ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

R
relate topic
230748
release date

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 620 หัวเรื่อง
สันติภาพและความสมานฉันท์
Alejandro Bendana : บรรยาย
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ : แปล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทความบริการฟรี ม.เที่ยงคืน
The Midnight 's free article

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 30,779 สูงสุด 51,792 สำรวจเมื่อเดือน มิ.ย. 48
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

โลกบังตา? หรือปัญหาท้องถิ่น?
สร้างสันติภาพใหม่ในสังคมการเมือง
กรณีความรุนแรงทางใต้ในบริบทโลก
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ : ดำเนินรายการและแปล

ภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หมายเหตุ : บทความนี้เป็นคำบรรยายจากการสัมนาเรื่อง
"Reinventing Peaceful Political Society : Southern Violence in the Global context"
โดย Prof. Alejandro Bendana
องค์กรร่วมจัด :
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะทำงานวาระทางสังคม
และมูลนิธิสันติภาพและวัฒนธรรม

เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๘

(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 13.5 หน้ากระดาษ A4)


 


สร้างสันติภาพใหม่อีกครั้งในสังคมการเมือง
กรณีความรุนแรงทางใต้ในบริบทโลก

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ : ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อาจารย์มาตั้งคำถามว่าทำไมสหรัฐอเมริกา จึงไม่ยอมให้ประชาชนชาวละตินอเมริกาต่อสู้เป็นผลสำเร็จโดยใช้สันติวิธี กลายเป็นว่า ประเด็นการต่อสู้ของความขัดแย้งในพื้นที่ละตินอเมริกา ต้องตกอยู่ในบริบททางการเมืองระหว่างประเทศ อยู่ในบริบทของโลก นั้นคือเหตุผลที่ได้เชิญอาจารย์มาพูด คือเพื่อให้เราเห็นว่า Southern Violence มันมีอยู่ใน Global context

Prof. Alejandro Bendana : ผมได้อ่านในหนังสือพิมพ์ พบว่าตอนนี้คุณมีแขกพิเศษ คือ ท่านคอลิน เพาเวลล์ รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เพาเวลล์ กล่าวว่า ตอนแรกกลัวกันว่าสถานการณ์ในภาคใต้ของไทยเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการก่อการร้ายระหว่างประเทศ แต่พอได้มาคุยในประเทศไทยแล้วก็สบายใจขึ้นว่ามันไม่ใช่ ผมคิดว่า เพาเวลล์คิดผิด เพราะว่าในความเป็นจริง มีอะไรบางอย่างที่เรียกว่าเครือข่ายการก่อการร้ายระหว่างประเทศ และนั่นคือประเด็นที่วันนี้อยากจะคุย

เราควรจะตระหนักให้ได้ว่า การก่อการร้ายที่เอาชีวิตผู้คนมากที่สุดในโลกไม่ใช่การก่อการร้ายโดยระเบิด แต่คือการก่อการร้ายทางเศรษฐกิจ สำหรับทุกคนที่ตายเพราะระเบิด จะมีคนอีกประมาณ ๓,๐๐๐ คน ตายโดยไม่จำเป็นเพราะสาเหตุของการขาดสารอาหาร เพราะสาเหตุทางการศึกษา เพราะสาเหตุทางสุขภาพ สาธารณสุข และเราควรจะเรียกสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นการก่อการร้ายเชิงสถาบัน หรือการก่อการร้ายเชิงโครงสร้าง เพราะเป็นสิ่งซึ่งคนบางกลุ่ม บางแห่ง สร้างมันขึ้นมาโดยทางการเมือง คนพวกนี้ตายด้วยเหตุอันไม่สมควรทั้งนั้น เป็นการตายอย่างไม่มีเหตุผลอะไรเลย เช่นเด็กๆ ที่นิคารากัว ๒ ใน ๕ คน จะตายก่อนอายุครบ ๕ ขวบ

ความยากจนไม่ใช่ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ แต่เป็นปรากฏการณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น ความยากจนเป็นกระบวนการ คือ เป็นการทำให้เกิดความยากจน เป็นการสร้างความจนให้เกิดขึ้น การจนของคุณเกิดขึ้นเพราะคุณถูกทำให้จน (Impoorishment) อีกด้านหนึ่งของความจน คือ ความรวย (Enrichment) คือทำให้รวย ทำให้มั่งคั่งขึ้น ถ้ามีคนจำนวนมากมายมหาศาลจนยากในโลกนี้ แล้วมีคนน้อยมากที่รวยอยู่ในขณะนี้ นี่เป็นปรากฏการณ์ระดับโลก แต่ขณะเดียวกันก็เห็นปรากฏการณ์แบบนี้เกิดขึ้นซ้ำกันในระดับชาติ ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเพราะในโลกนี้มีสิ่งที่เรียกว่าซีกโลกภาคเหนือ ซีกโลกภาคเหนือก็คือโลกของคนร่ำรวย

ยกตัวอย่างลักษณะของซีกโลกภาคเหนือ วัวของคนซีกโลกภาคเหนือได้รับเงินสนับสนุนวันละ ๔ ยูโร (๑ ยูโร ประมาณ ๕๐ บาท เป็นเงินไทยประมาณ ๒๐๐ บาท) ขณะที่ในซีกโลกภาคใต้ บางคนทำงาน ๖ เดือน ยังไม่ได้เท่ากับ ๔ ยูโร)

จริงๆ แล้ว ซีกโลกใต้ไม่ได้จนอย่างที่เราคิด ซีกโลกใต้มีทรัพยากรมากมาย แต่ทรัพยากรเหล่านั้นถูกปล้นชิงไปในระยะ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นเวลาผู้คนลุกขึ้นมาเป็นกบฏต่อการก่อการร้ายในเชิงสถาบันเช่นนี้ ก็จะถูกกล่าวหาจากคนโลกเหนือที่ร่ำรวยว่าเป็นผู้ก่อการร้าย มีบิชอบแห่งบราซิลเคยบอกว่า เวลาข้าพเจ้าช่วยคนจน เขาเรียกข้าพเจ้าว่านักบุญ แต่เมื่อข้าพเจ้าถามว่าทำไมคนเหล่านี้ถึงยากจน เขาเรียกข้าพเจ้าว่าเป็นคอมมิวนิสต์

เพราะฉะนั้นในการวิเคราะห์ปัญหาการพัฒนา ปัญหาความยากจน หรือปัญหาความรุนแรง เราจำเป็นที่จะต้องเข้าใจเงื่อนไขระดับโลกว่าด้วยเรื่องปัญหาการเอาเปรียบทางเศรษฐกิจและทรัพยากรทั้งหลาย
เพราะว่าทางออกของปัญหาที่เราเจอส่วนใหญ่ คือ การหาวิธีกระจายอำนาจ ความมั่งคั่ง และทรัพยากรที่มีอยู่ให้มันเสมอกันมากกว่าเดิม ให้คนที่มีน้อยมีมากกว่าเดิม

ในบางที่เราพูดแบบนี้ออกไปแล้วก็ยังถูกเรียกว่าเป็นคอมมิวนิสต์และเป็นผู้ก่อการร้ายอยู่ สิ่งนี้มันเป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้น เพราะว่าในที่สุดแล้ว ระบบหรือผู้คนที่ร่ำรวยก็สร้างภาษา สร้างตรา สร้างอุดมการณ์ขึ้นมาเพื่อบดบังไม่ให้เราเห็นกระบวนการที่อำนาจมันถูกรวมศูนย์อยู่ และมองไม่เห็นว่าจะต้องทำอย่างไร เพื่อให้สถานการณ์ของอำนาจเช่นนั้นยังดำรงต่อไป

ในนิคารากัว ในช่วงทศวรรษที่ ๘๐ รัฐบาล (ซานตานิสต้า)ได้มีความพยายามจะแก้ปัญหาโครงสร้างแห่งความไม่เสมอภาค ก็มีการจัดสรรที่ดิน กระจายการศึกษา และการพัฒนาให้ไปทั่วถึง ให้ประชาชนมีสิทธิในทางการสาธารณสุขหรือสิทธิในการดูแลสุขภาพมากขึ้น และนี่ก็เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ ไม่ใช่เพียงแต่ในสายตาของชนชั้นนำในประเทศเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประเทศที่ทรงอานุภาพมากที่สุด คือ สหรัฐอเมริกา ก็ยอมรับไม่ได้ด้วย

พอซานตานิสต้าทำเช่นนี้จึงถูกเรียกว่าเป็นคอมมิวนิสต์ เมื่อเรื่องคอมมิวนิสต์ล้าสมัยไปแล้ว ก็ถูกเรียกว่าเป็นคนค้ายาเสพติด จากนั้นก็ถูกเรียกเป็นผู้ก่อการร้าย การเปลี่ยนป้ายทั้งหลายเป็นความพยายามของรัฐบาลที่ทรงอานุภาพที่สุดในโลก เพื่อจะทำลายความพยายามใดๆ ที่จะท้าทายการครอบงำเช่นที่เป็นอยู่

เราจำเป็นจะต้องต่อต้านฝ่ายที่สุดโต่งทั้งหลาย คือคนที่ฆ่าคนบริสุทธิ์ แต่คนที่ตายในสงคราม หรือในการก่อการร้ายแบบนี้ ก็เป็นผลของเหตุการณ์หรือเหตุผลทางการเมือง อาจจะมากกว่าเหตุผลส่วนบุคคล และคนที่ตายในสถานการณ์นี้ ก็น้อยกว่าจำนวนคนที่ตายเพราะการก่อการร้ายในเชิงสถาบันมาก จริงอยู่ เราต้องต่อต้านการก่อการร้ายในโลกนี้ และจริงอยู่ที่มันมีเครือข่ายการค้ายาเสพติดทั่วโลก แต่เครือข่ายการค้ายาเสพติดที่จะต้องต่อต้านนี้ ก็เป็นผลของการบริโภคซึ่งมีอยู่มากในโลกภาคเหนือ

ถ้าประเด็นเรื่องการค้ายาเสพติด หรือเรื่องการก่อการร้ายยังเป็นปัญหาไม่ลงตัว ที่หนักยิ่งกว่านั้นอาจคือการรณรงค์เพื่อต่อต้านการค้ายา การรณรงค์ต่อต้านการก่อการร้ายยิ่งเป็นปัญหามากกว่าอีก มีผู้คนเดือนร้อนลำบาก ปัญหาประการหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ ไม่ใช่เพียงผู้คนเดือดร้อนจากสถานการณ์ที่มันเกิดขึ้น แต่มันมีคนบางกลุ่มถูกหยิบออกมา เป็นส่วนของประชาชนบางกลุ่มที่กลายเป็นปัญหา แล้วความรุนแรงก็คลี่ขยายไป

ประเด็นแรก ที่อยากจะสรุปคือ ปัญหาท้องถิ่นไม่ใช่ปัญหาท้องถิ่นเสมอไป มีคนเสนอว่าปัญหาท้องถิ่นต้องแก้ด้วยทางออกของท้องถิ่น แต่มันจริงเพียงจุดหนึ่งเท่านั้น เพราะบางครั้งปัญหาท้องถิ่นที่เราเจอ มันมีที่มาจากระดับโลก และนั่นคือสิ่งซึ่งเขาอยากให้เราคิดเช่นนั้น นั่นคือไม่มีมิติทาง Global ในปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ไม่มีมิติทางโครงสร้างต่อปัญหาความรุนแรงในระดับท้องถิ่นที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพราะถ้าเรารู้ว่ามี เราก็จะพากันชี้นิ้วไปยังเป้าอีกชนิดหนึ่ง นี่คือมิติของซีกโลกภาคใต้ในกระบวนการของความขัดแย้งแบบตรงข้ามระหว่างโลกใต้กับโลกเหนือ ซึ่งจะเห็นปรากฏในปัญหาต่างๆ ทั่วไป

ประเด็นที่สอง คือต้องระวังให้มากเวลาที่มีใครมาบอกคุณว่า ปัญหาความรุนแรงบางลักษณะเป็นปัญหาความขัดแย้งเชิงชาติพันธุ์ ต้องระวังให้มากเวลามีคนมาบอกว่า สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นนี้เป็นความขัดแย้งเชิงศาสนา ต้องระวังให้มากเวลามีคนบอกว่า นี่คือการขัดแย้งทางอารยธรรม ถ้าเรามองให้ละเอียด เราจะเห็นว่าความแตกต่างทางชาติพันธุ์ ทางศาสนา และอารยธรรมนี้ มนุษย์อยู่กับความแตกต่างเหล่านี้มาอย่างฉันท์มิตร มายาวนานกว่าช่วงเวลาที่ปรากฏความขัดแย้งระหว่างกัน

วิธีการอธิบายแบบนี้ ว่าเป็นการขัดแย้งเชิงชาติพันธุ์ หรือศาสนา ต่างๆ เหล่านี้ เป็นการเปลี่ยนโฟกัส ทำให้ไม่ต้องมองเห็นตัวละครในเชิงโลกบาลทั้งหลาย อาทิ องค์กร IMF, World Bank, สหรัฐอเมริกา และมองไม่เห็นบทบาทองค์กรโลกบาลทั้งหลายที่มีต่อความขัดแย้งและความรุนแรงเหล่านี้

ใครสักคนมาถึงก็มาขโมยสิ่งที่คุณมีอยู่ แล้วชี้ว่าดูสิ คนนี้มีทรัพย์สมบัติ แต่คุณไม่มี คนที่มีนี่เป็นพุทธ หรือมุสลิม คนที่ไม่มีเป็นพุทธหรือมุสลิม และคุณก็ทะเลาะกันเอง ส่วนคนที่ขโมยของไปแล้วนั้นก็กลับไปนั่งดูอย่างมีความสุข


มีคนมาปล้นบ้านคุณ เอาของไปทุกอย่าง เหลือเตียงอยู่เตียงเดียว แล้วคุณกับเพื่อนบ้านก็ทะเลาะกันเรื่องเตียงนั้น แล้วผมค่อยมาบอกคุณว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นมีอยู่ ๒ ปัญหา ข้อแรกคือคุณมีเตียงอยู่เตียงเดียว เพราะฉะนั้นคุณควรจะซื้อเตียงเพิ่ม หรือสอง ปัญหาของคุณเกิดเพราะคุณทะเลาะกันจนผู้ร้ายมาแย่งเตียง

อยากจะท้าคุณในฐานะนักสังคมศาสตร์ ให้ไปหาความขัดแย้งที่ใดก็ได้ในโลกที่เป็นความขัดแย้งทางชาติพันธุ์โดยบริสุทธิ์ ซึ่งผมไม่เชื่อว่ามันมี ไม่ว่าความขัดแย้งระหว่างตุสซี่และกูตูในรวันดา อาหรับกับคริสเตียน หรืออาริเมสในซูดาน หรือในนิคารากัว คอนทร้ากับซานตานิสต้า ทั้งหมดนี้พอมาดูจริงๆ แล้วไม่ใช่ความขัดแย้งทางศาสนา ไม่ใช่ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์หรือศาสนา แต่มันเป็นปัญหาอื่น ซึ่งต้องดูให้ละเอียด มันไม่มีอะไรที่เป็นปัญหาความขัดแย้งเชิงชาติพันธุ์หรือทางศาสนาโดยบริสุทธิ์

ความขัดแย้งนี้มันไม่มีอะไรขาวกับดำ เพราะฉะนั้นต้องระวังให้มากเวลามีคนมาบอกว่าปัญหาความขัดแย้งนี้ เป็นปัญหาทางชาติพันธุ์หรือทางศาสนา เพราะการพูดแบบนี้จะเป็นจุดยืนที่เรียกว่า Racism คือมองเชื้อชาติเป็นใหญ่ เห็นว่าเชื้อชาติสำคัญ เป็นเชิงอุปถัมภ์ เหมือนกับผู้ใหญ่สอนเด็ก เวลาโลกภาคเหนือพูดถึงประเทศอย่างเช่น ในแอฟริกาก็มักจะบอกว่า ดูซิ มีแต่เผ่า มีแต่กลุ่ม อยู่ด้วยกัน ไม่มีสันติสุข ไม่มีสันติภาพ วิธีที่ดีคือให้ฉันเข้ามา และมาสถาปนาระเบียบที่ดี ที่ถูกต้องให้

ถ้าดูการยึดครอง ดูการส่งกำลังทหารเข้าไปในที่ต่างๆ ดูปฏิบัติการข่าวกรองทั้งหลายที่ขยายตัวมากขึ้น ในที่สุดข้อสรุปคือเราจะเห็นการปรากฏตัว การดำรงอยู่ของรัฐบาลอเมริกันมากขึ้นในที่เหล่านี้ และทั้งหมดนี้เป็นเพราะว่าพวกเราเป็นบุคคลที่ป่าเถื่อน และเราต้องการระเบียบทางการเมืองที่ถูกสถาปนาจากภายนอก

เมื่อสิ้นสงครามการต่อสู้ในนิคารากัว ถึงจุดนั้นทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่า ไม่ควรจะรบกันอีกต่อไป พอตัดสินใจว่าจะหยุดสงคราม สิ่งที่คิดจะทำก็คือ ต้องทำงานกับทหารทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายกองกำลังติดอาวุธ ทั้งของคอนทร้า และของซานตานิสต้า เหตุผลก็คือว่า เมื่อนักการเมืองตัดสินใจยุติสงคราม คนที่ยังถืออาวุธกันอยู่ คือกองกำลังทั้งสองฝ่าย เพราะฉะนั้นต้องทำอะไรกับคนเหล่านี้ อะไรจะเกิดขึ้นหากทหารเหล่านี้ถูกสั่งโดยนักการเมือง ซึ่งสมมุติตัดสินใจจะให้ยิงหรือให้ทำสงคราม แล้วทหารตัดสินใจว่าจะไม่ยิง เพราะฉะนั้นโจทย์ก็คือ เราจะทำงานสมานฉันท์อย่างไร ในห้องประชุมแบบนี้ เราก็นำทหารกองกำลังรบของทั้งสองฝ่าย มานั่งด้วยกัน หาคำตอบ เราอยากลองทำ ๓ อย่าง

วิธีการที่ ๑ เรียกว่าแนวทางของคุณแม่เทเรซา (Mother Teresa Approach) คือไปบอกแก่ทั้งสองฝ่ายว่า ขอให้ลุแก่โทษกันและกัน ให้ขออภัยกันและกัน และก็กอดกัน ในที่สุดก็เสียใจกับอดีตที่เราใช้ความรุนแรงต่อกัน

วิธีการที่ ๒ แนวทางของซิกมันด์ฟรอย์ ซึ่งบอกว่า เราจะต้องจดจำให้ได้ว่าเราทำอะไรไป จัดการกับความเกลียดชังที่เกิดขึ้น แล้วถ้าในการเล่าเรื่องจะมีการร้องไห้บ้างก็ไม่เป็นไร สุดท้ายแล้วเราก็กอดกัน ก็ดีกัน

แต่วิธีการทั้งสองนี้ก็ใช้ไม่ได้เรื่อง

วิธีการที่ ๓ เป็นแบบของผม ที่เดินออกไปบอกว่า จริงๆ แล้วเราเป็นชนชั้นคนงานทั้งคู่ แต่เราถูกแบ่งด้วยเส้นแบ่งเพียงบางอย่าง ทำให้เราแยกขาดออกจากกัน เพราะฉะนั้น เราทั้งสองควรจะร่วมมือกัน ต่อสู้ด้วยกัน

พอนำเสนอทั้ง ๓ วิธี แล้วทั้งสองฝ่ายก็เงียบ ถามว่ารู้สึกอย่างไร ๕ นาทีต่อมาในห้องจึงเงียบมาก แม้แต่เข็มตกก็ยังได้ยิน และเป็น ๕ นาทีที่ยาวนานที่สุดในชีวิตของผม จากนั้นก็มีคนๆ หนึ่งที่นั่งอยู่ที่นั่นยกมือขึ้นบอกว่า ทุกอย่างที่คุณพูดเป็นขยะโดยสิ้นเชิง พอฝ่ายหนึ่งพูดแบบนั้น อีกฝ่ายหนึ่งก็พูดขึ้นว่าเห็นด้วย ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการสมานฉันท์


สิ่งที่ชาวบ้านเริ่มถามก็คือว่า เราจะสมานฉันท์อย่างไรกับความอดอยากที่เรามี เราจะบอกเด็กๆของเราอย่างไรให้สมานฉันท์กับปัญหาสุขภาพ หรือการขาดแคลนทางสาธารณสุข เราจะบอกคนที่ไม่มีหลังคาคุ้มศีรษะให้สมานฉันท์กับชีวิตเช่นนี้ และคำสัญญาลมๆ แล้งๆ ที่เคยเกิดขึ้นได้อย่างไร

คนเหล่านั้นก็เริ่มบอกคนที่พยายามไปสอนเขาให้สมานฉันท์ว่า เราจะไม่สมานฉันท์กับความยากจน เราจะไม่ยอมจำนนกับสัญญาถึงชีวิตที่ดีที่จะเกิดขึ้นกับเราและในเฉพาะหน้าเท่านั้น แต่เราจะต่อสู้รณรงค์เพื่อสันติภาพ แต่ไม่ใช่สันติภาพเพียงอย่างเดียวอย่างที่คุณบอก แต่เป็นสันติภาพที่มาพร้อมกับความยุติธรรม และการยอมรับในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

ขณะนั้นผู้คนเหล่านั้นกำลังสอนเราว่า การสมานฉันท์ไม่ใช่เป็นเป้าหมายในตัวของมันเองแต่มันเป็นเป้าวิธีไปสู่เป้าหมายอื่น ๆ เป้าหมายเหล่านั้นคือการพัฒนา คือสันติภาพ ที่มาพร้อมกับความเป็นธรรม และไม่สามารถจะมีการสมานฉันท์ได้ระหว่างคนยากจนกับความยากจน ไม่ต้องมีการคืนดีกันระหว่างคนยากจนที่ถูกกดขี่กับการกดขี่ เขาอยากจะแก้ปัญหาสาเหตุของความยากจนและกระบวนการในการแก้ปัญหาสาเหตุของความยากจน ทำผ่านการสร้างชุมชนทางการเมืองแบบใหม่

ในนิคารากัวพวกเขาบอกว่านี่ไม่ใช่ปัญหาของการให้อภัย การให้อภัยเป็นเรื่องของเหยื่อและครอบครัวของเหยื่อเท่านั้นและเป็นกิจกรรมส่วนบุคคล และการสมานฉันท์ไม่ใช่เรื่องของการลืมด้วย และไม่ใช่เป็นการผลักหรือยกเลิกอัตลักษณ์ของเราทิ้งไป แต่เราต้องยืนยันสิ่งที่เป็นเรา เป็นกระบวนการที่ทำงานเพื่อให้เคารพอัตลักษณ์ของฝ่ายต่าง ๆ หมายความว่าอัตลักษณ์ทำให้เราต่างกัน เราก็ต้องให้ความสำคัญกับอัตลักษณ์ที่แตกต่างกัน ในขณะเดียวกันก็ต้องให้ความสำคัญกับสิ่งที่ทำให้เราเป็นมนุษย์ร่วมกัน หรืออยู่ร่วมกันได้

กระบวนการนี้เริ่มเมื่อ ๑๕ ปีที่แล้วในนิคารากัว ถามว่าวันนี้เรามาถึงจุดไหน ก็คือถ้าเราเอาคนที่เคยนั่งด้วยกันเมื่อ ๑๕ ปีก่อนมานั่งด้วยกันในวันนี้ จะพบว่าเขานั่งปนกัน และบอกไม่ได้เลยว่าใครอยู่ฝั่งไหน นอกจากนี้เราเรียนรู้ข้อเท็จจริงได้ ๓ อย่าง คือ

- การสมานฉันท์ไม่เพียงพอ

- การทำงานโดยหาวิธีกดดันหรือผลักดันให้รัฐบาลทำห รือนำเสนอหรือแก้ปัญหาบางอย่างใน ๑๕ ปีที่ผ่านมา เราก็พบว่าการทำงานผ่านรัฐบาลไม่เพียงพอ

- ความเข้าใจว่าสิ่งที่รัฐบาลให้หรือไม่ให้ มันขึ้นต่อสถานะของนิคารากัวในเวทีของโลก ถ้ามันมีปัญหาว่าเราไม่สามารถมีข้าวกิน มีปัญหาว่าไก่ราคาแพงเกินไป ปัญหานี้ไม่ใช่เพียงปัญหาของนิคารากัว แต่เป็นปัญหาของความยุติธรรมระดับโลก

เพราะฉะนั้นวันนี้เรากำลังทำการต่อสู้เพื่อการสมานฉันท์ที่ใหญ่กว่าเดิมมาก นี่คือการสมานฉันท์ระหว่างโลกภาคใต้กับโลกภาคเหนือ แต่วิธีเดียวที่การสมานฉันท์จะเป็นไปได้ คือ อำนาจและทรัพยากร ที่เวลานี้อยู่ในมือของคนจำนวนหยิบมือ จะต้องถูกนำมาแบ่งสันปันส่วนกับมหาชนให้มากขึ้นกว่าเดิม มิฉะนั้นจะทำไม่ได้

ณ วันนี้คน ๒ ข้างที่เคยขัดแย้งต่อสู้กัน เรียกตัวเองว่า ฝ่ายส่งเสริมสันติภาพ ก็ทำการรณรงค์ต่อต้านไอเอ็มเอฟ ธนาคารโลก WTO และกองกำลังทหารสหรัฐ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นแพ็คเกตเดียวกัน และจึงขอเชื้อเชิญทุกคนให้มาอยู่ร่วมในกระบวนการส่งเสริมสันติภาพ ด้วยการต่อต้านสิ่งเหล่านี้ที่แบ่งแยกเราออกจากกัน และไม่ใช่ในนามของคนซีกใต้อย่างเดียว แต่เพื่อสมานฉันท์ระหว่างใต้กับเหนือ เพราะผู้คนในโลกภาคเหนือที่ถูกรังแกด้วยระบบที่ไม่เป็นธรรมก็มีอยู่มากด้วย

ถึงที่สุดแล้ว เราคืนดีหรือสมานฉันท์ระหว่างความยุติธรรมกับความไม่ยุติธรรมไม่ได้ เราต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมโดยอาศัยวิธีการสันติ แต่มิใช่วิธีการสันติซึ่งเงียบเหงา และกระบวนการนั้นก็อยู่ในเบื้องหลังแนวทางของท่านมหาตะมะคานธี


คำถาม-คำตอบจากวงเสวนา
Q : การสมานฉันท์ได้วางแนวทางในดำเนินการอย่างไร เพื่อทำตามวัตถุประสงค์ให้ได้บรรลุเป้าหมาย โดยเฉพาะในประเทศที่มีความแตกต่างและห่างไกลกัน

A : เราเป็นทวีปซึ่งห่างกัน มีเผ่าต่างๆนับพัน ในทางภูมิศาสตร์เราอาจแยกจากกัน แต่สิ่งสำคัญที่เราต้องตระหนักก็คือ เราถูกทำให้แยกจากกันโดยทางการเมือง เกือบจะทุกประเทศในโลกเคยเป็นเหยื่อของลัทธิล่าอาณานิคม ในทุกวันนี้เราก็เป็นเหยื่อของอาณานิคมอเมริกา คำว่า Globalization หรือโลกาภิวัตน์ก็คือการครอบงำของอเมริกา การครอบงำแบบนี้มี ๒ หน้า มีทั้งหน้าที่เป็นการทหารและเศรษฐกิจ ซึ่งเราไม่ควรแยกหน้าทั้งสองออกจากกัน เพราะในความเป็นจริงมันไม่แยกจากกัน เช่นกรณีที่เกิดขึ้นในอิรัก

เราจำเป็นต้องเริ่มต้นสานเสวนาเชิงวัฒนธรรม ซึ่งคนในโลกภาคเหนือไม่ยอมรับว่ามันเป็นไปได้ในระหว่างผู้คนในโลกใต้ วัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่งมันจะงอกงามมากขึ้นเวลามาสัมผัสกับวัฒนธรรมอื่นที่แตกต่างกัน วัฒนธรรมนิคารากัวก็กำลังรุ่มรวยขึ้น เพราะขณะนี้มีร้านอาหารไทยไปเปิดในนิคารากัว มันอาจฟังแปลก แต่เรื่องของอาหารนี่ก็เป็นวิธีหนึ่ง ที่เราสามารถซึมซับรับความงอกงามของอีกวัฒนธรรมหนึ่งได้

ในภาคศาสนจักรเรียกสิ่งเหล่านี้ว่าการสานเสวนาข้ามศาสนา (Interfaith dialogue) ซึ่งเราควรจะไปไกลกว่านั้นหน่อยแล้ว เรียกมันว่าการสร้างเอกภาพข้ามศาสนาหรือระหว่างคนต่างกัน (Interfaith solidality) ซึ่งเราจะต้องเอาชนะการแบ่งแยกที่แยกเราออกจากกันในหัวเราก่อน

เวลามีใครมาบอกเราว่าการต่อสู้ของชาวอิรัก การต่อต้านการยึดครองของอเมริกันไม่เกี่ยวกับเรา หรือการต่อสู้ของชาวโบลิเวียที่ตอนนี้เรียกร้องเอาทรัพยากรของตนเองกลับคืนมา บอกว่าของพวกนี้ไม่เกี่ยวกับคุณเลย ทำไมถึงอยากให้คุณลืมสิ่งเหล่านี้ ก็เพราะตัวอย่างที่ดีมันเป็นภัยคุกคามต่อการครอบงำ เวลาที่เราทำงานร่วมกันในการต่อต้านการครอบงำ เช่นคนในโลกภาคใต้มาร่วมในงาน Social Forum หรือการต่อต้าน International development bank ที่เชียงใหม่ นั่นก็เป็นการสร้าง Solidarity แล้ว

Q : การสร้าง Solidarity เป็นเรื่องที่เราต้องคำนึงถึง แต่เราอาจหลงไปกับความหลากหลาย เหมือนที่เรามักถูกทำให้คิดว่าเราต่าง ชนชั้นนำอย่างอเมริกันจะบอกเราให้เอาความต่างมาแยกกัน แต่ถ้าเราคิดว่าความต่างนั้นเราต้องมารวมกัน เมื่อคนโลกใต้ซึ่งมีความแตกต่างกันจำนวนมาก แล้วเราจะมีหนทางอย่างไร เหมือนว่าเราเป็น Jack จะไปสู้กับยักษ์ มันจะเป็นไปได้รึเปล่า

A : การตระหนักในอำนาจเราเอง นั่นคืออำนาจ ถ้าเราเชื่อว่าเราไร้อำนาจ เราก็จะไร้อำนาจไปจริง ๆ เพราะฉะนั้นตัวการตระหนักรู้นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจ เราจำเป็นต้องเรียนรู้ให้ได้ว่า การต่อต้านนั้นทำอย่างไร และหาแรงบันดาลใจจากกระบวนการต่อต้านเหล่านี้. ตัวอย่างของอำนาจซึ่งเรารู้ว่ายากแต่ก็ทำได้ เช่น ๑๕ ก.พ. ๒๐๐๓ วันที่คนเป็นล้านๆ ทั่วโลกลุกขึ้นมาต่อต้านสงครามในอิรัก ทำเช่นนั้นได้ก็สั่นสะเทือนเหมือนกัน

อีกตัวอย่างหนึ่งของการใช้อำนาจ คือ กรณีการรุกรานในอิรัก ของประเทศมหาอำนาจที่ทรงพลังและมีทรัพยากรมากมาย ตอนแรกเข้าใจว่าจะกลับไปได้ ภายใน ๑- ๒ เดือน แต่เวลาก็ล่วงเลยไป ต้องใช้งบประมาณราว ๑.๒๕ ล้านดอลล่าต่อวัน นี่คือชะตากรรมของยักษ์ตัวนี้ซึ่งกำลังติดกับอยู่


ที่กล่าวมาทั้งหมดมีความหมายอะไรกับเรา แบ่งเป็น ๔ ลำดับ
๑. เรียนรู้สิ่งเหล่านี้ (Learn)
๒. คิดถึงมัน ไตร่ตรองถึงสิ่งที่เราได้เรียนรู้ (Reflect)
๓. จัดระบบซึ่งอยู่บนฐานของสิ่งที่ได้เรียนรู้และไตร่ตรองแล้ว (Organize)
๔. ทำอะไรบางอย่าง (praxis)

มีคนชอบบอกว่า act locally think globally วันนี้เราต้องทำทั้งในระดับ local และในระดับ global ไปพร้อมๆกัน เพราะจะมีคนบางคนที่จะคิดแต่ global และทำแต่ global เช่นที่บริษัทยักษ์ใหญ่มหาอำนาจทั้งหลายทำอยู่ ในเมืองไทยก็มีหลายองค์กรที่ติดตามเรื่องเหล่านี้อยู่ ถ้าอยากเห็นมิติสากลในปัญหาท้องถิ่น ว่าปัญหาท้องถิ่นมีมิติระดับโลกเกี่ยวข้องอยู่อย่างไร ก็ดูได้ที่ เว็บไซด์ ของ Focus on the Global South (www.focusweb.org)


Q : จากที่พูดเรื่องโลกาภิวัตน์ Globalization ตอนนี้มีคนพูดเรื่องจักรวรรดิ์อเมริกันแล้ว อาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไร

A : เพื่อจะขยายความหรือทำให้เรื่องนี้ชัดเจน ตัวช่วยที่สำคัญคือรัฐบาลอเมริกัน แนวคิดเรื่องโลกาภิวัตน์ มีคนพยายามให้เราคิดว่ามันเหมือนอากาศ คือคุณทำอะไรมันไม่ได้หรอก อากาศมันเป็นแบบนี้แหละ คุณต้องพยายามเรียนรู้ที่จะอยู่กับอากาศแบบนี้ ฝนตก ฟ้าร้องคุณต้องเรียนรู้ว่าจะอยู่กับมัน ต้องใช้ร่ม เสื้อฝน และคุณอาจจะได้ประโยชน์จากมันด้วย เช่นทำให้เย็นลง

แต่มองจากมุมของคนในโลกภาคใต้ที่เคยถูกกดขี่มาแล้ว สภาวะที่เกิดมาพร้อมกับโลกาภิวัตน์ก็เหมือนกับการกดขี่ในอดีตที่เคยเกิดขึ้นกับพวกเขามา ๑๐๐ ปี แล้วอเมริกาทำให้เรื่องนี้ชัดขึ้นกับเรายังไง? ก็เช่นเมื่ออเมริกาไม่สามารถควบคุมตลาดน้ำมันในตะวันออกกลางได้ ก็ใช้กำลังทหารบุกเข้าไป อันนี้เป็นสงครามโลกาภิวัตน์ หรือดูการที่คนหนึ่งซึ่งเคยอยู่ในคณะรัฐบาลของบุช ซึ่งตอนนี้มาเป็นประธานของ world bank และสถาปนิกของเพนทากอน กระทรวงกลาโหม ของกองทัพสหรัฐตอนนี้ก็ถูกมอบหมายให้ทำหน้าที่อีกอันหนึ่ง หน้าที่นี้ก็เหมือนเดิมเพียงทำผ่านเศรษฐกิจเท่านั้นเอง

เราก็ต้องมองภาพอย่างที่มันเป็นจริง และอย่าทำให้มันสับสนกับเรื่องอื่น ๆ เพราะขณะนี้งบประมาณการทหารของสหรัฐประเทศเดียว มากกว่างบประมาณการทหารของประเทศอื่นๆ ทั้งหมดรวมกัน เราไม่เห็นภาพของความเท่าเทียม เราเห็นภาพของ สโนไวท์กับคนแคระยืนจับมือกัน แต่ตอนนี้สโนว์ไวท์ไม่ขาวสะอาดแล้ว กลับเต็มไปด้วยรอยเลือด

Q : มันเป็นไปได้หรือที่จะไม่มีผู้นำโลก ตลอดระยะเวลามีผู้นำมาโดยตลอด อย่างทุกวันนี้เราก็ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร และถ้าอเมริกันไม่เป็น Leadership ในโลกนี้แล้ว คิดว่าประเทศไหนควรจะเป็น

A : คิดว่าไม่ควรมีประเทศไหนขึ้นมาเป็นผู้นำทั้งนั้น วิธีคิดที่เราคิดว่าใครควรจะนำเราก่อปัญหาให้เรามหาศาล ไม่เพียงระดับโลก แต่ทั้งในระดับครอบครัว สังคม ชุมชน ในปัญหา gender ฯลฯ นี่อาจทำให้เราหวนคิดถึงวิธีเข้าใจอำนาจ เราต้องคิดถึงอำนาจในฐานะของการเข้ามารวมกลุ่มของความหลากหลายโดยที่ยังธำรงเอกลักษณ์ของความหลากหลายนั้นไว้ การธำรงรักษาความหลากหลายนั้นเองคืออำนาจ

ในละตินอเมริกา ขบวนการต่อต้านแบบนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากชนพื้นเมือง ซึ่งใช้เวลานานนับศตวรรษต่อต้านคนขาว แต่ไม่ใช่ว่าคนเหล่านี้ไม่ต้องเรียนภาษาอังกฤษ หรือไม่ต้องใช้อีเมล์ ขณะนี้ข้อเท็จจริงพบว่า ๓ ใน ๔ ของคนในโลกที่พูดภาษาอังกฤษ เป็นคนที่ไม่ได้มาจากประเทศที่เดิมพูดภาษาอังกฤษ นั่นหมายความว่าคนในโลกส่วนใหญ่เอาภาษาอังกฤษมาเป็นของตัวแล้ว ประเด็นเรื่องภาษาเป็นตัวอย่างหนึ่ง เวลานี้ภาษาถูกใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารของผู้คน ใช้กันได้ทั่วไป

และประชาสังคมระดับโลกจะทำได้ไหม ขั้นตอนไปสู่สิ่งเหล่านั้นผ่านการต่อสู้เพื่อความเป็นอิสระระดับชาติ (National Liberation) การปลดปล่อยชาติของตัวเองให้เป็นอิสระ นี่ไม่ได้เป็นเป้าหมาย แต่ในฐานะที่เป็นขั้นตอนไปสู่ Global Society

Q : มีข้อเสนอแนะอะไรต่อกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ เพื่อจะได้ถ่วงอำนาจได้อย่างมีประสิทธิภาพและรอบคอบมากขึ้น

A : เราคงจะต้องเริ่มต้นตั้งคำถามว่า คณะกรรมการสมานฉันท์ถูกสร้างขึ้นมาด้วยเหตุอะไร โดยใครแล้วประกอบด้วยอะไรบ้าง เวลาดูประสบการณ์ของกรรมการสมานฉันท์ในที่ต่างๆ แล้วดูความล้มเหลวของกรรมการสมานฉันท์ มีปัจจัย ๒ อย่างเท่านั้น คือการมีส่วนร่วม (participation) และกระบวนการ (process)

ในแง่การมีส่วนร่วม ถามว่า "ใครควรมีส่วนร่วมและใครไม่ควรมีส่วนร่วมในกระบวนการสมานฉันท์นี้? " และในแง่กระบวนการ ถามว่า "การมีส่วนร่วมนี้อยู่ในลักษณะไหน?" ในบางประเทศสิ่งที่พบคือต้องนำคณะกรรมการสมานฉันท์ระดับชาติลงมาสู่ระดับท้องถิ่น มีหลายหลากในระดับท้องถิ่น และพัฒนาไปเป็นคณะกรรมการสมานฉันท์และการฟื้นฟู และสุดท้ายที่สำคัญมากคือความโปร่งใสในการทำงานของ คณะกรรมการสมานฉันท์

Q : กรณีภาคใต้ กระบวนการสมานฉันท์ควรจะจับคู่อย่างไร เพราะคณะกรรมการเกิดมาจากการจัดตั้งของรัฐบาล ลงไปทำในนามของรัฐ ทำให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน แล้วการทำงานควรจะเป็นอย่างไร

A : ต้องพยายามตั้งคำถามว่า การสมานฉันท์ทำกับใคร? ทำเพื่ออะไร? ทำด้วยวิธีไหน? มันมี ๒ เรื่องคือ ความชอบธรรมของขบวนการสมานฉันท์เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะไม่ว่าสุดท้ายผลจะออกมาอย่างไร ตัวกระบวนการถ้ามีความชอบธรรม ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของการบรรเทาปัญหาลงไปได้

แล้วเงื่อนไขของความชอบธรรมคืออะไร? เงื่อนไขของความชอบธรรมคือสิ่งที่เรียกว่า local person คือการมีตัวตนหรือการปรากฏของท้องถิ่น ให้ท้องถิ่น ให้ผู้คน ให้ส่วนของวัฒนธรรม มีเสียงมีสิทธิในกระบวนการสมานฉันท์นี้

เช่นกรณีศรีลังกา ความขัดแย้งระหว่างทมิฬกับสิงหล ทมิฬ อยู่ทางตอนเหนือ สิงหลอยู่ตอนกลางของเกาะ พอมีปัญหา คนที่หายไปคือคนที่อยู่ใต้สุด นี่คือส่วนหนึ่งของปัญหา คือ คนบางส่วนถูกกันออกไป ถูกทำให้หายไป ไม่มีสิทธิไม่มีเสียง กระบวนการนี้ก็มีโอกาสประสบความสำเร็จได้ยากเพราะความชอบธรรมจะอ่อน

ยกตัวอย่างที่ไม่ดีของกรณีของฟิลิปปินส์ ที่มินดาเนา กระบวนการสมานฉันท์ที่ทำไปเป็นเพียงการสร้างภาพที่ดี ในขณะที่ฝ่ายความมั่นคงก็ยังคงใช้ความรุนแรงแบบเดิมในการแก้ปัญหา การทำงานสมานฉันท์ต้องมีเงื่อนไขเบื้องต้นในด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ

Q : จากประสบการณ์การทำงานสมานฉันท์ มีประเทศไหนไหมที่ฝ่ายหนึ่งต้องการสมานฉันท์ แต่อีกฝ่ายหนึ่งที่ต้องทำการสมานฉันท์ด้วยไม่ปรากฏตัว แล้วมันจะเป็นไปได้อย่างไร

A : ข้อแรกต้องเข้าใจว่า มีแนวโน้มที่เกิดขึ้นหลัง ๑๑ กันยา คือการทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นปีศาจ ฝ่ายที่ถูกทำให้เป็นปีศาจนี้คือฝ่ายโลกมุสลิม และนี่คือผลโดยตรงของฝ่ายอเมริกาที่จะเอาชนะต่อการต่อต้านในที่ต่างๆ ในระดับโลก

อยากยกตัวอย่าง ๒-๓ กรณี ในช่วงก่อน ๑๑ กันยา รัฐบาลฟิลิปปินส์ พยายามเจรจากับกลุ่มอิสลาม และกองทัพฝ่ายซ้ายซึ่งต่อสู้กับรัฐบาลมาเป็นเวลานาน. ในศรีลังกา และเนปาลก็เช่นกัน การเจราจาทั้งหมดดำเนินไป จนกระทั่งเกิด เหตุการณ์ ๑๑ กันยา การเจราจาทั้งหมดยุติลง เหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะอิทธิพลของอเมริกา และที่สำคัญพอๆ กันก็คือรัฐบาลของแต่ละประเทศเองก็คงไม่อยากจะคุยหรือ dialogue กับกลุ่มเหล่านี้อยู่แล้ว

เหตุการณ์ ๑๑ กันยา เปิดโอกาสให้ว่าไม่จำเป็นต้องคุยกับพวกนี้ สามารถชี้ไปเลยว่ากลุ่มเหล่านี้เป็นผู้ก่อการร้ายได้ง่ายๆ และภาคความมั่นคงโดยเฉพาะการใช้ความมั่นคงทางทหาร สามารถครอบงำการเจรจาต่อรองและการใช้แนวทางความมั่นคงอื่นๆ ไปหมด ผลของมันทำให้เราไม่ต้องมองหาอีกฝ่ายมาเจรจาด้วย

ต้องแยกระหว่างสิ่งที่เรียกว่า "การเจรจาสันติภาพ" กับ "การสมานฉันท์" การเจรจาสันติภาพอาจจะอยู่ในกรณีซึ่งอีกฝ่ายหนึ่งเห็นชัด มีการจัดการ อาจจะเจรจากันแล้วหยุดสงครามกันได้ ๕ - ๑๐ ปี แต่นั่นไม่ได้หมายความว่ามีสันติภาพเกิดขึ้น นักวิจัยสันติภาพบางกลุ่มเรียกว่า "organize peacelessness"

- การเจรจาสันติภาพจะต้องนำหัวหน้าฝ่ายหนึ่งมานั่งคุยเพื่อเจรจาสันติภาพ หลังการเจรจาสันติภาพ สงครามอาจจะยุติลง มีข้อตกลงออกมา แล้วก็หยุดอยู่ตรงนั้น แต่ปัญหายังคงมีอยู่ ไม่ได้แก้ปัญหา

- แต่สำหรับการสมานฉันท์ไม่ใช่แบบนั้น การสมานฉันท์เป็นเรื่องกระบวนการ โดยเป็นกระบวนการเกี่ยวกับเงื่อนไข, ผู้คน, พลังต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสังคม บางครั้งเท่านั้นที่จะเกี่ยวกับหัวหน้าอีกฝ่ายหนึ่ง กระบวนการของสมานฉันท์เป็นการแก้ปัญหาในระดับพื้นฐานของความรุนแรงที่เกิดขึ้น ต้องทำงานกับเงื่อนไขที่มีส่วนหรือทำให้เกิดความรุนแรง การสมานฉันท์จึงเป็นกระบวนการที่ยากกว่า ดังนั้นต้องทำความเข้าใจมันในฐานะที่เป็นกระบวนการ

Q : เราจะสามารถมองอเมริกาอย่างเป็นเอกภาพได้อย่างไร

A : นโยบายพื้นฐานของสหรัฐอเมริกาไม่เคยเปลี่ยนเลย ในระยะ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา คือการต้องการตลาดสำหรับสินค้าของตนเอง ต้องการทรัพยากรสำหรับเศรษฐกิจของตนเอง และเพื่อให้ได้ทั้งสองอย่าง ก็ต้องหาวิธีที่จะควบคุมทางการเมือง ควบคุมทางการทหาร ลักษณะแบบนี้ก็คือการล่าอาณานิคม

นิคารากัวก็รบมาเป็น ๑๐ ปี แต่ก็ไม่อาจคาดหมายได้ว่าจะเอาชนะสหรัฐ ในการสร้างพันธมิตรผ่านปัญญาชน ผ่านศิลปิน ผ่านภาคประชาสังคมต่างๆ ก็สามารถผลักดันนโยบายให้หยุดได้บ้าง แต่ไม่สามารถเปลี่ยนทิศทางอะไรได้

น่าเสียดายที่สหรัฐเป็นประเทศที่มีความหลากหลายแตกต่าง แต่ถูกทำให้เป็นเนื้อเดียวกันมากขึ้น ปัญหาหนึ่งคือเรื่องความเห็นของสาธารณชนอเมริกัน ซึ่งเป็นปัญหาที่ยากที่สุดที่ต้องก้าวข้ามไปให้ได้ ดูหมิ่นดูแคลนคนอื่น คนกลุ่มน้อย ไม่มีอะไรน่ากลัวกว่าคนที่มีอำนาจที่ไม่มีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย

Q : กรรมการสมานฉันท์ควรจะทำงานอย่างไร

A : สิ่งแรกที่จะต้องทำก็คือให้หยุดความรุนแรง โดยเฉพาะการกระทำจากฝั่งของฝ่ายรัฐบาล ไม่เช่นนั้นก็จะมีปัญหาต่อไป หากไม่หยุดความรุนแรง ความยุติธรรมจะอยู่ไม่ได้ จากนั้นก็ต้องสถาปนาความยุติธรรมให้กลับมา ถ้าให้รอความยุติธรรมเท่ากับไม่มียุติธรรม เพราะฉะนั้น ความรุนแรงต้องหยุด และความยุติธรรมเป็นสิ่งที่รอช้าไม่ได้

Q : อาจารย์พยายามบอกว่า รากเหง้าความรุนแรงทางภาคใต้ไม่ใช่ทางเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม แต่เป็นรากเหง้าที่มาจากโลกบาลหลายรูปแบบ หากสิ่งเหล่านี้เป็นรากเหง้าของปัญหาจริง สิ่งที่กรรมการสมานฉันท์ต้องทำ ก็ไม่ใช่ว่าเราจะสมานฉันท์กับอะไร แต่ควรเข้าไปชี้ว่า เราต้องไม่สมานฉันท์กับอะไรด้วยหรือเปล่า

A : จำเป็นต้องเข้าใจว่า ความขัดแย้งสามารถปรากฏตัวในรูปแบบต่าง ๆ ความขัดแย้งที่มีเหตุจากฐานอื่นๆ อาจปรากฏตัวมาในรูป ความขัดแย้งเชิงศาสนา เชิงวัฒนธรรมได้ เช่นในแอฟริกากลางมีการความขัดแย้งและต่อสู้เกิดขึ้น สาเหตุของการต่อสู้ที่แท้จริงก็คือปัญหาในการเข้าถึงทรัพยากรแหล่งน้ำ และการกระจายที่ดิน แต่มันมีหน้าตาเหมือนความขัดแย้งทางเชื้อชาติ เพราะฉะนั้นเราต้องเข้าใจว่าเหตุของมันจริงๆ คืออะไร

เหตุการณ์ ๑๑ กันยา ถูกทำให้มองเป็นความพยายามของโลกมุสลิมที่จะต่อต้านอารยธรรมของคนผิวขาว ตอนนี้จึงเกิดโรคกลัวอิสลาม ปัญหาไม่ได้เกิดจากสีผิว หรือว่าถือคัมภีร์เล่มไหน แต่เพราะคุณถูกทำให้เชื่อว่าสิ่งนั้นเป็นต้นเหตุของปัญหา และเราจะมีผู้นำทางการเมือง นักวิชาการ สื่อมวลชนที่มองโลกแบบมักง่าย เป็นขาวกับดำ ทำให้ความคิดความเชื่อนี้เป็นของยอมรับกันทั่วไป หัวใจของความขัดแย้งคือการกระจายทรัพยากร และเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ และการไม่แบ่งปันทรัพยากรอย่างเป็นธรรมนี้ ถูกหนุนช่วยไม่เพียงกองกำลังในประเทศ แต่โดยพลังในระดับโลกที่เป็นอยู่

ปัญหาของชาวประมงในนิคารากัว แยกไม่ออกจากบทบาทของเรืออวนลากของญี่ปุ่นที่ทำมาหากินในน่านน้ำ อุตสาหกรรมประมงญี่ปุ่นไม่ใช่ตัวละครท้องถิ่น ยกตัวอย่าง กรรมการสมานฉันท์ในนิคารากัว เคยเสนอการแก้ปัญหา ว่าต้องแก้ปัญหาเรื่องการศึกษา สาธารณสุข ความยากจน และระบบยุติธรรม แต่พอเสนอไปรัฐบาลบอกว่าไม่มีเงิน เพราะต้องใช้หนี้ IMF หากไม่ใช้จะเสียเครดิต กู้ที่อื่นไม่ได้ เพราะฉะนั้นแน่นอนว่าเราควรต้องแก้ปัญหาระดับท้องถิ่น แต่ขณะเดียวกันถ้าไม่เห็นความเชื่อมโยงระหว่างปัญหาท้องถิ่นกับปัญหาระดับโลก ก็จะไม่เข้าใจความเป็นจริงของโลกที่เป็นอยู่ขณะนี้

Q : ท่านคิดอย่างไรกับคำพูดว่า เราไม่สามารถให้อภัยได้ถ้าเรื่องนั้นเป็นเรื่องที่ถูกลืมไป หรือเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง แล้วกระบวนการสมานฉันท์มีความเชื่อมโยงกับการชดใช้ทางด้านเศรษฐกิจ และนำมาซึ่งความยุติธรรมอย่างไรบ้าง

A : ในการทำงานเรื่องสมานฉันท์ก็มีหลายองค์ประกอบ แต่ที่สำคัญคือ การยืนยัน ยอมรับว่าเกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น และเมื่อยอมรับว่าอะไรเกิดขึ้นแล้วก็ต้องมีการทดแทนความเสียหาย โดยคนที่เสียหายก็ต้องได้รับค่าชดเชย

ส่วนเรื่องอื่นๆ เช่น ปัญหาในการให้อภัยนั้นไม่อยากเข้าไปเกี่ยวมาก เพราะเป็นเรื่องศาสนา คงมีคนพูดกันเยอะ อย่างในเรื่องการนิรโทษกรรม นักกฎหมายบางส่วนก็บอกว่าอาชญากรรมระดับนี้นิรโทษกรรมไม่ได้ คนผิดก็ต้องขึ้นศาล

อ.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์
กรณีอื่นๆ ของการสมานฉันท์ในที่ต่างๆ เป็นกรณีหลังเกิดความรุนแรง แต่กรณีของไทยไม่ใช่ แต่เป็นการสมานฉันท์ในระหว่างความรุนแรงที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นแม้จะชื่อว่าสมานฉันท์ แต่ทำงานอีกลักษณะหนึ่ง ถ้าถามว่าจะสมานฉันท์กับใครก็มีหลายส่วน ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ คนก็บอกว่ามีสมานฉันท์แล้วความรุนแรงยังไม่หยุด หมายความว่าอย่างไร นั่นอาจเพราะคนคาดหวังว่า มีสมานฉันท์แล้วความรุนแรงจะหยุด

ปัญหาก็กลับมาที่เคยถามกันหลายครั้งว่า ใครเป็นคนใช้ความรุนแรงทำกันอยู่ ผมขอตอบว่าคนที่ใช้ความรุนแรงไม่ได้มีข้างเดียว มีหลายข้าง มันกลายเป็นขั้นบันได เป็นวัฏจักร และหลายฝ่ายที่ใช้ความรุนแรงอยู่ทุกวันนี้ มีเหตุผลในการไม่หยุดของตัวเอง เพราะฉะนั้นปัญหาที่กรรมการสมานฉันท์ของเราเจออยู่มันมาก และแตกต่างกับที่อื่น ซึ่งคงเป็นนวัตกรรมทางการเมืองที่จะต้องต่อสู้

แต่ข้อเท็จจริงคือว่า มันสมานฉันท์ไม่ได้ หากไม่ทำปัญหาเรื่องความยุติธรรม มันสมานฉันท์ไม่ได้ หากไม่ทำปัญหาเรื่องความจริง มันสมานฉันท์ไม่ได้ หากไม่ทำ dialogue ระหว่างกัน ไม่เคารพกันและกัน และสมานฉันท์ไม่ได้หากเราติดกับอยู่กับอดีต ของเหล่านี้เป็นเงื่อนไขของสมานฉันท์ทั้งสิ้น

สำหรับบทบาทของการให้อภัย ผมอาจจะเห็นต่างจากอาจารย์ Alejandro เพราะใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถึงแม้ศาสนาไม่ใช่เหตุ แต่ศาสนาอาจะเป็นส่วนหนึ่งในการลดปัญหาได้

 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 590 เรื่อง หนากว่า 7800 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

ซีกโลกใต้ไม่ได้จนอย่างที่เราคิด ซีกโลกใต้มีทรัพยากรมากมาย แต่ทรัพยากรเหล่านั้นถูกปล้นชิงไปในระยะ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นเวลาผู้คนลุกขึ้นมาเป็นกบฏต่อการก่อการร้ายในเชิงสถาบันเช่นนี้ ก็จะถูกกล่าวหาจากคนโลกเหนือที่ร่ำรวยว่าเป็นผู้ก่อการร้าย มีบิชอบแห่งบราซิลบอกว่า เวลาข้าพเจ้าช่วยคนจน เขาเรียกข้าพเจ้าว่านักบุญ แต่เมื่อข้าพเจ้าถามว่าทำไมคนเหล่านี้ถึงยากจน เขาเรียกข้าพเจ้าว่าเป็นคอมมิวนิสต์

ต้องระวังให้มากเวลาที่มีใครมาบอกคุณว่า ปัญหาความรุนแรงบางลักษณะเป็นปัญหาความขัดแย้งเชิงชาติพันธุ์ ต้องระวังให้มากเวลามีคนมาบอกว่า สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นนี้เป็นความขัดแย้งเชิงศาสนา ต้องระวังให้มากเวลามีคนบอกว่า นี่คือการขัดแย้งทางอารยธรรม ถ้าเรามองให้ละเอียด เราจะเห็นว่าความแตกต่างทางชาติพันธุ์ ทางศาสนา และอารยธรรมนี้ มนุษย์อยู่กับความแตกต่างเหล่านี้มาอย่างฉันท์มิตร มายาวนานกว่าช่วงเวลาที่ปรากฏความขัดแย้งระหว่างกัน
วิธีการอธิบายแบบนี้ ว่าเป็นการขัดแย้งเชิงชาติพันธุ์ หรือศาสนา ต่างๆ เหล่านี้ เป็นการเปลี่ยนโฟกัส ทำให้ไม่ต้องมองเห็นตัวละครในเชิงโลกบาลทั้งหลาย อาทิ องค์กร IMF, World Bank, สหรัฐอเมริกา

ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ : บทความทั้งหมดของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ
เจ้าของพื้นที่ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ
เว็ปไซต์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้กับ Display properties : screen area 600 X 800 pixels ซึ่งจะให้ภาพที่คมชัดและสมบูรณ์ที่สุด
H

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 600 เรื่อง หนากว่า 8000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com

หรือ ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202
กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50202 และอย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์

บทความวิชาการฟรีที่ผ่านมา ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข เพื่อประโยชน์ต่อการนำไปใช้อ้างอิง