ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

R
relate topic
011247
release date

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 486 หัวเรื่อง
บทสรุปวัฒนธรรมกระแสทุน
สมเกียรติ ตั้งนโม
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
The Midnight 's article

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณขาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 14119-26256 ครั้ง สำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม 47
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทสรุปวัฒนธรรมทุนนิยม
๓๐ โรคร้ายในวัฒนธรรมกระแสทุน
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หมายเหตุ : บทความนี้เรียบเรียงจาก Geography 340:
Processes of Environmental Degradation : Stevens Point , University of Wisconsin
กระบวนการเกี่ยวกับความเสื่อมถอยทางด้านสิ่งแวดล้อม
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 8 หน้ากระดาษ A4)

 


Thirty Theses

A thesis is a statement or proposition put forward and supported by proof or argument. The following thesis statements are intended to generate thought and discussion as we examine environmental degradation and its causes. They are purposely provocative. You may agree or disagree with them, though you should be able to offer evidence for your positions.
บทสรุปที่จะอ่านต่อไปนี้คือข้อความหรือข้อพินิจที่นำเสนอและได้รับการสนับสนุนโดยบทพิสูจน์หรือข้อถกเถียงต่างๆ สำหรับข้อความในเชิงสรุปต่อไปนี้ ตั้งใจที่จะก่อให้เกิดการคิดและการสนทนา ดังที่เราพยายามจะสำรวจถึงปัญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและมูลเหตุต่างๆของมัน ซึ่งโดยวัตถุประสงค์แล้ว ต้องการที่จะให้ข้อมูลเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นความคิด ที่คุณอาจจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ได้ โดยที่คุณควรมีหลักฐานสำหรับจุดยืนอันนั้น

Thesis 1: บทสรุปที่ 1
วัฒนธรรมอเมริกันและวัฒนธรรมตะวันตกโดยทั่วไป อาจได้รับการบ่งถึงอัตลักษณ์ ในฐานะที่เป็นวัฒนธรรมของลัทธิทุนนิยม หรือถ้าจะชี้เฉพาะลงไปก็คือ"ลัทธิทุนนิยมแบบบรรษัท"
American culture, and Western culture in general, may be characterized as the culture of capitalism, or more specifically corporate capitalism.

Thesis 2: บทสรุปที่ 2
สมมุติฐานที่เป็นแกนหลักของวัฒนธรรมทุนนิยมแบบบรรษัทก็คือ การบริโภคสินค้าซึ่งเป็นต้นตอของความเป็นอยู่ที่ดี หมายถึงความสุข ความมั่งคั่ง และความรุ่งเรืองนั่นเอง
The core premise of the culture of corporate capitalism is that commodity consumption is the source of well-being.

Thesis 3: บทสรุปที่ 3
ตัวแสดงหรือตัวแทนหลักที่สำคัญในวัฒนธรรมกระแสทุนก็คือนายทุน ผู้ใช้แรงงาน และผู้บริโภค แต่ละกลุ่มต่างๆปฏิบัติตนไปตามกฎเกณฑ์ทั้งหลายที่ถูกควบคุมหรือวางแผนโดยนายทุนเป็นส่วนใหญ่ และได้รับการปฏิบัติตามโดยรัฐชาติ
The central players in the culture of capitalism are the capitalist, the laborer, and the consumer, each operating according to rules largely orchestrated by the capitalist and enforced by the nation-state.

Thesis 4: บทสรุปที่ 4
วัฒนธรรมทุนนิยมแบบบรรษัท เรียกร้องความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการบริโภควัตถุ และด้วยเหตุดังนั้น มันจึงตักตวงผลประโยชน์จากทรัพยากรของโลกและมนุษย์กว้างขวางออกไปโดยตลอด
The culture of corporate capitalism requires perpetual growth of material consumption, and hence ever-expanding exploitation of the world's resources and peoples.

Thesis 5: บทสรุปที่ 5
ปฏิบัติที่ประสบผลสำเร็จของวัฒนธรรมกระแสทุน บังคับผลักไสให้บรรดาผู้บริโภคทั้งหลายให้แบ่งแยกออกจากกัน หรือสวมหน้ากากคนละหน้า ทั้งนี้เนื่องมาจากผลของการดำเนินชีวิต(lifestyle)ของผู้คนในการทำงาน ในสิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตต่างๆของผู้คน ซึ่งความเสื่อทรามของพวกเขา ทำให้การบริโภคนั้นเป็นไปได้
Successful operation of the culture of capitalism compels that consumers be segregated or masked from the consequences of their lifestyles on the laborer, on the environment, and on the ways of life of those whose degradation makes such consumption possible.

Thesis 6: บทสรุปที่ 6
กำไรในวัฒนธรรมกระแสทุน ส่วนใหญ่มาจากการควบคุมของเหล่านายทุน ทั้งในด้านมูลค่าส่วนเกินของแรงงาน และการตักตวงผลประโยชน์จากธรรมชาติ
Profit in a capitalist culture comes largely from the capitalist's control of both the surplus value of labor and the exploitation of nature.

Thesis 7: บทสรุปที่ 7
มันมีแนวโน้มที่มีมาแต่ดั้งเดิมเกี่ยวกับการที่บรรดาคนงานทั้งหลาย ต่างต่อต้านกฏระเบียบหรือวินัยต่างๆ ที่ยัดเยียดมาให้กับพวกเขาโดยบรรดานายทุนทั้งหลาย
There is an inherent tendency of laborers to resist the discipline imposed on them by capitalists.

Thesis 8: บทสรุปที่ 8
ปฏิบัติการของระบบทุนนิยมเป็นผลลัพธ์โดยตรงเนื่องมาจาก การบ่มเพาะความเอาใจใส่เกี่ยวกับความมั่งคั่งของคนจำนวนน้อยและมือที่ไขว่คว้าประโยชน์ได้เพียงไม่กี่คนให้ขยายตัวมากขึ้น (และด้วยเหตุนี้มันจึงก่อให้เกิดขั้วของความมั่งคั่งขึ้นมาในสังคมตลอดเวลา)
Operation of the capitalist system results directly in a growing concentration of wealth in fewer and fewer hands (and hence in increasing polarization of wealth in society).

Thesis 9: บทสรุปที่ 9
ดังที่ปฏิบัติการทุนนิยมได้พัฒนาองค์กรของทุนต่างๆขึ้นมา และได้ถูกควบคุมให้เป็นไป อันนี้ได้ค่อยๆวิวัฒนาการไปสู่การที่บริษัทจำนวนน้อยในปัจจุบัน ได้ควบคุมความมั่งคั่งส่วนใหญ่เอาไว้
As corporate capitalism has developed, the organization of capital and how it is controlled have evolved to where just a few corporations now control vast wealth.

Thesis 10: บทสรุปที่ 10
ชนชั้นนายทุนได้พยายามที่จะใช้พลังอำนาจที่เติบโตขึ้นมาของมันไปควบคุมความสัมพันธ์ทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ในหนทางต่างๆที่จะเอื้ออำนวยให้แก่ผลประโยชน์ทั้งหลายทางชนชั้นนายทุน
The capitalist class exerts its growing power to direct social, political, economic, and cultural relations, in ways that will serve its class interests.

Thesis 11: บทสรุปที่ 11
แนวโน้มทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอันหนึ่งก็คือ การบูรณาการอันงอกเงยของเศรษฐกิจโลก(โลกาภิวัตน์) สู่ขอบเขตที่เหตุการณ์ต่างๆในพื้นที่หนึ่งของโลกที่เกิดขึ้น จะส่งผลกระทบกระเทือนต่อส่วนอื่นๆของโลก
A dominant historical trend has been the growing integration of the global economy (globalization), to the extent that events in one area of the world have repercussions in others.

Thesis 12: บทสรุปที่ 12
บทบาทของรัฐชาติกำลังได้รับการแทนที่โดยสถาบันใหม่ๆ ที่สำคัญที่สุดก็คือบรรษัทข้ามชาตินั่นเอง (the transnational corporation (or TNC)).
The role of the nation-state is being replaced by new institutions, most importantly the transnational corporation (or TNC).

Thesis 13: บทสรุปที่ 13
บรรดานายทุนทั้งหลายได้สร้างสรรค์องค์กรต่างๆระหว่างประเทศขึ้นมา (ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารโลก และกองทุนไอเอมเอฟ(the World Bank and the IMF) และข้อตกลงต่างๆ (เช่น ดับเบิลยูทีโอ และนาฟต้า - WTO and NAFTA) ดังที่อวดอ้างกับคนทั่วไปว่า เพื่อช่วยพัฒนาผู้คนและประเทศทั้งหลายที่ยังยากจนอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โดยผ่าน"การค้าเสรี"; แต่ทว่าสาระสำคัญเกี่ยวกับกลไกต่างๆเหล่านี้ กลับไปทำหน้าที่เพิ่มพูนทุนทรัพย์ในมือของคนร่ำรวย และขณะเดียวกันก็ยัดเยียดปัญหาให้แก่ผู้คนและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบนอกมากขึ้น
Capitalists have created international organizations (e.g., the World Bank and the IMF) and pacts (e.g., WTO and NAFTA) ostensibly to aid the "development" of impoverished peoples and countries, especially through "free trade"; but these mechanisms essentially serve to accumulate more capital in the hands of the wealthy, while imposing trouble on peripheral peoples and environments.

Thesis 14: บทสรุปที่ 14
ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นระบบหนึ่งของรัฐบาล ส่วนใหญ่ได้รับการแทนที่โดยปฏิบัติการของทุนนิยมบรรษัท; หลักการของคนๆหนึ่ง เสียงๆหนึ่ง ส่วนมากแล้วถูกแทนที่โดยระบบหนึ่งซึ่งเงินตรามีอำนาจปกครองเหนือทุกสิ่ง
Democracy, as a system of government, has been largely superseded by the operation of corporate capitalism; the principle of one person, one vote, has largely been replaced by a system where money holds sway…

Thesis 15: บทสรุปที่ 15
เพื่อที่จะทำนุบำรุงทุนนิยมบรรษัท รัฐสมัยใหม่จะต้องทำให้ประชากรของคนเกิดความเชื่อมั่นว่า พวกเขาและชนชั้นนายทุน ต่างมีส่วนร่วมในชะตากรรมเดียวกัน
In order to maintain corporate capitalism, the modern state must convince its populace that they and the capitalist class share a common destiny.

Thesis 16: บทสรุปที่ 16
ส่วนใหญ่ของปัญหาหลักๆที่กำลังเผชิญหน้าอยู่โดยบรรดาประเทศที่อยู่ชายขอบทั้งหลาย อย่างเช่น ปัญหาความยากจน ปัญหาเกี่ยวกับความหิวโหย และปัญหาเกี่ยวกับการทำลายสิ่งแวดล้อม ได้รับการทำให้รุนแรงขึ้นโดยการเติบโตของจำนวนประชากร
Most of the major problems faced by countries in the periphery, such as poverty, hunger, and environmental destruction, are exacerbated by population growth.

Thesis 17: บทสรุปที่ 17
ความหวาดกลัวเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของจำนวนประชากร ถือเป็นเป็นแผนการณ์อันหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในวัฒนธรรมกระแสทุน เพื่อเปลี่ยนความรับผิดชอบต่อปัญหาของโลกไปสู่บรรดาเหยื่อทั้งหลายของพวกตน และเพื่อกลบเกลื่อนมูลเหตุที่ใหญ่กว่าอันหนึ่ง เกี่ยวกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอันไม่ราบเรียบและเป็นเช่นนั้นเสมอของลัทธิทุนนิยม
The specter of population growth is a scheme used in the culture of capitalism to shift the blame for global problems to their victims, and to obscure a greater cause, capitalism's perpetual and uneven economic growth.

Thesis 18: บทสรุปที่ 18
วิวัฒนาการทางด้านเกษตรกรรมในวัฒนธรรมกระแสทุน ได้รับการสร้างอัตลักษณ์ขึ้นมาโดยความเอาใจใส่ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเกี่ยวกับความมั่งคั่งทางการเกษตรกรรม (พื้นดินและปัจจัยการผลิต) และมันเป็นความเจริญงอกงามที่ผู้คนจำนวนมากต้องพึ่งพาอาศัยคนจำนวนน้อย
The evolution of agriculture in the culture of capitalism is characterized by the steadily increasing concentration of agricultural wealth (land and factors of production), and the growing dependency of the many on the few.

Thesis 19: บทสรุปที่ 19
โครงการต่างๆที่เรียกว่า"การช่วยเหลือด้านอาหาร"(food aid) (ยกตัวอย่างเช่น อาหารเพื่อสันติภาพ หรือ กฎหมายมหาชน 480) คือหนทางต่างๆที่รัฐบาลสหรัฐฯ กันเอาเงินภาษีไปให้กับธุรกิจทางด้านการเกษตร การมีอิทธิพลเพิ่มขึ้นขององค์กรช่วยเหลือต่างๆทางด้านอาหาร และการส่งเสริมดังกล่าว ทำให้เกษตรกรรายเล็กล่มจม คนที่บ่มเพาะผลผลิตทางด้านอาหารท้องถิ่นต้องประสบกับความหายนะ
Programs of so-called "food aid" (e.g. Food for Peace or Public Law 480) are ways that the state funnels tax dollars to agribusiness, increases the influence of food aid organizations, and promotes the ruin of small, local food growers.

Thesis 20: บทสรุปที่ 20
ข้อเท็จจริงคือว่า ผู้คนทั้งหลายกำลังอดตาย เพราะพวกเขาขาดเสียซึ่งทรัพยากรต่างๆที่จะนำมาเป็นปัจจัยในการเพาะปลูกธัญพืชของพวกเขา หรือขาดแคลนเงินตราที่จะซื้อหาสิ่งเหล่านั้นมา อันนี้ถูกกลบเกลื่อนหรือซ่อนเร้นโดยการเรียกความอดอยากยากแค้นนี้ว่า"การขาดแคลนทางด้านโภชนาการ" และปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้รับการปฏิบัติในฐานะที่เป็นปัญหาทางการแพทย์
The fact that people are starving to death because they lack the resources to grow their food, or the money to buy it, is obscured by calling starvation "malnutrition," and treating it as a medical problem.

Thesis 21: บทสรุปที่ 21
แบบแผนการบริโภคต่างๆ และอุปนิสัยเกี่ยวกับการกิน ส่วนใหญ่มันได้รับการก่อตัวขึ้นมาเพื่อเติมเชื้อให้กับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ และทำนุบำรุงสังคมให้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง
Consumption patterns, and even eating habits, are molded largely to fuel economic expansion and maintain the society of perpetual growth.

Thesis 22: บทสรุปที่ 22
ทุกวัฒนธรรม หรือทุกยุคทุกสมัยจะมีลักษณะของความป่วยไข้ที่เป็นอัตลักษณ์ของตัวมันเอง; สำหรับวัฒนธรรมภายใต้กระแสทุน โรคที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะเหล่านั้น ในด้านหนึ่งได้ถูกนำไปเชื่อมโยงกับความเสื่อโทรมของสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับความยากจนและความโหยหิว ส่วนอีกด้านหนึ่งมันเกี่ยวกับกับการบริโภคมากจนเกินไปนั่นเอง
Every culture or age has its characteristic illnesses; for the culture of capitalism, characteristic diseases are those linked to environmental degradation, as well as to poverty and hunger on the one hand and to overconsumption on the other.

Thesis 23: บทสรุปที่ 23
วัฒนธรรมกระแสทุนได้รับการเลี้ยงดูโดยการแพร่ขยายของอินทรียวัตถุที่แปลกแยกต่างๆ รวมถึงโรคติดเชื้อหลายหลาก
The culture of capitalism has fostered the spread of alien organisms, including infectious diseases.

Thesis 24: บทสรุปที่ 24
วัฒนธรรมของผู้คนท้องถิ่นเป็นสิ่งที่ถูกโจมตีและทำลายได้โดยได้ง่าย จากการแพร่ขยายของลัทธิทุนนิยม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า วิถีชีวิตของพวกเขาแตกต่างไปจากวัฒนธรรมกระแสทุนอย่างมากนั่นเอง
The cultures of indigenous peoples are vulnerable to destruction from capitalist expansion, in part because their way of life differs greatly from that in the culture of capitalism.

Thesis 25: บทสรุปที่ 25
ลัทธิทุนนิยมเป็นการปฏิวัติในความหมายที่มันได้อุปถัมภ์ค้ำชูความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง มันจะต้องทำให้เงื่อนไขปัจจัยต่างๆของผลผลิตมีการปฏิวัติอยู่เสมอ และจะต้องให้การส่งเสริมการบริโภคเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ผลที่ตามมาก็คือ มันจะแปรเปลี่ยนแบบแผนความสัมพันธ์ทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมไปเรื่อยๆ
Capitalism is revolutionary in the sense that to foster perpetual growth, it must constantly revolutionize the factors of production, promote ever increasing consumption, and, consequently, regularly modify patterns of social, political, economic and environmental relations.

Thesis 26: บทสรุปที่ 26
รูปแบบอันหลากหลายของการประท้วงทางสังคม อย่างเช่นการประท้วงขององค์กรผู้ใช้แรงงานและการสไตค์ต่างๆ การเรียกร้องเพื่อให้มีการปลดปล่อยประชาชาติให้เป็นอิสระ การเรียกร้องเพื่อสิทธิพลเมือง การเรียกร้องสิทธิสตรี การประท้วงเรื่องการเกณฑ์ทหาร การประท้วงเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และขบวนการเคลื่อนไหวของลัทธิมูลรากทางศาสนา ทั้งหมดสามารถถูกเข้าใจได้ในเบื้องต้นในฐานะที่เป็นปฏิกริยาต่อการแผ่ขยายของวัฒนธรรมทุนนิยม
The various forms of social protest such as workers organizations and strikes, national liberation, civil rights, feminist, militia, environmental, and fundamentalist religious movements can all be understood primarily as reactions to the expansion of the culture of capitalism.

Thesis 27: บทสรุปที่ 27
มันเป็นวิกฤตการณ์ของสิ่งแวดล้อมโลก และทุนนิยมบรรษัทถือเป็นมูลเหตุหรือปัจจัยหลักที่สำคัญอันหนึ่ง
There exists a global environmental crisis, and corporate capitalism is the major cause.

Thesis 28: บทสรุปที่ 28
มันเป็นไปไม่ได้ที่จะคงวัฒนธรรมกระแสทุนต่อไปได้ ณ อัตราของการบริโภคดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้; การแผ่ขยายของวัฒนธรรมดังกล่าวสู่พื้นที่ต่างๆของโลก จะเร่งให้สิ่งแวดล้อมล่มสลายเร็วมากยิ่งขึ้น
It is impossible to sustain the culture of capitalism at its present rate of consumption; the expansion of that culture to other areas of the globe will accelerate environmental collapse.

Thesis 29: บทสรุปที่ 29
พิจาณาถึงธรรมชาติของวัฒนธรรมกระแสทุน มันเป็นไปไม่ได้ที่จะหยุดยั้งการทำลายสิ่งแวดล้อมลงได้
Given the nature of the culture of capitalism, it is impossible to halt the destruction of the environment.

Thesis 30: บทสรุปที่ 30
เนื่องจากวัฒนธรรมกระแสทุนจักต้องทำลายสิ่งแวดล้อมอยู่อย่างต่อเนื่อง และแพร่ขยายความยากลำบากทางเศรษฐกิจต่อไปเรื่อยๆ รวมถึงการสร้างความขัดแย้งและต่อต้านขึ้นมาอย่างไม่สิ้นสุด ดังนั้นมันจะต้องล่มสลายอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในที่สุด (และถูกแทนที่โดยรัฐบาลโลกสังคมนิยม หรือวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สูงส่ง เป็นอิสระ และเป็นวัฒนธรรมที่พึ่งพิงตนเองได้)
Since the culture of capitalism must continually destroy the environment, expand economic hardship, and create continual conflict and resistance, it must inevitably collapse (and be replaced by a socialist world government or highly localized, independent, and self-sufficient cultures).

 

 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 450 เรื่อง หนากว่า 5000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

H
ภาพประกอบ บทความเรื่อง "๓๐ โรคร้ายในวัฒนธรรมกระแสทุน" เขียนโดย Steven Point เรียบเรียงโดย สมเกียรติ ตั้งนโม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ทุกวัฒนธรรม หรือทุกยุคทุกสมัยจะมีลักษณะของความป่วยไข้ที่เป็นอัตลักษณ์ของตัวมันเอง; สำหรับวัฒนธรรมภายใต้กระแสทุน โรคที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะเหล่านั้น ในด้านหนึ่งได้ถูกนำไปเชื่อมโยงกับความเสื่อโทรมของสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับความยากจนและความโหยหิว ส่วนอีกด้านหนึ่งมันเกี่ยวกับกับการบริโภคมากจนเกินไป
นั่นเอง - and to overconsumption on the other.

บรรดานายทุนทั้งหลายได้สร้างสรรค์องค์กรต่างๆระหว่างประเทศขึ้นมา (ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารโลก และกองทุนไอเอมเอฟ(the World Bank and the IMF) และข้อตกลงต่างๆ (เช่น ดับเบิลยูทีโอ และนาฟต้า - WTO and NAFTA) ดังที่อวดอ้างกับคนทั่วไปว่า เพื่อช่วยพัฒนาผู้คนและประเทศทั้งหลายที่ยังยากจนอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โดยผ่าน"การค้าเสรี"; แต่ทว่าสาระสำคัญเกี่ยวกับกลไกต่างๆเหล่านี้ กลับไปทำหน้าที่เพิ่มพูนทุนทรัพย์ในมือของคนร่ำรวย และขณะเดียวกันก็ยัดเยียดปัญหาให้แก่ผู้คนและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบนอกมากขึ้น ข้อเท็จจริงคือว่า ผู้คนทั้งหลายกำลังอดตาย เพราะพวกเขาขาดเสียซึ่งทรัพยากรต่างๆที่จะนำมาเป็นปัจจัยในการเพาะปลูกธัญพืชของพวกเขา หรือขาดแคลนเงินตราที่จะซื้อหาสิ่งเหล่านั้นมา

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 450 เรื่อง หนากว่า 5000 หน้า ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่
midnightuniv(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202

กรุณาส่งตั๋วแลกเงินไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50202
อย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์