บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 478 หัวเรื่อง
ศิลปะแนวกิจกรรม ศิลปะเพื่อชุมชน
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
The
Midnight University
Website
ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความทางด้านศิลปะ
ศิลปะแนวกิจกรรม
: ศิลปะเพื่อชุมชนและสังคม
สมเกียรติ ตั้งนโม
: เรียบเรียง
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
But is it Art?
The spirit of Art as Activism
จิตวิญญานของศิลปะ ในฐานะเกี่ยวพันกับกิจกรรมชุมชนและสังคม
หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้ เรียบเรียงขึ้นเพื่อให้ผู้สนใจทางด้านศิลปะ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะแนวกิจกรรม (activist arts)
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
11 หน้ากระดาษ A4)
บทนำ : กระบวนการของความเปลี่ยนแปลง
Introduction : The Process of Change
ด้วยการที่เท้าข้างหนึ่งเหยียบอยู่กับโลกศิลปะ ส่วนเท้าอีกข้างหนึ่งเหยียบอยู่บนโลกของกิจกรรมทางการเมืองและการรวมตัวกันของชุมชน
การผสมผสานอย่างน่าสังเกตที่ปรากฏขึ้นมาในช่วงกลางทศวรรษที่ 1970s ได้ขยายตัวออกไปในทศวรรศที่
1980s และกำลังก้าวเข้ามาส่วนมวลชนอย่างสำคัญมาก ซึ่งได้กลายเป็นสถาบันขึ้นมาในช่วงทศวรรษที่
1990s
ลักษณะกิจกรรมทางวัฒนธรรมดังกล่าว
กลายเป็นหัวข้อของการประชุมและบทความต่างๆจำนวนมาก นิทรรศการหลายๆครั้งของพิพิธภัณฑ์ศิลปะ
และโครงการที่หลากหลายซึ่งได้รับการสนับสนุนจากฐานของชุมชน มันได้ให้แรงกระตุ้นและเป็นหัวข้อสำหรับนิตยสารและองค์กรต่างๆ
อีกทั้งยังน้อมนำไปสู่การคาดการณ์ในเชิงทฤษฎีและการวิพากษ์วิจารณ์ด้วย รวมทั้งได้ก่อให้เกิดคำถามต่างๆมากมายตามมาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
มาถึงตรงนี้ โดยผ่านการพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน และการวิเคราะห์วิจารณ์ด้วยความระมัดระวัง
รวมทั้งกลุ่มปฏิบัติการต่างๆที่น่าเชื่อถือและน่ายกย่องซึ่งปรากฏตัวขึ้นมา นับจากช่วงกลางปีทศวรรษ
1970s ถึงปัจจุบัน ความเรียงเรื่อง But is it Art? ได้นิยามถึงปัจจัยหรือตัวกำหนดที่สำคัญของรูปลักษณ์ที่ผสมผสานทางวัฒนธรรม(hybrid
cutural form)อันนี้ และเผยให้เห็นว่าถึงอัตลักษณ์อันหลายหลากมากมีของมันดังกล่าว
การนำเอาเรื่องศิลปะแนวนี้มาเขียนขึ้นเป็นการเฉพาะ ดังที่ปรากฏต่อไป จะให้ภาพการสำรวจในเชิงลึกเกี่ยวกับศิลปะที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม(activist art) และเกี่ยวข้องกับบรรดาศิลปินทั้งหลายซึ่งผูกพันอยู่กับมัน บทนำนี้มิได้ตั้งใจให้เป็นประวัติศาสตร์โดยละเอียดของ activist art อันที่จริงเพียงมีเจตนาที่จะนำเสนอบริบทหนึ่ง โดยเฉพาะที่เข้าใกล้บรรดาศิลปินทั้งหลายที่ทำงานในแนวทางดังกล่าวนั่นเอง
ปฏิบัติการที่ทำการสำรวจในที่นี้ ได้ถูกทำให้เป็นตัวอย่างโดยการใช้นวัตกรรมของพื้นที่สาธารณะ เพื่อพูดถึงประเด็นต่างๆเกี่ยวกับนัยสำคัญทางวัฒนธรรมสังคมการเมือง(sociopolitical significance) และกระตุ้นสนับสนุนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนและสาธารณชน ในฐานะที่เป็นวิธีการที่จะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ขณะที่ประเด็นสาธารณะต่างๆซึ่งมีลักษณะเฉพาะ มันผันแปรไป อาทิเช่น คนไร้ที่อยู่อาศัย วิกฤตการณ์เกี่ยวกับโรคเอดส์ ความรุนแรงที่มีต่อผู้หญิง สภาพแวดล้อมเป็นพิษ การแบ่งแยกทางเพศ(โดยเฉพาะอคติและการกีดกันเพศหญิง)(sexism) การแบ่งแยกและมีอคติเกี่ยวกับเรื่องของอายุ(ageism) การอพยพที่ผิดกฎหมาย เรื่องเชื้อชาติโดยเฉพาะแนวคิดชาตินิยม และลัทธิการรวมตัวกันทางการค้า(trade unionism) ฯลฯ ท่ามกลางเหตุการณ์ทางสังคมอื่นๆ บรรดาศิลปินทั้งหลายต่างก็มีส่วนร่วมปันและรับรู้เกี่ยวกับเรื่องทั้งหลายเหล่านี้คล้ายๆกัน ในยุทธศาสตร์ที่เป็นทางการและเจตนาต่างๆข้างต้น
ดังนั้น สิ่งที่ได้สร้างงานประเภท activist art ขึ้นมาส่วนใหญ่ มันจึงแยกต่างหากออกไปจากศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการเมือง หรือ political art ซึ่งมันไม่ใช่เนื้อหาของบทความชิ้นนี้ ทั้งนี้เพราะ มันมีวิธีการของตัวมันเอง เป็นศาสตร์ในเชิงรูปธรรม และมีเป้าหมายต่างๆของกิจกรรมที่แน่นอน
ส่วนใหญ่ของศิลปะในศตวรรษนี้ได้รับการสร้างขึ้น แพร่กระจายและได้รับการบริโภคภายใต้บริบทของโลกศิลปะ เป็นเรื่องของการแสดงออกส่วนตัว และการแสดงออกอันนี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญซึ่งก่อให้เกิดการสร้างงานศิลปะทั้งหลายขึ้นมา และได้แบ่งแยกเนื้อหากันไปต่างๆนาๆ
จวบจนกระทั่งช่วงทศวรรษที่ 1960s, ลัทธิรูปแบบนิยม(formalism - หมายถึงผลงานศิลปะที่เน้นเฉพาะรูปทรง โดยไม่สนใจเนื้อหา เช่น งานจิตรกรรมที่มีแต่รูปทรงกลม หรือประติมากรรมรูปทรงอิสระ สุนทรียภาพของงานประเภทนี้ อยู่ที่การพิจารณารูปทรงแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องพิจารณาถึงเนื้อหา) หนึ่งในอาการที่ต้องทำให้พวกเราต้องอ้าปากค้างด้วยความประหลาดใจของ modernism - เป็นสิ่งซึ่งมีอิทธิพลอย่างสำคัญ
Formalism แสวงหาหนทางในการนิยามหรือให้คำจำกัดความศิลปะแต่ละชิ้นในเทอมต่างๆของอัตลักษณ์ของการให้นิยามตัวเอง(self-defining)ของมัน ซึ่งไม่เพียงเน้นถึงความบริสุทธิ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์แต่ละอย่างกับหลักการอื่นๆเท่านั้น แต่ยังเป็นการแบ่งแยกทางวัฒนธรรมจากพื้นที่อื่นๆของชีวิตด้วยในช่วงเริ่มต้นตอนปลายทศวรรษที่ 1960s อย่างไรก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปได้เริ่มก่อตัวขึ้นมาในโลกศิลปะ ซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนผันไปใน"โลกของความเป็นจริง"
ความเป็นจริงทางวัฒนธรรมในเชิงผสมผสานที่สำรวจกันถึงนี้ ได้วิวัฒน์ขึ้นมาจากความผันแปรไปดังกล่าวข้างต้น มันถูกทำให้เกิดเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมามากมายโดย"โลกของความเป็นจริง" เท่าๆกับที่มันได้ถูกสร้างขึ้นมาใน"โลกศิลปะ"
Activist art (ศิลปะแนวกิจกรรม)
Activist art เป็นตัวอย่างซึ่งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลอันหนึ่งของแรงกระตุ้นทางสุนทรียภาพ
สังคมการเมืองและเทคโนโลยี ของอดีตที่ผ่านมาประมาณ 30 ปีที่แล้วหรือมากกว่านั้น
ซึ่งพยายามที่จะท้าทาย สำรวจตรวจตรา หรือทำให้ขอบเขตพรมแดนและลำดับชั้นสูงต่ำตามขนบประเพณีทางศิลปะเลือนหายไป
ดังที่มันได้นิยามวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นตัวแทนของพลังในสิ่งเหล่านั้น
รูปแบบทางวัฒนธรรมอันนี้ เป็นการบรรลุถึงจุดสุดยอดของการปลุกเร้าทางด้านประชาธิปไตย เพื่อที่จะส่งเสียงและทำให้ประเด็นทางสังคมสามารถมองเห็นได้ ทั้งเรื่องเกี่ยวกับการถูกลิดลอนสิทธิ์(give voice and visibility to the disenfranchised) และเพื่อเชื่อมโยงศิลปะกับผู้ดูอย่างกว้างขวาง มันได้ดีดตัวขึ้นมาจากสหภาพหรือการรวมตัวกันกับกิจกรรมทางการเมือง ด้วยแนวโน้มต่างๆทางสุนทรียประชาธิปไตย อันก่อกำเนิดขึ้นมาจาก Conceptual art ของปลายทศวรรษที่ 1960s และช่วงต้นของทศวรรษที่ 1970s
ก่อนที่ไปถึงรายละเอียดที่มีการพูดกันในเชิงลึก ขอให้เรามาสำรวจภาพกว้างทั่วๆไปสักเล็กน้อยว่า แผนการ ยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีต่างๆซึ่งเป็นรูปธรรมดังกล่าว มันดำเนินการในแต่ละโครงการโดยเฉพาะอย่างไร? และพวกมันได้อาศัยฐานหนุนในเชิงปรัชญา หรือในเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับงานอย่างไร? ซึ่งการสำรวจนี้คงจะให้ประโยชน์ต่อเราพอสมควร
Activist art ทั้งในด้านรูปแบบและวิธีการต่างๆ
เป็นกระบวนการ - มากกว่าจะเป็นตัววัตถุ - หรือความสนใจในผลิตผล ปกติแล้วมันเกิดขึ้นมาในพื้นที่สาธารณะมากกว่าภายในบริบทหรือที่ทางต่างๆของโลกศิลปะ(เช่น
ตามหอศิลป์ หรือพิพิธภัณฑ์ศิลปะ) ในเชิงปฏิบัติที่เป็นจริง บ่อยครั้ง มันหยิบเอารูปลักษณ์ของการแสดง(performance)ต่างๆมาใช้
หรือกิจกรรมต่างๆที่วางอยู่บนพื้นฐานการนำเสนอ, เหตุการณ์ต่างๆทางสื่อ(media
events), นิทรรศการ(exhibitions), และการติดตั้งศิลปะ(installations) มาเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการ
(หมายเหตุ : installation - เป็นงานศิลปะแบบติดตั้ง ซึ่งจำลองขึ้นมา
โดยมีพื้นที่ที่ผู้ชมสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้ [สนามเด็กเล่น ถือเป็น installation
อย่างหนึ่ง ซึ่งเด็กๆเข้าไปมีส่วนร่วม])
จำนวนมากของงานศิลปกรรมประเภทนี้ได้ใช้เทคนิคต่างๆของสื่อแบบกระแสหลัก อย่างเช่น การใช้ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ โปสเตอร์ การโฆษณาตามรถไฟใต้ดินหรือรถโดยสาร, และใบแทรกตามหน้าหนังสือพิมพ์เพื่อส่งข่าวสาร ซึ่งล้มล้างเจตนาหรือความตั้งใจธรรมดาของรูปแบบต่างๆในเชิงพาณิชย์ที่เคยทำกันมาทั้งหมด สำหรับการใช้ประโยชน์อันหลากหลายของสื่อ ถือเป็นยุทธศาสตร์หลักอันหนึ่งของ activist art ซึ่งนับว่าเป็นตัวกลางอย่างสำคัญยิ่ง ที่ศิลปินในแนวทางนี้นำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง
งานวิจัยเบื้องต้น, กิจกรรมต่างๆขององค์กร, และการทำความเข้าใจหรือการกำหนดทิศทางเกี่ยวกับบรรดาผู้มีส่วนร่วม บ่อยครั้งเป็นหัวใจสำคัญของวิธีการร่วมมือของปฏิบัติซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จ วิธีการต่างๆเหล่านี้ บ่อยทีเดียวอาศัยหรือพึ่งพาความเชี่ยวชาญจากโลกภายนอกวงการศิลปะ ในฐานะที่เป็นหนทางของการเกาะเกี่ยว การมีส่วนร่วมของผู้ดูหรือชุมชน และแพร่กระจายสารอันหนึ่งไปสู่สาธารณชน
ระดับที่แผนการหรือยุทธศาสตร์ซึ่งเป็นทางการเหล่านี้ อาทิเช่น - ความร่วมมือท่ามกลางบรรดาศิลปิน, การมีส่วนร่วมของสาธารณชน, และการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารในการนำส่งข่าวสาร - ทำให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาอย่างประสบผลสำเร็จ และมารับใช้เป้าหมายต่างๆของกิจกรรมความเคลื่อนไหวของงาน ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอันหนึ่งในการสร้างผลกระทบของงานชิ้นนั้นๆ
ไม่ว่ารูปแบบดังกล่าวของกิจกรรมต่างๆเหล่านี้ จะมั่นคงถาวรหรือเป็นเพียงแค่ชั่วคราวก็ตาม กระบวนการเกี่ยวกับการสร้างสรรค์เหล่านี้ นับว่าเป็นสิ่งซึ่งสำคัญเท่าๆกันกับการแสดงออกมาให้เห็นทางสายตาหรือทางรูปธรรมเลยทีเดียว กล่าวให้ง่ายก็คือ ศิลปะประเภทนี้เน้นที่กระบวนการทำ ไม่น้อยไปกว่าผลผลิตที่ปรากฏเป็นรูปร่างขึ้น
ปฏิบัติการต่างๆเกี่ยวกับกิจกรรมทางวัฒนธรรม โดยแบบฉบับแล้วมีลักษณะของความร่วมมือกันทำ สำหรับศิลปินที่ทำงานในแนวทางนี้ที่น่าสนใจ มีอยู่หลายคนด้วยกัน อาทิเช่น Suzanne Lacy, Mierle Laderman Ukeles, และ Peggy Diggs และยังมีผลงานศิลปะซึ่งเกี่ยวพันกับความพยายามในการร่วมมือของศิลปินสองคนหรือมากกว่านั้น
ถึงแม้ว่า the Guerrilla Girls และในเวลาเดียวกัน Gran Fury ชอบที่จะสร้างผลงาน และคงไม่ระบุชื่ออะไรเอาไว้ แต่อีกสี่กลุ่ม(โครงการ) - Group Material, The American Festival Project, WAC, และ the Artist and Homeless Collaborative - กลับมีการเลือกสรรสำหรับชื่อกลุ่มของตน ทั้งนี้เพื่อต้องการท้าทายต่อความนึกคิดของโลกศิลปะ เกี่ยวกับแหล่งต้นตอที่มาหรืออาชีพส่วนตัว, การแสดงออกส่วนตัว, และลัทธิของศิลปินซึ่งเป็นผู้สร้างงาน
บรรดาศิลปินจำนวนมากผู้ซึ่งทำงานในลักษณะร่วมมือกันในแนวนี้ บางครั้งก็ไปๆมาๆ บางทีก็รวมกลุ่มกันได้มากบ้างน้อยบ้าง ซึ่งความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นตลอดเวลา และบางครั้งก็มีความขัดแย้งกัน อย่างเช่น การเมืองต่างๆภายใน และความต้องการของสมาชิกบางคนที่จะดำเนินไปตามอาชีพของแต่ละคน ซึ่งสามารถเป็นปัจจัยต่างๆในการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของกลุ่มได้
ในอีกก้าวหนึ่งซึ่งพ้นไปจากเรื่องของอาชีพปัจเจก การร่วมมือกันทั้งห้า ซึ่งประกอบด้วย Avalos, Hock, Sisco, และผู้ร่วมงานของพวกเขาใน San Diego; the Guerrilla Girls; Gran Fury; Group Material; และ WAC ได้ใช้ประโยชน์เกี่ยวกับวิธีการทางเทคโนโลยี ซึ่งค่อนข้างจะไม่มีลักษณะที่เป็นส่วนตัวในฐานะที่เป็นรูปทรงซึ่งผลิตซ้ำขึ้นมาได้ อันเป็นผลมาจากการใช้เทคนิคต่างๆทางด้านสื่อ และการสื่อสารมวลชนเข้ามาปฏิบัติการ
Marshall Mcluhan อาจจะไม่ถูกต้องนักมากว่า
25 ปีแล้ว เมื่อเขาสังเกตว่า "ขณะที่เทคโนโลยีใหม่ๆได้เข้ามามีบทบาท ผู้คนถูกทำให้เชื่อมั่นน้อยลงๆเกี่ยวกับความสำคัญในการแสดงออกส่วนตัว"
สำหรับการทำงานกันเป็นทีม ได้รับช่วงความพยายามส่วนตัวอันนี้
เมื่อบรรดาศิลปินแนว activist ขยายขอบเขตวิธีการร่วมมือของพวกเขาเกี่ยวกับการทำงานไปสู่ผู้ชมหรือชุมชน
กระบวนการดังกล่าวจะมีการนำเอารูปแบบของกิจกรรมในลักษณะการทำงานร่วมกันมาใช้
นั่นคือ การมีส่วนร่วมของสาธารณชน การมีส่วนร่วมของสาธารณชนอันนี้จะเป็นตัวเร่งปฏิกริยาที่สำคัญอันหนึ่ง
มันคือแผนการหรือยุทธศาสตร์อันหนึ่งที่ไปกระตุ้นศักยภาพของทั้งปัจเจกชนและชุมชน
และใช้รูปแบบต่างๆมากมายเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
โครงการของบรรดาศิลปิน activist บ่อยครั้งได้ถูกนำไปผูกพันอย่างใกล้ชิดกับปัจเจกชนและองค์กรต่างๆในชุมชนในประเด็นสาธารณะหลายหลาก อย่างเช่น ศิลปินบางกลุ่ม เลือกที่จะเกี่ยวพันกับบรรดาตัวแทนรัฐบาลท้องถิ่น องค์กรต่างๆของชุมชน กลุ่มกิจกรรมอื่นๆ สหภาพแรงงาน องค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายทางด้านสิ่งแวดล้อม โบสถ์หรือวัด ฯลฯ
ผลของความผูกพันดังกล่าว ซึ่งบรรดาศิลปินหรือผู้มีอาชีพทางด้านศิลปะทั้งหลาย และแม้กระทั่งศิลปิน activist เอง ที่เข้าไปพัวพันอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น ได้ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ และได้ไปขยายฐานผู้ดูและฐานที่ให้การสนับสนุนต่อพวกเขากว้างขวางออกไป และในเชิงอุดมคติ วิธีการเช่นนี้ ได้ช่วยสนับสนุนให้โครงการนั้นๆมีผลกระทบต่อชุมชนเป้าหมายในระยะยาวด้วย
ในผลงานต่างๆที่กล่าวถึงอาณาเขต หรือปริมณฑลแห่งหนึ่งแห่งใดโดยเฉพาะ - อย่างเช่น กลุ่มจรจัดหญิงที่ไร้ที่อยู่อาศัย, นักเรียนมัธยมปลาย, ผู้หญิงแก่, สมาชิกสหภาพต่างๆ, การส่งเสริมสุขภาพของบรรดาคนงาน, บรรดาเหยื่อของความรุนแรงทางเพศ - เหล่านี้เป็นชุมชนที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งสามารถจะมีส่วนร่วมอยู่ในกิจกรรมต่างๆอันหลากหลายกับบรรดาศิลปินได้ โดยผ่านวิธีการหลายหลาก เช่น การสนทนา, ประวัติศาสตร์ที่เล่ากันมาปากต่อปาก, การแสดง, หรือเหตุการณ์ในลักษณะที่เป็นการแสดง(performative events), และการออกแบบในลักษณะที่เป็นการร่วมมือกันเกี่ยวกับการจัดทำโปสเตอร์เพื่อการรณรงค์, แผ่นป้ายขนาดใหญ่, และรูปแบบต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ผู้มีส่วนร่วมทั้งหลายอาจทำงานศิลปะต่างๆที่ค่อนข้างเป็นไปในลักษณะขนบประเพณีบางอย่างได้
เช่นดังในกรณีของโครงการที่เรียกว่า the Artist and Homeless Collaborative projects
เป็นต้น
ดังนั้นการมีส่วนร่วม บ่อยครั้ง จึงเป็นการกระทำอันหนึ่งของการแสดงออกของตัวตนหรือการเป็นตัวแทนของตัวตนโดยชุมชนเอง
ปัจเจกบุคคลทั้งหลายได้ถูกมอบอำนาจให้ โดยผ่านการแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์ดังกล่าว
เช่นดังที่พวกเขาได้มาซึ่งเสียงๆหนึ่ง, พวกเขาสร้างภาพที่สามารถมองเห็นได้และการรับรู้อันหนึ่งขึ้นมา
ซึ่งพวกเขาถือเป็นส่วนหนึ่งของทั้งหมดที่ใหญ่กว่า
ด้วยเหตุนี้ ลักษณะส่วนตัวจึงได้กลายเป็นประเด็นทางการเมือง และความเปลี่ยนแปลง แม้ว่าแรกเริ่มเดิมที มันจะเป็นเพียงเรื่องของชุมชนหรือสำนึกสาธารณะเท่านั้น แต่มันได้กลับกลายเป็นความเป็นไปได้ขึ้นมา โดยการมีส่วนร่วมกับ activist art ดังที่ Jeff Kelly เสนอว่า มันสามารถเป็น "กระบวนการการสนทนาพูดคุย ที่เปลี่ยนแปลงหรือแปรผันทั้งผู้ซึ่งมีส่วนร่วมและตัวศิลปินได้"
ข้าพเจ้าเลือกที่จะกล่าวถึงศิลปินทั้งหลายในแนวนี้ บนพื้นฐานของความยึดมั่นที่เหนียวแน่นมั่นคง ซื่อสัตย์ และมีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับงานทางด้านนี้อยู่เสมอ กับการที่พวกเขาได้ใช้แผนการณ์หรือยุทธศาสตร์ต่างๆอันเป็นรูปธรรม เช่นเดียวกับความสนใจของพวกเขา และในช่วงเวลานั้นที่มีความสัมพันธ์ที่ไม่ได้แยกออกจากโลกศิลปะ ถ้าหากว่าปัจจัยทางด้านเวลาและพื้นที่ไม่ได้มาเป็นตัวบงการความยาวของบทความ แน่นอน ศิลปินคนอื่นๆก็สามารถที่จะมีส่วนร่วมกับเพื่อนฝูงในที่นี้ได้เช่นกัน
แต่อย่างไรก็ตาม บรรดาศิลปินที่สนทนากันในที่นี้ เป็นแบบอย่างอันน่ายกย่องของปฏิบัติการทางวัฒนธรรมอันงอกงาม ซึ่งได้ลากดึงปัจจัยพื้นฐานต่างๆของวัฒนธรรมประชาชนและการเมือง, เทคโนโลยีและการสื่อสารมวลชน, และในงานศิลปะต่างๆอย่างเช่น Conceptualism และ Postmodernism จากทศวรรษที่ 1960s จนมาถึงช่วงปัจจุบัน
สำหรับรรดาศิลปินเหล่านี้ด้วยเช่นกัน พวกเขากำลังขยายขอบเขตในเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับพรมแดนต่างๆและผู้ชมของศิลปะให้กว้างขวางออกไป และให้นิยามใหม่ถึงบทบาทของศิลปิน ในกระบวนการดังกล่าว ดูเหมือนว่าพวกเขาได้เสนอว่า คำตอบที่เหมาะสมต่อคำถามที่ได้รับการกำหนดขึ้นมา โดยชื่อบทความในเชิงเหน็บแนมว่า But Is It Art? คือ; "But does it matter?
รากเหง้าศิลปะแนวกิจกรรมต่างๆในช่วงทศวรรษที่
1960s
Activist Roots in the 1960s
รูปแบบใหม่อันหนึ่งของ"การเมือง"กำลังปรากฎตัวขึ้นมา ในวิถีทางต่างๆซึ่งเรายังไม่ได้สังเกตเห็น
ห้องรับแขกหรือห้องนั่งเล่นได้กลายเป็นคูหาเลือกตั้ง การมีส่วนร่วมผ่านทางโทรทัศน์ในการเดินขบวนเพื่ออิสรภาพ
เดินขบวนเกี่ยวกับสงคราม การปฏิวัติ การต่อต้านมลภาวะเป็นพิษ และเหตุการณ์อื่นๆในทุกสิ่งทุกอย่างที่เปลี่ยนแปลง
คนรุ่นหนึ่งซึ่งเติบโตขึ้นมาในทศวรรษแห่งความลงรอยกันทางสังคม และสงครามเย็น - ที่ได้รับการสืบทอดความกลัวเกี่ยวกับ"ความเป็นอื่น"(the Other) ที่สุกงอมขึ้นมาในช่วง 1960s นอกเหนือไปจากความเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิมนุษยชน สงครามเวียดนาม ความเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาที่ขยายตัวขึ้น และการเผชิญหน้าทางวัฒนธรรมที่ปรากฏตัวขึ้นมา เหล่านี้ได้กลายมาเป็นการตั้งคำถามอันหนึ่งเกี่ยวกับอำนาจ, คุณค่าต่างๆ, และสถาบันทั้งหลายเกี่ยวกับ"การสถาปนา"ขึ้นมา
การพยากรณ์ของ McLuhan ที่ว่า การแพร่ขยายเกี่ยวกับเทคโนโลยีอีเล็คทรอนิค จะเพิ่มเติมการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม เป็นเรื่องที่กำลังจะได้รับการพิสูจน์หรือทดสอบ
การต่อต้านสงคราม, การมีเสรีภาพในการพูด, และการเคลื่อนไหวทางด้านสิ่งแวดล้อมได้ถือกำเนิดขึ้นมา รวมไปถึงความเคลื่อนไหวต่างๆ ทางด้านเพศ, เชื้อชาติ, และการเป็นอิสระของชนกลุ่มน้อย เมื่อการไม่มีสิทธิ์มีเสียง ได้เรียกร้องให้คนฟังหรือได้ยินมากขึ้น
จำนวนมากของการต่อต้านและไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง ได้ยึดครองรูปแบบของ activism เบื้องหลังฉากของการรวมตัวกันได้ถูกนำขึ้นมาถกเถียง โดยการแสดงออกของสาธารณชนในรูปลักษณ์ของการประท้วง คัดค้าน การเดินขบวนต่างๆ และวิธีการที่สร้างสรรค์อื่นๆอีกมากมาย อย่างเช่น การแสดงของ guerrilla theater และเหตุการณ์ต่างๆทางด้านสื่อ โดยเฉพาะที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อให้เกิดอาณาบริเวณที่นักกิจกรรมในยุคหลังๆ Abbie Hoffman อธิบายว่าเป็นเรื่องบน"ท้องถนน"(the street):
สำหรับชนชั้นกลางอเมริกัน ท้องถนนเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญอย่างสุดๆอันหนึ่ง เพราะว่าประสบการณ์ในการปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมทั้งหมดของคุณ ที่ถูกเทียมลากไปโดยรอบ มันพยายามที่จะเก็บคุณเอาไว้นอกถนน ความคิดอันนั้นต้องการจะเก็บทุกๆคนให้อยู่ในบ้านหรืออาคาร ดังนั้น เมื่อคุณได้ท้าทายพลังอำนาจต่างๆซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ คุณได้ค้นพบว่า ตัวของคุณเองนั้นอยู่บนขอบถนนของความเมินเฉย พิศวง: "ฉันควรจะเล่นบทบาทที่ปลอดภัย และรั้งรออยู่บนทางเดิน หรือฉันควรที่จะลงไปยังท้องถนนดีล่ะ ?"
และคนๆหนึ่งที่สัมผัสกับพื้นถนนเป็นคนแรก คนๆนั้นจะเป็นผู้นำ
คนที่กำลังเสี่ยงมากที่สุด ซึ่งจะมีผลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ข้าพเจ้าไม่ใช่เพียงพูดถึงท้องถนนในฐานะที่เป็นท้องถนนในเชิงกายภาพจริงๆเท่านั้น ท้องถนนที่กล่าวนี้ ยังเป็นสิ่งที่เราใช้เรียกเวลา"Prime Time"(หรือชั่วโมงสำคัญที่สุด)ด้วย เนื่องมาจากกระแสความนิยมในการชมรายการทางโทรทัศน์ที่มีต่อมวลชน นั่นเอง
นักกิจกรรมหรือบรรดา
activsts ทั้งหลายในช่วงปลายทศวรรษ 1960s
ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของขบวนการเคลื่อนไหวในเรื่องสิทธิมนุษยชนก่อนหน้านั้น
ซึ่งทศวรรษดังกล่าว สื่อประเภทข่าวสารได้ถูกนำมาเชื่อมต่อเพื่อประโยชน์ของพวกเขา
มันเป็นที่ชัดเจนว่า หนังสือพิมพ์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งโทรทัศน์ ไม่เพียงถ่ายทอดข่าวสารและภาพเท่านั้น
แต่มันยังเริ่มนำเอาการโต้เถียงสาธารณะเข้ามาด้วย และมันมีอิทธิพลอย่างสูงต่อความคิดเห็นของสาธารณชน
มันไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจอันใด ที่ผู้นำทางด้านสิทธิมนุษยชนเรียนรู้ที่จะแสดงความคิดเห็นบนเวทีและเผชิญหน้ากับสื่อ ดังที่นักวิจารณ์ภาพถ่าย Vicki Goldberg เสนอว่า "สิทธิมนุษยชนได้พิสูจน์ว่า ขอบเขตการรายงานของสื่อคือชะแลงงัดหรือไม้คานอันหนึ่ง ซึ่งสามารถขยับเขยื้อนเคลื่อนโลกของเราใบนี้ได้"
ในทศวรรษที่ 1960s และช่วงต้นของ 1970s กลุ่มการเมืองและกลุ่มต่อต้านทางวัฒนธรรมจำนวนหนึ่ง ต่างร่วมมือกันในรูปแบบอันหนึ่งของกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์อย่างสูง มันคือการแสดงออกที่รู้และเข้าใจในสื่อ ซึ่งได้กระทำการและสะท้อนถ่ายถึงปฏิบัติการต่างๆบางอย่างในท่ามกลางพวกเขา อันประกอบด้วยองค์กรเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม Greenpeace และพวกยิปปี้ (Yippies [Youth International Party) สมาคมคนหนุ่มสาวนานาชาติ]) นำโดย Abbie Hoffman
ถึงแม้ว่ากลุ่มต่างๆเหล่านี้จะไม่มีการเชื่อมต่อกับโลกศิลปะ และไม่จำต้องพิสูจน์ตัวเองในฐานะศิลปิน แต่การใช้ประโยชน์ในทางการสร้างสรรค์ของพวกเขาเกี่ยวกับภาพต่างๆซึ่งติดตั้งในลักษณะที่เป็นสาธารณะและเหตุการณ์ต่างๆที่เป็นการแสดง ที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อเรียกร้องความสนใจจากสื่อ อันนี้นำหน้ามาก่อนกิจกรรมของวิธีการในทำนองเดียวกันโดยบรรดาศิลปิน activist ทั้งหลาย
Hoffman ได้บุกเบิกกิจกรรมอันหนึ่งทางด้านยุทธวิธีเกี่ยวกับสื่อขึ้นมา ซึ่งได้ถูกให้ข้อมูลโดยวิสัยทัศน์ของ McLuhan เกี่ยวกับพลังอำนาจของ"สื่อสารมวลชน" โดยในช่วงทศวรรษที่ 1980s การเปลี่ยนแปลงยักย้ายและการจัดการทางด้านสื่อ กลายเป็นรูปลักษณ์แกนกลางอันหนึ่งของ activism ทั้งของพวกฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา
ประสบการณ์เกี่ยวกับสื่อ
Experiencing the Media
การจัดการเกี่ยวกับสื่อ - การใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการสื่อสาร และการใช้ภาพที่มองเห็นได้ซึ่งออกแบบขึ้นมาโดยเฉพาะสำหรับสื่อเพื่อการบริโภค
- ได้กลายมาเป็นสิ่งที่แพร่หลายในช่วงทศวรรษที่ 1980s และยังคงได้รับการสำรวจตรวจตราอยู่อย่างต่อเนื่องในทศวรรษที่
1990s ดังที่บรรดา activists ทั้งหลายได้เรียนรู้จากวิธีการอันเชี่ยวชาญของ Madison
Avenue, บริษัทอเมริกา, และทำเนียบขาว
"ขอบเขตที่ activism นั้นกระทำ กลายเป็นสิ่งซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับการสร้างสรรค์เกี่ยวกับภาพลักษณ์ที่อ่านได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ", Brian Wallis เขียนว่า "สไตล์ใหม่อันนี้เกี่ยวกับเรื่องการเมือง ซึ่งอาจได้รับการเรียกว่า "กิจกรรมทางวัฒนธรรม"(cultural activism) ซึ่งเขาได้นิยามว่าเป็น"การใช้ประโยชน์เกี่ยวกับวิธีการทางวัฒนธรรม ที่พยายามจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม"
ถึงแม้ว่า ส่วนใหญ่ของบรรดาศิลปินที่สาธยายถึงในบทความชิ้นนี้ จะรวมเอาโครงการ American Festival Project เข้าไปด้วย, แต่ Diggs, Ukeles, Lacy, Carole Conde และ Karl Beveridge, และ the Artist and Homeless Collaborative, ก็เป็นที่น่าจับตามอง กิจกรรมของศิลปินและโครงการเหล่านี้ ได้ให้ผู้คนในระดับรากหญ้าเข้ามามีส่วนร่วม โดยการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับสื่อในฐานะที่เป็นพาหะอันหนึ่งที่เกี่ยวพันกับสาธารณชน
บรรดาศิลปินและโครงการเหล่านี้ได้ท้าทาย และใช้การศึกษา เทคนิคต่างๆของสื่อสารมวลชน เพื่อเสริมส่งการนำเสนอข่าวสารข้อมูลต่างๆของพวกตน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วตั้งแต่ตอนต้น บรรดาศิลปิน activist artists จำลองหรือเลียนแบบรูปแบบต่างๆของขนบประเพณีเกี่ยวกับการโฆษณาในเชิงพาณิชย์ และการสื่อข่าวเพื่อส่งทอดข้อมูลข่าวสาร นำเสนอสาระในเชิง activist ซึ่งไม่ได้คาดหวังที่จะเผชิญหน้ากับพื้นที่ในเชิงพาณิชย์ อันที่จริง พวกเขาใช้พื้นที่ติดตั้งในทางพาณิชย์ที่เป็นสาธารณะ เพื่อประกันหรือรับรองผลงานของพวกเขาว่าจะถึงผู้ดูอย่างกว้างขวาง และหลากหลาย
ทั้งนี้โดยการใช้ภาพลักษณ์ต่างๆและข้อความที่ตรงไปตรงมาและมีพลัง บ่อยครั้ง มีการเล่นกับภาษาที่ผกผัน มีมุขตลก ข้อความที่มีนัยในเชิงเสียดสี(understatement) หรือการตั้งคำถาม และไม่บ่อยนักมีลักษณะของการสอนกันตรงๆ หรือมีลักษณะปลุกเร้า เพื่อสื่อสารไปถึงผู้ดู โดยบรรดาศิลปินทั้งหลายเหล่านี้ได้กระตุ้นสาธารณชน "ให้มีส่วนร่วมโดยผ่านการตีความ" ต่างๆ
ศิลปินบางคน และบางกลุ่ม,
รวมทั้ง Diggs, Group Material, the Artist and Homeless Collaborative, และ
Conde และ Beceridge, ได้รวมเอาปัจจัยต่างๆเกี่ยวกับกิจกรรมของพวกรากหญ้า(grassroots)กับเทคนิคต่างๆทางด้านสื่อเข้าไว้ด้วยกัน
ในกรณีดังกล่าว รูปแบบและเนื้อหาของโปสเตอร์ แผ่นป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ หรือการเล่าเรื่องด้วยภาพถ่าย
อาจได้รับการก่อรูปขึ้นมาโดยประชาชนซึ่งมีสิทธิ์ในการมีส่วนร่วม และในเวลาเดียวกันนั้น
มันก็ได้รับการตั้งเป้าหมายเอาไว้สำหรับผู้ดูในวงกว้างจำนวนมากด้วยเช่นกัน
ในปี 1976 ศิลปิน San Diego สองคนได้ดำเนินการเกี่ยวกับโครงการที่เรียกว่า first
cross-disciplinary project อันเป็นหนึ่งในโครงการต่างๆของพวกเขา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อวิพากษ์วิจารณ์และรื้อถอนนโยบายสาธารณะ
ในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวพันกับระบบชลประทานและระบบสิ่งแวดล้อมอื่นๆในสหรัฐอเมริกาและต่างประเทศ
ชิ้นงานของพวกเขา ประกอบด้วย
จิตรกรรมบนผนัง แผ่นป้ายขนาดใหญ่ การแสดงทางโทรทัศน์ และวิทยุ โปสเตอร์ และงานศิลปะแบบ
graffiti (ผลงานที่ใช้วิธีการพ่นหรือสเปรย์ภาพขึ้นมา) ซึ่งได้ตั้งคำถามถึงนโยบายต่างๆทางด้านชลประทาน
เกี่ยวกับการปันส่วนในเรื่องการใช้น้ำของแคลิฟอร์เนียทางตอนเหนือ
ช่วง 3 สัปดาห์ในเดือนพฤษภาคม 1977, ศิลปิน Los Angeles คนหนึ่งได้ร่วมมือกับองค์กรต่างๆมากมาย
และปัจเจกชนหลายคน เพื่อที่จะรวบรวมสรรค์สร้างงานศิลปะอันหลากหลายกว้างขวางชุดหนึ่ง
และเหตุการณ์ต่างๆที่ไม่ใช่ศิลปะ(nonart events)ขึ้นมาอย่างระมัดระวัง ซึ่งประกอบด้วย
การประชุมของฝูงชน, การแสดงต่างๆ, การสนทนา, การแสดงที่เป็นการปกป้องตนเอง, อาหารมื้อเที่ยง,
และการใช้ความเงียบ อันนำมาซึ่งความสนใจของสาธารณชน โดยเฉพาะประเด็นที่ซ่อนเร้นกันทั่วๆไปเกี่ยวกับเรื่องการข่มขืน
ในปี 1978 ได้มีกิจกรรมหนึ่งซึ่งเป็นการเชิญชวนศิลปินมาพำนักอยู่ในแผนกกรมอนามัยของเมืองนิวยอร์ค โดยไม่มีการจ่ายเงินเดือน (unsalaries artist-in-residence of New York City's Department of Sanitation) ซึ่งศิลปินได้มาสอนให้มีการเต้นรำ และการแสดงทางด้านการร่ายรำเป็นเวลาหนึ่งปี และเธอได้ไปจับมือกับคนที่ทำงานด้านการอนามัยในแต่ละเมืองจำนวนกว่า 8,500 คน
อันนี้ได้รับการออกแบบขึ้นมาเพื่อให้อำนาจบรรดาคนทำงาน และนำมาซึ่งความสนใจของสาธารณชน เพื่อเสริมส่งความสำคัญเกี่ยวกับงานดูแลรักษาทางด้านสุขภาพ ส่วนสำหรับพิธีการจับมือ (handshake ritual) อันเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่ใหญ่กว่านั้น ต้องใช้ระยะเวลาถึง 6 ปีทีเดียว
จะเห็นได้ว่า ศิลปะแนวกิจกรรมทั้งหลายเหล่านี้เป็นเรื่องการนำเอาวัฒนธรรมมารับใช้ประเด็นสาธารณะต่างๆ
ทั้งทางสังคมและการเมือง ซึ่งได้เริ่มทำกันมานานแล้วโดยศิลปินหลายคนและหลากหลายกลุ่ม
โดยการเข้าไปร่วมมือกับชุมชนและสังคม ทั้งในรูปโครงการและกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ
ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นและสนับสนุนให้ชุมชนมีสิทธิ์มีเสียง และเกิดการเปลี่ยนแปลงชุมชนและสังคมไปในทางที่ดีขึ้น
สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา
3
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
e-mail
: midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 450 เรื่อง หนากว่า 5000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา
120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่
midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง
จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
ปฏิบัติการที่ทำการสำรวจเกี่ยวกับศิลปะแนวกิจกรรม(activist art)ในที่นี้ ได้ถูกทำให้เป็นตัวอย่างโดยการใช้นวัตกรรมของพื้นที่สาธารณะ เพื่อพูดถึงประเด็นต่างๆเกี่ยวกับนัยสำคัญทางวัฒนธรรมสังคมการเมือง(sociopolitical significance) และกระตุ้นสนับสนุนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนและสาธารณชน ในฐานะที่เป็นวิธีการที่จะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
โครงการของบรรดาศิลปิน activist บ่อยครั้งได้ถูกนำไปผูกพันอย่างใกล้ชิดกับปัจเจกชนและองค์กรต่างๆในชุมชนในประเด็นสาธารณะหลายหลาก อย่างเช่น ศิลปินบางกลุ่ม เลือกที่จะเกี่ยวพันกับ องค์กรต่างๆของชุมชน กลุ่มกิจกรรมอื่นๆ สหภาพแรงงาน องค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายทางด้านสิ่งแวดล้อม โบสถ์หรือวัด ฯลฯ ผลของความผูกพันดังกล่าว ซึ่งบรรดาศิลปินหรือผู้มีอาชีพทางด้านศิลปะทั้งหลาย และแม้กระทั่งศิลปิน activist เอง ที่เข้าไปพัวพันอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น ได้ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ และได้ไปขยายฐานผู้ดูและฐานที่ให้การสนับสนุนต่อพวกเขากว้างขวางออกไป และในเชิงอุดมคติ วิธีการเช่นนี้ ได้ช่วยสนับสนุนให้โครงการนั้นๆมีผลกระทบต่อชุมชนเป้าหมายในระยะยาวด้วย
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 450 เรื่อง หนากว่า 5000 หน้า ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่
midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202
กรุณาส่งตั๋วแลกเงินไปยัง
สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
50202
อย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ
เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์