บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 484 หัวเรื่อง
วัฒนธรรมทางสายตา-ภาพเปลือย
สมเกียรติ ตั้งนโม
สาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
The Midnight University
Website
ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เกี่ยวกับวัฒนธรรมภาพโป๊เปลือย
ทบทวนวรรณกรรม วัฒนธรรมทางสายตา ๖
สมเกียรติ ตั้งนโม
สาขาจิตรกรรม
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้เป็นการสำรวจภาพกว้างเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางสายตา
อันเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยชื่อเดียวกัน
ผลงานต้นฉบับของการเรียบเรียงนี้ มาจากหนังสือชื่อ Visual Culture Reader
ในส่วนของบทที่ ๖ Introduction to part six
เขียนโดย Nicholas Mirzoeff
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
5.5 หน้ากระดาษ A4)
หนึ่งในลักษณะที่เด่นชัดมากของวัฒนธรรมทางสายตายุคใหม่ก็คือ
ทันใดที่สื่อทางสายตาใหม่ๆได้รับการคิดประดิษฐ์ขึ้น ก็ได้ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นตัวแทนรูปโป๊เปลือยเลยทีเดียว
นับจากภาพพิมพ์หินและภาพถ่ายเป็นต้นมา จนกระทั่งถึงสื่อทางสายตาประเภทอินเตอร์เน็ต
สำหรับภาพโป๊เปลือยนั้น ไม่อาจที่จะถูกแยกขาดออกไปจากการใช้ประโยชน์อื่นๆของวัฒนธรรมทางสายตาได้ ในที่นี้กำลังจะทำการสำรวจภาพกว้างเกี่ยวกับการใช้ภาพโป๊เปลือยเพื่ออ้างถึงข้อมูลทางสายตา ซึ่งวัตถุประสงค์เริ่มต้นของมันก็คือ เพื่อล้วงเอาการขานรับและโต้ตอบทางด้านเพศในหมู่ผู้ดูออกมานั่นเอง
โดยไม่มีคำอธิบายในเชิงที่ยึดติดกับการตำหนิประณามภาพโป๊เปลือยมากนัก ในที่นี้จึงใคร่เสนอภาพโป๊เปลือยเอาไว้ในตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งได้กลายเป็นพื้นที่ของการแข่งขันในชีวิตร่วมสมัยไปแล้วอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ขณะเดียวกัน สำหรับนักวิชาการบางคนเสนอว่า การสร้างภาพโป๊เปลือยขึ้นมาในตัวของมันเองนั้น เป็นหนึ่งในเครื่องหมายของความเป็นสมัยใหม่ ซึ่งมันค่อนข้างที่จะเป็นทัศนะในทางตรงข้ามกันเลยทีเดียวกับความคิดของนักสิทธิสตรีบางคน หรือกลุ่มผู้ยึดถือศาสนา และองค์กรฝ่ายขวาต่างๆ
ในบทนำของบทที่ 6 นี้ ได้คัดสรรผลงานโดยการตัดสินใจที่จะไม่รวมเอาผลงานของบรรดานักเขียนที่ต่อต้านภาพโป๊เปลือยมารวมเข้าไว้ ทั้งนี้เพราะไม่เป็นที่สงสัยหรือหรือกังวลใจเกี่ยวกับสิทธิของภาพโป๊เปลือยที่จะมีอยู่ เนื่องจากว่าการมีอยู่หรือการดำรงอยู่ของพวกมันนั้น สามารถบอกอะไรกับเราได้เกี่ยวกับวัฒนธรรมทางสายตานั่นเอง
ในส่วนของบรรดานักเขียนที่ต่อต้านภาพโป๊เปลือยส่วนใหญ่ การขานรับหรือตอบโต้ในเรื่องเพศของผู้ชายเป็นอย่างเดียวกันกับภาพต่างๆที่ผู้คนทั้งหลาย ดังที่ Catherine Mackinnon ได้ได้ให้ความเห็นว่า : "ผู้ชายชอบที่จะมีเซ็กซ์กับภาพลักษณ์ของผู้หญิงในแบบของพวกเขา" ดังนั้น มันจึงไม่ต้องไปให้ความสนใจกับภาพลักษณ์ และธรรมเนียมปฏิบัติทางสายตาต่างๆ ซึ่งเป็นเพียงวิถีทางไปสู่เป้าหมายธรรมดาๆเท่านั้น
การยอมรับตำแหน่งแหล่งที่ของภาพโป๊เปลือยอันนี้ ถือเป็นวัตถุประสงค์ทั้งหมดเกี่ยวกับเนื้อหาในส่วนนี้ ซึ่งจะพยายามค้นหาความหมายต่างๆเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางสายตาร่วมสมัย ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจกันก่อนก็คือ เนื้อหาในส่วนดังกล่าว จะจำกัดให้ภาพเปลือยเป็นเรื่องของ"ผู้ชายที่ชอบผู้หญิงหรือเพศตรงข้าม"เท่านั้น(heterosexual) ซึ่งจะไม่ไปวิพากษ์วิจารณ์การใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายเกี่ยวกับภาพโป๊เปลือยโดย"ผู้หญิงที่ชอบผู้ชายหรือเพศตรงข้าม" รวมทั้งจะไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับการบริโภคภาพโป๊เปลือยของพวกไบเซ็กส์ชวล(bisexual - พวกที่สามารถมีความสัมพันธ์กับทั้งสองเพศได้), รวมถึงบรรดาเลสเบียน, เกย์, และวัยรุ่นทั้งหลายซึ่งกำลังสำรวจอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเอง และอื่นๆ
โดยเหตุดังนั้น บทความต่างๆในส่วนสุดท้ายของหนังสือเล่มนี้ จึงจะสำรวจเรื่องราววัฒนธรรมทางสายตาเกี่ยวกับภาพโป๊เปลือย และความดึงดูดใจของมันต่อผู้คนกลุ่มต่างๆ ซึ่งพ้นไปจากขนบประเพณีตรงๆ หรือจารีตธรรมเนียมของคนขาวที่บริโภคภาพเปลือย ทั้งสองพื้นที่นี้จะถูกนำมาเชื่อมต่อกัน เพราะว่านักเขียนทั้งหลายที่ทำการตรวจตราถึงวัฒนธรรมย่อยเกี่ยวกับเรื่องเพศต่างๆ ให้ความสนใจมาเป็นระยะเวลานานแล้ว ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการที่คนกลุ่มต่างๆ ได้วางตัวของพวกเขาเองภายในมาตรฐานเกี่ยวกับการมองเรื่องเพศ(ตรงข้าม)กันอย่างไร
หนึ่งในความยุ่งยากอย่างยิ่งในเรื่องการสำรวจตรวจสอบเรื่องภาพโป๊เปลือยก็คือ การนิยามมันในหนทางที่ไม่เกี่ยวข้องกับศิลปะ และรูปแบบอื่นๆเกี่ยวกับการแสดงออกทางด้านวัฒนธรรม ในการดึงเอาข้อความออกมาจากหนังสือสำคัญเรื่อง The Female Nude: Art, Obscenity and Sexuality, Linda Nead ได้แสดงให้เห็นว่า
"คำถามเกี่ยวกับภาพโป๊เปลือยที่ว่า ภาพดังกล่าวมีผลอันตรายร้ายแรงต่อผู้ดูหรือไม่ ซึ่งครอบงำทัศนะต่างๆที่มีต่อภาพโป๊เปลือยในคริสตศตวรรษที่ 20 มาตลอดนั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อถกเถียงที่เก่าแก่ และเป็นไปอย่างกว้างขวางบนเรื่องพลังอำนาจเกี่ยวกับภาพตัวแทนโดยทั่วๆไป"(Nead 1992)
อันนี้ได้กลายเป็นจารีตประเพณีไปแล้วเกี่ยวกับการสนทนา ที่ต่อต้านหรือคัดค้านความพึงพอใจทางกายภาพเกี่ยวกับภาพโป๊เปลือย ด้วยเรื่องที่เหนือโลกธรรมดา หรือคุณค่าของศิลปะที่ไม่เกี่ยวพันกับเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัว
ในระบบความคิดนี้ "ศิลปะและภาพเปลือยได้ถูกไขว่คว้าเข้ามาอยู่ในวงจรของการนิยามความหมายที่ต่างตอบแทนกัน ซึ่งแต่ละฝ่ายต่างก็พึ่งพิงกับอีกฝ่ายหนึ่งสำหรับความหมายทั้งหลายของมัน รวมถึงการมีนัยสำคัญและสถานะบางอย่างอยู่" นับจากการคิดประดิษฐ์ภาพดังกล่าวขึ้นมาในลักษณะการผลิตแบบมวลรวมจำนวนมาก ทำให้การนิยามความหมายอันนี้ ได้กลายเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับกฎหมายมากกว่าที่จะเป็นเรื่องของสุนทรียภาพ หรือการตั้งคำถาม
จากมุมมองทัศนะของวัฒนธรรมชนชั้นสูง(elite) ภาพโป๊เปลือยมักจะเป็นคำถามหนึ่งของการผลิตซ้ำที่ทำขึ้นเป็นจำนวนมาก ในฐานะที่ตรงข้ามกันกับผลงานความเป็นเอกเทศเพียงชิ้นเดียวของศิลปะ ดังเช่นนวนิยายของ D.H.Lawrence ในเรื่อง Lady Chatterley's Lover ซึ่งกลายเป็นปัญหาหนึ่ง เมื่อสำนักพิมพ์ Penguin เสนอที่จะพิมพ์นวนิยายเรื่องดังกล่าวออกมาในรูปของหนังสือปกอ่อนในปี ค.ศ.1961 อันนี้ก่อให้เกิดข้อสังเกตที่เป็นไปได้ว่า การทำเช่นนั้น จะทำให้มันแพร่หลายและอาจถูกอ่านโดย"ภรรยาหรือคนใช้ทั้งหลายของคุณ"นั่นเอง
สุ้มเสียงที่เบาลงมาเกี่ยวกับเรื่องข้อสังเกตอันนั้น สำหรับความยุ่งยากในการลงโทษสำหรับความลามกอนาจาร ภาพโป็เปลือยไม่ได้เป็นสิ่งที่มันถูกทำให้เป็น: งานอีโรติคา(หรือภาพที่เกี่ยวกับกามวิสัย)ที่ผลิตขึ้นมาโดยผู้หญิง, เกย์ และเลสเบียน ซึ่งเจตนาสร้างขึ้นมาเพื่อชุมชนต่างๆของพวกเขากันเองได้ผันแปรไปจากประเด็นนี้ ดังที่ Nead สรุป:
"มากกว่าคำถามที่ว่า กฎหมายควรจะปกป้องใครจากอะไร ? คำถามที่พวกเราควรจะถามในตอนนี้มากกว่าก็คือ ใครเป็นผู้ที่มีสิทธิ์เข้าถึงมันได้ภายใต้กฎหมาย ? อันนี้หมายความว่าการเข้าถึงภาพตัวแทนอันนั้น ซึ่งเกี่ยวพันกับความปรารถนาและความพึงพอใจทางเพศของพวกเขา"
นักวิจารณ์ทางวัฒนธรรมออสเตรเลียน Sandra Buckley ได้นำเสนอกรณีศึกษาอันหนึ่งเกี่ยวกับคำถามของ Nead ในความเรียงของเธอที่ชื่อ "penguin in Bondage" เธอได้ทำการสำรวจถึงการใช้ประโยชน์ที่แตกต่างออกไปเกี่ยวกับภาพอิโรติคในสังคมญี่ปุ่น มันคือปฏิบัติการอันหนึ่งซึ่งเธอได้สืบเสาะหาร่องรอยเกี่ยวกับผลงานภาพพิมพ์แกะไม้ ที่เป็นภาพโป๊เปลือยในคริสตศตวรรษที่ 18 (Buckley 1991)
สำหรับผู้ชื่นชมผลงานภาพพิมพ์เหล่านี้ และทายาทหรือผู้สืบทอดต่อมา ในรูปของหนังสือการ์ตูนของคริสตศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะเกือบทั้งหมดเป็นผู้ชาย จนกระทั่งบรรดาศิลปินหญิงได้สร้างสรรค์หนังสือการ์ตูนขึ้น ซึ่งเรื่องราวและเนื้อหาเหมาะสำหรับเด็กผู้หญิง อันนี้เริ่มต้นขึ้นราวปี 1970
สำหรับบทความที่คัดสรรมาและพิมพ์ซ้ำในที่นี้ จะเอาใจใส่ในการ์ตูนประเภท bishonen ต่างๆ ซึ่งได้นำเสนอผลงานการ์ตูนให้กับผู้อ่านหญิงที่เป็นวัยรุ่น อันเป็นคู่แข่งขันกับผู้อ่านการ์ตูนที่เป็นชายอย่างสำคัญ ส่วนใหญ่แล้วการ์ตูนในแนวนี้ เรื่องราวส่วนใหญ่จะเป็นไปในทำนองดราม่า(drama) และภาพการนำเสนอเรื่องราวทางเพศอย่างโจ่งแจ้ง
ที่น่าประหลาดใจคือว่า ฉากเซ็กส์ต่างๆนั้น แทบจะไม่ได้เป็นเรื่องของคู่ผัวตัวเมียตามแบบจารีตประเพณี ฉากบนเตียงอย่างที่พวกเธอรู้ๆกัน กลับกลายเป็นภาพวาดเกี่ยวกับการร่วมรักระหว่างชายกับชายอยู่บ่อยๆในลักษณะของคู่โฮโมเซ็กส์ชวลนั่นเอง ด้วยการแต่งตัวแบบชายแต่งเป็นหญิง หญิงแต่งเป็นชาย(cross-dressing) และความสับสนทางด้านเพศสภาพที่เข้ามาเพิ่มเติมความสลับซับซ้อน
ดังที่ Buckley เสนอ เรื่องราวทำนองข้างต้น มัน"เล่นกับอัตลักษณ์ของเพศสภาพอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และความสัมพันธ์ระหว่างอัตลักษณ์อันนั้นกับเรื่องเพศ ซึ่งอันนี้ได้สร้างความสับสนยุ่งเหยิงให้กับมายาคติเกี่ยวกับชีววิทยาและชะตากรรม"
ในช่วงปี ค.ศ.1990 การ์ตูนเหล่านี้ มีผู้สนใจอ่านที่สามารถเรียงลำดับได้จากผู้หญิงวัยรุ่น ไปจนกระทั่งถึงนักศึกษาชายตามมหาวิทยาลัย รวมไปถึงพวกชาวเกย์ และเรื่องราวที่เขียนขึ้นมานั้นก็มีตั้งแต่เรื่องเกย์ เลสเบียน ไปจนกระทั่งถึงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเพศตรงข้าม จุดเด่นซึ่งเป็นความเข้มแข็งต่อเนื่องยาวนานเกี่ยวกับทัศนคติที่ตายตัวทางเพศสภาพในญี่ปุ่น, Buckley ได้ให้เหตุผลว่า การ์ตูนเหล่านั้นได้เสนอทางออกอันหนึ่ง สำหรับความปรารถนาที่อยากจะล่วงละเมิด(transgressive desired) และการรุกล้ำต่างๆ:
"อย่างไรก็ตาม ในเชิงอุดมคติและโรแมนติคสำหรับเรื่องราวรักๆใคร่ๆเหล่านี้ อาจบางที พวกมันจะเสนอการหยุดพักชั่วคราว หรือสร้างการผ่อนทุเลาลงเกี่ยวกับผลผลิตทางวัฒนธรรมที่ครอบงำ โดยการนำเสนอความเหมือน (ซึ่งความต่างๆ - ชาย/หญิง - ดำรงอยู่ในฐานะที่เป็นหลักประกันเกี่ยวกับสิทธิพิเศษที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง ของการประกอบสร้างที่ยึดองคชาติเป็นศูนย์กลาง(phallocentric construct) ในฐานะความสัมพันธ์แบบต่างเพศเป็นมาตรฐาน). วัตถุประสงค์ของเรื่องราวประเภท bishonen ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงหรือการทำให้ความต่างเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่มันคือการกำหนดคุณค่าเกี่ยวกับศักยภาพในเชิงจินตนาการของความแตกต่าง ในฐานะที่เป็นทางเลือกมากกว่า(alternative differentiations)"
แต่อย่างไรก็ตาม ศักยภาพอันนี้ได้รับการถ่วงดุลยอย่างรวดเร็ว โดยการปะทุขึ้นมาของการ์ตูนฮาร์ดคอร์ของพวกผู้ใหญ่(hardcore adult comics - หมายถึงการ์ตูนที่มีฉากร่วมเพศกันอย่างโจ่งแจ้ง) ซึ่งมีเป้าหมายอยู่ที่ผู้บริโภคที่เป็นชาย ซึ่งนิยมมีความสัมพันธ์กับเพศตรงข้าม(heterosexual) และทำให้แตกต่างไปตามรสนิยม คล้ายๆผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภคอย่างอื่นๆนั่นเอง
กรณีของการ์ตูนญี่ปุ่นนี้เสนอว่า ภาพทางเพศที่เปิดเผยชัดเจนนั้น มันไม่ใช่การกดขี่ทางเพศอย่างสมบูรณ์ และมันไม่ใช่การปลดเปลื้องสมบูรณ์แบบ แต่ต้องการได้รับการวิเคราะห์เป็นกรณีๆไป ทั้งนี้เป็นไปตามสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมันได้ถูกผลิตขึ้นมานั่นเอง
ตัวอย่างที่สำคัญอันหนึ่งเกี่ยวกับภาพโป๊เปลือยคือ มันถูกเมินเฉยหรือไม่ให้ความเอาใจใส่อยู่บ่อยๆโดยคู่ตรงข้ามของมัน ซึ่งเป็นบทบาทของภาพโป๊เปลือยในวัฒนธรรมของชาวเกย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา. Richard Dyer ได้วิเคราะห์วิดีโอโป๊เปลือยของพวกเกย์ ซึ่งใช้เทคนิคที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยการวิจารณ์ภาพยนตร์ ซึ่งเขาคือหนึ่งในนักปฏิบัติการทางด้านนี้ที่มีชื่อเสียง(Dyer 1994)
Richard Dyer ได้ให้เหตุผลว่า ภาพโป๊เปลือยเป็นที่น่าตื่นเต้นเนื่องมาจากว่า มันทำให้เราได้มองเห็นสิ่งที่ปกติแล้วเราไม่ได้เห็นนั่นเอง และพบว่า ภาพยนตร์โป๊เปลือยทั้งหลาย บ่อยครั้ง ได้ให้ความสนใจอย่างใกล้ชิดไปที่ เทคนิคการนำเสนอเรื่องราวต่างๆของภาพยนตร์ฮอล์ลีวูดแบบคลาสสิค ซึ่งผู้ดูไม่ค่อยได้พบเห็น: "กฎเกณฑ์ต่างๆของภาพยนตร์คลาสสิคที่ถูกนำมาใช้ ด้วยระดับของการยืดหยุ่นและพลิกแพลงที่แน่นอน อันทำให้เกิดอัตลักษณ์ขึ้นมา ซึ่งพวกเขาใช้กันในฮอล์ลีวูด"
กระนั้น ดังที่ Linda Williams สังเกตในงานศึกษาของเธอ เกี่ยวกับภาพโป๊เปลือยแบบหยาบโลน(เป็นฉากของการร่วมเพศอย่างชัดแจ้ง) ภาพโป๊นี้ได้รับการกระตุ้นโดยความปรารถนาอันหนึ่งที่จะทำให้มันเห็นเป็นภาพได้ มากเท่าที่จะเป็นไปได้เกี่ยวกับประสบการณ์ทางเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิ่งเหล่านั้นซึ่งในยามปกติแล้ว จะไม่พบเห็นกันโดยใครก็ตามที่มีความสัมพันธ์กันทางเพศ (Williams 1989)
สำหรับ Dyer ภาพที่ทำให้มองเห็นได้นั้น ดูเหมือนจะขับไล่ไสส่งขนบจารีตแบบคลาสสิคให้ไกลห่างออกไปจากปกติวิสัยในภาพยนตร์ฮอล์ลีวูด บางทีถึงกับทำให้เครียดเลยทีเดียว". มันคือลักษณะย่อยอันหนึ่งของภาพโป๊เปลือย ซึ่งเขาเรียกมันว่า "การสะท้อนถึงตัวเอง"(self-reflexive) เรียกร้องความสนใจต่อความเป็นของเทียมของตัวเอง และการยอมรับการมีอยู่ของผู้ดู
ลองมองไปที่ผลงานของดาราภาพเปลือยอย่าง Ryan Idol ในวิดีโอและภาพนิ่ง, Dyer เน้นว่า มันเป็นธรรมดาร่วมกันสำหรับนักแสดงที่จะดึงดูดความสนใจสู่ฉากโป๊(the porn viewing situation) บางสิ่งบางอย่างที่ทฤษฎีภาพยนตร์คลาสสิคเสนอว่า ไม่ควรเกิดขึ้นถ้าหากว่ามายาภาพดังกล่าวจะถูกทำให้เป็นอย่างนั้นเรื่อยๆไป เขาสรุปว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัฒนธรรมของชาวเกย์เป็นที่รับรู้ถึงธรรมชาติที่เป็นการแสดงออกเกี่ยวกับเรื่องเพศ :
ความเป็นเจ้าของในเอกลักษณ์ของชาวเกย์ - ตัวมันเองเป็นความขัดแย้งอันหนึ่งที่ค่อนข้างจะเปราะบาง - และเต็มไปด้วยอันตราย : การมองเรื่องเพศในฐานะที่เป็นการแสดงมากกว่าเป็นสิ่งที่เรียกร้องดึงดูดใจ นับจากที่มันไม่เกี่ยวพันกับความคิดในเชิงบังคับ และตัวตนอันนั้น ความสำคัญของการกระทำดังกล่าวนี้ ในยุคของ AIDS ไม่อาจจะเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้
จากมุมองหรือทัศนียภาพของชาวเกย์ ภาพโป๊เปลือยไม่ได้เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรุนแรง แต่ในความรู้สึกที่เป็นจริงมากๆอันหนึ่ง มันเกี่ยวกับความอยู่รอด. การผสมผสานที่จำเป็นของมันกับความจริง(เรื่องเพศ) และจินตนาการหรือเรื่องที่สร้างขึ้น(การเล่าเรื่อง) ยินยอมให้มันเติมเต็มบทบาทอันหนึ่ง อันที่จริงมันเป็นพาหนะที่ไม่สมบูรณ์ ในความไม่สมบูรณ์แบบและเต็มไปด้วยอันตรายของโลกใบนี้นั่นเอง
สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา
3
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
e-mail
: midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 450 เรื่อง หนากว่า 5000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา
120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่
midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง
จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
The Female Nude: Art, Obscenity and Sexuality, Linda Nead ได้แสดงให้เห็นเกี่ยวกับอันตรายของภาพโป๊เปลือยว่า "มากกว่าคำถามที่ว่า กฎหมายควรจะปกป้องใครจากอะไร ? คำถามที่พวกเราควรจะถามในตอนนี้มากกว่าก็คือ ใครเป็นผู้ที่มีสิทธิ์เข้าถึงมันได้ภายใต้กฎหมาย ? อันนี้หมายความว่าการเข้าถึงภาพตัวแทนอันนั้น ซึ่งเกี่ยวพันกับความปรารถนาและความพึงพอใจทางเพศของพวกเขา"
นับจากการคิดประดิษฐ์ภาพโป๊เปลือยในลักษณะการผลิตแบบมวลรวมจำนวนมาก
ทำให้การนิยามความหมายอันนี้ ได้กลายเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับกฎหมาย มากกว่าที่จะเป็นเรื่องของสุนทรียภาพ
จากมุมมองทัศนะของวัฒนธรรมชนชั้นสูง (elite) ภาพโป๊เปลือยมักจะเป็นคำถามหนึ่งของการผลิตซ้ำที่ทำขึ้นเป็นจำนวนมาก
ในฐานะที่ตรงข้ามกันกับผลงานความเป็นเอกเทศเพียงชิ้นเดียวของศิลปะ ดังเช่นนวนิยายของ
D.H.Lawrence ในเรื่อง Lady Chatterley's Lover ซึ่งกลายเป็นปัญหาหนึ่ง เมื่อสำนักพิมพ์
Penguin เสนอที่จะพิมพ์นวนิยายเรื่องดังกล่าวออกมาในรูปของหนังสือปกอ่อนในปี
ค.ศ.1961 อันนี้ก่อให้เกิดข้อสังเกตที่เป็นไปได้ว่า
การทำเช่นนั้น จะทำให้มันแพร่หลายและอาจถูกอ่านโดย"ภรรยาหรือคนใช้ทั้งหลายของคุณ"นั่นเอง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 450 เรื่อง หนากว่า 5000 หน้า ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่
midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202
กรุณาส่งตั๋วแลกเงินไปยัง
สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
50202
อย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ
เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์