บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 567 หัวเรื่อง
-การเมืองเรื่องหมอดู
-การเมืองฝ่ายค้านของพม่า
-ชำนาญ จันทร์เรือง
-สำนักข่าวเชื่อม
บทความมหาวิทยาลยเที่ยงคืน
The Midnight 's article
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 560 เรื่อง หนากว่า 7000 หน้า ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
สนใจสั่งซื้อที่ midnightuniv(at)yahoo.com - midnight2545(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง สมเกียรติ
ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202
กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง
สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่ 50202
อย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์
(การจัดส่งทางไปรษณีย์ จะลงทะเบียนทุกฉบับ)
การเมืองวัฒนธรรม-วัฒนธรรมการเมือง
จรรยาบรรณของหมอดู
ชำนาญ
จันทร์เรือง : นักวิชาการอิสระ
หลัก 8 ประการของฝ่ายค้านพม่า
สำนักข่าวเชื่อม
หน่วยงานข่าวภาคภาษาไทยของสำนักข่าว S.H.A.N
(Shan Herald Agency for News)
ซึ่งเป็นเครือข่ายหนึ่งของศูนย์ข่าวสาละวิน (Salween News Network)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 567
หมายเหตุ : ผลงานวิชาการนี้เป็นการรวบรวมบทความ ๒ ชิ้น เกี่ยวกับเรื่องการเมืองเชิงวัฒนธรรม
๑. จรรยาบรรณของหมอดู ๒. หลัก ๘ ประการของฝ่ายค้านพม่า
(บทความชิ้นนี้ยาวประมาณ
4 หน้ากระดาษ A4)
๑. จรรยาบรรณของหมอดู
ชำนาญ จันทร์เรือง
ผู้เขียนมิใช่หมอดู และก็ไม่เคยได้ศึกษาวิชาหมอดูหรือโหราศาสตร์มาก่อนแต่อย่างใด จวบจนได้ทราบข่าวคราวของการเกิดกรณีวิวาทะระหว่างศาสตราจารย์(ศาสตร + อาจารย์)ด้านกฎหมายมหาชนชื่อดัง ที่ผันตัวเองไปเป็นข้าราชการการเมืองกับโหราจารย์(โหร + อาจารย์)ชื่อดัง ว่าการเปิดเผยดวงชะตาพร้อมกับคำพยากรณ์ดวงชะตาของนายกทักษิณว่า สามารถทำได้หรือไม่เพียงใด และถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลจนเกินสมควรหรือไม่
ความเป็นบุคคลสาธารณะของนายกรัฐมนตรีจะเปิดกว้างถึงการพยากรณ์ชะตาชีวิตโดยเจ้าตัวไม่ยินยอมได้หรือไม่ จึงทำให้ผู้เขียนเกิดความสนใจที่จะค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องจรรยาบรรณของโหราจารย์ ซึ่งในที่นี้จะรวมถึงหมอดูทั้งหลาย ถึงแม้ว่าในทางภาษาศาสตร์แล้ว โหราจารย์มีไว้สำหรับพยากรณ์ชะตาบ้านเมืองเช่น โหรหลวง เป็นต้น แต่หมอดูเชลยศักดิ์หรือหมอดูชาวบ้านจะพยากรณ์เพียงชะตาชีวิตของชาวบ้าน ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบันโหราจารย์ก็พยากรณ์ชะตาชีวิตของชาวบ้านเช่นกัน และผู้เขียนก็มิได้มีเจตนาที่จะไปลดชั้นลดอันดับของโหรไปเป็นหมอดู หรือเลื่อนชั้นหมอดูไปเป็นโหร ซึ่งในความเป็นจริงก็แยกกันแทบไม่ออกอยู่แล้วในกาลปัจจุบัน
จากที่ได้ค้นคว้ามาทำให้ทราบว่าผู้ที่เป็นโหรหรือนักพยากรณ์หรือหมอดูนั้น ควรมีจรรยาบรรณหรือมารยาทในการพยากรณ์เช่นเดียวกับผู้ประกอบวิชาชีพอื่น เฉกเช่นแพทย์ที่รักษาคนไข้หรือทนายความที่ต้องช่วยเหลือลูกความ เป็นต้น เพราะหมอดูก็ถือได้ว่าเป็นผู้ที่ต้องให้ความช่วยเหลือหรือรักษาความวิตกกังวลของผู้มาให้พยากรณ์เช่นกัน ที่กล่าวเช่นนี้เพราะเชื่อว่า คนที่ดวงกำลังดีคงไม่มีใครอยากจะให้ใครมาพยากรณ์โชคชะตาของตนให้หันเหไป
จรรยาบรรณหรือมารยาทของหมอดูอาจกล่าวได้โดยสรุป
ดังนี้
๑. ต้องพยากรณ์โดยปราศจาก โลภะ โทสะ โมหะ คือไม่ให้พยากรณ์ไปโดยความโลภในลาภสักการะ หรือพยากรณ์ไปด้วยความโกรธ หรือด้วยความหลงเข้าใจผิดอะไรที่ไม่แน่ใจไม่ควรพยากรณ์
๒. ต้องพยากรณ์โดยปราศจากอคติ คือต้องไม่มีความลำเอียงในการพยากรณ์ เพราะรักเพราะชอบเจ้าของเจ้าชะตาจึงพยากรณ์ให้แต่สิ่งที่ดี สิ่งที่ไม่ดีไม่ยอมบอก โหรควรเตือนให้ทราบถึงสัญญาณอันตรายที่มาสู่เจ้าชะตา ส่วนเจ้าชะตาจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
๓. ต้องพยากรณ์โดยปราศจากความกลัว คือไม่ต้องเกรงกลัวบารมีใครในการพยากรณ์ หรือเกรงใจไม่กล้าบอกความจริง ถ้าเห็นว่ามีสิ่งร้ายแรงในดวงชะตาค่อยๆ หาคำพูดที่อธิบายแบบอ้อมๆ โดยไม่ต้องพูดตรงจนเกินไป
๔. ควรพยากรณ์โดยเฉพาะตัวต่อตัว การพยากรณ์ต่อหน้าบุคคลหลายคนทำให้โหรไม่กล้าระบุให้ชัดเจน เช่นเจ้าชะตาพาเพื่อนมาด้วยแล้วนั่งฟังการพยากรณ์ หากว่าดวงชะตาของเจ้าชะตานั้นปรากฏว่ากำลังคบเพื่อนไม่ดี โหรก็ไม่กล้าพูดออกมาเพราะมีเพื่อนมาด้วย๕. ไม่ควรพยากรณ์สำหรับผู้ที่ไม่ทราบเวลาเกิดแน่นอน จะเป็นการทำให้การพยากรณ์ผิดหรือคลาดเคลื่อน
๖. ไม่ควรหาโอกาสเอาผลประโยชน์จากเจ้าชะตา กรณีที่เจ้าชะตากำลังดวงไม่ดีมีเคราะห์ร้าย โหรไม่ควรถือโอกาสเอาผลประโยชน์จากเจ้าชะตา โดยการเรียกร้องเงินทองหรือทรัพย์สินใดๆ จากเจ้าชะตาโดยอ้างว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์ ทางที่ดีแล้วควรแนะนำให้เจ้าชะตาไปทำบุญกุศลเองจะเหมาะกว่าเพื่อผ่อนหนักให้เป็นเบา เป็นการสร้างกรรมดีไว้ และให้ทำบ่อยๆ จนกว่าเคราะห์จะหมดไป
๗. ไม่ควรโฆษณาตนเองในขณะพยากรณ์ การโฆษณาตนเองในขณะที่พยากรณ์เป็นการโอ้อวดความสามารถของตนเองต่อหน้าเจ้าชะตาหรือบุคคลอื่น เพราะโดยหลักแล้ว ความดีของมนุษย์ย่อมไม่ควรออกจากปากตนเอง ควรให้ออกจากปากผู้อื่นจะเหมาะกว่า
๘. ไม่ควรทับถมการพยากรณ์ของของโหรคนอื่น เจ้าชะตาส่วนใหญ่มักผ่านโหรมาหลายคน และมักจะมีการเอ่ยชื่อถึง หรือพูดว่าเคยมีโหรคนนั้นคนนี้ทายไว้แล้วไม่ถูกบ้าง อะไรบ้าง ตามมารยาทแล้วโหรควรรับฟังไว้เฉยๆ แต่ไม่ควรวิจารณ์ทับถมต่อหน้าเจ้าชะตาหรือบุคคลอื่น เพราะโหรแต่ละคนก็มีหลักเกณฑ์และประสบการณ์ในการพยากรณ์แตกต่างกันไป
๙. ควรพยากรณ์ให้ตรงจุดไม่ปิดบังอำพราง ส่วนใหญ่ผู้มาให้พยากรณ์มักมีความทุกข์มา โหรควรเป็นผู้แก้ปัญหาให้ โดยพยากรณ์ให้ตรงจุดที่เจ้าของชะตาต้องการทราบ และควรบอกให้หมดไม่ควรขยักไว้เพื่อให้มาหาคราวต่อไปอีก
๑๐. ควรระมัดระวังถ้อยคำที่ใช้พยากรณ์ ในการพยากรณ์ดวงชะตาควรใช้ถ้อยคำที่สุภาพ ไม่ควรกล่าวผรุสวาท และอย่าพยายามซักถามก้าวก่ายในเรื่องส่วนตัวของเจ้าชะตามากเกินไป โดยเฉพาะเจ้าชะตาที่เป็นหญิงมาให้พยากรณ์นั้น โหรไม่ควรถือโอกาสเอาเปรียบเจ้าชะตา เพราะเจ้าชะตาที่มาพบโหรส่วนใหญ่มักมีปัญหามาปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากโหรอยู่แล้ว ฉะนั้นโหรจึงควรใช้ถ้อยคำที่สุภาพและสำรวมกิริยาเพื่อให้เป็นที่เคารพนับถือของเจ้าชะตาที่มาให้พยากรณ์
๑๑. ต้องรักษาความลับของผู้มาให้พยากรณ์ เช่นเดียวกับแพทย์ต้องรักษาความลับของคนไข้ ไม่เอาเรื่องของเจ้าชะตาไปวิพากษ์วิจารณ์เป็นที่สนุกสนานขบขันกันในหมู่เพื่อนฝูงของโหรเอง โหรควรจะขอบคุณเจ้าชะตาที่ทำให้ตนเองได้มีโอกาสศึกษามากกว่า
นอกจาก ๑๑ ข้อที่ว่ามาแล้วนี้ยังมีประเด็นย่อยอีกเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งอาจจะไม่ถึงกับเป็นจรรยาบรรณ แต่เป็นแนวปฏิบัติของแต่ละสำนักไป เช่น ไม่พยากรณ์โชคชะตาเด็กเล็ก เพราะอาจทำให้ผู้ใหญ่เกิดอคติแก่เด็ก จนกระทั่งไม่เลี้ยงดูหรือนำไปฆ่าให้ตายดังที่เราเคยได้ยินมาแต่โบร่ำโบราณ หรือไม่ก็ไม่พยากรณ์วันตายเพื่อป้องกันความวิตกทุกข์ร้อนของคนที่มาให้พยากรณ์
หรือที่นิยมกันมากเป็นพิเศษก็คือหมอดูที่เป็นพระสงฆ์องค์เจ้า(ที่แท้จริง)ท่านก็จะไม่ทำนายในสิ่งที่ขัดต่อพระธรรมวินัย เช่น ชายหญิงคู่ใดควรจะเป็นผัวเมียกันหรือควรเลิกกันหรือไม่ ฯลฯ
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ผู้อ่านคงจะพอวินิจฉัยได้แล้วว่า การที่หมอดูหรือโหรไปพยากรณ์ดวงชะตาของนายกรัฐมนตรีโดยเจ้าตัวไม่ได้ให้ความยินยอมนั้น น่าจะขัดหรือไม่ขัดต่อจรรยาบรรณหรือไม่อย่างไร ผู้เขียนคงจะไม่ก้าวล่วงไปวินิจฉัยแทนท่านผู้อ่าน เพราะอาจจะเป็นเหตุให้ต้องมีเคราะห์ทั้งๆ ที่ดวงกำลังดีๆอยู่ก็เป็นได้
๒. ประชุมฝ่ายค้านพม่าได้ข้อสรุปหลักการนำ 8 ประการ
สำนักข่าวเชื่อม
สำนักข่าว S.H.A.N รายงานเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 48 ว่า ระหว่างวันที่ 9 - 12 ก.พ. ที่ผ่านมา มีการประชุมของฝ่ายค้านรวมทั้งหมด 43 กลุ่มขึ้นที่สถานที่แห่งหนึ่งบริเวณรอยต่อชายแดนไทย-พม่า มีตัวแทนจากกลุ่มต่างๆ เข้าร่วม 106 คน และได้ข้อสรุปเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานเพื่อใช้ในการร่างรัฐธรรมนูญร่วมกัน 8 ข้อ ซึ่งมีดังต่อไปนี้
1. อำนาจอธิปไตยต้องมาจากประชาชน
2. ทุกคนในสหภาพมีสิทธิทางการเมืองและชาติพันธุ์เท่าเทียมกัน
3. ทุกคนในสหภาพมีสิทธิอัตตวินิจฉัยทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
4. สหภาพถูกก่อตั้งโดยมลรัฐต่างๆ ที่มีสิทธิอัตตวินิจฉัย รวมทั้งรัฐสภาต้องประกอบด้วย 2 สภา
5. รัฐธรรมนูญต้องรับประกันสิทธิของชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในมลรัฐต่างๆ
6. การเลือกปฏิบัติในเชิงแบ่งแยกความทางศาสนา เชื้อชาติและเพศ จะต้องไม่เกิดขึ้น และกฎหมายต้องปกป้องรับประกันสิทธิมนุษยชน และประชาธิปไตยพื้นฐานของพลเรือน
7. สหภาพจะต้องเป็นรัฐที่ไม่ถูกกำหนดโดยศาสนา
8. สหภาพจะใช้ระบบประชาธิปไตยที่มีหลายพรรคการเมือง
นอกจากข้อตกลงทั้งหมดนี้
ในที่ประชุมยังมีข้อตกลงเพื่อให้เป็นหลักประกันอีกว่า กองทัพจะต้อง
อยู่ภายใต้การนำของพลเรือน ซึ่งจะต้องกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ที่จะอนุมัติจัดตั้งมลรัฐใหม่ในสหภาพรวมทั้งมีมติจัดตั้งขบวนร่างรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ ขบวนการจัดทำหลักการพื้นฐานเพื่อในการร่างรัฐธรรมนูญของฝ่ายค้าน ได้เริ่มต้นขึ้นครั้งแรกเมื่อกลางเดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมา ในตอนนั้นได้เห็นฟ้องต้องกันว่า นอกจากที่ไม่สามารถยอมรับนโยบาย 6 ประการของทหารพม่าแล้ว ทางฝ่ายค้านเองควรจะมีนโยบายและจุดยืนเป็นของตัวเอง ดังนั้นจึงได้มีการจัดประชุมกันอีกหลายครั้ง และในการประชุมครั้งล่าสุดนี้ก็ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับนโยบาย
8 ข้อดังกล่าว ยังไม่สามารถที่จะชี้ชัดได้ว่าทางทหารพม่าจะยอมรับหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาพม่ายืนยันในเป้าหมาย
6 ข้อมาโดยตลอด ซึ่งได้แก่ 1. การไม่ล้มสลายของสหภาพ 2. การไม่ล้มสลายของเอกภาพ
3. ความยั่งยืนของอำนาจอธิปไตย 4. การพัฒนาระบบประชาธิปไตยหลายพรรค 5. การส่งเสริมสัจจะทางสังคม
อาทิ ความเป็นธรรม เสถียรภาพ และความเสมอภาคเป็นต้น และ 6 คือ ทหารต้องมีบทบาทนำทางการเมือง
ซึ่งทั้ง 6 ข้อนี้ทางฝ่ายค้านต่างไม่เห็นด้วยพร้อมคัดค้านมาโดยตลอด
(กุมภาพันธ์ 2548)
ข่าวแปลและสรุปความโดยสำนักข่าวเชื่อม เป็นหน่วยงานข่าวภาคภาษาไทยของสำนักข่าว S.H.A.N (Shan Herald Agency for News) ซึ่งเป็นเครือข่ายหนึ่งของศูนย์ข่าวสาละวิน (Salween News Network) ท่านสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ [email protected] และ [email protected] ติดตามข่าวสารย้อนหลังรวมทั้งเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศพม่าเป็นภาษาไทยได้ที่ www.salweennews.org ภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา
3
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
e-mail :
midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 540 เรื่อง หนากว่า 6700 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com