ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซค์ วันที่ ๐๘ กันยายน ๒๕๔๗ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

R
relate topic
080947
release date

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 449 หัวเรื่อง
บทเรียนจากเกษตรกรคิวบา
ปีเตอร์ รอสเส็ต (พูด)
คณะทำงานวาระทางสังคม : แปล
(ช่วงคำถาม - แลกเปลี่ยน)
The Midnight University

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

ขณะนี้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้ผลิตบทความทั้งหมดบนเว็ปในรูปของซีดีรอมเพื่อจำหน่าย สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com
เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณขาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 14119-26256 ครั้ง สำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม 47
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทเรียนจากคิวบา
เกษตรกรรมคิวบา..ประเทศที่ถูกบังคับให้พึ่งตนเอง
(ช่วงคำถาม-แลกเปลี่ยน)

ปีเตอร์ รอสเส็ต
คณะทำงานวาระทางสังคม : แปล
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน นำเสนอ

เรียบเรียงจากการเสวนาแลกเปลี่ยนระหว่างปีเตอร์ รอสเส็ต ร่วมกับเกษตรกรและนักพัฒนาภาคอีสาน
เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2547 ที่จังหวัดขอนแก่น
(บทความชิ้นนี้ยาวประมาณ 13 หน้ากระดาษ A4)

 

 


ช่วงคำถาม-แลกเปลี่ยน

ผู้เข้าร่วม : ทำไมคนคิวบาจึงหนีข้ามทะเลมาสหรัฐอเมริกา

ปีเตอร์ : เป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับคนที่หลบหนีออกจากคิวบามาอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา ประเด็นแรกคือ คนละตินอเมริกาโดยทั่วไป รวมทั้งลาว ไทย เวียดนาม จีน มีคนเดินทางออกจากประเทศเหล่านี้ไปอยู่สหรัฐอเมริกาทั้งนั้น จริง ๆ แล้วคิวบาเป็น 1 ใน 10 ของประเทศที่ส่งคนออกไปอยู่สหรัฐอเมริกา แต่เวลามีคนคิวบาหนีเข้าไปในสหรัฐฯ สหรัฐฯ จะเปิดการแถลงข่าว จึงมีความรู้สึกว่าคนคิวบาหนีไปอยู่สหรัฐฯ เต็มไปหมด

ในช่วงจิมมี่ คาร์เตอร์ เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีการเจรจากับฟีเดลว่า ให้มีการเดินทางออกโดยถูกกฎหมาย โดยตกลงกันว่า สหรัฐฯ จะเปิดให้คนคิวบาออกนอกประเทศมาอยู่ในสหรัฐฯ ได้ 25,000 คนต่อปี แต่สหรัฐฯ ไม่เคยทำตามข้อตกลง ให้จริง ๆ แค่ 200 คนเท่านั้น โดยปกติ ถ้าหนีเข้าประเทศแล้วเจ้าหน้าที่จับได้เขาก็จะส่งกลับ

แต่ว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ออกกฎหมายการยอมรับคนคิวบาออกมา 1 ฉบับระบุว่า ไม่ว่าคนคิวบากลุ่มไหนเข้าไปเหยียบแผ่นดินสหรัฐฯ จะได้วีซ่าโดยอัตโนมัติ ซึ่งสถานทูตที่ฮาวาน่าให้แค่ 200 คนต่อปี แต่ถ้าคุณนั่งแพไปขึ้นที่ไมอามี่ เหยียบชายหาดแค่ก้าวหนึ่งก็ได้วีซ่าแล้ว ด้วยเหตุนี้สหรัฐฯ จึงผลักดันให้คนที่อยากเข้าประเทศไปโดยทางเรือ แต่ขณะเดียวกันเพื่อผลประโยชน์ด้านสื่อมวลชน สหรัฐฯ ก็มีการปฏิเสธคนที่นั่งเรือแพไป เพราะดูเป็นพวกลี้ภัย หลบหนีภัยคอมมิวนิสต์

จริง ๆ แล้วเป็นปรากฏการณ์ธรรมดาที่มีการอพยพโยกย้ายคนจากประเทศยากจนไปสู่ประเทศร่ำรวย คนอายุ 25 ปีส่วนใหญ่ในช่วงยุค 2533 มีความฝันอยากจะกินแมคโดนัลด์ แต่เมื่อได้เข้าไปอยู่ในสหรัฐอเมริกาจริง ๆ ก็ไม่มีความสุข

เหตุที่คิวบาขอ 25,000 คนนั้นถือว่าไม่มาก เพราะประชากรคิวบามีแค่ 2 ล้านคน คนคิวบามีญาติอยู่ในสหรัฐฯ กันมาก ประเทศห่างกันแค่ 200 กิโลเมตร โดยปกติก็มีการไปมาหาสู่กันอยู่แล้ว สหรัฐฯ ยอมรับข้อเสนอเพราะต้องการผลทางสื่อ จริง ๆ แล้วคนที่ย้ายไปอยู่ในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นคนเม็กซิโกถึง 50 เปอร์เซ็นต์ คนคิวบามีแค่ 0.2 เปอร์เซ็นต์

ผู้เข้าร่วม : ถ้าไม่มีวิกฤตการณ์ที่ถูกโซเวียตล้ม การเปลี่ยนแปลงของคิวบาในการใช้เกษตรกรรมทางเลือกจะต้องใช้เวลานานหรือไม่ หรือจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ปีเตอร์ : ถ้าไม่มีวิกฤตการล่มสลายของโซเวียต ประเทศคิวบาก็เหมือนประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกที่มีวิกฤต มีปัญหาการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ดินเกาะกันแน่น ในประเทศที่มีการปฏิวัติเขียวช่วงแรก ๆ อย่างประเทศฟิลิปปินส์ จีน อินเดีย เกาหลี ประเทศเหล่านี้มีผลผลิตสูงมาก ต่อมาผลกระทบด้านนิเวศน์ปรากฏมากขึ้น ผลผลิตจึงค่อย ๆ ตกลง ซึ่งดูเหมือนกับว่าในพื้นที่ใหม่ที่มีการปฏิวัติเขียวในช่วง 10-20 ปีผลิตผลจะเพิ่มขึ้นสูง และหลังจากนั้นก็จะตกลงระดับเสมอตัว

ในการทำเกษตรแบบนี้ มีบางช่วงที่เราต้องปรับตัวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่คิวบาแสดงให้เห็นว่าการเกิดวิกฤติทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้เร็วขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องการจัดการศัตรูพืชอยู่แล้ว แต่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน

เคยมีวิวาทะในประเด็นนี้มาก่อนคือ กระทรวงเกษตรมักจะพูดว่าเกษตรอินทรีย์เป็นความคิดที่ดี แต่ไม่มีทางเลี้ยงประชากรของประเทศได้ แต่คิวบาก็ได้แสดงให้เห็นว่าสามารถผลิตได้มากกว่าก่อนเกิดวิกฤตด้วยซ้ำ เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าไม่ใช่แค่ผลิตได้ระดับเดิมแต่ยังผลิตได้มากกว่าที่เคยผลิตมาก่อน

ผู้เข้าร่วม : แรงผลักดันสำคัญในการปรับตัวเกิดจากนโยบายรัฐบาลใช่หรือไม่

ปีเตอร์ : เป็นสถานการณ์ไม่ใช่การตัดสินใจของรัฐบาลทีเดียว ผลกระทบจากภายนอกทำให้รัฐบาลต้องสนับสนุน วิกฤตเศรษฐกิจทำให้เกิดการว่างงานในเมือง ในช่วงที่ 1990 เป็นช่วงที่มีการว่างงานสูง ทำให้คนชั้นกลางที่มีอาชีพก็ยังอาสาไปเป็นเกษตรกร บางคนไปทำเกษตรในเมือง นักปรัชญาไปทำเกษตรมีรายได้มากกว่าคนที่เป็นครูอาจารย์ถึง 3 เท่า เขามีรายได้ก็มีความสุข

มีปรากฏการณ์ที่คนออกไปอยู่ชนบท ให้เงินกู้ไปสร้างบ้าน รับการฝึกอบรมเพื่อเป็นเกษตรกรได้ โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องผลิตอาหารเพื่อส่งออกด้วยจำนวนหนึ่ง ไม่ใช่เอาไว้กินอย่างเดียว เพราะว่ารัฐบาลก็ต้องรักษาการส่งออกไว้บางส่วน เพื่อที่จะหาเงินดอลลาร์เข้าประเทศ เกษตรกรต้องทำทั้งสองอย่างคือ ปลูกกาแฟเพื่อส่งออกและสำหรับตลาดในท้องถิ่น

ผมเคยสัมภาษณ์คนปลูกกาแฟที่เมื่อก่อนอยู่ในเมืองแล้วไปอยู่ในชนบท สิ่งที่พบก็คือ เขาสมัครใจไปเอง แล้วมีรายได้สูง เกษตรกรที่ปลูกกาแฟในคิวบามีรายได้ 3 เท่าของเกษตรกรที่ปลูกกาแฟในเม็กซิโก เพราะว่าไม่มีพ่อค้าคนกลาง กาแฟของคิวบามีคุณภาพสูงในตลาดระหว่างประเทศ เขาพูดถึงแง่ดีในวิถีชีวิตแบบใหม่ มีรายได้มากสามารถปลูกบ้านอยู่ในเมือง เวลาส่งลูกสาวไปเรียนมหาวิทยาลัยในเมืองก็ไปอยู่บ้าน

ตอนนี้มีเกษตรกรที่เป็นมหาเศรษฐี รายได้ของคนที่อยู่ในชนบทมากกว่าคนที่อยู่ในเมือง ซึ่งรัฐบาลต้องวางนโยบายการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม โรงเรียน อนามัย โรงงานให้ชุมชนในชนบท สร้างมาตรฐานให้ดีอย่างน้อยก็เท่ากับชุมชนในเมือง หรือถ้าเป็นไปได้ก็ให้สูงกว่าด้วยซ้ำ

ผู้เข้าร่วม : ในคิวบามีการยอมรับระบบเกษตรกรรายย่อยมากกว่าระบบฟาร์ม แต่ตอนนี้ไทยก็ยังมีการทำระบบฟาร์มมากขึ้น

ปีเตอร์ : ผมทำงานวิจัยในหลายประเทศ มีการเก็บข้อมูลการทำเกษตรของเกษตรกรรายย่อย และการทำเกษตรแปลงใหญ่ว่าให้ผลผลิตมากน้อยแค่ไหน พบว่า ใน 1 เฮกตาร์ (6.25 ไร่) เกษตรกรรายย่อยผลิตได้ 2 ถึง 10 เท่า มากกว่าเกษตรกรแปลงใหญ่ แต่เรามักจะถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐบอกว่าเกษตรแปลงใหญ่มีประสิทธิภาพมากกว่าแปลงย่อย นี่คือตัวอย่างที่ดีของการใช้สถิติมาโกหก เพราะว่ารัฐบาลดูว่าผลิตข้าว 1 ไร่ได้กี่ตัน คือดูผลผลิตที่ได้จากพื้นที่จำเพาะส่วนแปลงหนึ่ง พวกนี้เป็นสถิติที่จะใช้ได้ผลกับพืชเชิงเดี่ยวเท่านั้น

เพราะว่าเวลาที่ผลิตแบบเชิงเดี่ยวเขาก็ปลูกอยู่อย่างเดียว เพราะฉะนั้น พื้นที่ 1 เฮกตาร์ก็ได้ตัวเดียว แต่เกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ 1 เฮกตาร์ เขาสามารถผลิตได้หลายตัว ไม่ว่าจะเป็น ข้าว กล้วย ผัก ปลา หมู ไก่ ต้นไม้ ซึ่งอาจเห็นว่าเกษตรกรรายย่อยผลิตข้าวได้น้อยกว่าเกษตรกรรายใหญ่ แทนที่จะได้ 2 ตัน ก็ได้แค่ 1 ตันต่อเฮกตาร์ แต่เขามีส่วนที่เพิ่มอีก 1 ตันเข้ามาจากการผลิตปลา กล้วย และอื่น ๆ อีกหลายอย่าง ซึ่งหากเอาผลผลิตโดยรวมเหล่านี้มารวมทุกตัวก็จะพบว่าได้มากกว่า ส่วนคำว่ายีล (yield) เป็นผลิตผลที่ใช้กับพืชเชิงเดี่ยวเท่านั้น เวลาดูตามสถิติ เขาจะบอกว่าผลผลิตโดยรวมในแต่ละประเทศ รวมทั้งในสหรัฐฯ เกษตรกรรายใหญ่จะผลิตได้มากกว่าเกษตรกรรายย่อย 2 เท่า ถือว่าเป็นการเอาสถิติมาโกหกกัน

สิ่งที่คิวบาแสดงให้เห็นคือ เมื่อเกิดวิกฤตด้านอาหารจะต้องผลิตมากขึ้น การผลิตมากขึ้น ต้องทำแปลงให้เล็กลง ไม่ใช่ทำให้ใหญ่ขึ้น ถ้าทำแปลงให้เล็กจะสามารถผลิตได้มากขึ้น จะมีผลรวมมากกว่า สิ่งที่สำคัญ ทำไมเกษตรกรรายย่อยในคิวบาจึงผลิตมากขึ้น เพราะว่าเขาได้ราคาดี อันนี้เป็นเคล็ดลับ ได้ราคาดีเขาถึงผลิต พอเกิดวิกฤตขึ้นราคาผลผลิตก็สูงขึ้น เพราะฉะนั้นเกษตรกรก็ทำงานหนักมากขึ้นเพื่อที่จะได้เงินมากขึ้น

แตกต่างจากประเทศไทยที่มีผลผลิตราคาต่ำ เพราะฉะนั้นครัวเรือนเกษตรกรรายย่อยก็ต้องอาศัยลูกหลานที่ส่งไปทำงานในเมืองส่งเงินมา แรงงานส่วนหนึ่งก็ถูกแบ่งไปทำงานในเมือง แทนที่จะมารวมตัวกันเพื่อทำการผลิต ผลิตภาพของเกษตรก็จะตกลง รัฐบาลก็จะบอกว่าเกษตรกรผลิตอะไรก็ไม่ได้ผลหรอก ความลับของผลิตภาพ หรือสิ่งที่เกษตรกรผลิตได้คือ อยู่ที่ราคาของพืชผล

สิ่งที่น่าเสียใจคือ ผลจากการค้าเสรีทำให้ราคาผลผลิตทั่วโลกตกต่ำ เพราะฉะนั้นทุกแห่งหนในโลกนี้ เกษตรกรก็ไปทำงานอยู่ในสลัม ไม่ได้ทำเกษตรอยู่ในแปลงตัวเอง หากราคาเปลี่ยนแปลงไป เกษตรกรรายย่อยก็จะกลับมาผลิตใหม่

ข้อสรุป
ก่อนที่จะมีวิกฤต คิวบาเป็นประเทศที่มีการพัฒนาแบบปฏิวัติเขียวมากที่สุดในละติน อเมริกา ใช้เครื่องจักรกลมากที่สุด ปลูกพืชเชิงเดี่ยวในแปลงขนาดใหญ่ ผลผลิตส่วนใหญ่เป็นของรัฐ พึ่งพิงปัจจัยนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก ผลผลิตที่ได้จากแปลงเกษตรก็สูงแต่ว่าลดต่ำลง เนื่องจากดินเสีย ผลผลิตส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อการส่งออกและมีการนำเข้าอาหารมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์

อาหารที่กินเป็นอาหารที่พวกยุโรปกินกัน เนื้อ ข้าวสาลี นม เนย ทั้งหมดเป็นของตะวันตกซึ่งมีวัฒนธรรมการกินผลไม้สด อาหารสดน้อยมาก เพราะเป็นพืชที่ต้องปลูกในประเทศเขตร้อน แต่หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงก็มีการทำเกษตรยั่งยืน แต่ก็ยังมีปัญหาเรื่องผลิตภาพของแรงงาน เพราะแรงงานในแปลงเกษตรขนาดใหญ่ไม่ใช่ตัวเกษตรกร ไม่ได้ทำงานหนักเท่าตัวเกษตรกร แรงงานสู้เกษตรกรไม่ได้

ที่จริงประเทศสังคมนิยมน่าจะเป็นสวรรค์ของชนชั้นกรรมาชีพ แต่ชนชั้นกรรมาชีพไม่ได้ทำงานหนักมากนักในกรณีนี้ ตอนหลังจึงมีการเปลี่ยนแปลง มีการใช้สัตว์เข้ามาไถแทนแทรกเตอร์ และแทนที่จะเป็นวิสาหกิจของรัฐก็มีเกษตรกรรายย่อย เกษตรในเมืองมากขึ้น มีการพึ่งพา พึ่งพิง ปัจจัยนำเข้าน้อยลง ผลผลิตก็เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน ดินฟื้นตัว และแรงจูงใจในทางเศรษฐกิจมีบทบาทสำคัญ ราคาผลผลิตสูงขึ้น ผลิตภาพของการผลิตพืชเพื่อกินสูงขึ้น ผลิตเพื่อส่งออกต่ำลง เพราะว่าเกษตรกรผลิตและขายในตลาดท้องถิ่นได้ราคาที่ดี แต่ถ้าส่งออกเกษตรกรต้องขายให้รัฐบาล ราคาที่รัฐบาลให้ต่ำกว่า

ในที่ดินแปลงเดียวกันถ้ามีการบอกว่าคุณต้องผลิตส้ม ผลิตเพื่อส่งออก แล้วให้เลือกว่าสามารถผลิตอาหารเพื่อที่จะขายได้ในตลาด จะเห็นว่าในแปลงเดียวกันส่วนที่ปลูกเพื่อการส่งออกได้ผลผลิตต่ำกว่าส่วนที่ขายในตลาดท้องถิ่น แสดงให้เห็นว่าถ้าเกษตรกรมีแรงจูงใจเรื่องราคาซึ่งจะทำให้ขยันทำงานมาก และหลังจากที่เกิดวิกฤต ประชาชนก็ได้รับการอุดหนุนอย่างดี มีผลไม้ ผักมากขึ้น อาหารที่กินมีความหลากหลายมากขึ้น มีการปลูกพืชผลต่าง ๆ ที่เหมาะกับภูมิภาคในเขตร้อนมากขึ้น แทนที่จะกินเนื้อวัว ก็หันมากินพืชหัวมากขึ้น มันสำปะหลัง เผือก กล้วย

นอกจากนี้คิวบาประสบความสำเร็จอย่างมาก ในเรื่องการทำเกษตรในเมืองและระบบตลาด ยาปราบศัตรูพืช ปุ๋ยชีวภาพ และศูนย์ชีวภาพ มีปุ๋ยที่ผลิตโดยไส้เดือนขนาดใหญ่ มีการนำเอาวิธีการแบบเดิมของการปลูกพืชแบบสลับแถวแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาใช้ มีการกลับมาเลี้ยงไก่ตามบ้าน เลี้ยงหมูแบบขนาดเล็กไม่ใช่แบบขนาดฟาร์มใหญ่ ข้าวส่วนใหญ่มาจากแปลงขนาดเล็ก ไก่ที่เคยมาจากเล้าปิดเหมือนไก่ของซีพี หรือไก่ในโรงงานของยุโรปต้องปิดโรงงานไปหลังเกิดวิกฤต รัฐบาลจึงทำโครงการระดับชาติ ให้ไก่แก่เกษตรกรไปเลี้ยงหลังบ้านของตนเอง ไม่นานผลผลิตไก่และไข่ก็กลับมา

ในแต่ละแปลงมีการปลูกสมุนไพร มีโรงเรียนที่ฝึกสอนให้คนได้เรียนรู้การใช้วัว ไถนา ทำนา และมีการผลิตเครื่องไม้เครื่องมือใหม่ ๆ มาใช้กับวัว โรงเรียนอาชีวะเปลี่ยนหลักสูตรใหม่ ให้มีการเรียนหลักสูตรทางไกล เรียนทางอินเตอร์เน็ต มหาวิทยาลัยก็เปลี่ยน มีการส่งเสริมให้เกษตรกรทำวิจัย ขยายความรู้กันเอง ส่งเสริมการเกษตรกันเอง ประชาชนมีจิตสำนึกมากขึ้นในเรื่องสิ่งแวดล้อมและเรื่องอาหาร

อย่างไรก็ตาม เมื่อผลิตอาหารได้สูงขึ้น เริ่มมีปัจเจกมากขึ้น เพราะว่ามีพลังจากตลาดมากกว่าเดิม จิตวิทยาที่อยู่ในหัวคนเปลี่ยน นี่คือปัจจัยลบ วัฒนธรรมเดิมของคิวบาเป็นวัฒนธรรมของความร่วมมือ ขณะนี้เริ่มเห็นลักษณะของความเป็นปัจเจกมากขึ้นตามประเทศที่เป็นทุนนิยม แต่ก่อนเป็นฟาร์มของรัฐตอนนี้เป็นสหกรณ์ คนเหล่านี้เคยเป็นแรงงานในภาคเกษตรเป็นลูกจ้างของรัฐมาก่อน ตอนนี้กลายมาเป็นเกษตรกรซึ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางจิตวิทยา

แต่ก่อนคุ้นเคยกับการมีหัวหน้าหรือผู้จัดการคอยสั่งการ แต่ตอนนี้ต้องคิดเองว่าจะทำอะไร คนที่เป็นแรงงานในภาคเกษตร มีชีวิตสืบทอดกันมาเป็นเวลา 400 ปี เขาจำไม่ได้ว่าพ่อแม่ ปู่ย่าตายายทำการเกษตรมาอย่างไร เพราะฉะนั้นต้องใช้เวลาอีก 3-4 ปีที่จะใช้เวลาเรียนรู้การทำเกษตรแบบใหม่ ส่วนในระดับนโยบาย ก็ยังมีความแตกแยกกันอยู่ว่านโยบายการเกษตรแบบนี้ดีหรือไม่ดี จะเอาไม่เอา เนื่องจากมีศักยภาพในการนำเข้ามากขึ้น มีอาหารนำเข้ามา รวมทั้งมีการถกเถียงกันเรื่องจีเอ็มโอ ซึ่งก็เหมือนกับทุกประเทศในโลกนี้ว่าจะเอาอย่างไรกันแน่ และมีสิ่งที่เป็นกังวลคือ หากสหรัฐฯ ยกเลิกการคว่ำบาตรจะเกิดอะไรขึ้นกับคิวบา

สิ่งที่คิดว่าเป็นบทเรียนสำหรับประเทศอื่น ๆ คือ เกษตรกรจะผลิตได้ดีมากขึ้นถ้ามีราคายุติธรรม เหตุผลที่ทำให้ผลิตภาพหรือผลิตผลต่าง ๆ ที่ออกมาได้น้อยเพราะว่า ทั่วโลกราคาผลผลิตต่ำ มีการแสดงให้เห็นว่า ถ้าราคาผลผลิตสูง เกษตรกรก็จะสามารถผลิตได้อย่างดี และแสดงให้เห็นว่าไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีในการทำการผลิตการเกษตรเลย

นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่าเกษตรยั่งยืนและเกษตรเชิงนิเวศน์เป็นเกษตรที่เป็นไปได้สำหรับทั้งประเทศ และก็แสดงให้เห็นว่าสถาบันการศึกษาทั้งโรงเรียน และกระทรวงเกษตร ซึ่งเป็นสถาบันทางการของสังคม สามารถที่จะสนับสนุนทางเลือกได้ ถ้ามีเจตจำนงอย่างแท้จริง และคิวบาเห็นว่าเกษตรกรรายย่อยสามารถเปลี่ยนแปลงตนเองอย่างรวดเร็ว และสามารถเพิ่มผลผลิตของตนเองได้เร็วมาก ถ้าจะทำเกษตรยั่งยืนก็ต้องอาศัยเกษตรกรรายย่อย

คิวบาแสดงให้เห็นว่ามีศักยภาพอย่างมหาศาลในการทำเกษตรในเมือง และก็ยังแสดงให้เห็นว่า ในชุมชนเดียวกัน เศรษฐกิจท้องถิ่นจะดีขึ้นได้ถ้ามีผู้ผลิตผู้บริโภคอยู่ใกล้ ๆ กัน เช่น การเกษตรในเมืองทำให้คนมีงานทำถึงสามแสนคน

 

 

สุดท้าย ถ้าจะพูดถึงว่าอะไรเป็นกุญแจที่ไขไปสู่ความสำเร็จ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศ อื่น ๆ ในโลกที่สาม สาเหตุของความยากจนในชนบทและประสิทธิภาพที่ต่ำของเกษตรกร มี 2 ปัจจัยที่สำคัญมาก ดูจากภาพสามเหลี่ยมหมายถึงการเข้าถึงที่ดิน ประเทศส่วนใหญ่มีการกระจายที่ดินแบบไม่เสมอภาค เจ้าของที่ดินบางคนมีที่ดินขนาดใหญ่มาก และมีคนจำนวนมากที่ไร้ที่ดินทำกิน

ปัจจัยอันหนึ่งของคิวบาคือ ต้องมีการปฏิรูปที่ดิน อย่างไรก็ตาม ถ้าราคาผลผลิตต่ำก็ต้องละทิ้งที่ดินตนเองเพื่อไปทำงานในเมืองแทนที่จะอยู่บ้าน ปัจจัยคือต้องมีราคาผลผลิตที่สูง ถ้าข้างในสามเหลี่ยม ประชาชนสามารถเข้าถึงที่ดินได้ ปัจจัยข้างนอกคือต้องมีตัวป้องกันการพึ่งตลาดภายนอก หมายความว่า ต้องหยุดยั้งการนำเข้าของผลผลิตราคาถูก

คิวบาไม่ได้สมัครใจทำอะไรเช่นนี้เอง แต่เป็นผลของการถูกคว่ำบาตรจากต่างประเทศซึ่งทำให้เกษตรกรไม่ต้องไปสู้กับการพึ่งตลาดสินค้าเกษตรราคาถูกจากต่างประเทศ เพราะฉะนั้นสำหรับประเทศอื่น จะต้องทำการปฏิรูปที่ดิน และในส่วนข้างนอกต้องป้องกันประเทศตนเองไว้จากการพึ่งตลาดสินค้าเกษตรกรรม ซึ่งอันนี้เป็นปัจจัยพื้นฐานหลัก

ถ้าคนไม่มีที่ดินก็ไม่มีทางทำการเกษตรได้ ถ้ามี 2 อย่างนี้ก็จะมีตัวที่ 3 ตามมา ซึ่งมีความสำคัญสำหรับคิวบา คือ การเกษตรเชิงนิเวศหรือการเกษตรแบบยั่งยืนที่ใช้ เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับระบบนิเวศ และมีการผสมผสานบูรณาการกับความรู้พื้นบ้านดั้งเดิม ซึ่งเทคโนโลยีแบบนี้จะไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิง ถ้าคนเข้าถึงที่ดินไม่ได้ และจะไม่มีผลอะไรเลยถ้าราคาไม่ดี เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะเป็นประโยชน์ได้ต้องมีราคาดี คือป้องกันการพึ่งตลาดและมีการเข้าถึงที่ดิน หลังจากนั้นเราจะผลิตได้อย่างยั่งยืน

อีกปัจจัยหนึ่ง ถ้าเทียบกับประเทศอื่น ๆ ประเทศคิวบาเป็นประเทศที่มีการจัดระบบจัดตั้งดีกว่าประเทศอื่น ๆ เกษตรกรส่วนใหญ่รวมตัวกันเป็นสหกรณ์ เพราะฉะนั้นจึงเป็นการง่ายที่จะส่งผ่านข้อมูลไปยังตัวองค์กรเหล่านี้ ส่งข้อมูลต่าง ๆ ไปสู่สังคมและประชาชนช่วยเหลือกัน สุดท้ายคือการสนับสนุนจากรัฐ

รัฐบาลคิวบาไม่มีทางเลือกอื่นต้องเอาทรัพยากรต่าง ๆ ที่รัฐมีมาช่วยคือ ต้องให้สินเชื่อเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน ให้การศึกษา ทำงานวิจัยและส่งเสริมเรื่องการเกษตรและทำโครงสร้างพื้นฐานการตลาด ถ้าดูประเทศคิวบาทั้งประเทศจะเห็นว่ามีการปฏิรูปที่ดิน ได้รับการคุ้มครองปกป้องการค้าภายในจากการค้าโลก และมีระดับการจัดตั้งระเบียบการจัดองค์กรสูง สิ่งเหล่านี้ควรจะเป็นสิ่งที่เกษตรกรในประเทศอื่น ๆ พยายามต่อสู้ให้ได้มา ให้รัฐหันมาสนับสนุนเกษตรกรและต้องต่อสู้กับข้อตกลงการค้าเสรี ต้องต่อสู้ให้ได้มาซึ่งการปฏิรูปที่ดิน การพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการจัดตั้งตนเอง

ผู้เข้าร่วม : ถ้าราคาไม่จูงใจแล้วเกษตรกรคิวบาจะเริ่มหรือไม่

ปีเตอร์ : ถ้าราคาผลผลิตต่ำ คนที่ผลิตแบบแปลงเกษตรขนาดใหญ่สามารถอยู่ได้ หรือสามารถเอาตัวรอดได้ แต่เกษตรกรรายย่อยต้องอาศัยราคาผลผลิตที่เป็นธรรม ยกเว้นแต่การผลิตที่พึ่งตนเองเท่านั้น

เราเจอในหลายประเทศที่ราคาผลผลิตตกต่ำ เกษตรกรรายย่อยผลิตเพื่อบริโภคเท่านั้น พอราคาสูงเขาก็ผลิตเพื่อตลาดด้วย ราคาผลิตตกต่ำเขาก็ผลิตเพื่อกิน และทำงานที่อื่นด้วย แต่พอราคาสูงเขาก็กลับมาทำงานขายส่งตลาด ระบบของเกษตรกรยืดหยุ่น ขยายหรือหดตัวขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจ อาจจะเลี้ยงประชากรทั้งประเทศได้ทั้งหมดถ้าราคาผลผลิตดี หรือจะกลายเป็นแรงงานราคาถูกถ้าราคาผลผลิตตกต่ำ

ผู้เข้าร่วม : ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรีไม่ได้เป็นเพียงระบบเศรษฐกิจ มันเป็นลัทธิหล่อหลอมความคิดความเชื่อด้วย ถ้าขายผลผลิตได้ราคาต่ำ มีเงินให้ยืมอีก มีระบบอื่นเข้ามาให้ความหวัง ทำให้เกษตรกรเดินอยู่ในเส้นทางทาสอยู่เรื่อย ๆ ไม่มีแรงกดดันมากพอที่จะทำให้คนลุกขึ้นมาปฏิวัติหรือเปลี่ยนแปลงระบบที่ตนเองอยู่ในวงจร

ปีเตอร์ : ผมเห็นด้วย ชาวบ้านต้องลุกขึ้นมาเอง ถ้าเกษตรกรเห็นว่าถ้าเกษตรกรรายอื่นเห็นว่าเขาจัดตั้งแล้วเขาบรรลุอะไร เขาจะทำ อยากให้ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยว่าเครือข่ายเกษตรกรรมทำอะไร

ผู้เข้าร่วม : เครือข่ายเกษตรทางเลือกเกิดขึ้นมาประมาณ 4 ปีแล้ว ทำงานกับองค์กรชาวบ้าน ในการช่วยเหลือกัน เริ่มเจรจากับรัฐบาลเรื่องนโยบายมาตั้งแต่ปี 2535 รัฐบาลก็ไม่ค่อยฟัง รัฐเปลี่ยนวิธีมาเรื่อย ๆ จนวันนี้ประเทศไทยมีนโยบายที่จะเปลี่ยนการเกษตรของประเทศเป็นเกษตรอินทรีย์ เพื่อการส่งออก และเกษตรกรก็ยังคงเดินอยู่ในเส้นทางทาสเหมือนเดิม ผมคิดว่าผลผลิตที่เป็นเกษตรอินทรีย์จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ปีเตอร์ : หลายคนพูดว่าเกษตรทางเลือกเป็นนักเกษตร แล้วในแต่ละวันทำอะไร โดยปกติคุณทำอะไร

ผู้เข้าร่วม : งานช่วงนี้เป็นงานสนับสนุนเกษตรกรให้สร้างทางเลือกของตนเอง เราร่วมกันต่อสู้จนได้งบประมาณจากรัฐบาลมา เพื่อสร้างทางเลือกให้ชาวบ้าน หารูปแบบการเกษตร และค้นหาเทคโนโลยีที่ใช้กับการปรับปรุงดิน โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี เรามีทุกอย่างที่คิวบามี แต่เรายังไม่มีพลังมากพอ การใช้แรงงานสัตว์แทนเครื่องจักรนั้นเรายังพัฒนาไม่ได้ดีพอ ชาวบ้านก็ทำวิจัย หาเทคนิคต่าง ๆ และสร้างกระบวนการเรียนรู้ระหว่างชาวนากับชาวนา ความเชื่อมั่นของเรายังไม่แรงพอที่ขยายตัวให้มากกว่านี้

ปีเตอร์ : มีปัจจัยอะไรที่ทำให้ไม่สามารถขยายได้หรือเกษตรกรไม่หันมาทำเกษตรแบบยั่งยืน

ผู้เข้าร่วม : ความเคยชินในการใชัปุ๋ยเคมี ความคาดหวังที่จะปลูกเพื่อขาย วัฒนธรรมการบริโภคสูง มีหัวคิดในการขายมากกว่าการพึ่งตนเอง

ปีเตอร์ : ดูเหมือนว่าเป้าหมายของโครงการนำร่อง คือวิธีการหาหนทางที่จะทำให้เกษตรกรสามารถมีชีวิตอยู่รอดภายใต้ระบบที่เป็นอยู่ในชีวิตปัจจุบัน รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงระดับมหภาคเพื่อการเติบโตมากขึ้น ผมคิดว่าเราต้องทำงานทั้ง 2 ระดับคือ การสร้างประสบการณ์ทางเลือกที่ประสบผลสำเร็จไปพร้อม ๆ กับการเปลี่ยนแปลงนโยบายให้สนับสนุนแนวทางนี้มากขึ้น เพื่อทำให้เป็นรูปแบบที่ใช้กันในที่อื่นด้วย ในขณะเดียวกันก็ต้องสู้กับ WTO เพื่อเปลี่ยนบริบทของเศรษฐกิจทั้งหมด

ผู้เข้าร่วม : ขอเล่าถึงพัฒนาการของเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก เกือบ 20 ปีที่มีการพูดถึงเกษตรกรรมทางเลือกในประเทศไทย เพราะว่าเกิดวิกฤตราคาข้าวตกต่ำ ซึ่งหมายถึงเกษตรกรไม่สามารถอยู่ภายใต้การปฏิวัติเขียวได้ กลุ่มเอ็นจีโอที่ทำงานเรื่องเกษตรได้นำเสนอระบบเกษตรของชาวบ้านที่จะอยู่ได้โดยไม่มีผลกระทบเรื่องราคา ซึ่งก็คือเกษตรแบบพื้นบ้าน หลังจากนั้นพูดถึงระบบตลาดที่สร้างความเป็นธรรมระหว่างผู้ผลิต และระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค มีตลาดระดับชุมชน การทำงานในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมาก็ทำได้แค่เป็นจุด ๆ

เมื่อ 7 ปีที่แล้วเครือข่ายไปร่วมกับสมัชชาคนจน เพื่อผลักดันแนวทางระบบเกษตรยั่งยืนเข้าสู่ระดับนโยบาย เราผลักดันจนเกิดโครงการนำร่อง ซึ่งเป้าหมายไม่ใช่แค่สร้างความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกรเท่านั้น เราคาดหวังว่า นโยบายด้านการเกษตรของประเทศจะถูกปรับเปลี่ยนไปด้วย ปรากฏว่ารัฐบาลรับแต่เพียงรูปแบบของเกษตรแบบนี้

การพูดถึงระบบเกษตรอินทรีย์ของรัฐบาล เป็นการสร้างวาทกรรมที่อยู่ภายใต้โครงสร้างสังคมแบบเดิมที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลง กระบวนการที่เครือข่ายจะทำต่อไปคือการทำงานกับเกษตรกร ความเข้มแข็งของเกษตรกรที่จะเปลี่ยนวิถี และทำให้มีนโยบายโดยตัวเกษตรกรเอง มากกว่าที่จะเปลี่ยนตัวนโยบายโดยคนของรัฐบาลบางคน จากประสบการณ์ที่ผ่านมาเห็นแล้วว่า แม้จะมีนโยบายเกษตรกรรมยั่งยืนอยู่ในแผนพัฒนาของประเทศ ทั้งแผน 8 จนถึงแผน 9 แต่ในทางปฏิบัติไม่ได้เปลี่ยนไป

สิ่งที่รัฐบาลทำนั้นเป็นไปตามทิศทางของระบบโลกคือ ผลักดันระบบอินทรีย์ที่ดูว่าดีนี้ให้เข้าไปอยู่ในมือของบริษัทขนาดใหญ่ เช่น ซีพี ถึงที่สุดเกษตรกรแบบอินทรีย์ก็จะมีชีวิตไม่ต่างจากเกษตรกรอื่น ๆ ที่ตามกระแสใหญ่

ปีเตอร์ : เป็นไปได้หรือไม่ว่าเกษตรอินทรีย์จะอยู่ร่วมกับเกษตรแปลงใหญ่ได้ในประเทศเดียวกัน เกษตรแบบที่เป็นมิตรกับระบบนิเวศน์ จะอยู่ร่วมกับเกษตรจีเอ็มโอหรือเกษตรเชิงเดี่ยวได้ ถ้าดูจากประสบการณ์ของคิวบา คิดว่ามันได้บอกประเทศอื่น ๆ อย่างไรบ้าง

ผู้เข้าร่วม : การอยู่ร่วมกันระหว่างฟาร์มเล็กกับฟาร์มใหญ่ก็คือ ปลาใหญ่ย่อมกินปลาเล็กวันยังค่ำ

ปีเตอร์ : แสดงว่าคุณไม่เชื่อ ขอถามต่อว่า ถ้าไม่มีปลาตัวใหญ่ ปลาตัวเล็กเลี้ยงประชากรโลกได้หรือไม่

ผู้เข้าร่วม : เราจะต้องเริ่มจากพื้นฐานตามแนวคิด ถ้าคิดจากเล็ก ๆ จากพื้นฐานครอบครัว ไม่ได้คิดไกลถึงขนาดที่ว่าเอาตลาด เอาประชากรโลกมาเป็นตัวตั้งเพียงอย่างเดียว เป้าหมายต่างกัน ถ้าเป้าหมายคือครอบครัว เราทำการผลิตให้พอเพียงกับครอบครัวตัวเอง และส่วนที่เหลือค่อยกระจายไป คือทำให้ฐานแน่นแล้วกระจายไปสู่ข้างนอก ก็จะมีความมั่นคงมากกว่าการเอาตลาดเป็นตัวตั้ง

ปีเตอร์ : เกษตรกรรายย่อยในประเทศไทยอยู่ในชนบท คิดว่าเขาจะสามารถผลิตและเลี้ยงตัวเองรวมทั้งเลี้ยงประชากรที่เหลือได้หรือไม่ ถ้าราคาผลผลิตไม่ดี

ผู้เข้าร่วม : ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาพบว่า คนที่เลี้ยงก็คือเกษตรกรรายย่อย หลังจากที่เจอภาวะเศรษฐกิจ จนเกิดความล้มเหลวเชิงโครงสร้างของประเทศในเรื่องปัจจัยการผลิต เกิดช่องว่าง เกิดปัญหา เกิดความแตกต่าง เกิดการเอารัดเอาเปรียบกัน ภาคเกษตรล้มเหลว พลังการผลิตอ่อนตัว ความเสมอภาคไม่มี ทำให้พลังในการผลิตลดลงจนทำให้ล้มเหลว ถ้าสามารถแก้โครงสร้างให้เสมอภาค พลังการผลิตก็จะมีพลังกระตุ้นให้ภาคเกษตร อยู่ได้ และสร้างให้คนที่อยู่รอบนอกสามารถอยู่ได้เหมือนกัน

ปีเตอร์ : ถ้าไม่มีซีพี เกษตรกรรายย่อยสามารถที่จะผลิตไก่เลี้ยงเกษตรกรไทยได้หรือไม่

ผู้เข้าร่วม : แนวทางการส่งเสริมของภาครัฐทำให้เกษตรกรหลงทาง หลงตนเอง รัฐคิดผิดทางมาตั้งแต่แผนพัฒนาประเทศแผนแรกเข้ามา คือเปลี่ยนฐานการผลิตจากทำอยู่ทำกิน ทำเพื่อเลี้ยงชีพไปเป็นเพื่อการตลาด ทำให้ต้องเพิ่มการผลิตมากขึ้น ใช้สารเคมีซึ่งทำลายสารอาหารตามธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศน์อย่างมหาศาล เราต้องสร้างอาหารใหม่ขึ้นมาทดแทนอาหารธรรมชาติที่เคยมีอยู่ ปฏิรูประบบการผลิตแบบใหม่ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างสมดุลธรรมชาติให้เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง

ประสบการณ์หลังจากที่เราเปลี่ยนแปลงระบบการผลิต จากระบบเคมีมาเป็นระบบอินทรีย์ที่เกื้อกูลกับสิ่งแวดล้อม ทำให้เริ่มเกิดสมดุลทางธรรมชาติขึ้น เราสามารถอาศัยหาอยู่หากินในแปลงนาตามธรรมชาติได้เช่นสมัย 40 ปีก่อน เรายืนยันได้ว่าหลังจากเลิกใช้สารเคมีแล้วดินดีขึ้น อาหารหรือสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ก็ดีขึ้น สุขภาพกายและสุขภาพจิตดีขึ้น รายได้ก็มีมากขึ้น เพราะมีอาหารเพิ่มขึ้น สามารถลดรายจ่ายอื่น ๆ ลงไปได้ เช่น ค่ายา ค่าเข้าโรงพยาบาล

การเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตไปพร้อม ๆ กัน เกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศถูกมอมเมาจากระบบทุนนิยม และบริโภคนิยม หากเราไม่เปลี่ยนวิถีชีวิต เราก็จะพึ่งตนเองไม่ได้

ผู้เข้าร่วม : เกษตรแปลงใหญ่หรือเกษตรจีเอ็มโอ อยู่ร่วมกับเกษตรแปลงเล็กได้หรือไม่

ปีเตอร์ : ในหลาย ๆ ประเทศทั้งในซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ครัวเรือนเกษตรกรและระบบเกษตรต่างต้องเผชิญกับการคุกคามแบบเดียวกัน คือ การค้าเสรี WTO และการเจรจาทวิภาคีระหว่างประเทศต่อประเทศหรือ FTA การค้าเสรีทำให้ต้องมีการพึ่งตลาด และสถานการณ์จะเลวร้ายมากขึ้นหากมีประเทศบางประเทศให้การอุดหนุนการส่งออก การผูกขาดของบริษัทข้ามชาติ การผูกขาดปัจจัยการผลิต เช่น แทรกเตอร์ หรือปุ๋ยต่าง ๆ ซึ่งหมายความว่าเกษตรกรต้องขายผลิตผลในราคาถูกและซื้อของมาใช้ในราคาแพง เพราะมีการผูกขาดเกิดขึ้น

ในหลายประเทศมีปัญหาการกระจุกตัวของที่ดินและเกิดภาวะไร้ที่ดิน ใช้เทคโนโลยีนำเข้าราคาแพง ขณะนี้งบประมาณของรัฐเกือบทุกประเทศที่ให้กับภาคเกษตรเกือบจะเหลือศูนย์ เกือบทุกสิ่งเป็นความจำเป็นของเกษตรกรกำลังจะถูกแปรรูปไปหมด ทั้งที่ดินสาธารณะ น้ำ การส่งเสริมการเกษตร การวิจัย เมล็ดพันธุ์ เป็นต้น การแปรรูปให้ประโยชน์เฉพาะคนที่มีเงินเท่านั้น

สถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในทุกประเทศผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไปไกลกว่าพรมแดนประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงต้องมีกระบวนการระหว่างประเทศร่วมกันผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ลองคิดดูว่า หากประเทศไทยประสบความสำเร็จ ในการกดดันรัฐบาลทักษิณให้ปกป้องเกษตรกรไทย ด้วยการไม่นำเข้าสินค้าเกษตรราคาถูก แต่แค่ WTO บอกว่าจะคว่ำบาตรประเทศไทยเท่านั้นทุกอย่างก็จบ เพราะฉะนั้นขบวนการในประเทศต้องต่อสู้กับกลไกที่อยู่นอกประเทศในระดับโลกด้วย

ขอยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นในเม็กซิโก ซึ่งมีการประชุม WTO ครั้งล่าสุด ที่เมืองแคนคูน เกษตรกรเม็กซิโกมีรายได้จากการขายข้าวโพดเป็นหลัก ในปี 2523 เม็กซิโกเปิดประเทศทำการค้าเสรี เมื่อเปิดเศรษฐกิจของตนเองต่อโลกภายนอก สหรัฐฯ ก็ส่งข้าวโพดที่ได้รับการอุดหนุนการส่งออกเข้ามาที่เม็กซิโก โดยเฉลี่ยแล้วข้าวโพดที่ส่งเข้ามาที่เม็กซิโกราคาต่ำกว่าราคาผลผลิตภายในประเทศ 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทำให้ราคาสินค้าภายในประเทศต้องลดลงไป

ลองคิดดูว่าปกติประชากรในเม็กซิโกที่ยากจนอยู่แล้วนั้น จะยิ่งจนขนาดไหนในปัจจุบัน ขณะนี้รัฐบาล ธนาคารโลก และเจ้าหน้าที่รัฐต่างพูดว่าการค้าเสรีเป็นสิ่งที่ดี ไม่ใช่สิ่งเลวร้าย เขาบอกว่าผู้บริโภคสามารถซื้อข้าวโพดได้ในราคาที่ถูกกว่าเดิม และถึงแม้จะส่งผลทำให้เกษตรกรจนลง แต่ก็ยังดีกว่าคนจนที่อยู่ในเมือง นี่คือเรื่องโกหก

ขณะนี้คนยากจนในเมืองต้องจ่ายเงินประมาณ 4 เท่ามากกว่าราคาเดิมเพื่อซื้อข้าวโพด ขณะที่เกษตรกรได้ราคาแค่ครึ่งหนึ่งจากที่เคยได้ ผู้บริโภคต้องจ่ายมากขึ้น เพราะมีการผูกขาดขนาดใหญ่ จ่ายเงินให้เกษตรกรน้อยแล้วก็ไปคิดกำไรจากผู้บริโภค ราคาถั่วเขียว ข้าวฟ่าง ผลิตผลต่าง ๆ ที่เกษตรกรเม็กซิโกปลูกขึ้นมา ตกลงหมด เพราะว่าการค้าเสรี เป็นไปไม่ได้ที่จะเอาชีวิตรอดอยู่ได้ในระบบแบบนี้ ด้วยเหตุผลนี้ คุณคงเข้าใจว่าทำไมมีซาปาติสต้า เพราะว่าเขาเอาชีวิตรอดไม่ได้แล้ว

ซาปาติสต้าคือ เกษตรกรจำนวนมากของเม็กซิโกเป็นชนพื้นบ้าน คนพวกนี้เป็นคนที่ยากจนที่สุดในหมู่คนจน เมื่อสถานการณ์เลวร้าย คนพวกนี้ก็เป็นคนที่ทนทุกข์ทรมานมากกว่าคนอื่น สถานการณ์เลวร้ายลงคนพวกนี้เลยเป็นกลุ่มแรกที่ลุกขึ้นมาต่อสู้ ลุกฮือขึ้นเป็นกลุ่มเล็ก ๆ จนเติบโตขึ้นเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก เป็นสัญลักษณ์ของคนจนที่บอกว่า แค่นี้พอแล้ว ไม่ไหวแล้ว แม้ขบวนการนี้จะเล็ก แต่มีผลต่อจิตวิทยาของกลุ่มต่าง ๆ รวมทั้งที่อยู่นอกเม็กซิโกด้วย

ในปี 2539 ซาปาติสต้า จัดเวทีระหว่างประเทศซึ่งเหมือนกับเวทีสังคมโลกที่จัดขึ้นในปัจจุบัน นักเคลื่อนไหวหลายคนที่เคยไปร่วมต่อต้านที่ซีแอตเติ้ลในปี 2542 ก็ไปร่วมชุมนุมกันอยู่ที่นั่น พวกเราคงจำการประท้วงครั้งใหญ่ที่ซีแอตเติ้ลได้ เพราะการค้าเสรีมีผลกระทบต่อสหรัฐอเมริกาด้วย ไม่ใช่เฉพาะต่อประเทศในโลกที่สามเท่านั้น เป็นการประท้วงครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาที่สหภาพกลุ่มสิ่งแวดล้อม ชาวนา ชาวไร่มารวมตัวกัน

ก่อนหน้านี้กลุ่มสหภาพแรงงานไม่เคยทำงานกับกลุ่มเกษตรกรเลย และก็ไม่เคยทำงานกับกลุ่มนักเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมหรือว่าเอ็นจีโอเลย แต่ WTO ทำร้ายทั้งสิ่งแวดล้อมและเกษตรกรจึงเกิดพันธมิตรขึ้น นอกจากนี้ก็มีการประท้วงต่อต้านการเปิดเสรีทางการค้าในหลาย ๆ ประเทศ เช่น เอกวาดอร์ เมื่อรัฐมนตรีสหรัฐฯ ไปเจรจาเปิดเสรีทางการค้าของอเมริกาในแคนาดา เม็กซิโก อเมริกากลาง อเมริกาใต้ ประชาชนจากที่นั้น ๆ ต่างมุ่งหน้าไปที่เมืองกีโต เมืองหลวงของเอกวาดอร์ เพื่อต่อต้านการทำเขตการค้าเสรีของสหรัฐอเมริกา มีชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่มเข้าร่วมการประท้วง

นอกเหนือจากขบวนการของซาปาติสต้าแล้ว ยังมีกลุ่มเกษตรกรเม็กซิกันหลาย ๆ กลุ่มซึ่งแต่ก่อนทำงานร่วมกันไม่ได้ มารวมตัวกันเป็นเครือข่ายพันธมิตรระดับชาติประกาศว่า ชนบททนไม่ไหวอีกต่อไปแล้ว ปีที่แล้วมีการระดมพลังมวลชนต่อต้านเขตการค้าเสรีตลอดทั้งปี ชูป้ายว่า เราต้องการรักษาชนบท เพื่อที่จะรักษาเม็กซิโกเอาไว้

เพราะว่าปัญหาเกิดขึ้นในภาคชนบท เกษตรกรไม่สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ต้องย้ายเข้ามาอยู่ในเมือง เข้ามาอยู่สลัม ดังนั้นถ้าจะรักษาปกป้องประเทศเอาไว้ให้ได้ต้องรักษาชนบทไว้ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การประท้วงของเกษตรกรในหลาย ประเทศมุ่งไปที่การจัดการกับสัญลักษณ์ของการค้าเสรี

อธิปไตยทางอาหาร
แนวความคิดด้านอธิปไตยทางอาหารเป็นสิ่งสำคัญที่ดึงเกษตรกรกลุ่มต่าง ๆ เข้ามาร่วมมือกัน ช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค หรือเข้าถึงคนยากจนในเมือง เข้าถึงกลุ่มเอ็นจีโอที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อม เพราะว่าอธิปไตยทางอาหาร เป็นกระบวนทัศน์แบบสมบูรณ์แบบที่ครอบคลุม หลายมิติ อธิปไตยเป็นแนวความคิดที่คิดค้นขึ้นโดยกลุ่มเวียกัมเปสินา

อธิปไตยทางอาหาร เป็นแนวคิดที่ไปไกลกว่าความมั่นคงด้านอาหาร ซึ่งเน้นแค่เรื่องการมีอาหารพอกินเท่านั้น แต่ไม่ได้พูดถึงว่าอาหารมาจากไหน และไม่สนใจว่าถ้ามาจากซีพี มาจากการอุดหนุนภาคเกษตร การส่งออกของต่างประเทศแล้วจะส่งผลอย่างไร

อธิปไตยทางอาหารให้ความสำคัญว่าใครเป็นผู้ผลิตอาหาร ต้องคำนึงด้วยว่าผลิตที่ไหน ผลิตอย่างไร คำนึงถึงความคิดเรื่องอาหารในแง่มุมต่าง ๆ เราในฐานะผู้บริโภคมีสิทธิในการกินอาหารที่ดี ขณะที่คนในชนบทก็มีสิทธิในการที่จะผลิตอาหารได้ คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการทำเกษตรแบบยั่งยืน แต่รัฐบาลมักจะบอกว่าไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากโลกาภิวัตน์ ดังนั้นเกษตรกรต้องสร้างทางเลือกที่เป็นองค์รวม

อธิปไตยทางอาหารครอบคลุมหลายมิติ เป็นพื้นฐานให้เกิดการสร้างเครือข่ายของกลุ่มต่าง ๆ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภค คนยากจนได้ เวียกัมเปสินาและขบวนการทางสังคมต่าง ๆ ร่วมกันเรียกร้องให้ WTO ออกจากภาคการเกษตร อาหารไม่ได้เป็นสินค้า แต่เป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิต และทางเลือกคือแนวคิดอธิปไตยทางอาหาร ภายใต้ข้อตกลง WTO ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ราคาข้าวตกลง 75 เปอร์เซ็นต์ เกษตรกร 3 ล้านคนต้องสูญเสียที่ดินไป เกษตรกร 3 แสนคนต้องล้มละลาย

ผู้เข้าร่วม : มีการพูดกันเสมอว่า เราไม่เอา WTO แล้วจะเอาอะไร

ปีเตอร์ : เวียกัมเปสินาบอกว่า ถ้าไม่มี WTO มาเกี่ยวข้องในการเกษตร แต่ละประเทศจะมีอิสระในการวางนโยบายของตนเอง ปัญหาคือ WTO บอกว่าทุกประเทศต้องมีนโยบายเดียวที่เหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน

นโยบายหนึ่งที่สำคัญของเวียกัมเปสินาคือพยายามคุ้มครองเกษตรกร ขั้นตอนแรกคือ ต้องไม่มี WTO เข้ามายุ่งเกี่ยว เพื่อจะได้ปกป้องเกษตรกรได้ จากนั้นอาจจะมีการสร้างสถาบันระหว่างประเทศที่เข้ามาเล่นบทบาทในเชิงบวกได้ ตัวอย่างของปัญหาที่เกิดขึ้นในการผูกขาดระดับโลกคือ พวกบริษัทข้ามชาติที่ผูกขาด สามารถกดดันสถาบันระหว่างประเทศได้ สามารถควบคุมตลาด ตั้งราคาต่ำและขายให้ผู้บริโภคในราคาสูงได้

อย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งที่น่ายินดีคือ มีสถาบันต่อต้านการผูกขาดระดับโลก ในหลายประเทศมีกฎหมายภายในของตนเองเพื่อป้องกันการผูกขาด เช่น สหรัฐอเมริกามีกฎหมายที่ระบุว่าไม่มีบริษัทใดที่จะสามารถผูกขาดตลาดได้เกิน 35 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีปัญหา 2 ประการคือ ปัญหาคอรัปชั่น และปัญหาจากการที่ไม่มีกฎหมายต่อต้านการผูกขาดในระดับโลก คือมีแต่ในระดับประเทศเท่านั้น

ปัจจุบันนี้มีบริษัทข้ามชาติหลายบริษัทดำเนินกิจการที่อยู่ข้ามชาติ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องการกฎหมายที่ใช้ระหว่างประเทศเพื่อต่อต้านการผูกขาด แต่ทั้งนี้ต้องเอา WTO ทิ้งไปก่อนแล้วจึงสร้างสถาบันใหม่ที่ดีขึ้นมา

 

 


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 440 เรื่อง หนากว่า 5000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

H
ในช่วงวิกฤตที่รัสเซียล่มสลาย คิวบาพลอยตกระกำลำบากไปด้วย เพราะต้องพึ่งพาเศรษฐกิจการส่งออกไปยังรัสเซียถึง 80% ประกอบกับอเมริกาแซงชั่นในตอนนั้น

มีการค้นพบว่าวัวที่อยู่กับเกษตรกรรายย่อยเป็นวัวที่มีความสุขมากกว่าวัวที่อยู่กับรัฐวิสาหกิจแปลงใหญ่ เพราะว่าดูจากการผลิตนม วัวที่อยู่เรือนโรงงานจะผลิตได้น้อยกว่าวัวที่อยู่กับเกษตรกรรายย่อย วัวที่อยู่ในโรงงานออกลูกมาตาย 20 เปอร์เซ็นต์ แต่วัวที่อยู่กับเกษตรกรรายย่อยมีตายแค่ 6 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ดังนั้น คิวบาจึงพยายามเปลี่ยนภาคการผลิตให้อยู่ในมือของเกษตรกรรายย่อยมากขึ้น

ประเทศส่วนใหญ่ในโลกนี้ที่เกิดวิกฤตขึ้นมา เพราะสังคมแตกแยกกับรัฐบาล เมื่อมีอาหารน้อยพวกข้าราชการทั้งหลายที่ยังรวยก็ยังมีอาหารกิน ขณะที่คนยากจนต้องอดอยากจึงทำให้เกิดการลุกฮือขึ้น ความรุนแรงต่าง ๆ ในสังคมมักเกิดเมื่อตอนวิกฤตอาหาร เช่น ในโซมาเรีย และในอัฟริกา แต่สภาพนี้ไม่เกิดขึ้นในคิวบาเพราะว่ารัฐบาลได้รักษานโยบายให้ทุกคนได้เข้าถึงสิ่งที่ยังพอเหลืออยู่ได้อย่างเสมอภาค ในช่วงวิกฤติตอนนั้นผมไปคิวบาหลายหน รถไม่มีน้ำมันใช้ ต้องขี่จักรยาน ผมเห็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรซึ่งผอมมากต้องขี่จักรยานไปทำงาน หรือแม้กระทั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก็ผอมมากเช่นกัน ซึ่งทำให้ประชาชนของเขาไม่โมโหในช่วงเกิดวิกฤติ เพราะทุกคนต่างเผชิญวิกฤตเหมือนกัน ประธานาธิบดีคิวบาก็ผอมเช่นกัน