ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

R
relate topic
030248
release date

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 517 หัวเรื่อง
หมากัดกันของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
รศ. ดร.อรรถจักร สัตยานุรักษ์
ผศ. สมชาย ปรีชาศิลปกุล
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
The Midnight 's article

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 14119-26256 ครั้ง สำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม 47
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

ยุทธวิธีทางการเมืองเรื่องเลือกตั้ง
การเมืองภาคพลเมืองเรื่อง"หมากัดกัน" (๓)
บทความถอดเทปในส่วนของ
รศ.ดร. อรรถจักร สัตยานุรักษ์
ผศ. สมชาย ปรีชาศิลปกุล
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน - สมัชชานักวิชาการเพื่อคนจน

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ร่วมกับ สมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
วันที่ 30 มกราคม 2548 / เวลา 9.30-12.00
สถานที่ : สมาคนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ผู่ร่วมบนเวทีประกอบด้วย นิธิ เอียวศรีวงศ์, เกษียร เตชะพีระ, อรรถจักร สัตยานุรักษ์, สมชาย ปรีชาศิลปกุล
สมเกียรติ ตั้งนโม : พิธีกร


หมายเหตุ:
บทความถอดเทปนี้ จะทยอยนำเสนอต่อเนื่องกันตามลำดับ ตั้งแต่บทความลำดับที่ 515, 516, และ 517
สำหรับผู้ที่สนใจอ่านคู่มือพลเมืองของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน คลิกไปอ่านได้ที่นี่

บทความถอดเทปชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 13 หน้ากระดาษ A4)

 


ต่อจากบทความลำดับที่ 516 (คลิกกลับไปอ่านบทความที่ 516)

อรรถจักร สัตยานุรักษ์ : ผมจะพูดด้วยกัน 3 เรื่อง เรื่องแรกเกี่ยวกับความหมายของการเลือกตั้ง เรื่องที่สองคือ เราจะทำอย่างไรกันดีในบรรยากาศแบบนี้ และเรื่องที่สามคือ เราจะมองอนาคตกันอย่างไร?

ถ้าหากเราดูความหมายของการเลือกตั้งครั้งนี้ว่า เป็นหนึ่งในกระบวนการพัฒนาการของประชาธิปไตย คิดว่าเราจะเห็นชัดขึ้นว่าเราจะเดินอย่างไร เราอย่าไปมองการเลือกตั้งเป็นแค่การหย่อนบัตรและจบไปเท่านั้น การเลือกตั้งแต่ละครั้งเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการทางการเมือง ไม่ว่าจะดีขึ้นหรือเลวลงในกระบวนการประชาธิปไตยตลอดมา

ดังนั้น ถ้าหากเรามองว่าเป็นกระบวนการทางการเมือง ผมคิดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่น่าจะเป็นแค่การเลือกตั้งรัฐบาลที่น่ารัก ที่เอื้ออาธรเฉยๆ แต่น่าจะเป็นการเลือกตั้งที่ชี้ให้เห็นถึงอนาคตของสังคมไทย หรือเราจะทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นเครื่องชี้ให้เห็นอนาคตของสังคมไทยได้ชัดเจนขึ้น

ถ้าหากเรามองว่าการเลือกตั้งเป็นหนึ่งในกระบวนการทางการเมือง หรือกระบวนการเคลื่อนไปสู่ประชาธิปไตย คิดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้น่าจะเป็นจุดชี้ที่สำคัญจุดหนึ่ง

หลังจากปี 16 เป็นต้นมา เราจะพบว่า กระบวนการต่อสู้กับรัฐ ระบบราชการในปี 16 เรื่อยมาจนถึงวันนี้ มันไม่ได้สร้างประชาธิปไตยในวันเดียว แต่มันค่อยๆคลี่คลายและเปลี่ยนมา จากรัฐระบบราชการ เผด็จการ ซึ่งครองอำนาจมายาวนาน ถูกโค่นล้มลงไปโดยกลุ่มนักศึกษา ภายหลังก็ต้องถูกช่วงชิงอำนาจไปโดยกลุ่มทุนและราชการบางกลุ่ม เป็นรัฐประชาธิปไตยแบบครึ่งใบ ซึ่งกินระยะเวลายาวนานพอสมควร

รัฐประชาธิปไตยครึ่งใบที่กินระยะเวลายาวนาน เราก็ผ่านการต่อสู้มาอีก 2-3 ครั้ง เช่น ในปี 2519 และพฤษภาทมิฬ สิ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการนี้คือ รัฐได้เริ่มมีพื้นที่ให้ประชาชนเพิ่มขึ้น แต่จนกระทั่งถึงรัฐธรรมนูญฉบับปี 40 ที่การเคลื่อนไหวหลังพฤษภาทมิฬ เราหวังว่าจะทำให้เกิดรัฐซึ่งมีพื้นที่ของสังคมอย่างกว้างขวาง ด้วยการเขียนรัฐธรรมนูญที่มีองค์กรอิสระและอื่นๆมากขึ้น แต่ความหวังอันนั้นได้ถูกหยุดไป จากการเลือกตั้งที่นำมาสู่รัฐบาลชุดทักษิณ

ดังนั้นถ้าหากเรามองเป็นกระบวนการแบบนี้ การเลือกตั้งครั้งใหม่ก็คือการหันเห หรือการผลักดันกระบวนการประชาธิปไตยให้สร้างพื้นที่ให้กับสังคมเกิดขึ้นมาใหม่ได้ แต่หากว่าเรามองมันเพียงเป็นการเลือกตั้งหนึ่ง เราก็ไม่ต้องรู้สึกว่าการเลือกตั้งนี้มันมีความหมายอะไร เราก็อาจจะไปโหวดให้คนที่ทำให้เม็ดเงินในกระเป๋าเราเพิ่มขึ้น หรือโหวดให้คนรูปหล่อ คนสวยต่างๆแค่นั้น

เราพบว่า 4 ปีที่ผ่านมา ดังที่ อ.นิธิ และ อ.เกษียรได้พูดแล้วว่า 4 ปีที่ผ่านมาไม่ได้มีการสร้างพื้นที่กลางๆให้เกิดขึ้นกับการต่อรองทางการเมืองเลย ดังนั้น 4 ปีที่ผ่านมาจึงเป็นช่วงเวลาของการหยุดพัฒนาการของประชาธิปไตยไป อย่างน้อยช่วงเวลาหนึ่ง ความฝันหรือการต่อสู้ของพวกเรา ตั้งแต่คนรุ่น 16 เป็นต้นมาถึง 19 ผ่านมาถึงพฤษภาทมิฬ ถูกรัฐบาลชุดนี้หยุดไปชั่วคราว

ถ้าหากเรามองอย่างนี้ ภารกิจในการเลือกตั้งที่จะมาถึงจึงไม่ใช่แค่การเลือกตั้งรัฐบาลที่นั่งหน้าวัดที่ให้เงินเราอย่างเดียว แต่มันหมายความถึงการเลือกตั้งที่เราจะต้องสืบสานปณิธานของคนที่เสียชีวิตไปแล้ว สืบสานปณิธานของคนที่กำลังจะต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

รัฐบาลชุดนี้อาจทำสิ่งที่เราเห็นได้ว่าเขา เหมือนกับมีภาพรพระเอก พ่ออุปถัมภ์ยุคใหม่ อาจทำให้ประชาชนไทยเหมือนกับว่ามีเม็ดเงินมากขึ้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่า รัฐบาลชุดนี้น่าจะเป็นรัฐบาลที่ทำให้ประชาธิปไตยถอยหลัง นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร น่าจะเป็นคนไทยที่มีจิตสำนึกประชาธิปไตยน้อยในอันดับต้นๆของประเทศไทย ดังนั้น เราจะหวังให้นายกที่ทำแบบนี้ในช่วง 4 ปี ขึ้นมาขวางเส้นทางกระบวนการประชาธิปไตย คงเป็นเรื่องที่น่าตกใจ คงจำได้ว่า นายกฯทักษิณ เคยพูดว่า "ประชาธิปไตยเป็นแค่เครื่องมือ" ซึ่งเขาไม่ได้คิดถึงเป้าหมาย

ถ้าหากเรามองแบบนี้ จะพบว่า ในกระบวนการที่เรากำลังคิดถึงการเลือกตั้ง ในฐานะที่เป็นหนึ่งในกระบวนการทางสังคม เราคงต้องคิดกันให้สลับซับซ้อนมากขึ้น คุณูปการของรัฐบาลชุดนี้ถ้าหากจะมีบ้างก็คือ เขาสามารถสยบความเป็นอิสระของระบบราชการลง เขาสามารถทำให้ระบบราชการที่ครั้งหนึ่งเคยมีอำนาจ หรือมีอิทธิพลในการครอบงำระบอบประชาธิปไตย ทำให้ระบบราชการสยบ

แต่สิ่งที่น่ากลัวก็คือว่า คุณูปการในการสยบระบบราชการของรัฐบาลนี้ กลับเป็นการสยบและดึงรัฐบาลนี้มาอยู่ภายใต้นายกรัฐมนตรี ดังนั้นด้านหนึ่ง รัฐบาลปัจจุบันได้ทำลายศัตรูของประชาธิปไตยตัวหนึ่งลงไป แต่กลับทำให้ศัตรูประชาธิปไตยนั้นไปเสริมแรงให้กับรัฐบาล

เราจะพบว่า ระบบราชการในวันนี้เองกลายเป็นเครื่องมือของรัฐบาลพระเอก ข้ามาคนเดียวอย่างชัดเจน การใช้กลไกระบบราชการเพื่อตอบสนองรัฐบาล หรือตอบสนองนายกฯเอง ทำให้ตัวระบบราชการหมดศักยภาพในการปรับ หรือทำอะไรที่ดีแก่สังคมไทยไปอย่างสิ้นเชิง เจตจำนงที่จะปรับปรุงระบบราชการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อรัฐ เพื่อสังคมไม่มี มีแต่การอ้างระบบราชการที่ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งใช้เป็นข้ออ้างเพื่อที่จะดึงระบบราชการ หันมาอยู่ภายใต้อำนาจของตนเอง

นายกฯไม่ได้พูดอะไรอีกมากมายเกี่ยวกับการที่จะทำให้สังคมไทยดีขึ้น นายกฯไม่เคยพูดถึงการปฏิรูปที่ดิน ไม่ได้พูดถึงสันติวิธี ไม่ได้พูดถึงอะไรเลย ดังนั้นหากเรามอง 4 ปีที่ผ่านมาในฐานะที่มันเป็น process เป็นกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย ผมคิดว่า 4 ปีที่ผ่านมา เราถูกทำให้หยุด สังคมไทยถูกทำให้เฉื่อยชา ถูกทำให้รู้สึกว่าเป็นสังคมที่ไม่มีการเมือง

นายกฯมักจะพูดเสมอว่า เขาไม่เล่นการเมือง เขาทำงาน แล้วใช้สโลแกนนี้เป็นเครื่องมือ ทำให้สังคมไทยไม่มีการเมือง ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่น่ากลัวสุดของระบอบประชาธิปไตย กระบวนการทางการเมืองที่จะนำไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ที่มีเสรีภาพและความเสมอภาคไม่เกิดขึ้น และที่สำคัญก็คือว่า ถ้าหากเรามองการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นเพียงแค่เหตุการณ์หนึ่งซึ่งเราไปหย่อนบัตร แล้วจบ โอกาสในการสร้างกระบวนการทางการเมืองที่จะนำไปสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ก็จะตีบตัน

เรารู้ได้อย่างชัดเจนว่า 4 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่า เสียงอื่นไม่เคยโผล่ขึ้นมาในสังคม นอกจากเสียงอื่นไม่เคยโผล่แล้ว เสียงอื่นก็ยังถูกคุกคามในทุกรูปแบบ โอกาสเปิดของระบอบประชาธิปไตยปิดลงไป ถ้าหากเราคิดถึงการเลือกตั้งครั้งนี้แค่การเลือกรัฐบาลพระเอกคนเดียว

สิ่งที่เรากำลังคิดถึงว่า หน่ออ่อนของประชาธิปไตยที่เราฟูมฟักกันมาตั้งแต่ปี 16 เป็นระยะเวลาที่ยาวนานมากทีเดียว กำลังถูกน้ำร้อนลดให้ตายไปอีก ถ้าโอกาสของประชาธิปไตยไม่เปิดต่อไป เสียงอื่นไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นมา สิ่งที่น่าหวาดกลัวและน่าวิตกกำลังจะเกิดขึ้น ผมกำลังคิดถึงบรรยากาศของเสียงข้างน้อย หรือคนจำนวนไม่มากนัก ซึ่งเริ่มไม่พอใจมากขึ้น เสียงเหล่านี้ถ้าหากถูกปิดกั้นด้วยระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย คิดเพียงแต่ว่าการได้คะแนนเสียงข้างหน้าเท่านั้น สิ่งที่น่าหวาดวิตกก็คือความเสี่ยงต่างๆกำลังจะเกิดขึ้นในสังคมไทย

การอ้างเพียงแค่ผลการเลือกตั้งหรือตัวเลข เป็นการตีความประชาธิปไตยที่หยาบคายที่สุด ซึ่งนักการเมืองทั้งหมดใช้ และรัฐบาลชุดนี้ก็ใช้เช่นเดียวกัน สิ่งที่น่ากลัวคือ เราจะทำอย่างไรให้กระบวนการนี้เดินต่อไป

ถ้าหากเรานึกถึงสิ่งที่คนจำนวนมากในสังคมไทย ได้สร้างกระบวนการประชาธิปไตยตั้งแต่ปี 16 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งนั้นกำลังถูกหักหลัง สิ่งนั้นกำลังถูกทำลาย เราจะทำอย่างไรที่ทำให้การเมืองครั้งนี้ การเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่ใช่แค่การหย่อนบัตรแล้วจบ แต่หากจะเป็นจุดเริ่มต้นในการถักสานสิ่งที่เป็นจิตสำนึกของคนจำนวนมาก ซึ่งได้ทอดตัวลงมาในสายนี้ เพราะว่าการเลือกตั้งที่จะมาถึง หากมองดูเป็นกระบวนการแล้ว ผมคิดว่ามันเป็นจุด peak ที่สำคัญ ไม่น้อยไปกว่า 14 ตุลา 16 หรือ พฤษภาทมิฬ แม้ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะไม่มีม็อบ ไม่มีคนตาย แต่จะเป็นจุดเปลี่ยนทางการเมืองที่สำคัญ ถ้าหากเราดูเป็นกระบวนการ

เราจะทำอย่างไรกับการเลือกตั้งที่ ถ้าหากเชื่อผม และคิดตามผมว่าสำคัญในการวางรากฐานประชาธิปไตย ผมคิดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ จำเป็นต้องคิดเพื่อเลือกตั้งหรือหย่อนบัตร เพื่อที่จะทำลายสิ่งซึ่งจะมากีดขวางระบอบประชาธิปไตย ภายใต้การทำลายสถาบันต่างๆของรัฐบาลชุดปัจจุบัน เกิดความเสื่อมถอยในกระบวนการตรวจสอบอื่นๆ การเลือกตั้งแบบคานอำนาจจึงจำเป็นที่สุด และอยากจะเสนอฟันธงเลย คือว่า เลือกพรรคที่ไม่ใช่"ไทยรักไทย"

จะมีข้อกังวลอยู่ 2 ข้อ สำหรับคอลัมภ์นิสท์หรือคนจำนวนมาก ซึ่งปรากฏในเว็ปบอร์ดหรือจดหมายอิเล็คทรอนิค ที่กังวลว่าถ้าเลือกแล้วจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้ามา เพราะความเข็ดขี้อ่อนขี้แก่กับอีกพรรคหนึ่งก็มีสูง พูดตรงไปตรงมาก็คือ ความเกลียดชังรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ยังคงมีอยู่ จะมีเสียงกังวลจากคอลัมภ์นิสท์หลายคนพูดถึงว่าจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้ามา

ผมคิดว่า เสียงจัดตั้ง แน่นอนไม่มีทางจะเปลี่ยนให้เขาคิดถึงเรื่องการคานอำนาจได้ อย่าลืมนะครับว่าเสียงจัดตั้งของพรรคไทยรักไทยมีอยู่ประมาณ 11 ล้านเสียงเป็นอย่างน้อย และคุยว่าตอนนี้มี 14 ล้านเสียง เพราะฉะนั้น การเลือกตั้งโดยคนที่ไม่ถูกจัดตั้งในสังคม ไม่มีผลอย่างแน่นอนที่จะทำให้ประชาธิปัตย์กลับมามีอำนาจ อย่าไปกังวล อย่าไปคล้อยตามคอลัมภ์นิสท์ที่อยู่กับพรรคไทยรักไทย จนไม่ลืมตาแล้ว

อย่าไปกังวลว่าจะทำให้พรรคประชาธิปัตย์ขึ้นมา 251 อันนี้เป็นไปไม่ได้ เพราะเสียงจัดตั้ง 11 ล้านเสียงอย่างต่ำๆที่มันบอกอนาคต ดังนั้น ไม่ต้องกังวลว่าจะทำให้อีกฝั่งหนึ่งขึ้นมา แต่การไม่กังวลนี้เอง จะทำให้เสียงไม่จัดตั้ง เสียงคนในเมือง เสียงคนธรรมดาสามัญ เสียงชนชั้นกลางทั่วไป สามารถเข้ามามีบทบาทในการกำหนด และการคานอำนาจทางการเมืองสูงขึ้น

อันต่อมาคือว่า ไม่ต้องไปกังวลว่าจะเกิดรัฐบาลผสม คงนึกออกครับว่าหลายคนกลัวรัฐบาลผสม และพยายามจะโยงมาว่า รัฐบาลผสมทำให้เกิดบุฟเฟ่คาบิเน็ตและอื่นๆมากมาย คงต้องทำความเข้าใจให้ชัดว่า รัฐบาลผสมนั้น ด้านหนึ่งเป็นรัฐบาลที่อ่อนแอ(Weak State) การเป็นรัฐบาลที่อ่อนแอ ด้านหนึ่งมันก็เปิดช่องให้สังคมเติบโต และการดำรงอยู่ในสังคมประชาธิปไตยก็คือ สังคมต้องเข้มแข้ง รัฐต้องอ่อน และรัฐบาลผสมทั้งหมดก็จะมีกลไกของมันทำให้รัฐบาลผสมอยู่ไม่นาน

การที่รัฐบาลผสมเปลี่ยนบ่อย ไม่ได้แปลว่าประชาธิปไตยล้มเหลว การที่มีรัฐบาลผสมหรือมีพรรคหลายพรรคมารวมกัน กลับเป็นช่องที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนรัฐบาลเป็นกลไก ที่จะทำให้ระบอบประชาธิปไตยเดินหน้าต่อไป การอธิบายรัฐบาลผสมด้วยความคิดอคติบางด้าน เป็นสิ่งที่นักรัฐศาสตร์ไร้เดียงสาจำนวนหนึ่งใช้ ซึ่งผมคิดว่าไม่ใช่

และขอย้ำอีกว่า อย่าไปเกรงรัฐบาลผสม เพราะเสียงจัดตั้งกับเสียงที่ไม่จัดตั้ง อย่างไรก็ตู๋ๆกันอยู่ในระดับที่เรารู้กันอยู่ เสียงของประชาธิปัตย์ที่ลงโหวดคราวที่แล้วประมาณ 7 ล้านเสียง ผมคิดว่าตอนนี้อาจจะเหลือเพียงแค่ 3 ล้าน อันนั้นเป็นเสียงจัดตั้ง ไปเทตรงไหนผมว่าลองคิดกันดู ที่สำคัญคือว่า ถ้าหากโหวดที่ไม่ใช่ไทยรักไทย คิดว่ารัฐบาลผสมไม่เกิด แต่ที่สำคัญคือ มันมีการคานอำนาจจริงๆขึ้น

นอกจากการพูดถึงการโหวดแบบนี้และแก้ไขข้อกังวล โดยผมอยากจะให้คิดถึงเสียงจัดตั้งที่พรรคไทยรักไทยเขาจัดตั้งได้ชัดเจนแล้ว เสียงของคนที่ไม่ถูกจัดตั้งซึ่งเป็นอิสระนี้ เป็นสิ่งสำคัญที่จะชี้ให้เห็นถึง การเลือกตั้งครั้งนี้คือกระบวนการนำไปสู่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

นอกจากที่เราจะทำอะไรกัน ผมขอเสนอเลยว่าเลือกใครก็ได้ที่ไม่ใช่ไทยรักไทย โดยที่ได้บอกแล้วว่า เราก็คงสู้เสียงจัดตั้งไม่ได้ แต่สิ่งสำคัญคือว่า เสียงไม่จัดตั้ง เสียงของอิสระชนที่อยู่ข้างนอก และสามารถผลักดันทำให้เกิดการคานอำนาจได้ มันเป็นพลังที่จะชี้ให้เห็นต่อไปว่า คงจะเติบโตขึ้น

ประเด็นสุดท้ายคือ เราจะมองอนาคตของเราอย่างไร? คิดว่าหากเราทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา กระบวนการประชาธิปไตยนั้น เราจะพบว่ารัฐและระบบราชการทุกวันนี้ จะไม่ใช่อุปสรรคของระบอบประชาธิปไตย แต่สิ่งสำคัญที่สุดก็คือว่า เราจะควบคุมพรรคการเมืองได้อย่างไร?

ถ้าหากเราตีช่องระหว่างพัฒนาการของประชาธิปไตยไทย เราจะพบว่า ครั้งหนึ่งเรามีรัฐที่ไม่ค่อยเข้มแข็งนัก และขณะเดียวกันก็มีสังคมที่ไม่ค่อยเข้มแข็งนัก ระบอบแบบนี้ที่รัฐก็ไม่ค่อยเข้มแข็ง สังคมก็ไม่ค่อยเข้มแข็ง มันเปิดรูเปิดช่องที่ทำให้คนทั่วๆไป สามารถมีชีวิตอยู่รอดมาจนกระทั่งทุกวันนี้ และเริ่มเป็นหน่ออ่อนที่จะทำให้เกิดประชาธิปไตยขึ้นมาได้

แต่ทันทีที่รัฐเริ่มแข็งขึ้น เป็น Strong State มากขึ้น สิ่งซึ่งแปรผันในเชิงตรงข้ามคือ เราจะถูกทำให้เป็นสังคมอ่อนแอลง ดังนั้นถ้าหากเราจะมองไปข้างหน้า ด้วยการมองในแบบที่เป็นกระบวนการทางประชาธิปไตย เราจำเป็นต้องสร้างสังคมที่เข้มแข็งขึ้นมา และสังคมที่เข้มแข็งวันนี้ เราจำเป็นต้องสร้างพลังที่อยู่นอกเหนือจากพรรคการเมืองขึ้นมา และจำเป็นที่จะต้องถักสานพลังที่อยู่นอกของการจัดตั้งของพรรคการเมือง ให้เป็นเครือข่ายที่สามารถสื่อสารกันได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น และพลังอันนี้น่าจะเป็นตัวที่ชี้ หรือสามารถที่จะเข้าไปกำกับนโยบายสาธารณะในรัฐบาลครั้งต่อไปมากขึ้น

การเลือกตั้งซึ่งจะมาถึง ไม่ใช่แปลว่าเราจะได้ประชาธิปไตยเลย หรือได้พื้นที่ทางสังคม เราคงไม่ได้ทันที แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ ถ้าหากเราได้คิดกันอย่างกว้างขวางมากขึ้น ได้ตระหนักมากขึ้น สิ่งที่มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนทำก็คือ คู่มือพลเมือง ไม่ได้แปลว่าเลือกตั้งแล้วจบ แต่ว่าจะเป็นคู่มือที่เปลี่ยนเราเองเป็น concern citizen เป็นพลเมืองที่กระตือรือร้นมากขึ้น มีความรู้สึกสำนึกเกี่ยวข้องมากขึ้น พวกนี้คือพื้นฐานที่สำคัญซึ่งจะสร้างสังคมที่เข้มแข็งขึ้นมา

ถ้าหากเราไม่นึกถึงภาคสังคมที่เข้มแข็ง เราก็ไม่มีวันที่จะสร้างระบอบประชาธิปไตยที่มีพลังทางสังคมขึ้น ดังนั้น สิ่งจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงในการเลือกตั้งครั้งนี้ คือว่า จำเป็นต้องมองการเลือกตั้งครั้งนี้ว่า เป็นหนึ่งใน"กระบวนการสร้างประชาธิปไตย" และหนึ่งในกระบวนการนั้นคือ ทำให้เกิดการคานอำนาจรัฐ และเปิดพื้นที่ทางสังคมให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น

ขอบคุณมากครับ

สมชาย ปรีชาศิลปกุล : ความจริงผมควรจะขมวดทั้งหมดว่า สิ่งที่พูดมานี้คือ… ผมไม่เลือกพรรคไทยรักไทยแล้ว แม้ว่าตอนแรกผมอาจจะตั้งใจมานิดๆหน่อยๆ แต่ฟังไปสามท่านแล้ว ไม่เลือกดีกว่าพรคคไทยรักไทย

ผมอยากจะพูด 2-3 ประเด็นใหญ่ๆ คือวันที่ 10 ธันวา 2547 มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้จัดทำคู่มือพลเมืองที่แจกอยู่ข้างนอกห้องนี้ เราเสนอหลักการในการพิจารณาสำหรับการเลือกตั้งที่จะมาถึงว่า มีอะไรที่เราควรหยิบมาเป็นหลักการที่จะพิจารณาเลือกหรือไม่เลือก เราเสนอ 4 ไม่เลือก 10 เลือก ซึ่งอยู่ในหนังสือเล่มนี้ (สนใจอ่านข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ไม่เลือก 10 เลือก คลิกตรงนี้)

การที่เราเสนอแบบนี้ มาจากพื้นฐานความคิดหนึ่งที่เราเชื่อว่า ที่ผ่านมานักการเมืองและพรรคการเมือง มักจะเป็นคนเสนอนโยบายต่างๆ ซึ่งการที่นักการเมืองและพรรคการเมืองเสนอนโยบายต่างๆ บางครั้งไม่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน สิ่งที่เราทำคือเราคิดว่า ประชาชนควรรวมตัวกัน แล้วเสนอนโยบายกลับไปว่า นี่แหละคือสิ่งที่เราต้องการ

ไม่ใช่เพียงแค่เราทำเรื่องนี้ขึ้นเพียงส่วนเดียว ที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีหลายองค์กร เช่น องค์กรพัฒนาเอกชน หรือกลุ่มผลประโยชน์ทางสังคมต่างๆทำด้วย ผลที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร ผมคิดว่าอยากจะลองประเมินนโยบายของพรรคการเมืองทุกๆพรรค จากข้อเสนอของเราก่อน

อันที่จริงใช้คำว่าทุกพรรค ใช้คำว่าแทบทุกพรรคดีกว่า เพราะอย่างเช่นพรรค"คนขอปลดหนี้" ผมไม่ได้เข้าไปดูนโยบายพรรคเขาเลย รวมทั้งพรรค"รักธรรมชาติไทย"ผมก็ไม่ได้เข้าไปดู สิ่งที่เห็นจาก 14 ข้อที่เราเสนอ ก็มี 3 ข้อที่เห็นค่อนข้างชัดเจนคือ

ข้อที่ว่า เลือกคนที่เจตนายุติวงจรคอรัปชั่น, เลือกผู้ที่แสดงเจตจำนงผลักดันกฎหมายลูก, เลือกผู้ที่รังเกียจและมุ่งมั่นป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน, 3 นโยบายนี้ เห็นอย่างชัดเจนในพรรคการเมือง ถ้าพูดอย่างตรงไปตรงมา เห็นชัดเจนในพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคมหาชน เรื่องเกี่ยวกับเรื่องคอรัปชั่น เรื่องเกี่ยวกับการผลักดันกฎหมายลูก เรื่องเกี่ยวกับการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งแรงจูงใจคงเป็นที่เข้าใจกันดี

อีก 3 ข้อคลุมเครือ คือเรื่องของการรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์, ผู้ที่ไม่ทรยศต่อการปฏิรูปการศึกษา, ผู้ที่มุ่งมั่นในการสร้างสรรค์พลังของสังคมเพื่อตรวจสอบรัฐบาล, 3 ข้อนี้คลุมเครือ หมายความว่ารัฐบาลก็เขียน แต่ชัดเจนเหมือนกับที่เราเสนอหรือเปล่า ก็ไม่ใช่ เช่น ในข้อที่ว่าต้องเลือกคนที่จริงใจต่อการปฏิรูปการศึกษา หลายพรรคการเมืองพูด แต่มีนัยะไม่ใช่แบบที่เราเสนอคือ การปฏิรูปการศึกษาของเราหมายความว่า ควรจะทำให้การศึกษาเป็นที่เข้าถึงและตอบสนองคนได้อย่างกว้างขวาง

แต่สิ่งที่เราเห็นคือเท่าที่ผ่านมา ไทยรักไทยบอกว่าเรียนฟรี 12 ปี มหาชนบอกว่าเรียนฟรีถึงมหาวิทยาลัย ประชาธิปัตย์ก็บอกว่าเรียนฟรีถึงมหาวิทยาลัย อันนี้คลุมเครือ เพราะนักการเมืองก็พูด แต่พูดเหมือนกันหรือเปล่า ก็ไม่เหมือน ดังนั้น 3 ข้อนี้จึงคลุมเครือ

มี 8 ข้อที่มองไม่เห็นว่าอยู่ในนโยบายของพรรคการเมืองใด เช่น นโยบายที่ไม่ใช้ความรุนแรง เราเสนอว่า ไม่เลือกคนมือเปื้อนเลือดและหัวใจสมุน, นโยบายเกี่ยวกับไม่เป็นพวกชาตินิยมล้าหลัง, เราเสนอว่าไม่เลือกคนล้าหลังคลั่งชาติ, นโยบายเกี่ยวกับการไม่ทำตัวเป็นนายหน้านายทุน, เท่าที่ตรวจสอบดูไม่มีพรรคการเมืองไหนพูดถึงสิ่งเหล่านี้อย่างชัดเจน หรืออย่างไม่เลือกคนไทยหัวใจอเมริกัน ก็ไม่เห็นเช่นกัน

นโยบายการปฏิรูปที่ดิน ด้วยการสร้างความมั่นคงในการถือครองที่ดินให้กับประชาชน ก็ไม่มีพรรคการเมืองไหนชูขึ้นมาอย่างเด่นชัด ซึ่งอันนี้ควรเป็นนโยบายใหญ่ที่พรรคการเมืองควรจะต้องผลักดัน ก็ไม่เห็นมีพรรคการเมืองไหนทำ สำหรับนโยบายของพรรคไทยรักไทยที่จะพยายามแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน ซึ่งอันนี้ไม่ใช่การปฏิรูปที่ดินตามนัยะที่เราเสนอ

เราเสนอเรื่องการนำเอาคุณค่าศาสนธรรมเข้ามาไว้ในทางการเมือง คืออันนี้ชัดเจนไม่ต้องพูดอะไรเลย เพราะไม่มีนโยบายของพรรคใดพูดถึงเรื่องนี้ ส่วนเลือกผู้ที่ผลักดันประชาธิปไตยทางตรง มีบางพรรคพูดถึงเรื่องการกระจายอำนาจรัฐสู่ท้องถิ่น แต่การพูดถึงประชาธิปไตยทางตรง เช่น การสนับสนุนอำนาจของชาวบ้าน หรือการพูดถึงการสนับสนุนให้กลุ่มองค์กรประชาชนรวมตัวกัน อันนี้ไม่พบในนโยบายพรรคการเมืองใด เลือกผู้จะพัฒนาทุนนิยมไทยให้พัฒนาไปจากทุนนิยมแบบล้าหลังและไม่ลืมสังคม อันนี้ก็ไม่เห็นเช่นกัน

จากทั้งหมด 14 ข้อจากเรามหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเสนอ สรุปได้ว่า, 3 ข้อมองเห็นในหมู่ของ"ว่าที่พรรคฝ่ายค้าน", คลุมเครือ 3 ข้อ, ส่วนอีก 8 ข้อไม่เห็น. เพราะฉะนั้นถ้าประเมินแบบนี้ คิดว่า พรรคการเมืองเกือบทุกพรรค สอบตกในสายตาของผม คือบางพรรคอาจจะได้คะแนนนิดหน่อย ส่วนบางพรรคไม่ได้คะแนนเลย

เมื่อพรรคการเมืองต่างๆสอบตก เราควรจะทำอย่างไร เราควรจะทำอย่างไรกับนโยบายที่เราเสนอขึ้นมากับ 4 ไม่เลือก 10 เลือก ซึ่งอันนี้รวมถึงองค์กรพัฒนาเอกชนอื่นๆด้วย เพราะในช่วงใกล้เลือกตั้ง ต้องยอมรับว่า มีองค์กรต่างๆที่พยายามจะเสนอนโยบายของตนเองขึ้นมา แต่ว่านโยบายเหล่านั้นที่เสนอขึ้นมา ก็ต้องยอมรับว่าไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร

เราควรจะทำอย่างไรกับนโยบายเหล่านี้ หรือว่าหลังเลือกตั้งโยนทิ้งไปได้เลยหรือเปล่า?
อันนี้เป็นสิ่งสำคัญที่เรามานำเสนอในวันนี้ ว่าเราเห็นว่าการเลือกตั้งเป็นส่วนหนึ่ง หรือจริงๆเป็นเสี้ยวหนึ่งของประชาธิปไตย เราควรจะทำอย่างไร? อันนี้มี 2 ทางเลือก

ทางเลือกหนึ่ง คือครั้งที่แล้ว มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเสนอ vote no vote หมายความว่า ในเมื่อเราเสนอนโยบายที่เราต้องการไปแล้ว ไม่มีพรรคการเมืองไหนทำให้เป็นที่น่าพอใจ เราก็จะไปเลือกตั้งแบบไม่เลือกพรรคใดพรรคหนึ่ง นี่คือสิ่งที่เราเสนอในครั้งที่แล้ว

แต่พอมาถึงตอนนี้ vote no vote มันมีปัญหาเพราะว่า การไปใช้สิทธิ์โดยไม่เลือกใคร มันยังไม่มีนัยะในทางกฎหมายเกิดขึ้น คือหมายความว่า ต่อให้พวกเราไป vote no vote 11 ล้านเสียง มันก็ไม่ก่อให้เกิดผลหรือมีนัยะใดๆในทางกฏหมายเกิดขึ้น เพียงแต่สะท้อนให้เห็นในทางสังคมว่า มีคนกลุ่มหนึ่งของสังคมที่เห็นว่า คนที่เขาเสนอตัวมาเราไม่พอใจ

ในเมื่อมันยังไม่มีผลตามนัยะทางกฎหมาย ผมคิดว่านโยบายที่เราเสนอมาในช่วงเดือนที่ผ่านมา ในแง่ของการเลือกตั้งซึ่งอาจจะใช้ภาษาที่สุภาพแบบคุณหมอประเวศ ก็คือว่า เป็นการลงคะแนนเสียงแบบ"ในเชิงยุทธศาสตร์" หรือถ้าตรงไปตรงมาและจริงๆใจก็คือ เลือกตั้งแบบ"หมากัดกัน"

ปัจจุบันสถานการณ์ทางสังคมไทย กำลังเผชิญกับสิ่งที่เรียกว่า"มหาอำนาจเดี่ยว"ภายใน คือขณะที่ระดับโลกเราเผชิญกับมหาอำนาจเดี่ยวของสหรัฐอเมริกา สำหรับในสังคมไทยเรา เรากำลังเผชิญกับมหาอำนาจเดี่ยวภายใน หมายความว่าเรากำลังเผชิญกับรัฐบาลที่มีเสียงสนับสนุนแน่นหนามาก และคาดว่าครั้งต่อไปก็จะเป็นแบบนั้น สิ่งที่เราเผชิญหน้าอยู่กับมหาอำนาจเดี่ยวภายในมันทำให้กระบวนการต่างๆในระบบมันไม่เกิด

การละเมิดสิทธิของประชาชนขั้นพื้นฐานเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ตัวอย่างง่ายๆซึ่งเป็นเรื่องที่เราก็ยังงงๆอยู่ เช่น กรณีของ CD ตากใบ คือผมดูแล้วและไม่เห็นว่ามันจะผิดกฎหมายตรงไหนเลย แต่ทำไมพอพรรคการเมือง อย่างพรรคสากกระเบือนำไปฉาย โดนข่มขู่จากรัฐบาล พรรคสากกระเบือก็เลิก ผมเห็นว่าอันนี้เป็นการคุกคามสิทธิเสรีภาพในการสื่อสารที่ตรง และชัดเจนที่สุด มันผิดตรงไหน

พอหยิบขึ้นมาขู่ว่ามันเป็นภัยต่อความมั่นคง สส.ที่นำ CD นี้ไปฉายก็เลิก มันผิดตรงไหน? อันนี้ยังแปลกใจอยู่ ผมคิดว่ามันไม่ผิด แต่ว่าพวกเราในสังคม แม้กระทั่งสื่อมวลชนพร้อมจะเชื่อว่า สิ่งที่รัฐบาลประเมินมา ให้มาตรฐานมาว่าผิด เราก็เลิก คือเรากำลังคิดกันในมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนว่า ถ้าเรามีโอกาส เราอยากจะไปฉาย VCD ตากใบ และก็แจก VCD ตากใบที่หน้าทำเนียบ เพื่อทวงหาความจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้

หรือการชุมนุมของชาวจะนะ แล้วถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังสลายการชุมนุม รัฐยืนยันมาโดยตลอดว่าชาวบ้านทำผิดกฎหมาย ชาวบ้านเป็นฝ่ายที่ไปละเมิด ยั่วยุเจ้าหน้าที่ก่อน จึงต้องดำเนินการ ผมไม่เห็น สส.พรรคฝ่ายค้านกระทำอะไรเลยเกี่ยวกับกรณีนี้ ซึ่งอันนี้ค่อนข้างเป็นโชคดีของสังคมไทยที่ต่อมาภายหลัง เมื่อปลายเดือนธันวาที่ผ่านมา ศาลมีคำตัดสินว่า การชุมนุมนี้เป็นสิทธิที่สามารถกระทำได้ เมื่อชาวบ้านไม่เห็นด้วยกับโครงการของรัฐ เป็นการชุมนุมที่สงบ ปราศจากการใช้อาวุธ

หน้าแปลกใจว่าทั้งหมดนี้เกิดขึ้น หมายความว่ารัฐบาลได้ละเมิดสิทธิของประชาชน เป็นการใช้มาตรฐานของตนเองเข้าไปวัด แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่า กระบวนการตรวจสอบภายในระบบ มันไม่ทำงานเลย เราไม่เห็นพรรคฝ่ายค้านทำอะไรเลยแม้แต่นิดเดียว

สิ่งที่เป็นปัญหามากกว่านั้นก็คือ กระบวนการตรวจสอบ ถ่วงดุล จากภายนอกรัฐสภาก็หยุดชะงักเช่นกัน ซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะนโยบายประชานิยม ส่วนหนึ่งเป็นการแทรกแซงขององค์กรอิสระ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการแทรกแซงสื่อ แต่มันก็ทำให้กระบวนการตรวจสอบภายนอกรัฐสภาหยุด ผมคิดว่านี่เป็นหัวใจของเรื่องที่เราจะพูดถึงการเลือกตั้งครั้งนี้

เราจะเลือกตั้งอย่างไรจึงจะทำให้สังคมกลับมามีความหมายอีก
มีประเด็นนิดหนึ่งที่ผมอยากจะพูด คือว่า เรามักจะชื่นชมกับรัฐบาลทักษิณที่ว่า สามารถจะจัดการกับปัญหาต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีเกิดคลื่นยักษ์ซึนามิที่ภาคใต้ หลายคนประเมินว่า ธรณีวิบัติภัยครั้งนี้ทำให้รัฐบาลของคุณทักษิณกลับมามีคะแนนเสียงมากขึ้น

ผมอยากจะตอบปัญหานี้ว่า จริงๆการจัดการปัญหาภาคใต้ ที่ประสบความสำเร็จส่วนหนึ่ง ไม่ใช่เพราะความเข้มแข็งของรัฐบาลทักษิณ คุณหมอพรทิพย์ อยากได้รองเท้าบูทยาง พร้อมกับโลงศพ 200 โลง ใครส่งไปให้ครับ มีหน่วยงานราชการไหนตื่นขึ้นมาตี 4 ตอกโลงส่งไปหรือ? คำตอบคือ "ไม่มี"

คนที่ทำโลงศพที่อยุธยาส่งไป คนที่ผลิตรองเท้าบูทยางส่งไป ความสำเร็จของการจัดการปัญหาวิบัติภัยภาคใต้ ส่วนหนึ่งมันเกิดขึ้นได้เพราะความเข้มแข็งของสังคมหนุนหลังอยู่ แต่พอปล่อยให้รัฐบาลของคุณทักษิณจัดการ เช่น เอาง่ายๆเรื่องการจัดการบ้านที่อยู่อาศัย ตอนนี้เป็นปัญหาไหมครับ? รัฐบาลของคุณทักษิณจะไปสร้างเป็นห้องแถวเพื่อให้ชาวบ้านอยู่ ชาวบ้านร้องเลย บอกว่าไม่เอา อันนี้เป็นการจัดการที่นำโดยรัฐบาล

คิดว่าการมองปัญหาภายใต้สถานการณ์ซึนามิ แล้วเราชื่นชมว่า รัฐบาลคุณทักษิณทำอะไรได้รวดเร็วและเข้มแข็ง ผมคิดว่าอย่าหลงลืมว่า สังคมไทยที่เข้มแข็งหนุนหลังอยู่ พอนโยบายไหนปล่อยให้รัฐบาลคุณทักษิณทำเองลำพัง ผมคิดว่ามีโอกาส"เละ"สูง ดังนั้นจึงอยากจะเตือนว่า ใครที่รู้สึกว่ารัฐบาลของคุณทักษิณมีความมั่นคง ฉับไว ผมเตือนว่า ไม่ใช่ครับ ท่ามกลางนโยบายหลายๆนโยบายของรัฐบาลทักษิณ ที่ทำแล้วมันไม่สำเร็จเพราะไม่มีพลังสังคมหนุนหลังอยู่

การเลือกตั้งแบบ"หมากัดกัน"
ผมมีประเด็นที่จะพูดอีกนิดเดียวคือ ถ้าเราเลือกแบบ"หมากัดกัน" มีปัญหาอยู่ 2 ข้อที่อยากจะพูดถึงก็คือว่า

อันแรก, เรามักจะเข้าใจว่าเสถียรภาพของรัฐบาล คือเสถียรภาพของนโยบาย เรามักจะเชื่อว่าถ้ารัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ นโยบายต่างๆที่รัฐบาลจะทำ ก็จะทำไม่ได้ อันนี้คิดว่าไม่จริง ยกตัวอย่างเช่น ก่อนหน้ารัฐบาลพลเอกชาติชาย เป็นยุคของพลเอกเปรม ติณสูรานนท์ คือในช่วงยุคของพลเอกเปรม สมมุติว่าพรรคไทยรักไทยบังเอิญจุติมาเกิด แล้วได้รับเสียงข้างมาก ผมไม่คิดว่ารัฐบาลของทักษิณ จะนำนโยบายของตนเองไปผลักดันได้หรอก เพราะตอนนั้นอย่างไรก็ต้องอยู่ภายใต้การกำกับของทหาร ทั้งนี้เพราะมันมีองค์ประกอบอื่นๆที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วย ที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ผลักดันอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ผมคิดว่าไม่ใช่เพราะความไม่ต่อเนื่อง แต่เป็นเพราะความไม่มุ่งมั่นของพรรคประชาธิปัตย์ด้วย

พรรคประชาธิปัตย์มีนโยบายหนึ่งที่ชัดเจน แต่ไม่ค่อยได้ประกาศ คือนโยบายของพรรคที่อิงอยู่กับระบบราชการ ถามว่ารัฐบาลภายใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์ ทำอย่างนี้มาโดยตลอดหรือเปล่า คำตอบก็คือทำมาโดยตลอด และต่อเนื่องด้วย เพราะฉะนั้นเวลาพูดถึงเสถียรภาพของรัฐบาล ผมคิดว่ามันไม่ใช่เรื่องเดียวกันกับเสถียรภาพของนโยบาย

มีนโยบายที่ดำเนินการต่อมาได้ นับตั้งแต่ 2504 มาจนกระทั่งรัฐบาลปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลทหาร รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รัฐบาลที่ประชานิยมหรือไม่ประชานิยม นโยบายการพัฒนาประเทศที่มุ่งพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม โดยกดภาคเกษตรและภาคแรงงานเอาไว้ อันนี้ต่อเนื่องไหมครับ?

นับจาก 2504 ถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเปลี่ยนรัฐบาลไปกี่รัฐบาล รัฐบาลจอมพลสฤษฐ์, รัฐบาลจอมพลถนอม, รัฐบาลพลเอกเปรม, รัฐบาลชาติชาย, และรัฐบาลชวน, จะเห็นว่านโยบายนี้ต่อเนื่องมาโดยตลอด ผมคิดว่าความต่อเนื่องของนโยบาย ไม่ใช่เรื่องเดียวกันกับเสถียรภาพของรัฐบาล

อันที่สอง, ความมั่นคงของรัฐบาล คือความชอบธรรมสูงสุดเบ็ดเสร็จเด็ดขาดที่ต้องยอมรับ เพราะฉะนั้น เราจึงควรต้องไปเลือกพรรคใดพรรคหนึ่งให้มีเสียงข้างมาก. รัฐธรรมนูญ 2540 ต้องการเห็นฝ่ายบริหารมีความมั่นคง อันนี้คือเป้าหมายอันหนึ่งของรัฐธรรมนูญปี 40 อันนี้ไม่ปฏิเสธ แต่ว่าเสถียรภาพของฝ่ายบริหารภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 ต้องมาพร้อมกับกระบวนการตรวจสอบที่เข้มข้นด้วย การจัดตั้งองค์กรอิสระ การประกันความเป็นอิสระ และการมีเสรีภาพของสื่อมวลชน เป็นเงื่อนไขอันหนึ่ง

รัฐธรรมนูญ 2540 ไม่ปรารถนาแต่เพียงเฉพาะรัฐบาลที่มีเสียงข้างมากและมีความมั่นคงเท่านั้น แต่ต้องการเห็นกระบวนการตรวจสอบ ถ่วงดุล ด้วยความชอบธรรมทางกฎหมาย จึงสร้างองค์กรอิสระต่างๆให้เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก สร้างมาตร 40 ขึ้นมาเพื่อจะทำให้สื่อมวลชนมีเสรีภาพ แต่ปรากฎว่าภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 สิ่งที่เราเห็นก็คือว่า เราเห็นรัฐบาลที่เข้มแข็ง แต่เราเห็นกระบวนการตรวจสอบที่เข้มข้นหรือเปล่า อันนี้ไม่เห็น

เมื่อไม่เห็นกระบวนการตรวจสอบ เราจึงเห็นนโยบายนานัปการของรัฐบาลที่กระทบต่อสังคมอย่างมาก แต่แทบจะไม่มีการพูดถึงเลย นโยบายที่น่าจะพูดถึงในที่นี้ก็คือ นโยบาย FTA การเปิดการค้าเสรีกับต่างประเทศ ภายใต้ข้ออ้างว่าเป็นผลประโยชน์ต่อประเทศ ถามว่าเป็นอย่างนั้นจริงหรือ? แน่นอน การเปิดการค้าเสรีมีประโยชน์สำหรับคนกลุ่มหนึ่งแน่นอน แล้วมีคนเสียประโยชน์หรือเปล่า?

ผมมาจากเชียงใหม่ นโยบายหนึ่งที่ทำให้เห็นชัดก็คือว่า การเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศจีน ในเรื่องของพืชผัก ผลไม้ ทำให้ราคาพืชผัก ผลไม้ในประเทศไทยดิ่งลงเหว เพราะว่าประเทศจีนราคาถูกกว่า เนื่องจากต้นทุนในการผลิตต่ำกว่า มีคนได้ประโยชน์กับการเปิดการค้าเสรีกับจีนหรือเปล่า มีแน่นอน มีคนเสียประโยชน์หรือเปล่า มี และมีอย่างกว้างขวางด้วยในหมู่ประชาชน แต่ทั้งหมดนี้ไม่เคยถูกหยิบยกขึ้นมาพูด เสียงต่างๆเหล่านี้มันมีพลังไม่เพียงพอ

เพราะฉะนั้น ถามว่า ความมั่นคงของรัฐบาลเป็นความชอบธรรมสูงสุดที่เราต้องยอมรับหรือเปล่า คิดว่าไม่ใช่ ความมั่นคงของรัฐบาลต้องมาพร้อมกับความชอบธรรมด้วย มาพร้อมกับการที่สามารถถูกตรวจสอบได้

ผมคิดว่าสถานการณ์ที่ตกอยู่ภายใต้สิ่งซึ่งเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ถ้าการเลือกตั้งแบบ"หมากัดกัน"สามารถดินเนินการต่อไปได้ ถามว่ามันจะเกิดสิ่งที่เป็นความวุ่นวายหรือเปล่า? ผมจะลองยกตัวอย่างในอดีต คือถ้าจำกันได้ในสมัยรัฐบาลชวน ซึ่งมีกรณีอื้อฉาวเรื่อง สปก. รัฐบาลชวนเอาที่ดินไปแจกนายหัว ไปแจกนักธุรกิจอะไรเต็มไปหมด และคุณชวนก็ยืนยันว่าอันนี้ถูกต้อง ตามหลักกฎหมายทุกประการ แต่รัฐบาลคุณชวนล่มลงเพราะอะไร ล่มลงเพราะพรรคพลังธรรมโดดเกาะกระแสทางสังคม ซึ่งไม่เอาด้วยกับการปฏิรูปที่ดินแบบนี้ รัฐบาลคุณชวนจึงล่มสลายลง

แต่ทุกวันนี้ เวลาถามว่ารัฐบาลของแกล่มลงเพราะอะไร? แกยังตอบเหมือนเดิมครับว่า ล่มลงเพราะพรรคพลังธรรมถอนตัว ไม่ใช่เพราะนโยบายปฏิรูปที่ดิน คือไม่ว่าจะถามกี่ครั้งก็ตอบแบบนี้มาโดยตลอด

ภายใต้การที่ไม่มีพรรคการเมืองได้มือในสภาเป็นเสียงข้างมาก ผมคิดว่าเสียงของสังคมหรือกระแสความเคลื่อนไหว จะมีความหมายต่อการเมือง เพราะฉะนั้น ผมคงไม่ต้องปกปิด และพูดอย่างตรงไปตรงมาคือ สิ่งที่เราเสนอคือเราต้องการการเลือกตั้งครั้งนี้ ให้เลือก สส.แบบให้เลือก"หมาไปกัดกัน" ทั้งนี้ถ้าเราไม่เลือกแบบหมาไปกัดกัน เราปล่อยให้หมาคอกใดคอกหนึ่งเป็นใหญ่ สิ่งที่เป็นกังวลและน่ากลัวที่สุดก็คือว่า มันจะหันมากัดเจ้าของ ซึ่งเมื่อ 4 ปีที่ผ่านมาก็ได้กัดมาบ้างแล้ว

เพราะฉะนั้น ถ้าไม่อยากถูกหมากัด เราจงให้หมามันกัดกันเองเถิด
ขอบคุณครับ


ย้อนกลับไปอ่านบทความลำดับที่ 516



 


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 500 เรื่อง หนากว่า 6000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

H
บทความถอดเทปเรื่อง การเมืองภาคพลเมืองเรื่องหมากัดกัน เฉพาะในส่วนของอาจารย์
อรรถจักร สัตยานุรักษ์ และ สมชาย ปรัชาศิลปกุล : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ม.เที่ยงคืน)

หมากัดกันในสำนวนของภาษาไทย จะหมายความว่า ปล่อยหมาไปแล้วมันกัดกันตามใจชอบ แต่ไม่ใช่ หมากัดกันของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนหมายความว่า กูสั่งให้มึงกัดใคร ไม่ใช่มึงกัดกันเองตามใจชอบ ฉะนั้นการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจึงมีความสำคัญ แต่ว่าไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเพื่อเลือกเครื่องมือทางการเมืองของเรา ไม่ใช่เลือกตัวแทนของเรา คนที่เราสามารถสั่งได้ ไม่ใช่คนที่ไปคิดหรือทำอะไรแทนเราไปหมด

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 500 เรื่อง หนากว่า 6000 หน้า ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่
midnightuniv(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202

กรุณาส่งตั๋วแลกเงินไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50202
อย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์

ทั้งหมดเหล่านี้ถามว่าเมืองไทยพร้อมหรือไม่ ที่เราจะเป็นประชาธิปไตยทางตรง ผมคิดว่าพร้อม และถ้าดูในสังคมไทยให้ดี เราจะพบว่า พร้อมมากขึ้นแต่ก่อนนี้ด้วยซ้ำไป เพราะว่ามีคนจำนวนมากขึ้น ที่กำลังก้าวเข้ามาสู่การใช้สิทธิประชาธิปไตยทางตรงเช่นนี้มากขึ้นๆทุกที เป็นแต่เพียงว่ารัฐบาลทุกรัฐบาล ไม่ใช่เฉพาะรัฐบาลนี้ ทุกรัฐบาลที่ผ่านมา พยายามจะปิดพื้นที่นี้ ไม่ให้ประชาชนเข้ามาใช้สิทธิในการปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตย ด้วยวิถีทางต่างๆตลอดมา เช่น ตีหัวเขาบ้าง เอากฎหมายเทศบาลมาจับเขาหรืออุ้มขึ้นรถไปบ้าง และอื่นๆอีกร้อยแปด ในการที่จะไม่ให้ประชาชนปกครองตนเองอย่างแท้จริง และผมขอย้ำว่าไม่ใช่เฉพาะรัฐบาลนี้ ที่หัวประชาชนนั้นเป็นเป้าหมายสำหรับการตีกระบาล

ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ
เจ้าของพื้นที่ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ
R
คลิกกลับไปอ่านบทความลำดับที่ 516