ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซค์ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

R
relate topic
121147
release date

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 470 หัวเรื่อง
ตุลาการกับนโยบายสาธารณะ
พิเชษฐ เมาลานนท์ และคณะ
นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนีกาตะ
ประเทศญี่ปุ่น
The Midnight University

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณขาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 14119-26256 ครั้ง สำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม 47
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

ความรู้เกี่ยวกับ Judicial Activism
ตุลาการในฐานะผู้กำหนดนโยบายสาธารณะ
พิเชษฐ เมาลานนท์
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนีกาตะ ประเทศญี่ปุ่น

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 470
หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ บนเว็ปไซท์ของ ม.เที่ยงคืน เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
ชื่อเดิมของบทความ : ตุลาการตีความก้าวหน้า
(บทความชิ้นนี้ยาวประมาณ 7 หน้ากระดาษ A4)




ตุลาการตีความก้าวหน้า
(Judicial Activism)

พิเชษฐ เมาลานนท์ *คณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยนีกาตะ, ญี่ปุ่น
กับ นิลุบล ชัยอิทธิพรวงศ์ และพรทิพย์ อภิสิทธิวาสนา
นักวิจัยทุนมูลนิธินิปปอนเพื่อปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเซีย
("API Fellowships," The Nippon Foundation Fellowships for Asian Public Intellectuals)
ณ คณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยนีกาตะ, ญี่ปุ่น

นโยบายสาธารณะว่าด้วยความเป็นธรรมทางสังคม (The Public Policy on Social Justice) เป็นเรื่องสำคัญต่อสังคมไทยในปัจจุบัน จึงมีความพยายามจัดตั้ง "กลุ่มศึกษาบทบาทกระบวนการยุติธรรมไทย ในนโยบายสาธารณะเรื่องสิทธิมนุษยชน และความยากจน" หรือ "The Roles of the Thai Justice Administration regarding the Public Policy on Human Rights & Poverty: A Study Group" (ย่อว่า "กยท" หรือ "TJA")

กระบวนการยุติธรรม ที่สำคัญประการหนึ่ง ได้แก่ "สถาบันตุลาการ" เพราะมีอำนาจชี้ขาดในขั้นสุดท้าย

"โจทย์" จึงมีอยู่ว่า: ตุลาการ มีอำนาจตัดสินคดี ชี้นำ & กำหนดนโยบายสังคมได้เพียงใด? (Is the judiciary empowered to decide cases in the manner to dictate or establish a social policy?)

เอกสารแผ่นนี้ จะเสนอคำตอบว่า "ตุลาการวางนโยบายสังคมได้" ภายใต้ชื่อทางวิชาการว่า ตุลาการตีความก้าวหน้า เรียกในภาษาอังกฤษว่า "Judicial Activism" หรือภาษาญี่ปุ่นว่า "Shiho Sekkyoku-shugi" (อ่านว่า "ชิโฮ-เซ็คเคียวคุ-ซูงิ")

1. ตุลาการไทยและการร่วม "เขยื้อนภูเขา"
อ.ประเวศ วะสี เปรียบเปรยไว้ว่า ปัญหาสิทธิมนุษยชน และความยากจน เป็นปัญหาที่ใหญ่ดัง "ภูเขา" ที่เราจำต้องหาวิธี "เขยื้อน" ออกไปให้ได้

การตอบคำถามนี้ ต้องมี วิชาการ" เข้ามาเสริม และเป็น "โจทย์" ที่หลายชาติ ต่างขบคิดมาแล้ว ดังฝรั่งเขาเรียกว่า เป็นแนวคิด "Judicial Activism" และขอแปลเป็นไทย ให้เข้าใจง่ายๆ ว่า "ตุลาการตีความก้าวหน้า"

เอกสารนี้จะเสนอข้อมูล "Judicial Activism" เปรียบเทียบใน 11 ประเทศ จากหนังสือ Kenneth M.Holland (ed.), Judicial Activism in Comparative Perspective, UK: Macmillian, 1991

2. "Judicial Activism" คืออะไร
"ตุลาการตีความก้าวหน้า" หมายความถึง กรณีที่ศาลท่านไม่ต้องการถูกจำกัดบทบาทพิพากษาคดี เพียงเท่าที่ถูกขีดเส้นไว้ ให้ตีความตามตัวบท แต่หาญกล้าพิพากษาคดี ชี้นำ & กำหนดนโยบายสังคม (Social Policy) เพราะท่านเชื่อว่า การตัดสินคดีเช่นนี้ จะมีส่วนช่วยสร้างความเป็นธรรมทางสังคม (Social Justice) ได้ยิ่งกว่าพันธนาการ ตามตัวบท

ระดับแห่ง Activism (ความก้าวหน้า) อาจวัดได้จากอัตราความยิ่งใหญ่ ใน Social Policy ที่ท่านกำหนด ในคำพิพากษา

ตุลาการต้นตำหรับ Judicial Activism ได้แก่ ผู้พิพากษาในสหรัฐอเมริกา ที่ตัดสินคดีวาง Social Policy มาแล้วเป็นอันมาก เช่น พิพากษากำหนดเป็นนโยบายสังคม ให้โรงเรียน และที่ทำงาน ต้องยอมรับคนเชื้อชาติ และคนผิวสีอื่น เข้ามาปะปนร่วมกับคนผิวขาว เป็นต้น

ถ้าผู้พิพากษาท่านใด หาญกล้าพิพากษาคดีตีความ "ก้าวข้าม" กฎหมาย เพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสังคม (Social Justice) แล้ว ก็ถือว่า ผู้พิพากษาท่านนั้น ท่านตีความ "ก้าวหน้า" ยึดแนวทาง Judicial Activism คือ กล้าชี้นำนโยบายสังคม (Social Policy)

3. ข้อเสีย และข้อดีของ Judicial Activism
ฝ่ายตำหนิ Judicial Activism กล่าวว่า การที่ศาลเข้ามาวางนโยบายสาธารณะ (Public Policy) เช่นนี้ เท่ากับศาลตั้งตัวเป็นรัฐบาลเสียเอง ซึ่งเป็นสิ่งไม่ชอบ

ฝ่ายนี้แย้งว่า ระบอบเสรีประชาธิปไตย กำหนดให้รัฐบาลมีอำนาจวางนโยบาย เพราะถ้าประชาชนไม่พอใจนโยบายรัฐบาล ประชาชนย่อมเลือกพรรคอื่นมาบริหารแทนได้
ส่วนผู้พิพากษามิได้เข้ามาจากเลือกตั้ง แต่มีตำแหน่งตลอดชีวิต เพราะประธานาธิบดีแต่งตั้ง และวุฒิสภารับรอง

แต่ฝ่ายสนับสนุน Judicial Activism กล่าวว่า ศาลที่ยึดความเป็นธรรมทางสังคม (Social Justice) เหนือสิ่งอื่นใด ย่อมเป็นที่พึ่งของคนยากไร้ และชนกลุ่มน้อย ฯลฯ ศาลเช่นนี้ มีความสำคัญ เพื่อรักษาประโยชน์มหาชน ให้พ้นจากผู้ปกครองที่ทุศีล & ไร้ธรรมะ

4. Judicial Activism ดีต่อไทยเช่นไรหรือ
Judicial Activism ดีต่อไทย และชาติใดๆ ที่ชาวประชายังทุกข์ยาก ขาดที่พึ่ง โดยเฉพาะเมื่อสถาบันรัฐสภา และรัฐบาล ไม่เป็นที่พึ่ง เช่น กรณีรัฐบาลเผด็จการทางรัฐสภา หรือรัฐสภาชักช้าอืดอาด ออกกฎหมายเพื่อคนบางกลุ่ม ไม่มุ่งประโยชน์ส่วนรวม เป็นต้น

ในประชาชาติเช่นนี้ ย่อมหวังไม่ได้ว่า กฎหมายที่ออกโดยรัฐสภา และนโยบายสังคมที่ออกโดยรัฐบาล (คือ "Law & Policy") จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมทางสังคม (Social Justice) เมื่อ Law & Policy ไม่เป็นที่พึ่งเสียแล้ว ย่อมเหลือแต่สถาบันศาล (Judiciary) ที่อาจเป็นที่พึ่งได้บ้าง

ในประชาชาติเช่นนี้ ชาวบ้านย่อมหวังว่า สถาบันศาลจะเป็นป้อมปราการ ให้แก่ชาวประชาที่ทุกข์ยาก โดยตัดสินคดีชี้นำไปสู่ความเป็นธรรมทางสังคม กรณีเช่นนี้ ศาลต้องไม่จำกัดบทบาท พิพากษาคดีเพียงเท่าที่ถูกขีดเส้นไว้ ให้ตีความตามตัวบท เพราะจะไม่อาจสร้าง "Social Justice" ขึ้นมาได้

ในสังคมเช่นนี้ แม้ศาลจะต้องมีบทบาทเป็น Policy Maker ก็จำเป็น

แน่นอน ถ้า "ขวาตกขอบ" เข้ามาเป็นศาล การให้ศาลเป็น Policy Maker ก็ย่อมเสี่ยง .... แต่นั่นเป็นสิ่งที่มวลประชา และสื่อมวลชน ต้องร่วมควบคุม

ประเด็นสำคัญของ Judicial Activism จึงอยู่ที่ Degree of Activism หรือ "ระดับแห่งความก้าวหน้า" ว่าเพียงใด จึงจะพอเหมาะพอสม กับสภาพสังคมขณะนั้นๆ

ข้อสำคัญก็คือ .... ตุลาการผู้ยึดแนวทาง Judicial Activism ต้องชี้แจงว่าการ "ตีความข้ามตัวบท" เช่นนั้น ทำไปเพื่อผลประโยชน์มหาชน (Public Interests) ความเป็นธรรมทางสังคม (Social Justice) เช่นไร

5. Judicial Activism เปรียบเทียบใน 11 ประเทศ
กฎหมายของชาติต่างๆในโลก แยกเป็น ๒ ระบบใหญ่ๆ คือ Common Law System (ตามแนวอังกฤษ สหรัฐฯ)) กับ Civil Law System (ตามแนวเยอรมนี ฝรั่งเศส) เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ใช้ Common Law System ส่วนญี่ปุ่น & ไทย ใช้ Civil Law System เป็นต้น

ส่วนชาติอดีตสังคมนิยม ก็ใช้ระบบที่ใกล้ไปในด้าน Civil Law System

การวิจัย 11 ชาติเปรียบเทียบกัน ทำให้เราทราบว่า ทั้งศาลในประเทศที่ใช้ระบบ Common Law และ Civil Law ต่างยึดถือ Judicial Activism ในความ "ก้าวหน้า" ระดับต่างๆกัน ดังข้อความข้างล่างนี้

ระดับแห่งความ "ก้าวหน้า" ของ Judicial Activism ทั้ง ๑๑ ชาติ
ประเทศ"ก้าวหน้า" สูงสุด ไล่เรียงไปตามลำดับ ๑. สหรัฐอเมริกา ๒. แคนาดา
๓. ออสเตรเลีย ๔. เยอรมนี ๕. อิตาลี ๖. อิสราเอล ๗. ญี่ปุ่น ๘. ฝรั่งเศส ๙. อังกฤษ
๑๐. สวีเดน ๑๑. สหภาพโซเวียต ("ก้าวหน้า" ต่ำสุด )

6. ระดับ Judicial Activism ในศาลระบบ Common Law
1. สหรัฐฯ 2. แคนาดา 3. ออสเตรเลีย 4. อิสราเอล 5. อังกฤษ

7. ระดับ Judicial Activism ในศาลระบบ Civil Law
1. เยอรมนี 2. อิตาลี 3. ญี่ปุ่น 4. ฝรั่งเศส 5. สวีเดน

8. Common Law หรือ Civil Law ก็ไม่เกี่ยว
ข้อความข้างบนนี้ แสดงว่าทั้งศาลในประเทศที่ใช้ระบบ Common Law และ Civil Law ต่างยึดแนวทาง Judicial Activism ในความ "ก้าวหน้า" ระดับต่างๆกัน

Judicial Activism เกิดครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา และเติบโตในระดับ "ก้าวหน้า" สูงสุด ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศในระบบ Common Law ตรงนี้เอง ที่เรามักได้ยินนักกฎหมายไทยบางท่าน จะแย้งออกมาอย่างมักง่าย โดยไม่ศึกษาวิจัยว่า อะไรที่มาจากระบบ Common Law ต้องใช้กับไทยไม่ได้เสมอไป เพราะไทยเป็นชาติในระบบ Civil Law ความจริงแล้ว แม้แต่ศาลที่เยอรมนี & ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นต้นตำรับของ Civil Law ก็ยังยึดแนวทาง Judicial Activism

9. Judicial Activism เกิดในไทยได้หรือไม่
ขณะนี้ไม่มีใครตอบได้ชัด เพราะเรายังไม่ได้วิจัยในเรื่องนี้ แต่ควรเลิกเสีย ที่จะพูดตีขลุมว่า อะไรๆ จากระบบ Common Law นั้น ไทยก็จะรับมาใช้ไม่ได้เสมอไป เพียงเพราะว่า "ไทยอยู่ในระบบ Civil Law" แต่ถ้าตั้งใจวิจัยให้ดี เราอาจประหลาดใจ ในข้อเท็จจริงที่ว่า: มีผู้พิพากษาไทยไม่น้อย ที่ตัดสินคดีชี้นำ & กำหนดนโยบายสังคม (Social Policy) ในแนว Judicial Activism อยู่แล้ว …

… และอาจตอบคำถาม ชัดเจนได้ยิ่งขึ้นว่า: ตุลาการไทยร่วม "เขยื้อนภูเขา" แห่งความยากจน & ไร้สิทธิมนุษยชน อยู่เพียงใด ?

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
คดีตัวอย่าง Judicial Activism ในญี่ปุ่น *
จาก Yamazaki Koshi, "Landmark Human Rights Case Law in Japan" ("ตุลาการญี่ปุ่น ตัดสินอย่างไร ในคดีเด่นสิทธิมนุษยชน") - - - ยามาซะคิ โคชิ เป็น ศจ. กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ที่มหาวิทยาลัย
นีกาตะ ในญี่ปุ่น (Niigata Law School, Niigata University, Japan)

คดีตัวอย่าง 1: คดีโรคเรื้อน
ข้อเท็จจริง: กฎหมายป้องกันโรคเรื้อนของญี่ปุ่น (Leprosy Preventive Law) ถูกบังคับใช้มาราว 90 ปี (1907-1996) ด้วยอำนาจแห่งกฎหมายนี้ รัฐบาลกลางญี่ปุ่นได้ออกนโยบายว่า ผู้ติดโรคเรื้อน (เรียกในญี่ปุ่นว่า Hansen Disease) จะต้องถูกกักบริเวณในเรือนคนไข้ ไม่ให้พบปะกับสาธารณชน เรียกว่าเป็น "นโยบายสาธารณะการกักบริเวณคนโรคเรื้อน" (The Public Policy on the Quarantine of Leprosy Patient)

เมื่อปี 1998 อดีตคนไข้โรคเรื้อน 127 คน ได้เป็นโจทย์ฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดคุมาโมโตะ (Kumamoto District Court) ทางใต้ของญี่ปุ่น เรียกค่าเสียหายคนละ 115 ล้านเยน (ราว 43.7 ล้านบาท) จากการที่ถูกรัฐบาลญี่ปุ่นกักบริเวณเป็นเวลาหลายสิบปี

ประเด็น: (1) กฎหมาย & นโยบายของญี่ปุ่น ในการป้องกันโรคเรื้อน (Leprosy Prevention Law & Policy) ละเมิดสิทธิมนุษยชน & ขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ (2) ใครต้องรับผิดชอบ

คำตัดสิน: ในวันที่ 11 พ.ค. 2001 ศาลจังหวัดคุมาโมโตะ (Kumamoto District Court) ได้ตัดสินคดีนี้ว่า นโยบายของรัฐบาลกลางญี่ปุ่น ในการกักบริเวณคนโรคเรื้อน เป็นสิ่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ (Unconstitutional) คำพิพากษาของศาลจังหวัดคุมาโมโตะ ระบุว่า

(1) รัฐสภาญี่ปุ่น (Diet) มีความผิด ที่ปล่อยกฎหมาย "ไร้สิทธิมนุษยชน" เช่นนี้ออกมา
(2) รัฐบาล (โดยกระทรวงสาธารณสุข) มีความผิด ที่ไม่หาทางแก้กฎหมายให้เร็วกว่านั้น แต่ปล่อยมา จนกระทั่งปี 1996

ในปี 1960 องค์การอนามัยโลกประกาศว่า การแพทย์ในโลก ก้าวหน้าจนไม่ต้องกักบริเวณผู้ป่วยโรคเรื้อน อีกต่อไปแล้ว … ศาลท่านตำหนิว่า ข้าราชการ & นักการเมืองญี่ปุ่น ต่างมีอวิชชา ไม่ค้นคว้าติดตามวิชาการ

เหตุนี้ ศาลจึงสั่งให้รัฐบาลกลางญี่ปุ่น จ่ายค่าสินไหมทดแทน 1.82 พันล้านเยน หรือ 14.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 585 ล้านบาท) ให้อดีตคนไข้โรคเรื้อน 127 คน และ … รัฐบาลชุดนายโคอิซุมิ ตัดสินใจไม่อุทธรณ์คำพิพากษานี้

ศาลวางนโยบายสังคมอย่างไร: คดีนี้ ศาลญี่ปุ่นกำหนดเป็น Social Policy ว่า
(1) รัฐสภาต้องออกกฎหมายที่ให้ความเคารพต่อสิทธิมนุษยชน
(2) รัฐบาลมีหน้าที่ต้องเสนอแก้กฎหมายใดๆ ที่ไร้สิทธิมนุษยชน โดยเร็ว

คดีตัวอย่าง 2: คดีเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ
ข้อเท็จจริง: Ms.Ana Bortz เป็นผู้สื่อข่าวชาวบราซิล และเป็นผู้ประกาศข่าวภาษาปอร์ตุเกส ประจำ IPC Network Corp.

เมื่อเดือน มิย.1998 Ms.Ana Bortz เดินเข้าไปในร้านพลอยในญี่ปุ่น ขณะกำลังดูสินค้า เจ้าของร้านได้เข้ามาถามเธอว่า มีสัญชาติใด เมื่อเธอกล่าวว่าเป็นชาวบราซิล เจ้าของร้านได้แจ้งว่า ห้ามชาวต่างชาติไม่ให้เข้าร้าน และชี้ให้ดูป้ายที่เขียนห้ามไว้ พร้อมทั้งให้ดูคำเตือนของตำรวจญี่ปุ่น เรื่องให้ระวังชาวต่างชาติ ที่จะเข้ามาขโมยของ

Ms.Bortz ได้คัดค้านอย่างรุนแรง ที่เจ้าของร้านเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ และเรียกร้องให้ทำหนังสือขอขมา แต่เจ้าของร้านปฏิเสธ เธอจึงฟ้องเป็นคดีต่อศาลจังหวัดชิซึโอขะ (Shizuoka District Court) ด้วยข้อหาเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ซึ่งญี่ปุ่นได้ร่วมให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาในเรื่องนี้ มาตั้งแต่ปี 1995 แล้ว

ประเด็น:
(1) เจ้าของร้านเพชร เลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติตามข้อกล่าวหา จริงหรือไม่
(2) ญี่ปุ่นให้สัตยาบันอนุสัญญาขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ แต่ญี่ปุ่นยังไม่มี "กฎหมายลูก" เรื่อง Racial Discrimination เช่นนี้ ศาลจะบังคับให้ ตามกฎหมายใด

คำตัดสิน: ศาลได้ตัดสินว่า นี่เข้าเรื่องการเลือกปฏิบัติจริง และสั่งให้เจ้าของร้านเพชร ชำระค่าเสียหายเต็มจำนวน แก่ Ms. Bortz เป็นเงิน 1.5 ล้านเยน (14,000 US $) (ราว 560,000 บาท)

ศาลวางนโยบายสังคมอย่างไร: คดีนี้ ศาลญี่ปุ่นกำหนดเป็น Social Policy ว่า แม้ญี่ปุ่นยังไม่มี "กฎหมายลูก" เรื่อง Racial Discrimination ศาลญี่ปุ่นก็มีอำนาจบังคับตามอนุสัญญาฯได้ เพราะญี่ปุ่นได้ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาฯนั้นแล้ว ... และจำเลยได้ทำ "ละเมิด" จริง ตามกฎหมายแพ่งญี่ปุ่น

 

หมายเหตุ
1. บทความนี้ เสนอครั้งแรกในการระดมความเห็นเรื่อง "ตุลาการไทย กับปัญหาสิทธิมนุษยชน & ความยากจน" เมื่อวันจันทร์ที่ 20 กันยายน 2547 ณ สภาที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจ & สังคมแห่งชาติ โดยเจ้าภาพร่วม 3 ฝ่าย คือ (1) "มสช." มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (2) มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (3) "สปรย." โครงการก่อตั้งสถาบันส่งเสริมการปฎิรูประบบยุติธรรม & ความเป็นธรรมในสังคม

2. นิลุบล ชัยอิทธิพรวงศ์ ขอขอบคุณ "API Fellowships" ที่อนุมัติให้สามารถวิจัย ในหัวข้อนี้ เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยในหัวข้อใหญ่ของตนที่ญี่ปุ่น คำถามจึงมีว่า: ตุลาการไทยร่วม "เขยื้อนภูเขา" แห่งความยากจน และไร้สิทธิมนุษยชน อยู่เพียงใด ?

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 450 เรื่อง หนากว่า 5000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

H
ภาพประกอบบทความเรื่อง "ตุลาการในฐานะผู้วางนโยบายสาธารณะ" จากบทความเดิม "ตุลาการตีความก้าวหน้า" โดย พิเชษฐ เมาลานนท์ และคณะ

Judicial Activism เกิดครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา และเติบโตในระดับ "ก้าวหน้า" สูงสุด ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศในระบบ Common Law ตรงนี้เอง ที่เรามักได้ยินนักกฎหมายไทยบางท่าน จะแย้งออกมาอย่างมักง่าย โดยไม่ศึกษาวิจัยว่า อะไรที่มาจากระบบ Common Law ต้องใช้กับไทยไม่ได้เสมอไป เพราะไทยเป็นชาติในระบบ Civil Law

ข้อเท็จจริง: กฎหมายป้องกันโรคเรื้อนของญี่ปุ่น (Leprosy Preventive Law) ถูกบังคับใช้มาราว 90 ปี (1907-1996) ด้วยอำนาจแห่งกฎหมายนี้ รัฐบาลกลางญี่ปุ่นได้ออกนโยบายว่า ผู้ติดโรคเรื้อน (เรียกในญี่ปุ่นว่า Hansen Disease) จะต้องถูกกักบริเวณในเรือนคนไข้ ไม่ให้พบปะกับสาธารณชน เรียกว่าเป็น "นโยบายสาธารณะการกักบริเวณคนโรคเรื้อน" (The Public Policy on the Quarantine of Leprosy Patient)
เมื่อปี 1998 อดีตคนไข้โรคเรื้อน 127 คน ได้เป็นโจทย์ฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดคุมาโมโตะ (Kumamoto District Court) ทางใต้ของญี่ปุ่น เรียกค่าเสียหายคนละ 115 ล้านเยน (ราว 43.7 ล้านบาท) จากการที่ถูกรัฐบาลญี่ปุ่นกักบริเวณเป็นเวลาหลายสิบปี

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 450 เรื่อง หนากว่า 5000 หน้า ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่
midnightuniv(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202

กรุณาส่งตั๋วแลกเงินไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50202
อย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์