บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 602 หัวเรื่อง
อำนาจและความรุนแรงเกี่ยวกับ
การรับน้องในอเมริกา
จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์
โครงการจัดตั้งสถาบันรามจิตติ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
The Midnight 's article
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 600 เรื่อง หนากว่า 8000 หน้า ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
สนใจสั่งซื้อที่ midnightuniv(at)yahoo.com - midnight2545(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง สมเกียรติ
ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202
กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง
สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่ 50202
อย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์
(การจัดส่งทางไปรษณีย์ จะลงทะเบียนทุกฉบับ)
อำนาจและความรุนแรง
ปัญหาเกี่ยวกับการรับน้องใหม่ในอเมริกา
จุฬากรณ์
มาเสถียรวงศ์
โครงการจัดตั้งสถาบันรามจิตติ
หมายเหตุ
: บทความชิ้นนี้เดิมชื่อ
"รับน้อง" ต้องเสี่ยง ? :
จากข่าวรับน้องของพี่ไทย กับภัยรับน้องบ้านลุงแซม และข้อคิด
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 12.5 หน้ากระดาษ A4)
เกริ่นนำ
ตลอดเดือนที่ผ่านมาปัญหาเรื่อง
"รับน้อง" ในมหาวิทยาลัยไทยได้ถูกตีแผ่เป็นข่าวหน้าหนึ่งในสื่อไทยไม่เว้นแต่ละวัน
ว่าจะเป็นวิธีการรับน้องแบบพิเรนวิตถาร การกลั่นแกล้งที่รุนแรงเกินขอบเขต รวมไปถึงการทำอนาจารทางเพศและทำร้ายร่างกาย
เป็นต้น เป็นภาพสะท้อนความตกต่ำของกิจกรรมนักศึกษาจน สกอ.ถึงกับมีคำสั่งระงับการรับน้องใหม่ในมหาวิทยาลัยในปีการศึกษานี้
จะว่าไปปัญหาวิกฤตการรับน้องที่ดูจะเอาความเฮฮาเมามันส์มาแทนสาระคุณค่าการใช้ชีวิตนักศึกษานั้น มิใช่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะนักศึกษาไทย ในต่างประเทศเองโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาได้มีการศึกษาถึงรูปแบบและพฤติกรรมการใช้ชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย รวมถึงผลกระทบเชิงลบจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมโดยมีการศึกษาทั้งกิจกรรมรับน้อง กิจกรรมชมรมไปจนถึงกิจกรรมสังสรรค์บันเทิงต่างๆ เป็นต้น ซึ่งก็พบว่า มีกิจกรรมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยจำนวนไม่น้อยที่ทำให้นักศึกษาต้องใช้ชีวิตแบบเสี่ยงๆ จนถึงขั้นเสียผู้เสียคนหรือแม้แต่เสียชีวิต
รายงานของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกามีการระบุถึง ประเพณีการรับน้อง โดยเฉพาะการรับน้องเข้าเป็นสมาชิกสโมสร หรือชมรมต่างๆ ที่มักจะมีความรุนแรงแอบแฝงมากับกิจกรรมหรือพิธีกรรมเหล่านั้นด้วย ยิ่งเป็นกิจกรรมรับน้องเข้าชมรมกีฬาด้วยแล้ว งานศึกษาของ Alfred University ในปี 1999 รายงานว่า ร้อยละ 79 ของนักศึกษาที่เป็นนักกีฬา มักมีการบาดเจ็บตั้งแต่เล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงขั้นได้รับอันตรายในการร่วมกิจกรรมรับน้องของชมรมโดยกว่า 2 ใน 3 ของนักศึกษาเหล่านี้บอกว่า พวกเขาอยู่ในสภาพที่จำต้องเข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้อย่างไม่เต็มใจ
และ 1 ใน 4 ของนักศึกษาใหม่เหล่านี้ก็ยังบอกด้วยว่า พวกเขาถูกบังคับให้ทำในสิ่งซึ่งไม่เต็มใจหลายอย่าง ในขณะเข้าร่วมพิธีกรรมรับน้องเข้าทีมกีฬาด้วย รายงานยังระบุอีกด้วยว่า ในกลุ่มนักศึกษาชายมักจะต้องเสี่ยงต่ออันตรายและการบาดเจ็บทางร่างกาย ในขณะที่นักศึกษาหญิงมีแนวโน้มจะเสี่ยงต่อการดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งมักเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมรับน้องด้วย(1)
ที่น่าสนใจคือรายงานดังกล่าวระบุว่า ปัญหาเรื่องการรับน้องมีความเป็นไปได้ที่จะไปสัมพันธ์กับปัญหาความรุนแรงและการละเมิดทางเพศ (2) อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากมหาวิทยาลัยในสหรัฐบางชิ้นยังได้รายงานถึงความเป็นไปได้ของการฆ่าตัวตายของนักศึกษา อันเนื่องจากหวาดกลัวกับการต้องร่วมกิจกรรมที่พวกเขาไม่เต็มใจด้วย (3)
นอกจากเรื่องความรุนแรงแล้ว เรื่องแอลกอฮอล์ก็ดูจะเป็นสิ่งที่ปรากฏชัดในกิจกรรมรับน้องมหาวิทยาลัย มีรายงานที่ระบุว่า นักศึกษารุ่นพี่มักมีการจัดเตรียมเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ เพื่อกิจกรรมรับน้องโดยเฉพาะด้วย นักศึกษาใหม่หรือน้องใหม่ไม่ว่าจะเคยมีประสบการณ์การดื่มมาก่อนหรือไม่ ล้วนแล้วแต่จะต้องมีส่วนร่วมกับการ "ดื่มเพื่อเพื่อนพ้องน้องพี่" เสมอ
และในเทศกาลช่วงรับน้องนี้เองที่ดูจะตามมาด้วยปัญหาที่น่าวิตกมากมาย มีการรายงานว่า เด็กในสหรัฐอเมริกาจำนวนไม่น้อย ต้องตายคาขวดเหล้า เนื่องจากเสพแอลกอฮอล์เกินขนาดจนเกิดอาการหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (4) และไม่เพียงแต่ในช่วงรับน้องเท่านั้น เหล้ายังปรากฏให้เห็นทั่วไปในกิจกรรมประเภท "เลี้ยงน้อง" หรือกิจกรรมสังสรรค์สานสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาในมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะกับกิจกรรม "ปาร์ตี้มหา'ลัย"
ในงานศึกษาของ California State University (CSU) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิตนักศึกษามหาวิทยาลัยกับการดื่มแอลกฮอล์ โดยศึกษาเปรียบเทียบมหาวิทยาลัยต่างๆ ใน 47 รัฐ พบว่าในงาน "ปาร์ตี้อุดมศึกษา" ที่มุ่งสานสัมพันธ์นักศึกษานั้น จะมีสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นเช่นนี้มาไม่ต่ำกว่า 8 ทศวรรษ และดูจะกลายเป็น "วัฒนธรรมการดวด (ดื่ม)" (drinking culture) ของนักศึกษาไปด้วย ที่น่าตกใจคือรายงานระบุว่า นักศึกษาหญิงเป็นกลุ่มที่ดื่มเหล้ามากขึ้นๆ อย่างน่าวิตก และสิ่งที่มาควบคู่กับการดื่มก็คือ เรื่องการสูบบุหรี่ที่บางครั้งอาจนำไปสู่การเสพยาด้วย
แต่ที่ร้ายกว่านั้นคือกิจกรรมการดื่มในปาร์ตี้เหล่านี้มักจะนำไปสู่ปัญหาอื่นๆที่ตามมาด้วย ตัวอย่างข้อมูลในปี 2002 ที่ได้ศึกษาผลกระทบของแอลกอฮอล์กับนักศึกษาที่มีอายุระหว่าง 18-24 ปี พบว่า (5)
- แต่ละปีมีนักศึกษาวิทยาลัยกว่า 1,400 คน ที่เสียชีวิตหรือพิการจากอุบัติเหตุที่มีการดื่มแอลกอฮอล์เข้ามาเกี่ยวข้อง และนักศึกษาอีกกว่า 500,000 คน ที่ประสบอุบัติเหตุถึงขั้นบาดเจ็บจากการดื่ม
- มีนักศึกษาหญิงมากกว่า 70,000 คนที่ถูกละเมิดทางเพศ หรือตกเป็นเหยื่อข่มขืนของนักศึกษาชายที่กลายเป็นนักดื่มจอมหื่น
- มีนักศึกษาประมาณ 400,000 คน ที่มีเซ็กส์โดยไม่ได้ป้องกันเนื่องจากเมาเกินไป และอีก 10,000 คน ที่ยอมรับว่ามอมเหล้าคู่ขาเพื่อต้องการที่จะมีเซ็กส์กัน
- ร้อยละ 90 ของคดีข่มขืนนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเป็นคดีที่เกิดขึ้นโดยน้ำมือของนักศึกษาหรือคนที่ได้ดื่มเหล้ามาก่อนหน้าลงมือ
รับน้อง
ต้องไม่เสี่ยง : ตัวอย่างมาตรการของมหาวิทยาลัยอเมริกา
ด้วยแนวโน้มปัญหาผลกระทบจากการรับน้องที่ดูจะยิ่งโหดมันส์ฮามหาภัยมากขึ้นนั้น
สิ่งที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้พยายามทำเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ก็คือ การมีนโยบายและมาตรการป้องกันปัญหาที่คาดว่าจะเกิดจากการรับน้องโดยเฉพาะ
ตัวอย่างเช่น
- มีนโยบายและกฏในการรับน้อง (initiation policy) : มีการจัดโปรแกรมการรับน้องที่ส่งเสริมการปรับตัวทางสังคมให้แก่นักศึกษาใหม่ ทั้งนี้ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรับน้องทุกประเภทให้มีการคำนึงถึงความปลอดภัย และสุขภาพจิตและสุขภาพกายของนักศึกษา
- นโยบายและมาตรการห้ามกิจกรรมบางประเภท : ได้แก่การห้ามมีกิจกรรมเสี่ยงในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมโลดโผนเกินกว่าเหตุ หรือการละเล่นพิเรนที่นำอันตราย หรือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะในกิจกรรมชมรมที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาที่ต้องมีระบบการประกันความปลอดภัยของนักศึกษาด้วย
- นโยบายและมาตรการเกี่ยวกับการป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศ : เน้นการคุ้มครองป้องกันมิให้เกิดการกระทำรุนแรงทางเพศ ที่ผิดกฏหมาย และยังเน้นการส่งเสริมความรู้เรื่องเพศศึกษาที่มุ่งให้นักศึกษาชายมีจริยธรรมทางเพศ เช่นเดียวกับนักศึกษาหญิงที่เน้นการรู้จักสถานการณ์เสี่ยงต่างๆ
- นโยบายและมาตรการเกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์ในมหาวิทยาลัย : เช่นถ้าจะต้องจัดงานที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อนุญาตให้เฉพาะนักศึกษาที่มีอายุ 24 ปีหรือมากกว่านั้นที่สามารถขออนุญาตจัดได้ หรือการห้ามขายแอกลฮอล์ให้นักศึกษาอายุต่ำกว่า 21 ปี (บางรัฐ) เป็นต้น
อย่างไรก็ตามจุดเน้นที่พบจากงานวิจัยในสหรัฐอเมริกาคือ การรณรงค์ส่งเสริมให้กิจกรรมรับน้องเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ที่สร้างเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้และการช่วยเรื่องการปรับตัวของนักศึกษา นอกจากนี้ยังมีการวิจัยติดตามสถานการณ์ของนักศึกษาทั้งในแง่การใช้ชีวิต และกิจกรรมต่างๆ ของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยด้วย และยังรวมไปถึงการมีระบบเฝ้าระวัง ตลอดจนการมีศูนย์ดูแลให้คำปรึกษานักศึกษาประจำมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นแหล่งให้คำปรึกษาทั้งในเรื่องเรียนและการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย
สรุป
กล่าวโดยสรุปก็คือ
แม้ปัญหาการรับน้องในมหาวิทยาลัยในอเมริกาจะสร้างปัญหามากมาย และดูจะไม่ต่างจากรับน้องในบ้านเรา
แต่ประเด็นที่น่าสังเกตก็คือ การที่มหาวิทยาลัยบ้านเขาส่วนใหญ่ต่างยอมรับในปัญหาที่เกิด
และมีระบบการวิจัยศึกษาสภาพและสถานการณ์ปัญหาการรับน้องอย่างต่อเนื่องจริงจัง
ผนวกกับการให้ความสำคัญกับการมีนโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันรับมือนี้เองที่ดูเหมือนขบวนการนักศึกษาและมหาวิทยาลัยในบ้านเราดูจะเอาใจใส่ไม่มากพอนัก
ดังนั้นตัวอย่างข้อมูลที่กล่าวไปนี้ จึงน่าจะเป็นบทเรียนต่อการเตือนสตินักศึกษาและมหาวิทยาลัยในบ้านเราเช่นกันว่า ทำอย่างไรที่แนวโน้มกิจกรรมนักศึกษาไทยจะไม่ไปทับรอยกับแนวโน้มปัญหารับน้องในบ้านเขาที่เรื่องโหดมันส์เหี้ยม กินเหล้าเมายา กล้าเสี่ยงบ้าเซ็กส์ ดูเหมือนเป็นเรื่องปกติในรั้วมหาวิทยาลัย
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ภายใต้กระแสการเรียกร้องให้มีการทบทวนประเพณีและปฏิรูปกิจกรรมรับน้องใหม่นั้น จึงน่าจะเป็นโอกาสอันดีที่นักศึกษาไทยและผู้เกี่ยวข้องจะได้ร่วมกันหยุดคิดและตั้งสติกับปรากฏการณ์ที่เกิด ทั้งนี้เพื่อการออกแบบใหม่ให้กับประเพณีและกิจกรรมรับน้องที่ทุกฝ่ายจะได้ร่วมมือกันพิสูจน์ให้สังคมเห็นว่า การรับน้องที่สร้างสรรค์และให้คุณค่าแห่งการ "รับน้อง รักน้อง" ที่แท้จริงนั้นทำได้ และทำอย่างไร และได้ผลอย่างไร
ซึ่งโดยแนวนี้ก็จะสามารถล้างภาพลักษณ์อันตกต่ำลงของการรับน้องในสายตาของสังคมได้ (ที่แม้จะไม่ง่ายนักในช่วงนี้) แต่ก็เชื่อได้ว่าด้วยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการร่วมคิดทั้งระบบ ตั้งแต่ในเชิงนโยบาย มาตรการจัดการ ตลอดจนการมีฐานความรู้และการอาศัยความรู้ภูมิปัญญา และความดีงามเข้ามาช่วยสร้างช่วยเสริมด้วยนั้น ก็น่าจะทำให้ประเพณีการรับน้องได้ถูก "ยกระดับใหม่" ให้กลับมามี "คุณค่าแท้" ต่อชีวิตนักศึกษาและต่อสังคมได้อีกครั้งอย่างสง่างาม
++++++++++++++++++++++++
เชิงอรรถ
www.iup.edu/studentaffairs/alcoholcoalition
www.iup.edu/studentaffairs/alcoholcoalition
www.lssc.edu/studentlife/handbook
www.iup.edu/studentaffairs/alcoholcoalition
www.csuchico.edu/cjhp/3/1/01-55-esteban.pdf
สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา
3
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
e-mail :
midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 590 เรื่อง หนากว่า 7800 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
ที่น่าสนใจคือรายงานดังกล่าวระบุว่า ปัญหาเรื่องการรับน้องมีความเป็นไปได้ที่จะไปสัมพันธ์กับปัญหาความรุนแรงและการละเมิดทางเพศ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากมหาวิทยาลัยในสหรัฐบางชิ้นยังได้รายงานถึงความเป็นไปได้ของการฆ่าตัวตายของนักศึกษา อันเนื่องจากหวาดกลัวกับการต้องร่วมกิจกรรมที่พวกเขาไม่เต็มใจด้วย