ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซค์ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

R
relate topic
121147
release date

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 469 หัวเรื่อง
รัฐกับการใช้ความรุนแรงที่ภาคใต้
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์
นักวิชาการอิสระ
มหาวิทยาลัยฮาวาย
The Midnight University

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณขาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 14119-26256 ครั้ง สำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม 47
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

วาทกรรมความรุนแรงทางการเมือง
การสร้างปีศาจวิทยาแห่งการก่อการร้าย
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์
นักวิชาการอิสระ มหาวิทยาลัยฮาวาย

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 469
หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ บนเว็ปไซท์ของ ม.เที่ยงคืน เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
(บทความชิ้นนี้ยาวประมาณ 4 หน้ากระดาษ A4)




อย่าให้รัฐนำเราเข้าสงคราม
นับตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้แปรสภาพเป็นพื้นที่ซึ่งรุนแรงอย่างไม่เคยมีมาก่อน ดังปรากฎว่าได้เกิดการเข่นฆ่าไม่เว้นแต่ละวัน และในขณะเดียวกัน ก็เกิดการอุ้มฆ่าและหายสาปสูญของราษฎรไม่เว้นวันด้วย นำไปสู่ความไม่พอใจของราษฎรต่อรัฐบาลอย่างกว้างขวาง ส่วนรัฐบาลก็ไม่ไว้วางใจประชาชนสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

หากเชื่อคำที่หมอประเวศ วะสี กล่าวไว้ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็กำลังดำเนินเข้าสู่สถานการณ์สงครามจรยุทธ์โดยตรง เฉพาะจากตัวเลขที่รัฐบาลประกาศไว้ ภายในช่วงเวลาเพียง 10 เดือน ได้เกิดเหตุการณ์ "ความไม่สงบ" ขึ้นในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ทั้งสิ้นถึง 906 ครั้ง ยังผลให้มีผู้เสียชีวิต 270 ราย และบาดเจ็บ 423 คน โดยมีผู้เสียชีวิตเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐถึง 46 ราย และมีเจ้าหน้าที่ผู้บาดเจ็บอีก 91 ราย

อย่างไรก็ดี ตัวเลขของทางการนั้นแสดงยอดรวมของผู้เสียชีวิตในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่ำกว่าความจริงไปมาก เพราะไม่ได้รวมผู้เสียชีวิตในวันที่ 28 เมษายน ทั้งที่ในบริเวณมัสยิดกรือเซ๊ะและบริเวณอื่น ดังมีกรณีเด็กนักเรียน 12 คน จากอำเภอสะบ้าย้อย เป็นตัวอย่าง รวมทั้งไม่ได้รวมผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมและจับกุมที่อำเภอตากใบในวันที่ 25 ตุลาคม

หากคำนึงถึงคนตายในกรณีเหล่านี้ ก็สรุปได้ว่าในรอบไม่ถึงหนึ่งปี สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีผู้เสียชีวิตจาก "ความไม่สงบ" ไปแล้วอย่างน้อย 467 ราย โดยเป็นพลเรือนจำนวนไม่ต่ำกว่า 416 คน การเสียชีวิตของผู้คนจำนวนนี้เป็นเรื่องน่าเศร้า แต่ความจริงที่น่าเศร้ายิ่งไปกว่านั้นก็คือ ตัวเลขนี้ยังไม่ได้รวมผู้คนที่เสียชีวิตจากการ "อุ้มฆ่า" และ "หายสาปสูญ" เอาไว้ด้วย ทั้งที่คนกลุ่มนี้มีปริมาณมาก จนทำให้รองนายกรัฐมนตรีผู้หนึ่งยอมรับว่า เป็นต้นตอของการขยายตัวของความรุนแรงในพื้นที่โดยตรง

ทนายสมชาย นีละไพจิตร เป็น ตัวอย่างของบุคคลที่เชื่อได้ว่าเสียชีวิตด้วยเหตุจากการ "อุ้มฆ่า" และ "หายสาปสูญ" แบบนี้ แต่นอกจากทนายสมชายแล้ว ยังมีบุคคลที่ประสบชะตากรรมแบบเดียวกันนี้อีกมาก เพียงแต่เขาเหล่านั้นเป็นพลเรือนที่ปราศจากชื่อเสียง อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ทำให้การหายสาปสูญและล้มตายของเขาไม่มีค่าพอจะเป็นข่าวในสังคม
(แต่แม้การหายสาปสูญของทนายสมชายจะเป็นข่าวใหญ่ในสังคม เขาก็ไม่ได้มีชะตากรรมแตกต่างจากพลเรือนที่เป็นเหยื่อของการ "อุ้มฆ่า" รายอื่นมากนัก เพราะรัฐไม่สนใจจะจับกุมผู้อยู่เบื้องหลังมาดำเนินคดีได้ ซ้ำยังปราศจากความละอายต่อบาป ถึงขั้นมอบรางวัลข้าราชการดีเด่นให้แก่นายตำรวจที่เป็นจำเลยของคดีนี้ไป เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา)

ไม่มีใครรู้ชัดว่ามีผู้คนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ถูก "อุ้มฆ่า" และ "หายสาปสูญ" ไปแล้วเท่าไร เพราะทางราชการไม่เคยยอมรับว่ามีปัญหานี้ จึงไม่มีตัวเลขในเรื่องดังกล่าวออกมาอย่างเป็น "ทางการ" ถึงแม้ตัวนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีจะรับรู้และแถลงอยู่บ่อยครั้งว่ามีปัญหานี้ในอัตราที่สูงมากก็ตามที

หากเชื่อตามที่หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งระบุไว้ เฉพาะในรอบปีนี้ ก็มีคนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้หายตัวโดยลึกลับไปแล้วไม่น้อยกว่า 2,000 ราย อย่างไรก็ดี ถ้าไม่เชื่อข้อมูลนี้ แล้วลองสมมติว่ามีผู้คนเผชิญชะตากรรมแบบนี้อย่างน้อยที่สุดวันละหนึ่งราย ก็หมายความว่าถึงตอนนี้ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีพลเรือนที่เสียชีวิตโดยทุกสาเหตุ รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 720 คน คำถามคือรัฐคิดอย่างไรต่อความตายของผู้คนทั้ง 720 คน?

หากพิจารณาท่าทีของรัฐในช่วงที่ผ่านมา ก็จะเห็นว่ารัฐมุ่ง "จัดการ" แต่ความตายซึ่งเกิดจาก "ความไม่สงบ" จนนำไปสู่การตั้งหน่วยเฉพาะกิจ เพื่อปราบปรามผู้ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับความตายเหล่านี้ขึ้นอย่างกว้างขวาง โดยอาศัยกำลังพลของกองทัพ, ตำรวจท้องที่ , หน่วยข่าวกรอง และการจัดตั้งชุดเฉพาะกิจของพลเรือนขึ้นในพื้นที่ห่างไกล แต่ "ความตาย" จาก "ความไม่สงบ" เป็น "ความตาย" ที่ครอบคลุมชีวิตผู้คนเพียงส่วนเดียว เพราะสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีผู้เสียชีวิตในปริมาณที่กว้างขวางกว่านั้นไปมาก

การมุ่งแก้ปัญหาแต่ "ความตาย" อันเกิดจาก "ความไม่สงบ" จึงหมายความว่ารัฐจงใจ"เพิกเฉย" ความตายของคนอีกกลุ่ม ทำให้แม้ผู้ตายจะเป็นพลเมืองของรัฐเดียวกัน อยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน แต่ก็ได้รับการปฏิบัติจากรัฐผิดแผกไปจากกัน

สำหรับรัฐแล้ว ปฏิกริยาต่อ "ความตาย" ของผู้คน ดูจะสัมพันธ์กับ "ผู้กระทำ" ความตายนั้น กล่าวคือรัฐสนใจแต่ความตายที่เกิดจากบุคคลซึ่งรัฐเห็นว่าเป็นศัตรูของความสงบเรียบร้อย แต่ไม่สนใจความตายที่เจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม

ความตายของผู้คนในวันที่ 28 เมษายน เป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นสภาวะข้อนี้ เพราะแม้จะมีหลักฐานที่ชวนให้เห็นความบริสุทธิ์ของผู้ตาย ดังปรากฎในนิตยสาร "ฟ้าเดียวกัน" ว่าหลายคนเป็นเพียงนักเรียนมัธยมปลาย บ้างเป็นเยาวชนดีเด่น และบ้างคือชายชราอายุกว่า 60 ปี แต่ถึงบัดนี้ คนเหล่านี้ก็ตายไปโดยที่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองไม่ต้องรับผิดชอบแต่อย่างใด

น่าสนใจว่าหลังความตายของพลเรือน 107 คน ไม่นาน รัฐบาลก็ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนข้อเท็จจริงเรื่องนี้ แต่เมื่อกรรมการมีข้อสรุปว่าเจ้าหน้าที่กระทำการรุนแรงเกินกว่าเหตุ รัฐบาลก็ไม่ได้พิจารณาความผิดของผู้ที่เกี่ยวข้องอีกต่อไป อันเป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลเชื่อว่าเจ้าหน้าที่สามารถละเมิดชีวิตของราษฎรได้โดยเสรี

แน่นอนว่าในสังคมที่อยู่ในระบอบการเมืองแบบราชาธิปไตย, อำนาจนิยม หรือสังคมชนเผ่า ย่อมไม่แปลกที่รัฐจะมีอำนาจวินิจฉัยชีวิตพลเมืองในลักษณะนี้ แต่หลักการของสังคมเสรีประชาธิปไตยนั้นไม่อนุญาติให้รัฐละเมิดชีวิตพลเมืองได้แบบนี้ ยกเว้นแต่ในกรณีที่กระบวนการยุติธรรมวินิจฉัยแล้วว่าพลเมืองรายนั้น เป็นอันตรายร้ายแรงต่อส่วนรวม

อย่างไรก็ดี ในสถานการณ์ภาคใต้ในช่วงที่ผ่านมา รัฐไม่เคยแสดงหลักฐานว่าผู้เสียชีวิตทั้งหมดเป็นบุคคลอันตรายร้ายแรง ถึงขั้นที่นายกรัฐมนตรีเองก็ไม่เคยแม้แต่จะประกาศว่าคนตายทั้งหมดเป็นกลุ่มเดียวกับขบวนการก่อการร้าย จึงพูดได้อย่างชัดเจนว่าคนเหล่านั้นตายจากการใช้อำนาจและพละกำลังโดยอำเภอใจของรัฐบาล กระบวนการทั้งหมดนี้นำไปสู่ปัญหาทางการเมืองที่สำคัญสองข้อ

ข้อแรก รัฐบาลมีความผิดทางการเมืองฐานฆาตกรรมพลเรือนในชาติ
ข้อสอง รัฐบาลล้มเหลวทางการทหารในการต่อต้านขบวนการก่อการร้ายที่มีอยู่จริง

แรงเหวี่ยงจากปัญหาทั้งสองข้อนำสังคมไปสู่สภาวะการณ์อันตราย เพราะการละเมิดชีวิตพลเรือนเป็นแรงกดดันให้รัฐต้องปกป้องตัวเองทางการเมือง จึงจำเป็นต้องทำให้คนตายกลายเป็นบุคคลผู้เป็นภัยอย่างยิ่งยวด ยังผลให้เกิดความคิดเรื่องปีศาจวิทยาแห่งการก่อการร้าย ซึ่งในท้ายที่สุด ก็นำไปสู่การสร้างความรับรู้รวมหมู่ว่าคนบางกลุ่มบางอัตลักษณ์มีสถานะเป็น "ปีศาจ" ของสังคม

สภาวการณ์ทั้งหมดนี้ไม่ได้ปรากฎให้เห็นเป็นรูปธรรมจนเห็นได้ชัด จึงไม่มีใครหรือหน่วยงานไหนทำหน้าที่ผลิตและตอกย้ำความเป็น "ปีศาจ" ของสังคม ในทางตรงกันข้าม สภาวะการณ์ทั้งหมดนี้บังเกิดและพัฒนาขึ้นในระดับของความคิดอ่านและความรับรู้ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วก็นำไปสู่การก่อรูปขึ้นของ "ระเบียบตรรกะแห่งความรุนแรง"

กล่าวอย่างรวบรัดแล้ว "ระเบียบตรรกะแห่งความรุนแรง" ดำรงอยู่ในเชิงวิภาษเป็นสามลำดับขั้น

ขั้นตอนแรก คือความเชื่อว่าการมีอยู่ของ "ปีศาจ" นั้นเป็นอันตราย
ต่อมา จึงเริ่มเห็นว่ามีความจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องกำจัด "ปีศาจ" ไปให้หมดสิ้น และ
ขั้นตอนสุดท้าย คือยอมรับการขจัด "ปีศาจ" ด้วยกำลังและความรุนแรงชนิดที่เป็นรูปธรรม

ระเบียบตรรกะแบบนี้ส่งผลให้สังคมสนับสนุนการต่อต้าน "ปีศาจ" ด้วยวิถีทางรุนแรง และขณะเดียวกัน ก็กดดันให้ "ปีศาจ" ป้องกันตัวเองออกจากรัฐและสังคมมากขึ้น รวมตัวกันเหนียวแน่นมากขึ้น และแข็งกร้าวมากขึ้นด้วย ยังผลให้ทุกฝ่ายไม่มีทางเลือกอื่นใด นอกจากต้องเคลื่อนไหวภายใต้ "ตรรกะแห่งความรุนแรง" ที่ยิ่งนานก็ยิ่งขยายตัว

ทั้งหมดนี้คือเงื่อนไขของสงครามที่กำลังเติบโตขึ้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบัน เป็นสงครามที่มีความรุนแรงไม่น้อยไปกว่าสงครามระหว่างคนต่างเชื้อชาติต่างศาสนาในสังคมอื่น เป็นสงครามซึ่งอคติต่อผู้คนที่ "เป็นอื่น" ถูกขับดันให้ระเบิดออกมาอย่างเต็มที่ และเป็นสงครามที่ไม่มีฝ่ายไหนเห็นฝ่ายตรงข้ามเป็นคนและเป็นเพื่อนร่วมชาติอีกต่อไป

พูดให้ถึงที่สุดแล้ว สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้มีความเป็นไปได้ทางตรรกะเป็นอย่างมากที่จะนำไปสู่สงครามระหว่างชาติพันธุ์ (ethnic war)

 

บทความเดิมเรื่องนี้ชื่อว่า "อย่าให้รัฐนำเราเข้าสงคราม"
พิมพ์ครั้งแรกใน A-DAY WEEKLY ฉบับประจำวันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2547
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ส่งมาให้เผยแพร่บนเว็ปไซท์ ม.เที่ยงคืน วันที่ 12 พฤศจิกายน 2547


 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 450 เรื่อง หนากว่า 5000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

H
ภาพประกอบบทความเรื่อง "การสร้างปีศาจวิทยาแห่งการก่อการร้าย" จากบทความเดิมชื่อ "อย่าให้รัฐนำเราเข้าสงคราม" เขียนโดย ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์

แรงเหวี่ยงจากปัญหาทั้งสองข้อนำสังคมไปสู่สภาวะการณ์อันตราย เพราะการละเมิดชีวิตพลเรือนเป็นแรงกดดันให้รัฐต้องปกป้องตัวเองทางการเมือง จึงจำเป็นต้องทำให้คนตายกลายเป็นบุคคลผู้เป็นภัยอย่างยิ่งยวด ยังผลให้เกิดความคิดเรื่องปีศาจวิทยาแห่งการก่อการร้าย ซึ่งในท้ายที่สุด ก็นำไปสู่การสร้างความรับรู้รวมหมู่ว่าคนบางกลุ่มบางอัตลักษณ์มีสถานะเป็น "ปีศาจ" ของสังคม

ระเบียบตรรกะแบบนี้ส่งผลให้สังคมสนับสนุนการต่อต้าน "ปีศาจ" ด้วยวิถีทางรุนแรง และขณะเดียวกัน ก็กดดันให้ "ปีศาจ" ป้องกันตัวเองออกจากรัฐและสังคมมากขึ้น รวมตัวกันเหนียวแน่นมากขึ้น และแข็งกร้าวมากขึ้นด้วย ยังผลให้ทุกฝ่ายไม่มีทางเลือกอื่นใด นอกจากต้องเคลื่อนไหวภายใต้ "ตรรกะแห่งความรุนแรง" ที่ยิ่งนานก็ยิ่งขยายตัว
ทั้งหมดนี้คือเงื่อนไขของสงครามที่กำลังเติบโตขึ้นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบัน เป็นสงครามที่มีความรุนแรงไม่น้อยไปกว่าสงครามระหว่างคนต่างเชื้อชาติต่างศาสนาในสังคมอื่น เป็นสงครามซึ่งอคติต่อผู้คนที่ "เป็นอื่น" ถูกขับดันให้ระเบิดออกมาอย่างเต็มที่ และเป็นสงครามที่ไม่มีฝ่ายไหนเห็นฝ่ายตรงข้ามเป็นคนและเป็นเพื่อนร่วมชาติอีกต่อไป

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 450 เรื่อง หนากว่า 5000 หน้า ในรูปของ CD-ROM ในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง) สนใจสั่งซื้อได้ที่
midnightuniv(at)yahoo.com
หรือ ส่งธนาณัติถึง
สมเกียรติ ตั้งนโม : ไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 50202

กรุณาส่งตั๋วแลกเงินไปยัง สมเกียรติ ตั้งนโม : คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50202
อย่าลืมเขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้รับตัวบรรจงด้วยครับ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดส่งทางไปรษณีย์