ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

R
relate topic
270348
release date

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 545 หัวเรื่อง
ข้อแย้งทางประวัติศาสตร์
เกี่ยวกับวัฒนธรรมทางสายตา
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
The Midnight 's article

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 14119-26256 ครั้ง สำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม 47
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

ข้อถกเถียงทางปรัชญาและประวัติศาสตร์
ข้อแย้งเชิงประวัติศาสตร์"วัฒนธรรมทางสายตา"
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
สาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หมายเหตุ: บทความทางวิชาการนี้ เรียบเรียงมาจากเรื่อง
Picture This: Literary Theory and the Study of Visual Culture
An address delivered at La Sapienza, Rome, Italy, March 2000
Paul Jay/Dept. of English/Loyola University Chicago

เผยแพร่ครั้งแรกวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2548
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 12 หน้ากระดาษ A4)



เรียบเรียงจากคำบรรยายของ ศาสตราจารย์พอล เจย์ (บรรยายที่ La Sapienza, Rome, Italy, March 2000
)

คำบรรยายในบ่ายวันนี้ ข้าพเจ้าต้องการยกเอาคำถามบางคำถามขึ้นมาเกี่ยวกับ เราได้ทำให้แนวคิดเรื่องการศึกษาวัฒนธรรมทางสายตาเป็นประวัติศาสตร์กันอย่างไร ? สำหรับเหตุผลที่ว่า เราได้ทำให้เรื่องวัฒนธรรมทางสายตาเป็นประวัติศาสตร์กันอย่างไรนี้ จะได้รับการนำไปเชื่อมโยงอย่างแนบแน่นกับการที่เราได้ทำให้การมองและความเป็นภาพเป็นทฤษฎีกันอย่างไร ?

การศึกษาวัฒนธรรมทางสายตาได้พัฒนาขึ้นมารายรอบความคิดที่ว่า ความเป็นหลังสมัยใหม่(postmodernity) ได้ถูกครอบงำหรือรับอิทธิพลโดยตัวแทนภาพทางสายตา(visual representation)ซึ่งเป็นตัวให้ความหมาย และจากจุดนี้ทำให้มันเป็นเครื่องหมายของการตัดขาดจากความเป็นสมัยใหม่(modernity) ที่ได้ถูกครอบงำโดยเรื่องของตัวหนังสือ(textuality)

ในทัศนะของข้าพเจ้า หลักการอันนี้วางอยู่บนนิยามความหมายที่แคบมาก เกี่ยวกับ"สายตา"(visual)ในฐานะที่เป็น"ภาพ"(pictorial), และมันมีแนวโน้มว่า การเกิดขึ้นของวัฒนธรรมทางสายตา เป็นสิ่งซึ่งบังเอิญไปพ้องกันกับผลผลิตและการกระจายตัวของภาพต่างๆ ที่ถูกทำให้เกิดขึ้นมาโดยเครื่องมือกลไกและอิเล็คทรอนิคต่างๆ - อย่างเช่น ภาพถ่าย ภาพยนตร์ วิดีโอ ภาพดิจิตอล ฯลฯ

แต่อย่างไรก็ตาม สายตา(visual)และการทำให้เป็นเรื่องของสายตา(visualization) มักจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับวัฒนธรรม และในนิยามความหมายที่กว้างกว่าของวัฒนธรรมทางสายตา ได้รวมเอาสถาปัตยกรรม และรูปแบบการสร้างอื่นๆและการตกแต่งเข้าไปด้วย ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงทุกสิ่งทุกอย่างนับจากการโฆษณา การออกแบบภายใน กระทั่งเรื่องของการตกแต่ง และการสร้างทิวทัศน์(landscaping)ขึ้นมา ซึ่งอันนี้ไม่ตรงกับไอเดียหรือความคิดที่ว่า "วัฒนธรรมทางสายตา"คือ"ปรากฏการณ์ของหลังสมัยใหม่"

มองออกไปให้กว้างมากขึ้น วัฒนธรรมทางสายตาเป็นเรื่องที่มีมายาวนานแล้ว และมีประประวัติศาสตร์ที่ค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งอันนี้ได้ไปขุดเซาะหรือทำลายความคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของมัน ที่ได้รับการหยั่งรากอยู่ในการเปลี่ยนผ่านกระบวนทัศน์ ซึ่งเกี่ยวพันกับการแตกหักจากเรื่องของตัวหนังสือ(textuality)

ข้อถกเถียงในเชิงประวัติศาสตร์อันนี้ยังได้รับการมองในลักษณะตรงไปตรงมา เมื่อมองจากมุมมองในทางทฤษฎี. การวิเคราะห์ในเชิงรื้อสร้าง(deconstructive analysis)เกี่ยวกับ"ภาพ"และ"ตัวหนังสือ" เป็นตัวอย่าง ที่ได้เผยให้เห็นว่า คำศัพท์ทั้งสองคำนี้ขึ้นอยู่กับกันและกันสำหรับความหมายของมันในโครงสร้างอันหนึ่งของความแตกต่าง ซึ่งเป็นมายาการส่วนใหญ่เมื่อมองเข้าไปในบริบทของประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน ที่ซึ่งวัตถุทางสายตาได้ถูกอ่านและข้อมูลตัวหนังสือได้รับการมองเห็น

ถ้าหากว่าเรื่องภาพและข้อมูลตัวหนังสือ ได้ถูกเชื่อมโยงเข้ากันกับการแตกหักทางประวัติศาสตร์ การแตกหักนั้นก็เกี่ยวข้องกันน้อยมากกับความแตกต่างระหว่างสื่อกลางทั้งสองชนิด ยิ่งกว่าความแตกต่างระหว่างความเชื่อมโยงของมัน กับวิกฤตที่แพร่กระจายไปทั่วในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการเป็นตัวแทน(representation)ในตัวของมันเอง อันนี้คือหนึ่งในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงความสนใจของเราจากการที่ "คำ" และ "ความหมาย" สะท้อนความจริงอย่างไร สู่ การที่พวกมันได้สร้างความจริงขึ้นมาอย่างไร

ในท้ายที่สุด การศึกษาวัฒนธรรมทางสายตา จะต้องถูกทำความเข้าใจไม่ใช่ในฐานะผลผลิตของการแตกร้าวทางประวัติศาสตร์ระหว่าง"ภาพ"และ"ตัวหนังสือ" แต่ในความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการในทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งได้รับการขับเคลื่อนโดยพลังการรวมตัวกันของทฤษฎีหลังโครงสร้างนิยม, ทฤษฎีวัฒนธรรม, ทฤษีวัตถุนิยม และทฤษฎีสตรีนิยม

ทฤษฎีต่างๆเหล่านี้ได้หลอมรวมวัฒนธรรมนิยมรากฐานและวัฒนธรรมโลกเข้าด้วยกัน ซึ่งได้แปรเปลี่ยนปฏิบัติการตามขนบธรรมเนียม"ประวัติศาสตร์ทางตัวอักษร"และ"ประวัติศาสตร์ศิลป์ไป". ในการตื่นขึ้นมาของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ภาพและตัวหนังสือ ไม่ได้ถูกแบ่งแยกออกจากกันแต่อย่างใด พวกมันโยงใยกันและกันอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

Nick Mirzoeff ได้เปิดตัวทันทีในบทนำวัฒนธรรมทางสายตาอันทรงคุณค่า โดยเขียนว่า "ชีวิตสมัยใหม่ได้เกิดขึ้นมาบนหน้าจอภาพ" แต่ข้าพเจ้าไม่ต้องการที่จะถกเถียงในประเด็นนี้ แน่นอน ในกรณีที่เรามีชีวิตอยู่ในยุคสมัยหนึ่ง ยุคซึ่งข้อมูลบนจอภาพและรายการบันเทิงสามารถพบเห็นได้ทั่วไปทุกหนแห่ง ยุคสมัยที่เกือบจะเป็นเรื่องของเวทมนต์เกี่ยวกับการผลิตซ้ำเชิงกลไกในด้านข้อมูลทางสายตา และทั้งหมดของเครื่องไม้เครื่องมือและภาวจิตหลงผิดที่เกิดขึ้นพร้อมๆกันไปกับมัน

สิ่งซึ่งข้าพเจ้าต้องการทำก็คือ ใช้ข้อสังเกตการณ์ของเขาในฐานะที่เป็นจุดเปลี่ยนของการเบี่ยงเบนออกไป เพื่อตั้งคำถามถึงความเท่าเทียมหรือดุลยภาพของ"วัฒนธรรมผ่านจอภาพ" กับ "วัฒนธรรมทางสายตา" ขณะที่ความเท่าเทียมกันนั้นยังยั่วยวนใจ และมันเป็นตัวแทนการแบ่งแยกกับแก่นสารความเป็นตัวหนังสือของความเป็นสมัยใหม่อย่างถึงราก

ณ ความเสี่ยงของการลดทอนมากจนเกินไป ข้าพเจ้าต้องการที่จะแนะนำว่า มันมีอยู่สองทางในการทำให้วัฒนธรรมทางสายตาเป็นเรื่องของแนวคิดและการจัดแยกหมวดหมู่. หนทางแรกที่ข้าพเจ้าคิด ออกจะแคบมาก, ส่วนอีกหนทางหนึ่งก็อาจจะกว้างเกินไป

การศึกษาหรือการเข้าถึงวัฒนธรรมทางสายตาแบบแคบโดยการทำให้เป็นแนวคิดขึ้นมาแนวหนึ่ง มีความสัมพันธ์กับเรื่องของเทคโนโลยีของการผลิตซ้ำทางสายตาอย่างเข้มงวด ยกตัวอย่างเช่น ภาพนิ่ง ภาพยนตร์ กล้องถ่ายวิดีโอ โทรทัศน์ รูปแบบต่างๆของภาพในลักษณะที่เป็นดิจิตอล และรูปแบบอื่นๆของสื่ออีเล็คทรอนิค

วัฒนธรรมทางสายตาที่ได้รับการทำให้เป็นแนวคิดขึ้นมาจากจุดยืนหรือทัศนะอันนี้ สอดคล้องต้องกันกับชีวิตบนจอภาพ ในความหมายอย่างที่ Mirzoeff ได้ปลุกเร้า รูปแบบอันนั้นของ"ภาพ"ที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคสมัยใหม่ตอนปลายและยุคหลังสมัยใหม่ เข้าสู่แบบของการเป็นตัวแทนไฮเปอร์, ซิมูเลทด์(simulated - ลอกเลียน), ความจริงเสมือนของการสร้างภาพ ซึ่งบัญชาหรือมาควบคุมความสนใจของเรามากขึ้นๆ และได้แพร่กระจายความรู้อยู่ในวัฒนธรรมสังคม

ถ้าหากว่าเราทำให้เรื่องการมองเห็นในวัฒนธรรมทางสายตาเป็นทฤษฎีขึ้นมาในหนทางนี้ เราก็กำลังถูกน้อมนำไปอย่างไม่ลดละ สู่ข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์แนวหนึ่ง ซึ่ง Mirzoeff และคนอื่นๆได้กระทำอยู่: นั่นคือ วัฒนธรรมทางสายตานั้นโดยสาระแล้วคือ ปรากฏการณ์หลังสมัยใหม่ซึ่งเป็นรอยบากหรือเครื่องหมายของการแบ่งแยกเกี่ยวกับ การปรับตัวแบบเหตุผลและตัวหนังสือของความเป็นสมัยใหม่. จากจุดยืนทัศนะอันนี้ Mirzoeff ได้กล่าวเอาไว้อย่างเหมาะสมว่า "โลกในฐานะตำราเล่มหนึ่ง ได้ถูกแทนที่โดยโลกในฐานะที่เป็นภาพๆหนึ่ง"( "the world-as-a-text has been replaced by the world-as-a-picture")

แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเผื่อว่าวัฒนธรรมทางสายตาได้ถูกนิยามกว้างไปกว่านี้ ข้อถกเถียงที่ว่ามันคือรอยบากหรือเครื่องหมาย "การแบ่งแยกแตกหักทางประวัติศาสตร์-การเปลี่ยนกระบวนทัศน์" ก็จะกลายเป็นปัญหาเพิ่มมากขึ้น. ถ้าหากว่าเราไม่ลดทอนเรื่องทาง"สายตา"(visual)ลงมาให้เหลือเพียงแค่"ภาพ"(pictorial) แต่คิดถึง"สายตา"ให้กว้างไปกว่านี้แทน ซึ่งเข้าไปครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง…

นับจากสิ่งภายนอกอย่างสถาปัตยกรรมและการออกแบบภายใน จนถึงการสร้างทิวทัศน์, เครื่องหมายโฆษณา, หน้าร้าน, อนุสาวรีย์, และพื้นที่การสร้างซึ่งรวมถึงถนนหนทาง, บริเวณสาธารณะของเมือง และสี่แยก, กล่าวอย่างสั้นๆ ลำดับการณ์ทั้งหมดเกี่ยวกับวัตถุทางสายตาที่เราประสบในชีวิตประจำวัน หากเป็นเช่นนั้น การจัดแบ่งหมวดหมู่เกี่ยวกับสายตาและวัฒนธรรมทางสายตา ก็จะกลายเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนมาก และยากลำบากที่จะลดทอนสู่ข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการแบ่งแยกและการแปรเปลี่ยนกระบวนทัศน์

ชีวิตสมัยใหม่ในระดับซึ่งมีนัยสำคัญ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะบนจอภาพเท่านั้น แต่มันยังเกิดขึ้นในทิวทัศน์ทางสายตากว้างๆของชีวิตประจำวันด้วย แม้กระทั่งวัตถุซ้ำซากและเครื่องหมายต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ที่ข้าพเจ้าจะยกขึ้นมานำเสนอ ในเทอมต่างๆของพื้นที่การสร้างที่นำมาวัดกันได้ง่ายๆ กล่าวคือ ชิคาโกมีวัฒนธรรมทางสายตาที่แตกต่างโดยพื้นฐานไปจากโรม (ขณะที่เสนอคำบรรยายนี้ ข้าพเจ้าอาศัยอยู่ที่โรม)

สิ่งก่อสร้างในลักษณะแนวตั้งของชิคาโก ผิดแผกแตกต่างไปจากการวางโครงร่างที่เป็นแนวนอนของโรมอย่างเด่นชัด ส่วนใหญ่ของชีวิตทางโลกหรือฆราวาส โครงสร้างเหล็กกับกระจกที่สัมพันธ์กันของชิคาโก ซึ่งได้รับการวางโครงด้วยตารางหรือตะแกรงอย่างเข้มงวด ได้สรรค์สร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรมขึ้นมาแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับอาคารสิ่งก่อสร้างและถนนหนทางของโรม ซึ่งโรมได้สร้างอัตลักษณ์ของตนขึ้นมา โดยมีความเกี่ยวพันกับยุคสมัยทางประวัติศาสตร์อันซับซ้อนและสไตล์พื้นเมืองต่างๆ

และโรมยังบรรจุความเป็นอนุสาวรีย์เอาไว้ สิ่งเหล่านี้เราจะไม่พบเห็นเลยในชิคาโก ผนวกกับถนนหนทางอันคดเคี้ยวม้วนไปม้วนมาเข้าไว้ด้วยกันของโรม ซึ่งเราจะไม่เห็นความเป็นเนื้อเดียวกันเช่นนั้นของตะแกรงสมัยใหม่ การอธิบายในกรณีต่างๆของความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่การสร้างและประสบการณ์ทางสายตาในวิธีการนี้ แนวคิดของเราทั้งหมดเกี่ยวกับสิ่งประกอบสร้างวัฒนธรรมทางสายตาจะขยายออกไปอย่างถึงที่สุด

จริงๆแล้ว ประเด็นของข้าพเจ้าคือว่า ถ้าเผื่อเราอธิบายวัฒนธรรมทางสายตาอย่างกว้างๆ โดยการนิยาม"สายตา"ในเทอมต่างๆที่ไม่จำกัดลงไปที่รูปลักษณ์ต่างๆของตัวแทนภาพ หากเป็นเช่นนั้น คำถามทั้งหมดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ และการแบ่งแยกประวัติศาสตร์ก็จะสลับซับซ้อนมากขึ้น

แม้ว่าเราจะจำกัดแนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางสายตาลงไปที่การเป็นตัวแทนภาพ วัฒนธรรมทางสายตาสำหรับข้าพเจ้าแล้ว ก็ยังดูเหมือนว่ามีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ที่สร้างไอเดียหรือความคิดเกี่ยวกับการแบ่งแยกที่ชัดเจนระหว่าง "สมัยใหม่ในฐานะตัวหนังสือ"(the modern-as-textual) และ "หลังสมัยใหม่ในฐานะภาพ"(the postmodern-as-visual) ซึ่งแนวคิดเช่นนี้ก็ยังมีปัญหาอยู่ดี

การเป็นตัวแทนภาพในโลกตะวันตก เริ่มต้นขึ้นในลักษณะที่แบนๆ มีผิวหน้าอันไร้ชีวิตชีวาของศิลปะอันเนื่องด้วยศาสนาในสมัยกลาง เปลี่ยนแปลงไปสู่ช่วงต้นของยุคฟื้นฟู(early Renaissance) ด้วยการนำเสนอวิธีการเขียนภาพแบบใช้หลักทัศนียวิทยา(perspective), การมีอารมณ์ความรู้สึก, และการเขียนภาพร่างกายคนซึ่งพัฒนาต่อมารายรอบความตราตรึงกับการเขียนภาพที่ประณีตเพิ่มขึ้นของพื้นที่ที่สร้าง ซึ่งนั่นเป็นการแข่งขันประชันกันขึ้นมาเป็นครั้งแรก

ต่อจากนั้นเกือบจะครอบงำการเพ่งความสนใจลงบนเรื่องราวทางศาสนา และถัดมาเริ่มตามมาด้วยขบวนแถวอันไม่ย่อท้อสู่ลัทธิสัจนิยม(realism) และการเขียนภาพเรื่องราวทางโลกเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน(secular depiction of everyday life) อันดับแรก มีอิทธิพลอยู่ในงานจิตรกรรม ถัดมาก็เป็นภาพถ่าย ภาพยนตร์ และต่อมาก็ในรูปของวิดีโอ และดิจิตอลเทคโนโลยี

จากจุดยืนทัศนะอันนี้จึงเป็นเรื่องยากที่จะมองว่า ความตราตรึงใจกับการมองหรือสายตาโดยตัวของมันเองสามารถถูกแยกออกมาอย่างโดดเดี่ยว ในฐานะที่เป็นปรากฏการณ์หลังสมัยใหม่ได้อย่างชัดเจน. อันที่จริง Martin Jay ได้เสนอเหตุผลในข้อถกเถียงที่เป็นไปในเชิงตรงข้ามขึ้น ในงานของเขาเกี่ยวกับ "ระบบขอบเขตของความเป็นสมัยใหม่" ซึ่งได้ให้การยืนยันว่า ยุคสมัยเรอเนสซองค์เป็นเรื่องของ"ศูนย์กลางที่ดวงตา"( ocularcentric) และนั่น "เป็นเรื่องที่ยุ่งยากที่จะปฏิเสธว่า การมองเป็นเรื่องซึ่งมีอิทธิพลในวัฒนธรรมตะวันตกสมัยใหม่"มาโดยตลอด

เท่าที่เป็นมาจวบจนกระทั่งตอนนี้ ในการตั้งคำถามถึงความคิดเกี่ยวกับการแบ่งแยก หรือการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ระหว่างเรื่องของ"ตัวหนังสือ"กับเรื่องของ"ภาพ" ข้าพเจ้าได้นำเสนอข้อถกเถียงในเชิงประวัติศาสตร์ขึ้นมาอันหนึ่ง ข้อถกเถียงดังกล่าวสามารถถูกสร้างขึ้นอย่างเข้มแข็งในเทอมต่างๆของความเป็นทฤษฎีได้

ขณะที่มันอาจมีความเป็นไปได้ ที่จะแยกความแตกต่างระหว่าง"วัตถุทางสายตา"ออกจาก"เรื่องลายลักษณ์อักษร" (ความแตกต่างที่ชัดเจนอันนี้ก็คือ ระหว่าง "หน้าของสิ่งพิมพ์ในหนังสือ" กับ "ภาพเป็นชุดๆหรือภาพฉากบนจอภาพยนตร์") มันค่อนข้างจะยุ่งยากที่จะสร้างความต่างในกรณีเกี่ยวกับกระบวนการรับรู้ ระหว่างประสบการณ์เกี่ยวกับ"ภาพ"กับตัว"หนังสือ" (นั่นคือ, ระหว่าง"การมอง"และ"การอ่าน" - seeing and reading)

Ella Shohat และ Robert Stam ได้นำเสนอประเด็นนี้ในความเรียงของเขาทั้งสอง โดยการหยิบยกเอาเรื่องของศูนย์กลางที่หลากหลาย(polycentric) เข้ามาศึกษาถึง"การบรรยายเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางสายตา" ในงานชิ้นดังกล่าวพวกเขาบอกว่า - "การมอง" ไม่เคยเป็นเรื่อง"บริสุทธิ์", มันมักจะถูกเจือปนโดยผลงานของประสาทสัมผัสอื่นๆเสมอ… การสัมผัสจับต้องกับข้อมูลตัวหนังสือและการสื่อสารอื่นๆ…. ซึ่งตอนนี้มันไม่ใช่คำถามแล้ว"

พวกเขานำเสนอต่อว่า "เกี่ยวกับการแทนที่ความมืดบอดของจุดเปลี่ยนทางภาษา กับ ความมืดบอดใหม่ๆของจุดเปลี่ยนของภาพ". เพื่อที่จะทำให้เป็นรูปธรรม ความเสี่ยงของการมองเกี่ยวกับการสร้างความเป็นใหญ่ของสัมผัสอันสูงส่ง…. การมอง" พวกเขาให้เหตุผลในท้ายที่สุดว่า, "คือภาษา เทียบกันกับภาษาในตัวของมันเองก็มีมิติของการมองอยู่ด้วย"

นักวิจารณ์วรรณกรรมชาวอเมริกัน W.J.T. Mitchell ผู้มีชื่อเสียง สำหรับงานของเขาเกี่ยวกับเรื่องภาพ, รูปภาพ, และการมอง, ได้นำเสนอประเด็นที่มีลักษณะเดียวกันนี้ เมื่อเขายืนยันถึง"การถักทอเข้ากันอย่างแนบแน่นของการเป็นตัวแทนคำบรรยายกับภาพต่างๆ" ในสิ่งที่เขาเรียกว่า "การทับซ้อนกันของประสบการณ์การมองและการอ่าน(visual and verbal experience)"

Mitchell ยืนยันว่า "ไม่มีสื่อทางสายตาและสื่อตัวอักษรที่บริสุทธิ์ นั่นคือ มันไม่มีภาพที่ปราศจากข้อความ และไม่มีข้อความที่ปราศจากภาพ". Mitchell ได้นำเอาวิธีการรื้อสร้างแบบคลาสสิคมาศึกษาเรื่องของคู่ตรงข้าม ระหว่าง"ภาพ"และ"ตัวหนังสือ"(image and text) หรือ"การมอง"กับ"เรื่องของวาทกรรม"(visual and discursive) อันนี้เป็นการยืนยันว่า "ภาพ"หรือ"ตัวหนังสือ"ไม่สามารถที่จะถูกอธิบายในฐานะที่เป็นแก่นแท้ที่บริสุทธิ์ได้ ซึ่งยืนหยัดอย่างอิสระจากกันและกัน

ดังที่ข้าพเจ้าได้หมายเหตุเอาไว้ตั้งแต่ต้น ศัพท์คำว่า "ภาพทางสายตา"และ"ตัวหนังสือ"(visual and textual) สืบทอดความหมายของพวกมันมาจากโครงสร้างทางภาษาศาสตร์เกี่ยวกับความแตกต่าง ที่ไม่ได้โยกย้ายสู่ชีวิตประจำวันได้ดีนัก ที่ซึ่ง"วัตถุทางสายตาได้ถูกอ่าน" และ"ตัวหนังสือต่างๆได้ถูกเห็น"ในกระบวนการรับรู้และตีความนั้น มันเป็นเรื่องทำนองเดียวกันนั่นเอง

วิธีการศึกษาในลักษณะรื้อสร้างของ Mitchell เกี่ยวกับการมองได้ขีดเส้นใต้หรือเน้นถึงบทบาทของทฤษฎีทางวรรณกรรมในการพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่าง วัตถุทางสายตา, วิธีการมอง, และการศึกษาวัฒนธรรม, เข้าด้วยกัน. เราสามารถที่จะสังเกตเรื่องนี้ได้ด้วยในความเรียงเรื่อง"Studying Visual Culture" ของ Irit Rogoff

Rogoff ได้ดึงเอาแนวคิดเกี่ยวกับความต่าง และไอเดียเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างข้อความ-ตัวหนังสือ(intertextuality) และการอ่านมาจากทฤษฎีทางวรรณกรรม เพื่อถกเถียงกับความคิดที่ว่า "วัตถุทางสายตา"และ"การทำให้เป็นเรื่องของการมองในตัวของมันเอง" สามารถถูกแยกขาดจากความเป็นข้อความ และกระบวนการอ่านได้

การดึงเอาภาษาศาสตร์แบบ Saussurian และทฤษฎีแบบ Derridean มาใช้ เธอยืนยันว่า "วัฒนธรรมทางสายตา… ได้ไปโอบกอดอะไรต่างๆมากมาย เกินกว่าเรื่องการศึกษาภาพแต่เพียงลำพังเท่านั้น" นั่นเป็นการเปิดเข้าไปสู่โลกทั้งใบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างข้อความ ซึ่งภาพต่างๆ…ได้ถูกอ่าน และโดยอิงอาศัยอีกสิ่งหนึ่ง" อันนี้ได้เผยให้เห็น"การแสดงบทบาทอย่างอิสระของ signifier"(ตัวแทน)
(หมายเหตุ: ในที่อื่น signifier = word หรือ image ในที่นี้แปลว่า"ตัวแทน". ส่วน signified = concept หรือ "มโนคติ" หรือ"ความหมาย")

ถ้าหากความคิดที่ว่า เราได้เปลี่ยนจากระบวนทัศน์สมัยใหม่ซึ่งหยั่งรากอยู่ใน"วัฒนธรรมตัวหนังสือ" ไปสู่กระบวนทัศน์หลังสมัยใหม่ซึ่งหยั่งรากอยู่ใน"วัฒนธรรมภาพ" ความคิดดังกล่าวอันนี้ดูออกจะไม่เหมาะสมหรือเข้ากันได้กับมุมมองทางประวัติศาสตร์และทางทฤษฎีที่ได้กล่าวมาข้างต้น แล้วอะไรเล่าที่จะเสนอแนะถึงความสัมพันธ์ระหว่าง"ภาพ"และ"ตัวหนังสือ"ในวันเวลาของพวกเรา ?

เรายังระลึกถึงคำในหนังสือของ Frank Gillette ได้ไหม เกี่ยวกับศิลปะวิดีโอ(video art) คือคำว่า "ระหว่างกระบวนทัศน์"(between paradigms) ซึ่งในที่นี้ข้าพเจ้าใคร่จะเสริมว่า การวิเคราะห์แบบนั้น ซึ่ง ข้าพเจ้าร่างมา ณ ที่นี้คือ พวกเราได้เข้ามาใกล้กับการรื้อสร้างความแตกต่างระหว่างเรื่องของ"ภาพ"และ"ตัวหนังสือ"ไปพร้อมๆกันมากพอสมควร

ดูเหมือนว่าสำหรับข้าพเจ้าแล้ว ภารกิจข้างหน้า ไม่ควรจะใช้เวลามากจนเกินไปเพื่อแยกแยะความต่างเรื่องของ"ภาพ"ไปจากเรื่องของ"ตัวหนังสือ" และให้สิทธิพิเศษเรื่องหนึ่งเรื่องใดมากกว่าอีกเรื่องหนึ่ง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากว่า มันได้น้อมนำไปสู่การประกอบสร้างการศึกษาวัฒนธรรมทางสายตา ในฐานะที่เป็นเรื่องราวซึ่งขยายและปรับปรุงเกี่ยวกับการศึกษาสื่อ[media studies])

พวกเราทั้งหลายน่าจะดำเนินรอยตามนักวิจารณ์อย่าง Rogoff และ Mitchell ที่ได้ดึงเอา"ทฤษฎีทางวรรณกรรม"และ"ทฤษฎีทางภาพสายตา"มาใช้ เพื่อทำการสำรวจถึงความสัมพันธ์กันที่สลับซับซ้อนระหว่าง"ภาพ"และ"ตัวหนังสือ" เช่นดังที่พวกเขาได้ทำงานร่วมกัน ในการกำหนดรูปร่างเกี่ยวกับประสบการณ์ทางวัฒนธรรมของเรา

ในพัฒนาการเกี่ยวกับข้อถกเถียงอันนี้ ข้าพเจ้าไม่ต้องการจะปฏิเสธความคิดที่ว่า ข้อผูกพันของเราเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนทางสายตา มิได้เชื่อมโยงกับช่วงขณะประวัติศาสตร์ที่สำคัญในวัฒนธรรมตะวันตกไปเสียทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าใคร่จะให้เหตุผลว่า สิ่งที่ Mirzoeff และคนอื่นๆกำลังจ้องมอง เมื่อพวกเขายืนยันหรือตั้งสมมุติฐานการแบ่งแยกประวัติศาสตร์ระหว่าง"ภาพ"และ"ตัวอักษร"นั้น เกี่ยวข้องกันน้อยมากกับการทำความเข้าใจของเรากับสื่อกลางทั้งสองนี้ในตัวมันเอง แต่ไปเกี่ยวข้องด้วยมากกับสิ่งที่ Michel Foucault เรียกว่า"การแตกหักทางด้านญานวิทยา"(epistemological break)

นับตั้งแต่ช่วงแรก ข้าพเจ้าได้ให้เหตุผลว่า เรื่องของวัฒนธรรมทางสายตา โดยการให้นิยามความหมายที่คับแคบเกี่ยวกับการมอง ซึ่งมีพื้นฐานอยู่ในการผลิตซ้ำเชิงกลไก, อีเล็คทรอนิค, และดิจิตอลบนจอภาพ, ซึ่งสามารถเชื่อมต่อวัฒนธรรมทางสายตากับความเป็นหลังสมัยใหม่โดยเฉพาะ สำหรับเหตุผลข้างต้น โดยส่วนตัวแล้วข้าพเจ้าไม่ได้คิดถึงการเกิดขึ้นมาของภาพถ่าย, ภาพยนตร์, และโทรทัศน์, ซึ่งเป็นรอยบากหรือเครื่องหมายของการเริ่มต้นขึ้นมาของรูปแบบใหม่อันหนึ่งของวัฒนธรรมทางสายตา

ข้าพเจ้าคิดว่า พวกมันเป็นรอยบากหรือเครื่องหมายแห่งการสิ้นสุดลงของรูปแบบเก่าอันหนึ่งของวัฒนธรรมทางสายตาต่างหาก ซึ่งมีพื้นฐานส่วนใหญ่อยู่บนการเป็นตัวแทนหรือมายาการแบบกระจกเงาที่สะท้อนความจริง ซึ่งภาพต่างๆเหล่านี้ได้สรรค์สร้างขึ้นมา

Mirzoeff และคนอื่นๆ แน่นอน ต่างถูกต้องในการอธิบายว่า ด้วยการพัฒนาของเทคนิคการตัดต่อภาพยนตร์ อย่างเช่น วิธีการคอลลาจ์(collage - การปะติดปะต่อเข้าด้วยกัน) และการตัดบางช็อตทิ้งไปในช่วงทศวรรษที่ 1920s และ 1930s เราก็ได้เริ่มต้นที่จะมุ่งไปอย่างไม่ลดละสู่ความเข้าใจที่ชัดแจ้งว่า มาถึงตอนนี้เราต่างเข้าใจกันว่า ความจริงของภาพถ่าย, วิดีโอ, และภาพดิจิตอล, ได้เสกสรรค์ปั้นแต่งความจริงขึ้นมาอย่างสูง(highly constructed fabrications of the real.)[ความจริงเทียม]

เราได้สร้างธรรมชาติของภาพยนตร์ร่วมสมัยขึ้นมาอย่างมีสำนึก เราได้สร้างภาพวิดีโอและภาพดิจิตอล ซึ่งได้เรียกร้องความสนใจไปสู่ความเป็นศูนย์กลางของการลอกเลียน(simulation) และการจำลองในวัฒนธรรมทางสายตาของเราเองอย่างต่อเนื่อง การยืนยันหรือขีดเส้นใต้ว่า ณ ปัจจุบันเรามาไกลแค่ไหนแล้วจากอดีตความเชื่อที่มีมาเกี่ยวกับคุณสมบัติของการเป็นตัวแทนของภาพ แต่อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าไม่คิดว่าเราควรที่จะมองการเปลี่ยนแปลงนี้ว่าเป็นการเริ่มต้นขึ้นของวัฒนธรรมทางสายตา ตรงข้าม มันควรที่จะถูกมองในฐานะที่เป็นช่วงขณะที่สำคัญอันหนึ่ง ในประวัติศาสตร์อันยาวนานและสลับซับซ้อนของวัฒนธรรมทางสายตาในโลกตะวันตก

ถ้าหากว่า Mirzoeff เป็นฝ่ายถูกต้องที่ว่า เราสามารถที่จะทำรอยบากการแบ่งแยกทางประวัติศาสตร์ในการเกิดขึ้นมาของวัฒนธรรมทางสายตาของคริสตศตวรรษที่ 20 ตัวข้าพเจ้าเองก็ใคร่ที่จะยืนยันว่า การแบ่งแยกนั้นมิใช่ระหว่าง"ภาพ"และ"ตัวหนังสือ"ในตัวมันเอง แต่เป็นการแบ่งแยกระหว่าง "สมมุติฐานอันไร้เดียงสาที่เข้าใจว่า ตัวแทนภาพนั้นแทนความจริง" (สิ่งที่ Rogoff เรียกว่า "มายาการของความโปร่งใส"[the illusion of transparency] กับ "การยอมรับที่ว่าการเป็นตัวแทนต่างๆของภาพ(คล้ายๆกับรูปแบบการเป็นตัวแทนอื่นๆ) ที่มักจะเป็นตัวสร้างความจริงขึ้นมาเสมอๆ"

นับตั้งแต่ความเรียง ที่เป็นหมุดหมายสังเกตของ Benjamin เกี่ยวกับงานศิลปะในยุคของการผลิตซ้ำเชิงกลไก พวกเราต่างรับรู้กันมากขึ้นเกี่ยวกับบทบาทของการผลิตซ้ำ และการลอกเลียนที่มีบทบาทในฐานะที่เป็นปัจจัยสำคัญของการประกอบสร้าง ในการก่อตัวของสิ่งที่ดูเหมือน"ความจริง"(reality)ในวัฒนธรรมทางสายตา

เราไม่สามารถคิดในเทอมต่างๆทางทฤษฎีเกี่ยวกับการมอง โดยปราศจากการเชื่อมโยงการสืบสวนของเราสู่การเปลี่ยนแปลงทางญานวิทยาอย่างถึงที่สุด บนเส้นทางของคริสตศตวรรษที่ 20 ที่ได้แปรเปลี่ยนความคิดของเราเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนไป พวกเราอยู่ในยุคสมัยหนึ่งซึ่งปลุกให้นักปรัชญาอเมริกันอย่าง Richard Rorty ขึ้นมา, ณ ปัจจุบัน ปรัชญา ภาษา และภาพต่างๆทางสายตา ไม่ได้ถูกคิดว่าเป็นธรรมชาติคล้ายกระจกเงา(mirroring nature)อีกต่อไปแล้ว แต่เป็นการสร้างความจริง(constructing reality)ต่างๆขึ้นมา

วัฒนธรรมทางสายตาร่วมสมัยได้รับการครอบงำโดยความสำนึกอันนี้ตลอดเวลา อันที่จริง มันไปผูกมัดกับบันทึกหลักฐานต่างๆในทุกๆการผันแปร ในความหมายนี้วัฒนธรรมทางสายตาร่วมสมัย ได้มีส่วนร่วมอยู่ในการแปรเปลี่ยนศูนย์กลางญานวิทยาของคริสตศตวรรษที่ 20 นั่นคือ การผันเปลี่ยนในความคิดของเราเกี่ยวกับข้ออ้างทางปรัชญาและวรรณกรรม กับ การเป็นตัวแทนภาพ ซึ่งห่างไกลจากความคิดที่ว่าพวกมันสามารถผลิต"ภาพ"ที่โปร่งใสของความจริงขึ้นมาได้ สู่การโฟกัสลงบนบทบาทของพวกมันในการประกอบสร้างความจริงต่างๆขึ้นมาแทน

หนึ่งในสิ่งต่างๆซึ่งเชื่อมโยง"ทฤษฎีวรรณกรรม"และ"การศึกษาวัฒนธรรมทางสายตา"เข้าด้วยกัน คือขอบเขตอันนั้นที่พวกมันได้ถูกให้ข้อมูล โดยการเคลื่อนคล้อยไปจาก"ทฤษฎีพื้นฐาน"หรือ"ทฤษฎีแก่นสารของความหมาย" สู่ "ทฤษฎีหลังพื้นฐาน", "ทฤษฎีหลังแก่นสารของความหมาย"(post-foundational, post-essentialist theories of meaning)

การวิพากษ์ความหมาย ในปรัชญานับจาก Derrida ถึง Rorty, ซึ่งได้แปรเปลี่ยนการศึกษาวรรณกรรมในโลกตะวันตกไป มาถึงตอนนี้ได้ดำเนินไปสู่การศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลป์และการศึกษาเรื่องสื่อ. ด้วยการแต่งงานกันของการวิพากษ์ทางปรัชญาอันนี้ กับ ทฤษฎีต่างๆและวิธีการทั้งหลายของการศึกษาวัฒนธรรม ซึ่งเดิมทีนำเสนออยู่ในสกุลความคิดเบอร์มิงแฮม(Birmingham School) ปัจจุบันเราได้เห็นและเป็นพยานการพัฒนาเกี่ยวกับสาขาวิชาที่ผสมผสานกันอย่างมหัศจรรย์ดังกล่าว ซึ่งเราทั้งหลายตอนนี้เรียกมันว่า การศึกษาวัฒนธรรมทางสายตา

ในเทอมของสาขาวิชา(discipline) และสถาบัน(institution) มันมีความคล้ายคลึงกันเป็นพิเศษ ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของ"ประวัติศาสตร์ศิลป์"ไปสู่"การศึกษาวัฒนธรรมทางสายตา"(transformation of art history into visual culture studies) กับ การเปลี่ยนแปลงของ"การศึกษาวรรณกรรม"ไปสู่"การศึกษาวัฒนธรรม"(transformation of literary studies into cultural studies.)

การเข้าแทนที่สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์โดยการศึกษาวัฒนธรรมทางสายตา เป็นการเปิดตัวอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับขอบเขตความรู้ที่ไปพ้นจากการศึกษาด้วยความระมัดระวังเกี่ยวกับ"สายตาที่ดี"(good eye)ในงานจิตรกรรมมาตรฐานและจิตรกรของศิลปะตะวันตก ซึ่งอันนี้คู่ขนานไปกับการเปิดตัวของขอบเขตความรู้การศึกษาวรรณกรรมโดยผ่านการเข้ามาแทนที่รูปแบบนิยม(formalist)อย่างเป็นระบบ, การอ่านอย่างใกล้ชิด(close reading)ในงานมาตรฐานหรืองานซึ่งเป็นที่ยอมรับ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมการศึกษาเรื่องดังกล่าว

ในขณะที่ความสนใจของเราในการศึกษาวรรณกรรม ที่มีต่องานเขียนจินตนาการมาตรฐานได้ขยายตัวกว้างออกไปคลุมถึงภาพยนตร์, โทรทัศน์, และวิดีโอ, การศึกษาเกี่ยวกับศิลปะที่นิยามอย่างแคบๆในฐานะจิตรกรรมและประติมากรรมในประวัติศาสตร์ศิลป์ ก็ได้หลีกทางให้กับการหล่อหลอมแนวความคิดขึ้นมาใหม่เกี่ยวกับสายตา(visual) ซึ่งได้เข้าครอบคลุมสื่อกลางต่างๆอย่างเดียวกันนี้ด้วย

ทั้งสองสนามความรู้นี้ ผลหรืออิทธิพลอันเพิ่มทวีของทฤษฎีรื้อสร้าง, สตรีนิยม, มาร์กซิสท์, และวัฒนธรรมได้แปรเปลี่ยนพื้นฐานความสนใจไปจากวัตถุทางสุนทรีย์มาตรฐานและสถาบันเดิม ซึ่งได้นิยามและสนับสนุนมันในการศึกษาเกี่ยวกับรูปทรงต่างๆของการเป็นตัวแทน ซึ่งสร้างขึ้นมาภายนอกการตำหนิติเตียนอย่างคับแคบของทฤษฎีสุนทรียศาสตร์ตะวันตกแบบจารีต

การศึกษาวรรณกรรมได้เบี่ยงเบนไปจากการเกาะติดอย่างคับแคบกับตัวหนังสือ ในฐานะที่เป็นวัตถุทางสุนทรีย์แบบคัมภีร์อันไม่อาจล่วงละเมิดได้ สู่การเพ่งความสนใจทั่วๆไปมากขึ้น ต่องานเขียนที่ตัดข้ามการแบ่งแยกระหว่างวัฒนธรรมชั้นสูงกับวัฒนธรรมป๊อปปูล่าร์(มวลชน), มีการซักไซ้ถึงการแบ่งหมวดหมู่เรื่องเชื้อชาติและเพศสภาพซึ่งพัฒนามาก่อนหน้า และได้กันเอาประชาชนทั้งหมดออกไปจากความผูกพันกับสิ่งที่วัฒนธรรมชั้นสูงเรียกว่า"วรรณคดี" และครอบคลุมรูปแบบต่างๆของการเป็นตัวแทนป๊อปปูล่าร์และการเล่าเรื่อง อย่างเช่น ภาพยนตร์, โทรทัศน์, วิดีโอ และไฮเปอร์มีเดียภายในกรอบโลกาภิวัตน์และมีลักษณะข้ามชาติมากขึ้น

การเปลี่ยนไปในทำนองเดียวกันได้เกิดขึ้นในการศึกษาเกี่ยวกับภาพทางสายตาด้วยเช่นกัน สำหรับภายใต้หัวเรื่องการศึกษาวัฒนธรรมทางสายตา เราต่างรู้เห็นและเป็นพยานการวิจารณ์ในอย่างเดียวกันเกี่ยวกับผลงานศิลปะในฐานะที่เป็นวัตถุทางสุนทรีย์มาตรฐานอันไม่อาจล่วงละเมิดได้ การวิจารณ์ซึ่งมีผลหรืออิทธิพลต่อการศึกษาในลักษณะปิดตัวของงานจิตรกรรมและประติมากรรม สู่การศึกษาที่เปิดกว้างทั่วไปมากขึ้นเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนทางสายตา(visual representation) ซึ่งรวมเอารูปแบบที่จำกัดตายตัวตามขนบประเพณีนั้นสู่ขอบเขตความรู้ของการศึกษาเรื่องสื่อ(media studies) และถูกผลิตขึ้นในพื้นที่ และโดยผู้คนที่ขุดเซาะทำลายความต่างทางขนบประเพณีระหว่าง"วัฒนธรรมชั้นสูง"กับ"วัฒนธรรมมวลชน"

การเปลี่ยนแปลงสาขาวิชาและสถาบันเหล่านี้ มีนัยะในเชิงความหมายไม่มากนักในการมองการศึกษาวัฒนธรรมทางสายตา ในฐานะที่เป็นบางสิ่งบางอย่างที่แยกออกและต่างจากการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นตัวหนังสือ(textuality)และการสร้างวาทกรรมความหมาย ข้าพเจ้าต้องการสรุปโดยการกล่าวซ้ำถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์วัฒนธรรมทางสายตาร่วมสมัย ไปสู่ประวัติศาสตร์อันยาวนานและสลับซับซ้อนกว่าของวัฒนธรรมทางสายตา ที่ได้รับการนิยามในเทอมต่างๆซึ่งออกจะคับแคบและมีพื้นฐานอยู่ในการเป็นตัวแทนภาพ ด้วยเทอมต่างๆที่กว้างออกไปมากขึ้น ซึ่งข้าพเจ้าได้วาดเค้าโครงมาก่อนหน้านี้แล้ว

อันที่จริง ดูเหมือนว่าสำหรับข้าพเจ้านั้น ความเป็นไปได้อย่างมากเกี่ยวกับการศึกษาวัฒนธรรมทางสายตาได้ให้อะไรที่ออกจะดูทื่อๆ ทึ่มๆ ไม่ได้แหลมคมอะไร ถ้าหากว่าเราจะนิยามความวัฒนธรรมทางสายตาให้มันมีลักษณะเฉพาะมากจนเกินไปในเทอมต่างๆของหลังสมัยใหม่ และในความสัมพันธ์กับการผลิตซ้ำเชิงกลไก, การผลิตซ้ำทางด้านเทคโนโลยี, และภาพดิจิตอลต่างๆ

ข้าพเจ้าคิดว่า การศึกษาวัฒนธรรมทางสายตาสามารถจะเป็นประโยชน์ เนื่องมาจากขอบเขตที่กว้างขวางของมัน โดยรวมการวิเคราะห์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่การสร้างและพื้นที่ออกแบบ กับ ประสบการณ์วัฒนธรรมทางสายตา การทำงานซึ่งเคลื่อนไปพ้นจากการศึกษาที่ชวนให้เราหลงใหล(และหลอกลวง)เกี่ยวกับการลอกเลียนทางสายตา(visual simulation) ไปสู่การคิดถึงว่า พื้นที่ว่างและพื้นที่ทางสายตาเชื่อมโยงกับ"ประสบการณ์ที่นอกเหนือไปจากภาพ"(off screen experience - ประสบการณ์นอกจอ) ที่ได้ก่อรูปก่อร่างทั้งความจริงและอัตลักษณ์ของเราทั้งหลายขึ้นมา

อันนี้เรียกร้องเราโฟกัสหรือเพ่งความสนใจการศึกษาวัฒนธรรมทางสายตามากไปกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน ในกรณีที่ทำให้เราหลงใหลอยู่กับวัฒนธรรมภาพ(screen culture - วัฒนธรรมจอภาพ). ในใจของข้าพเจ้านั้น ผลงานที่มีต่อประสบการณ์ทางสายตาของเราโดยเฉพาะเกี่ยวกับพื้นที่การสร้าง การสำรวจเกี่ยวกับรูปลักษณ์ต่างๆของสไตล์ทางวัฒนธรรม ได้รับมาจากการใช้สายตามองไปที่สิ่งก่อสร้างต่างๆ, พื้นที่สาธารณะ, และงานโฆษณา, และผลกระทบของพวกมันที่มีต่อการประกอบสร้างอัตลักษณ์ส่วนตัว และความรู้สึกของเราเกี่ยวกับการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม

ถ้าเผื่อว่า สิ่งที่พวกเราพบเห็น เราจ้องมองสิ่งต่างๆเหล่านั้นอย่างไร จะช่วยให้นิยามได้ว่าวัฒนธรรมคืออะไร และมันก่อรูปก่อร่างอัตลักษณ์ส่วนตัวและสังคมได้อย่างไร หากเป็นเช่นนั้นแล้วละก็ ดูเหมือนว่าสำหรับข้าพเจ้า พวกเราควรจะขยายกรอบของสิ่งที่เรานิยามในฐานะที่เป็นวัฒนธรรมทางสายตาให้กว้างออกไป - เพื่อว่ามันจะได้รวมถึงสิ่งที่พ้นไปจากจอภาพ(off screen)ที่เรายึดติด เช่นเดียวกับสิ่งที่เราเห็นบนจอภาพ(onscreen) เข้าไว้ด้วยกัน

 

 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 530 เรื่อง หนากว่า 6500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

H
บทความวิชาการเรื่อง"ข้อแย้งเชิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับวัฒนธรรมทางสายตา" เรียบเรียงโดย สมเกียรติ ตั้งนโม, สาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ในเทอมของสาขาวิชา(discipline) และสถาบัน(institution) มันมีความคล้ายคลึงกันเป็นพิเศษ ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของ"ประวัติศาสตร์ศิลป์"ไปสู่"การศึกษาวัฒนธรรมทางสายตา"(transformation of art history into visual culture studies) กับ การเปลี่ยนแปลงของ"การศึกษาวรรณกรรม"ไปสู่"การศึกษาวัฒนธรรม"(transformation of literary studies into cultural studies.)

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 530 เรื่อง หนากว่า 6500 หน้า ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่
midnightuniv(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202

กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง
สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50202
อย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์

การเข้าแทนที่สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์โดยการศึกษาวัฒนธรรมทางสายตา เป็นการเปิดตัวอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับขอบเขตความรู้ที่ไปพ้นจากการศึกษาด้วยความระมัดระวัง เกี่ยวกับ"สายตาที่ดี"(good eye)ในงานจิตรกรรมมาตรฐาน ซึ่งอันนี้คู่ขนานไปกับการเปิดตัวของขอบเขตความรู้การศึกษาวรรณกรรม โดยผ่านการเข้ามาแทนที่รูปแบบนิยม(formalist)อย่างเป็นระบบ, การอ่านอย่างใกล้ชิด(close reading)ในงานมาตรฐานหรืองานซึ่งเป็นที่ยอมรับ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมการศึกษาเรื่องดังกล่าว ในขณะที่ความสนใจของเราในการศึกษาวรรณกรรม ที่มีต่องานเขียนจินตนาการมาตรฐานได้ขยายตัวกว้างออกไปคลุมถึงภาพยนตร์, โทรทัศน์, และวิดีโอ,

ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ
เจ้าของพื้นที่ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ