Website
ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 439 หัวเรื่อง
วัฒนธรรมทางสายตากับเพศสภาพ
สมเกียรติ ตั้งนโม
สาขาจิตรกรรม
คณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางสายตา
วัฒนธรรมทางสายตา
: การจ้องมองและเรื่องเพศ
สมเกียรติ ตั้งนโม
สาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(บทความชิ้นนี้ยาวประมาณ
11 หน้ากระดาษ A4)
Nicholas
Mirzoeff
Introduction to part five
Visual Culture : The gaze and sexuality
หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้ แปลและเรียบเรียงมาจากบทนำในส่วนที่ห้าของหนังสือ
The Visual Culture Reader
Nicholas Mirzoeff บรรณาธิการและเขียนบทนำ
Introduction to part five
Nicholas Mirzoeff
(ก) การจ้องมองและเรื่องทางเพศ
(The gaze and sexuality)
ไม่มีคำศัพท์ใดๆที่มีอิทธิพล ซึ่งมีความสำคัญต่อสาขาวิชาทางสายตาที่หลากหลายในช่วงยี่สิบปีหลังมานี้เกินไปกว่าคำว่า
"การจ้องมอง"
"การจ้องมอง"ได้สร้างอัตลักษณ์ของผู้จ้องมองขึ้นมาใหม่อีกครั้ง โดยการทำให้เรารู้สึกทันทีเกี่ยวกับการรับรู้ทางสายตา และคนอื่นๆที่มองดูเรา. การประเมินกันใหม่เกี่ยวกับการมอง ในฐานะที่เป็นการจ้องมองโดยนักสตรีนิยมและทฤษฎีรักร่วมเพศ(queer theory)ใน 25 ปีหลังนี้ ได้แปรเปลี่ยนความเข้าใจของเราเกี่ยวกับประเด็นปัญหาต่างๆให้กว้างขวางออกไป เท่าๆกันกับการเขียนภาพเปลือย ภาพยนตร์ฮอล์ลีวูด และงานโฆษณาเลยทีเดียว
"การจ้องมอง" ยินยอมให้เราคิดถึงวิธีการต่างๆเกี่ยวกับการมองในฐานะที่เป็นรูปแบบหนึ่งของ"อำนาจ" และอำนาจนั้นสามารถถูกทำให้เป็นเรื่องเพศสภาพได้ ด้วยเหตุนี้ ข้อถกเถียงเป็นจำนวนมากจึงมีศูนย์กลางอยู่ที่"การจ้องมองในสายตาของผู้ชาย" "ส่วนผู้หญิงกลับถูกทำให้เป็นวัตถุ"และตกอยู่ในสถานะที่เป็นรอง
ข้อถกเถียงทั้งหลายเหล่านี้ต่างเป็นหนี้บุญคุณต่อวิธีการทางจิตวิเคราะห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในผลงานของ Jacques Lacan. Lacan มองว่าการจ้องมองเป็นปัจจัยที่สำคัญอันหนึ่ง ในการสร้างตัวตนหรืออัตตา(ego)ขึ้นมาในขั้นตอนกระจกเงา(mirror stage)อันมีชื่อเสียงของเขา ในช่วงระหว่างที่เป็นทารก
ทารกเรียนรู้ที่จะแบ่งแยกตัวของเขาเองจากพ่อแม่ และวางตัวของเขาเองลงในความสัมพันธ์ทางเพศสภาพต่อพ่อและแม่ ซึ่งเป็นไปตามพลวัตต่างๆของปมออดิปัส(oedipus complex) ด้วยเหตุดังนั้น เด็กผู้ชายจึงมีความปรารถนาแม่ แต่ได้ถูกระงับยับยั้งโดยสิ่งที่ Lacan เรียกว่า "นามของพ่อ"(the Name of the Father)
แม้ว่าจะมีข้อถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องปมกันอย่างมากมาย แต่ทฤษฎีของเขาดูเหมือนว่ามันจะไม่ทำงานหรือได้ผลนักกับเด็กผู้หญิง. แบบแผน Lacanian เกี่ยวกับภาพ(vision)จบลงโดยการถูกลดทอนลงมาสู่เรื่องของความตรงข้าม ระหว่างผู้ชายและผู้หญิงภายในเรื่องของเพศตรงข้าม บางคนอาจกล่าวว่ามันเป็นกรอบโครงร่างของพวกนิยมเพศตรงข้าม(heterosexist - พวกซึ่งประณามการมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกันเป็นเรื่องที่ไม่ใช่บรรทัดฐาน). ตำแหน่งของผู้ชายเป็นตำแหน่งที่มีสิทธิพเศษในการมอง ขณะที่ผู้หญิงอยู่ในตำแหน่งที่ถูกมอง
สำหรับเหตุผลทางการเมืองและเหตุผลทางด้านสติปัญญา การค้นพบหนทางใหม่ๆเพื่อทำให้การจ้องมองเป็นทฤษฎีขึ้นมา จะทำให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้และมีความสำคัญสำหรับการที่จะไปพ้นจากข้อจำกัดต่างๆเกี่ยวกับคู่ตรงข้าม ที่กำลังกลายเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งต่อการตีความเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางสายตา
การคิดใหม่เกี่ยวกับเรื่องการจ้องมอง บรรดานักวิจารณ์ทั้งหลายได้พยายามสร้างหลักเกณฑ์ขึ้นมาใหม่ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เรื่องของเพศสภาพ(gender) เชื้อชาติ(race) และเรื่องทางเพศ(sexuality)ในตัวของพวกมันเอง มันอาจดูเหมือนว่าการเคลื่อนไหวนี้ ได้นำเราให้ไปไกลห่างจากวัฒนธรรมสู่ความเป็นจริง และดังที่เราจะได้เห็น การนิยามความหมายเกี่ยวกับความจริงซึ่งเป็นสิ่งที่กำลังอยู่ในระหว่างหน้าสิ่วหน้าขวานพอดี
ยุคสมัยใหม่ สามารถได้รับการแบ่งแยกจากประวัติศาสตร์ในช่วงต้นทั้งหมดได้ ในพื้นที่ทางการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องเพศสภาพ(gender) และเรื่องทางเพศ(sexuality) ดังเช่นนักประวัติศาสตร์ศิลป์ Thomas Lacquer ได้แสดงให้เห็น (Lacquer 1990)
วิทยาศาสตร์การแพทย์ได้อธิบายถึงความแตกต่างกันเบื้องต้นอันหนึ่งระหว่างสองเพศ ราวๆในช่วงปี ค.ศ.1800 ซึ่งอันนี้เป็นการตัดเยื่อใยสัมพันธ์กับขนบจารีตคลาสสิค เกี่ยวกับการมองร่างกายของมนุษย์ในฐานะที่เป็นแบบหรือประเภทหนึ่ง(one type)ที่แบ่งออกเป็นสอง. ในความเรียงที่จะหยิบยกเอามาจากการศึกษาที่พรักพร้อมอยู่แล้วเรื่อง Art and Anatomy from Albinus to Charcot, Anthea Callen ได้อ้างถึงแพทย์ที่ชื่อว่า Pierre Roussel ต่อผลหรืออิทธิพลอันนี้:
"แก่นสารเกี่ยวกับเพศไม่ได้ถูกจำกัดอยู่กับอวัยวะใดโดดๆ แต่มันมากกว่านั้น โดยผ่านความแตกต่างกันนิดๆหน่อยๆที่รับรู้ได้ทั่วๆไป ในทุกๆส่วน" สิ่งที่ก่อนหน้านี้เป็นเรื่องกลับกันในเชิงตรงข้ามง่ายๆเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์(genitalia)(ผู้ชาย/ข้างนอก, ผู้หญิง/ข้างใน)[male/outside, female/inside] กลายเป็นเครื่องหมายที่เด่นชัดอันหนึ่งของทุกๆส่วนเกี่ยวกับกายวิภาคมนุษย์
ในเวลาเดียวกัน ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ได้มาถึงความเชื่อที่ว่า ร่างกายมนุษย์เต็มไปด้วยสิ่งที่อ่านได้ นั่นคือเป็นการพูดว่า เงื่อนไขในทางกายภาพของมันสามารถได้รับการตีความในทางสายตาได้นั่นเอง อันนี้เป็นการดำเนินรอยตามความแตกต่างกันทางเพศอันนั้นระหว่างผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งจะต้องเป็นสิ่งที่เห็นได้อย่างเต็มที่
ในการศึกษาอย่างระมัดระวังเกี่ยวกับสาระในเรื่องของรูปแบบ, Callen ได้สำรวจผลงานของนักกายวิภาคคริสตศตวรรษที่ 18 นามว่า Albinus ที่ทำให้ความแตกต่างกันทางเพศเป็นแง่มุมที่สำคัญอันหนึ่งขึ้นมา ในงานภาพพิมพ์ร่องลึกอันน่าหลงใหลของเขา ที่ทำขึ้นมาอย่างระมัดระวังเกี่ยวกับภาพโครงกระดูกมนุษย์ ที่ถึงแม้ว่าภาพนี้ดูเหมือนมันจะขาดเสียซึ่งประโยชน์ในเชิงปฏิบัติ อันเนื่องมาจากลักษณะการวางท่าของโครงกระดูก ซึ่งได้ถูกสร้างขึ้นจากรูปปั้นคลาสสิคที่รู้จักกันในนาม Apollo Belvedere
ภาพซ้าย
ผลงานภาพพิมพ์ภาพโครงกระดูก ของ Albinus ทำขึ้นมาเลียนแบบท่าทางของ Apollo Belvedere
ภาพขวา ผลงานประติมากรรมภาพ Apollo Belvedere
"การนำเสนออันหนึ่งที่มีพื้นฐานอยู่บนอำนาจสั่งการ ทั้งในส่วนของเรื่องตัวตน และเรื่องของความรู้; มันคือ การเพิ่มเติมสนับสนุนการควบคุมตนเอง(self-control) และการควบคุมสิ่งแวดล้อม(control of the environment)ทั้งสองส่วน. ไอเดียต่างๆเหล่านี้ได้รับการปฏิบัติโดยนักกายวิภาคศาสตร์ และช่างพิมพ์(engraver - หมายถึงช่างพิมพ์ภาพ ซึ่งใช้แผ่นโลหะมาแกะเป็นแม่พิมพ์)ในการสร้างภาพอันนี้ขึ้นมา โดยผ่านกระบวนการการทำให้เป็นวัตถุ ซึ่งประกาศเรียกร้องสิทธิ์ของผู้ชายในอำนาจเกี่ยวกับเหตุผลเหนือกว่าธรรมชาติ(ความเป็นหญิง)"
ไกลห่างจากการเกาะเกี่ยวกันที่ปราศจากอารมณ์และอคติใดๆของความรู้ "ทางศิลปะ" และ "ทางการแพทย์" ภาพพิมพ์ร่องลึกรูปกระดูก เป็นตัวแทนการรวมตัวกันของ"การแบ่งแยกทางเพศ"ไปสู่"โครงสร้างที่แท้จริงเกี่ยวกับชีวิตในตัวของมันเอง"
จากจุดยืนทางด้านจิตวิเคราะห์ ปฏิบัติการอย่างระมัดระวังดังกล่าวไม่ได้เป็นสิ่งที่น่าประหลาดใจแต่อย่างใด สำหรับความจริง มันอยู่ในดวงตาของผู้ดู. นักประวัติศาสตร์ศิลป์ Tamar Garb ได้แสดงให้เห็นว่า ความคิดทั้งหลายในแบบฟรอยเดียนเกี่ยวกับความแตกต่าง สามารถถูกนำมาใช้เพื่ออรรถาธิบายภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกทางประวัติศาสตร์ต่างๆได้ เหนือการจ้องมองในการศึกษาทางด้านสหวิทยาการของเธอเกี่ยวกับบรรดาศิลปินหญิง และการได้รับการต้อนรับของพวกเธอในปลายคริสตศตวรรษที่ 19 (Garb 1993)
บรรดาศิลปินหญิงทั้งหลาย ประสบความสำเร็จในการเรียกร้องสิทธิ์ในความเสมอภาคเกี่ยวกับการศึกษาทางด้านศิลปะ พวกเธอเพียงถูกปฏิเสธที่จะเข้าสู่ชั้นเรียนที่เขียนภาพชีวิต(life class) ที่ซึ่งบรรดานักศึกษาวาดภาพเปลือยของผู้ชาย(the nude male figure) ทั้งนี้เนื่องมาจากความกลัวที่ว่า มันมีความเป็นไปได้ที่การจ้องมองของผู้หญิง ได้ไปปลุกความกลัวเกี่ยวกับการตอน(castration - การตัดลูกอัณฑะ)ขึ้นมา โดยผ่านสิ่งที่ฟรอยด์เรียกว่า "การมองเห็นบางสิ่งบางอย่าง"(the sight of something) - องคชาติ - และการไม่มีบางสิ่งบางอย่าง(the absence of something) - องคชาติของแม่
ในโลกของศิลปะ นั่นเป็นการประเมินคุณค่าความสามารถของศิลปะสู่ "สิ่งที่เหนือหรือสูงไปกว่าเรื่องกายภาพ", ผู้หญิง - การนิยามในทางกายภาพ - ได้คุกคามและได้ไปล้มล้างความเชื่อทางสุนทรีย์อันเปราะบางลงไปแล้ว. สำหรับฟรอยด์ มันเป็นสิ่งที่แน่ชัดในตัวของมันเองที่ "เป็นไปได้ว่า ไม่มีมนุษย์ผู้ชายคนใดเหลือรอดไปจากอาการช็อคที่น่ากลัวเกี่ยวกับการตอน ซึ่งได้มาคุกคามความรู้สึกของพวกเขาอันนี้ ในการมองเห็นอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิงทั้งหลาย(Freud 1959)
Garb ได้แสดงให้เห็นว่า ความกระวนกระวายใจเหล่านี้ได้ถูกละลายอย่างปลอดภัยในเรื่องราวสั้นๆอันเป็นที่นิยมกับของสมัยนั้นซึ่งเล่าขานกันว่า ศิลปินหญิงคนหนึ่งได้วาดภาพของผู้ชาย และมันไม่ได้มีอันตรายตามมาแต่อย่างใด เรื่องดังกล่าว ทั้งหมดนั้นเป็นการเปิดเผยอย่างชัดเจนถึงท่าทีหรือทัศนคติร่วมสมัย สำหรับการขาดเสียซึ่งคุณความดีหรือการอวดอ้างของมันทางศิลปะ
โดยไม่ต้องการที่จะแพร่งพรายเรื่องใดๆ ในที่นี้ขอกล่าวว่า ความเป็นชายได้ถูกฟื้นฟูขึ้นมาใหม่อย่างปลอดภัยสู่บัลลังค์ของมัน โดยข้อสรุปที่กระหายเลือด. ในเชิงแดกดัน ความกลัวของผู้ชายที่ได้รับการปลุกกระตุ้นขึ้นมาจากการจ้องมองของศิลปินหญิง เป็นหัวข้อหรือประเด็นของการโฆษณาในสหราชอาณาจักรในปี 1997 สำหรับน้ำหอม ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ความกระวนกระวายใจทั้งหลายนั้นคือความใกล้ตายที่เป็นไปอย่างช้าๆ
แบบแผนของฟรอยด์ได้สร้างผู้ชายทั้งหลายขึ้นมา ในฐานะที่เป็นผู้ครอบครององคชาติ ส่วนผู้หญิงในฐานะที่ถูกประกอบสร้าง โดยพวกเธอเป็นพวกที่ไม่ได้เป็นผู้ครอบครององคชาติ. ดังที่ Callen และ Garb ได้แสดงให้เห็น ความแตกต่างทางด้านกายวิภาคที่สมมุติขึ้นมาเช่นนี้ ได้ส่งผลถึงเรื่องวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดังที่ถ่ายทอดไปสู่ขอบเขตทางสายตา. ภายหลังต่อมา บรรดานักวิจารณ์ทั้งหลายได้บันทึกว่า ความตรงกันข้ามกันเหล่านี้ทั้งหมด พักพิงอยู่บนความเป็นคู่ในลักษณะเพศตรงข้ามในตัวของมันเอง
ในการศึกษาเกี่ยวกับพื้นที่บ่งชี้(landmark study)เรื่อง Gender Trouble [ความยุ่งยากเกี่ยวกับเพศสภาพ](1990), นักปรัชญา Judith Butler แสวงหาการท้าทายสถานภาพที่แท้จริงเกี่ยวกับเพศสภาพ ในฐานะปริมณฑลอันหนึ่งเกี่ยวกับการวิเคราะห์ โดยการท้าทายการพึ่งพาของมันบนความคิดเห็นเกี่ยวกับบรรทัดฐานนั้น เกี่ยวกับเรื่องเพศ(ตรงข้าม)
ในผลงานที่คัดมานี้ เธอได้พิจารณาถึงนักวิเคราะห์ในแนวทางฟรอยเดียนนามว่า Joan Riviere ที่ได้มาถึงความนึกคิดของเธอที่ว่า ความเป็นผู้หญิงเป็นการซ่อนเร้น(womanliness is masquerade) Butler บันทึกว่า Riviere ได้ให้ความเอาใจใส่เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่าง ผู้หญิงที่มีความต้องการเพศตรงข้าม(heterosexaul) กับ ผู้หญิงที่มีความต้องการเพศเดียวกัน(homosexual)
ในปี ค.ศ.1997 มีการสนทนาสาธารณะที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องราวทำนองนี้แวดล้อมดาวตลก Ellen Degeneres ในสหรัฐอเมริกา นักวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องของวิธีการดำเนินชีวิต, นักวิพากษ์สื่อทีวี, และนักกิจกรรมและนักเคลื่อนไหวเลสเบี้ยน ทั้งหมดต่างพูดถึงเรื่องเพศของ Degeneres เอง และเกี่ยวกับบุคลิกของเธอ Ellen Morgan
เรื่องของคำถามที่ว่า"คือเธอ หรือไม่ใช่เธอ?" คำถามดังกล่าวกลายเป็นแนวเรื่องที่ซ่อนเร้นชัดเจนเกี่ยวกับชุดสนทนานี้ทั้งหมด และจบลงด้วยจุดสุดยอดของเรื่องเกี่ยวกับฉากเปิดตัวออกมา. Degeneres ทำให้ปัญหาปรากฏเป็นรูปเป็นร่างขึ้น ซึ่งไปเกี่ยวโยงกับ Riviere ในปี ค.ศ.1929
ขณะที่ผู้คนจำนวนมาก ทั้งตอนนั้นและตอนนี้สันนิษฐานว่า พวกเลสเบียน "ปกติแล้วจะแสดงลักษณะต่างๆที่เข้มแข็งของเพศอื่น". Riviere ตอบโต้ว่า "ผู้หญิงที่ปรารถนาความเป็นชาย อาจสวมหน้ากากอันหนึ่งของความเป็นหญิง เพื่อเบี่ยงเบนความกังวลใจ และเป็นการตอบแทนการถูกทำให้กลัวจากผู้ชาย". ในเชิงแย้งกับความรู้สึกทั่วๆไป อีกประการหนึ่ง การแสดงออกที่สุดๆของความเป็นชายและความเป็นหญิง อาจมาจากชายและหญิงที่รักร่วมเพศ
ถัดมา Riviere ได้ก้าวกระโดดออกมาจากระบบจิตวิเคราะห์เกี่ยวกับเพศสภาพโดยสรุปว่า: "มาถึงตอนนี้ ผู้อ่านอาจถามว่า ที่ใดที่ข้าพเจ้าได้ลากเส้นระหว่างความเป็นหญิงที่แท้จริง และ"การสวมหน้ากาก"(masquerade). แต่อย่างไรก็ตาม คำแนะนำของข้าพเจ้าไม่ใช่ว่า มันมีความแตกต่างใดๆอันนั้นอยู่; ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของลักษณะที่สุดขั้วรุนแรง หรือลักษณะที่ผิวเผิน, พวกเขาต่างคือสิ่งเดียวกัน"
Butler สรุปว่า "ผลผลิตทางวัฒนธรรมที่แท้จริงเกี่ยวกับเพศสภาพ" เป็นสิ่งที่หมิ่นเหม่ในการสนทนากันต่างๆอันนั้น และท้าทายต่อลักษณะคู่ตรงข้ามที่เริ่มต้นขึ้นมาโดยบรรดานักวิจารณ์แนวจิตวิเคราะห์ หนังสือของเธอหลีกเลี่ยงหรือต่างไปจากสองศตวรรษของการจ้องมองทางการแพทย์ โดยการสรุปว่า
"เพศสภาพมิได้ถูกเขียนขึ้นในเรื่องราวเกี่ยวกับร่างกายเพียงเท่านั้น" แต่เป็น"การทำซ้ำทางด้านแบบฉบับของการกระทำต่างๆ". เพศสภาพกลายเป็นความเข้าใจ ไม่ใช่ในฐานะแก่นสารทางด้านกายภาพ หรือกระทั่งการสร้างทางวัฒนธรรม แต่ในฐานะที่เป็นการกระทำอันหนึ่ง ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เป็นธรรมชาติ โดยผ่านการทำซ้ำอยู่อย่างสม่ำเสมอ
ทฤษฎีในเชิงปฏิบัติของ Butler เกี่ยวกับอัตลักษณ์ ท้าทายต่อความนึกคิดสมัยใหม่ในช่วงต้นๆเกี่ยวกับร่างกายที่สามารถอ่านได้ และการประกอบสร้างทางจิตวิเคราะห์เกี่ยวกับสิ่งซึ่งเธอเรียกว่า "ความต้องการเพศตรงข้ามในลักษณะเชิงบังคับ". ขณะที่การประกอบสร้างต่างๆเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่จะพังพาบลงมาอย่างง่ายๆ เพียงเพราะพวกมันถูกขับออกไปในฐานะที่เป็นเรื่องที่สร้างขึ้น
กระนั้นก็ตาม ผลงานในเชิงทฤษฎีของ Butler ได้ให้ความเป็นไปได้สำหรับเราที่ว่า ลักษณะของความเป็นคู่ที่ยืนยงมายาวนานเหล่านี้ ค่อยได้รับการแทนที่ ซึ่งส่งผลต่อความนึกคิดของเราเกี่ยวกับความเป็นหญิง ความเป็นชาย และความคิดดังกล่าวอันนั้นที่ว่า "เพศในตัวมันเองคือเรื่องอัตลักษณ์"
(ข) ลักษณะรักร่วมเพศในทางสายตา
(Queering the visual)
หนทางอันหนึ่งที่ท้าทายต่อ"ความต้องการเพศตรงข้ามเป็นคู่"(heterosexual
binary) ที่ได้รับการสร้างขึ้นมาโดยวิธีการศึกษาในแนวจิตวิเคราะห์ต่อเรื่องของการจ้องมอง
เป็นเรื่องง่ายๆในการตั้งคำถามถึงสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น ถ้าหากว่าผู้ดูซึ่งเป็นเกย์คนหนึ่งหรือเลสเบียนกำลังมองดู
หรือถูกทำให้เป็นตัวแทนการแสดงออก
นั่นคือความเคลื่อนไหวอันดับแรกของเกย์และเลสเบียนศึกษาในช่วงทศวรรษที่ 1970s และ 1980s, เทียบเคียงกันกับที่มันเป็นสำหรับลัทธิสตรีนิยม และแอฟริกัน-อเมริกันศึกษา: ซึ่งเป็นการยืนยันถึงการมีอยู่ของเกย์และเลสเบียน ในฐานะที่เป็นนักสร้างสรรค์, นักบริโภค และประเด็นหรือหัวข้อต่างๆเกี่ยวกับภาพทางสายตา และเพื่อเป็นการบุกเบิกที่ทางของพวกเขาขึ้นมาในบันทึกประวัติศาสตร์
แน่นอน ผลงานอันนั้นยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และมันได้ถูกนำไปเชื่อมโยง โดยวิธีการศึกษาใหม่ๆที่น่าประทับใจอันหนึ่งในเรื่องของอัตลักษณ์และเรื่องเพศ ซึ่งถูกรู้จักกันในฐานะทฤษฎีรักร่วมเพศ(queer theory)
มากไปกว่าการมองเรื่องเพศในฐานะที่เป็นเรื่องของอัตลักษณ์, การก่อตัวขึ้นมาของหน่วยๆหนึ่งที่ราบเรียบเกลี้ยงเกลา, "รักร่วมเพศ"ได้ผันเปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ Eve Kosofsky Sedgwick (1993:18) เรียกว่า: "การเปิดปากแหของความเป็นไปได้, ช่องว่าง, การทับซ้อน, ความไม่ลงรอยกันต่างๆ, และเสียงสะท้อน, ความพลาดพลั้งและมากเกินไปของความหมาย เมื่อปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบเกี่ยวกับเพศสภาพของใครๆ, เกี่ยวกับเรื่องของใครๆ ไม่ได้ถูกสร้างขึ้น(ไม่สามารถถูกสร้างขึ้น)เพื่อถ่ายทอดหรือแสดงความหมายอย่างเป็นเอกภาพและเกาะกันอย่างเหนียวแน่นได้"
อัตลักษณ์ทางเพศและเพศสภาพ ถูกมองว่ามันเกิดขึ้นมาใกล้เคียงหรือทับซ้อนกับเรื่องของเชื้อชาติ, ความเป็นชาติพันธุ์, และสัญชาติในหนทางต่างๆที่ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับ"อัตลักษณ์"ในตัวของมันเอง มันคือคำศัพท์ที่พิเศษคำหนึ่งในช่วงสิบปีหลังมานี้ ซึ่งควรจะถูกรับรู้. ด้วยเหตุดังนั้น ทฤษฎีรักร่วมเพศ(Queer theory) จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับเพศซึ่งเป็นการรื้อสร้างในทางปรัชญา
ในช่วงทศวรรษที่ 1960s และต่อมา, Jacques Derrida เสนอว่า ปรัชญาสร้าง"การเลื่อนต่าง"(differance) มากกว่าระบบของ"ความต่างเป็นคู่ๆ"(binary difference), สำหรับศัพท์คำนี้ เป็นคำที่คิดประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ ซึ่งเขาได้สร้างขึ้นมาจาก การหลอมรวมคำศัพท์ต่างๆของฟรอยด์เกี่ยวกับคำว่า differing (แตกต่าง) และ deferring (เลื่อน).
ขณะเดียวกัน ผลงานของ Derrida บ่อยครั้งได้ถูกละเลยหรือไม่ถูกนำมาพิจารณาโดยบรรดานักวิจารณ์แองโกล-อเมริกัน ในฐานะที่มันไม่สอดคล้องหรือลงรอยกับโลกที่เป็นจริง แต่แนวความคิดของเขา มาถึงตอนนี้ กำลังให้ข้อมูลและดลใจให้มีการประเมินผลกันใหม่เกี่ยวกับเรื่องของการเมืองเกี่ยวกับอัตลักษณ์ ในหนทางที่เป็นจริงในเชิงปฏิบัติเอามากๆ ดังความเรียงหลายๆเรื่องในส่วนที่ 5 ซึ่งเป็นพยานเกี่ยวกับเรื่องนี้
ในการทบทวนของเขาเกี่ยวกับเกย์ผู้ชายในการเป็นผู้ดูภาพถ่ายและภายนตร์ นับจากคริสตศตวรรษที่ 19 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน Thomas Waugh ได้แสดงให้เห็นว่า ขณะที่ภาพยนตร์เล่าเรื่องในแบบคลาสสิคอาจปฏิเสธการมีอยู่ของผู้ดู, ภาพยนตร์เกย์มักจะรับรู้เกี่ยวกับบรรดาผู้ชมภาพยนตร์แนวนี้(Waugh 1993). เขาได้ให้เหตุผลว่า แบบฉบับของผู้ชาย 3 แบบได้ถูกนำเสนอต่อการจ้องมองของพวกรักร่วมเพศในเชิงกามวิสัย
แบบฉบับแรกเรียกว่า ephebe (ตามรูปศัพท์คำนี้[กรีกโบราณ] เดิมหมายถึงคนหนุ่มอายุราว 18-20 ปีที่มีประสบการณ์ในการฝึกฝนทางด้านการทหาร), คนหนุ่มซึ่งมีรูปร่างสะโอดสะองและมีลักษณะที่เป็นกะเทย(a slender androgynous) ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างสูงในภาพลักษณ์แบบวิคตอเรียน แต่เป็นที่หวาดระแวงในยุคที่คลั่งไคล้ศีลธรรมที่เอาใจใส่ในเรื่องเพศของเด็กๆ
แบบฉบับอย่างที่สองเรียกว่า "he-man" เป็นภาพของชายล่ำสันเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ เกี่ยวกับนักกีฬาเต็มตัว ดังที่คุ้นเคยจากภาพลักษณ์ในสมัยนีโอคลาสสิคเกี่ยวกับร่างกายเท่าๆกันกับที่มาจากการโคลนร่วมสมัย(clone - สร้างขึ้นมาโดยไม่ผ่านขบวนการทางเพศ)
แบบฉบับเรือนร่างในแบบที่ 3 "the looking" เป็นตัวแทนของตัวตน ที่ยืนอยู่บนตัวตนของผู้เขียนเช่นเดียวกับเกย์ที่ถูกสันนิษฐานในฐานะผู้ดู
ด้วยเหตุนี้ Waugh จึงวางแกนกลางการสนทนาของเขาเกี่ยวกับภาพยนตร์อยู่บนเรื่องราวของเกย์ ผู้กำลังจ้องมองมากกว่าการเป็นวัตถุของการจ้องมอง. แต่อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้ให้เหตุผลหรือข้อถกเถียงว่า ในตัวของมันเอง การสร้างสรรค์ตัวตนของเกย์คนหนึ่งขึ้นมา ได้นำพาเราไปพ้นแบบแผนการรับรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศ
ในทางตรงข้าม "ขณะที่ภาพลักษณ์ของความปรารถนาในเพศเดียวกันได้รับการสงวนรักษา แต่มันอาจไปช่วยยกระดับโครงสร้างต่างๆเกี่ยวกับความปรารถนาเพศตรงข้ามให้สูงขึ้นมาได้ ซึ่งมีอยู่ในวัฒนธรรมพ่อเป็นใหญ่(ความต่าง - hetero)ในสังคมตะวันตก
มากไปกว่าความต่างเป็นคู่ๆ, มันคือการเลื่อนต่าง(differance) ที่ซึ่งปราศจากการแต่งงานในท้ายที่สุด. Waugh ได้จำแนกแยกแยะ "การแบ่งหมวดหมู่อันหนึ่งเกี่ยวกับภาพยนตร์เล่าเรื่องโดยนักเขียนเกย์" ที่ได้รับการสร้างขึ้นมาโดยบรรดาผู้กำกับทั้งหลายที่ตักตวงผลประโยชน์จาก "การประกอบกันขึ้นมาในความคลุมเครือเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ต่างๆของการเล่าเรื่องของภาพยนตร์ศิลปะ"
เคลื่อนห่างไปจากการเป็นตัวแทนหลักเกณฑ์วัฒนธรรมรักร่วมเพศ(queer theory) Judith Butler มองไปที่ภาพยนตร์สารคดีต่างๆ ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันมากที่สุดของช่วงต้นปีทศวรรษที่ 1990s ในความเรียงของ Jennie Livingston เรื่อง Paris is Burning, ซึ่งเรื่องเพศของเกย์ได้มีการแสดงออกอย่างมาก แต่อยู่นอกสายตาของ"พวกกระแสหลัก"(Butler 1993)
ในภาพยนตร์สารคดีเรื่อง "fly-on-the-wall" ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้นำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับการดำรงชีวิตอยู่ของเกย์ผิวดำกับเกย์เชื้อสายลาตินอเมริกัน ในฉากที่แต่งตัวเป็นเพศตรงข้าม(cross-dressing)ในนิวยอร์ค ซึ่งต่อมาได้ถูกหยิบเอาไปใช้โดย Madonna ในผลงานเพลง "Vague" และงานวิดีโอที่ออกมาพร้อมๆกันของเธอ
วัฒนธรรมย่อยอันนี้มีศูนย์กลางรายรอบงานบอลล์ที่มีการแต่งตัวในชุดเพศตรงข้าม ที่ซึ่งบรรดาผู้แข่งขันต่างประชันกันในชุดเพศตรงข้าม นับจากแฟชั่นธุรกิจการผลิตเสื้อผ้าชั้นสูงจนถึงเสื้อผ้าของนักธุรกิจชายตรงๆ เป้าหมายคือ ต้องการบรรลุถึงระดับของ"ความจริง"ที่ต่อต้านความเป็นไปได้ของการอ่าน หรือการวิพากษ์วิจารณ์
Butler กระทำซ้ำกรณีของเธอ ซึ่งเรื่องราวเกี่ยวกับผู้ชายที่แต่งตัวในชุดเสื้อผ้าอาภรณ์ของผู้หญิงเผยให้เห็น"การเลียนแบบ ณ ใจกลางเกี่ยวกับลักษณะของความต้องการเพศตรงข้าม(heterosexual)และลัทธิคู่ตรงข้ามทางเพศสภาพของมัน(its gender binarism)". คล้ายๆกันกับ Waugh, เธอยอมรับว่า การหยิบเอาชุดเพศตรงข้ามมาสวมใส่นี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องของการล้มล้างแต่อย่างใด
ในภาพยนตร์ต่างๆ อย่างเช่นเรื่อง Mrs Doubtfire, เป็นการก๊อปปี้ส่วนหนึ่งของภาพลักษณ์เพศตรงข้าม. แต่อย่างไรก็ตาม การสวมใส่ชุดเพศตรงข้ามเป็นการเข้าแทนที่อันหนึ่งของบรรทัดฐานเพศสภาพ. คำถามที่ยกขึ้นมาในเรื่อง Paris is Burning ก็คือ: ใครกำลังหยิบยืมใครกันแน่? สำหรับนักสตรีนิยมบางคนที่มีความคิดสุดขั้ว คำตอบต่อคำถามนี้ก็คือ ผู้ชายกำลังหยิบยืมความเป็นหญิงไปใช้ และนักสร้างภาพยนตร์ผิวขาวกำลังหยิมยืมเอาวัฒนธรรมย่อยของคนผิวดำไปใช้ประโยชน์
Butler ยืนยันว่า "การทำให้เป็นเอกลักษณ์"มักจะเป็นกระบวนการที่ไม่แน่นอนอันหนึ่ง". ในทัศนะของเธอ บทเรียนจากภาพยนตร์เรื่อง Paris is Burning มิใช่สิ่งคุ้นเคยเกี่ยวกับแถลงการณ์ใหม่อีกครั้งของการกดขี่ แต่เป็นความเข้าใจอย่างกระจ่างชัดอันหนึ่งสู่หนทางที่เที่ยงตรงเอามากๆ ที่การศึกษาวัฒนธรรมทางสายตาและการศึกษาทางวัฒนธรรมได้นิยามเกี่ยวกับเรื่องของเอกลักษณ์:
แบบแผนเกี่ยวกับ"ความแตกต่างทางเพศ" มิใช่เรื่องที่มีมาก่อนเรื่องของ"เชื้อชาติ"และ"ชนชั้น"ในการประกอบสร้างเกี่ยวกับเรื่องตัวตน; อันที่จริง เรื่องสัญลักษณ์ด้วย และในเวลาเดียวกัน บรรทัดฐานการทำให้เป็นเชื้อชาติ และบรรทัดฐานความจริง ซึ่งตัวตนได้ถูกผลิตขึ้น ต่างถูกให้ข้อมูลแนวคิดในเชิงเชื้อชาติเกี่ยวกับเพศ
แน่นอน ภาพยนตร์ในตัวของมันเอง ได้ผลิตเรื่องราวอันหนึ่งเกี่ยวกับระดับความจริงอันนี้ไปตามประเด็นส่วนตัวของ Livingston. ในวัฒนธรรมหนึ่งที่มันไม่มีฐานหินเรื่องเอกลักษณ์ที่ถูกอ้าง ปรากฏการณ์และ"การมองเห็น"เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะจะไม่ทำให้เกิดความสับสนมากเกินไปกว่านี้
อีกหนึ่งวิธีในการตามรอยภูมิลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของเอกลักษณ์ก็คือ มองไปที่การขานรับที่แตกต่างในนิตยสารต่างๆของผู้หญิง. ใน"Looking Good", Reina Lewis ได้สำรวจตรวจสอบภาพลักษณ์ของเลสเบียนที่ทำงานอยู่ในสิ่งพิมพ์ต่างๆดังที่ปรากฏ ซึ่งมีเป้าหมายที่ผู้อ่านซึ่งเป็นเลสเบียน (Lewis 1997)
สำหรับบางครั้ง นิตยสารกระแสหลักทั้งหลายอย่างเช่น Vogue จะเล่นกับภาพลักษณ์ที่คลุมเครือทางเพศ อย่างเช่น ปก Vanity Fair ที่แสดงให้เห็นงานของ Cindy Crawford. ภาพทั้งหลายคล้ายๆอันนี้ สามารถได้รับการอ่านในเชิงที่เกี่ยวข้องกับความต้องการเพศตรง และความต้องการเพศเดียวกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับความโน้มน้าวของตัวผู้อ่านเอง และมาถึงตอนนี้ มันได้ถูกใช้ศัพท์ที่เรียกว่า "gay vague"(เกย์คลุมเครือ)โดยอุตสาหกรรมโฆษณา
ภาพขวา ตัวอย่างนิตยสาร Vanity Fair, ภาพซ้าย Cindy Crawford.
ดังที่ Lewis เน้น เมื่อผู้ชายสองคนในรถยนต์ Volkswagen ได้ถูกพิจารณาว่าเป็นคู่เกย์: "มันเป็นการกระทำเกี่ยวกับการตีความหรือแปลความหมายในตัวของมันเอง ซึ่งได้ถูกทำให้เป็นเรื่องของกามวิสัย(eroticize)". ผลลัพธ์ที่ตามมา เธอไม่ได้พูดถึงการจ้องมองของเลสเบียนอีกแล้ว แต่ได้ไปพูดถึงความหลากหลายของข้อคิดเห็นที่อาจถูกนำเอาไปใช้โดยผู้หญิงที่ต่างกัน (และกระทั่ง บางคนได้เพิ่มผู้ชายเข้าไปด้วย) ซึ่งสามารถผลิตสิ่งที่เธอเรียกว่า "ความพึงพอใจของเลสเบียน ความพึงพอใจที่ใช้ได้กับใครก็ตามที่สามารถที่จะทำเช่นนั้นได้ ไม่ว่าจะเป็นเลสเบียนหรือไม่ก็ตาม"
ในเวลาเดียวกัน พัฒนาการเกี่ยวกับ"เศรษฐกิจสีชมพู"(pink economy) - ลัทธิบริโภคนิยมของเลสเบียนและเกย์ - พร้อมกันไปกับนิตยสารต่างๆที่ปรากฏตัวออกมาอย่างชัดเจน ซึ่งตั้งใจที่จะสนองต่อบรรดาผู้อ่านชาวเลสเบียน ได้รับหน้าที่เป็นตัวแทนแฟชั่น ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายของบรรณาธิการนิตยสาร
Lewis ได้ทำการสำรวจว่า ภาพแฟชั่นนั้นมันทำงานอย่างไร ที่ซึ่งความพึงพอใจของเพศเดียวกันค่อนข้างเป็นที่เปิดเผยมากกว่าเป้าหมายแอบแฝงของสิ่งพิมพ์. อย่างไรก็ตาม การเมืองเชิงวัฒนธรรมเกี่ยวกับชุมชนชาวเลสเบียน ในหลายๆทางเป็นปรปักษ์หรือศัตรูต่ออุตสาหกรรมแฟชั่น ซึ่งนำไปสู่แบบที่เป็นจริงของการเป็นตัวแทนในภาพถ่ายนั้น - ดุลยภาพที่ระมัดระวังอันหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องชาติพันธุ์, อายุ, แบบฉบับของร่างกายและอื่นๆ - ทีน้อมนำเธอไปสู่ข้อสรุปว่า
"ผู้อ่านเลสเบียนและเกย์บางคน เรียกร้องภาพต่างๆที่"ปลอดภัย"ซึ่งไม่มีความคลุมเครือทางการเมืองและสุนทรีย์ในสิ่งพิมพ์ของชาวเกย์ ในทางตรงข้าม พวกเขาก็ชอบและมีความสุขในการไปพ้นจากข้อจำกัด(ทางศีลธรรม), ความพึงพอใจที่ขัดแย้งและมีลักษณะกลับค่ากับกระแสหลัก"
Lewis เน้นถึงธรรมชาติที่เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับข้อสรุปต่างๆของเธอ กระนั้นก็ตาม ผลงานของเธอก็เปิดหนทางใหม่ๆขึ้นมาชุดหนึ่งเกี่ยวกับการคิดถึงเรื่องเพศเกี่ยวกับการมอง(sexuality of looking). ค่อนข้างมากกว่าที่จะค้นหาทฤษฎีเอกภาพอันยิ่งใหญ่ทฤษฎีหนึ่งเกี่ยวกับการจ้องมอง ซึ่งบ่อยครั้งมักจะดูเหมือนว่าจะไม่เพียงพอต่อช่วงขณะต่างๆที่มีลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรม
Lewis เสนอว่า "ปัญหาอันนั้นกลายเป็นหนึ่งในความสัมพันธ์ระหว่างความหมายทั้งหลาย". ไม่ใช่เป็นเรื่องของสุนทรียภาพ และไม่ได้เป็นเรื่องของลัทธิรูปทรงเชิงทฤษฎีที่จะมาพูดถึงความสลับซับซ้อนอันนั้น ซึ่งอาจพบว่า คนๆเดียวกันได้รับเอาตำแหน่งแห่งที่ทั้งหมดนั้นมาใช้ ในความสัมพันธ์กับวัตถุเดียวกันทางสายตา อันที่จริงมันขึ้นอยู่กับบริบท ซึ่งมันได้ถูกตีพิมพ์หรืออ่าน
การศึกษาหรือการเข้าถึงนั้นอาจขาดเสียซึ่งความเกลี้ยงเกลาที่น่าพึงพอใจเกี่ยวกับลัทธิรูปทรง
แต่มันรู้สึกก้าวเข้าไปใกล้ความสลับซับซ้อนที่เป็นจริงเกี่ยวกับการมองมากยิ่งขึ้น
สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I ประวัติ ม.เที่ยงคืน
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 440 เรื่อง หนากว่า 5000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
ขณะนี้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้ผลิตบทความทั้งหมดบนเว็ปในรูปของซีดีรอมเพื่อจำหน่าย
สนใจ สั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com
"การจ้องมอง" ยินยอมให้เราคิดถึงวิธีการต่างๆเกี่ยวกับการมองในฐานะที่เป็นรูปแบบหนึ่งของ"อำนาจ" และอำนาจนั้นสามารถถูกทำให้เป็นเรื่องเพศสภาพได้ ด้วยเหตุนี้ ข้อถกเถียงเป็นจำนวนมากจึงมีศูนย์กลางอยู่ที่"การจ้องมองในสายตาของผู้ชาย" "ส่วนผู้หญิงกลับถูกทำให้เป็นวัตถุ"และตกอยู่ในสถานะที่เป็นรอง. ข้อถกเถียงทั้งหลายเหล่านี้ต่างเป็นหนี้บุญคุณต่อวิธีการทางจิตวิเคราะห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในผลงานของ Jacques Lacan. Lacan มองว่าการจ้องมองเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างตัวตน
วิทยาศาสตร์การแพทย์ได้อธิบายถึงความแตกต่างกันเบื้องต้นอันหนึ่งระหว่างสองเพศ
ราวๆในช่วงปี ค.ศ.1800 ซึ่งอันนี้เป็นการตัดเยื่อใยสัมพันธ์กับขนบจารีตคลาสสิค
เกี่ยวกับการมองร่างกายของมนุษย์ในฐานะที่เป็นแบบหรือประเภทหนึ่ง(one type)ที่แบ่งออกเป็นสอง
ในความเรียงที่จะหยิบยกเอามาจากการศึกษาที่พรักพร้อมอยู่แล้วเรื่อง Art and
Anatomy from Albinus to Charcot, Anthea Callen ได้อ้างถึงแพทย์ที่ชื่อว่า
Pierre Roussel ต่อผลหรืออิทธิพลอันนี้:
"แก่นสารเกี่ยวกับเพศไม่ได้ถูกจำกัดอยู่กับอวัยวะใดโดดๆ แต่มันมากกว่านั้น
โดยผ่านความแตกต่างกันนิดๆหน่อยๆที่รับรู้ได้ทั่วๆไป ในทุกๆส่วน" สิ่งที่ก่อนหน้านี้เป็นเรื่องกลับกันในเชิงตรงข้ามง่ายๆเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์(genitalia)(ผู้ชาย/ข้างนอก,
ผู้หญิง/ข้างใน)[male/outside, female/inside] กลายเป็นเครื่องหมายที่เด่นชัดอันหนึ่งของทุกๆส่วน
เกี่ยวกับกายวิภาคมนุษย์