ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

R
relate topic
140348
release date

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 541 หัวเรื่อง
ความรู้พื้นฐานวัฒนธรรมทางสายตา
สมเกียรติ ตั้งนโม
สาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
The Midnight 's article

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 14119-26256 ครั้ง สำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม 47
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

พื้นฐานการเรียนรู้ visual culture
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางสายตา
สมเกียรติ ตั้งนโม
สาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หมายเหตุ:
บทความทางวิชาการชิ้นนี้ เรียบเรียงมาจาก
Visual Culture Primer for Teachers
by Jacqueline Moon

เผยแพร่บนเว็ปไซต์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนครั้งแรกวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 18 หน้ากระดาษ A4)

 


คำนำ : INTRODUCTION
ปัจจุบันเราได้เห็นภาพนับเป็นพันๆชิ้นในแต่ละวัน จำนวนมากของภาพที่พบเห็นเหล่านี้พุ่งตรงและมามัดตรึงเราเข้ากับวัฒนธรรมซึ่งพวกเราต่างมีส่วนร่วม การเรียนรู้ที่จะถอดระหัสภาพที่พบเห็นเหล่านี้ซึ่งพวกเราทั้งหลายได้พบเห็นอยู่ทุกๆวัน กลายเป็นภารกิจอันยุ่งยาก เนื่องมาจากภาษาและเครื่องมือซึ่งมีอยู่ก่อนแล้วไม่อาจตอบสนองหรือเรียนรู้มันได้อย่างสมบูรณ์

เพื่อที่จะเรียนรู้ให้ง่ายขึ้นในเรื่องของวัฒนธรรมทางสายตา และเพื่อช่วยให้บรรดาผู้สนใจทั้งหลายทำความเข้าใจถึงเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับนำทางสู่ทิวทัศน์ทางสายตาที่แวดล้อมเราทุกคนอยู่ บรรดาผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายจะต้องมีความรู้และฉลาดพอ เกี่ยวกับเรื่องราวของการอ่านภาพให้ออก(visual literacy)

วัตถุประสงค์ของความรู้เบื้องต้นนี้ ต้องการที่จะช่วยให้บรรดาผู้ใฝ่รู้ทั้งหลาย ซึ่งปรารถนาที่จะบูรณาการวัฒนธรรมทางสายตาเข้าสู่บริบทแวลดล้อมรอบตัว ให้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมร่วมสมัยดังกล่าว โดยการนำเสนอรูปคำศัพท์พื้นฐานและเบื้องหลังบางอย่างซึ่งจะขาดเสียมิได้ อันจำเป็นต่อการสนับสนุนในการทำความเข้าใจในหมู่ผู้แสวงหาความรู้ บทนำในแต่ละหัวข้อจะได้รับการนำเสนอไปพร้อมๆกันกับการนิยามคำศัพท์ที่สำคัญๆ นักเขียนซึ่งได้รับการหมายเหตุเอาไว้ ซึ่งมีส่วนช่วยสนับสนุนต่อหัวข้อเรื่องนี้จะได้รับการนำมาอ้าง และการอ้างอิงที่เกี่ยวข้องอื่นๆจะถูกนำเสนอด้วยเพื่อการศึกษาต่อไปในภายหน้า

การศึกษาวัฒนธรรมทางสายตาคืออะไร? (What is Visual Cultural Studies?)
การศึกษาวัฒนธรรมทางสายตา(Visual Cultural Studies) เป็นศัพท์คำหนึ่ง ซึ่งถูกนำมาประยุกต์ใช้กับขอบเขตการศึกษาเมื่อไม่นานมานนี้ ที่ปรากฏตัวขึ้นมานอกเหนือจากขอบเขตการศึกษาที่เรียกว่า"การศึกษาวัฒนธรรม"(Cultural Studies)

สำหรับ"การศึกษาวัฒนธรรม"(Cultural Studies) มีศูนย์กลางอยู่ที่การศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและปฏิบัติการทางวัฒนธรรม ซึ่งไม่เพียงเกี่ยวข้องกับเนื้อหาและและสิ่งสร้างของมันเท่านั้น แต่ยังสัมพันธ์กับกลุ่มต่างๆทางสังคม รวมถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างกลุ่มทางสังคมเหล่านั้นที่มันถูกประกอบสร้างขึ้น และถูกทำให้อยู่ระหว่างกลางโดยรูปแบบต่างๆของวัฒนธรรม (Van Leeuwen and Jewitt, 2001)

ส่วน"การศึกษาวัฒนธรรมทางสายตา"(Visual Cultural Studies) เป็นเรื่องของความรู้สหวิทยาการ ซึ่งสามารถรวมเรื่องของสังคมวิทยา ชาติพันธุ์วรรณนา ศิลปวิจารณ์ มานุษยวิทยา และจิตวิทยาเข้ามาอยู่ร่วมกัน. สำหรับการศึกษาวัฒนธรรมทางสายตา เป็นความพยายามอันหนึ่งในการที่จะทำความเข้าใจว่า ภาพต่างๆที่เราพบเห็นนั้น มันถูกมองและเรียนรู้อย่างไร? ความหมายอะไรบ้างที่บรรดาผู้ดูทั้งหลายค้นพบในภาพเหล่านั้น? เป็นต้น

การศึกษาวัฒนธรรมทางสายตา จะใช้ภาพต่างๆในฐานะที่เป็นสื่อกลางอันอุดมสมบูรณ์ เพื่อพรรณาถึงตัวอย่างต่างๆของวัฒนธรรมอันนี้ ภาพทั้งหลายที่พบเห็นสามารถอยู่ในรูปของศิลปะก็ได้ อย่างเช่น จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพถ่าย หรือภาพที่มีลักษณะเคลื่อนไหว อย่างเช่ ภาพยนตร์ และการแสดงต่างๆ

นิยามความหมายเกี่ยวกับ"ภาพ"ในทัศนะของ John Berger คือ "การมองเห็นอันหนึ่ง ซึ่งได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ หรือถูกผลิตซ้ำ" (Berger, 1972, 9). ส่วนนิยามความหมายใหม่เกี่ยวกับภาพต่างๆเมื่อเร็วๆนี้ ซึ่งได้ถูกนำมาใช้เพื่อการวิเคราะห์คือ เทคโนโลยีต่างๆทางสายตา. Nick Mizroeff ได้ให้นิยาม"เทคโนโลยีทางสายตา"เอาไว้ว่า "เป็นรูปแบบของเครื่องมือหรืออุปกรณ์ ที่ได้รับการออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ในการดู หรือยกระดับภาพที่เห็นตามธรรมชาติมากขึ้น เช่น จากภาพจิตรกรรมสีน้ำมันไปสู่หน้าจอโทรทัศน์และอินเตอร์เน็ต (Mizroeff, 2002)

ในชั้นเรียนตามสถาบันการศึกษาในสหรัฐอเมริกาปัจจุบัน มีแหล่งข้อมูลภาพต่างๆที่นำมาใช้ได้ทันที ตำรับตำราต่างๆเป็นจำนวนมากมาพร้อมกันกับตัวอย่างมากมายที่แจ่มชัด เป็นภาพที่ได้จัดหามาส่วนใหญ่เพื่อใช้ในการถอดระหัส ตำรับตำราทั้งหลายเหล่านี้ เป็นการรวบรวมทั้งภาพและเนื้อหาข้อความเอาไว้ด้วยกัน แต่อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งภาพประกอบต่างๆ ไม่ได้ถูกโฟกัสหรือถูกนำมาสนทนากันในชั้นเรียน สิ่งสำคัญที่ควรจดจำไว้คือว่า มันจะไม่เป็นการเพียงพอที่จะสอนผ่านภาพพวกนี้ โดยไม่มีการเรียนรู้ตามความเป็นจริงเกี่ยวกับพวกมัน

เราทั้งหลาย สามารถส่งเสริมตัวเองให้อ่านภาพได้(visual literacy) โดยการหาเวลาที่จะมาพิจารณากันถึงภาพซึ่งอยู่รายรอบตัวเราอยู่ ซึ่งรวมถึงพิจารณาความหมายต่างๆที่ภาพเหล่านั้นพยายามส่งสารกับเรา ทรัพยากรที่พร้อมใช้สำหรับการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ ซึ่งอยู่ใกล้ตัวเรามากๆก็คือ ภาพโฆษณาต่างๆ ทั้งจากสื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือ

การอ่านภาพออก : Visual Literacy
การอ่านภาพออก(Visual literacy)สามารถได้รับการนิยาม ในฐานะที่มีเครื่องมืออันจำเป็นต่างๆในการรื้อสร้าง(deconstruct)ภาพที่พบเห็นนั่นเอง ถ้าหากว่าเราสามารถมองดูภาพต่างๆในฐานะที่เป็นภาษาๆหนึ่ง การอ่านภาพออกสามารถได้รับการนิยามในฐานะที่เป็น ความสามารถที่จะทำความเข้าใจ และผลิตสารต่างๆทางสายตา(visual messages)ได้

การทำงานในขอบเขตความรู้นี้ มีศูนย์กลางอยู่บนพัฒนาการทางด้านทักษะและการฝึกฝนความสามารถบางอย่าง การฝึกฝนความสามารถที่กล่าวถึงนี้ก็คือ การรู้จักประเมินและสร้างสรรค์สารต่างๆทางสายตา เช่นเดียวกับการปรับปรุงทักษะการอ่านและการเขียนของเรานั่นเอง โดยผ่านการใช้ประโยชน์ของเทคนิคการอ่านภาพให้ออก

ดังที่พวกเราทั้งหลายได้เผชิญหน้ากับภาพต่างๆ มากขึ้นๆ อยู่ทุกวัน (ในรูปของสื่อโทรทัศน์ วิดีโอเกมส์ และภาพทั้งหลายที่ถูกสร้างและแพร่หลายอยู่บนอินเตอร์เน็ต) การอ่านภาพให้ออก กลายเป็นส่วนหนึ่งซึ่งสำคัญยิ่งของความรู้สำหรับพวกเราในเวลานี้ และด้วยความรู้ดังกล่าว บรรดาผู้สนใจใฝ่รู้จะสามารถวิเคราะห์เชิงวิพากษ์เกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาพบเห็นได้

มีชุดของเครื่องไม้เครื่องมือที่แตกต่างกันอยู่เป็นจำนวนมาก ที่เราสามารถหยิบหรือนำมาใช้เพื่อการฝึกฝนทักษะการอ่านภาพทั้งหลายของพวกเรา เพื่อช่วยให้สามารถตีความภาพต่างๆซึ่งเราพบเห็นได้ บางอย่างเกี่ยวกับการก่อเกิดหรือแนวคิดในขั้นที่สอง ที่สามารถถูกสอบสวนได้ ยกตัวอย่างเช่น ความหมาย, ความสัมพันธ์กันระหว่างข้อมูล, เครื่องหมายและระหัสต่างๆ, สิ่งประดิษฐ์ทางวาทกรรม(rhetorical devices), อุดมคติ, การมองหรือวิธีการพูด, การจับจ้องทางเพศ, อำนาจ, ความเป็นอื่น, การสะท้อนกลับ และอื่นๆ ซึ่งบางอย่างของสิ่งเหล่านี้จะถูกนำมาพูดคุยกันต่อไป

มีวิธีการอยู่เป็นจำนวนมากเช่นกันสำหรับการรื้อสร้างภาพต่างๆ วิธีการพวกนี้รวมถึง การใช้หลักสัญศาสตร์, หลักประติมาณวิทยา(iconology - เป็นการศึกษาเกี่ยวกับภาพและสัญลักษณ์), การวิพากษ์อุดมคติ(ideology critique), การอธิบายตีความและการรื้อสร้าง(hermeneutics and deconstruction). สำหรับเรื่องของการใช้หลักสัญศาสตร์และหลักประติมาณวิทยา จะมีการพูดถึงกันในรายละเอียด
(ดูความหมายของคำ iconology, hermeneutics, deconstruction เหล่านี้ที่ท้ายบทความ )

การเริ่มต้นขึ้นของการศึกษาวัฒนธรรมทางสายตา
The Beginnings of Visual Cultural Studies

John Berger ในปี ค.ศ. 1972 เขาได้เป็นผู้จัดรายการโทรทัศน์ของ BBC รายการหนึ่งที่เรียกว่า Ways of Seeing (หนทางต่างๆเกี่ยวกับการมอง) หนังสือในชื่อเดียวกันนี้ได้รับการพิมพ์ขึ้น และยังคงตีพิมพ์อย่างต่อเนื่องในทุกวันนี้ สำหรับวัตถุประสงค์ของเขา ทั้งจากหนังสือและรายการโทรทัศน์ก็คือ เพื่อต้องการเข้าถึงศิลปะ(หรือภาพต่างๆทางสายตา)ให้มากขึ้น

เขามีความเห็นว่า ศิลปะไม่ได้ถูกมองแต่เพียงคนที่ได้รับการศึกษาเท่านั้น แต่มันถูกดูและถูกพบเห็นโดยผู้คนธรรมดาทั้งหลายอยู่ทุกวัน รวมถึงคนที่ไม่ได้รับการศึกษาด้วย ในการตีความเกี่ยวกับภาพต่างๆนั้น (หรือในหนังสือศิลปะของ Berger) บรรดาผู้ดูทั้งหลาย ต่างมีความคิดเห็นอันหนึ่งเกี่ยวกับวัตถุทางศิลปะดังกล่าว ซึ่งพวกเขาเพ่งมองอยู่

หนังสือของเขาได้เขี่ยความคิดเชิงวิชาการทิ้งไป และเข้าไปสู่เรื่องของศิลปะที่ว่า ศิลปะและภาพต่างๆได้ถูกมองดูอย่างไร และโดยใคร? อันนี้ได้นำเราสู่ทัศนียภาพของวัฒนธรรมทางสายตา ซึ่งมันมีความสำคัญมากต่อการศึกษาที่ว่า ความหมายได้ถูกค้นพบอย่างไร? มากกว่าที่ว่า ความหมายต่างๆเกี่ยวกับภาพๆหนึ่งในตัวของมันเอง (how meaning is discovered rather than the meanings of an image itself.)

มีพื้นที่อยู่หลายหลากเกี่ยวกับการศึกษาที่ดำรงอยู่ก่อนหน้าผลงานของ Berger ซึ่งปัจจุบันได้รับการนำไปเชื่อมโยงกับเรื่องของวัฒนธรรมทางสายตา ในบรรดาพื้นที่ทางความรู้เหล่านี้ รวมถึง สัญศาสตร์(semiotics), การวิเคราะห์ในเชิงจิตวิเคราะห์(psychoanalytic analysis), การศึกษาเรื่องสื่อและประติมาณวิทยา(media studies and iconology). แต่ละพื้นที่ทางความรู้เหล่านี้ จะได้รับการนำมาสนทนากันในรายละเอียดมากขึ้นภายหลังในหลักการเบื้องต้นนี้

ยิ่งกว่านั้น ในขณะที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปในพื้นที่ของภาพทางสายตา ดังนั้นมันจึงมีความจำเป็นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ที่จะต้องสำรวจตรวจสอบเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ต่างๆด้วย พื้นที่เกี่ยวกับการศึกษาดังกล่าวนี้ เพ่งเล็งไปยังภาษาทางคอมพิวเตอร์ โปรแกรมทางด้านซ็อฟท์แวร์หรือแอพพลิเคชั่น และภาพต่างๆที่ถูกผลิตขึ้นโดยโปรแกรมต่างๆ หรือ"เทคโนโลยีใหม่ๆ" ปัจจุบัน ได้รับการเรียกว่า" cyber-literacy"(การอ่านไซเบอร์ให้ออก)

หนึ่งในผู้ที่ให้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับการศึกษาวัฒนธรรมทางสายตาที่สำคัญคือ Stuart Hall. เขาได้เขียนหนังสือขึ้นมาหลายเล่มในเรื่องเรื่อง แนวคิดเกี่ยวกับ"การเป็นตัวแทน"(the concept of "representation") เขาเป็นเจ้าของวิดีโอชุดหนึ่ง ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนงานของเขา นั่นคือ Representation and the Media (การเป็นตัวแทนและสื่อต่างๆ) ในปี ค.ศ.1999

Stuart Hall ยังเป็นบรรณาธิการร่วมกับ Jessica Evans ในหนังสือเรื่อง Visual Culture: The Reader (คนอ่าน : วัฒนธรรมทางสายตา). การสนทนาของเขาเป็นเรื่องเกี่ยวกับ เราจะจัดระบบและทำความเข้าใจโลกของเราอย่างไร โดยผ่านหลักสัญศาสตร์(semiotics) และเรื่องความหมายแฝง(connotation)

นอกจากนี้ การศึกษาวัฒนธรรมทางสายตา ได้งอกงามขึ้นมาจากไอเดียหรือความคิดต่างๆ และการพูดคุยกันในหมู่เพื่อนๆทางวิชาการ ในการเสนอกระบวนวิชาและโปรแกรมปริญญาในระดับมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วโลก การโฟกัสเกี่ยวกับโปรแกรมต่างๆนั้น ก็คือสำรวจตรวจตราถึงความสัมพันธ์ระหว่างภาพต่างๆ กับ บทบาทที่พวกมันแสดงออกในชีวิตประจำวัน

สำหรับ Anthony Pennings เชื่อว่า การศึกษาวัฒนธรรมทางสายตาเป็นลำดับการอันหนึ่งของสาขาวิชาต่างๆที่ "ศึกษากระบวนการทั้งหลายทางกายภาพเกี่ยวกับการรับรู้ทางสายตา การใช้เทคโนโลยีเพื่อแทนภาพทางสายตา และยุทธวิธีการพัฒนาทางสติปัญญา ที่จะนำมาใช้เพื่อตีความและทำความเข้าใจสิ่งที่ถูกพบเห็นต่างๆ" (Pennings, 2003)

มีอิทธิพลอยู่มากมายต่อการศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางสายตา เนื้อหาดังกล่าวอาจถูกมองได้จากฐานที่มั่นหลังสมัยใหม่และหลังอาณานิคม ซึ่งยินยอมให้มีการรื้อสร้างเกี่ยวกับภาพต่างๆของอดีตที่ผ่านมา ด้วยสายตาวิพากษ์วิจารณ์เพิ่มขึ้น. งานวรรณกรรมแนวนี้บางชิ้น มองไปที่วัฒนธรรมไม่ใช่ในฐานะสิ่งๆหนึ่ง (ยกตัวอย่างเช่น นิตยสารฉบับหนึ่ง) หรือชุดของสิ่งสร้างต่างๆ (รายการต่างๆทางโทรทัศน์) แต่มองวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นกระบวนการอันหนึ่ง

Stuart Hall ได้อธิบายวัฒนธรรมว่าเป็น "ผลผลิต และการเปลี่ยนแปลงของความหมาย" เขากล่าวต่อไปว่า วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับผู้คน ซึ่งทำความเข้าใจเกี่ยวกับโลกของพวกเขา โดยผ่านการตีความเกี่ยวกับสิ่งที่ดำเนินไปรอบๆตัวของพวกเขา ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าเรากำลังจ้องมองไปที่ภาพกราฟฟิที (graffiti - หมายถึงภาพเขียนหรือภาพสีสเปรย์ที่กระทำลลงบนผนังตึก หรือกำแพง) ซึ่งอยู่ในเขตเมืองหรือย่านชานเมือง หรือกำลังจ้องมองไปที่ผลงานจิตรกรรมของโมเน่ท์ก็ตาม เราสามารถที่จะใช้วิธีการเดียวกันนี้ในการตีความ เพื่อบรรลุถึงเป้าหมายเกี่ยวกับการค้นพบความหมายได้

ศัพท์อีกคำหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ใน "วัฒนธรรมทางสายตา"(visual culture) ก็คือคำว่า "การอ่านภาพ"(visual literacy) อันนี้ได้รับการนำมาใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ.1969 โดย John Debes. คำว่า "การอ่านภาพ"(visual literacy) อ้างอิงถึงกลุ่มของความสามารถหรือประสบการณ์ต่างๆเกี่ยวกับภาพ(vision-competencies) ซึ่งมนุษย์คนหนึ่งสามารถพัฒนาขึ้นมาได้โดยการดู และในเวลาเดียวกันได้มีการบูรณาการกับประสบการณ์ทางด้านผัสสะอื่นๆ

พัฒนาการเกี่ยวกับความสามารถหรือศักยภาพเหล่านี้ เป็นพื้นฐานเบื้องต้นเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ตามปกติ เมื่อได้รับการพัฒนาขึ้น มันสามารถทำให้คนที่อ่านภาพออก แยกแยะและตีความการกระทำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุสิ่งของ, สัญลักษณ์, สิ่งที่เป็นธรรมชาติ, หรือสิ่งสร้างของมนุษย์ที่ปรากฏกับตาได้, หรืออะไรก็ตามที่เขาเผชิญหน้าในสภาพแวดล้อมรอบๆตัว

โดยผ่านการใช้ความสามารถหรือศักยภาพเหล่านี้ในเชิงสร้างสรรค์ เขาผู้นั้นสามารถที่จะสื่อสารกับคนอื่นๆได้ โดยผ่านการใช้ประโยชน์ในความสามารถหรือประสบการณ์เหล่านี้อย่างซาบซึ้ง เขาสามารถที่จะเข้าอกเข้าใจและเพลิดเพลินไปกับผลงานชั้นครูที่สื่อสารด้วยภาพได้

วิธีการจ้องมองและการดู : Ways of Looking and Seeing
เมื่อเราจ้องมองไปที่ภาพถ่ายของปิรามิด เราสามารถที่จะถามตัวของเราเองได้ด้วยคำถามต่างๆเหล่านี้ เช่น ภาพถ่ายนี้ได้ถูกถ่ายจากที่ไหน? ใครเป็นคนที่ถ่ายภาพๆนี้? ด้วยวัตถุประสงค์อะไรที่ภาพนี้ถูกถ่าย? คนถ่ายภาพได้สร้างภาพถ่ายอันนั้นขึ้นมาอย่างไร? เราในฐานะผู้ดู ถูกวางตำแหน่งการมองภาพนี้อย่างไร? เหล่านี้คือคำถามที่ได้รับการตั้งขึ้น เมื่อเราใช้เวลาชั่วขณะในการคิดถึงเกี่ยวกับสิ่งที่เรากำลังจ้องดูอยู่

เราแทบไม่ได้เอาใจใส่หรือสนใจเลย ในกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นเมื่อเรามองดูภาพๆหนึ่ง ทั้งนี้เพราะว่า เราได้เห็นภาพนับเป็นพันๆภาพในแต่ละวันนั่นเอง แนวคิดเกี่ยวกับการอ่านภาพ(reading an image) ถือเป็นกระบวนการที่สำคัญอันหนึ่ง ด้วยเหตุดังนั้น หากว่าเราต้องการให้ใครสักคนมีความสามารถในการอ่านภาพ ขอให้เลือกวิธีการสำหรับการถอดระหัสภาพ(decoding the image)ในฐานะที่เป็นสิ่งจำเป็นอันหนึ่ง

Gillian Rose เชื่อว่า เมื่อคุณได้ค้นพบเนื้อหาต่างๆของภาพที่มีลับลมคมใน จากนั้นลำดับการอันหนึ่งของวิธีการเข้าถึงต่างๆ ทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพจะพรั่งพรูความหมายของมันออกมา

วิธีการหนึ่งซึ่งพวกเราทั้งหลายสามารถเริ่มต้นในการถอดระหัสภาพได้เลย คือการค้นหาความหมายแฝงและความหมายตรง(connotative and denotative meanings) นักเขียน นักวิจารณ์ และครูคนหนึ่งชาวฝรั่งเศส Roland Barthes ได้ใช้คำศัพท์เหล่านี้เพื่อถอดระหัสเครื่องหมายต่างๆ ความหมายตรง(Denotative meaning)ถูกค้นพบได้ในสิ่งที่ภาพต่างๆบ่งชี้(imply) หรือสิ่งที่ภาพเหล่านั้นแสดงออก(show) และการที่ภาพทั้งหลายแสดงตัวของมันออกมาอย่างไร

Terry Barrett ได้แสดงในชั้นเรียนอนุบาลว่า เด็กอนุบาลก็สามารถถอดระหัสกล่องอาหารประเภทเซียเรียล(ธัญพืชสำหรับเด็กๆ) และประสบความสำเร็จอย่างไร? (Barrett, 2003, 11). เขาขอให้บรรดานักเรียนอนุบาลแยกแยะกล่องอาหารเซียเรียลสำหรับเด็กและสำหรับผู้ใหญ่. พวกเด็กๆแยกแยะกล่องที่โชว์รูปชามเซียเรียลกับผลไม้ ในฐานะที่เป็นกล่องซึ่งได้รับการออกแบบขึ้นมาสำหรับผู้ใหญ่ และพวกเขาก็เข้าใจว่า กล่องที่มีรูปตัวการ์ตูน ได้ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อดึงดูดใจของพวกเขา. บรรดาเด็กๆทั้งหลายไม่จำเป็นต้องอ่านข้อความบนกล่อง (จำนวนมากในหมู่พวกเขายังอ่านหนังสือไม่ออกด้วยซ้ำ) ก็รู้ว่า กล่องไหนได้ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อเป้าหมายผู้บริโภคกลุ่มใด

สำหรับคนทั่วไป เราสามารถนำทางพวกเขาไปสู่ความความเข้าใจภาพที่พบเห็นอื่นๆได้ โดยการรื้อสร้างภาพบนเสื้อยืดต่างๆ หรือภาพบนกล่องใส่ซีดีทั้งหลาย. พวกที่สนใจเรื่องการถอดระหัส สามารถบันทึกรายการลงไปได้ว่า อะไรคือสิ่งที่พวกเขาเห็นจริงๆ(denotation - actually see) และต่อจากนั้นก็ค้นหาความหมายแฝง โดยการเริ่มต้นคิดถึงความหมายที่อยู่เบื้องหลังองค์ประกอบของภาพดังกล่าว(connotation - the meaning is behind the elements in the images.)

เว็ปไซต์พจนานุกรมของ Robert Belton ได้ให้นิยามความหมายคำศัพท์ connotation และ denotation นี้ว่า:

CONNOTATIONS: "ความหมายแฝง" หมายถึงความหมายในเชิงภาพหรืออุปมาอุปมัย เป็นประสบการณ์ทางอารมณ์หรือความคิดเห็นที่ยึดถือมานาน และความสัมพันธ์ตามขนบธรรมเนียมที่เพิ่มพูนขึ้นของคำ และภาพนั้นต่างๆ ตรงข้ามกับความหมายตามตัวอักษรหรือการบ่งชี้ตรงๆของพวกมัน

ความหมายแฝง อาจเป็นสากล, หรือจำกัดเฉพาะกลุ่ม (ยกตัวอย่างเช่น จำกัดเฉพาะชนชาติ หรือจำกัดชนชั้นหนึ่งของสังคม) หรือเป็นส่วนตัว. ความเป็นประโยชน์เกี่ยวกับหมวดหมู่ในแบบหลังนี้ยังเป็นปัญหาอยู่ เนื่องจากมันเป็นไปได้สำหรับผู้ดูปัจเจกในการอ่านผลงานชิ้นหนึ่งด้วยความหมายแฝงส่วนตัว ซึ่งอันนี้ไม่ได้ถูกแบ่งปันกับผู้ดูคนอื่นๆทั่วๆไป

(Connotation - Figurative meanings, emotional baggage, and conventional associations accruing to words and images, as opposed to their literal meanings or denotations. Connotations may be universal, restricted to a group (e.g., a nationality or a social class), or personal. The usefulness of the latter category is questionable, since it is quite possible for a individual viewer to read into a work personal connotations which are not shared by a general audience.)

DENOTATION: "ความหมายตรง" หมายถึงความหมายตรงตามตัวอักษรหรือภาพ ซึ่งตรงข้ามกับความหมายแฝง. Roland Barthes (see Barthesian) ถือว่า ความหมายตรงเป็นสิ่งที่เห็นได้ทันทีของชุดความหมายแฝงต่างๆ ซึ่งถูกบังคับในฐานะที่เป็นความหมายปิด(see closure) โดยผลประโยชน์ทางการเมืองไม่มากก็น้อย) (Belton, 2003)

(Denotation - The literal meaning of a word, as opposed to its connotations. Roland Barthes (see Barthesian) maintained that denotation was simply the last of a series of connotations, enforced as a closed meaning (see closure) by more or less political interests.) (Belton, 2003)

สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเพิ่มเติม ดูหนังสือเรื่อง Mythologies ของ Roland Barthes ซึ่งตีพิมพ์ขึ้นในปี ค.ศ.1973. หนังสือของเขาเรื่อง Camera Lucida: Reflections on Photography นับเป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่สำคัญด้วย

การจ้องมอง : The Gaze
เมื่อเราจ้องมองไปที่ภาพๆหนึ่ง เรามองเห็นภาพๆนั้นโดยผ่านดวงตาหรือการประกอบสร้างของผู้สร้าง. การจ้องมองเป็นเรื่องของมุมมอง ทัศนียภาพ หรือแง่คิดทัศนะจากสิ่งซึ่งภาพดังกล่าวถูกสร้างสรรค์ขึ้น การจ้องมองสามารถอ้างอิงถึงการตัดกันระหว่าง "ผู้ที่สร้างภาพนั้นขึ้นมา" กับ "ภาพๆนั้นถูกดูอย่างไร?" บ่อยครั้งอันนี้ได้รับการเรียกขานว่า "การจ้องมองของผู้ดู"

John Berger เชื่อว่า ภาพต่างๆได้นำพา"อุดมคติ"ของตัวของมันเองมาด้วย และเรื่องของเพศสภาพ, หรือชนชั้นทางสังคม, ถือเป็นเงื่อนไขและปัจจัยสำคัญในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจ้องมอง. ด้วยเหตุดังนั้น ความรู้ที่จำเป็นอันขาดเสียมิได้ของผู้ดู จึงจำต้องถูกนำเข้ามาสู่การพิจารณา ถ้าเผื่อว่าความเข้าใจหรือความหมายสามารถถูกแบ่งปันกันได้

ถ้าผู้ประพันธ์หรือผู้สร้างภาพดังกล่าวได้สร้างสรรค์ภาพนั้นขึ้นมาจากทัศนียภาพหรือมุมมองที่เฉพาะอันหนึ่ง เรารู้ว่ามันคืออะไรได้อย่างไร? โดยปราศจากศิลปินมาคอยอธิบายผลงานของตัวเขาอยู่ ณ ที่นั้น เราจะถูกทิ้งให้ตั้งคำถามกับตัวเราเองว่า ภาพดังกล่าวได้ถูกสร้างขึ้นมาจากมุมมองใด. อะไรคือเบื้องหลังทางวัฒนธรรม, ศิลปินมีสถานทางสังคมเช่นไร และเขาได้รับการฝึกฝนมาอย่างไร? การที่จะตอบคำถามเหล่านี้ จะสร้างความแตกต่างในการถอดระหัสภาพงานใช่ไหม?

Catherine Lutz และ Jane Collins ได้เพ่งความเอาใจใส่ของพวกเธอลงบนภาพถ่ายต่างๆที่พบในนิตยสาร National Geographic. พวกเธอคาดการณ์ว่า มันมีวิธีการจ้องมองอยู่ด้วยกัน 7 อย่าง ซึ่งสามารถถูกพบได้ในนิตยสารเหล่านี้ และนั่นได้อรรถาธิบายถึงบริบททางสังคมเกี่ยวกับภาพถ่ายพวกนั้นที่พบได้ในนิตยสาร

การจ้องมอง 7 แบบดังกล่าวบ่งชี้อยู่ในเรื่อง Reading National Geographic (1992) คือ:

1. การจ้องมองของนักถ่ายภาพ
2. การจ้องมองในเชิงสถาบันของนิตยสาร
3. การจ้องมองของผู้อ่าน
4. การจ้องมองของคนที่ไม่ใช่เป็นชาวตะวันตก
5. การจ้องมองแบบแจ่มชัดกระทำโดยผู้คนชาวตะวันตก ซึ่งอาจถูกใส่กรอบด้วยลักษณะท้องถิ่นในภาพๆนั้น
6. การจ้องมองใลักษณะสะท้อนกลับหรือถูกหักเหโดยกระจกเงาหรือกล้องถ่ายรูป ซึ่งได้ถูกแสดงให้เห็นในมือของผู้คนท้องถิ่น และ 7. การจ้องมองในเชิงวิชาการของพวกเรากันเอง

นักทฤษฎีทั้งหลายที่มีชื่อเสียงในกรอบความรู้นี้ ได้รับการนำไปสัมพันธ์กับขอบเขตความรู้เกี่ยวกับจิตวิเคราะห์. อย่างเช่น Jacques Lacan ทฤษฎีของเขาวางอยู่บนรากฐานผลงานของ Sigmund Freud. เขาได้โฟกัสอยู่บนแนวคิดเกี่ยวกับ scopophilia (the pleasure in looking - ความพึงพอใจในการจ้องมอง) และให้เหตุผลว่า ชั่วขณะบางช่วงของการมอง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมองภาพทั้งหลายต่างมีศูนย์กลางอยู่ที่ ความเป็นอัตวิสัยและเรื่องทางเพศต่างๆที่ได้ถูกก่อรูปขึ้นมา (Rose, 2001, 100)

สุ้มเสียงที่สำคัญอีกสุ้มเสียงหนึ่งก็คือ Laura Mulvey. ผลงานเรื่อง Screen ของเธอได้รับการตีพิมพ์ขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ.1975 ด้วยไอเดียหรือความคิดของเธอเกี่ยวกับการวิจารณ์ภาพยนตร์แนวสตรีนิยมเชิงจิตวิเคราะห์ (Rose, 2001, 134) ในความเห็นของเธอนั้น ตำแหน่งของคนมองเป็นของผู้ชาย และด้วยเหตุนั้น การจ้องมองที่ฉายฉานอยู่บนจอภาพยนตร์(อันนี้คือสิ่งที่เธอศึกษา) จึงเป็นเรื่องของผู้ชายเป็นใหญ่หรือปิตาธิปไตย

ปฏิบัติการเกี่ยวกับการจ้องมองในแบบผู้ชายของ John Berger เรียกมันว่าเป็น"การจดจ้องแบบผู้กระทำ" - active) และแสดงข้อคิดเห็นและคำวิจารณ์ว่า ผู้หญิงดำรงอยู่ในลักษณะของผู้ถูกกระทำ(passive) (Lutz and Collins, 1993)

นัยสำคัญเกี่ยวกับความคิดที่แปรผันทั้งหมดเหล่านี้ ในหัวข้อเรื่องดังกล่าวเกี่ยวกับการจ้องมอง ได้ช่วยให้เราเข้าใจถึงฐานะตำแหน่งเกี่ยวกับอำนาจของผู้ดู และในบริบทอะไรที่ผู้ดูคนนั้นมองดูภาพต่างๆ. ผู้เขียนงานเกี่ยวกับเรื่อง"การจ้องมอง"ส่วนใหญ่ จะครอบคลุมถึงการจ้องมองของผู้หญิง การจ้องมองจากฐานะตำแหน่งของพวกโฮโมเซ็กซ์ชวล หรือจากฐานะตำแหน่งบางอย่างโดยเฉพาะ อย่างเช่น การจ้องมองของบรรดานักท่องเที่ยว (ดังที่ได้ถูกนำเสนอโดย John Urry)

แนวคิดเกี่ยวกับคนอื่น : Concept of Others
ไอเดียหรือความคิดเกี่ยวกับ"คนอื่น"เป็นการประกอบสร้างทางสังคมและการเมืองอย่างหนึ่ง ซึ่งมีกำเนิดขึ้นมาในช่วงคริสตศตวรรษที่ 19 (Wells, 2000, 188) ขณะที่ลัทธิอาณานิคมได้แผ่ขยายออกไปทั่วโลก ภาพถ่ายได้กลายมาเป็นต้นกำเนิดของการสร้างภาพที่สำคัญเกี่ยวกับประเทศและวัฒนธรรมที่อยู่ภายใต้อาณานิคม. ภาพลักษณ์ต่างๆได้รับการผลิตขึ้นให้แสดงออกถึงความเป็น"ต่างประเทศที่อยู่ห่างไกล""(exotic) หรือ"ความเป็นอื่น"(otherness) ซึ่งสามารถถูกค้นพบได้ในประเทศหรือวัฒนธรรมในดินแดนอันไกลโพ้น

ความแตกต่างของคนอื่น บ่อยทีเดียวถูกทดแทนหรือแสดงให้เห็นในพิธีกรรมต่างๆ ขนบประเพณี และการแต่งกายที่มีสีสรรของผู้คนท้องถิ่น. ความแตกต่างทางวัฒนรรม บางครั้งได้รับการแสดงออกในฐานะที่เป็น"ความเป็นตะวันตกกับส่วนที่เหลือ" "the West and the rest" (Lutz, 1992, 253)

ในเรื่องเกี่ยวกับการท่องเที่ยว "ความเป็นอื่น" ถือว่าเป็นแนวคิดที่สำคัญอันหนึ่ง เมื่อบรรดานักท่องเที่ยวเดินทางไปเพื่อค้นหาความต่างที่ห่างไกล(exotic) ถ้าหากว่าพวกเขามิได้พานพบหรือเจอะเจอสิ่งที่เป็นตัวแทนแสดงออกเหล่านั้น บ่อยครั้งพวกเขาจะรู้สึกผิดหวังกับประสบการณ์การท่องเที่ยวครั้งนั้นของพวกเขา

ถ้าเผื่อว่านักท่องเที่ยวคนหนึ่งเดินทางไปในประเทศอียิปต์ อะไรคือสิ่งซึ่งเป็นความคาดหวังของนักท่องเที่ยวคนดังกล่าว? ขอให้เรามาลองพิจารณาภาพถ่ายทั้ง 2 ภาพที่ยกมาเป็นกรณีตัวอย่าง ภาพทั้งคู่ได้รับการถ่ายในอียิปต์ ภาพแรกถูกถ่ายมาจากหน้าต่างของโรงแรมแห่งหนึ่งของอาคารข้างเคียง เด็กผู้ชายสามคนกำลังป้อนอาหารให้กับแพะซึ่งอยู่บนหลังคาตึกอะพาร์ทเม้นท์ที่ยังสร้างไม่เสร็จในอัสวาน. ส่วนอีกภาพหนึ่งเป็นภาพถ่ายเกี่ยวกับคนดูแลอูฐคนหนึ่ง ซึ่งอยู่ด้านหน้าของปิรามิดแห่งเมืองกิซา

อะไรคือภาพตัวแทนที่เป็นไปได้มากกว่าเกี่ยวกับความเป็นอียิปต์ สำหรับนักท่องเที่ยว? ทั้งคู่อาจเป็นตัวแทนของ"ความเป็นอื่น" แต่ภาพถ่ายชิ้นที่สองได้สร้างภาพหรือมุมมองที่ได้รับการยอมรับมากกว่า เกี่ยวกับความเป็นอียิปต์ ดินแดนที่อยู่ห่างไกลสำหรับบรรดาชาวตะวันตกที่พยายามสอดส่องและค้นหา

อุดมคติ : Ideology
อุดมคติเป็นศัพท์ซึ่งมีความสลับซับซ้อนคำหนึ่ง ในกรณีธรรมดาๆคำนี้คือ"การศึกษาเกี่ยวกับไอเดีย, ระบบของความคิด, และระบบของความเชื่อ" (Howells, 2003,71). ปรัชญาเมธี Destutt de Tracy ได้คิดประดิษฐ์คำว่า"อุดมคติ"(ideology)ขึ้นมาครั้งแรก ในช่วงต้นของคริสตศตวรรษที่ 19 เขาใช้มันเพื่ออธิบาย "ศาสตร์อันหนึ่งเกี่ยวกับไอเดียหรือความคิด ซึ่งเผยถึงอุปนิสัยที่เคยชินอันไร้สำนึกของจิตใจ คล้ายๆกับอคติและความสำนึกทางชนชั้น" (Belton, 2003)

ภาพทางสายตา สามารถที่จะได้รับการวิเคราะห์จากวิธีการในลักษณะอุดมคติได้ด้วย. การค้นพบอุดมคติ สามารถเผยให้เห็นถึงไอเดียหรือความคิด, ค่านิยม, และความเชื่อทั้งหลายที่อยู่ข้างใต้ได้ ซึ่งมันได้รับการบรรจุเกี่ยวกับความคิดทางสังคมและการเมืองเอาไว้. วิธีการมองของ John Berger ถือว่าเป็นอุดมคติอันหนึ่งเช่นกัน เขาแสวงหาความหมายโดยผ่านรูปแบบต่างๆเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งพบได้ในงานศิลปะ

ศัพท์คำว่า"วิพากษ์เชิงอุดมคติ"(ideology critique) ได้ถูกนำมาใช้ด้วยในระเบียบวิธีอันนี้. Ernst Bloch ได้ถูกนำไปเชื่อมร้อยกับผลงานในขอบเขตพื้นที่ดังกล่าว เขาใช้ศัพท์ข้างต้นเพื่อ "แสดงให้เห็นถึงความผิดพลาด, ความลึกลับต่างๆ, และผลประโยชน์ของชนชั้นปกครองภายในสิ่งสร้างทั้งหลายในเชิงอุดมคติ" (Kellner, 1999). ภาพๆหนึ่งมันได้นำพาอุดมคติอันหนึ่งไปกับตัวของมันเอง เมื่อเรามองดูภาพๆนั้น เราจะนำเอาความเชื่อและค่านิยมต่างๆของเรามาสู่มัน
(สำหรับความเข้าใจมากขึ้น ขอให้ดูบทที่ว่าด้วย" Culture, the Media and the 'Ideological Effect'," ในหนังสือเรื่อง Mass Communication and Society (1977) ของ Stuart Hall)

ขอยกตัวอย่างภาพถ่ายรูปต่อมา ซึ่งถือเป็นอีกภาพหนึ่งเกี่ยวกับอุดมคติ ในฐานะที่เป็นวิธีการซึ่งสามารถถูกนำมาใช้เพื่อถอดระหัสได้ ภาพตัวอย่างที่กล่าวถึงนี้ ได้ถูกถ่ายในบริเวณด้านหน้าของที่ทำการรัฐสภา(House of Commons สภาล่าง) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ. วันที่ที่ภาพนี้ได้ถูกถ่ายเป็นสิ่งสำคัญต่อความเข้าใจภาพดังกล่าว (ดูภาพประกอบ)

ภาพนี้ถูกถ่ายเมื่อวันที่ 20 เดือนมกราคม 2003 ขณะที่รัฐสภาอังกฤษกำลังมีการถกเถียงกันว่า จะให้การสนับสนุนการรณงค์ของรัฐบาลอเมริกันหรือไม่ เพื่อส่งกำลังทหารบุกเข้าไปในอิรัค ด้วยระเบียวิธีการนี้ เราสามารถที่จะตีความภาพนี้ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับความคิดเห็นทางการเมืองของเรา และความสามารถในการให้ความหมายต่อกระบวนการทางการเมือง

ประติมาณวิทยา : Iconology
ประติมาณวิทยา ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Iconology หรือบางครั้งก็ใช้คำว่า Iconography ในหนังสือบางเล่ม บุคคลซึ่งถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ในขอบเขตความรู้นี้ก็คือ Erwin Panofsky จากผลงานของเขาในช่วงทศวรรษ 1930s เขาได้ทำหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่งชื่อว่า Studies in Iconology. ตัวอย่างต่างๆของเขาที่ยกมา เพื่อช่วยให้ผู้คนทั้งหลายมีความเข้าใจเกี่ยวกับประติมาณวิทยา คือผลงานอันยิ่งใหญ่ต่างๆทางด้านศิลปะ และเขาได้สร้างระเบียบวิธีอันหนึ่งขึ้นมาสำหรับคนอื่นเพื่อดำเนินรอยตาม

เขาคิดประดิษฐ์แบบแผนที่เรียกว่า a three-point plan (กระบวนการ 3 ขั้นตอน) เพื่อทำความเข้าใจระดับข้อมูลต่างๆซึ่งพบได้ในผลงานศิลปะชิ้นหนึ่ง

ระดับแรก เป็นระดับของการบรรจุข้อมูล ข้อเท็จจริง และการแสดงออกเอาไว้ (ถือเป็นระดับปกติธรรมชาติ หรือระดับปฐมภูมิ) (primary or natural level)

ระดับที่สอง คือระดับต่อมา พยายามที่จะค้นหาองค์ประกอบพื้นฐานที่มีความหมายมากขึ้นกว่าสิ่งเหล่านั้น ซึ่งสามารถถูกแปลความได้ตามพยัญชนะหรือตามที่เป็นจริง เขาเรียกระดับนี้ว่าระดับทุติยภูมิ หรือระดับขนบจารีตแบบแผน(the secondary or the conventional level) ระดับนี้เรียกร้องต้องการผู้อ่านให้สามารถที่จะแยกแยะหรือบ่งชี้ถึงความคิดไอเดียต่างๆ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี อย่างเช่น หลอดไฟสว่างเป็นตัวแทนของคนๆหนึ่งเกิดไอเดียใหม่ๆขึ้นมา เป็นต้น

ระดับที่สาม เป็นระดับสุดท้าย ซึ่งคือการเผยให้เห็นถึงความหมายที่อยู่ลึกที่สุด หรือความหมายซึ่งอยู่ภายใน(the deepest meaning or the "intrinsic" meaning )ของผลงานศิลปะ มันเป็นกระบวนการที่ไร้สำนึกของผู้สร้างภาพ ซึ่งสื่อสารกับผู้ดู ระดับที่สามนี้จึงเป็นอะไรมากกว่าเพียงแค่เรื่องขององค์ประกอบหรือวัตถุธาตุต่างๆทางศิลปะเท่านั้น

ขอให้เรามาดูกันถึงภาพถ่ายลำดับต่อมา ภาพถ่ายนี้สามารถได้รับการมองในฐานะที่เป็นตัวอย่างหนึ่งของประติมาณวิทยา จากการเริ่มต้นดูข้อมูลข้อเท็จจริง ซึ่งอาจน้อมนำผู้ดูไปสู่การกล่าวว่า สิ่งเหล่านี้คือซากปรักหักพังของโบสถ์หลังหนึ่ง อันนี้คือภาพถ่ายของโบสถ์ที่ชื่อว่า Tintern Abbey ใน Wales สร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1131 โดยบรรดาพระ Cistercian

โบสถ์หลังดังกล่าวอยู่ใกล้ชายแดนระหว่างอังกฤษและเวลส์ มันถูกทำให้มีชื่อเสียงอย่างมากในปี ค.ศ.1798 โดย William Wordsworth ผู้ซึ่งได้เขียนเรื่อง "Lines Composed a Few Miles Above Tintern Abbey." ในระดับทุติยภูมิของความเข้าใจ เราอาจมองดูโบสถ์หลังนี้ในฐานะที่เป็นหนทางหนึ่งของตัวแทนความศรัทธา หรือความเลื่อมใสศาสนาอย่างมาก(religiosity)

ในระดับตติยภูมิ(the third level) ความหมายที่ลึกซึ้งกว่าได้ถูกค้นพบ ภาพถ่ายนี้อาจแสดงถึง"ยุคสมัยโรแมนติค"(Romantic Period)" ของวรรณคดี (ภาพประกอบ)

จะต้องได้รับการหมายเหตุลงไปด้วยว่า การใช้หลักประติมาณวิทยาในฐานะที่เป็นวิธีการหนึ่งของการอ่านผลงานศิลปะ มันจะไม่ทำงานหรือใช้การไม่ได้สำหรับสิ่งสร้างของมนุษย์ทั้งหมด. การอ่านที่เสนอแนะเอาไว้สำหรับพื้นที่ความรู้นี้มีอยู่ในบท"ประติมาณวิทยา"ในหนังสือเรื่อง วัฒนธรรมทางสายตา โดย Richard Howells (ดู Iconology in, Visual Culture by Richard Howells)

พื้นที่อื่นๆภายในการศึกษาวัฒนธรรมทางสายตา : Other areas within Visual Cultural Studies
ยังมีหมวดหมู่ย่อยๆอีกเป็นจำนวนมากที่เชื่อมโยงกันกับการศึกษาวัฒนธรรมทางสายตา บางตัวอย่างเหล่านี้ก็คือการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสื่อ การศึกษาเรื่องเว็ปไซต์ และการศึกษาเกี่ยวกับภาพยนตร์

การศึกษาเรื่องสื่อ(media education) (เรียกว่า media studies ด้วย) กลายเป็นความนิยมที่เพิ่มเติมเข้าไปในหลักสูตรในหลายๆสถาบันการศึกษา บ่อยมากที่บรรดาครูอาจารย์ทั้งหลายได้รับการกระตุ้นสนับสนุนสู่"media proof"(การตรวจสอบสื่อ) หรือ ทำให้นักศึกษาของพวกเขารู้และเข้าใจสื่อ(media savvy)มากขึ้น การศึกษาเรื่องสื่ออาจสำรวจตรวจค้นวัฒนธรรมป๊อปปูล่าร์, การผลิตสื่อ, และวัฒนธรรมการบริโภค, โดยผ่านการรื้อสร้างเกี่ยวกับสารต่างๆ(messages)ในสื่อสารมวลชน

ในการศึกษาเรื่องเว็ปไซต์ มีจุดมุ่งหมายที่จะมองเข้าไปยังผลที่เทคโนโลยีใหม่ๆซึ่งมีต่อวัฒนธรรม อันนี้คือภารกิจอันยุ่งยากและค่อนข้างลำบากในขณะที่เทคโนโลยีใหม่ๆได้วิวัฒน์และพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ความเปลี่ยนแปลงที่ฉับไวในขอบเขตความรู้นี้ ได้น้อมนำไปสู่วรรณกรรมที่ทันสมัยล่าสุด ซึ่งปรากฏอยู่บนระบบออน์ไลน์ และนิตยสารอิเล็คทรอนิคต่างๆ(e-journals) ที่ซึ่งข้อมูลข่าวสารอาจถูกแพร่กระจายด้วยความเร็วสูง เรื่องของการศึกษาเกี่ยวกับเว็ปไซต์ก็คือการอ่านเทคโนโลยีให้ออก(technology literacy) จุดมุ่งหมายของการศึกษาสาขาวิชานี้คือ จัดหาเครื่องไม้เครื่องมือให้กับผู้คนเพื่อนำทางสู่จักรวาลของไซเบอร์

การศึกษาทางด้านภาพยนตร์ แม้ว่าจะมีพื้นที่ทางความรู้อื่นๆเกี่ยวกับการศึกษาซึ่งเชื่อมโยงกันอยู่เป็นจำนวนมาก (ยกตัวอย่างเช่น ประวัติศาสตร์ศิลปะ หรือภาพถ่าย), การศึกษาทางด้านภาพยนตร์ บ่อยครั้งได้ถูกนำมาเชื่อมต่อกับการศึกษาวัฒนธรรมทางสายตา การศึกษาทางด้านภาพยนตร์ได้เคลื่อนคล้อยจากสาขาวิชาเดี่ยวด้วยการปรับตัวทางประวัติศาสตร์และทางด้านเทคนิค สู่พื้นที่ความรู้ทางการศึกษาแบบสหวิทยาการ ซึ่งพยายามที่จะค้นหาความหมายภายในภาพเคลื่อนไหวต่างๆ คล้ายคลึงกันกับการอ่านภาพถ่าย หรือผลงานจิตรกรรม ระเบียบวิธีการเดียวกันสามารถถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการตีความภาพยนตร์ได้

(สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมในอาณาเขตความรู้นี้ เว็ปไซต์ต่อไปนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับการค้นคว้าศึกษาและการอ้างอิงทางอินเตอร์เน็ต : www.popculture.com www.newmediastudies.com
www.visualculture.wisc.edu www.theory.org.uk)

การเพิ่มความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมทางสายตา
Increasing visual culture

อันที่จริงการจะเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมทางสายตา ไม่ใช้ภารกิจที่ยุ่งยาก ถ้าเราจะยึดเกาะข้อมูลพื้นฐานบางอย่างเอาไว้ในการตีความเกี่ยวกับภาพต่างๆ เราควรเริ่มต้นในช่วงขณะที่พอมีที่จะให้ความสนใจ ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เวลาทั้งหมด เพื่ออุทิศให้กับการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ การเสริมสร้างทักษะการดูภาพหรือการอ่านภาพโดยทั่วไป สามารถเริ่มต้นขึ้นได้ด้วยขั้นตอนทีละเล็กทีละน้อย โดยการทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ใหม่ๆเกี่ยวกับภาพกับตัวเองเมื่อต้องเผชิญหน้ากับภาพในชีวิตประจำวันที่อยู่รายรอบตัวเรา

ภาพโฆษณาต่างๆที่ปรากฏอยู่บนสื่อทุกๆประเภท สามารถที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้ในการฝึกฝนอันนี้ เลือกวิธีการมองสักอย่าง และดูว่าเรามองดูมันหรืออ่านมันอย่างไร พยายามมองหาชั้นของความหมายต่างๆจำนวนมากที่มีบรรจุอยู่ในภาพโฆษณาทั้งหลาย และต่อจากนั้น ก็ท้าทายตัวเราเองด้วยการค้นหาความหมายในสัญลักษณ์อื่นๆ

เครื่องไม้เครื่องมือที่สะสมเอาไว้ยิ่งมาก จะยิ่งเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเรา และเราสามารถที่จะเพิ่มเติมความสลับซับซ้อนเกี่ยวกับแบบทดสอบและโครงการต่างๆได้มากขึ้น เราสามารถเริ่มต้นและเพิ่มการอ่านภาพให้กับตัวเองได้ด้วยการการอ่านบทความ หนังสือ และเว็ปไซต์ เกี่ยวกับเรื่องวัฒนธรรมทางสายตาที่มีอยู่ในบรรณานุกรมท้ายบทความนี้

อธิบายคำศัพท์
iconology - ประติมาณวิทยา เป็นสาขาหนึ่งของวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ ซึ่งศึกษาเรื่องเกี่ยวกับภาพที่ปรากฏกับตาและความหมายเชิงสัญลักษณ์ของงานศิลปะ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นศัพท์ที่เกี่ยวกับข้องกับเรื่องสังคม หรือการเมือง)

Hermeneutics มาจากคำในภาษากรีกว่า hermeneutikos ซึ่งรับมาจากพระนามของเทพเจ้ากรีก Hermes (โรมันเรียกเทพเจ้าองค์เดียวกันนี้ว่า mercury) ซึ่งได้รับการพูดถึงว่าเป็นผู้ตีความและผู้นำสารของเทพเจ้าต่างๆ. ในศาสนาคริสต์ คำว่า hermenuetics หมายถึง ศาสตร์หรือศิลปะของการตีความ หรืออธิบายเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับโครงสร้างพระคัมภีร์ไบเบิล หรือข้อความจากพระคัมภีร์ และปกติแล้วจะนำเอาหลักการบางอย่าง หรือกฎเกณฑ์บางอย่างมาตีความ เช่น ตีความโดยตรงจากเนื้อหา หรือตีความจากประวัติศาสตร์ เป็นต้น
mountainretreat.org/glossary.html

deconstruction หรือ "การรื้อสร้าง" การวิเคราะห์นี้มีพื้นฐานอยู่บนความเกี่ยวพันทางการเมืองหรือสังคมของภาษา มากกว่าจะเกี่ยวพันกับเจตจำนงของผู้เขียนโดยตรง. วิธีการศึกษาชนิดนี้เชื่อว่า ภาษามิได้อ้างอิงถึงความจริงภายนอกใดๆ - www.priorlake-savage.k12.mn.us/sh/Comm/Lally/Literary%20Definitions.htm

ใน mural.uv.es/elgagar/glossary.html ได้อธิบายคำๆนี้ว่า คือ ความพยายามอันหนึ่งที่จะรื้อถอนความตรงข้ามคู่หนึ่ง ซึ่งควบคุมข้อความหรือเนื้อหาอันหนึ่งอยู่ โดยการโฟกัสลงบนความขัดแย้งของความหมาย หรือการจนตรอกของความหมาย. การอ่านแบบรื้อสร้าง(deconstructive reading) จะชี้ถึงสมมุติฐานของภาษาในฐานะที่เป็นพื้นฐานการแสดงออกถึงความจริงภายนอก(logocentric)ของข้อความหนึ่ง และคู่ต่างๆ และลำดับชั้นสูงต่ำทั้งหลาย ที่มันบรรจุอยู่. มันจะแสดงให้เห็นว่า ภาษาในฐานะสิ่งแสดงออกถึงความจริงนั้น มักจะมากัดเซาะหรือทำลายสมมุติฐานต่างๆของตัวมันเอง และระบบตรรกะของตัวมันเสมอ

Bibliography

Arizona State University. (2003). Joel and irene benedict visual literacy collection. Retrieved on March 31, 2004 from http://www.asu.edu/lib/archives/vislitlinks.htm.

Avgerinou, Maria. (2004). Visual literacy definitions. Retrieved on March 27, 2004 from
http://ivla.org/org_what_vis_lit.htm#definition

Barrett, Terry. (2003). Interpreting Visual Culture. Art Education. 56 (2), 6-12.

Barrett, Terry. (2000). Criticizing photographs an: introduction to understanding images. Mountain View: Mayfield Publishing Company.

Belton, Robert J. (2003). Word of art. Department of Fine Arts, Okanagan University College. Retrieved on March 27, 2004 from http://www.arts.ouc.bc.ca/fina/glossary/gloshome.html.

Berger, John. (1972). Ways of seeing. London: Penguin Books.

Chandler, David. (2003). Media and communication website. University of Wales. Retrieved on February 28, 2004 from www.aber.ac.uk/media.

Hall, Stuart (Eds.) (1997). Representation. cultural representations and signifying practices. London, UK:Sage. 1-62.

Howells, Richard. (2003). Visual culture. Cambridge, UK: Polity Press. 11-30, 70-91, 95-113.

Kellner, Douglas. (1999). Ernst bloch, utopia and ideology critique. University of Texas, Austin. Accessed on 6, April 2004 at http://www.uta.edu /english/dab/illuminations/kell1.html

Lutz, Catherine and Jane Collins. (1993). Reading national geographic. Chicago: The University of Chicago Press, 1-309.

Manguel, Alberto. (2002). Reading pictures: what we think about when we look at art. Toronto: Vintage Canada, 1-337.

Mirzoeff, Nicholas (Ed.). (2002). The visual cultural reader(2nd Edition). London: Routledge.

Moon, Jacqueline. (2003). Digital and SLR photographs of Egypt, Turkey and United Kingdom.

Moon, Jacqueline. (2004). Digital photographs Hawaii.

Osborne, Peter D. (2000). Travelling light: photography, travel and visual culture. Manchester: Manchester University Press, 1-217.

Parsons, Michael J. (1987). How we understand art. New York: Cambridge Press.

Pennings, Anthony. (2003). Marist University. Retrieved on March 30, 2004 from http://www.academic.marist.edu/pennings/vislit2.htm.

Rose, Gillian. (2001) Visual methodologies. London: Sage Publications.

Sturken, Marita and Lisa Cartwright. (2001). Practices of Looking. New York: Oxford.

Van Leenwen, Theo and Carey Jewitt (Eds.). (2001). Handbook of visual analysis. London: Sage Publications Ltd. 1-210.

Urry, John. (1990). The tourist gaze: leisure and travel in contemporary socities. London:Sage.

Wells, Liz. (2000). Photography: a critical introduction (2nd Edition). New York: Routledge. 35-45, 67-73, 188-201.

Werner, Walt. (2004). Class notes from CUST 580 Visual Agency Across the Curriculum. University of British Columbia.

Werner, Walt. (2002). Reading Visual Texts. Theory and research in social education. Volume 30, Number 3, 401-428.


Visual Culture Primer for Teachers
Intro| What is VC? | Visual Literacy | The beginnings | Ways of looking| Gaze |
Others| Ideology| Iconology | Related areas of study | Teaching VC | Bibliography| Photos | Home
PowerPoint on Travellers vs. Tourists


by Jacqueline Moon

last revised: December 13, 2004
http://pw.vsb.bc.ca/moon/GradProject/CUST%20580%20final%20project/index.html


 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 530 เรื่อง หนากว่า 6500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

H
บทความวิชาการ เรื่อง "ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางสายตา" เรียบเรียงโดย สมเกียรติ ตั้งนโม, สาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มีวิธีการอยู่เป็นจำนวนมากเช่นกันสำหรับการรื้อสร้างภาพต่างๆ วิธีการพวกนี้รวมถึง การใช้หลักสัญศาสตร์, หลักประติมาณวิทยา(iconology - เป็นการศึกษาเกี่ยวกับภาพและสัญลักษณ์), การวิพากษ์อุดมคติ(ideology critique), การอธิบายตีความและการรื้อสร้าง(hermeneutics and deconstruction). สำหรับเรื่องของการใช้หลักสัญศาสตร์และหลักประติมาณวิทยา จะช่วยถอดความหมายของภาพได้

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 530 เรื่อง หนากว่า 6500 หน้า ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่
midnightuniv(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202

กรุณาส่งธนาณัติแลกเงินไปยัง
สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50202
อย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์

สุ้มเสียงที่สำคัญอีกสุ้มเสียงหนึ่งก็คือ Laura Mulvey. ผลงานเรื่อง Screen ของเธอได้รับการตีพิมพ์ขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ.1975 ด้วยไอเดียหรือความคิดของเธอเกี่ยวกับการวิจารณ์ภาพยนตร์แนวสตรีนิยมเชิงจิตวิเคราะห์ (Rose, 2001, 134) ในความเห็นของเธอนั้น ตำแหน่งของคนมองเป็นของผู้ชาย และด้วยเหตุนั้น การจ้องมองที่ฉายฉานอยู่บนจอภาพยนตร์(อันนี้คือสิ่งที่เธอศึกษา) จึงเป็นเรื่องของผู้ชายเป็นใหญ่หรือปิตาธิปไตย ปฏิบัติการเกี่ยวกับการจ้องมองในแบบผู้ชายของ John Berger เรียกมันว่าเป็น"การจดจ้องแบบผู้กระทำ" - active) และแสดงข้อคิดเห็นและคำวิจารณ์ว่า ผู้หญิงดำรงอยู่ในลักษณะของผู้ถูกกระทำ(passive) (Lutz and Collins, 1993)

ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ
เจ้าของพื้นที่ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ