R
relate topic
200248
release date
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 528 หัวเรื่อง
ข้อเสนอการเมืองประชาธิปไตย
ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์

20 มีนาคม 2548
The Midnight's article

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 500 เรื่อง หนากว่า 6000 หน้า ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท
(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่ ...
midnightuniv@
yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง ...
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202

กรุณาส่งธนาณัติไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50202

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้
midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการเท่านั้น
ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีบนเว็ปไซต์ของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาสำหรับนักศึกษาและสมาชิก

ว่าด้วย รัฐบาลพรรคเดี่ยว กับ ประชาธิปไตย
World Social Forum กับการเลือกตั้ง ๖ กุมภา
ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์
นักวิชาการอิสระ สมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

หมายเหตุ: บทความชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
(บทความชิ้นนี้ยาวประมาณ 3.5 หน้ากระดาษ A4)

ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ฉบับหนึ่งพาดหัวข่าว พรรคไทยรักไทยยึดประเทศ นัยเพื่อจะรายงานข่าวว่า พรรคไทยรักไทยได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งอย่างท้วมท้น ส่งผลให้สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้เอง โดยไม่ต้องอาศัยพรรคการเมืองอื่นมาร่วมจัดตั้งรัฐบาล

การเมืองไทยที่พัฒนาก้าวกระโดดเช่นนี้ ดูน่าจะมีส่วนช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับการเมืองไทย ตามแนวคิดทฤษฎีการเมืองที่เห็นว่า รัฐบาลที่มาจากพรรคการเมืองพรรคเดียว ย่อมสามารถบริหารจัดการกิจการต่าง ๆ ของบ้านเมืองไปได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เพราะไม่ต้องคอยต่อรองผลประโยชน์กัน ในระหว่างพรรคการเมืองหลายพรรค เหมือนรัฐบาลที่มาจากพรรคการเมืองหลายพรรค

ประเด็นที่น่าสนใจ คือว่า รัฐบาลพรรคเดียว จะทำให้การเมืองเข้มแข็ง รวมทั้งเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวม ดังที่ควรเป็นหรือไม่

ข้อที่น่าพิจารณาเบื้องต้น คือว่า ภายใต้บริบทการเมืองแบบไทย ๆ พรรคการเมืองมักเป็นที่รวมตัวของบุคคลและกลุ่มคนที่มีแนวคิดมุ่งที่ผลประโยชน์ส่วนตัว และพวกพ้องเป็นหลัก เป็นไปตามแนวคิดการเมืองเพื่อผลประโยชน์ สมาชิกพรรคการเมืองที่สามารถรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่ม ย่อยๆในพรรค และมีอำนาจเงินทองและอิทธิพลมากกว่า ย่อมจะต่อรองเพื่อให้ได้มาซึ่ง ผลประโยชน์ และอำนาจอิทธิพล ต่างไปจากสมาชิกที่เป็นปัจเจกหรือที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มที่เล็กกว่า

นักการเมือง สมาชิกพรรคการเมืองไทย จึงเป็นนักการเมืองที่เติบโตและถูกหล่อหลอม ภายใต้สภาพแวดล้อมการรวมกลุ่มแข่งขัน การต่อรอง ด้วยอำนาจเงินตรา อิทธิพลบารมี เพื่อประโยชน์ของกลุ่มและพวกพ้อง จนกลายเป็นภาพที่เห็นชินตาในธรรมชาติของการเมืองไทย

ในแง่นี้ จะเห็นว่ารัฐบาลที่ประกอบด้วยพรรคการเมืองเดียวแต่หลายกลุ่ม กับ รัฐบาลที่ประกอบด้วยพรรคการเมืองหลายพรรคนั้น ไม่ต่างกัน เพราะส่วนใหญ่ต่างก็ประกอบด้วยกลุ่มคนที่มุ่งหวังหาประโยชน์เข้าตัวและพรรคพวก

รัฐบาลจากพรรคเดียว หรือจากหลายพรรค ในทัศนะผู้เขียน จึงไม่ใช่เป็นประเด็นมากนัก หากแต่ต้องพิจารณาที่ตัวนักการเมือง สมาชิกพรรคการเมือง หรือกลุ่มก้อนเล็กก้อนน้อยที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นพรรคการเมืองที่มาตั้งรัฐบาลว่าจะทำงานเพื่อใคร เพื่อประชาชน หรือเพื่อกลุ่มผลประโยชน์ของตนและพวกพ้อง

หรือจะพูดตามภาษาชาวบ้าน คือว่า ถ้าอยากรู้ถึงพฤติกรรมเจ้าบ่าว ต้องดูที่ผู้บังเกิดเกล้าของผู้เป็นเจ้าบ่าวนั้นแล ผลการทำงานของรัฐบาลจะเป็นอย่างไร จึงต้องดูที่ตัวคนที่มาก่อร่างประกอบกันเป็นรัฐบาล หรืออีกนัยหนึ่ง ในการดูการเมืองหลังการเลือกตั้งนี้ ว่าเป็นการเมืองเพื่อใคร ต้องดูบุคคลที่มาประกอบกันเป็นพรรคไทยรักไทย

ในทัศนะผู้เขียน เมื่อพิจารณาดูแล้ว อาจกล่าวได้ว่า พรรคไทยรักไทย เปรียบดังเหล้าเก่าในขวดใหม่ ก็ไม่น่าจะผิดจากความเป็นจริงมากนัก เพราะเมื่อเปิดไส้กันดูแล้ว พรรคไทยรักไทย ก็เป็นที่รวมตัวของนักการเมืองที่ย้ายมาจากพรรคต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่ และที่เห็นกันอยู่ คือ เป็นนักการเมืองความคิดเก่าที่เข้ามาเล่นการเมืองด้วยมุ่งหวังหาผลประโยชน์ให้ตนและพวกพ้อง

ข้อที่พรรคไทยรักไทยแตกต่างจากพรรคการเมืองอื่น พรรคไทยรักไทยสามารถอยู่และได้รับการยอมรับจากมหาชนอย่างกว้างขวาง โดดเด่นต่างไปจากพรรคการเมืองอื่น ทั้งนี้ ก็อาจด้วยศักยภาพความสามารถ ประกอบกับอำนาจทรัพย์บารมีของหัวหน้าพรรค ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์

การสร้างภาพลักษณ์ โดยเฉพาะในช่วงการเป็นรัฐบาลที่ผ่านมา สามารถยึดกุมคุมทิศทางนาวาประเทศ ด้วยการใช้กลวิธีต่าง ๆ อาทิ การสลับปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีเป็นว่าเล่น ทำให้สามารถคุมเกมการเมืองที่ว่าด้วยผลประโยชน์ไว้อยู่ในมือ

ความสามารถในการรักษาอำนาจและต่อรองผลประโยชน์ไว้ในมือของผู้นำพรรคอย่างเหนียวแน่นเช่นนี้ ส่งผลให้สามารถใช้อำนาจอิทธิพลในตำแหน่งหน้าที่ สร้างฐานปูทางสู่อำนาจทางการเมืองอีกครั้งหนึ่งในการเลือกตั้ง ๖ กุมภา ที่ผ่านมา

แล้วการเมืองเช่นว่านี้ การเมืองเพื่อประโยชน์ในระบอบประชาธิปไตย ที่พึงต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวมมิใช่เพื่อกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง การเมืองที่ ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย เป็นผู้กำหนด เป็นผู้ชี้ชะตากรรมของตนเอง เป็นจริงเช่นนั้นหรือ

เมื่อกว่าสองพันปีที่ผ่านมา นักคิดทั้งหลายได้ออกแบบการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ว่าพึงให้ประชาชนเลือกผู้แทนขึ้นมาบริหารดูแลประเทศแทน เพราะประชากรมีจำนวนมาก ไม่สามารถมาดูแลปกครองกันเองได้ ต้องหาผู้ที่มีความสามารถพร้อมอุทิศตนเพื่อมาช่วยบริหารจัดการกิจการสาธารณประโยชน์ให้แทน และการเลือกตั้งโดยประชาชนเป็นวิถีทางที่ดีที่สุดที่จะได้มาซึ่งผู้บริหารดังกล่าว

กว่าสองพันปีของการพัฒนาระบบประชาธิปไตย การณ์กลับเป็นว่า กลุ่มประชาชนผู้มีสติปัญญาเพราะเข้าถึงข้อมูลมากกว่า มีโอกาสมากกว่า มีอำนาจอิทธิพลบารมี และทรัพย์สินเงินทองมากกว่า ได้รวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ เข้าแข่งขันต่อรองเข้ายึดครองอำนาจการบริหารจัดการประเทศ ภายใต้ วาทกรรมว่าด้วย พรรคการเมือง และการเลือกตั้ง

การเมือง จึงกลายเป็นเรื่องของผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง เป็นวัฏจักรอุบาทว์ที่กลายเป็นสิ่งคุ้นเคยจนเป็นธรรมชาติของการเมือง ตัวอย่างจากการเมืองไทยในยุคทักษิโณมิคส์วัตร ที่ผ่านมา ได้ตอกย้ำชี้ชัดให้เห็นถึงรายได้ผลประโยชน์ต่างๆ ที่ถูกสะสมพอกพูนเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลในบรรดาพรรคพวกเพื่อนพ้องแลญาติมิตร แม้นจะมีเศษเสี้ยวส่วนเล็กน้อยที่ถูกแบ่งปันให้แก่ประชาชนผู้ยากไร้ แต่เศษเสี้ยวนั้นก็ดูจะมากเกินพอ จนสามารถบดบังความจริงที่ทำให้แม้นแต่การคอรัปชั่นเชิงนโยบาย กลายเป็นความเอื้ออาทรไปได้ เป็นอาทิ

การยึดอำนาจรัฐ การเข้าครอบครองอธิปไตย โดยกลุ่มผลประโยชน์ ด้วยความสมยอมพร้อมใจของประชาชนเจ้าของอธิปไตยจึงเกิดขึ้นได้ และเกิดขึ้นแล้วแม้นในประเทศประชาธิปไตยต้นแบบอย่างสหรัฐอเมริกา

ประชาธิปไตย ที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ที่พึงสามารถใช้อำนาจอธิปไตยนั้น จึงหามีความหมายไม่ ในระบอบการปกครองแบบตัวแทนที่เป็นอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก

การประชุม World Social Forum เป็นการประชุมของประชาสังคมโลกที่จัดขึ้นทุกปี ซึ่งปีนี้จัดขึ้นที่เมืองปอร์โต อาเรเก้ ประเทศบราซิล ในช่วงระหว่างวันที่ ๒๖ - ๓๑ มกราคม ๒๕๔๘ ภายใต้ สโลแกน The World is Not for Sale (ไม่ใช่อำนาจอธิปไตยขายได้เหมือนบางประเทศ)

ภายหลังการแลกเปลี่ยนบทเรียนประชาธิปไตยของประเทศต่าง ๆ ในเวที Control Democracy ผู้เข้าร่วมประชุมต่างแสดงความเห็นพ้องต้องกันว่า การเมืองในระบอบประชาธิปไตย ต้องเป็นการเมืองที่ก้าวข้ามการเมืองแบบตัวแทนไปสู่การเมืองแบบมีส่วนร่วม สู่การเมืองที่ประชาชนปกครองตนเอง ก้าวข้ามวาทกรรมที่ดูถูกประชาชน และมาสร้างวาทกรรมใหม่ให้การเมืองคืนอำนาจสู่ประชาชน ทำให้เห็นว่าประชาชนนั้นมิใช่ผู้ขอ มิใช่ผู้รอคอย จากผู้ให้ แต่เป็นผู้กำหนด เป็นผู้ทำให้"เกิด" เป็นผู้สร้าง มิใช่ทาสผู้รอรับความเมตตา เป็นผู้ชี้นำ ที่ผู้นำผู้ปกครองต้องเดินตาม

เส้นทางเดินประชาธิปไตย จึงยังไม่ได้บรรลุไปถึงซึ่งเป้าหมายที่การเมืองเป็นของประชาชน ในอีกนัยหนึ่ง การเมืองที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม การเมืองที่ประชาชนเป็นผู้กำหนด มิใช่กลุ่มบุคคลใดกลุ่มหนึ่ง เพราะฉันทานุมัติใดๆ มิอาจมีความชอบธรรมมากำหนดชะตากรรมของประชาชนได้

 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 500 เรื่อง หนากว่า 6000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com


 

 

 

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่ผลงานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคมไทย
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
H
คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ภายหลังการแลกเปลี่ยนบทเรียนประชาธิปไตยของประเทศต่าง ๆ ในเวที Control Democracy ผู้เข้าร่วมประชุมต่างแสดงความเห็นพ้องต้องกันว่า การเมืองในระบอบประชาธิปไตย ต้องเป็นการเมืองที่ก้าวข้ามการเมืองแบบตัวแทนไปสู่การเมืองแบบมีส่วนร่วม สู่การเมืองที่ประชาชนปกครองตนเอง ก้าวข้ามวาทกรรมที่ดูถูกประชาชน และมาสร้างวาทกรรมใหม่ให้การเมืองคืนอำนาจสู่ประชาชน ทำให้เห็นว่าประชาชนนั้นมิใช่ผู้ขอ มิใช่ผู้รอคอย