ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

R
relate topic
311247
release date

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 499 หัวเรื่อง
ประเทศสยาม - ปฏิวัติระบบราชการ
ชำนาญ จันทร์เรือง
สมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
The Midnight 's article

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 14119-26256 ครั้ง สำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม 47
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความทางรัฐศาสตร์
สยาม ดีกว่าไทย และการปฏิวัติระบบราชการ

ชำนาญ จันทร์เรือง
สมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

หมายเหตุ:
บทความชิ้นนี้เป็นการรวบรมผลงานวิชาการ ๒ ชิ้น ซึ่งเขียนโดยคุณ ชำนาญ จันทร์เรือง ได้แก่
๑. มาเป็นชาวสยามกันดีกว่า และ ๒. การปฏิวัติระบบราชการ
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 9 หน้ากระดาษ A4)

 

๑. มาเป็นประชาชนชาวสยามกันดีกว่า
ในยุคสมัยที่กระแส "การพับนก" กลายเป็นหนึ่งในแนวทางเพื่อประสานความเป็นหนึ่งของผู้คนที่อาศัยอยู่ในผืนแผ่นดินที่เรียกว่า "ประเทศไทย" ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจาก "ประเทศสยาม" ในอดีต ผู้เขียนในฐานะ "ขาจร" จึงอยากจะเสนอความเห็นเพิ่มเติมอีกแนวทางหนึ่งที่เชื่อว่า หากทำได้แล้วก็น่าจะช่วยให้ผืนแผ่นดินแห่งนี้สงบร่มเย็นลงได้ ไม่มากก็น้อย แนวความคิดที่ว่านี้ก็คือ แนวความคิดที่เปลี่ยนจาก "เชื้อชาตินิยม" มาเป็น "ประเทศนิยม" (ขออภัยด้วยหากคำคำนี้ไปซ้ำกับถ้อยคำของขาประจำบางท่าน)

ความเป็นมาดั้งเดิมนับตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา และแม้จนกระทั่ง สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เราเรียกชื่อเมืองหลวงเป็นชื่อประเทศไปในตัว และเมื่อครั้งสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทำหนังสือสัญญากับต่างประเทศก็ทรงเรียกนามประเทศว่า "กรุงศรีอยุธยา" (ไทยหรือสยาม ; สุพจน์ ด่านตระกูล)

ต่อมาเมื่อสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้มีความสัมพันธ์และใกล้ชิดกับประเทศตะวันตกมาก ได้ทรงแยกชื่อเมืองหลวงออกจากชื่อประเทศไทยโดยใช้ชื่อประเทศว่า "สยาม" และทรงลงพระปรมาภิไธยในเอกสารที่ติดต่อกับต่างประเทศว่า "REX Siamensis" แปลว่า "พระราชาแห่งสยาม" ซึ่งตรงกับ "สยามินทร์" หรือ "สยามินทราธิราช" และได้ทรงหล่อเทวรูปขึ้นองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่า "พระสยามเทวาธิราช" เช่นกัน

สาเหตุแห่งการเปลี่ยนชื่อประเทศสยามเป็นประเทศไทยนั้น สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๔๘๑ นายพันเอกหลวงพิบูลสงคราม ได้รับแต่งตั้งจากคณะผู้สำเร็จราชการในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้เป็นนายกรัฐมนตรี และต่อมาอีก ๔-๕ เดือน หลวงวิจิตรวาทการได้เดินทางไปฮานอย เพื่อชมกิจการโบราณคดีของสำนักตะวันออกไกล ฝรั่งเศส และได้นำแผนที่ฉบับหนึ่งซึ่งสำนักฝรั่งเศสได้จัดทำขึ้น แสดงว่ามีคนเชื้อชาติไทย อยู่มากมายหลายแห่งในแหลมอินโดจีน

เช่น ในประเทศจีนตอนใต้ ในพม่า และในมณฑลอัสสัมของอินเดีย จึงได้มีการโฆษณาเรื่อง "มหาอาณาจักรไทย" มุ่งมั่นที่จะรวมชนเชื้อชาติไทยในประเทศต่าง ๆ เข้าเป็นมาหาอาณาจักรเดียวกัน ในทำนองเดียวกับฮิตเลอร์ที่กำลังทำอยู่ในยุโรป เพื่อรวมชนเชื้อชาติเยอรมันในประเทศต่าง ๆ ให้เข้าอยู่ในมหาอาณาจักเยอรมัน และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเปลี่ยนชื่อประเทศสยาม เป็น "ประเทศไทย" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

"SYAMA" ตรงกับอักขรวิธีไทย "ศยามะ" แปลว่า "ดำ" "สีคล้ำ" "สีน้ำเงินแก่" "สีน้ำตาลแก่" "สีเขียวแก่" ฯลฯ แต่บางคนก็ว่า "สยาม" แผลงมาจากคำจีนแต้จิ๋ว "เซี่ยมล้อ" หรือจีนกลาง "เซียนโล๋" เช่นเดียวกับชาววยุโรปก็ได้เรียก และเขียนชื่อประเทศสยามว่า "SIAM" มาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ โดยเรียกตามชาวอินเดียใต้ ชาวสิงหล ชาวมลายูที่เรียกเราว่า "เซียม" เช่นกัน

และจากการศึกษาปรากฏว่าชื่อ "สามปเทส" มีจารึกไว้ในสมุดข่อยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา (MA VIE MOUVEMENTEE ; ปรีดี พนมยงค์) ซึ่งคำว่า "สาม" (สามะ) ในภาษาบาลีมีความหมายหลายอย่าง ซึ่งพจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ของริส เดวิดส์ ได้ให้ความหมายไว้ เช่น ๑. สีดำ ๒. สีเหลือง สีทอง ตามความหมายนี้ "สามปเทส" จึงหมายถึงแว่นแคว้นแห่งเมืองทองหรือสุวรรณภูมิ ซึ่งเพลงชาติของประเทศสยามก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทย มีเนื้อร้องขึ้นต้นด้วยประโยคที่ว่า "ประเทศสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง..." ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็น "ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย" ซึ่งขัดต่อความเป็นจริงเพราะในประเทศไทยยังมีคนเชื้อชาติอื่น ๆ รวมอยู่ด้วย

การตั้งชื่อ "ประเทศสยาม" นั้น เราอาศัยหลักดินแดน แต่คำว่า "ประเทศไทย" นั้น เราอาศัยหลักเชื้อชาติของคนส่วนใหญ่ที่อยู่ในประเทศ การที่เราใช้คำว่า "ประเทศไทย" ทำให้รู้สึกว่าเรานี้เป็นคนใจแคบ เพราะเราอยากแสดงว่าเรานี้เป็นเจ้าของแต่คนเดียว คนเชื้อชาติอื่นมาด้วย ก็ต้องกลายเป็นคนต่างชาติไป ความรู้สึกแตกแยกระหว่างเชื้อชาติได้เกิดขึ้น มีการแบ่งแยกกีดกัน ตั้งข้อรังเกียจ กลายเป็นคนไทยแท้ไม่แท้ กลายเป็นไทยมุสลิม ไทยอีสาน คนไทย
เชื้อสายจีน ฯลฯ

ซึ่งเมื่อครั้งยังเป็นประเทศสยามอยู่นั้น เราไม่มีการแบ่งแยก เราเรียกว่าชนชาวสยามทั้งนั้น เราไม่เคยเรียกว่าชาวสยามกลาง ชาวสยามใต้ ชาวสยามมุสลิม
ชาวสยามอีสาน แต่พอครั้นมาเป็นประเทศไทยเข้า ก็มีคำเหล่านี้ขึ้นมา ก็เพราะคำว่าไทยแคบกว่าสยามนั่นเอง เพราะฉะนั้นคำว่าสยามจึงก่อให้เกิดเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และปัญหาทางด้านจิตใจอีกอย่างก็คือ ได้มีการแบ่งคนไทยเป็นคนไทยประเภท ๑ คนไทยประเภท ๒
ซึ่งก็คือพ่อไทย แม่ไทย ลูกเกิดมาเป็นคนไทยประเภท ๑ แต่คนไทยประเภท ๒ พ่อต่างด้าว แม่ไทย เกิดในไทย มีสัญชาติไทยโดยกฎหมาย แต่กลายเป็นคนไทยประเภท ๒ ไป

ยิ่งในชื่อภาษาอังกฤษด้วยแล้ว "คำว่า THAILAND นี้ แสดงให้เห็นถึงวิกฤตการณ์แห่งค่านิยมทางพุทธศาสนาแบบสยาม การเปลี่ยนชื่อประเทศที่มีมาแต่ไหนแต่ไรนั้น นับเป็นก้าวแรกแห่งการทำลายคุณค่าทางจิตวิทยาของความเป็นมนุษย์ สำหรับราษฎรในประเทศนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อชื่อเดิมถูกแปรเปลี่ยนไปเป็นชื่อ ลูกครึ่ง ระหว่างอังกฤษกับไทย และชื่อใหม่นี้ส่อถึงลัทธิคลั่งชาตินิยม และลัทธิแพร่ขยายดินแดนรอบ ๆ อาณาจักรออกไปด้วย" (Siamese Resurgence : A Thai Buddhist Voice on Asia and World of Change by S. Sivaraksa)

การที่เอาคำว่า "LAND" ต่อท้ายคำว่า "THAI" เป็น THAILAND นั้น ทำให้มีความรู้สึกเหมือนกับเคยเป็นประเทศเมืองขึ้น หรืออาณานิคมของอังกฤษหรือฝรั่งเศส (THAILANDE) ที่ชื่อประเทศมักจะลงท้ายด้วยคำว่า "LAND" เช่น ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ หรือหลายประเทศในแอฟริกา

ในภาษาอังกฤษตามหลักวิชาทางความไพเราะของสำเนียง (Euphony) คำว่าไทยนั้น ห้วนไม่เหมือนคำว่า "สยาม" ซึ่งไพเราะกว่า ดังจะเห็นได้เวลาเราบอกฝรั่งว่า ไอ แอม ไทย บางคนเข้าใจว่า เป็นไต้หวันไปเสียอีก ต้องอธิบาย ไอ แอม ฟรอม ไทแลนด์ ถึงจะเข้าใจ แต่ถ้าบอกว่า "ไซแอมมิส" จะเข้าใจง่ายกว่า

หลายคนอาจจะเป็นห่วงว่า ในเรื่องการจะเปลี่ยนชื่อกลับมาใช้ชื่อสยามนี้ถ้าเปลี่ยนแล้วเกรงจะเกิดความสับสนแก่ชาวต่างประเทศ เพราะรู้จักคำว่าไทย แล้วมาเปลี่ยนเป็นสยาม เด็กเล็กจะพลอยลำบาก อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ซึ่งไม่น่าจะเป็นเรื่องสำคัญ ประเด็นอยู่ที่ว่า หากเรายอมรับว่าการเปลี่ยนมาใช้ไทยในครั้งนั้นผิดหลักและไม่เหมาะสมแล้ว ก็ควรแก้เสียใหม่ให้ถูกต้อง ดีกว่าปล่อยเลยตามเลย

เพราะว่าแม้แต่ประเทศพม่าที่เผด็จการและล้าหลังกว่าเรา ยังยอมเปลี่ยนจาก Burma เป็น Myanmar เพราะ Burma นั้นหมายถึงเฉพาะชาวพม่าที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศเท่านั้น และแม้แต่อังกฤษยังต้องใช้คำว่า สหราชอาณาจักร (United Kingdom) แทนประเทศอังกฤษ หรือ บริเตนใหญ่ เพราะว่ามิได้มีเพียงแต่ชนชาวอังกฤษเท่านั้น ยังมีชาวสก็อต ไอริช และเวลส์อีก

หรือแม้กระทั่งอินโดนีเชีย ถ้าตามเชื้อชาติแล้วน่าจะเรียกประเทศชวา อย่างที่เรารู้จักทำไมเรียกอินโดนีเชีย ก็เพราะเขาต้องการรวมคนนั่นเอง และอีกตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือการที่อินเดียเปลี่ยนชื่อ "มัทราส"เป็น "เชนไน" หรือ"บอมเบย์"เป็น"มุมไบ"ตามชื่อดั้งเดิมที่แสดงให้เห็นถึงการปลดพันธนาการจากภาษาต่างด้าวกลับมาเป็นภาษาดั้งเดิมของตนเอง

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ หวังว่าคงจะสามารถจุดประกายไฟที่ยังหลงเหลืออยู่ในจิตใจของประชาชนชาวสยามให้ลุกโชนขึ้นมาบ้าง อย่าได้นึกว่าชื่อประเทศเป็นสิ่งไม่สำคัญ ปัญหาการรบราฆ่าฟันรายวัน การดูถูกเหยียดหยามคนอีสานว่าเป็นลาวบ้าง การแบ่งแยกไทยพุทธ ไทยมุสลิม การแบ่งแยกคนจีนคนไทย ก็จะลดน้อยลง เพราะสยามเป็นคำกลาง ๆ รวมจิตใจพลเมืองของเราที่มีเชื้อชาติไทยเป็นส่วนใหญ่ และสืบเชื้อสายมาจากคนชาติอื่นอีกด้วย เป็นการแสดงความใจกว้างของคนไทย เป็นการรวมคนให้เป็นเอกภาพปึกแผ่น ยุติการกระทบกระทั่งอันเนื่องมาจากความแตกต่างเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ซึ่งมีผู้นำมาหาประโยชน์ในทางการเมืองเสียได้

และทัศนคติเชื้อชาตินิยม (Racism) หรือคลั่งชาติ (Chauvinism) ที่ยังตกค้างอยู่ในหลาย ๆ ประเทศเป็นเหตุให้คนจำนวนหนึ่งถือว่าเชื้อชาติของตนอยู่เหนือเชื้อชาติอื่น ซึ่งเป็นส่วนน้อยอยู่ในประเทศเดียวกัน อันเป็นการบั่นทอนเอกภาพของชาติ ทำให้ชนส่วนน้อยในประเทศดิ้นรนแยกดินแดน ดังปรากฏอยู่ในบางส่วนของประเทศเราและในหลาย ๆ ประเทศ

ในยุคสมัย พ.ศ. ๒๕๔๘ ที่นี้ เรียกได้ว่าเป็นยุคของประชาธิปไตยที่กำลังจะเบ่งบานเต็มใบเพราะมีการเลือกตั้งใหญ่ ความแตกต่างทางด้านความคิดย่อมมีเกิดขึ้นเป็นของธรรมดา แต่ความแตกต่างมิใช่ความแตกแยก ผู้เขียนได้เสนอแนวความคิดที่จะลดความแตกแยก และเชื่อว่าคงมีอีกหลายท่านไม่เห็นด้วย ซึ่งก็เป็นของธรรมดาและพร้อมที่จะรับฟังเสมอ ทั้งนี้ก็เพื่อหาข้อสรุปที่ว่าจริงหรือไม่ที่ว่า

"มาเป็นประชาชนชาวสยามกันดีกว่า"


๒. การปฏิวัติระบบราชการ(Bureaucratic Revolution)

ภายใต้กระแสการเลือกตั้งผู้แทนที่กำลังคึกคักไปด้วยนโยบายต่างๆ ที่จะโน้มน้าวให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเลือกตนหรือพรรคของตนเข้าไปมีบทบาทในสภาจนถึงการกุมอำนาจบริหารประเทศ แต่เมื่อพิเคราะห์ลงไปอย่างถี่ถ้วนแล้วไม่พบว่ามีพรรคการเมืองใด เสนอแนวทางการปฏิรูประบบราชการให้ดีขึ้นอย่างรวดเร็วหรือเรียกแบบดุดันว่า "การปฏิวัติ"แต่อย่างใด ผู้เขียนจึงอยากจะนำเสนอแนวคิดในการปรับปรุงระบบราชการ ต่อผู้ที่จะเข้าไปบริหารประเทศหลังการเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองใดจะเอาไปใช้ในการหาเสียงก็ไม่สงวนสิทธิ์แต่อย่างใด

เราปฏิเสธไม่ได้ว่าระบบราชการซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนรัฐนาวา
จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ หากการทำงานของระบบราชการยังเป็นรูปแบบเก่าที่ล่าช้า ย่อมไม่สามารถรองรับความต้องการของประชาชนและสังคมได้ ถึงแม้ว่าจะได้มีความพยายามปฏิรูประบบราชการมาโดยลำดับก็ตาม แต่ก็เป็นไปด้วยความล่าช้า ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่สามารถเผชิญปัญหาใหม่ๆที่เกิดขึ้นอย่างทันท่วงที จนกลายเป็นตัวถ่วงความเจริญของประเทศมากกว่าจะเป็นองค์กรที่นำการ พัฒนา และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ

การปฏิรูประบบราชการ(Bureaucratic Refom)ของไทยเรา ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการขึ้นมา เพื่อดำเนินการเรื่องนี้หลายชุด และล่าสุดเมื่อ ปี พ.ศ. 2545 ได้มีการออกกฎหมายปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม จนมีกระทรวงที่เกิดขึ้นใหม่รวมของเก่าถึง 20 กระทรวง ซึ่งจวบจนถึงบัดนี้ยังไม่ปรากฏผลอันใดที่จะสามารถเรียกได้ว่า มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นแก่ระบบราชการอย่างใหญ่หลวงจนเรียกได้ว่าการปฏิรูปหรือการปฏิวัติระบบราชการอย่างแท้จริงแต่อย่างใด

1. ทำไมต้องปฏิวัติระบบราชการ
ทุกวันนี้ระบบราชการถูกภาคเอกชนทิ้งห่างอย่างมากมาย จะหวังเพียงปรับปรุงทีละเล็กทีละน้อยคงไม่ทันการณ์เป็นแน่ ต้องมีการคิดพิจารณากันใหม่ (Starting Over) ออกแบบกระบวนการทำงานราชการกันใหม่อย่างถึงแก่น (Core Process Redesign) ที่สำคัญต้องให้ได้ผลลัพธ์รวดเร็วที่สุดยิ่งใหญ่ถอนรากถอนโคน (Radical) จึงจะได้ผลเพราะเราไม่อาจรอต่อไปอีกแล้ว ซึ่งหากเมื่อถึงจุดที่เรามัวแต่ปฏิรูปไปอย่างช้าๆ เราอาจจะอยู่ในสภาพที่สายเกินไปอย่างแน่นอน ซึ่งสาเหตุต่างๆ ของปัญหาก็เนื่องมาจาก

1.1 ปัญหาของระบบราชการ
1) ใหญ่โตเทอะทะเกินไป
2) หน่วยงานและบุคลากรมีจำนวนมากเกินไป และทำงานซ้ำซ้อนกัน
3) มีกฎระเบียบที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนเกินไป
4) อำนาจในการตัดสินใจอยู่ส่วนกลางมากเกินไป
5) ยึดติดกับระบบเจ้าขุนมูลนาย

1.2 ปัญหาของตัวข้าราชการ
1) รายได้ต่ำ
2) ขาดผู้ที่มีความสามารถเพราะเกิดสภาวะสมองไหล (Brain Drain) และผู้ที่จบ
การศึกษาใหม่ ไม่สนใจที่จะเข้าสู่ระบบราชการ
3) เกียรติและศักดิ์ศรีตกต่ำ
4) ขาดความกระตือรือร้นเพราะเข้าง่ายแต่ออกยาก

1.3 ปัญหาของประชาชน
1) ไม่สนใจในสิทธิอันชอบธรรมของตนเอง ปล่อยให้ข้าราชการที่มักง่ายเอารัด
เอาเปรียบ ซึ่งรวมไปถึงการติดตามตรวจสอบเอาตัวข้าราชการที่กระทำผิดมาลงโทษ เพราะถือว่า "เป็นความกินขี้หมาดีกว่า"
2) วิ่งหาพรรคพวกเส้นสายก่อนที่จะติดต่อกับราชการ หรือหยิบยื่นสินบนให้กับเจ้าหน้าที่ ซึ่งอยู่ในลักษณะที่ว่าปรบมือข้างเดียวจะดังได้อย่างไร
2. ทำลายระบบราชการทิ้งเลยได้ไหม
คำตอบก็คือไม่ได้ ถึงแม้ว่าเราจะมองว่าระบบราชการเป็นสิ่งที่ชั่วร้ายแต่ก็เป็นสิ่งชั่วร้ายที่จำเป็น เพราะสังคมหรือชุมชนขนาดใหญ่ย่อมต้องมีระบบราชการเป็นกลไกที่ใช้ในการตัดสินใจปัญหาเกี่ยวกับคนจำนวนมาก เช่น ระบบป้องกันประเทศ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การรักษาความสงบ การคมนาคม ตลอดจนปัญหาสังคมต่างๆ ความยากจน การศึกษา เป็นต้น

3. ทำไมที่ผ่านมาจึงเปลี่ยนแปลงไม่สำเร็จ
จากหนังสือปฏิรูปราชการเพื่ออนาคตของ ศ. ดร.ปรัชญา เวสารัชซ์ และ ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน กล่าวไว้ในหัวข้อใหญ่ๆดังนี้

3.1 ไม่มีแรงกดดันเพียงพอ
การปรับปรุงระบบราชการในประเทศต่างๆจนประสบความสำเร็จเช่นสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ นั้น แรงกดดันเกิดจากสถานการณ์การเงินที่รัดตัวจนกลายเป็นแรงกดดันทางการเมือง ซึ่งทำให้รัฐบาลและนักการเมืองรู้สึกว่า
ต้องรีบเร่งดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งลงไป

3
.2 ไม่มีแรงจูงใจเพียงพอ
ระบบราชการของไทยเรานั้นไม่เอื้อหรือไม่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่มี
ผลตอบแทนสำหรับผู้ที่พยายามผลักดันการเปลี่ยนแปลง ยิ่งกว่านั้นผู้บริหารระดับสูง
ซึ่งพยายามเปลี่ยนแปลงในส่วนราชการของตน ยังอาจต้องเสี่ยงกับการถูกลงโทษหากไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้

3.3 ขาดผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และความรับผิดชอบ
ผู้นำทางการเมืองที่ผ่านมามิได้เข้าใจ และมีความสนใจการปรับปรุงระบบราชการ อย่างแท้จริง เพียงแต่มุ่งผลการเมืองระยะสั้น แต่ประเทศอื่นที่ปรับปรุงระบบราชการได้สำเร็จประเทศเหล่านั้นล้วนแล้วแต่มีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์เห็นการณ์ไกล เช่น สิงคโปร์หรือมาเลเซียในอดีต

3
.4 กลัวและไม่แน่ใจ
การปฏิรูปหรือปฏิวัติระบบการทำงานของราชการนั้น ข้าราชการมักจะระแวง
กลัวล้มเหลว กลัวว่าตนเองจะต้องถูกปลดออกจากงาน กลัวว่าจะต้องทำงานหนักขึ้นกลัวว่า
ตนเองจะไม่มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะทำงานตามระบบใหม่

3
.5 แรงต้านและผลประโยชน์
ในระบบราชการนั้น เราต้องยอมรับว่าในบางหน่วยมีเรื่องผลประโยชน์แอบแฝงอยู่มากมาย ผู้ที่เคยได้ประโยชน์จึงเกิดการต่อต้านทุกวิถีทาง ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาประโยชน์เฉพาะตนเฉพาะกลุ่มเป็นสำคัญ

และนอกจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นผู้เขียนเห็นว่าที่ผ่านมาการปรับปรุงระบบราชการของไทยไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องเพราะการใช้รูปแบบของคณะกรรมการฯ ที่มีความใหญ่โตทำให้ขาดความคล่องตัว คณะกรรมการฯมีสถานภาพเป็นข้าราชการระดับสูง หรือบุคคลที่มีชื่อเสียง ทำให้มีเวลาน้อยและเทคนิคในการศึกษา วิจัย วิเคราะห์ เพื่อการปรับปรุงระบบราชการยังยึดติดในรูปแบบเดิม ไม่มีความหลากหลายหรือพัฒนาแนวทางใหม่ อีกทั้งกระบวนการตัดสินใจ มีขั้นตอนที่ต้องผ่านความเห็นชอบหลายระดับ และใช้เวลาในกระบวนการตัดสินใจค่อนข้างมาก

มีตลกร้ายในวงการรัฐประศาสนศาสตร์ที่เล่าขานกันมาช้านานว่า ในประเทศด้อยพัฒนาในกาฬทวีปประเทศหนึ่ง เห็นว่า กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ของประเทศตนเองนั้นมีมากเกินไปก็เลยตั้งกระทรวงขึ้นมาอีกกระทรวงหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่พิจารณายุบกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ทำให้นึกถึงกรณีของประเทศไทยเราที่ยิ่งปฏิรูปยื่งมีกระทรวงมากขึ้นเรื่อยๆ

4. แล้วจะทำอย่างไรจึงจะปฏิวัติระบบราชการได้สำเร็จ
มีการเรียกร้องกันอย่างมากมายให้แปรรูปสู่การเป็นเอกชน เพราะเชื่อว่าการบริหารแบบธุรกิจให้ผลดีกว่าการบริหารแบบราชการ แต่ไม่จริงเสมอไป เพราะการแปรรูปไปสู่การเป็นเอกชน นั้นเป็นเพียงคำตอบหนึ่งเท่านั้น แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะการดำเนินการแบบเอกชนใช้ได้เฉพาะการให้บริการหรือการทำหน้าที่ควบคุมทิศทางบางเรื่องเท่านั้น แต่ใช้ไม่ได้กับกระบวนการทั้งหมดของงานราชการ เพราะจำเป็นต้องรักษากลไกของการตัดสินใจสำหรับกลุ่ม การตั้งกฎระเบียบสำหรับชุมชน และการรักษาหรือการบังคับใช้กฎหมาย

ภาครัฐจะทำได้ดีในเรื่องการบริหารนโยบาย การออกกฎหมาย การดูแลทรัพย์สิน การป้องกันอาชญากรรม การรักษาความต่อเนื่อง และเสถียรภาพของการบริการ แต่ภาคธุรกิจจะทำได้ดีในงานด้านเศรษฐกิจ การเงินนวัตกรรม การทำการทดลอง หรืองานด้านเทคนิคที่ซับซ้อน เป็นต้น

จากบทเรียนของประเทศต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงระบบราชการ พอสรุปแนวทางการปรับปรุงได้ดังนี้

4.1 การกำหนดอายุในกฎหมาย(Sunset Law)
ซึ่งก็คือการกำหนดวันที่โครงการหรือกฎหมายหมดอายุลง เว้นแต่จะทบทวนให้ใช้ ได้ต่อไป ซึ่งก็รวมไปถึงคณะกรรมการคณะทำงานต่างๆ โดยรัฐจะต้องประเมินผลกิจกรรมและ
กฎระเบียบต่างๆ เพื่อตัดสินใจว่าอันใดควรใช้ต่อไป อันใดควรยกเลิก ทุกกิจกรรมของราชการควรได้รับการประเมินผลหรือลงคะแนนเป็นระยะว่า ได้รับความไว้วางใจจึงจะดำเนินการต่อไป ซึ่งอาจจะโดยการมีคณะกรรมการการทบทวน(Review Commission)แบบของรัฐฟอลิดาที่ได้มีการตั้งคณะกรรมการทบทวนธรรมนูญทุก 20 ปี และทบทวนระบบภาษี งบประมาณ และ
การวางแผนของรัฐ ทุก 10 ปี เป็นต้น


4.2 ขจัดความล่าช้าในการดำเนินงาน(Cutting Red Tape)
รัฐบาลอเมริกันได้จัดตั้ง The National Performance Review (NPR) หรือที่มักเรียกกันว่า "Reinventing Government Initiative" ขึ้น เพื่อศึกษาและเสนอรายงานที่เรียกว่า " From Red Tape to Results: Creating a Government that Works Better & Costs Less"มีส่วนที่น่าสนใจ คือการดำเนินงานภาคราชการมักจะยึดติดกับกระบวนการ และขั้นตอน
การปฏิบัติงานตามระเบียบแบบแผนที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดตายตัว เน้นในเรื่องพิธีการและงานเอกสาร ตลอดจนการตรวจสอบที่มากเกินความจำเป็นมากกว่ายึดที่วัตถุประสงค์และ
ผลสำเร็จของงาน จึงต้องมีการแก้ไขโดยการสร้างความยืดหยุ่นคล่องตัวให้เกิดขึ้นในการใช้จ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานต่างๆ แต่จะต้องมีความรับผิดชอบต่อผลสำเร็จของการดำเนินงานมากขึ้น

นอกจากนี้ยังต้องกระจายอำนาจ การบริหารงานบุคคลให้หัวหน้าส่วนราชการ สามารถจัดการ สรรหา เลื่อนขั้น และกำหนด อัตราเงินเดือน และปลดเจ้าหน้าที่ออกได้เอง ลบล้างความเชื่อของข้าราชการที่ว่าเข้ายาก ออกง่าย ไปเสีย โดยมีขั้นตอนดังนี้

1) ปรับเปลี่ยนกระบวนการงบประมาณ(Streamlining the Budget Process) เพราะ กระบวนการงบประมาณในปัจจุบันยังเป็นเรื่องของงานเอกสาร และมีวงจรการจัดทำงบประมาณที่จำกัด และขาดความยืดหยุ่นที่จะปรับให้เข้ากับสถานการณ์บ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ซึ่งวิฑูรย์ สิมะโชคดี ได้เสนอไว้ใน "การปฏิรูปราชการและการจัดการภาครัฐ""ว่า ระบบ งบประมาณตามภารกิจ (Mission - driven Budget)

2) กระจายอำนาจการบริหารงานบุคคล (Decentralizing Personel Policy)ให้แก่ส่วนราชการต่างๆ มากขึ้นกว่านี้ มิใช่ว่าอะไรก็ต้องอธิบดีหรือปลัดกระทรวงเท่านั้น

3) ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดซื้อ (Streaming Procurement)หรือพูดง่ายๆ ก็คือปรับปรุงระเบียบบริหารงานพัสดุให้มีลักษณะเป็นแบบหลักการชี้แนะ มากกว่ากฎปฏิบัติที่ตายตัวแบบปัจจุบันที่แน่นอนตายตัวแบบปัจจุบันนี้ รวมทั้งการกระจายอำนาจการตัดสินใจลงไปในระดับล่างให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
4.3 ปรับปรุงระบบการประเมินผล(Evaluation)
จาก " Reinventing Government" ของ Osborne และ Gaebler ได้เสนอไว้ว่า
1) ต้องให้ความแตกต่างระหว่างการวัดผลงานจากกระบวนการ(Process) กับการวัด
ผลงานจากผลสัมฤทธิ์(Results) เพราะในงานที่เป็นกฎระเบียบของระบบราชการนั้น ข้าราชการมักจะเข้าใจว่าหน้าที่ของตน คือการปฏิบัติตามระเบียบ จึงวัดผลงานตรงที่ว่าสามารถปฏิบัติได้สอดคล้องกับกฎระเบียบมากแค่ไหน แต่ละเลยผลสำเร็จของงานที่แท้จริงว่าจะมีผลกระทบ
(Impact) ที่จะอำนวยประโยชน์ต่อส่วนรวมหรือประชาชนอย่างไรบ้าง

2) ความแตกต่างระหว่างการวัดผลจากประสิทธิภาพ (Efficiency) กับการวัดผลงานจากประสิทธิผล (Effectiveness) เพราะเป้าหมายในการทำงานของข้าราชการต้องไม่ใช่เพื่อ
การลดค่าใช้จ่ายให้น้อยที่สุดเพียง อย่างเดียว แต่ต้องอยู่ที่การดึงเอาความสามารถจากบุคลากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสร้างประสิทธิผลที่มีประสิทธิภาพ ภายในเวลาที่กำหนดต่างหาก

3) การประเมินผลงานต้องกระทำโดยหน่วยงานอิสระ (Independent Office) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตามความเป็นจริงมากที่สุด
4.4 ต้องมีการปฏิรูปการเมือง (Political Reform)
ตราบที่ระบบการเมืองของไทยเรายังอยู่ในสภาพที่มีการใช้เงินเข้าสู่ระบบ มีการ
กอบโกยผลประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้องอยู่อย่างนี้แล้ว อย่าว่าแต่จะปฏิวัติระบบราชการเลยแม้แต่การเปลี่ยนแปลงเล็กๆน้อยๆก็ไม่มีทางเป็นไปได้

สรุป
จากบทเรียนในอดีตที่ผ่านมาและตัวอย่างของนานาอารยประเทศนั้นสรุปได้ว่าการที่จะปฏิวัติระบบราชการไทยให้สำเร็จนั้น อยู่ที่การปรับเปลี่ยนแนวคิดที่มีต่อระบบราชการเสียใหม่ และที่สำคัญที่สุดก็คือ ความมุ่งมั่นเอาจริงเอาจังของผู้นำประเทศ รวมทั้งการยินยอมพร้อมใจของบุคคลฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง ที่จะต้องพร้อมยอมรับความเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่า นั่นเอง




สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 450 เรื่อง หนากว่า 5000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

H
รวมบทความทางด้านรัฐศาสตร์ ๒ เรื่อง. ๑. มาเป็นประชาชนชาวสยามกันดีกว่า ๒. การปฏิวัติระบบราชการ เขียนโดย ชำนาญ จันทร์เรือง สมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

"SYAMA" ตรงกับอักขรวิธีไทย "ศยามะ" แปลว่า "ดำ" "สีคล้ำ" "สีน้ำเงินแก่" "สีน้ำตาลแก่" "สีเขียวแก่" ฯลฯ แต่บางคนก็ว่า "สยาม" แผลงมาจากคำจีนแต้จิ๋ว "เซี่ยมล้อ" หรือจีนกลาง "เซียนโล๋" เช่นเดียวกับชาววยุโรปก็ได้เรียก และเขียนชื่อประเทศสยามว่า "SIAM" มาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕ โดยเรียกตามชาวอินเดียใต้ ชาวสิงหล ชาวมลายูที่เรียกเราว่า "เซียม" เช่นกัน

และจากการศึกษาปรากฏว่าชื่อ "สามปเทส" มีจารึกไว้ในสมุดข่อยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา (MA VIE MOUVEMENTEE ; ปรีดี พนมยงค์) ซึ่งคำว่า "สาม" (สามะ) ในภาษาบาลีมีความหมายหลายอย่าง ซึ่งพจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ของริส เดวิดส์ ได้ให้ความหมายไว้ เช่น ๑. สีดำ ๒. สีเหลือง สีทอง ตามความหมายนี้ "สามปเทส" จึงหมายถึงแว่นแคว้นแห่งเมืองทองหรือสุวรรณภูมิ ซึ่งเพลงชาติของประเทศสยามก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทย มีเนื้อร้องขึ้นต้นด้วยประโยคที่ว่า "ประเทศสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง..." ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็น "ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย" ซึ่งขัดต่อความเป็นจริงเพราะในประเทศไทยยังมีคนเชื้อชาติอื่น ๆ รวมอยู่ด้วย การตั้งชื่อ "ประเทศสยาม" นั้น เราอาศัยหลักดินแดน แต่คำว่า "ประเทศไทย" นั้น เราอาศัยหลักเชื้อชาติของคนส่วนใหญ่

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 500 เรื่อง หนากว่า 6000 หน้า ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่
midnightuniv(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202

กรุณาส่งตั๋วแลกเงินไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50202
อย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์

ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ