่เป็นองค์กรได้

หมายเหตุ
(ASCAP American Society of Composers, Authors, and Publishers)
(BMI Broadcast Music Incorporated)
(RIAA Recording Industry Association of America)
(MPAA Motion Picture Association of America)

การเปรียบเทียบอย่างสั้นๆเกี่ยวกับรูปแบบอื่นๆของทรัพย์สินทางปัญญา
(Brief comparison with other forms of intellectual property)
โดยทั่วไป กฎหมายลิขสิทธิ์(copyright law)ครอบคลุมการแสดงออกของความคิดหรือไอเดียในเชิงสร้างสรรค์หรือศิลปะ, ส่วนสิทธิบัตร(patent law)จะครอบคลุมเรื่องของสิ่งประดิษฐ์, เครื่องหมายการค้า(trademark law)ครอบคลุมเครื่องหมายการค้าที่แตกต่างกัน ซึ่งได้ถูกนำมาใช้ในความสัมพันธ์กับผลผลิตหรือการบริการ, และกฎหมายจดทะเบียนงานออกแบบ(registered design law)ครอบคลุมสิ่งที่ปรากฏ หรือรูปโฉมของสินค้าที่ได้รับการผลิต หรือหน้าที่การทำงานของสินค้า

แม้ว่ากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาจะมีความแตกต่างกันในเชิงทฤษฎี, แต่มากกว่าหนึ่งแบบของ IP (intellectual property) อาจครอบคลุมสิ่งๆเดียวกันหรือวัสดุนั้นๆ. ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีเกี่ยวกับการ์ตูน Mickey Mouse, ภาพลักษณ์และชื่อของ Mickey Mouse จะเป็นเรื่องของเครื่องหมายการค้าตามกฎหมาย ขณะที่ตัวการ์ตูนดังกล่าวเองจะเป็นเรื่องของลิขสิทธิ์. ชื่อเรื่องและชื่อตัวละครจากหนังสือต่างๆหรือภาพยนตร์ อาจมีการปกป้องคุ้มครอง ในฐานะเครื่องหมายการค้าต่างๆด้วย ขณะเดียวกันผลงานต่างๆซึ่งพวกมันได้รับการเขียนขึ้นมาอาจมีคุณสมบัติเกี่ยวกับลิขสิทธิ์

ประเด็นอีกอันหนึ่งของความแตกต่างก็คือ ลิขสิทธิ์(และสิทธิบัตร) โดยทั่วไปแล้ว เป็นเรื่องที่มีการกำหนดระยะเวลาทางกฎหมายที่ตายตัว ในทางตรงข้าม การขึ้นทะเบียนเครื่องหมายการค้า อาจยังคงมีผลบังคับตามกฎหมายอย่างไม่มีกำหนดระยะเวลา ถ้าหากว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ถูกใช้เป็นระยะ และมีการปรับปรุงค่าธรรมเนียมอย่างต่อเนื่อง โดยจ่ายให้กับสำนักงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลเรื่องของเครื่องหมายการค้า หรือการจดทะเบียนอย่างถูกต้อง

ครั้นเมื่อกำหนดระยะเวลาของลิขสิทธิ์ได้หมดอายุลง ผลงานที่ได้รับลิขสิทธิ์มาแล้วนั้นจะเข้าไปสู่พื้นที่หรือปริมณฑลสาธารณะ และอาจถูกใช้อย่างอิสระหรือใช้ประโยชน์โดยใครก็ได้ ดังที่ศาลต่างๆในสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ได้มีการปฏิเสธหลักการเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ของกฎหมายจารีตประเพณี

จุดสังเกตหรือเครื่องหมายลิขสิทธิ์ (Copyright notices)
เนื่องจากเป็นสิ่งจำเป็นตามข้อบังคับต่างๆก่อนหน้านี้ นั่นคือ เมื่อผลงานชิ้นหนึ่งอย่างเช่น หนังสือหรือภาพยนตร์ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นมา โดยปกติแล้ว ผลงานดังกล่าวจะบรรจุจุดสังเกตเกี่ยวกับลิขสิทธิ์เอาไว้. จุดสังเกตนี้ประกอบด้วยตัวอักษร C อยู่ในวงกลม (i.e., ?), หรือคำว่า"ลิขสิทธิ์"(copyright), ตามมาด้วยปีต่างๆของลิขสิทธิ์ และชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์. รูปแบบ(แบบแผน)ทางเลือกอื่นๆได้รับอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับแบบฉบับนั้นๆของผลงานที่ต่างออกไป. จุดสังเกตลิขสิทธิ์จะทำหน้าที่ในการให้ข้อมูลผู้ใช้ที่มีศักยภาพต่างๆว่า ผลงานชิ้นดังกล่าวได้รับการจดลิขสิทธิ์เอาไว้แล้ว

โดยทั่วไป ความต้องการอันนี้เป็นผลเนื่องมาจากความจำเป็นทางกฎหมายของสหรัฐฯ แต่นับจากปี 1989 เป็นต้นมา ในสหรัฐฯ การใช้จุดสังเกตลิขสิทธิ์ต่างๆกลายเป็นเรื่องของทางเลือกไป. โดยการยกเว้นของประเทศต่างๆเพียงไม่กี่ประเทศ ซึ่งยังคงเรียกร้องให้ทำจุดสังเกต หรือตราเครื่องหมายดังกล่าวให้ปรากฏอยู่บนผลงาน ความต้องการนี้โดยปกติเป็นสิ่งที่ยกเว้นได้สำหรับผลงานต่างๆ ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นมาก่อนประเทศนั้นๆ จะเป็นสมาชิกของสนธิสัญญากรุงเบิร์น (บรรดาสมาชิกดังกล่าว ได้ถูกรู้จักโดยรวมๆในฐานะ [Berne Union] สหภาพกรุงเบิร์น)

จุดสังเกตลิขสิทธิ์ ไม่เป็นที่ต้องการสำหรับผลงานที่ได้รับการคุ้มครองโดยลิขสิทธิ์ตามเขตอำนาจศาล ซึ่งได้เข้าร่วมและให้การยอมรับข้อตกลงต่อสนธิสัญญากรุงเบิร์น. ในเขตอำนาจศาลส่วนใหญ่หรือตามกฎหมาย ผลงานชิ้นหนึ่งชิ้นใดอาจจะได้รับลิขสิทธิ์ นับจากเวลาที่มันได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นมาเลยทีเดียว โดยไม่คำนึงถึงว่ามันจะมีจุดสังเกตลิขสิทธิ์หรือไม่ก็ตาม

แต่อย่างไรก็ตาม การมีอยู่ของจุดสังเกตุหรือเครื่องหมายลิขสิทธิ์อาจทำให้มันง่ายขึ้นกว่า ในการอ้างถึงความเสียหายสำหรับการฝ่าฝืนหรือละเมิดในการดำเนินการทางกฎหมายต่างๆ ดังเช่นจำเลยรายหนึ่งอาจได้รับการสันนิษฐานว่า เมินเฉยหรือไม่ให้ความสนใจจุดสังเกตุ(หรือเครื่องหมายดังกล่าว) และจงใจที่จะละเมิดลิขสิทธิ์

แบบของตัวอักษร (Typefaces)
ในสหรัฐอเมริกา, การออกแบบตัวอักษรต่างๆขึ้นมาเป็นชุดๆ ไม่ได้รับการคุ้มครองโดยลิขสิทธิ์ แต่อาจได้รับการคุ้มครองโดยสิทธิบัตรต่างๆ ถ้ามันมีลักษณะพิเศษหรือแปลกใหม่เพียงพอ. ในยุโรป, เยอรมันนี (ในปี 1981) และในประเทศอังกฤษ (ในปี 1989) ได้ผ่านกฎหมายต่างๆ ที่ทำให้การออกแบบตัวอักษรสามารถมีลิขสิทธิ์ได้. กฎหมายอังกฤษ ไม่เหมือนกับกฎหมายเยอรมัน ที่มีผลย้อนหลัง(retroactive), ดังนั้นการออกแบบทั้งหลายซึ่งผลิตขึ้นก่อนปี ค.ศ.1989 ก็ได้รับลิขสิทธิ์ไปด้วย, แม้ว่าลิขสิทธิ์ดังกล่าวพวกนั้นจะหมดอายุไปแล้วก็ตาม

"All rights reserved"
วลี All rights reserved, เป็นข้อสังเกตที่เป็นทางการอันหนึ่งที่ สิทธิทั้งมวลได้ให้ไว้ภายใต้การมีอยู่ของกฎหมายลิขสิทธิ์ ซึ่งได้รับการสงวนไว้โดยผู้ถือครองลิขสิทธิ์ และปฏิบัติการทางกฎหมายอาจถูกหยิบขึ้นมาใช้กับการละเมิดลิขสิทธิ์. มันถูกตระเตรียมขึ้นมาในฐานะที่เป็นผลของ Buenos Aires Convention ปี ค.ศ. 1910 (สนธิสัญญาบูโนส ไอเรส), ซึ่งต้องการให้มีข้อความบางอย่างเกี่ยวกับการสงวนไว้ซึ่งสิทธิต่างๆ ที่ให้การคุ้มครองระหว่างประเทศ ในประเทศทั้งหมดที่ได้มีการลงนามกับสนธิสัญญาฉบับดังกล่าว

ขณะที่เป็นเรื่องธรรมดาที่จะมองเห็นมัน, แต่อย่างไรก็ตาม ข้อความที่เป็นจุดสังเกตอันนี้ปัจจุบันไม่ค่อยมีความจำเป็นอีกต่อไปแล้ว ดังที่ทุกประเทศนั้นต่างเป็นสมาชิกของสนธิสัญญาบูโนส ไอเรส และยังเป็นสมาชิกของสันธิสัญญากรุงเบิร์นด้วย ซึ่งต้องการให้ลิขสิทธิ์เป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่จำเป็นต้องมีข้อสังเกตหรือเครื่องหมายใดๆ ที่ต้องทำให้ปรากฏอย่างเป็นทางการ


From Wikipedia, the free encyclopedia
สนใจอ่านต้นฉบับที่สมบูรณ์ คลิกไปอ่านได้ที่... http://en.wikipedia.org/wiki/Copyright



 

 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 650 เรื่อง หนากว่า 8500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(จะมีการปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

ในสหราชอาณาจักร และประเทศเครือจักรภพ, ความคิดในทำนองนี้ได้รับการเรียกว่า fair dealing ซึ่งได้รับการบัญญัติขึ้นมาโดยศาลต่างๆ หรือผ่านสภานิติบัญญัติเป็นกฎหมาย. แนวความคิดดังกล่าว บางครั้ง ก็ไม่ได้มีการนิยามอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามในประเทศคานาดา การคัดลอกเป็นการส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ถือว่าได้รับการอนุญาตให้ทำได้อย่างชัดเจนโดยมี พรบ.รองรับนับจากปี 1999 เป็นต้นมา

ความสำเร็จเมื่อเร็วๆนี้เกี่ยวกับโครงการ free software อย่างเช่น Linux, Mozilla Firefox, และ the Apache web server ได้แสดงให้เห็นว่า ผลงานคุณภาพสามารถสร้างสรรค์ขึ้นมาได้ แม้ว่าจะไม่มีเรื่องของข้อบังคับลิขสิทธิ์ก็ตามที่ผูกขาดค่าเช่าใช้ต่างๆ. ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ใช้ลิขสิทธิ์เพื่อใช้บังคับกรณีต่างๆเกี่ยวกับการให้อนุญาตของพวกมันแทน ซึ่งได้รับการออกแบบขึ้นมาเพื่อทำให้มั่นใจหรือประกันถึงธรรมชาติที่เป็นอิสระของผลงานนั้น มากกว่าที่จะรับรองในเรื่องสิทธิผูกขาดเฉพาะตัวสำหรับเจ้าของเพื่อจะได้เงินมา; อย่างเช่นใบอนุญาตที่เรียกว่า"ลิขซ้าย"(copyleft) หรือใบอนุญาตฟรีซอฟต์แวร์
(free software license).
ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘ : บทความทั้งหมดของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ
เจ้าของพื้นที่ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ
เว็ปไซต์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้กับ Display properties : screen area 600 X 800 pixels ซึ่งจะให้ภาพที่คมชัดและสมบูรณ์ที่สุด
H

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 650 เรื่อง หนากว่า 8500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM ในราคา 150 บาท
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202
กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50202 และอย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์

บทความวิชาการฟรีที่ผ่านมา ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข เพื่อประโยชน์ต่อการนำไปใช้อ้างอิง