ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซค์ วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

R
relate topic
011147
release date

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 462 หัวเรื่อง
แถลงการณ์นักศึกษาและ
นักวิชาการไทยในต่างประเทศ
จากสหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน และออสเตรเลีย

The Midnight University

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

ขณะนี้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้ผลิตบทความทั้งหมดบนเว็ปในรูปของซีดีรอมเพื่อจำหน่าย สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com
เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณขาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 14119-26256 ครั้ง สำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม 47
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

ข้อเรียกร้องให้นายกทักษิณลาออก
แถลงการณ์จากนักศึกษาและนักวิชาการผู้สนใจเรื่องเมืองไทย
กลุ่มเพื่อนไทยเพื่อสันติภาพ
การรวมตัวของนักศึกษาและนักวิชาการด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต
้ จากหลายประเทศในสหรัฐอเมริกา, ยุโรป และออสเตรเลีย


หมายเหตุ : บทความเดิมชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่ บนเว็ปไซท์ของ ม.เที่ยงคืน เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
บทความลำดับที่ 462
(บทความชิ้นนี้ยาวประมาณ 3 หน้ากระดาษ A4)




แถลงการณ์จากนักศึกษาและนักวิชาการผู้สนใจเรื่องเมืองไทย
กลุ่มเพื่อนไทยเพื่อสันติภาพ

เรื่อง ขอให้นายกรัฐมนตรีแสดงความรับผิดชอบทางการเมืองด้วยการลาออก
และขอเชิญชวนประชาชนไทยร่วมยุติความเกลียดชังในชาติ โดยไม่เลือกพรรคไทยรักไทย

"กลุ่มเพื่อนไทยเพื่อสันติภาพ" เป็นการรวมตัวของนักศึกษาและนักวิชาการด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากหลายประเทศในสหรัฐอเมริกา, ยุโรป และออสเตรเลีย ที่ห่วงใยสถานการณ์ความรุนแรงในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังการสลายการชุมนุมที่อำเภอตากใบ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการ 85 ราย โดย 78 ราย เสียชีวิตขณะที่อยู่ภายใต้การควบคุมตัวของรัฐบาล

"กลุ่มเพื่อนไทยเพื่อสันติภาพ" ขอเสนอความเห็นต่อรัฐบาลไทย และประชาชนไทย ดังต่อไปนี้

1. การตัดสินใจใช้อาวุธสลายการชุมนุมที่อำเภอตากใบ เป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด เพราะละเมิดสิทธิของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญระบุไว้ นำไปสู่การเสียชีวิตของพลเรือน 85 ราย โดยปราศจากหลักฐานว่ามีความผิดหรือเกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย จึงเป็นพลเรือนที่ถูกฆาตกรรมโดยรัฐ ทำให้รัฐบาลมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบโดยตรง

2. ด้วยคำสั่งของรัฐบาลที่ให้กองทัพสลายการชุมนุม จนมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทำให้นานาชาติมองประเทศไทยเป็นดินแดนไร้อารยะ ขาดขันติธรรมและเลือกปฏิบัติต่อคนต่างศาสนา ละเมิดหลักนิติธรรม ส่งผลให้ประเทศไทยถูกต่อต้านและประณามไปทั่วโลก ดังข้าหลวงใหญ่สหประชาชาติเรียกร้องให้รัฐบาลไทยเปิดเผยข้อเท็จจริงทั้งหมด ประชาชนบังคลาเทศประท้วงหน้าสถานฑูตไทย อินโดนีเซียเตรียมประกาศบอยคอตสินค้า ฯลฯ

คำสั่งของรัฐบาลจึงไม่เพียงแต่ทำลายชีวิตพลเรือน หากยังทำลายชื่อเสียงของประเทศไทยในประชาคมระหว่างประเทศไปอย่างไม่มีชิ้นดี

3. การสลายการชุมนุมด้วยอาวุธ เป็นผลพวงจากนโยบายของนายกฯ ที่มุ่งแก้ปัญหาภาคใต้ด้วยความรุนแรง ซึ่งนับตั้งแต่ตัดสินใจใช้นี้ ความรุนแรงมีแต่จะขยายตัวขึ้น เกิดความไม่ไว้วางใจระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชน เกิดความแตกแยกในหมู่คนไทยแต่ต่างเชื้อชาติต่างศาสนา
เกิดความเกลียดชังประเทศเพื่อนบ้าน และเกิดวัฎจักรของความรุนแรงและการฆ่าฟันที่ขยายตัวอย่างไม่เคยมีมาก่อน ดังความตายของ 105 ชีวิต วันที่ 28 เมษายน และการลอบฆ่าเจ้าหน้าที่
พระสงฆ์ ชนชาวมุสลิม พลเรือน ผู้พิพากษา ฯลฯ ในช่วงที่ผ่านมา

4. นายกรัฐมนตรี คือผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในการแก้ปัญหาภาคใต้ แต่นอกจากจะไม่สามารถยุติปัญหาได้ นายกรัฐมนตรียังจงใจสร้างความสับสนแก่ประชาชน ด้วยการให้ข้อมูลที่สร้างความเกลียดชังระหว่างคนต่างศาสนา เช่นการกล่าวหาผู้ชุมนุมหลายพันคนที่ตากใบ ว่าเป็นชาวต่างชาติ
ติดยาเสพติด ซุกซ่อนอาวุธ วางแผนก่อการร้าย ฯลฯ เพื่อให้ความชอบธรรมกับการใช้อาวุธสลายการชุมนุม โดยที่เมื่อถึงตอนนี้ ก็ไม่มีหลักฐานว่าผู้ชุมนุมและผู้เสียชีวิต 85 ราย เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายแต่อย่างใด

5. ด้วยการจงใจชี้นำประชาชนและสร้างกระแสบนพื้นฐานของข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงเช่นนี้
แสดงให้เห็นว่านายกรัฐมนตรีแก้ปัญหาภาคใต้ โดยคำนึงถึงแต่ผลได้และคะแนนเสียงทางการเมืองของตัวเองเป็นสำคัญ ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติไม่สามารถเสนอความคิดเห็นและมุมมองที่เป็นประโยชน์กับบ้านเมืองได้อย่างอิสระ ทำให้เกิดการแก้ปัญหาแบบลิงแก้แห ที่ยิ่งนาน
ปัญหาก็ยิ่งรุนแรงขึ้นทุกที

จากเหตุผลที่ได้กล่าวมา กลุ่มเพื่อนไทยเพื่อสันติภาพจึงขอเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อนโยบายการแก้ปัญหาในภาคใต้ที่ล้มเหลวมาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งฝ่ายรัฐและประชาชน

นอกจากนี้ ทางกลุ่มเพื่อนไทยเพื่อสันติภาพ ขอวิงวอนให้ประชาชนชาวไทยร่วมกันไม่เลือก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะมาถึง
เพื่อแสดงประชามติไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรง และการสร้างความเกลียดชังระหว่างคนต่างเชื้อชาติต่างศาสนา อันอาจนำประเทศไทยไปสู่สงครามกลางเมืองระลอกใหม่ ซึ่งในที่สุด จะเป็นวัฎจักรแห่งความรุนแรงที่ทำร้ายประชาชนไทยทุกคน

2 พฤศจิกายน 2547
ผู้ประสานงานกลุ่มเพื่อนไทยเพื่อสันติภาพ

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์, Ph.D. Candidate, Department of Political
Science,University of Hawaii at Manoa, ประเทศสหรัฐอเมริกา

นฤมล ทับจุมพล, Ph.D.Candidate, School of Politics and International
Studies, University of Leeds, ประเทศอังกฤษ

ปริยกร ปุสวิโร , Doctoral Student, Department of Computer Science,
University of Bremen, ประเทศเยอรมัน

ศุลีมาน นฤมล วงศ์สุภาพ, Ph.D. Candidate, Faculty of Social Sciences
and Humanities, Latrobe University, Australia

วิภู รุโจปการ, Department of Physics, University of Michigan,
ประเทศสหรัฐอเมริกา

สนใจลงชื่อร่วมกับ Declaration from students and scholars having concerns on Thai politics กรณเหตุการณ์ความรุนแรงที่ภาคใต้ ร่วมกับนักศึกษาและนักวิชาการผู้ห่วงใยในสถานการณ์ดังกล่าวจากทั่วโลก คลิกไปที่ http://www.petitiononline.com/peaceth/petition.html

 

 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 440 เรื่อง หนากว่า 5000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

H
ภาพประกอบบทความ เรื่อง "กรณีความรุนแรงที่ตากใบ เราเรียนรู้อะไรจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519" ของ วิทยากร เชียงกูล คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต

การฆ่าฟัน, ปล้นจี้, ลักขโมย, ข่มขืน, ประทุษร้าย, ฆ่าตัวเองหรือฆ่าคนใกล้ชิดเพราะความเครียด และปัญหาสังคมชนิดต่าง ๆ ไม่ใช่เป็นแค่ความรุนแรงที่เกิดจากปัจเจกชนที่มีปัญหาเพียงบางคนเท่านั้น แต่เป็นความรุนแรงที่สร้างขึ้นโดยรัฐทุนนิยมผูกขาดแบบบริวาร ที่มุ่งพัฒนาแบบกอบโกยล้างผลาญ เน้นการเติบโตของการบริโภคทางวัตถุ โดยไม่สนใจแนวทางการพัฒนาแบบแบ่งปัน กระจายทรัพย์สิน รายได้

สงครามในปัจจุบันไม่ใช่เป็นสงครามระหว่าง "อุดมการณ์ทุนนิยม"กับ"อุดมการณ์สังคมนิยม" เหมือนสมัย 28 ปีที่แล้ว แต่เป็นสงครามระหว่าง "ความโง่เขลาบวกกับเห็นแก่ตัวในระยะสั้น" และ"ความฉลาดเห็นการณ์ไกล เห็นแก่ส่วนรวมในระยะยาว" เป็นสงครามระหว่างการพัฒนาแบบอำนาจนิยมเพื่อกอบโกยล้างผลาญ ที่เน้นการเพิ่มความเจริญเติบโตทางวัตถุของพวกนายทุนผูกขาด และการพัฒนาแบบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน เน้นคุณภาพชีวิต การพัฒนาอย่างยั่งยืนของฝ่ายประชาชน ในสงครามแย่งชิงทรัพยากรที่สร้างความขัดแย้งในทุกหย่อมหญ้าในทุกวันนี้ ไม่มีที่ว่างที่จะให้เราซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนชั้นกลางให้ยืนอยู่เฉย ๆ เหมือนกับเป็นคนนอกได้