ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

R
relate topic
040648
release date

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 582 หัวเรื่อง
ความมั่นคงมนุษย์ในทัศนะอิสลาม
สุกรี หลังปูเต๊ะ
สาขารัฐประศาสนศาสตร์
วิทยาลัยอิสลามยะลา

The Midnight 's article

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 14119-26256 ครั้ง สำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม 47
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

แนวความคิดชาวมุสลิม
ความมั่นคงของมนุษย์ในทัศนะอิสลาม
สุกรี หลังปูเต๊ะ
อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
คณะศิลปะศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยอิสลามยะลา


หมายเหตุ: บทความนี้ได้รับมาจากผู้เขียนเมื่อหลังกลางเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๘
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 9 หน้ากระดาษ A4)




๑. คำนำ
พัฒนาการของแนวคิดเกี่ยวกับความมั่นคงของมนุษย์ ที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลา ๑๐ ปีที่ผ่านมา ได้รับการผลักดันจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ สำหรับระดับชาตินั้น จากการปฏิรูประบบราชการที่ผ่านมานั้นปรากฏชัดว่า รัฐบาลได้มีเจตนาที่ดีอย่างยิ่งที่ได้มีการก่อตั้งกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งได้รับเสียงแซ่ซ้องสรรเสริญว่า ประเทศไทยก้าวหน้ามากที่นำเอาแนวคิด "ความมั่นคงของมนุษย์" มาดำเนินนโยบายแห่งชาติด้วยการตั้งชื่อกระทรวงด้วยคำคำนี้ นั่นหมายถึง ความตั้งใจและความจริงจังกับการสร้างความมั่นคงของมนุษย์เป็นประเทศแรกของโลก

ส่วนในระดับนานาชาตินั้น เห็นได้จากการที่ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการระดับสูง ซึ่งใช้ชื่อในภาษาอังกฤษว่า Commission on Human Security ในปี ๒๕๔๔ โดยมีประธานร่วมคือ Prof. Amartya Sen เจ้าของรางวัลโนเบลด้านเศรษฐศาสตร์ในปี ๒๕๔๑ และ Mrs. Sadako Ugata อดีตข้าหลวงใหญ่ด้านผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ผลงานที่โดดเด่นของคณะกรรมาธิการชุดนี้ คือ รายงานเรื่อง Human Security Now ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นของการเผยแพร่ในระดับนานาชาติ

ดังนั้นเรื่องความมั่นคงของมนุษย์ กำลังเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจในระดับนานาชาติเป็นอย่างมาก นอกจากนี้การที่ประเทศไทยได้แสดงท่าทีที่ชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ ในการสนับสนุนความมั่นคงของมนุษย์และได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกในกลุ่มเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security Network) ด้วยการริเริ่มของประเทศแคนาดาและนอร์เวย์ในปี ๒๕๔๒ และอีก ๑๓ ประเทศที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกของเครือข่ายดังกล่าวนี้นั้น ได้ทำให้ชื่อเสียงของประเทศไทยดีขึ้นด้วยในสายตาของผู้ที่ต้องการเห็นสันติภาพ ที่น่าจะเกิดขึ้นจากหน่วยที่เล็กที่สุดของสังคม นั่นคือ ปัจเจกบุคคลเป็นลำดับแรก

อย่างไรก็ตามในส่วนของพัฒนาการที่เกี่ยวกับแนวคิดด้านความมั่นคงของมนุษย์ในทัศนะอิสลามนั้น สามารถศึกษาผ่านวัตถุประสงค์ของชารีอะห์ (Maqasid al-Shar'iyah) ซึ่งในบทความนี้จะใช้คำว่า "เจตนารมณ์แห่งชารีอะห์" โดยได้มีการถกกันในเวทีวิชาการ และได้มีผลงานออกมาประจักษ์ชัดเมื่อ ๖๐๐-๕๐๐ ปีที่ผ่านมา ซึ่งนักวิชาการมุสลิมเหล่านั้นได้แก่ อัล-ฆอซาลี อัล-ชาตีบี อิซซุดดีน อิบนุอับดุสสาลาม อิบนุ อัล-ก็อยยิม หรือแม้กระทั่งอิบนุตัยมียะห์ เองก็มีผลงานที่เกี่ยวกับความมั่นคงของมนุษย์ด้วยเช่นกัน

บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะสื่อภาพลักษณ์ของอิสลามในฐานะที่เป็นวิถีชีวิต ที่ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการจรรโลงสังคมสันติสุข โดยผ่านกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างสมบูรณ์ เหล่านี้คือการให้ความสำคัญต่อหลักประกันด้านความมั่นคงของปัจเจกบุคคล ซึ่งจะเป็นบันไดขั้นแรกอันจะนำมาซึ่งขั้นต่อๆไปอย่างมั่นคงและยั่งยืน

ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบอายุของความคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่เหล่านักวิชาการมุสลิมในอดีตเคยได้เสนอเวทีในการสร้างสรรค์สันติภาพเชิงแนวคิดนั้น ทำให้เห็นได้ชัดว่า โลกอิสลามได้ให้ความสำคัญต่อการปลูกฝัง เสริมสร้างและสานต่อสันติภาพตลอดมา ไม่น้อยกว่าที่โลกตะวันตกได้มอบไว้ให้กับชาวโลกเลยแม้แต่น้อย


๒. คำนิยาม: จากความมั่นคงของรัฐ/ชาติสู่ความมั่นคงของมนุษย์
องค์การสหประชาชาติได้ให้คำนิยามของ ความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security) ว่า หมายถึง "การดำรงชีวิตโดยปลอดจากความกลัว และความขาดแคลน (Freedom from Fear and Want) โดยมุ่งสร้างโอกาสให้ประชาชนมีความมั่นคงในการดำเนินชีวิต รัฐมีหน้าที่ที่จะต้องปกป้อง ดูแล สนับสนุน ให้ประชาชนสามารถดำรงความเป็นมนุษย์ของตนได้อย่างมีคุณภาพ" (1)

ประดิษฐ์และนิตยาได้ให้คำนิยามของความมั่นคงของมนุษย์ที่เกี่ยวกับภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อมว่าหมายถึง คุณภาพชีวิตของประชาชนในสังคม อะไรก็ตามที่กดดัน ทำลายหรือปิดกั้น การเข้าถึงทรัพยากรของประชาชน ถือเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชีวิต เช่น การเติบโตของเศรษฐกิจ การแพร่ระบาดของโรคร้าย ทั้งนี้การพัฒนาการเข้าถึงทรัพยากร ความเข้มแข็งของสังคมและการเมือง ถือเป็นกระบวนการนำไปสู่และเพิ่มความมั่นคงของมนุษย์ในโลกปัจจุบัน ความมั่นคงของมนุษย์มีความสำคัญมาก การพิจารณาภัยคุกคามต่อความมั่นคงจะต้องพิจารณาให้ครบถ้วน และหามาตรการป้องกันแก้ไขตั้งแต่ระดับบุคคลจนถึงระดับชาติ ภูมิภาค และระดับนานาชาติ (2)

ในอดีตนั้นประเทศไทยให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางทหาร แต่ปัจจุบัน ขอบเขตของความมั่นคงได้ครอบคลุมความมั่นคงของมนุษย์ดังกล่าวแล้ว ดังนั้นหากพิจารณาข้อแตกต่างระหว่างความมั่นคงของมนุษย์และความมั่นคงทางทหารนั้นสามารถที่จะเห็นได้ชัดใน ๓ ประการต่อไปนี้ คือ (3)

(ก) ความมั่นคงทางทหาร เป็นการวางกรอบนโยบายในการปกป้องดูแลรัฐในองค์รวมในขณะที่ความมั่นคงของมนุษย์เริ่มจากหน่วยย่อยของสังคมมากกว่าองค์รวมของประเทศ โดยอยู่บนพื้นฐานของเป้าหมายเพื่อการกินดีอยู่ดี ปลอดภัย และยั่งยืนของสังคม

(ข) ความมั่นคงทางทหารมีรูปแบบที่แน่นอน เป็นระบบที่ใช้กำลังเพื่อเอาชนะศัตรู แต่ความมั่นคงของมนุษย์ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว มีองค์ประกอบมากมาย เช่น สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และสิ่งแวดล้อม ที่เป็นพื้นฐานที่มีบทบาทต่อความมั่นคงของมนุษย์

(ค) ความมั่นคงแบบดั้งเดิมมองภาพของประเทศต่างๆ ในลักษณะผู้แข่งขัน ในรูปแบบที่เป็น "Zero-sum"โดยจะต้องมีผู้ชนะ ผู้แพ้ เสมอ ในขณะที่ความมั่นคงของมนุษย์มีการเน้นศักยภาพของหน่วยย่อย/ความร่วมมือของชุมชน ที่จะนำมาซึ่งผลได้อย่างสมบูรณ์และเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม

ดังนั้นความหมายของความมั่นคงได้พัฒนามาจากความมั่นคงรัฐหรือความมั่นคงชาติ ในยุคสงครามเย็นมาเป็นความมั่นคงของมนุษย์ภายหลังสิ้นสุดของสงครามเย็น ทั้งนี้ความมั่นคงในยุคใหม่จึงหมายรวมถึง ๕ ประการต่อไปนี้ (4)

1. ความมั่นคงทางสุขภาพ
คือ ความไม่เป็นโรคร้ายแรง ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยถึงขั้นที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพหรือการดำเนินชีวิตตามปกติ เป็นต้น

2. ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
คือ มีช่องทางเลี้ยงชีพหรือมีรายได้เพียงพอแก่ความจำเป็นพื้นฐานของตนเองและครอบครัวอันประกอบด้วยปัจจัย ๔ เป็นอย่างน้อย โดยไม่มีหนี้สินที่เป็นภาระเกินกำลังส่งคืน รวมทั้งมีหลักประกันความมั่นคงของรายได้ในอนาคตตามสมควร

3. ความมั่นคงทางสังคม

ในที่นี้รวมถึงความมั่นคงของครอบครัวและชุมชน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุขในสังคม เป็นต้น

4. ความมั่นคงทางการเมืองการปกครอง

คือ การมีสิทธิเสรีภาพเพียงพอ ไม่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน มีความยุติธรรมเสมอภาคในสังคม ประเทศชาติมีความปลอดภัยจากการรุกรานหรือการทำให้แตกสลาย เป็นต้น

5. ความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

คือ มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยอย่างต่อเนื่องต่อการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิต โดยไม่เกิดการเสื่อมโทรมจนเป็นปัญหาหรืออุปสรรคต่อความมั่นคงด้านอื่นๆ

"ความมั่นคง" หลักๆ ๕ ประการข้างต้น ถือเป็นพื้นฐานสำคัญของชีวิตมนุษย์โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นคนรวย คนจน คนชั้นสูง คนชั้นกลาง คนชั้นล่าง คนไทย คนจีน ฝรั่ง ญี่ปุ่น มาเลย์ คนในประเทศเกษตรกรรม ประเทศอุตสาหกรรม คนใช้เทคโนโลยีเก่า คนใช้เทคโนโลยีใหม่ ฯลฯ

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าพัฒนาการของคำนิยามของความมั่นคง จากอดีตจนถึงปัจจุบันนั้นเป็นไปในทิศทางที่ดี และสอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์ นั่นคือความพยายามที่จะอธิบายความมั่นคงในหลายมิติ ซึ่งครอบคลุมความต้องการพื้นฐานที่แท้จริงของมนุษย์ ในลักษณะของความมั่นคงองค์รวมที่เริ่มจากหน่วยย่อยที่สุดของสังคมไปสู่หน่วยที่ใหญ่กว่าเป็นลำดับขั้นอย่างสมบูรณ์และต่อเนื่อง

๓. เจตนารมณ์แห่งชารีอะห์: หลักประกันความมั่นคงของมนุษย์ในทัศนะอิสลาม
ในขณะที่สังคมไทยและสังคมโลก กำลังค้นหาคำตอบและคำนิยามใหม่ที่ดีและครอบคลุมที่สุดสำหรับความมั่นคงอยู่นั้น หลายๆฝ่ายได้สรุปว่า ความมั่นคงในความหมายที่บูรณาการและมีลักษณะองค์รวมนั้น น่าจะรวมถึงความมั่นคงของมนุษย์ในระดับปัจเจกบุคคล โดยเน้นปัจเจกปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงต่อความปลอดภัยของมนุษยชาติ

ในห้วงคำถามนี้อิสลามได้เสนอหลักประกันความมั่นคงเกี่ยวกับเรื่องนี้มาเป็นเวลานานพอสมควร ดังปรากฏในหลายๆโองการของคัมภีร์อัล-กุรอานและวัจนะของท่านนบีมูฮัมมัด (ซ.ล.) อย่างไรก็ตาม บทความนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอรายละเอียดของหลักฐานแห่งคำสอน ที่ปรากฏในแหล่งข้อมูลปฐมภูมิที่ได้กล่าวไว้ หากแต่ต้องการนำเสนอกรอบแนวคิด เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการทำความเข้าใจจุดยืนของอิสลาม

รวมถึงการตีความของบรรดานักวิชาการมุสลิมในอดีต เกี่ยวกับกระบวนการปลูกฝังและสร้างเสริมสันติภาพให้เกิดขึ้นบนหน้าแผ่นดิน โดยหวังให้เกิดหลักประกันความปลอกภัยในชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์บนโลกนี้ และความสันติสุขในโลกหน้าซึ่งเป็นหัวใจของบทความนี้ที่ต้องการนำเสนอแนวคิดหลักเกี่ยวกับหลักประกันความมั่นคงของมนุษย์ในทัศนะอิสลาม

ดังนั้นเจตนารมณ์แห่งชารีอะห์หรือ Maqasid al-Shar'iyah ซึ่งเป็นผลงานชิ้นโบแดงของนักวิชาการมุสลิมในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ ๑๑-๑๔ ที่ได้นำเสนอแนวคิดนี้ เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินกิจกรรมประจำวันของมนุษย์ โดยเป็นการเสนอประเด็นหลักประกันความมั่นคงของมนุษย์บนผืนแผ่นดินนี้ ในบรรดานักวิชาการที่ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวที่ชัดเจนได้แก่ อัล-ฆอซาลี (ฮ.๕๐๕/๑๑๑๑ค.ศ) อัล-ชาตีบี (ฮ.๗๙๐/๑๓๘๘ค.ศ) (5) ในส่วนของอิบนุตัยมียะห์(ฮ.๗๒๘/๑๓๒๘ค.ศ) (6) และอิบนุ อัล-ก็อยยิม(ฮ.๗๕๑/๑๓๕๐ค.ศ) (7)นั้น ได้มองว่า หลักประกันความมั่นคงน่าจะมีกรอบกว้างกว่าการพิทักษ์ปกป้องดูแล หากแต่น่าจะรวมถึงหลักประกันสวัสดิการที่ปัจเจกบุคคลควรได้รับ

สำหรับอิซซุดดีน อิบนุอับดุสลาม (ฮ.๖๖๐/๑๒๖๒ค.ศ)นั้น ท่านได้กล่าวว่า คุณและโทษในโลกนี้ล้วนแล้วแต่ควบคุมดูแลโดยการรับรู้ของสติปัญญา(Intellect/Aq'l)ทั้งสิ้น ในการกำหนดหลักประกันชีวิต(8) ดังนั้นนักวิชาการมุสลิมส่วนใหญ่จะแสดงทัศนะอย่างรอบคอบในเรื่องนี้ ทั้งนี้เป็นการบ่งบอกถึงความสำคัญในการตัดสินใจเพื่อแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่มีบทบาทสำคัญในการปลูกฝัง เสริมสร้าง และดูแล สันติภาพบนผืนแผ่นดินนี้

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น บทความนี้จะหยิบยกทัศนะของอัล-ชาตีบีเป็นประเด็นตัวอย่างเกี่ยวกับเจตนารมณ์แห่งชารีอะห์ ในฐานะหลักประกันความมั่นคงของมนุษย์ในทัศนะอิสลามทั้งนี้เพื่อทำความเข้าใจให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

อัล-ชาตีบีได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า เจตนารมรณ์แห่งชารีอะห์ สามารถแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ ดังนี้คือ (9)

ระดับที่ ๑ ดุรุริยาต (Dururiyat) : หลักประกันพื้นฐาน
เจตนารมณ์แห่งชารีอะห์ระดับแรก แสดงถึงการให้ความสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานของชีวิตมนุษย์ โดยได้เน้นย้ำในการนำเสนอหลักประกันความมั่นคงของมนุษย์ ในระดับนี้สวัสดิการพื้นฐานสำหรับโลกนี้และโลกหน้า เป็นสิ่งที่ควรได้รับการดูแลอย่างเคร่งครัดและทั่วถึง หากว่ามีความบกพร่องเกิดขึ้นในขั้นนี้ อัล-ชาตีบีมองว่า จะทำให้เกิดความยุ่งเหยิงและโกลาหลในสังคมในโลกนี้และเป็นการสูญเสียอันยิ่งใหญ่ที่ชัดแจ้ง(al-Khusran al-Mubin)ของมวลมนุษยชาติในโลกหน้า หลักประกันความมั่นคงของมนุษย์เหล่านั้น คือ

. หลักประกันความมั่นคงด้านศาสนา/ความเชื่อ (Din)
. หลักประกันความมั่นคงด้านชีวิต (Nafs)
. หลักประกันความมั่นคงด้านการสืบสายพันธุ์ (Nasl)
. หลักประกันความมั่นคงด้านทรัพย์สิน (Mal)
. หลักประกันความมั่นคงด้านสติปัญญา ('Aql)

อัล-ชาตีบี ได้วางกรอบในการสร้างและดูแลหลักประกันระดับนี้ว่า จะต้องวางอยู่บนพื้นฐานของการเสริมสร้างและดูแล ในขณะเดียวกันจะต้องรักษา ปกป้อง เพื่อไม่ให้เกิดความหายนะต่อหลักประกันทั้ง ๕ ประการข้างต้นอีกด้วย

ระดับที่ ๒ ฮาญีญาต (Hajiyat) : หลักประกันความต้องการ
เป็นระดับที่พัฒนามาจากหลักประกันพื้นฐาน กล่าวคือ การพัฒนาไปสู่แนวคิดในการอำนวยความสะดวกและขจัดปัดเป่าปัญหาและความยุ่งยากทั้งปวง เจตนารมณ์แห่งชารีอะห์ในระดับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มนุษย์ดำรงอยู่ได้ในสังคมอย่างพอเพียง เช่น การอนุญาตการล่าสัตว์ การรับประทานอาหารหะลาล การพักอาศัยในที่ที่ปลอดภัยและสะดวก รวมถึงหลักประกันในการลงทุนร่วมกันเพื่อหวังผลกำไร การยืมคืน การซื้อขายล่วงหน้า เป็นต้น

การไม่อนุมัติระบบดอกเบี้ยนั้นถือเป็นเจตนารมณ์อันสำคัญยิ่งแห่งชารีอะห์ ในการขจัดปัญหาการเอารัดเอาเปรียบในสังคมอย่างเห็นได้ชัดว่า อิสลามให้ความสำคัญในการวางหลักประกันของมนุษย์ในระดับปัจเจกบุคคล โดยการปกป้องรักษาไม่ให้มีใครถูกข่มเหงรังแกในสังคม

ระดับที่๓ ตะฮฺซีนียาต (Tahsiniyat) : หลักประกันเสริม
เจตนารมณ์แห่งชารีอะห์ระดับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสมบูรณ์ในหลักประกันความมั่นคงของมนุษย์เพื่อเติมเต็มความต้องการที่พัฒนามาจากระดับที่ ๑ และระดับที่ ๒ ดังนั้นเมื่อมนุษย์ได้รับการพัฒนาตามลำดับขั้น จะทำให้หลักประกันความมั่นคงของแต่ละปัจเจกบุคคลนั้นมีความสมบูรณ์ บูรณาการต่อเนื่อง และยั่งยืน

ตัวอย่างสำหรับหลักประกันในระดับนี้คือ การที่อิสลามอนุญาตให้มุสลิมใช้สิ่งอำนวยความสะดวก การรับประทานอาหารที่อร่อย การดื่มน้ำดื่มนม การสวมใส่เสื้อผ้าที่สวยงาม ทั้งนี้ล้วนแล้วแต่เป็นการเสริมเติมความต้องการของมนุษย์ที่สูงกว่าความจำเป็นพื้นฐานทั่วไป

๔. สรุป
อิสลามได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่หลักประกันความมั่นคงของมนุษย์ในระดับปัจเจกบุคคล อันจะนำมาซึ่งสันติภาพในระดับล่างสุดที่พร้อมก่อตัวขึ้นเป็นสังคมสันติสุข ที่ได้รับการจรรโลงโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน อัลลอฮฺ (ซ.บ) ได้ประทานความโปรดปรานโดยการประทานอัล-กุรอาน เพื่อเป็นธรรมนูญแห่งชีวิตให้กับผู้ที่ใฝ่หาสัจธรรมโดยไม่ได้เจาะจงเฉพาะมุสลิมเท่านั้น ทั้งนี้เพราะว่าอัล-กุรอานเป็นทางนำและเป็นความโปรดปรานของอัลลอฮฺ(ซ.บ)สำหรับมวลมนุษยชาติทุกยุค ทุกพื้นที่ ทุกเผ่าพันธุ์ ดังนั้นจึงไม่แปลกที่อิสลามได้วางหลักประกันความมั่นคงของมนุษย์มาพร้อมๆกับการประทานทางนำชีวิตแก่มนุษย์

ในขณะที่อีกหลายสังคมกำลังค้นหาคำตอบและบางครั้งคำตอบเหล่านั้นก็สามารถเสนอหลักประกันความมั่นคงที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะความสันติสุขชั่วครู่ชั่วยาม หรืออาจเป็นความสันติสุขที่ยั่งยืน แต่ก็ยั่งยืนเฉพาะบนโลกนี้เท่านั้น ในทางกลับกันอิสลามได้เสนอมิติของความสันติที่เป็นหลักประกันความมั่นคงของมนุษย์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า อันเป็นโลกที่ถาวรสำหรับผู้ที่ยอมตนในการเป็นบ่าวที่ดีของอัลลอฮฺในห้วงชีวิตของเขาในโลกดุนยานี้

อิสลามจึงน่าจะได้รับการแซ่ซ้องสรรเสริญ เฉกเช่นเดียวกันกับประเทศไทยที่ได้รับสิ่งเหล่านี้เพียงแค่คิดนำเสนอแนวคิดความมั่นคงของมนุษย์ในระดับชาติ โดยการตั้งชื่อกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ถึงแม้ว่าในช่วงเริ่มแรกวุฒิสภาเคยมีแนวคิดที่จะเสนอให้เปลี่ยนเป็นกระทรวงพัฒนาสังคมและทรัพยากรมนุษย์ด้วยซํ้าไป

ดังนั้นหากว่าประเทศไทยที่แค่คิดจะสร้างหลักประกันความมั่นคงของมนุษย์ ในระดับชาติที่มีพลเมืองประมาณ ๖๒ ล้านคนแล้วไซร้ ไฉนเล่าอิสลามที่พร้อมจะเสนอหลักประกันความมั่นคงให้กับมวลมนุษย์ชาติทั้งโลก อีกทั้งสมบูรณ์ บูรณาการ และยั่งยืนทั้งโลกดุนยาและโลกอาคีเราะห์ จึงไม่ได้รับการพูดถึงในแง่ที่ดีบ้าง หากว่าเราท่านได้ปลดปล่อยกับดักและหลุมพรางทางความคิดที่มีต่ออิสลามจนกลายเป็นกำแพงอมตะที่สกัดกั้นความโปรดปรานของอัลลอ(ซ.บ.) อันมีแก่มวลมนุษยชาติทั้งปวง

 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 580 เรื่อง หนากว่า 7500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

H

คุณภาพชีวิตของประชาชนในสังคม อะไรก็ตามที่กดดัน ทำลายหรือปิดกั้น การเข้าถึงทรัพยากรของประชาชน ถือเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชีวิต เช่น การเติบโตของเศรษฐกิจ การแพร่ระบาดของโรคร้าย ทั้งนี้การพัฒนาการเข้าถึงทรัพยากร ความเข้มแข็งของสังคมและการเมือง ถือเป็นกระบวนการนำไปสู่และเพิ่มความมั่นคงของมนุษย์ในโลกปัจจุบัน ความมั่นคงของมนุษย์มีความสำคัญมาก

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 580 เรื่อง หนากว่า 7500 หน้า ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่
midnightuniv(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202

กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง
สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50202
อย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์

อิสลามได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่หลักประกันความมั่นคงของมนุษย์ในระดับปัจเจกบุคคล อันจะนำมาซึ่งสันติภาพในระดับล่างสุดที่พร้อมก่อตัวขึ้นเป็นสังคมสันติสุข ที่ได้รับการจรรโลงโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน อัลลอฮฺ (ซ.บ) ได้ประทานความโปรดปรานโดยการประทานอัล-กุรอาน เพื่อเป็นธรรมนูญแห่งชีวิตให้กับผู้ที่ใฝ่หาสัจธรรมโดยไม่ได้เจาะจงเฉพาะมุสลิมเท่านั้น ทั้งนี้เพราะว่าอัล-กุรอานเป็นทางนำและเป็นความโปรดปรานของอัลลอฮฺ(ซ.บ)สำหรับมวลมนุษยชาติทุกยุค ทุกพื้นที่ ทุกเผ่าพันธุ์ ดังนั้นจึงไม่แปลกที่อิสลามได้วางหลักประกันความมั่นคงของมนุษย์มาพร้อมๆกับการประทานทางนำชีวิตแก่มนุษย์

 

ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ
เจ้าของพื้นที่ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ
เว็ปไซต์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้กับ Display properties : screen area 600 X 800 pixels ซึ่งจะให้ภาพที่คมชัดและสมบูรณ์ที่สุด