บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 548 หัวเรื่อง
รัฐและสื่อครอบงำสังคม
สุขุม เฉลยทรัพย์
มหาวิทยาลยราชภัฏสวนดุสิต
The Midnight 's article

R
relate topic
280348
release date
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 26000 ครั้ง สำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม 2547 - ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่
ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
The Midnight
University

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 540 เรื่อง หนากว่า 6700 หน้า ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อที่ midnightuniv(at)yahoo.com - midnight2545(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202
กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50202
อย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์ (การจัดส่งทางไปรษณีย์ จะลงทะเบียนทุกฉบับ)

สื่อมวลชน สถาบันที่มีอิทธิพลต่อการครอบงำความคิดสาธารณชน
รัฐ-สื่อสารมวลชน-และการครอบงำความคิดคน
ผศ. สุขุม เฉลยทรัพย์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต


บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 548

หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ครั้งแรก บนเว็ปไซท์ของ ม.เที่ยงคืน วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๗
(บทความชิ้นนี้ยาวประมาณ 6 หน้ากระดาษ A4)

 

"สื่อมวลชน"
สถาบันทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อการครอบงำความคิดสาธารณชน

ผศ. สุขุม เฉลยทรัพย์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

Gramsci นักเศรษฐศาสตร์การเมืองชาวอิตาลี เคยกล่าวไว้ว่า สื่อมวลชนเป็นสถาบันทางสังคมหนึ่งที่นอกเหนือไปจากครอบครัว ศาสนา โรงเรียน และที่ทำงาน ที่เป็นกลไกสำคัญกลไกหนึ่งในการ ครอบงำทางความคิด กลไกนี้เป็นกลไกที่อยู่ในปริมณฑลของประชาสังคม (Civil Society) ที่ใช้การอบรมบ่มเพาะ ปลูกฝังความคิด ค่านิยม อุดมการณ์ ฯลฯ ทีละเล็กละน้อยในชีวิตประจำวันทุกวัน ทั้งนี้รูปแบบแห่งการครอบงำของชาติตะวันตกนั้น ได้แก่ การเผยแพร่คริสตศาสนา การจัดระบบการศึกษาแบบ ตะวันตก และการสร้างระบบสื่อสารสมัยใหม่

เมื่อสื่อมวลชนให้ความสนใจต่อเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นพิเศษ หรือให้ความสำคัญกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างต่อเนื่องแล้วนำเสนอเรื่องราวนั้น ๆ ออกสู่มวลชนหรือสาธารณชนให้รับทราบเป็นประจำสืบเนื่องกันไปสักระยะหนึ่ง ผลจากการกระทำเช่นนี้ของสื่อมวลชนสามารถทำให้มวลชนหรือสาธารณชนส่วนใหญ่เกิดความคล้อยตามได้ สื่อมวลชนจึงนับว่ามีบทบาทในการชี้นำสังคมได้อีกทางหนึ่ง

ยิ่งมองให้ลึกซึ้งขึ้นไปอีกก็จะพบว่า สื่อมวลชนเป็นสถาบันหนึ่งของสังคม ซึ่งมีโอกาสสูงที่จะตกอยู่ภายใต้การควบคุมจัดการของผู้กุมอำนาจรัฐไม่ว่ารัฐนั้น ๆ จะมีรูปแบบการปกครองในลักษณะใดก็ตามแต่ แม้กระทั่งระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบเสรีนิยม สื่อมวลชนจึงกลายเป็นเครื่องมือของการช่วงชิง ผลประโยชน์ และการต่อสู้ระหว่างความต้องการที่ไม่สอดคล้องต้องกันของชนชั้นต่าง ๆ ในสังคม

สังคมของประเทศเผด็จการหรือสังคมนิยม รัฐบาลจะยึดสื่อมวลชนไว้เป็นเครื่องมือของรัฐ เป็นการคุมสื่อให้อยู่ในมือด้วยวิธีตรงไปตรงมาและชัดเจน เพราะเห็นว่าสามารถใช้สื่อเพื่อกำหนดความคิด และบทบาทของคนในประเทศได้ ในโลกคอมมิวนิสต์สื่อมวลชนทุกแขนงจึงเป็นกระบอกเสียงของรัฐในการโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม มิได้หมายความว่ารัฐบาลโลกเสรีประชาธิปไตยจะไม่ได้ใช้สื่อเพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์เดียวกันกับโลกคอมมิวนิสต์ สื่อมวลชนในสังคมประชาธิปไตยนั้นมักถูกมองว่ามีอิสระ และมี เสรีภาพในการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารไปยังมวลชนอย่างเต็มที่ แต่หากวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งแล้วอาจไม่ได้เป็นอย่างที่เห็นและที่คาดคิด

สังคมของประเทศเสรีนิยมหรือประชาธิปไตย แม้รัฐบาลจะไม่มีการครอบครองหรือควบคุม สื่อมวลชนอย่างเด่นชัดดังเช่นโลกคอมมิวนิสต์หรือสังคมนิยม แต่ก็มีการใช้สื่อมวลชนเป็นเครื่องมือหรืออาวุธอย่างลึกซึ้งและแนบเนียนกว่าโลกคอมมิวนิสต์ เห็นได้จากในหลาย ๆ ประเทศต้องมีการกำหนดประเด็นเรื่องการสื่อสารเป็นนโยบายการสื่อสารแห่งชาติ เช่น สหรัฐอเมริกา ชิลี ฟินแลนด์ ฯลฯ

เนื่องจากผู้ครองรัฐของประเทศเสรีนิยมหรือประชาธิปไตย อาจเลือกใช้วิธีการแทรกแซงสื่อมวลชนด้วยอำนาจรัฐ หรืออาจใช้นโยบาย "ปล่อยสื่อเสรี" ซึ่งโดยแท้จริงแล้วคำว่า "สื่อเสรี" นั้นเป็นเพียงยุทธวิธีอันชาญฉลาดคล้ายดั่งการปฏิบัติการคุมสื่อแบบแฝงเร้นมากกว่า เพราะการปล่อยสื่อเสรีเป็นเรื่องของอุดมคติ ในทางปฏิบัติแล้วนับเป็นไปได้ยากยิ่ง

ผู้มีอำนาจหรือผู้ปกครองรัฐไม่ว่าจะใช้รูปแบบการปกครองใด มักต้องการกำหนดบทบาทของคนในประเทศให้เป็นไปตามที่ตนคาดหวังทั้งสิ้น อาจจะเพื่อหวังสร้างความสงบสุข ความสะดวก ความเรียบร้อย และความราบรื่นในการปกครอง แต่หากมองอีกแง่หนึ่งก็อาจเพื่อปิดบังซ่อนเร้นพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ของฝ่ายรัฐก็เป็นได้

แม้จะมีการกล่าวกันว่ายุคสังคมข่าวสารนั้น ผู้ใดมีข่าวสารข้อมูลอยู่ในมือคือ ผู้มีอำนาจอย่างแท้จริง แต่ประเด็นสำคัญประการหนึ่งที่มิอาจมองข้ามไปได้ก็คือ ผู้ใดก็ตามที่มีเฉพาะข้อมูลข่าวสาร แต่ไร้อำนาจควบคุมช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารก็นับว่าเปล่าประโยชน์

เนื่องจากข้อมูลข่าวสารบางเรื่องก็เป็นเรื่องที่รัฐต้องการจะเผยแพร่สู่สาธารณชน ซึ่งคงหนีไม่พ้น ข้อมูลข่าวสารที่จะให้ผลทางจิตวิทยาอันเป็นประโยชน์หรือเกิดผลลัพธ์เชิงบวก แต่ในทางตรงกันข้ามยังมีข่าวสารข้อมูลบางเรื่องที่รัฐก็ต้องการจะปิดบังซ่อนเร้นมิให้สาธารณชนรับรู้ เพราะอาจจะเป็นประเด็นที่นำมาซึ่งความวุ่นวาย เป็นต้นเหตุของเสียงวิพากษ์วิจารณ์ และความไม่มั่นคงมาสู่รัฐได้

วิธีการควบคุมสื่อมวลชนของผู้กุมอำนาจรัฐนั้น ย่อมใช้ยุทธวิธีที่ลุ่มลึกไม่เสมอเหมือนกัน แต่ก็หวังผลขั้นสุดท้ายไม่แตกต่างกัน ซึ่งหากสามารถควบคุมสื่อมวลชนได้บรรลุผลตามแผนการที่กำหนดแล้ว กลุ่มผู้มีอำนาจปกครองยังสามารถใช้สื่อมวลชนเป็นเครื่องมือสกัดกั้น หรือปิดกั้นการตรวจสอบจากภาค ประชาชนโดยเฉพาะชนชั้นกลาง (Middle Class) ซึ่งมักมีส่วนร่วมทางการเมืองสูง และคงไม่ต้องพูดถึงคนระดับรากหญ้า (Grassroots) ที่มีส่วนร่วมทางการเมืองน้อยอยู่แล้ว

ในประเทศที่การปกครองระบอบประชาธิปไตยยังไม่เข้มแข็งจะพบว่าแทบทุกครั้งที่มีการก่อการ รัฐประหาร สื่อมวลชนจะต้องเป็นสถาบันแรกที่ได้รับผลกระทบและถูกยึดครอง หรือแม้กระทั่งในยามปกติ สื่อมวลชนก็ยังถูกครอบงำหรือแทรกแซงผ่านอำนาจรัฐหรือผ่านทางธุรกิจ

การครอบงำและแทรกแซงสื่อผ่านระบบธุรกิจเสรีนิยมนั้นเด่นชัดมาก จนกระทั่งมีนักวิชาการ สื่อสารมวลชนกล่าวว่า การสื่อสารยุคนี้เป็นการผูกขาดในตลาดธุรกิจสื่อสารมวลชนไปแล้ว เพราะยักษ์ใหญ่ในวงการสื่อสารมวลชนของโลกปัจจุบันนี้ถูกยึดครองโดยกลุ่มนายทุนไม่กี่กลุ่ม เช่น เอแอลโอ-ไทม์ วอร์เนอร์, เวียคอม, วอลท์ ดิสนีย์, วิวองดี ยูนิเวอร์แซล, เบอร์เทลสมานน์, นิวส์คอร์ป และโซนี

หากมองที่ประเทศไทยสถานการณ์ก็คงไม่แตกต่างกันนัก ด้วยกลุ่มนายทุนที่ครอบครองกิจการ สื่อสารก็มีเพียงไม่กี่กลุ่ม เช่น ชินคอร์ป มติชน เนชั่น กันตนา เป็นต้น สำหรับกิจกรรมการสื่อสารที่ใช้เพื่อการครอบงำนั้นประกอบด้วยกิจการผลิตภาพยนตร์ การผลิตรายการโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หนังสือ แผ่นเสียง โฆษณา ประชาสัมพันธ์ การสำรวจประชามติ และการวิจัยตลาด

สำหรับประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสื่อสารมาก ๆ เช่น สหรัฐอเมริกาจะมีพลังการครอบงำทางความคิด ตลอดจนวัฒนธรรม และอุดมการณ์ต่อประชาชนสูงมากขึ้นไปอีก รวมทั้งมี ศักยภาพในการสร้างอิทธิพล แผ่ขยายอิทธิพลทั้งปริมาณและขอบเขตไปยังประชากรในภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลกในลักษณะที่เรียกว่า "ไร้พรมแดน" (ฺBorderless) เนื่องจากการมีทุนทรัพย์มาก จึงสามารถลงทุนสร้างเครือข่ายเทคโนโลยีการสื่อสารให้คลุมโลกทั้งใบ

การนำเสนอข่าวสารต่าง ๆ จากโลกตะวันตกที่ใช้รูปแบบการปกครองเสรีประชาธิปไตย จึงมักจะสร้างภาพมายา ภาพเสมือนจริง ที่ไม่อาจมองผ่านด้วยความคิดอันตื้นเขิน ตัวอย่าง เช่น การเสนอข่าวการต่อต้านเผด็จการ การเปิดเสรีทางการค้า การเงิน ข่าวสาร บรรษัทภิบาล สิทธิมนุษยชน ความโปร่งใส ฯลฯ ประเด็นข่าวเหล่านี้หากพิจารณาให้รอบคอบและถี่ถ้วนแล้ว จะพบว่าเป็นแนวทางการนำเสนอข่าวจาก แง่มุมของโลกตะวันตก และเมื่อมองให้ดีแล้วล้วนแล้วแต่มีวาระแอบแฝงซ่อนเร้น (Hidden Agenda) เชิงนัยยะเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศเหล่านั้นไว้ทั้งสิ้น

ในทางตรงข้าม ข่าวบางเรื่องที่จะมีผลกระทบเชิงเสียหายต่อผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ก็อาจถูกปกปิดมิให้เผยแพร่ออกไป เช่นกรณีข่าวพืชตัดแต่งพันธุกรรมที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ หรือข่าวการปล่อยของเสียหรือสารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมลงทะเล ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมโลกอย่างกว้างขวาง

ยิ่งเทคโนโลยีการสื่อสารก้าวหน้าขึ้น ผู้มีอำนาจปกครองย่อมสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารทุกอย่างได้ง่ายดาย และยิ่งข้อมูลข่าวสารถูกบูรณาการให้เข้าถึงและเชื่อมโยงใยกันเป็นจุด ๆ เดียวกันมากเท่าใด การถูกควบคุมหรือการถูกโจมตีจากฝ่ายตรงข้ามก็ยิ่งง่ายมากขึ้นเท่านั้น เหมือนกับว่าสิ่งที่เป็นจุดแข็งที่สุด กลับกลายเป็นจุดอ่อนที่สุดในขณะเดียวกัน

เมื่อผู้ครองรัฐยังต้องการควบคุมชนทุกระดับในสังคม เพื่อให้ง่ายต่อการปกครองและช่วยให้การปกครองเป็นไปอย่างราบรื่น ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นปกครองกับผู้ถูกปกครอง หรือระหว่างชนชั้นเดียวกันเองก็คงดำเนินต่อไปในรูปแบบของการแย่งชิงพื้นที่เพื่อเป็นเจ้าของสื่อ

ฉะนั้นสังคมใด ๆ ก็ตามหากผู้ครองปกครองรัฐมีคุณธรรม ทำเพื่อประโยชน์สุขของส่วนร่วมเป็นสำคัญแล้ว ก็คงมิใช่เรื่องเสียหายหากผู้ครองรัฐจะเข้าแทรกแซงสื่อมวลชน แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงไม่ว่าประชาชนของชาติใด ๆ ก็ตามแต่พึงตระหนักว่าการที่ผู้ครองรัฐมุ่งบริหารจัดการเพื่อผลประโยชน์สูงสุดแห่งชาติและประชาชนเช่นนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะมนุษย์ยุคปัจจุบันล้วนถูกอิทธิพลของเศรษฐกิจเสรีนิยมและลัทธิบริโภคนิยมครอบงำเป็นชั้นสูงสุด กอปรกับความเป็นปุถุชนที่ยังมีกิเลส เมื่อมีหรือได้มาซึ่งอำนาจในมือแล้วจึงเป็นเรื่องไม่ง่ายที่จะจัดการหรือใช้อำนาจอย่างเป็นธรรมไม่ฝักฝ่ายใด ๆ หรือไม่ใช้อำนาจนั้นเอื้อประโยชน์สู่ตนเองและญาติมิตรสหาย

กล่าวโดยสรุป สื่อมวลชนเป็นสถาบันทางสังคมหนึ่งที่มีผลต่อการพัฒนาสังคม สื่อมวลชนจึงต้องมีเสรีภาพในการสื่อสาร มีจิตสำนึกที่ดีในการเป็นผู้ถ่ายทอด และต้องมีความรับผิดชอบ โลกยิ่งเจริญรุดหน้าไปมากเท่าใด ก็ยิ่งทำให้ดูเหมือนว่ามนุษย์เรามีสิทธิและเสรีภาพมากขึ้น ปราศจากการควบคุมหรือครอบงำจากผู้ครองรัฐ แต่แท้จริงแล้วกลับกลายไปในทางตรงข้าม โลกยิ่งเจริญผู้คนกลับถูกครอบงำได้ง่าย และเป็นการครอบงำที่อันตรายยิ่งเสียกว่าการใช้กำลังบังคับเสียอีก เพราะเป็นการครอบงำที่ใช้การอบรม บ่มเพาะ ปลูกฝังความคิด ค่านิยม อุดมการณ์ ฯลฯ ทีละเล็กละน้อย ลักษณะแทรกซึมเข้าไปในจิตใจของผู้รับสารทีละเล็กละน้อยเป็นประจำวันจนแทบไม่รู้ตัว

หรือกว่าจะรู้ตัวก็สายจนเกินแก้

 

เอกสารอ้างอิง

กาญจนา แก้วเทพ. (2541). การศึกษาสื่อมวลชนด้วยทฤษฎีวิพากษ์: แนวคิดและตัวอย่างงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ชัยรัตน์ คำนวณ. บทบาทสื่อมวลชนต่อวัฒนธรรมไทย (1). เข้าถึงได้จาก:
http://www.thaipressasso.com/hotnews.newsthai.htm วันที่สืบค้น 8 ก.ย. 2547

แนวการศึกษา "สื่อ" วัฒนธรรม. เข้าถึงได้จาก: http://board.dserver.org/s/soccmu/0000027.html
วันที่สืบค้น 8 ก.ย. 2547 แปลและเรียบเรียงจาก Adventures in Media and Cultural Studies: Introducing the Keyworks เขียนโดย Douglas M. Kellner and Meenakshi Gigi Durham.

พายัพ วนาสุวรรณ. (2545). เข้าถึงได้จาก: http://manager.co.th/politics/PoliticsQA Question.asp?
QAID=758 วันที่สืบค้น 8 ก.ย. 2547

วิภา อุตมฉันท์. (2546). ปฏิรูปสื่อเพื่อสังคม หลักคิดและบทเรียนจากนานาประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารทางวิชาการ ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย ศิรกายะ. (2533). สังคมสารสนเทศ: มองเขาเป็นตัวอย่างของเรา. วารสารนิเทศศาสตร์ 11, ฉบับ ภาคการศึกษาต้น: 3-18.

อนุช อาภาภิรม. (2545). การสื่อสาร การแสวงหาสื่อเพื่อสาธารณะในโลกยุคไร้พรมแดน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิศูนย์สื่อเพื่อการพัฒนา.

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์, ผู้แปล. (2544). การสื่อสารและการครอบงำทางวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพฯ: โครงการสื่อสันติภาพ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

LittleJohn, S.W. (1995). Theories of Human Communication. 5th ed. Belmont: Wadsworth.

 

 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 540 เรื่อง หนากว่า 6700 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

 

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
Gramsci เคยกล่าวไว้ว่า สื่อมวลชนเป็นสถาบันทางสังคมหนึ่ง ที่นอกเหนือไปจากครอบครัว ศาสนา โรงเรียน และที่ทำงาน ที่เป็นกลไกสำคัญกลไกหนึ่งในการ ครอบงำทางความคิด กลไกนี้เป็นกลไกที่อยู่ในปริมณฑลของประชาสังคม (Civil Society)
คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
midnightuniv.org
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความฟรีเพื่อนักศึกษา
content
H
home