ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

R
relate topic
151147
release date

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 471 หัวเรื่อง
ความเป็นมาสถานภาพของผู้หญิง
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เชียงใหม่
The Midnight University

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณขาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 14119-26256 ครั้ง สำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม 47
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

แนวคิดสตรีนิยม
ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับสถานภาพของผู้หญิง
สมเกียรติ ตั้งนโม
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 471
หมายเหตุ : ผลงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความเรื่อง Feminist Art
เรียบเรียงเพื่อเป็นบทอ่านทางวิชาการเพื่อนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์
(บทความชิ้นนี้ยาวประมาณ 11 หน้ากระดาษ A4)




บทนำ
ในการสำรวจถึงสถานภาพของผู้หญิงตลอดช่วงของประวัติศาสตร์ อัตลักษณะร่วมกันบางประการได้ปรากฏตัวขึ้นมา สถานภาพของผู้หญิงได้ผันแปรไปกับเรื่องของชนชั้นและวัฒนธรรมต่างๆ ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ฐานะของผู้หญิงที่อยู่ในกลุ่มพวกที่เป็นผู้ดีชั้นสูง หรือพวกที่อยู่ในฐานะยากจนต่างก็มีอะไรบางอย่างเหมือนๆกัน กล่าวคือ พวกเธอต้องทำงานหนักและได้รับผลประโยชน์ทางสังคมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงก็มีความก้าวหน้ามากขึ้น ในช่วงระหว่างยุคสมัยของความเปลี่ยนแปลง แต่ความก้าวหน้าต่างๆเหล่านี้มักจะไม่ค่อยมั่นคงนัก ซึ่งในท้ายที่สุด, สิ่งที่เป็นที่รู้จักเกี่ยวกับผู้หญิงนั้น บ่อยครั้งได้ถูกวางรากฐานอยู่บนบันทึกต่างๆและความคิดของผู้ชาย

1. สถานภาพของผู้หญิงในยุคกรีกและโรมันโบราณ
สถานภาพของผู้หญิงในโลกตะวันตกได้รับการก่อรูปก่อร่างขึ้นมาโดยความคิดของกรีกและโรมัน และโดยขนบประเพณีทางศาสนายิวและคริสตศาสนา

ในโลกคลาสสิคของกรีกและโรมัน ผู้ชายที่เป็นพลเมืองที่มีภาระรับผิดชอบต่อสังคมและสาธารณะ ส่วนผู้หญิงนั้นเป็นบุคคลที่ต้องทำหน้าที่ดูแลพวกเด็กๆและจัดการในเรื่องครอบครัว ในวัฒนธรรมทั้งสองนี้ ผู้หญิงที่มีฐานะยากจนจะต้องแสวงหาหนทางที่จะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว และในครอบครัวชาวนา ผู้หญิงจะต้องทำงานในไร่นา แต่อย่างไรก็ตาม, มีความแตกต่างอย่างสำคัญในการดำรงอยู่ระหว่างสองสังคมอันนี้ในเรื่องความเป็นอยู่ของพลเมืองผู้หญิง

ในเอเธนส์, ผู้หญิงได้ถูกพิจารณาว่าต้อยต่ำกว่าผู้ชาย แม้ว่าเพลโตจะอ้างเหตุผลว่า ผู้หญิงที่มีความสามารถหรือฉลาดหลักแหลมส่วนใหญ่ ควรจะได้รับการฝึกฝนและได้รับการศึกษาเพื่อที่จะเป็นผู้นำ แต่ทัศนะซึ่งมีอยู่ทั่วไปกลับเดินตามความเชื่อของอริสโตเติลที่ว่า ผู้หญิงควรจะมีลักษณะยอมจำนนหรือเป็นฝ่ายที่ถูกกระทำ(passive) ว่านอนสอนง่าย, เชื่อฟัง, และไม่มีปากมีเสียง

ตามอุดมคติแล้ว, ผู้หญิงจะทิ้งบ้านของตนออกมาได้ก็แต่เพียงเพื่อที่จะไปร่วมงานศพและไปร่วมพิธีเฉลิมฉลองที่เกี่ยวกับศาสนาบางอย่างเท่านั้น ส่วนในทางกฎหมายแล้ว ผู้หญิงไม่มีสิทธิควบคุมเหนือทรัพย์สมบัติที่พวกเธอได้รับมรดกหรือเป็นของตนเอง โดยปกติภรรยาทั้งหลายจะได้รับการศึกษาน้อยกว่าสามีและที่สำคัญก็คือจะอายุน้อยกว่าสามี ผู้ซึ่งเป็นผู้เลือกพวกเธอมาเป็นภรรยาของพวกเขา ผู้หญิงมีสิทธิอันชอบธรรมอันหนึ่งในเรื่องดอกผลเกี่ยวกับสินเดิมของตน(ในฐานะแม่หม้าย)ถ้ามีการหย่าร้าง และพวกเธอจะได้รับความเป็นอิสระบางอย่างโดยอายุ

ตลอดช่วงเวลาในยุคสมัยโรมัน ผู้หญิงได้รับสิทธิอันชอบธรรมที่จะเกี่ยวข้องกับหน้าที่ต่างๆทางสังคม และมีสิทธิที่จะดำเนินธุรกิจและเรื่องส่วนตัวของพวกเธอ แต่ทั้งหมดนั้น ผู้หญิงที่ยากจนมากๆจะได้รับการศึกษาอย่างเป็นทางการที่มีจัดไว้ให้บางอย่าง และผู้หญิงที่เป็นคนชั้นสูงจะให้การศึกษากับลูกๆของตนเอง แม้ว่าพวกเธอจะไม่มีสิทธิทางการเมืองต่างๆ แต่ผู้หญิงบางคนมีอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองค่อนข้างมาก

โสเภณีเป็นสิ่งที่ธรรมดาร่วมกันในสังคมกรีกและโรมัน โสเภณีต่างๆมีข้อจำกัดต่างๆน้อยกว่าพวกที่เป็นภรรยา และมีการเสนอว่าผู้หญิงโรมันบางคน เป็นไปได้ที่จะขึ้นทะเบียนเป็นโสเภณีเพื่อที่จะได้รับอิสรภาพ ประสบการณ์ของทาสที่เป็นผู้หญิงเปลี่ยนแปลงไปอย่างน่าสังเกต ทาสผู้หญิงบางคนสนิทสนมกับผู้เป็นเจ้าของพวกเธอ ส่วนบางคนได้รับค่าแรงสำหรับงานที่พวกเธอทำ, อันนี้แตกต่างไปจากเพื่อนๆของพวกเธอเพียงป้ายฉลาก แต่กระนั้นก็มีบางคนที่ถูกตักตวงผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและตักตวงผลประโยชน์ทางเพศด้วย

2. สถานภาพของผู้หญิงในสังคมชาวยิว และสังคมชาวคริสต์ในช่วงต้น
ผู้หญิงในขนบประเพณีของสังคมชาวยิวถูกมองว่าเป็นภรรยาและแม่ ในทางอุดมคติพวกเธอจะมีหน้าที่ในการจัดการในเรื่องครอบครัว เพื่อเพิ่มความอุดมสมบรูณ์และเสริมคุณค่าต่างๆขึ้นมา พวกเธอสามารถที่จะรับช่วงสืบทอดทรัพย์สมบัติได้ แต่การทำนิติกรรมหรือสัญญาข้อตกลงใดๆของพวกเธอไม่ได้รับการยินยอมให้มีโดยพ่อหรือสามีของพวกเธอ ผู้หญิงจะต้องรับผิดชอบสำหรับการฝึกฝนเรื่องทางศาสนาของพวกเด็กๆ แต่ก็ไม่มีบทบาททางศาสนาในที่สาธารณะใดๆ

การมีสามีหรือภรรยาหลายคนและการหย่าร้างได้รับการอนุญาต ทั้งผู้ชายและผู้หญิงจะถูกลงโทษสำหรับการมีชู้ แต่ผู้หญิงจะถูกลงโทษรุนแรงกว่าเสมอ ผู้หญิงที่มีประจำเดือนจะถูกกันออกไปเพราะถือว่าไม่สะอาด โดยทั่วไปแล้ว ผู้ชายจะไม่พูดคุยกับผู้หญิงซึ่งมิได้เป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวของพวกเขา แต่อย่างไรก็ตาม ในบางโอกาส ผู้หญิงก็เป็นผู้นำ และผู้หญิงที่เป็นภรรยาก็ได้รับการเคารพนับถือ

ตามหลักคำสอนของศาสนาคริสต์ ทั้งให้การยกย่องและตำหนิประณามผู้หญิงในเรื่องเกี่ยวกับบาปของอาดัมและอีฟ จนเสียความบริสุทธ์และต้องถูกขับออกมาจากสวนอีเดน(Adam's fall) องค์พระเยซูเจ้าได้ชักชวนทั้งผู้หญิงและผู้ชายให้มาเป็นสานุศิษย์ของพระองค์

เซนส์.พอลแห่งธาร์ซัสยอมรับผู้หญิงในฐานะที่เป็นผู้นำทางด้านจิตวิญญาน แต่ท่านก็สอนว่า ผู้หญิงควรเป็นรองสามีของพวกเธอและไม่ควรเทศนาสั่งสอน. ในศาสนาคริสต์แม้ว่าผู้หญิง ในทางจิตวิญญานจะเท่าเทียมกันกับชาย แต่ในทางปฏิบัติพวกเธอกลับเป็นฝ่ายที่ต่ำต้อยและกระทั่งเป็นแหล่งต้นตอแห่งบาปกรรมมากกว่า ด้วยเหตุนี้ ความบริสุทธิ์ อันดับแรกสุดนั้นจึงสนับสนุนให้มีโอกาสอันหนึ่งในการรับใช้ศาสนาจักร ซึ่งเป็นวิธีการอันหนึ่งของการหลีกเลี่ยงบาป และในกรณีของพวกผู้ชาย ให้หลีกเลี่ยงไกลห่างจากผู้หญิง

3. สถานภาพของผู้หญิงสมัยกลาง
ศาสนาคริสต์เปิดช่องให้ผู้หญิงด้วยทางเลือกที่ยอมรับกันอันหนึ่งในเรื่องการเข้ามาร่วมเป็นชุมชนต่างๆทางศาสนา แรกเริ่มเดิมที กลุ่มที่ไม่เป็นทางการทั้งหลายจะชุมนุมอยู่รอบๆผู้นำคนหนึ่ง ในคริสตศตววรษที่ 6 ชุมชนต่างๆเหล่านี้ได้กลายเป็นโครงสร้างของสถาบัน บ่อยครั้งมันได้รับการสถาปนาขึ้นและได้รับการสนับสนุนจากสถาบันกษัตริย์

ชุมชนต่างๆทางศาสนาจักร์ให้โอกาสอันหนึ่งกับผู้หญิง ที่จะเรียนรู้และดำรงอยู่อย่างปลอดภัยในชีวิตท่ามกลางความวุ่นวายสับสนของยุคกลาง บรรดาผู้ที่เป็นหัวหน้าของแม่ชีจำนวนมาก มักจะเป็นบุคคลที่มาจากครอบครัวชนชั้นสูง ซึ่งได้กลายเป็นพลเมืองที่สำคัญเช่นเดียวกับผู้นำทางศาสนาคนอื่นๆ

ขณะที่จักรวรรดิ์โรมันกำลังล่มสลาย สถานภาพของผู้หญิงได้ตกต่ำลงไป ในบรรดารัฐเล็กๆของยุโรปตะวันตก ผู้หญิงมีสิทธิต่างๆทางด้านกฎหมายแต่เพียงเล็กๆน้อยๆ และนอกเหนือไปจากศาสนาจักร์ พวกเธอไม่มีโอกาสในเรื่องการศึกษา แต่อย่างไรก็ตาม กลียุคและสงครามต่างๆในยุคสมัยกลางได้ทอดทิ้งผู้หญิงให้ต้องเป็นผู้รับผิดชอบสำหรับครอบครัวและเรื่องในบ้าน และผู้หญิงบางคน เริ่มที่จะเซ็นสัญญาทำข้อตกลงต่างๆและปรากฏตัวขึ้นในศาล

4. สถานภาพของผู้หญิงในสมัยเรอเนสซองค์ ถึงคริศตศตวรรษที่ 18
ในช่วงเริ่มต้นคริสตศตวรรษที่ 15 ผู้หญิงในโลกตะวันตกได้รับสิทธิต่างๆทางกฎหมายและอิสรภาพอย่างช้าๆ ในหลายต่อหลายตัวอย่าง ความจำเป็นได้บีบบังคับผู้หญิงให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพวกเธอ ถัดจากนั้น ท่าทีหรือทัศนคติและกฎหมายต่างๆก็ยอมรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

น่าจะเป็นเพียงชนกลุ่มน้อยในหมู่ผู้หญิง ที่เข้าคู่กันได้กับอุดมคติทางสังคมของความเป็นแม่และภรรยาที่น่านับถือ ผู้หญิงส่วนใหญ่มีฐานะที่เป็นแม่ แต่ผู้หญิงยากจนเป็นจำนวนมากเช่นกันน่าจะไม่ได้แต่งงาน กฎหมายและระบบสังคมส่วนใหญ่ ที่ผูกพันกับเรื่องการเป็นชู้และการกระทำผิดกฎหมาย เสนอว่า แม้ในท่ามกลางผู้คนที่ร่ำรวย ความน่าเคารพเลื่อมใสของผู้หญิงที่แต่งงานแล้วจะต้องไม่ถูกทึกทักเอาว่าเป็นเช่นนั้น (หมายความว่าอย่าทึกทักเอาเองว่า ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วจะไม่ทำผิดศีลธรรม) กฎหมายและทัศนคติต่างๆให้การสนับสนุนมาตราฐานการมีผัวเดียวเมียเดียวเท่านั้นที่เป็นคู่ชีวิตกัน

ผู้หญิงเช่นเดียวกันกับผู้ชาย ต่างก็มีส่วนในการเรียนรู้ในยุคเรอเนสซองค์ : การเรียนในสมัยดังกล่าว ถูกถือว่ามันได้ช่วยนำไปสู่คุณความดีและความบริสุทธิ์ ผู้หญิงที่มีการศึกษา อย่างเช่น Isabella แห่งสเปน และ Elizabeth ที่ 1 แห่งอังกฤษได้รับการตัดสินว่าเป็นผู้นำที่โดดเด่นโดยฐานะและต่ำแหน่งของพระองค์และโดยประวัติศาสตร์ แต่กระนั้น ผู้หญิงก็ยังคงถูกพิจารณาว่าต่ำต้อย และการแพร่หลายทางการศึกษาและอำนาจยังคงคับแคบอยู่และเป็นของผู้ชาย

การค้า อุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงต่างๆในด้านเกษตรกรรมได้ดูดดึงเอาประชาชนมาสู่เมือง กฎหมายได้จำกัดสิทธิของผู้หญิง แต่ผู้หญิงเป็นจำนวนมากในด้านการค้าก็ได้มีการเซ็นสัญญาต่างๆ และจัดการในเรื่องของทรัพย์สิน และกระทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นตัวแทนของพวกเธอเอง

ความขาดแคลนไม่เพียงพอในด้านกำลังงานในช่วงแรกของการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีผลต่อการกดดันที่ตั้งข้อจำกัดในเรื่องงานของผู้หญิง กฎหมายต่างๆและกฎข้อบังคับสมาคมอาชีพปฏิเสธผู้หญิงให้เข้ามาสู่โปรแกรมต่างๆเกี่ยวกับการฝึกงาน อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงได้เบียดเสียดยัดเยียดเข้ามาสู่การเติบโตของสังคมเมืองต่างๆ

ผู้หญิงซึ่งเป็นชนชั้นกลางสามารถที่จะถอนตัวจากพลังบีบคั้นของแรงงาน แต่ผู้หญิงที่ยากจนกลับถูกบีบคั้นให้ยอมรับเงื่อนไขเกี่ยวกับการทำงานที่หยาบและได้รับค่าจ้างต่ำเพื่อการอยู่รอด พวกผู้หญิงที่ยังเด็กดำรงชีวิตอยู่โดยตัวของพวกเธอเอง แต่บรรดาผู้หญิงที่มีอายุกลับต้องรับผิดชอบกับพวกลูกๆของพวกเธอ ในทวีปยุโรปถัวเฉลี่ยของวัยแต่งงานได้สูงขึ้นจาก 21 ปีไปสู่ระดับอายุ 25-28 ปีในช่วงขณะนั้น ผู้หญิงที่เป็นอิสระซึ่งยังเป็นโสด แม่หม้าย หรือผู้หญิงที่ถูกทอดทิ้ง เสี่ยงต่อการมีชีวิตที่จะผลักดันไปสู่ความตายในฐานะที่เป็นแม่มด.

ทั้งๆที่มีอุปสรรคต่างๆมากมาย การศึกษาที่แผ่ขยายกว้างออกไป ในบางส่วนเนื่องมาจากว่า นิกายโปรเตสแตนท์บางนิกายถือว่า ทุกๆคนควรที่จะสามารถอ่านพระคัมภีร์ไบเบิลได้ การอพยพโยกย้ายไปสู่อาณานิคมต่างๆสามารถที่จะให้อิสรภาพดั้งเดิมได้ แต่ก็ยังพัวพันกับภยันตรายอันยิ่งใหญ่อยู่ ในเวลาเดียวกัน ผู้หญิงในอังกฤษและที่อื่นๆได้เข้ามาร่วมกับเส้นทางต่างๆทางการเมือง พวกเธอยังได้เข้ามามีส่วนพัวพันกับศาสนาต่างๆที่ไม่ลงรอยกันกับของเดิม และความเคลื่อนไหวทางสังคมอื่นๆด้วย

การได้รับสิทธิ์
ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 17 เป็นช่วงโอกาสหนึ่งของผู้หญิง ซึ่งบ่อยครั้งเป็นผู้หญิงที่ไม่ได้แต่งงานที่ได้เรียกร้องเกี่ยวกับสิทธิของผู้หญิงในด้านการศึกษาและความเป็นผู้หญิงคนหนึ่งที่ควรมีส่วนในผลประโยชน์ต่างๆของสังคม แต่อย่างไรก็ตาม ไม่จนกระทั่งช่วงปลายของคริสตศตวรรษที่ 18 ที่ผู้หญิงเริ่มจะรวมตัวอยู่รอบๆปัญหาต่างๆของพวกเธอ ในช่วงระหว่างนั้น Rouseau และพวกโรแมนติคทั้งหลายได้ยกภาพของผู้หญิงขึ้นมา ในฐานะที่เป็นพวกที่เปราะบาง แตกหักง่าย ควรอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน, และต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น

ในปี ค.ศ.1839 กฎหมายเกี่ยวกับการดูแลทารกในอังกฤษ ได้ยินยอมให้ผู้หญิงที่แยกทางกับสามีหรือหย่าร้างเป็นผู้ดูแลเด็กที่อายุต่ำกว่า 7 ขวบ การปฏิรูปเรื่องการหย่าร้างได้ตามมาในช่วงปี 1857 ถัดจากนั้นการปกป้องทรัพย์สมบัติของพวกผู้หญิงก็เป็นกฎหมายติดตามมาในช่วงทศวรรษ 1870s.

ในสหรัฐอเมริกา มีความพยายามที่จะขยายโอกาสทางการศึกษาของผู้หญิงให้มากขึ้น ซึ่งต่อมาได้ประสบความสำเร็จโดยการรณรงค์ให้มีการปฏิรูปทางกฎหมาย การเคลื่อนไหวในกลุ่มผู้หญิงในเรื่องการให้สิทธิในการออกเสียงได้ติดตามมาอีก

ในทวีปยุโรปทางตอนเหนือ ในช่วงระหว่างนั้น ผู้หญิงได้รวมตัวกันอยู่รอบๆประเด็นปัญหาเกี่ยวกับความสนใจในเรื่องความเป็นแม่ที่ไม่ได้แต่งงาน. ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1920s ผู้หญิงในยุโรปตอนเหนือ รวมทั้งอังกฤษและในสหรัฐอเมริกามีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง และอย่างน้อยที่สุด ผู้หญิงส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาในขั้นประถม

5. สถานภาพของสตรีในส่วนอื่นๆของโลก
ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของผู้หญิง ที่พ้นไปจากสังคมตะวันตกเป็นที่รู้กันน้อยมาก ประวัติศาสตร์และขนบธรรมเนียมที่เล่าต่อๆกันมากล่าวถึงผู้นำต่างๆที่เป็นผู้หญิง

ในจักรวรรดิ์ Byzantine และในอินเดีย เป็นตัวอย่าง ขนบประเพณีอื่นๆได้ชี้ถึงบทบาทต่างๆของผู้หญิงและความชำนิชำนาญ ; บ้างก็เสนอว่าบทบาทของผู้หญิง ถ้ามิใช่ในฐานะปัจเจกบุคคลผู้ซึ่งเติบโตขึ้นมา ต่างก็ได้รับการเคารพนับถือ ส่วนใหญ่ในโลกของผู้หญิงคือคนที่ทำงานเช่นเดียวกับการเลี้ยงดูเด็กๆ บ่อยครั้ง การมีสัมพันธ์ติดต่อกับตะวันตกได้เพิ่มภาระต่างๆของพวกเธอมากยิ่งขึ้น

ผู้ปกครองอาณานิคมชาวตะวันตกไม่เพียงรังเกียจผู้คนท้องถิ่นและขนบธรรมเนียมต่างๆเท่านั้น ชนชั้นปกครองพวกนี้ยังล้มเหลวที่จะยอมรับผู้หญิงและกิจกรรมต่างๆของพวกเธอด้วย. ผู้หญิงชาวแอฟริกันที่เป็นชาวนาต้องสูญเสียสิทธิในที่ดินทำกินของตนลงไป เมื่อกฎหมายที่ได้รับแรงบันดาลใจจากชาวยุโรป เรียกร้องให้โฉนดที่ดินจะต้องมีชื่อของเจ้าของที่ดินที่เป็นผู้ชายเท่านั้น

ช่องว่างทางด้านการศึกษาระหว่างผู้หญิงและผู้ชายขยายกว้างมากขึ้น ขณะที่เด็กผู้ชายได้รับการศึกษาในระบบที่จำลองมาจากแบบฉบับของตะวันตก แต่ผู้หญิงกลับมิได้รับการศึกษาแต่อย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อันนี้เป็นความจริงในกลุ่มประเทศอิสลาม ที่ที่ขนบธรรมเนียมเรียกร้องว่า ผู้หญิงทั้งหลายจะต้องได้รับการจำกัดอยู่กับการดูแลครอบครัว

คณะกรรมการขององค์การสหประชาชาติ ที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องสถานภาพของผู้หญิงได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี 1948 ซึ่งได้เริ่มวางแผนสำหรับปีสตรีสากลขึ้น(International Women's Year - IWY; 1975) พร้อมกันนั้นได้จัดให้มีปีทศวรรษเพื่อผู้หญิงขององค์การสหประชาชาติด้วย(1975-1985) และได้มีการจัดประชุมขึ้นมา 3 ครั้งในระหว่างช่วงทศวรรษดังกล่าว ครั้งแรกจัดที่ Maxico City ในปี 1975, ครั้งที่สองจัดขึ้นที่ Copenhagen ในปี 1980, และครั้งที่สามจัดขึ้นที่ Nairobi ในปี 1985. IWY ถือเป็นตัวแทนความพยายามขึ้นมาครั้งแรกในโลกที่จะยกระดับสถานภาพของสตรีขึ้นมา

6. สถานภาพของผู้หญิงในปัจจุบัน (contemporary status of women)

ก. สหรัฐอเมริกา การตัดสินใจของพรรคเดโมแครทที่จะยกเอาสตรีผู้หนึ่งขึ้นมาในฐานะเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งรองประธานาธิบดีในปี 1984 เป็นเครื่องบ่งชี้อันหนึ่งเกี่ยวกับการปรับปรุงสถานภาพของผู้หญิงขึ้นในสหรัฐอเมริกา การเคลื่อนไหวมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานในฐานะพรรคกรรมกร ผู้หญิงค่อยๆเริ่มที่จะได้รับตำแหน่งต่างๆที่มีอิทธิพลทางการเมืองขึ้น จำนวนของผู้หญิงในสำนักงานและที่ทำการสาธารณะได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าในช่วงระหว่างปี 1973-1984

ก.1. ความก้าวหน้าทางกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงในเรื่องสถานภาพทางการเมืองของผู้หญิง ได้ถูกทำให้ไปด้วยกันกับการเปลี่ยนแปลงในขอบเขตอื่นๆ แม้ว่าจะไม่มีการแปรญัตติในเรื่องสิทธิที่เท่าเทียมกัน แต่ผู้หญิงก็ได้รับสิทธิในทางกฎหมายหลายประการด้วยกัน นับแต่ต้นปีทศวรรษที่ 1970s, คำวินิจฉัยของศาลสูงแห่งสหรัฐที่มีพื้นฐานอยู่บนหลักรัฐธรรมนูญ ได้ห้ามให้มีการแบ่งแยกทางเพศในส่วนของรัฐบาล เว้นแต่เมื่อเป็นเรื่องภารกิจที่มีเป้าหมายต่างๆที่สำคัญกับรัฐบาล

ข้อวินิจฉัยต่างๆของศาลยังสอดคล้องไปด้วยกันกับการออกกฎหมาย ที่ให้ผู้หญิงมีสิทธิมากขึ้นในผลประโยชน์ และความรับผิดชอบต่างๆต่อสังคมและสาธารณชนมากขึ้น การปฏิรูปกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องของภาษี ได้มีการขจัดภาษีต่างๆที่เกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินและภาษีเกี่ยวกับของที่ให้โดยความสมัครใจ โดยการโยกย้ายทรัพย์สมบัติระหว่างคู่สามีภรรยา

กล่าวคือเรื่องนี้ได้รับการทึกทักเอาเองมาตลอดจนกระทั่งปีทศวรรษ 1970s ที่ว่า ทรัพย์สินซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นชื่อของสามีเป็นผลลัพธ์ของความพยายามต่างๆของสามีเพียงลำพังคนเดียวเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ภรรยาทั้งหลายจึงจ่ายภาษีเกี่ยวกับทรัพย์สินสูงกว่าสามีของพวกเธอ

การปฏิรูปกฎหมายที่ประกาศออกมาเมื่อปี 1976 อนุญาตให้แม่บ้านทั้งหลายสามารถปลดภาระส่วนตัวนั้นได้ และเพื่อเตรียมการในเรื่องเกี่ยวกับการขอลดหย่อนภาษี เพื่อนำไปใช้ในการเลี้ยงดูลูกๆของพวกเธอ ต่อมาภายหลังได้มีการออกกฎหมายคุ้มครองเรื่องบำนาญและสิทธิความมั่นคงทางสังคมของผู้หญิงออกมาอีก ซึ่งผลประโยชน์ของพวกเธอถูกวางอยู่บนพื้นฐานการได้มาซึ่งรายได้ของคู่สามีของพวกเธอ แต่อย่างไรก็ตาม ตลอดชีวิตของพวกแม่บ้าน มิได้รับการคุ้มครองโดยตรงโดยกฎหมายความมั่นคงทางสังคม

มีการเรียกร้องให้คว่ำกฎหมายต่างๆที่ระบุให้ผู้หญิงต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในภูมิลำเนาของสามี และการเรียกร้องดังกล่าวก็ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้คำวินิจฉัยของศาลยังสนับสนุนให้ผู้หญิงยังคงใช้ชื่อของตัวเธอเองได้ภายหลังที่แต่งงานแล้ว

ก.2. การจ้างงาน การออกกฎหมาย, การปลุกปั่น, การกำหนดกฎเกณฑ์ให้มีความแน่นอน ได้ช่วยปลดเปลื้องอุปสรรคต่างๆจำนวนมากมายเกี่ยวกับการจ้างงานในส่วนที่เป็นแรงงานหญิงไปได้มาก แม้ว่าจะไม่ทั้งหมด มีกฎหมายหลายฉบับออกมาในลักษณะที่ช่วยทำให้เกิดการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมระหว่างคนงานชายและคนงานหญิง

การแปรญัตติต่างๆเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาในปี 1976 และกฎหมายการมีส่วนในการฝึกงานปี 1982 ทำให้ผู้หญิงมีโอกาสแข่งขันในงานที่ไม่ใช่เคยทำๆกันตามประเพณี การรวมกันอันหนึ่งของการออกกฎหมายและคำวินิจฉัยของศาล ห้ามให้มีการแบ่งแยกการทำงานอันเนื่องมาจากการตั้งครรภ์ และช่วยปกป้องความมั่นคงในการทำงานของคนงานหญิง เมื่อพวกเธอจำเป็นต้องลาหยุดอันเนื่องมาจากการตั้งครรภ์ และยังได้ขจัดสิ่งที่ไม่สัมพันธ์กันกับงานที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะด้วย

จากสถิติต่างๆได้เปิดเผยว่า ผู้หญิงเป็นจำนวนมากได้รับประโยชน์เกี่ยวกับโอกาสต่างๆที่เป็นไปได้มากขึ้น เปอร์เซนต์ของผู้หญิงที่เป็นนักกฎหมาย, นักเศรษฐศาสตร์, ผู้หญิงที่ทำงานไปรษรีย์, และช่างกล อย่างน้อยที่สุดเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวในช่วงระหว่างปี 1975-1985

ทั้งๆที่มีความก้าวหน้าดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม, 3 ใน 4 ของผู้หญิงทั้งหมดในพลังการผลิตในงานที่ผู้หญิงครอบครองอยู่ มีการจ่ายค่าแรงต่ำ, เช่น งานบริการ, งานในหน้าที่เสมียนบริหารสำนักงาน และพนักงานขายต่างๆ เหตุผลสำหรับความไม่ลงรอยกันอันนี้มีอยู่มากมาย บ่อยครั้ง ผู้หญิงได้รับการตัดสินโดยบรรทัดฐานที่เข้มงวดและน่ารำคาญ ถ้าพวกเธอย้ายไปสู่หน้าที่หรือบทบาทใหม่ๆ ผู้หญิงยังคงไม่ได้ถูกรับเข้าไปในโปรแกรมการฝึกงานอย่างเต็มที่ในหลายๆด้าน. ในเดือนกรกฎาคม 1982 กรมแรงงานสหรัฐรายงานว่า มีผู้หญิงเพียง 6 % เท่านั้นที่ลงทะเบียนฝึกงาน

ก.3. การศึกษาและการวิจัย โอกาสทางการศึกษาของผู้หญิงในสหรัฐอเมริกาได้ขยายตัวออกไปอย่างค่อนข้างมาก. ในปี 1981, ผู้หญิงได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลในส่วนที่เกี่ยวกับการศึกษาในระดับปริญญาตรีต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมด และได้เงินช่วยเหลือด้านการศึกษาในระดับปริญญาโทครึ่งหนึ่งของทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงได้รับเงินอุดหนุนเพียง 31.1% ของทั้งหมดในระดับปริญญาเอก และ 25.2% ของทั้งหมดในการศึกษาทางด้านวิชาชีพ

ความแตกต่างอย่างสำคัญอันนี้ ดำรงอยู่ระหว่างช่วงการศึกษาระดับมัธยมทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ด้วยในกลุ่มเด็กผู้ชายและผู้หญิง ความแตกต่างเหล่านี้ คล้ายกันกับสิ่งที่มีอยู่ท่ามกลางผู้หญิงและผู้ชายในโปรกแกรมการฝึกงานต่างๆ ซึ่งจะเป็นข้อจำกัดต่อมาในอนาคตเกี่ยวกับการจ้างงานสำหรับเด็กผู้หญิงที่มีศักยภาพ

คำถามต่างๆได้ถูกยกขึ้นมาโดยบรรดานักเรียกร้องสิทธิสตรี(feminists) และนักวิจัยต่างๆ ที่มีความสนใจเกี่ยวกับงานวิชาการในกลุ่มนักเรียกร้องสิทธิสตรี ซึ่งได้กระตุ้นการพัฒนาและการเจริญเติบโตเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องของผู้หญิง จากการเฝ้าดูด้วยความสงสัยเป็นอย่างมาก เมื่อมีการนำเสนอขึ้นมาเป็นครั้งแรก ขอบเขตการศึกษาเรื่องของผู้หญิง กลายเป็นพื้นที่ทางการศึกษาในลักษณะที่เป็นสหวิทยาการอย่างน่าสนใจในหลายๆมหาวิทยาลัย

ขณะที่ผู้หญิงได้รับสถานภาพขึ้นมา พวกเธอได้มีอิทธิพลต่อการวิจัย โดยการเน้นความสำคัญเกี่ยวกับเพศในฐานะที่เป็นประเภทหนึ่งในข้อมูลที่จัดเป็นตาราง ความแตกต่างในทางการแพทย์, จิตวิทยา, และพัฒนาการระหว่างผู้ชายและผู้หญิง, ก่อนหน้านี้ได้เคยถูกเมินเฉยและอธิบายเสมอถึงข้อเสียเปรียบของผู้หญิง มาถึงตอนนี้ได้รับการตรวจสอบอย่างระมัดระวังและเอาใจใส่

ทั้งๆที่ได้มีการศึกษาและวิจัยที่ทำขึ้นโดยผู้หญิง แต่อุปสรรคกีดขวางก็ยังคงมีอยู่ การค้นพบทางการวิจัยใหม่ๆได้ถูกรวบรวมเป็นหลักสูตรต่างๆอย่างค่อนข้างเชื่องช้าเอามากๆ บทบาททางเพศ(sex-role) ที่มีลักษณะเป็นทัศนคติแบบตายตัว(stereotype) ยังคงมีอิทธิพลต่อการให้คำแนะนำในเรื่องการเรียนและอาชีพการงานที่ให้กับบรรดาเยาวชนอยู่ การแบ่งแยกอย่างละเอียดอ่อนเป็นอย่างเดียวกันกับทัศนคติทางสังคมที่เป็นไปในเชิงลบ และขาดเสียซึ่งตัวอย่างของผู้ที่มีบทบาทซึ่งประสบความสำเร็จ และการเตรียมตัวที่ไม่มากพอก็กลายมาเป็นอุปสรรคกีดขวางของผู้หญิงที่จะเข้าไปสู่ขอบเขตวิชาการ อย่างเช่น ทางด้านวิศวกรรมและธุรกิจ

ก.4. บทบาทต่างๆทางด้านครอบครัว บทบาทต่างๆทางด้านครอบครัวกำลังเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน แม้ว่าอัตราของการเปลี่ยนแปลงจะช้ากว่าก็ตาม ขนาดของครอบครัวที่เล็กลง ได้ช่วยให้เกิดความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ถัวเฉลี่ยของผู้หญิงชาวอเมริกันในวัยที่เข้าสู่การแต่งงานเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือเพิ่มขึ้นเป็นอายุ 22. นอกจากนี้วัยถัวเฉลี่ยของการมีลูกคนแรกของผู้หญิงเป็นจำนวนมาก ก็เพิ่มขึ้นเป็นหลังอายุ 30 ปีไปแล้ว ในเวลาเดียวกันนั้น ผู้หญิงก็กำลังแสวงหาเพื่อที่จะประสานความสัมพันธ์ระหว่างขนบประเพณี และความเสมอภาคเข้าด้วยกัน ในหนทางที่สนับสนุนทั้งทางด้านที่มีต่อผู้หญิงและครอบครัว

ผู้ชายอเมริกันสมัยใหม่ โดยปกติแล้วจะแบ่งปันในการเลี้ยงดูพวกเด็กๆและแบ่งเบางานบ้านอย่างอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานต่างๆได้บ่งชี้ว่า การดูแลเด็กๆของพวกผู้ชายมีแนวโน้มไปในเชิงเป็นกิจกรรมที่สร้างความพึงพอใจ และสนุกสนานมากกว่า อย่างเช่น เป็นการพักผ่อน

การช่วยเหลือต่างๆของสามีในเรื่องงานบ้าน ปกติแล้วไม่ได้ไปด้วยกันกับภรรยา แม้ว่าทั้งคู่จะทำงานนอกบ้านก็ตาม ผู้หญิงถึงจะทำงานนอกบ้าน แต่ก็จะปรับสมดุลย์เรื่องทางด้านเศรษฐิกจให้น้อยกว่าเรื่องงานบ้าน โดยอันดับแรก พวกเธอมีความรับผิดชอบต่อความราบรื่นเกี่ยวกับงานในบ้านมาก่อนสิ่งอื่นใด ผลที่ตามมาก็คือ งานที่ทำตลอดวันของผู้หญิงจึงมีแนวโน้มยาวนานมากกว่าของผู้ชาย

ก.5. ความรุนแรงและความยากจน ในท่ามกลางตัวบ่งชี้เชิงบวกเกี่ยวกับสถานภาพของผู้หญิงที่ขยับตัวสูงขึ้นนั้น มีสิ่งที่เป็นไปในเชิงลบอยู่ 2 ประการด้วยกัน นั่นคือ

ประการแรก เกี่ยวกับเรื่องของความรุนแรงที่มีต่อผู้หญิง และรวมทั้งการข่มขืนกระทำชำเราและการทำร้ายภรรยา ซึ่งมีสูงขึ้นเรื่อยๆตามลำดับ

ประการที่สอง ปัญหาเรื่องความยากจนในหมู่ผู้หญิงก็นับว่าเป็นประเด็นปัญหาอีกอันหนึ่ง ครอบครัวเดี่ยว ซึ่งมีแม่หรือพ่อเพียงคนเดียว(single-parent)เป็นหัวหน้าครอบครัว โดยเฉพาะผู้หญิงเป็นหัวหน้าครอบครัวได้เพิ่มขึ้นจาก 10.8 % ไปสู่ 18.8 % ของครอบครัวทั้งหมดในช่วงระหว่างปี 1970-1981 ผู้หญิงที่เป็นหัวหน้าครอบครัว หากจะนับแล้ว มากกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมดเป็นครอบครัวที่ยากจนในปี 1981 และถึงแม้ว่าความคืบหน้าต่างๆที่ทำให้เกิดการคุ้มครองปกป้องเรื่องเงินช่วยเหลือ และสิทธิในความมั่นคงปลอดภัยทางสังคมของผู้หญิง แต่ผู้หญิงมากกว่าผู้ชายที่มีอายุเกิน 65 ปีขึ้นไป มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์มาตราฐานความยากจน

ข. สถานภาพของผู้หญิงในประเทศต่างๆของยุโรป
ประเทศในแถบสแกนดิเนเวียได้ให้การสนับสนุนเป็นอย่างมากในเรื่องสถานภาพของผู้หญิง อย่างเช่นกฎหมายต่างๆเป็นต้น ที่อนุญาตให้ผู้เป็นบิดาลาหยุดได้เช่นเดียวกับผู้เป็นมารดา แต่อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงต่างๆในบทบาทตามประเพณี ยังคงเป็นไปอย่างเชื่องช้า

ในส่วนอื่นๆของยุโรปตะวันตก ผู้หญิงอันดับแรกนั้น เป็นผู้ดูแลบ้านและทำหน้าที่เป็นแม่. ผู้หญิงในพลังการผลิต โดยปกติแล้วได้รับค่าแรงน้อยกว่าผู้ชาย. อุตสาหกรรมต่างๆในภาคชนบท เสนองานให้ผู้หญิงมากกว่าด้วยโอกาสที่พวกเธอจะได้มีรายได้เข้ามา แต่ปฏิบัติการเช่นนี้ได้นำไปสู่ปัญหาต่างๆมากมายเกี่ยวกับการตักตวงแรงงานจากผู้หญิงเพิ่มมากขึ้น

ในยุโรปตะวันออก นโยบายทางการอันหนึ่งที่เกี่ยวกับความเสมอภาคได้ถูกทำให้ขัดแย้งกันในเชิงปฏิบัติ โดยปกติแล้ว ผู้หญิงที่อยู่ในภาคการผลิตเต็มเวลาไม่ได้รับการช่วยเหลือในเรื่องงานบ้านเลยจากสามีของพวกเธอ เครื่องมือที่ช่วยแบ่งเบาแรงงาน(Labor-saving appliance)มีอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเดินดูและซื้อสินค้าต้องเสียเวลามาก

ค. สถานภาพของผู้หญิงในประเทศที่กำลังพัฒนา
ในปัจจุบันนี้ ผู้หญิงในประเทศที่พัฒนาแล้วได้มีสถานภาพใกล้เคียงกันกับผู้ชาย แม้ว่าผลประโยชน์ที่ได้รับของพวกเธอจะไม่มั่นคงก็ตาม. ในทางตรงข้าม ผู้หญิงส่วนใหญ่ในประเทศที่กำลังพัฒนายังคงถูกพิจารณาว่ามีฐานะที่ต้อยต่ำ และถูกปฏิเสธจากผลประโยชน์ทางสังคมต่างๆเป็นจำนวนมาก

ผู้หญิงที่เป็นพวกชนชั้นสูงที่ได้รับการศึกษาจะครอบครองฐานะและตำแหน่งอันมีเกียรติและมีสถานภาพทางสังคม ส่วนผู้หญิงที่ยากจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงในภาคชนบท ได้รับการจำกัดวงโดยทัศนคติต่างๆทางด้านขนบธรรมเนียมและโครงสร้างต่างๆของสังคม. แม้ว่าโอกาสต่างๆทางการศึกษาเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ แต่อุปสรรคกีดขวางที่มาจากความรับผิดชอบในน้องชายหรือน้องสาวที่ยังเยาว์อยู่ของตน กับความกลัวในเรื่องที่ไม่ดีจากการเรียนการสอน ได้ขัดขวางเด็กผู้หญิงจากการไปโรงเรียน การศึกษาที่เป็นการฝึกงานและไม่เป็นทางการกำลังทำให้ผู้หญิงยากจนสามารถเพิ่มสถานภาพทางด้านครอบครัวของพวกเธอมากขึ้น โดยผ่านรายได้ที่เพิ่มขึ้น

ในโลกกว้างที่มีการเกี่ยวพันกันกับการพัฒนาทางด้านสังคมเศรษฐกิจ เริ่มขึ้นในปีทศวรรษ 1950s ได้เพ่งความสนใจบางอย่างลงไปที่บทบาทของผู้หญิงในกระบวนการพัฒนา ผู้หญิงต้องรับภาระความไม่ได้สัดส่วนในกระบวนการอันนี้ ถึงแม้ว่าผู้หญิงจำนวนมากมายในประเทศที่กำลังพัฒนาจะเป็นผู้ใช้แรงงานในภาคชนบท แต่การเจริญเติบโตในด้านจำนวนของผู้หญิงอันนี้ ได้มารวมตัวกันอยู่ในโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า, ตุ๊กตา, และเครื่องใช้ไม้สอยภายในบ้าน เช่นเดียวกันกับอุตสาหกรรมสิ่งทอต่างๆ

ผู้หญิงชนบทขาดหรือสูญเสียระบบสนับสนุนทางขนบธรรมเนียมประเพณี เช่นเดียวกับที่พวกผู้ชายที่อพยพเข้าไปในเมือง และบ่อยครั้ง พวกเธอได้ถูกปฏิเสธการเข้าไปสู่แหล่งทรัพยากรใหม่ๆ คนงานต่างๆในภาคอุตสาหกรรมได้รับการว่าจ้างในช่วงกลางของการเป็นวัยรุ่น ต้องทำงานภายใต้เงื่อนไขที่เป็นผลเสียต่างๆ และต้องสูญเสียงานของพวกเธอไปเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยกลางของอายุ 20s (หมายถึงอายุระหว่าง 20-30 ปี) กำลังที่ถดถอยน้อยลงของผู้หญิงเหล่านี้ได้ถูกปันส่วนไปโดยผู้หญิงและเด็ก ที่ซึ่งเป็นส่วนประกอบของกองทัพที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นของผู้ลี้ภัย

เรียบเรียงจาก
1. Esther W. Hymer. United Nations Observer, United Church Women.
2. Mary P. Burke. Author of "Reaching for Justice: The Women's Movement
3. The Encyclopedia Americana : Volume 29 (p.103-112)

 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 450 เรื่อง หนากว่า 5000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

H
ภาพประกอบบทความเรื่อง "ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับสถานภาพของผู้หญิง" เรียบเรียงขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของการแนะนำเรื่องศิลปะแนวสตรีนิยม - feminist art

ในเอเธนส์, ผู้หญิงได้ถูกพิจารณาว่าต้อยต่ำกว่าผู้ชาย แม้ว่าเพลโตจะอ้างเหตุผลว่า ผู้หญิงที่มีความสามารถหรือฉลาดหลักแหลมส่วนใหญ่ ควรจะได้รับการฝึกฝนและได้รับการศึกษาเพื่อที่จะเป็นผู้นำ แต่ทัศนะซึ่งมีอยู่ทั่วไปกลับเดินตามความเชื่อของ
อริสโตเติลที่ว่า ผู้หญิงควรจะมีลักษณะยอมจำนนหรือเป็นฝ่ายที่ถูกกระทำ(passive) ว่านอนสอนง่าย, เชื่อฟัง, และไม่มีปากมีเสียง

ผู้ปกครองอาณานิคมชาวตะวันตกไม่เพียงรังเกียจผู้คนท้องถิ่นและขนบธรรมเนียมต่างๆเท่านั้น ชนชั้นปกครองพวกนี้ยังล้มเหลวที่จะยอมรับผู้หญิงและกิจกรรมต่างๆของพวกเธอด้วย. ผู้หญิงชาวแอฟริกันที่เป็นชาวนาต้องสูญเสียสิทธิในที่ดินทำกินของตนลงไป เมื่อกฎหมายที่ได้รับแรงบันดาลใจจากชาวยุโรป เรียกร้องให้โฉนดที่ดินจะต้องมีชื่อของเจ้าของที่ดินที่เป็นผู้ชายเท่านั้น ช่องว่างทางด้านการศึกษาระหว่างผู้หญิงและผู้ชายขยายกว้างมากขึ้น ขณะที่เด็กผู้ชายได้รับการศึกษาในระบบที่จำลองมาจากแบบฉบับของตะวันตก แต่ผู้หญิงกลับมิได้รับการศึกษาแต่อย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อันนี้เป็นความจริงในกลุ่มประเทศอิสลาม ที่ที่ขนบธรรมเนียมเรียกร้องว่า ผู้หญิงทั้งหลายจะต้องได้รับการจำกัดอยู่กับการดูแลครอบครัว

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 450 เรื่อง หนากว่า 5000 หน้า ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่
midnightuniv(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202

กรุณาส่งตั๋วแลกเงินไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50202
อย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์