บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 579 หัวเรื่อง
เกี่ยวกับความลึกลับของฟรอยด์
สมเกียรติ
ตั้งนโม : เรียบเรียง
คณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
The
Midnight 's article
Website
ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ชีวประวัติและการปฏิวัติของฟรอยด์
อีกด้านหนึ่งเกี่ยวกับความลึกลับของฟรอยด์
สมเกียรติ
ตั้งนโม : เรียบเรียง
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หมายเหตุ:
บทความนี้เรียบเรียงมาจากบทที่ 2 เรื่อง
Freud's Revolusion
จากหนังสือเรื่อง The Myth of Irrationality : the science of the mind from
Plato to Star Trek
เขียนโดย John McCrone
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
13 หน้ากระดาษ A4)
CHAPTER TWO
FREUD'S 'REVOLUSION'
การปฏิวัติของฟรอยด์
ในอีกด้านหนึ่งเกี่ยวกับฟรอยด์
จิตวิทยาถือว่าเป็นศาสตร์ที่ยังเยาว์วัยอยู่มาก อันที่จริงเพิ่งจะมีอายุเพียงร้อยกว่าปีเท่านั้น
ในขณะที่ขบวนการโรแมนติคได้กวัดแกว่งอย่างเต็มที่นับเป็นศตวรรษก่อนที่จิตวิทยาจะเริ่มต้นขึ้น
ปรัชญาคริสตศาสนาและเพลโตนิคมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้มานานแล้ว ผู้บุกเบิกทั้งหลายทางด้านจิตวิทยาเป็นจำนวนมาก
การแบ่งแยกจิตออกเป็นสามส่วนมีมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ดูเหมือนว่าจะไม่มีอะไรมากไปกว่าสามัญสำนึก
จริงแล้วๆ พวกเขาอยู่กับแบบจำลองอันนี้ ซึ่งพวกเขาได้นำเอามันมาใช้ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้นเกี่ยวกับการสร้างทฤษฎีของพวกเขา
และทำความผิดพลาดขึ้นด้วยการพยายามที่จะเปลี่ยนมันไปสู่ความเป็นวิทยาศาสตร์
คนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในบรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายที่เถียงแทน หรือเป็นทนายแก้ต่างให้กับเรื่องราวปรัมปราเกี่ยวกับความไร้เหตุผลก็คือ Sigmund Freud. เรื่องเล่าเกี่ยวกับ Freud เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและยังคงอยู่มาโดยตลอด เนื่องมาจากอิทธิพลอันยิ่งใหญ่ที่เขาได้มีให้กับความคิดในคริสตศตวรรษที่ 20 นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม การทำให้ขาดความเชื่อถือเกี่ยวกับผลงานของ Freud ก็ได้บังเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน แต่ทฤษฎีต่างๆของเขายังคงดึงดูดใจต่อปัญญาชนชาวตะวันตก และคำศัพท์ต่างๆที่เขาได้คิดค้นขึ้นมา ก็ยังคงเป็นมาตรฐานซึ่งพวกเราใช้พูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องจิตใจกันอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้
Freud เกิดในปี ค.ศ.1856 เขาเป็นลูกชายคนแรกที่ฉลาดหลักแหลมของชาวยิวซึ่งเป็นพ่อค้าขายเสื้อผ้า ช่วงที่เขาเรียนหนังสืออยู่ก็เป็นดาวเด่นของโรงเรียน, Freud ได้แล่นเรือไปเรียนหนังสือต่อที่มหาวิทยาลัยเวียนนา ซึ่งเป็นสถาบันทางการแพทย์ชั้นนำของโลกในช่วงเวลานั้น จนกระทั่งเขาอายุได้ 30 ปี Freud ได้ดำเนินอาชีพไปตามจารีตในด้านประสาทวิทยา
เขาได้ทำการศึกษาระบบประสาทต่างๆของพวกสัตว์ และโรคทางสมองของมนุษย์ ภายใต้การควบคุมของศาสตราจารย์ที่มีชื่อเสียง อย่างเช่น Ernst Brucke และ Theodor Meynert. ดูเหมือนว่า Freud จะเริ่มสร้างชื่อเสียงพอประมาณสำหรับตัวเขาเองขึ้นมาในงานวิจัย และในที่สุดชื่อเสียงของเขาก็ค่อยๆน้อยลงไป แต่มีตำแหน่งอันมีเกียรติ ในฐานะที่เป็นศาสตราจารย์คนหนึ่งขึ้นมาแทน
อย่างไรก็ตามในทางส่วนตัว
Freud มีความปรารถนาเล็กๆน้อยๆสำหรับอาชีพอย่างปกติชนทั้งหลาย แต่เขามีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะสร้างชื่อเสียงของเขาด้วยความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ที่สำคัญยิ่งและน่าตื่นเต้น
เขาเคยเขียนไปถึงคู่หมั่นของเขาในปี ค.ศ.1884 ว่า เขากำลังเตรียมพร้อมที่จะให้โชคมาถึงตัว
ซึ่งนั่นจะทำให้เขาทั้งคู่มีสถานะของชีวิตที่ดีขึ้น
โชคครั้งแรกที่โถมเข้าหา Freud ซึ่งได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความน่าอึดอัดใจอย่างมากก็คือ
ในปี ค.ศ.1880 ตัวอย่างต่างๆเกี่ยวกับการค้นพบใหม่ในเรื่องของยากระตุ้นประเภทโคเคน
ที่เพิ่งจะได้รับการสกัดขึ้นมาโดยบรรดานักเคมีชาวเยอรมันจากใบไม้จำพวกโคคา
ได้ทำให้เกิดมีการเกาะกลุ่มรวมตัวกันอย่างรวดเร็วเพื่อการค้นคว้าขึ้นโดยทันทีที่อเมริกาใต้
Freud ได้เคยได้ยินเรื่องเล่าขานเกี่ยวกับว่าชนอินเดียนเผ่า Andean ได้เคี้ยวใบไม้ต่างๆเพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถทำงานได้ยาวนานในทุ่งนามากขึ้น และคิดว่าใบไม้ดังกล่าวอาจจะมีศักยภาพในทางสมุนไพร ดังนั้นเขาจึงได้ตัดสินใจทดสอบบางอย่างด้วยตัวของเขาเอง การทดลองของ Freud กับโคเคนได้สร้างความประทับใจอย่างมากต่อตัวเขา และเขาได้กลายเป็นผู้ให้การสนับสนุนหรือโต้แทนเรื่องดังกล่าวอย่างรุนแรงเกี่ยวกับตัวยาอันนี้
ในรายงานชิ้นหนึ่งที่ดูจะเกินไปสักหน่อยในเรื่อง "Uber Coca", ซึ่งตีพิมพ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1884, Freud ได้อ้างและยืนยันว่า โคเคนเป็นยาตัวหนึ่งที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับพลังอำนาจวิเศษต่างๆ(near-magical powers) ในไม่ช้า Freud ก็ได้ให้การสนับสนุนยาดังกล่าวในฐานะที่เป็นการรักษาความป่วยไข้ต่างๆ นับตั้งแต่อาการเมาคลื่นจนไปถึงโรคเบาหวานต่างๆ
สำหรับตัวเขา เริ่มต้นรับประทานโคเคนเป็นปกติด้วยตัวของเขาเอง "...เพื่อต่อสู้กับอาการเศร้าซึม(depression)และต่อต้านกับอาการอาหารไม่ย่อย" เขายังได้แนะนำและสั่งยาตัวนี้ให้กับภรรยาในอนาคตและเพื่อนๆของเขาด้วย
การให้การสนับสนุนของ
Freud เกี่ยวกับโคเคนทำให้เขากลายเป็นที่สนใจ จนกระทั่งเขาได้กลายเป็นเป็นคนที่ได้รับการถามหา
แต่อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์อันนี้จบลงด้วยความเลวร้ายเมื่อทำให้เกิดการติดยาขึ้น
และมีผลข้างเคียงในทางที่เป็นพิษปรากฏขึ้นมา. Freud ได้ถูกบีบบังคับให้ถอนตัวออกมาจากความเชื่อมโยงกับเรื่องโคเคนของเขา
ในลักษณะที่ค่อนข้างจะเร่งรีบ
ความพยายามในครั้งที่สองของ Freud ที่เป็นความโชคดีได้มาถึงเมื่อตอนที่เขาได้รับการเสนอเงินอุดหนุนจากรัฐบาล
ในการทำวิจัยเป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งทำให้เขามีอิสระที่จะไปและศึกษาอะไรก็ได้ตามที่เขาต้องการ
อันนี้ได้ทำให้เขาโดดเด่นขึ้นมาท่ามกลางสาธารณชน, Freud ได้ละทิ้งการศึกษาเรื่องสมองที่นำมาดอง
และภาพสไลด์ตัวอย่างของห้องทดลองทางประสาทวิทยาของเขาในกรุงเวียนนา และได้ออกเดินทางไปยังกรุงปารีสเพื่อศึกษาโรคฮีสทีเรีย(hysteria
- โรคจิตประสาทประเภทหนึ่ง เช่น ความกังวลใจ) ภายใต้การควบคุมของ Jean-Martin
Charcot
Charcot เป็นศาสตราจารย์ที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับโรคทางสมองที่ the Salpetriere ซึ่งเป็นโรงพยาบาลทางด้านจิตประสาท(asylum)ของปารีส เขามีคนไข้ซึ่งอยู่ในการดูแลซึ่งป่วยเป็นโรคจิตประสาทประเภทฮีสทีเรียจำนวนหนึ่ง บรรดาคนไข้ต่างๆมีทั้งที่มีอาการชักหรือสั่นไปทั่วด้วยความตกใจ, มีอาการเกร็งกล้ามเนื้อจนร่างกายบิดงอ, อาการง่วงไม่รู้สึกตัว, และอ่อนเปลี้ยเป็นอัมพาต
ด้วยประโยชน์ของการเข้าถึงปัญหาที่ซ่อนเร้นอยู่ทางด้านการแพทย์ แพทย์สมัยใหม่มาถึงตอนนี้ เชื่อถือว่าคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคฮีสทีเรียของ Charcot เป็นผู้ที่ได้ประสบกับภาวะที่ผิดเพี้ยนของระบบประสาท - การรบกวนทางด้านจิตใจอย่างรุนแรง ที่เป็นความตื่นเต้นทางด้านอารมณ์โดยฉับพลันในรูปแบบที่รุนแรง สามารถก่อให้เกิดผลในลักษณะที่สูญเสียความสำนึกได้ แต่ในรูปแบบที่เบากว่านั้นสามารถที่จะนำพาไปสู่อาการโรคต่างๆ อย่างเช่น โรคที่แสดงออกมาโดยคนไข้ต่างๆของ Charcot
แต่อย่างไรก็ตาม Charcot เชื่อว่าปฏิกริยาทางอารมณ์ที่รุนแรงอย่างปัจจุบันทันด่วนต่างๆเป็นสิ่งที่พิเศษ ซึ่งได้มีมูลเหตุมาจากทุกสิ่งทุกอย่าง ยิ่งกว่าความบ้าที่มารบกวนบางอย่างซึ่งเกิดขึ้นในจิตระดับลึก - ยกตัวอย่างเช่น เป็นไปได้ว่าเป็นผลอันเนื่องมาจากความผิดหวังหรือขัดข้องทางเพศ(sexual frustration) หรืออาการเลือดคั่งของการมีประจำเดือน"
Freud รู้สึกงุนงงและประหลาดใจ โดยการแสดงออกเกี่ยวกับอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อของคนไข้ ที่ป่วยเป็นโรคฮีสทีเรียของหมอ Charcot. สำหรับ Freud ปฏิกริยาทางอารมณ์ที่รุนแรงอย่างปัจจุบันทันด่วนทั้งหลายเหล่านี้ คืออาการที่ปรากฏขึ้นเพียงแวบเดียวครั้งแรกของเขาเกี่ยวกับพลังอำนาจที่ซ่อนเร้นของจิตไร้สำนึก
เขาได้หวนกลับไปสู่กรุงเวียนนาในปี ค.ศ.1886 อย่างเต็มไปด้วยความตื่นเต้น และได้เสนอรายงานที่เร้าอารมณ์เกี่ยวกับผลงานของหมอ Charcot ให้กับสมาคมแพทย์ของเมืองฟัง แต่คำพูดของเขากลับได้รับการต้อนรับอย่างน่าสงสาร บรรดานายแพทย์ของกรุงเวียนนาต่างก็คุ้นเคยกันอยู่แล้วกับคนไข้ต่างๆของหมอ Charcot และเข้าใจว่าอาการป่วยด้วยโรคฮีสทีเรียของพวกคนไข้เหล่านั้น เป็นไปได้ที่ว่าจะเป็นเรื่องของอวัยวะค่อนข้างมากกว่ามูลเหตุทางด้านจิตวิทยา
Freud กลับมาจากการประชุมด้วยความรู้สึกที่ว่า
เขาได้รับการดูถูกเหยียดหยามโดยคนที่มีอำนาจสูงและเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย
ทั้งนี้เพราะความคิดต่างๆของเขานั้น มันเป็นการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่มากนั่นเอง
ภายหลังต่อมา เขาจะต้องมองว่าการเสนอรายงานและการพูดคุยกันครั้งนี้ คือเครื่องหมายของการเริ่มต้นเกี่ยวกับความอาฆาตพยาบาทจนตลอดชีวิตกับสมาชิกที่มีจิตใจอันคับแคบของสถาบันทางการแพทย์ของกรุงเวียนนา
โดยไม่คำนึงถึงความล้มเหลวในหนที่สองอันนี้ Freud ไม่ได้รู้สึกท้อถอยกับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น
เกือบจะโดยทันทีนั้น เขาก็ได้กระโดดพรวดเข้าไปอย่างกระตือรือร้นเป็นหนที่สาม.
Josef Breuer นายแพทย์คนหนึ่งที่น่านับถือและเป็นเพื่อนของ Freud ได้พยายามที่จะทำการรักษาคนไข้ที่มีพฤติกรรมผิดปกติคนหนึ่ง
ด้วยวิธีการสะกดจิต(hypnosis) Breuer เชื่อว่าผู้หญิงที่มีอายุ 21 ปีที่ชื่อ
Bertha Pappenheim (ซึ่งรู้จักกันในนามทางด้านวิธีการทางจิตวิเคราะห์ว่า
Anna O.) กำลังประสบกับการล้มป่วยด้วยโรคฮีสทีเรีย ซึ่งเกิดขึ้นมาโดยการได้พยาบาลพ่อของเธอที่กำลังจะตาย
ขณะที่ Pappenheim ได้มีโอกาสดูแลพ่อของเธอ ภายหลังที่พ่อของเธอได้ล้มป่วยลงเป็นเวลาหลายเดือน เธอได้พาตัวเองไปที่เตียงด้วยอาการโรคที่แปลกๆหลายอย่าง ซึ่งอาการดังกล่าวมีทั้งอาการอัมพาต, อาการประสาทหลอน, อาการทางด้านอารมณ์ที่ตื่นเต้น และพูดไม่ได้
Breuer มีความมั่นใจว่า Pappenheim กำลังแกล้งทำเป็นป่วยเพื่อที่จะปิดบังซ่อนเร้นความรู้สึกเจ็บปวดชอกช้ำ แต่อีกคำรบหนึ่งในเรื่องเกี่ยวกับการเข้าถึงปัญหาที่ซ่อนเร้น บรรดานักเขียนเรื่องราวทางการแพทย์สมัยใหม่ อย่างเช่น Henri Ellenberger ได้บอกกล่าวเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องนี้ในหนทางที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง
พ่อของ Bertha Pappenheim กำลังจะตายลงด้วยโรควัณโรค(tuberculosis) และปรากฎว่าเธอก็ป่วยด้วยโรคดังที่กล่าวมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย. แต่แทนที่จะติดต่อวัณโรคปอด เธอได้พัฒนารูปแบบของการติดโรคที่ไม่ค่อยจะพบเห็นมากนักยิ่งขึ้น - ซึ่งหนึ่งในอาการดังกล่าวก็คือผลกระทบที่มีต่อสมอง. อันนี้น่าจะเป็นมูลเหตุอาการโรคทั้งหมด, Breuer อธิบาย และเป็นเหตุผลต่างๆทางด้านกายภาพ ไม่ใช่เป็นเรื่องของจิตแต่อย่างใด
ดังที่ได้มีการเปิดเผยในบันทึกรายงานของเขาเกี่ยวกับกรณีนี้ อันที่จริงแล้ว Breuer ได้พิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่ว่า คนไข้ของเขานั้นอาจจะทุกข์ทรมานจากเยื่อหุ้มปอดอักเสบ แต่เขาล้มเลิกที่จะวินิจฉัยหรือการตรวจอันนี้ไป โดยกล่าวว่า อาการโรคต่างๆของเธอนั้นค่อนข้างที่จะประหลาดมาก(สิ่งที่น่าประหลาดใจมากที่สุดของอันนี้คือว่า Peppenheim ได้สูญเสียความสามารถในการพูดภาษาเยอรมันไป เมื่อเธอล้มตัวลงนอนในเย็นวันหนึ่ง และสามารถพูดได้แต่ภาษาอังกฤษเท่านั้น)
การผลักดันอย่างรุนแรงในความเชื่อดังกล่าวที่ว่า เขากำลังเกี่ยวข้องกับคนไข้ที่มีอาการฮีสทีเรีย, Breuer ได้ทำการสะกดจิต Peppenheim และพยายามที่จะทำให้เธอพูดถึงความทรงจำต่างๆที่ถูกเก็บเอาไว้ออกมา ซึ่งเขาคิดว่าจะต้องเป็นปัญหาความยุ่งยากต่างๆของเธอ
Freud รู้สึกหลงใหลต่อวิธีการรักษาของ Breuer และได้ติดตามกรณีดังกล่าวอย่างกระชั้นชิด เขาได้รับเอาความคิดดังกล่าวเกี่ยวกับการรักษาด้วยการพูดคุย(talking cure)มาใช้สำหรับตัวเอง และในท้ายที่สุดได้ชักชวน Breuer อย่างไม่ค่อยจะเต็มใจนักให้พิมพ์หนังสือร่วมกันขึ้นมาเล่มหนึ่ง เกี่ยวกับการค้นพบอันยิ่งใหญ่นี้
ในหนังสือเรื่อง Studies in Hysteria ของ Freud และ Breuer, กรณีของ Bertha Pappenheim ได้รับการยกย่องในฐานะที่เป็นการรักษาโดยวิธีการทางด้านจิตวิเคราะห์ขึ้นมาเป็นครั้งแรก และได้รับการอ้างว่า คนไข้ได้รับการบำบัดเกี่ยวกับความทรงจำต่างๆในวัยเด็กที่เจ็บปวดบางอย่าง สิ่งคั่งค้างทั้งหลายได้ถูกดึงกลับมาสู่แสงสว่างในระดับจิตสำนึก
ในความเป็นจริง ข้อเท็จจริงค่อนข้างที่จะแตกต่างไปเลยทีเดียว ดังที่ Ellenberger และคนอื่นๆได้ค้นพบ โดยการตรวจสอบบันทึกรายงานทางการแพทย์เดิมๆ กล่าวคือสภาพเงื่อนไขของ Pappenheim อันที่จริงแล้ว เลวลงในช่วงระหว่างการรักษาของ Breuer. การบำบัดของเขาได้รับการยุติลงเมื่อ Pappenheim กลายสภาพเป็นคนที่ป่วยหนักมากยิ่งขึ้น ซึ่งต่อมาเธอได้ถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรังที่สวิสส์(Swiss sanatorium) และหลังจากนั้นต้องใช้เวลาถึง 4 เดือนกว่า สำหรับอาการป่วยของเธอที่จะบรรเทาลงได้ และอาการที่เลวลงเกี่ยวกับโรคต่างๆของเธอนั้นก็หดหายไป
หลายปีหลังจากการรักษาด้วยการคาดคะเนเอาเองของ Breuer, Pappenheim ยังคงทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดจากการปวดประสาท ซึ่งทำให้ได้รับความทรมานอย่างรุนแรงต่อมา. Freud ได้ทราบถึงรายละเอียดอย่างบริบูรณ์เกี่ยวกับกรณีของ Pappenheim กระนั้นก็ยังคงเลือกที่จะแสดงออกถึงเรื่องนี้ในฐานะที่เป็นตัวอย่างการรักษาแบบหนึ่ง และใช้มันเป็นกระดานดีดตัว(springboard) เพื่อที่จะเหวี่ยงตัวเขาเองไปสู่งานอาชีพในการบำบัดด้วยวิธีการทางจิตวิเคราะห์ของเขา
รวดเร็วเท่าที่เขาสามารถที่จะทำได้ Freud ได้แยกตัวเองจากงานประจำของเขาที่คลีนิคคนไข้นอกที่เป็นเด็ก และเริ่มต้นทำงานส่วนตัวซึ่งเขาสามารถที่จะทำการบำบัดรักษาคนไข้ที่เป็นโรคฮีสทีเรีย และได้นำเอาวิธีการทางด้านโรคประสาทมาใช้ นั่นคือการรักษาด้วยการพูดคุย
บางที ความรู้สึกผิดเกี่ยวกับวิธีการบำบัดรักษาในกรณีของ Pappenheim จะปรากฏผลขึ้นมา Breuer ได้สูญเสียความสนใจในการรักษาที่เขาได้ประดิษฐ์ขึ้นมานี้ไป และในท้ายที่สุดเขาก็แตกหักกับ Freud. ต่อมาภายหลัง Breuer ได้วิจารณ์และแสดงความคิดเห็นอย่างเคร่งขรึมว่า Freud เป็นคนที่มีนิสัยชอบในเรื่องสูตรสำเร็จต่างๆและชอบผูกขาดแต่เพียงผู้เดียว อันนี้เป็นความปรารถนาในเชิงจิตวิทยาอันหนึ่ง ซึ่งในความคิดเห็นของผม ได้นำไปสู่การวางหลักเกณฑ์มากจนเกินไป
Freud ยอมรับในคำพูดดังกล่าวอย่างไม่สะทกสะท้าน เขาได้ละทิ้งวิธีการสะกดจิตไปในฐานะที่เป็นวิธีการอันหนึ่งเกี่ยวกับคนไข้ที่มีอาการเสื่อมถอย, โดยกล่าวว่า เขาได้ค้นพบว่ามันไว้วางใจไม่ได้ และได้พัฒนาเทคนิคของเขาเองขึ้นมาแทน เกี่ยวกับการวิเคราะห์ที่วางอยู่บนรากฐานของความสัมพันธ์กันอย่างอิสระและการตีความเกี่ยวกับความฝันต่างๆ
ในทศวรรษถัดมา Freud ได้นั่งในตำแหน่งหัวโต๊ะของวิธีการทางจิตวิเคราะห์ และค่อยๆพัฒนาแบบจำลองอันหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องของจิตใจขึ้นมา ซึ่งจากการเปิดเผยต่างๆ เขาได้บอกกับเราว่า เขาได้รับมาจากคนไข้ต่างๆนั่นเอง
ในการพิจารณาแบบจำลองเกี่ยวกับเรื่องจิตของ Freud เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องตระหนักว่า Freud ไม่ใช่เป็นผู้ปฏิวัติในเรื่องทั้งหมด ดังที่ชีวประวัติของเขาเป็นจำนวนมากบอกเอาไว้อย่างนั้น อันที่จริงแล้ว ทัศนะเกี่ยวกับเรื่องจิตใจที่อยู่ข้างใต้ทฤษฎีต่างๆของเขานั้น มีรากมาจากขบวนการโรแมนติคโดยตลอด ซึ่งได้เริ่มต้นมากว่าร้อยปีแล้ว
ในช่วงเวลานั้น เพื่อนร่วมงานที่กรุงเวียนนาของเขาได้มีความเข้าใจไปมากแล้วในเรื่องของโครงสร้างเกี่ยวกับระบบประสาทของสมอง และเรื่องราวเกี่ยวกับองค์ประกอบธรรมชาติของโรคจิตต่างๆ ส่วนตัวของ Freud เองนั้น ความคิดของเขาได้หวนกลับมาสู่เรื่องทางแพทย์ในอดีตที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์
น้อยมากสำหรับ Freud ที่จะยอมรับว่าเป็นหนี้บุญคุณในเรื่องที่ว่า ผลงานของเขานั้นเป็นหนี้ต่อขนบประเพณีแบบโรแมนติค - แม้ว่าเขาจะยอมรับว่า มันเป็นเพราะความเรียงของ Goethe ในเรื่อง "An Ode to Nature" ซึ่งได้ให้แรงดลใจแก่เขาให้หันมาสนใจในเรื่องทางการแพทย์ขึ้นมาเป็นครั้งแรก แต่อย่างไรก็ตาม คนอื่นๆอย่างเช่น Lancelot Whyte และ Ernest Gellner ได้แสดงให้เห็นว่า มันมากมายขนาดไหนที่ Freud ได้รับอิทธิพลมาจากปรัชญาของ Nietzche และ Schopenhauer
แนวความคิดเกี่ยวกับเจตจำนงที่ไร้เหตุผลและเร่าร้อนเดือดพล่านของนักปรัชญาทั้งสอง มีความคล้ายคลึงกันอย่างมากกับทัศนะของ Freud เกี่ยวกับจิตไร้สำนึกที่ฝังแน่นในเรื่องเพศ(sex-obsessed unconscious). ลักษณะเฉพาะบางอย่างในเรื่องพลังและความเคลื่อนไหวของของเหลวในทัศนะของ Freud เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ - ซึ่งเป็นที่ที่แรงกระตุ้นของจิตไร้สำนึกอันดำมืดได้ทะลักออกมาในจิตใจ และถ้าหากว่ามันถูกเก็บกดไม่ให้ได้มีโอกาสแสดงออก ก็จะเป็นมูลเหตุทางจิตให้ต้องไหลทะลักออกมาตามรูรั่วในที่ต่างๆ - ซึ่งความคิดทำนองนี้ได้มาโดยตรงจากขนบประเพณีของโรแมนติค
ความคิดเกี่ยวกับเรื่องจิตใจในฐานะที่เป็นพลังงานของของเหลว สามารถนับย้อนกลับไปได้ถึงขบวนการเคลื่อนไหวแบบ Naturphilosophie, ศาสตร์ในยุคโรแมนติคที่สร้างขึ้นมาโดย Friedrich Schelling ซึ่งเจริญรุ่งเรืองขึ้นในช่วงครึ่งแรกของคริสตศตวรรษที่ 1800s, และก่อนหน้านั้น ซึ่งสามารถจะนับย้อนกลับไปหาต้นตอได้ถึง Aristotle
อย่างที่ทราบ Aristotle ได้พัฒนาวิชาสรีรศาสตร์ทางด้านจิตใจขึ้นมา บนพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องของเหลวทั้ง 4 - ได้แก่ เลือด, น้ำเมือก, น้ำดีสีเหลือง, และน้ำดีสีดำ. ดุลยภาพที่แตกต่างของของเหลวเหล่านี้จะก่อให้เกิดสภาวะทางอารมณ์ที่ต่างกันออกไป. Aristotle ยังมองเรื่องของวิญญานด้วยว่า เป็นพลังชีวิตซึ่งอยู่ในรูปของสารละลาย ซึ่งได้ทำให้เกิดมีการรับรู้ของพวกสัตว์ชั้นต่ำทั้งหลาย, และในรูปแบบที่ยกระดับขึ้นมาหรือสูงขึ้น ทำให้มีสำนึกในเรื่องตัวตน และการรับรู้เชิงเหตุผลของมนุษย์ทั้งหลาย
ทฤษฎีต่างๆของ Aristotle เกี่ยวกับของเหลวทั้งหลายซึ่งเป็นพลังของชีวิต กลายเป็นส่วนหนึ่งของความคิดตะวันตกโดยผ่านงานเขียนหลายชิ้นทางด้านการแพทย์ของ Gelen, นายแพทย์ชาวกรีกในศตวรรษที่สอง. ในขณะที่แบบจำลองเกี่ยวกับเรื่องของจิตใจของ Plato ได้พันรอบและโอบกอดอยู่กับความเชื่อของคริสเตียน ซึ่งได้กลายมาเป็นทฤษฎีทางด้านจิตที่มีอิทธิพลของตะวันตก
ความคิดต่างๆของ Aristotle ได้กลายเป็นสาระสำคัญลำดับรองที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องราวปรัมปราอันคลุมเครือ ซึ่งได้แสดงตัวของมันเองออกมาส่วนใหญ่ ในความคิดของบรรดานายแพทย์ทั้งหลายในสมัยกลางและสมัยเรอเนสซองค์ ความคิดของ Aristotle เกี่ยวกับพลังชีวิตที่ซัดสาดไปๆมาๆ(ขึ้นๆลงๆ) และของเหลว 4 ประเภทของร่างกาย ได้ให้คำอธิบายทางด้านกายภาพอันหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องของจิตใจ ซึ่งได้มาเติมเต็มให้เกิดความสมบูรณ์แก่ความคิดในเชิงเมตาฟิสิกส์(อภิปรัชญา)ของ Plato ในเรื่องเกี่ยวกับมนุษยชาติที่ว่า มนุษย์คือสิ่งที่อยู่ในภาวะดุลยภาพ หรืออยู่ครึ่งกลางระหว่างความเป็นสัตว์และความเป็นพระเจ้า
จากอิทธิพลของ Aristotle บรรดานักกายวิภาคทางการแพทย์ในสมัยเรอเนสซองค์มีความเชื่อว่า เครือข่ายการทำงานของประสาทต่างๆที่ผูกโยงกับร่างกาย ตามข้อเท็จจริงนั้น ก็คือท่อลำเลียงที่ส่งพลังของจิตวิญญานสัตว์ให้ไหลเวียนลงไป. ในส่วนของโพรงของสมอง - ระบบหนึ่งของห้องต่างๆที่บรรจุของเหลวซึ่งอยู่กึ่งกลางของซีกสมองส่วนที่เรียกว่า cerebral - ได้รับการมองว่าเป็นที่ตั้งของจิตสำนึก
การเปรียบเทียบความคล้ายคลึงกันกับท่อน้ำอันนั้น ได้ทำให้เกิดความนิยมแพร่หลายขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ด้วยการเกิดขึ้นมาของขบวนการเคลื่อนไหวของ Naturphilosophie ซึ่งพยายามที่จะสร้างศาสตร์ใหม่ขึ้นมาบนรากฐานความเชื่อที่ว่า มีโลกแห่งวิญญานที่ร่วมกันอันหนึ่ง(weltseele) ที่เชื่อมต่อกับรูปแบบต่างๆทั้งหมดของชีวิตในรูปแบบที่บริสุทธิ์จริงๆของมัน วิญญานโลกอันนี้ได้ไหลทะลักเข้าไปสู่ร่างกายของมนุษย์ และได้ก่อให้เกิดความสำนึกทางด้านเหตุผลขึ้น
Naturphilosophie ได้จับเอาจินตนาการของสาธารณชน ด้วยการสอดแทรกเรื่องราวในทางศาสนาเข้าไป แต่ในฐานะที่เป็นวิทยาศาสตร์ ขบวนการอันนี้ในไม่ช้าก็กลายมาเป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อถือไป. แน่นอน นับเวลามาก่อนหน้าที่ Freud จะเริ่มต้นการศึกษาต่างๆทางการแพทย์ของเขาในปีทศวรรษที่ 1870s, มันเป็นที่รู้กันมากพอเกี่ยวกับเรื่องของระบบประสาทที่จะทำการอุปมาอุปมัยในเรื่องของจิตกับน้ำที่ขับเคลื่อน ซึ่งออกจะล้าสมัยไปแล้ว
อันที่จริง Freud กำลังทำการศึกษาภายใต้อิทธิพลของบรรดานักสรีรวิทยาโดยเฉพาะ ผู้ซึ่งได้ขจัดเรื่องราวทางการแพทย์ในแบบโรแมนติคทิ้งไปแล้ว แต่กระนั้น ภาพลักษณ์ของผู้ปรุงในเรื่องความกดดันทางจิตคนหนึ่ง ได้กลายมาเป็นรากฐานทฤษฎีต่างๆของ Freud
ภาพของชายคนหนึ่งซึ่งนั่งอยู่ ในช่วงปีทศวรรษ 1890s เพื่อสร้างแบบจำลองทางด้านจิตวิเคราะห์เกี่ยวกับจิตใจ ไม่ใช่ภาพที่ยกยอหรือดูเกินความเป็นจริงไปนัก Freud ได้แสดงตัวของเขาเองในฐานะนักศึกษาที่มีความสามารถคนหนึ่ง และได้ประสบโชคที่ได้ทำงานในกรุงเวียนนาในช่วงเวลาที่เมืองๆนี้กำลังเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์สมัยใหม่พอดี แต่ Freud ก็ได้แสดงให้เห็นถึงภาพของคนที่ถูกหลอกง่าย, การไม่สนใจต่อความทะเยอทะยาน, และความไม่ซื่อสัตย์ในเรื่องรายงานเกี่ยวกับการรักษาต่างๆ ที่มีการวางเครื่องหมายคำถามเอาไว้สำหรับการผจญภัยเพียงลำพังของเขา
มันเป็นหลักฐานที่ดีชิ้นหนึ่ง ซึ่งปัญหาต่อมาสำหรับ Freud ก็คือ เขาได้กลายเป็นคนที่ติดยาเสพติดประเภทโคเคน ซึ่งเขาได้เคยทดลองใช้มาในช่วงแรกๆ บุคลิกภาพของ Freud ในช่วงระหว่างเวลาดังกล่าว ได้แสดงให้เห็นถึงอาการโรคของการใช้โคเคนมากจนเกินไป
อาการโรคได้สอดแทรกเข้าไปในการปะทุที่ยิ่งใหญ่ต่างๆ เกี่ยวกับกิจกรรมที่ซึ่งได้ติดตามมาด้วยภาวะที่ตกต่ำดำมืดหลายครั้งด้วยกัน เขามีอาการกังวลอย่างรุนแรงเกี่ยวกับเรื่องเพศซึ่งโคเคนได้เป็นตัวกระตุ้น และจากการวินิจฉัยข้อคิดเห็นต่างๆในจดหมายหลายฉบับของเขา เขามีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศด้วย ซึ่งเป็นผลข้างเคียงอันหนึ่งเกี่ยวกับการใช้ยาเสพติดอย่างรุนแรงนั่นเอง
นอกเหนือจากนี้แล้ว ปรากฎว่า Freud ยังทุกข์ทรมานจากอาการพารานอยด้วย(ภาวะจิตบกพร่องที่มีอาการหวาดระแวงหลงผิด คิดว่าคนอื่นจะมาทำร้ายตน) ซึ่งนั่นเป็นอาการร่วมอีกอันหนึ่งของการใช้โคเคนมากจนเกินไป - Freud ยังเป็นคนที่มีชื่อเสียงในหนทางที่ชอบตัดเยื่อใยสัมพันธ์อย่างฉับพลันทันทีกับเพื่อนสนิทเป็นจำนวนมาก และความเชื่อมั่นของเขาที่ว่าโลกใบนี้ช่างต่อต้านหรือสวนทางกับเขา และทฤษฎีต่างๆของเขาเสียเหลือเกิน
ในท้ายที่สุด Freud ได้รับความทุกข์ทรมานจากลักษณะอันหลากหลายของความไม่สบายทางกาย ซึ่งเกี่ยวพันกันกับโคเคน อย่างเช่น ความผิดปกติของหัวใจ, อาการหน้ามืดเป็นลมอย่างปัจจุบันทันด่วน, และอาการเยื่อจมูกอักเสบ เป็นต้น
ไม่ต้องโต้เถียงกันเลยว่า Freud ได้ใช้โคเคนในขณะที่กำลังสร้างทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของเขาอยู่ - แม้แต่ในชีวประวัติส่วนตัวที่เป็นทางการของเขา Ernest Jone ก็ได้พูดถึงข้อเท็จจริงอันนี้ ปัญหาคือว่า การติดยาเสพติดดังกล่าวมันมีอิทธิพลมากเพียงใด ที่มีผลต่ออัตลักษณ์ของ Freud และต่อไอเดียหรือความคิดต่างๆที่เขาได้พัฒนาขึ้น
บางคนเสนอว่า การที่ติดโคเคนเป็นเหตุผลซึ่งอธิบายว่า
ทำไมไอเดียหรือความคิดต่างๆเกี่ยวกับเรื่องของพลังทางเพศ จึงมีอิทธิพลเด่นออกมาในทฤษฎีต่างๆของเขา
และยังรวมไปถึงความมั่นใจในเรื่องขององค์ Messiah(ผู้ที่จะมาโปรดโลก)ด้วย
ซึ่งเขามีแนวโน้มที่จะอ้างเหตุผลสนับสนุนกรณีนี้ของเขา
แบบจำลองเรื่องจิตใจของ Freud ค่อนข้างที่จะสลับซับซ้อน และได้มีการปรับปรุงแก้ไขอยู่หลายครั้ง
แต่โดยพื้นฐานแล้ว เหตุผลข้อสรุปของเขาก็คือ จิตใจของคนเรานั้น สามารถที่จะแบ่งได้ออกเป็น
3 ส่วนด้วยกันคือ, (1) id, (2) ego, และ (3) super-ego
id คือจิตไร้สำนึกดั้งเดิม, ต้นตอของพลังงานที่ขับดันบุคลิกภาพทั้งหมด ในเทอมของเรื่องราวปรัมปราของความไร้เหตุผล, id คือ หลุมบ่อหรือปรักตมแห่งความไร้ศีลธรรม และความปรารถนาอันปราศจากเหตุผล(a pit of amoral and illogical desire)
ในขณะที่ id พลุ่งพล่านไปๆมาๆในความลึกที่ไม่อาจมองเห็นได้ของมัน, ego คือความรับรู้ในเรื่องตัวตน(self-aware)และส่วนที่เกี่ยวกับเหตุผลของจิตใจ. ego ได้รับการบรรจุให้มีกลไกการปกป้อง ที่จะนำเอาพลังแห่งความมืดมนของ id มาทำการตรวจสอบ
แต่อย่างไรก็ตาม พลังที่เดือดพล่านของ id ในบางโอกาสมันจะสามารถทำลายหรือฝ่าฝืนกลไกป้องกันเหล่านี้ และสามารถที่จะฝ่าอุปสรรคทะลุทะลวงไปสู่การรับรู้ได้ แสดงตัวของมันเองออกมาด้วยพฤติกรรมที่ไร้เหตุผลและดูออกจะประสาทๆ
ส่วนประกอบอันที่ 3 ของจิตใจก็คือ super-ego ในส่วนนี้ Freud ได้มอบหน้าที่ให้เป็นเรื่องของความสำนึกทางศีลธรรมของคนๆหนึ่ง Freud เชื่อว่า super-ego ได้รับการสร้างขึ้นมาจากขนบธรรมเนียมและมาตรฐานต่างๆของพ่อแม่ และสุภาพชนที่เป็นแบบอย่างทั้งหลาย หลักเกณฑ์ทางศีลธรรมอันนี้ได้จมลงสู่จิตไร้สำนึก
ในบางแง่มุม การแบ่งแยกอันนี้เกี่ยวกับเรื่องของจิตในลักษณะสัญชาตญานเดิมๆ(id), การรับรู้เกี่ยวกับตัวตน(ego) และสติรู้รับผิดชอบ-คุณธรรม(super-ego) อาจจะเป็นการเริ่มต้นที่มีเหตุมีผลสำหรับทัศนะใหม่เกี่ยวกับเรื่องของจิตใจ ไม่เหมือนกับเรื่องราวตามขนบประเพณีของปกรณัมโบราณเกี่ยวกับความไร้เหตุผล, Freud มิได้กำลังอ้างถึงแง่มุมใดๆของจิตใจว่าเป็นเรื่องของสิ่งที่เหนือธรรมชาติหรือพระผู้เป็นเจ้า
ในส่วนของ super-ego, Freud ได้สงวนที่เอาไว้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นสำหรับเรื่องอิทธิพลที่หล่อหลอมขึ้น ซึ่งสังคมมีต่อจิตใจของมนุษย์. Freud ได้ขยายแบบจำลองที่ธรรมดาอันนี้ให้ยาวและมีความบริบูรณ์มากขึ้น ด้วยศาสตร์ที่เกี่ยวกับอารมณ์ร้ายอันยุ่งเหยิง(demonology)ของแรงกระตุ้นทางเพศ(sexual urges) ซึ่งออกจะสลับซับซ้อนและถูกกดเอาไว้ และทำให้ระบบทั้งหมดเป็นพลังงานของของเหลวที่ผิดพลาดอันหนึ่ง
สำหรับ Freud เรื่องเพศ - หรือสิ่งที่เขาเรียกขานมันว่า libido - เป็นต้นตอกำเนิดของพลังงานทางจิตทั้งหมด; การครอบงำแรงขับอันหนึ่งซึ่งอยู่ข้างหลังการกระทำทุกๆอย่าง. ยิ่งไปกว่านั้น Freud อ้างว่า พลังอันเต็มเปี่ยมของความปรารถนาทางเพศที่ได้ประสบมาด้วยตนเอง ไม่เพียงแต่มีอยู่ในวัยที่โตเต็มที่แล้วเท่านั้น แต่นับจากชั่วขณะที่คนๆหนึ่งเกิดขึ้นมาเลยทีเดียว
ความเชื่ออันนี้ที่ว่า พลังทางเพศพยายามแสดงถึงแรงกดดันอย่างต่อเนื่องกับความสำนึก จากช่วงขณะของการเกิด ซึ่งอันนี้ได้นำทาง Freud ไปสู่ทัศนะที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับการพัฒนาการในช่วงวัยเด็ก. Freud อ้างถึงเด็กๆทุกคนว่าจะต้องผ่านขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศชุดหนึ่ง(erotic stages) เริ่มต้นด้วย, การเพ่งความสนใจเกี่ยวกับเรื่องเพศ
ขั้นแรกก็คือ ปากและท่าทีเกี่ยวกับการดูดนม ถัดจากนั้นก็เปลี่ยนมาเป็นเรื่องของทวารหนัก และการควบคุมเกี่ยวกับการขับถ่าย ก่อนที่จะตั้งมั่นในเขตแดนของความถูกต้อง เป็นผู้ใหญ่ที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ ปัญหาต่างๆทางจิตถูกคิดว่ามีมูลเหตุมาจากความก้าวหน้าในขั้นตอนต่างๆของความเป็นเด็ก ซึ่งได้ยึดติดอยู่กับขั้นใดขั้นหนึ่งของการพัฒนามาตั้งแต่วัยเยาว์เหล่านี้
อีกประการหนึ่ง Freud อ้างว่า ในช่วงอายุ 4-5 ขวบ เด็กๆทุกคนจะต้องประสบกับสิ่งที่เขาเรียกมันว่าวิกฤติการออดิพัส(oedipal crisis) กล่าวคือ เด็กผู้ชายทั้งหลายได้รับการกล่าวว่า รู้สึกถึงแรงกระตุ้นที่เป็นสากลอันหนึ่ง ที่จะมีความสัมพันธ์ทางเพศกับแม่ของพวกเขา และเด็กผู้หญิงก็ต้องการที่จะเป็นเจ้าของพ่อของพวกเธอเช่นเดียวกัน
การกังวลถึงคู่แข่งที่เป็นพ่อและแม่ของพวกเด็กๆ ว่าจะรู้เรื่องเกี่ยวกับความรู้สึกผิดจากการร่วมประเวณีกับพ่อแม่ของตนเหล่านี้ เด็กๆทั้งหลายจึงนึกหรือเข้าใจเอาเองและกลัวว่าจะถูกตอน(ตัดอวัยวะเพศ) หรือในกรณีของเด็กผู้หญิงได้รับการทึกทักว่า การตอนนั้นได้เกิดขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นจึงนำไปสู่ความสลับซับซ้อนที่พิเศษของพวกเธอเกี่ยวกับการอิจฉาองคชาติของชาย ซึ่งพวกเธอต้องการที่จะเอาส่วนที่ขาดหายไปอันนี้ของพวกเธอกลับคืนมา
ความเป็นผู้ใหญ่จะยังไม่เกิดขึ้น
จนกว่าพวกเด็กๆจะจัดการแก้ปัญหาหรือละลายวิกฤติการอันนี้ได้แล้วเท่านั้น
โดยการสร้างผนังกำแพงก่ออิฐเกี่ยวกับความอดกลั้นหรือการข่มจิตรอบๆความกลัวและความปรารถนาของพวกเขา
ซึ่งพวกเขาและเธอสามารถที่จะพัฒนาต่อไปเป็น super-ego ที่เหมาะสมอันหนึ่ง
และกลายไปเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นปกติ
Freud รู้สึกว่าการค้นพบของเขาเกี่ยวกับเรื่องออดิพัสคอมเพล็กส์(Oedipus
complex), และสิ่งที่คู่กันในฝ่ายหญิงก็คือ, อิเล็คตร้าคอมเพล็กซ์(Electra
complex)(ปกรณัมโบราณของกรีก - Elactra คือบุตรีของ Clytemnestra และ Agamemnon
ผู้ซึ่งร่วมกับน้องชายของเธอที่ชื่อว่า Orestes ทำการแก้แค้นการฆาตกรรม Agamemnon
โดยการฆ่าแม่ของพวกเขาและคนรักของแม่, Aegisthus)เป็นการประสบความสำเร็จอย่างสูงสุด
- "การค้นพบนี้เหมาะกับที่จะนำมาคู่เคียงกับการค้นพบเรื่องไฟฟ้า และการคิดประดิษฐ์ล้อขึ้นมาเลยทีเดียว"
อย่างที่นักวิจารณ์คนหนึ่งพูดเอาไว้
แต่อย่างไรก็ตาม หลักฐานต่างๆที่ Freud ได้รวบรวมขึ้นมาเพื่อสนับสนุนความคิดทั้งหลายของเขา เกี่ยวกับความสลับซับซ้อนในเรื่องเพศของเด็กๆ ก็อ่อนแออย่างที่สุดเหมือนกัน. ส่วนใหญ่มันต้องพึ่งพาอาศัยความสามารถของ Freud ในการคาดเดาอย่างถูกต้องเกี่ยวกับความหมายอันลึกลับที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังความฝันต่างๆ การเชื่อมโยงของถ้อยคำทั้งหลาย และการพลั้งปากออกไปของคนไข้ทั้งหลายของเขา
ตัวของ Freud เองนั้น ดูเหมือนจะไม่ต้องสงสัยเลยว่า ความสามารถของเขาในการเปิดเผยความคิดเพ้อฝันทางเพศดังกล่าว มันนอนเนื่องอยู่ข้างใต้ผิวหน้าของความคิดดั้งเดิม เขาสามารถที่จะมองเห็นเรื่องราวขององคชาติได้ในวัตถุที่ยื่นออกมาทุกๆชนิด และเรื่องราวของโยนีในรูปร่างสัณฐานอันเป็นที่รองรับทุกๆอย่าง
ดังที่เขาเขียน ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่าในความฝันทั้งหลาย "...อาวุธทุกชนิดหรือเครื่องมือต่างๆทั้งหมด ถูกใช้ในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ต่างๆสำหรับอวัยวะเพศของผู้ชาย: ยกตัวอย่างเช่น, คันไถ, ฆ้อน, ปืนยาว, ปืนลูกโม่, กริช, ดาบ ฯลฯ. ในทำนองเดียวกัน ทิวทัศน์ในความฝันต่างๆจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทิวทัศน์ที่มีสะพานบรรจุอยู่ในภาพหรือหุบเขาที่มีต้นไม้ อาจได้รับการรับรองอย่างชัดเจนว่า เป็นการอธิบายถึงเรื่องของการสืบพันธุ์ต่างๆ
Freud ได้รับการตระเตรียม หรือถูกฝึกที่จะสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงต่างๆที่ตรงไปตรงมาที่สุด ในการตีความในเรื่องความคิดทั้งหลายของคนไข้ต่างๆของเขา. เรื่องเล่าของผู้หญิงคนหนึ่งที่เกี่ยวกับความกลัวที่จะก้าวไปใกล้ๆริมหน้าต่าง อันเนื่องจากว่าเธอเกรงว่าจะตกลงไป ได้รับการวิเคราะห์โดย Freud ว่าเป็นการกดข่มหรือความอดกลั้นเกี่ยวกับความปรารถนาของจิตไร้สำนึก ที่จะเอียงตัวออกไปนอกหน้าต่างที่เปิดอยู่ และกวักมือเรียกชายหนุ่มให้เข้ามาคล้ายกับโสเภณีนางหนึ่งนั่นเอง
มันไม่มีจุดใดในตัวหญิงที่ระทมทุกข์คนนี้จะปกป้องหรือสวนกลับการตีความของ
Freud ได้ ทั้งนี้เพราะ Freud จะมองเรื่องนี้เป็นเพียงข้อพิสูจน์เพิ่มเติมเกี่ยวกับความต้องการของเธอ
เพื่อที่จะสะกดกลั้นหรือข่มแรงกระตุ้นที่น่าละอายอันหนึ่งเอาไว้เท่านั้นเอง
คนไข้อีกสองคนที่ได้แสดงถึงคุณสมบัติที่เกี่ยวเนื่องกับหลักฐานที่ Freud
ได้รวบรวมเข้ามาเพื่อสนับสนุนทฤษฎีต่างๆของเขา และความสบายอกสบายใจซึ่งดูเหมือนจะทำให้เขาพึงพอใจในความถูกต้องเกี่ยวกับการวิเคราะห์อันนี้
หนึ่งในกรณีที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของ Freud ก็คือเรื่องของ Wolf Man(มนุษย์หมาป่า)
คนไข้คนหนึ่งผู้ซึ่งมีความฝันเกี่ยวกับหมาป่าสีขาว 6 หรือ 7 ตัวที่ได้นั่งพักอยู่ ณ ต้นวอลนัทที่อยู่นอกหน้าต่างของห้องนอนของเขา. หลังจากที่ได้มีการวิเคราะห์ผ่านไปหลายปี, Freud ได้ตัดสินใจว่าความฝันของคนไข้คนนี้คือ การแปรเปลี่ยนความทรงจำในวัยเด็กเกี่ยวกับการรู้เห็นพ่อแม่ของเขาร่วมเพศกัน 3 ครั้งในบ่ายวันหนึ่ง ในขณะที่เขามีอายุได้เพียงขวบครึ่งเท่านั้น
การแยกแยะสัญลักษณ์เกี่ยวกับความฝันอันนี้ Freud กล่าวว่า ความขาวของหมาป่าเป็นตัวแทนที่ชัดเจนของเสื้อและกางเกงชั้นในของพ่อแม่ หางที่เป็นพุ่มพิเศษของมันคือการอ้างอิงอย่างอ้อมๆถึงเรื่องราวอันเก่าแก่ของเด็กๆเกี่ยวกับหมาป่าที่ไม่มีหาง - ซึ่ง, มันเป็นการอ้างอิงที่ปลอมแปลงถึงความกลัวของคนไข้คนนี้ เกี่ยวกับการตอน(castration)โดยพ่อ"หมาป่า"ของเขา
ข้อเท็จจริงที่ว่ามันมีหมาป่าอยู่ 6 หรือ 7 ตัวนั้น ซึ่งน่าจะมีเพียงแค่สองตัว ก็คือความพยายามอีกอันหนึ่ง โดยกลไกการปกป้อง ego ของเขาที่จะปลอมแปลงความรู้อันนี้ ซึ่งความฝันดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับการที่พ่อแม่ของเขาได้มีการร่วมประเวณีกัน โดยการผันแปรบิดเบี้ยวทางด้านตรรกะหลายต่อหลายครั้ง ในที่สุด Freud ก็ได้มาถึงความคิดที่ว่า ความลับซึ่งเป็นความเศร้าโศกที่ทุกข์ระทมมากของมนุษย์หมาป่า(Wolf Man) ในชีวิตที่เป็นผู้ใหญ่ของเขาก็คือ ความปรารถนาที่ถูกสะกดกลั้นอันหนึ่ง ที่จะได้รับการร่วมเพศทางทวารหนักโดยพ่อของเขา
มันเป็นแบบฉบับเกี่ยวกับวิธีการต่างๆของ Freud ที่บางครั้งเขาจะอ่านสัญลักษณ์ต่างๆอย่างตรงไปตรงมา - ความขาวของหมาป่าได้บ่งชี้ถึงเสื้อและกางเกงชั้นในสีขาว - แต่ในคราวอื่นๆเขาก็จะอ่านมันอย่างอ้อมๆ - เรื่องของหางที่เป็นพุ่มของหมาป่าเป็นการปิดบังซ่อนเร้นความคิดเกี่ยวกับหมาป่าที่ไม่มีหาง และจำนวนของหมาป่าก็เป็นการแอบแฝงข้อเท็จจริงที่ว่ามีเพียงคนอยู่สองคนเท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
ถ้าหากว่า Freud ได้เลือก, เขาอาจจะตัดสินว่าความขาวนั้นเป็นตัวแทนหรือสัญลักษณ์ของบางสิ่งที่มีสีดำ - บางทีอาจจะเป็นผ้าห่อศพก็ได้ - และหางหมาป่าจำนวนครึ่งโหลดังกล่าว มันเป็นตัวแทนของการร่วมเพศกันสองครั้งดุจดั่งคนที่เปลือยกายมากมาย. ปัญหาที่เป็นนิรันดร์อันไม่สิ้นสุดด้วยวิธีการเกี่ยวกับการตีความของ Freud นั้นก็คือ พยานหลักฐานดังกล่าวสามารถที่จะได้รับการบิดผันไปให้เหมาะกับทฤษฎีต่างๆ และไม่มีการตีความหนึ่งใดที่ปรากฏว่ามีการพิสูจน์ต่อไปอีกยิ่งกว่าอื่นใด
ข้อโต้แย้งของคนที่ได้ให้การสนับสนุนเกี่ยวกับเรื่องจิตวิเคราะห์ก็คือว่า ข้อพิสูจน์การตีความที่เฉพาะเจาะจงได้สร้างการบำบัดรักษาขึ้นมาอันหนึ่ง เหมือนกับการผ่าตัดฝีออก การนำเอาความปรารถนาที่ถูกเก็บกดเอาไว้ขึ้นมาสู่แสงสว่างของความสำนึก ควรที่จะเป็นเหตุให้มีการระบายถ่ายเทจากอาการทางโรคประสาท ที่กำลังก่อให้เกิดปัญหายุ่งยากกับคนไข้ แต่อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับ Bertha Pappenheim - กรณีของมนุษย์หมาป่าไม่ใช่การบำบัดรักษาที่ประสบความสำเร็จ ดังที่งานเขียนทางด้านจิตวิเคราะห์ทำให้มันเป็นอย่างนั้น
ในช่วงทศวรรษที่ 1970s นักวิชาการหลายคนได้ทำการตรวจสอบเกี่ยวกับข้ออ้างต่างๆของ Freud ที่ว่า ได้ค้นพบอัตลักษณ์ที่แท้จริงของมนุษย์หมาป่าและได้เข้าไปใกล้เขา. กว่าอายุ 80 ปี, มนุษย์หมาป่ายังต้องแสวงหาความช่วยเหลือทางด้านจิตวิเคราะห์อยู่ต่อไป - กล่าวคือ การบำบัดรักษาดังกล่าวดูเหมือนว่าจะไม่ทำให้เขาดีขึ้นเอาเสียเลย อย่างน้อยที่สุด ก็ทำให้เขารู้สึกสนุกเพลิดเพลินเมื่อเขานอนอยู่บนเตียงเพื่อได้รับการบำบัดทางจิต
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา
3
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
e-mail
: midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 570 เรื่อง หนากว่า 7200 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา
120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่
midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง
จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
ในเรื่อง "Uber Coca", ซึ่งตีพิมพ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1884, Freud ได้อ้างและยืนยันว่า โคเคนเป็นยาตัวหนึ่งที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับพลังอำนาจวิเศษต่างๆ(near-magical powers) ในไม่ช้า Freud ก็ได้ให้การสนับสนุนยาดังกล่าวในฐานะที่เป็นการรักษาความป่วยไข้ต่างๆ นับตั้งแต่อาการเมาคลื่นจนไปถึงโรคเบาหวานต่างๆ สำหรับตัวเขา เริ่มต้นรับประทานโคเคนเป็นปกติเพื่อต่อสู้กับอาการเศร้าซึม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 570 เรื่อง หนากว่า 7200 หน้า ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
สนใจสั่งซื้อได้ที่
midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202
กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง
สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่ 50202
อย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์
หลักฐานที่ดีชิ้นหนึ่งสำหรับ Freud ก็คือ เขาได้กลายเป็นคนที่ติดยาเสพติดประเภทโคเคน ซึ่งเขาได้เคยทดลองใช้มาในช่วงแรกๆ บุคลิกภาพของ Freud ในช่วงระหว่างเวลาดังกล่าว ได้แสดงให้เห็นถึงอาการโรคของการใช้โคเคนมากจนเกินไป ...เขามีอาการกังวลอย่างรุนแรงเกี่ยวกับเรื่องเพศซึ่งโคเคนได้เป็นตัวกระตุ้น และจากการวินิจฉัยข้อคิดเห็นต่างๆในจดหมายหลายฉบับของเขา เขามีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศด้วย ซึ่งเป็นผลข้างเคียงอันหนึ่งเกี่ยวกับการใช้ยาเสพติดอย่างรุนแรงนั่นเอง นอกเหนือจากนี้แล้ว ปรากฎว่า Freud ยังทุกข์ทรมานจากอาการพารานอยด้วย(อาการหวาดระแวง คิดว่าคนอื่นจะมาทำร้ายตน) ซึ่งนั่นเป็นอาการร่วมอีกอันหนึ่งของการใช้โคเคน