ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซค์ วันที่ ๐๖ กันยายน ๒๕๔๗ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความบริการฟรีของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

R
relate topic
060947
release date

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 446 หัวเรื่อง
เรื่องของ"อธิปไตยด้านอาหาร"
สุนทรี เกียรติประจักษ์ : แปล
คณะทำงาน วาระทางสังคม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
The Midnight University

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

ขณะนี้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้ผลิตบทความทั้งหมดบนเว็ปในรูปของซีดีรอมเพื่อจำหน่าย สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com
เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณขาลดขนาดของ font ลง จะ
สามารถแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
เว็ปไซท์นี้มีการคลิกโดยเฉลี่ยต่อวัน 14119-26256 ครั้ง สำรวจเมื่อเดือนสิงหาคม 47
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่กรุณาให้ใช้พื้นที่ฟรีในการเผยแพร่งานวิชาการ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม

ประเด็น

การค้า


ลำดับความสำคัญของการผลิต

ราคาพืชผล

 


การเข้าถึงตลาด

 



เงินอุดหนุน

 

 

 

 

อาหาร

 

 


ความสามารถในการผลิต


 

ความอดอยากหิวโหย

 


ความมั่นคงด้านอาหาร

 

การควบคุมปัจจัยการผลิต
(ที่ดิน น้ำ ป่าไม้)

การเข้าถึงที่ดิน

 


เมล็ดพันธุ์พืช

 

 


เงินกู้และการลงทุนในชนบท

 

การทุ่มตลาด

การผูกขาด


การผลิตล้นเกิน

 

 


สารตัดต่อพันธุกรรม (Genetically modified organisms--GMOs)

เทคโนโลยีการทำฟาร์ม

 

ชาวไร่ชาวนา

 


 

 


ผู้บริโภคในเมือง

 

อีกโลกหนึ่ง (ทางเลือก)

แบบจำลองที่ครอบงำ

ทุกอย่างค้าเสรีได้หมด


การส่งออกสินค้าเกษตร

"อะไรที่ตลาดสั่ง"(แต่ปล่อยกลไกซึ่งใช
้บังคับให้ราคาต่ำคงอยู่ครบถ้วน)

 

การเข้าถึงตลาดต่างประเทศ


 


ในขณะที่ห้ามการให้เงินอุดหนุนในประ
เทศโลกที่สาม แต่ในสหรัฐฯและยุโรป
กลับมีการ
ให้เงินอุดหนุนมากมายแต่เป็น การให้เฉพาะเจ้าของฟาร์มขนาดใหญ่
่เท่านั้น

 

 

หลักๆแล้วเป็นสินค้าตัวหนึ่ง ในทางปฏิบัติหมายถึงอาหารแปรรูป ปนเปื้อน อุดมไป
ด้วยไขมัน น้ำตาล น้ำเชื่อมที่มีปริมาณน้ำตาลสูง และมีสารพิษตกค้าง


เป็นทางเลือกหนึ่งของพวกที่มีประ
สิทธิภาพ
ด้านเศรษฐกิจ (Economically efficient)

เนื่องจากการมีผลิตภาพต่ำ

 



เกิดขึ้นได้ด้วยการนำเข้าอาหารมาจาก
ที่ซึ่งมีราคาถูกสุด

 

โอนให้เป็นของเอกชน (Privatized)


ผ่านตลาด

 


เป็นสินค้าที่จดสิทธิบัตรได้ (Patentable commodity)

 


จากธนาคารเอกชนและบรรษัทธุรกิจ

 

ไม่ใช่ปัญหา

ไม่ใช่ปัญหา


ตามความหมายแล้ว ไม่มี

 

 



เป็นคลื่นที่กำลังมาแรงในอนาคต

 

เป็นระบบอุตสาหกรรม ปลูกพืชเชิงเดี่ยว
ใช้สารเคมีเข้มข้น ใช้สารจีเอ็มโอ


พวกตกยุค ไร้ประสิทธิภาพ จะหมดไป

 

 

 



คือคนงานที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนให้
น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้

เป็นไปไม่ได้/ไม่สนใจ

แบบจำลองอธิปไตยด้านอาหาร

ข้อตกลงด้านการค้าต้องยกเว้น
เรื่องอาหารและการเกษตร

อาหารสำหรับตลาดท้องถิ่น

ราคาที่ยุติธรรมซึ่งรวมถึงต้นทุน
การผลิตและเปิดทางให้ชาวไร่ชาว นาและคนงานในฟาร์มมีชีวิตที่มีศักดิ์ศรี

การเข้าถึงตลาดท้องถิ่น ยุติการใช้อุตสาหกรรมการเกษตร (Agribusiness) ผลักไสชาวไร่ชาวนาออกไปจากตลาดออกพวกเขาเอง

ยอมให้มีการให้เงินอุดหนุนได้หากไม่เป็นการทำลายประเทศอื่น ๆ (ด้วยการทุ่มตลาด) เช่น การให้ทุน อุดหนุนแก่ชาวนาที่ทำนาเลี้ยงครอบครัว ให้เพื่อทำตลาดขายตรง ให้เพื่อพยุงราคา/รายได้ เพื่อการอนุรักษ์ดิน เพื่อการเปลี่ยนไปทำฟาร์มแบบยั่งยืน เพื่อการวิจัย เป็นต้น

คือสิทธิมนุษยชนประการหนึ่ง ที่จะต้องถูกสุขอนามัย อุดมด้วยสารอาหาร มีราคาที่พอซื้อหาได้ เหมาะสมกับวัฒนธรรมและผลิตได้ในท้องถิ่น

เป็นสิทธิประการหนึ่งของผู้คนในชนบท


เป็นปัญหาการเข้าถึงและการจัดสรร (Distribution) เนื่องจากความยากจนและความไม่เสมอภาค

เกิดขึ้นมากที่สุดเมื่อการผลิตอาหารอยู่ในมือของคนที่อดอยาก หรือเมื่อมีการผลิตอาหารในท้องถิ่น

อยู่ในท้องถิ่นและให้ชุมชนเป็นผู้ควบคุม

ผ่านการปฏิรูปการเกษตรอย่างแท้จริง หากปราศจากการเข้าถึงที่ดิน อะไรอื่นๆนอกจากนี้ ก็ไม่มีความหมาย

เป็นมรดกกลางของมนุษยชาติ มอบให้ชุมชนและชนบทขนบวัฒนธรรมของชนบทร่วมกันเก็บรักษาไว้ "ไม่มีการให้สิทธิบัตรแก่ชีวิต"

จากภาครัฐ โดยวางรูปแบบให้ส่งเสริมการเกษตรในครัวเรือน


เป็นสิ่งต้องห้าม

เป็นต้นตอของปัญหาส่วนมาก จะต้องได้รับการตัดตอนออกไป

เป็นตัวการกดราคาและผลักชาวไร่ชาวนาลงสู่ความยากจน เราจำเป็น ต้องให้สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปใช้ นโยบายบริหารจัดการอุปทาน (Supply management policies)

ไม่ดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นเทคโนโลยีที่ไม่จำเป็น


เป็นระบบนิเวศน์การเกษตร ใช้วิธีทำฟาร์มแบบยั่งยืน ไม่ใช้จีเอ็มโอ

เป็นผู้อนุบาลวัฒนธรรมและเชื้อพันธุ์พืชผล(Crop germplasm)เป็นผู้บริหารดูแลปัจจัยการผลิต เป็นแหล่งความรู้ เป็นตลาดภายในและร่างร้านสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบที่เปิดให้ฝ่าย ๆ ต่างมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง (Broad-based, inclusive economic development)

จำเป็นจะต้องได้รับค่าจ้างที่ประทังชีวิตได้ (Living wages)


เป็นไปได้และมีตัวอย่างแสดงให้เห็นมากมาย
(ดูรายชื่อเอกสารข้างล่าง)






















คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

ปัญหาเรื่องเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์
อธิปไตยด้านอาหาร
เสียงเรียกร้องก้องโลกของขบวนการชาวนา

ปีเตอร์ รอสเส็ต
สุนทรี เกียรติประจักษ์ : แปล

จากบทความเรื่อง
"Food Sovereignty: Global Rallying Cry of Farmer Movements"
ซึ่งตีพิมพ์ในฤดูใบไม้ร่วง ปี 2546

คณะทำงานวาระทางสังคม ร่วม กับ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บทความชิ้นนี้ยาวประมาณ 8 หน้ากระดาษ A4)

 

อธิปไตยด้านอาหารเป็นสิทธิของประชาชนที่จะกำหนดความหมายของอาหาร
และการเกษตรของตนเอง ที่จะคุ้มครองและออกระเบียบการผลิตและการค้าด้านการเกษตรภายในประเทศเพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่จะกำหนดขอบเขต
ที่พวกเขาอยากจะพึ่งพาตนเอง [และ] ที่จะควบคุมการทุ่มตลาดสินค้าของตน ...

อธิปไตยด้านอาหารไม่ได้ปฏิเสธการค้า ตรงกันข้าม กลับส่งเสริมการรวมตัวกันเพื่อการกำหนดนโยบายการค้าและวิถีปฏิบัติที่ตอบสนองสิทธิของผู้คนนานาเผ่าพันธุ์
ที่จะมีวิถีการผลิตที่ปลอดภัย ถูกสุขอนามัยและให้ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

คำประกาศว่าด้วยอธิปไตยด้านอาหารของผู้คนนานาเผ่าพันธุ์
โดยกลุ่มเวียกัมเปสินาและคณะ
ในขณะที่กระแสโลกาภิวัตน์ด้านเศรษฐกิจซึ่งขับเคลื่อนโดยบรรษัทธุรกิจและนโยบายการค้าเสรีแบบไร้การควบคุมสร้างความย่อยยับให้แก่ชุมชนชนบททั่วโลกอยู่นั้น องค์กรชาวนาทั้งหลายก็กำลังรวมพลังกันกู่ก้องเรียกร้องอธิปไตยด้านอาหารอยู่

อธิปไตยด้านอาหารประกาศไว้ว่า การเลี้ยงประชาชนของชาติใดชาติหนึ่ง คือประเด็นที่เป็นเรื่องของความมั่นคงแห่งชาติ เป็นเรื่องของอธิปไตย หากประชาชนของประเทศใดประเทศหนึ่งจะต้องพึ่งพิงอาหารมื้อต่อไปของตน อยู่กับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ไมตรีจิตของพวกมหาอำนาจที่จะไม่ใช้อาหารเป็นอาวุธ หรือพึ่งพิงภาวะที่ไม่อาจทำนายได้และค่าใช้จ่ายสูง ๆ ของการส่งสินค้าทางไกล ประเทศนั้นก็ไม่มีความมั่นคง ไม่ว่าจะในแง่ของความมั่นคงแห่งชาติหรือความมั่นคงด้านอาหาร

"อธิปไตยด้านอาหาร"นั้น กินความนอกเหนือไปจากแนวคิดเรื่อง "ความมั่นคงด้านอาหาร" ซึ่งถูกปอกลอกเอาความหมายที่แท้จริงทิ้งไปอยู่เสมอมา ความมั่นคงด้านอาหารหมายถึงว่าเด็ก ผู้หญิง ผู้ชายทุกคนจะต้องมีความแน่นอนที่จะมีอาหารพอกินในแต่ละวัน แต่แนวคิดนี้ไม่ได้พูดอะไรเลยว่า อาหารที่ว่านั้นมาจากไหนหรือผลิตอย่างไร ฉะนั้น (รัฐบาลสหรัฐฯ ที่) วอชิงตันจึงสามารถจะโต้แย้งได้ว่า สำหรับประเทศยากจนแล้ว การนำเข้าอาหารราคาถูกจากสหรัฐฯ เป็นวิธีการที่ดีกว่าในการได้มาซึ่งความมั่นคงด้านอาหาร แทนที่จะต้องผลิตด้วยตนเอง

แต่การนำเข้าอาหารราคาถูกและได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลของประเทศผู้ผลิต เป็นการทำลายชาวนาท้องถิ่น เป็นการผลักไสพวกเขาออกจากที่ดิน ให้ต้องไปเพิ่มจำนวนของคนอดอยากหิวโหย และความมั่นคงด้านอาหารของพวกเขาก็ถูกดึงไปไว้ในอุ้งมือของระบบเศรษฐกิจที่ใช้เงินเมื่อต้องอพยพไปอาศัยอยู่ในสลัม ที่พวกเขาไม่สามารถหางานซึ่งให้ค่าจ้างที่จะประทังชีวิตได้ การจะได้มาซึ่งความมั่นคงด้านอาหารที่แท้จริงนั้น ประชาชนในพื้นที่ชนบทจะต้องเข้าถึงที่ดินเพื่อการผลิตและขายพืชผลได้ในราคาที่เปิดช่องให้พวกเขาใช้ชิวิตอย่างเป็นผู้เป็นคนกับเขาได้

วิธีการเดียวที่ได้ผลยั่งยืนในการขจัดความหิวโหย และลดทอนความยากจน ได้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่น หนทางหนึ่งที่จะบรรลุการพัฒนาในพื้นที่ชนบทดังกล่าวได้ก็คือการสร้างวงจรการผลิตและการบริโภคในท้องถิ่น ที่ซึ่งครอบครัวของชาวไร่ชาวนา พากันมาขายผลผลิตและซื้อสิ่งจำเป็นของพวกเขาในเมืองในท้องถิ่น เงินทองก็จะหมุนเวียนลายต่อหลายครั้งในระบบเศรษฐกิจท้องถิ่น ก่อให้เกิดการจ้างงานในเมืองนั้น และทำให้ชาวไร่ชาวนาทำมาหากินอยู่ได้

ตรงกันข้าม หากชาวนาผลิตเพื่อการส่งออก ขายได้ในราคาตลาดสากล (ที่ต่ำ ๆ) และแทบทุกอย่างที่ซื้อหาต้องสั่งมาจากนอกประเทศ กำไรทั้งหมดจะถูกสูบจากระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นและไปเกื้อหนุนก็แต่การพัฒนาเศรษฐกิจที่อยู่ไกลโพ้น (ซึ่งก็คือเศรษฐกิจที่วอลล์สตรีท) ดังนั้น ความมั่นคงด้านอาหารที่เน้นความสำคัญของตลาดและระบบเศรษฐกิจท้องถิ่น จึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการต่อสู้กับความอดอยากและยากจน

การปะทะกันของแบบจำลอง
สำหรับขบวนการชาวไร่ชาวนาสากล เวียกัมเปสินา (Via Campesina) แล้ว "อธิปไตยด้านอาหารให้ความสำคัญสูงสุดแก่การเข้าถึงตลาด (Market access) ของผู้ผลิตท้องถิ่น การค้าสินค้าเกษตรแบบเปิดเสรี ซึ่งให้อำนาจการเข้าถึงตลาดโดยใช้อำนาจทางการตลาดและราคาต่ำที่มักได้รับเงินอุดหนุนเป็นเกณฑ์นั้น เป็นการปิดหนทางการเข้าถึงตลาดของตนเองของผู้ผลิตท้องถิ่น" (2545, ต้นฉบับเป็นตัวเอน)

สิ่งที่ขบวนการเวียกัมเปสินาและกลุ่มอื่น ๆ พูดถึงก็คือ เรากำลังเผชิญหน้ากับการปะทะกันของบรรดาแบบจำลองการพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic development models) สำหรับโลกชนบท ระหว่างแบบจำลองที่ครอบงำและอิงอยู่กับการส่งออกสินค้าเกษตร (Agroexports) นโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่และการค้าเสรี กับแบบจำลองของอธิปไตยด้านอาหารนั้น เห็นจะไม่มีอะไรขัดแย้งกันยิ่งไปกว่านี้อีกแล้ว

ในขณะที่แบบจำลองแบบหนึ่งถือว่าพวกชาวนาที่ทำนาเลี้ยงครอบครัว (Family farmers) เป็นพวกตกยุคที่ไร้ประสิทธิภาพ ควรอันตรธานหายไปกับกระแสการพัฒนาได้แล้ว ในขณะที่แบบจำลองอีกชุดเห็นว่าคนเหล่านี้เป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจท้องถิ่น และของการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ เพราะตลาดภายในนี้ต่างหาก ที่เป็นกำลังให้แก่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในปัจจุบันอย่างประเทศสหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ จนสามารถริเริ่มดำเนินการไปได้ตลอดรอดฝั่ง

ในเรื่องของความอดอยากหิวโหย แบบจำลองแบบหนึ่งมองว่าการเพิ่มพูนการส่งออกผลผลิตจากไร่นาขนาดยักษ์ จะเป็นหนทางในการสร้างเงินตราต่างประเทศ ซึ่งจำเป็นสำหรับการนำเข้าอาหารราคาถูกสำหรับพวกที่อดอยาก พวกที่เห็นด้วยกับแบบจำลองนี้บอกว่า การปลูกพืชผลเพื่อการส่งออก (Export cropping) ยังช่วยสร้างงานในชนบท อีกทั้งยังช่วยให้เด็ก ๆไม่ต้องอดอยากได้มากขึ้นด้วย แต่อีกแบบจำลองมองว่า การผันไร่นาที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นของครอบครัวผู้ครอบครองรายย่อย (Family smallholders) ไปเป็นไร่พืชผลเพื่อการส่งออก กลับเป็นแรงขับเคลื่อนที่อยู่เบื้องหลังการขยายตัวของความอดอยากและทุกข์ทรมานในพื้นที่ชนบท

ส่วนฝ่ายที่สนับสนุนอธิปไตยด้านอาหารชี้ว่า การปลูกพืชผลเพื่อการส่งออกขนาดใหญ่ ก่อให้เกิดการจ้างงานในระดับที่ต่ำกว่าการทำฟาร์มภายในครอบครัว และตำแหน่งงานที่เกิดขึ้นนั้นก็ให้ค่าตอบแทนต่ำและไม่มั่นคงด้วย ในขณะที่แบบจำลองที่ครอบงำอิงอยู่กับการใช้สารเคมีเข้มข้น การปลูกพืชเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่ โดยใช้พืชที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม แบบจำลองอธิปไตยด้านอาหารมองว่า วิถีปฏิบัติของการทำฟาร์มแบบอุตสาหกรรมเหล่านี้ เป็นการทำลายที่ดินสำหรับคนรุ่นต่อไป รวมทั้งเป็นปฏิบัติการที่ตรงกันข้ามกับการปฏิรูปการเกษตรอย่างแท้จริง และตรงกันข้ามกับการผสมผสานภูมิปัญญาตามจารีตประเพณีเข้ากับวิถีการทำฟาร์มที่ยั่งยืนและอิงกับระบบนิเวศน์การเกษตร

แบบจำลองที่ครอบงำ กับ แบบจำลองอธิปไตยด้านอาหาร (กรุณากลับไปดูที่ตารางข้างบน)

อธิปไตยด้านอาหาร ข้อตกลงด้านการค้าและการผูกขาด
ขบวนการเวียกัมเปสินาและกลุ่มสนับสนุนอื่น ๆ ต่อหลักการอธิปไตยด้านอาหารเรียกร้องให้มีการกันเรื่องอาหารและการเกษตรออกจากบรรดาข้อตกลงด้านการค้าทั้งหลาย ดังเช่น ข้อตกลงขององค์การการค้าโลก (WTO) ข้อตกลงการค้าเสรีทวีปอเมริกาเหนือ (NAFTA) ข้อตกลงการค้าเสรีทวีปอเมริกา (FTAA) และข้อตกลงระดับภูมิภาคและทวิภาคีอื่น ๆ ขบวนการฯ มองว่าการเปิดเสรีการค้าแบบไร้การควบคุมเป็นตัวการขับไสชาวไร่ชาวนาออกจากที่ดินของพวกเขาและเป็นอุปสรรคใหญ่หลวงของการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและอธิปไตยด้านอาหาร

รัฐบาลของประเทศส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่ ทั้งในซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ยังคงผลักดันให้มีการทำข้อตกลงดังกล่าวอยู่ต่อไป แม้ว่าอาจจะมีการโต้แย้งในรายละเอียดที่เป็นตัวกำหนดการกระจายผลตอบแทน ระหว่างชาติที่อยู่ในกลุ่มย่อยขนาดเล็กนี้อยู่บ้างก็ตาม รัฐบาลเหล่านี้ล้วนตกเป็นตัวประกันในระดับต่าง ๆ กันของผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและของบรรษัทอุตสาหกรรมการเกษตรข้ามชาติทั้งนั้น บรรษัทเหล่านี้มองอาหารว่าเป็นแค่สินค้าตัวหนึ่ง ที่มีเอาไว้ซื้อขาย แต่อาหารมีนัยหมายถึงภาวการณ์ดูแลบริหารปัจจัยการผลิต อาหารคือวัฒนธรรม การเพาะปลูก สุขภาพ อาหารคือตัวตนของชีวิต

รัฐบาลของชาติส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่ของโลกที่สาม เน้นย้ำถูกต้องอยู่จุดหนึ่งในเรื่องความเหลื่อมล้ำมหาศาลในระบบเศรษฐกิจโลก นั่นคือการให้เงินอุดหนุนของสหรัฐฯ กับสหภาพยุโรป และการกีดกัน (Protection) ซึ่งทำให้ยากที่ชนชั้นนำของโลกที่สาม จะแข่งขันกับชนชั้นนำของโลกที่หนึ่งได้ ในการดูดซับเอาความมั่งคั่งจากคนอื่น ๆ ทุกคนมาเป็นของตน แต่จุดยืนของประเทศที่ว่านี้ หาได้ท้าทายแบบจำลองโดยรวมแต่อย่างใดไม่ ตรงกันข้าม กลับหาทางเพิ่มจำนวนของผู้ที่จะได้รับอานิสงส์จากแบบจำลองที่ว่านั้น ซึ่งก็ยังนับว่าเป็นส่วนเสี้ยวน้อยนิดของประชากรโลกอยู่ดี

ในขณะที่ประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรของโลกที่สาม เรียกร้องให้สินค้าส่งออกของตนเข้าถึงตลาดในซีกโลกเหนือได้มากขึ้น องค์การของชาวไร่ชาวนาที่ทำนาเลี้ยงครอบครัวก็แย้งว่า "การเข้าถึงตลาดน่ะหรือ ใช่เลย! การเข้าถึงตลาดท้องถิ่นไงเล่า" ซึ่งหมายความถึง "ปฏิเสธ" การเปิดตลาดท้องถิ่นให้แก่การนำอาหารราคาถูกจากต่างประเทศเข้ามาทุ่มตลาด (เวียกัมเปสินา, 2545)

จุดยืนในเรื่องอธิปไตยด้านอาหารนี้ยังบอกอีกว่า เงินอุดหนุนโดยตัวมันเองแล้วไม่ใช่ศัตรูคู่แค้นอะไร คุณค่าของมันขึ้นอยู่กับว่า เงินอุดหนุนก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายมากน้อยแค่ไหน ใครเป็นผู้รับ และต้องจ่ายอะไรบ้าง ฉะนั้น เงินอุดหนุนที่ให้เฉพาะแก่บรรษัทผู้ผลิตขนาดใหญ่ในซีกโลกเหนือ อันนำไปสู่การทุ่มตลาดและการสร้างความหายนะให้แก่การทำมาหากินของคนชนบทในโลกที่สาม จึงไม่ดี

แต่เงินอุดหนุนที่ให้แก่ชาวไร่ชาวนาที่ทำนาเลี้ยงครอบครัวเพื่อให้พวกเขาอยู่ต่อไปได้และส่งเสริมระบบเศรษฐกิจชนบทให้คึกคัก รวมไปถึงเงินอุดหนุนที่ช่วยให้มีการอนุรักษ์ดิน ให้มีการเปลี่ยนผ่านไปสู่วิถีการเกษตรแบบยั่งยืน และการทำตลาดต่อตรงถึงผู้บริโภคท้องถิ่น จึงเป็นเรื่องดี

ศัตรูที่แท้จริงของชาวไร่ชาวนาคือราคาพืชผลที่ต่ำ และราคารับซื้อที่ฟาร์ม (Farm gate prices) อันเป็นสิ่งที่ชาวไร่ชาวนาได้รับก็ยังคงตกต่ำต่อไป แม้ว่าราคาซื้อของผู้บริโภคจะมีแต่พุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ นี่เป็นเพราะพลังหลักที่บงการกำหนดราคาต่ำ ๆ ให้ชาวนาเป็นกลุ่มเดียวกันกับพวกที่บงการราคาสูง ๆ กับผู้บริโภค ซึ่งก็คืออำนาจผูกขาดควบคุมที่บรรษัทอย่างคาร์กิลล์, อาร์เชอร์ แดเนียลส์ มิดแลนด์, ดรายฟัสส์, บันจ์, เนสท์เล่ และบรรษัทอื่น ๆ ใช้ควบคุมระบบอาหารอยู่นั่นเอง

นั่นหมายความว่าการทลายการผูกขาดเหล่านี้ได้ โดยใช้กฎหมายต่อต้านการผูกขาด (Antitrust laws) ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล จะเป็นกุญแจสำคัญนำไปสู่การให้หลักประกันว่าชาวไร่ชาวนาทั่วโลก สามารถทำมาหาเลี้ยงชีพอยู่ในที่ดินของตนเองได้ ขณะเดียวกันผู้บริโภคทั้งหลาย ก็สามารถเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและราคาซึ่งซื้อหาได้ด้วย

อธิปไตยด้านอาหารเป็นแนวคิดที่ควรจะฟัง สมเหตุสมผลทั้งสำหรับชาวไร่ชาวนาและผู้บริโภคของประเทศ ทั้งในซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ เราทุกคนกำลังเผชิญกับวิกฤตในชนบทและการขาดอาหารที่ผลิตในท้องถิ่น มีคุณค่าทางโภชนาการและราคาที่พอซื้อหาได้ เราต้องร่วมกันต่อต้านนโยบายการค้าสากล และสนับสนุนการปฏิรูปการเกษตรที่แท้จริง และระบบอาหารซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของท้องถิ่น มีความยั่งยืนและการมีส่วนร่วมที่มากกว่านี้ในทุก ๆ ที่ เราต้องเรียกเอาอาหารและที่ดินของเราคืนมาให้ได้


เอกสารอ่านเพิ่มเติม

หนังสือและบทความ:
Altieri, M. A., and P. Rosset. 1999. "Ten reasons why biotechnology will not ensure food security, protect the environment and reducepoverty in the developing world."

AgBio Forum 2 (3/4):155-162. Available at http://www. agbioforum.org / v2n34/v2n34a03-altieri.htm

" Final Declaration of the World Forum on Food Sovereignty." Havana, Cuba, September 7, 2001. Available at http://www.foodfirst.org/media/news/2001/havanadeclaration.html

Food First/Institute for Food and Development Policy. 2002. "Policy think tank reports find agricultural trade agreements hurt family farmers and the poor." Available at http://www.foodfirst.org/media/press/2003/aoarelease.html

Funes, Fernando, Luis Garc?a, Martin Bourque, Nilda P?rez, and Peter Rosset. 2002. Sustainable Agriculture and Resistance: Transforming

Food Production in Cuba. Oakland: Food First Books.

Lapp?, Frances Moore, Joseph Collins, and Peter Rosset, with Luis Esparza. 1998. World Hunger: Twelve Myths, second edition. New York and London: Grove Press and Earthscan with Food First Books.

Mittal, Anuradha. 2002. "Giving away the fa rm: the 2002 Farm Bill." Food First Backgrounder, Summer 2002. Available at http://www.foodfirst.org /pubs/backgrdrs/2002/s02v8n3.html

Pretty, Jules, and Rachel Hine. 2001. "Reducing food poverty with sustainable agriculture: a summary of new evidence." University of Essex, Centre for Environment and Society, Occasional Paper 2001-2. Available at http://www2.essex.ac.uk/ces/Research

Programmes/CESOcasionalPapers/SAFErepSUBHEADS.htm

Rosset, Peter. 2002. "U. S. Opposes Right to Food at World Summit." World Editorial & International Law, June 30, 2002, available at http://www. foodfirst.org/media/opeds/2002/usopposes.html

Rosset, Peter. 1999. "The multiple functions and benefits of small farmagriculture in the context of global trade negotiations s." Food First Policy Brief No. 4. Available at http://www. foodfirst.org/pubs/policy/pb4.html

Via Campesina. 2002. "Food Sovereignty." Flyer distributed at the World Food Summit +5, Ro m e, Italy.

Via Campesina, et al. Undated. "Statement on People's Food Sovereignty: OUR WORLD IS NOT FOR SALE, Priority to Peoples' Food Sovereignty." Available at http://www. food first.org/wto/food sovereignty.php

Wright, Angus, and Wendy Wolford. 2003. To Inherit the Earth: The Landless Movement and the Struggle for a New Brazil . Oakland: Food First Books.

เว็บไซต์:
Via Campesina, http://www. viacampesina.org

Peoples Food Sovereignty: The Agriculture Trade Network, http://www. peoples foods overeignty.org/

Food First, http://www.foodfirst.org

International NGO/CSO Planning Committee for Food Sovereignty, http://www. foodsovereignty.org

 

 


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I สารบัญเนื้อหา 3
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 440 เรื่อง หนากว่า 5000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




 

ประเด็น
แบบจำลองที่ครอบงำ
แบบจำลองอธิปไตยด้านอาหาร
แบบจำลองที่ครอบงำ กับ แบบจำลองอธิปไตยด้านอาหาร
แบบจำลองที่ครอบงำ กับ แบบจำลองอธิปไตยด้านอาหาร
H
"อธิปไตยด้านอาหาร" กินความหมายนอกเหนือไปจากแนวคิด"ความมั่นคงด้านอาหาร"
อธิปไตยด้านอาหารเป็นสิทธิของประชาชนที่จะกำหนดความหมายของอาหาร
อธิปไตยด้านอาหารประกาศไว้ว่า การเลี้ยงประชาชนของชาติใดชาติหนึ่ง คือประเด็นที่เป็นเรื่องของความมั่นคงแห่งชาติ เป็นเรื่องของอธิปไตย หากประชาชนของประเทศใดประเทศหนึ่งจะต้องพึ่งพิงอาหารมื้อต่อไปของตน อยู่กับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ไมตรีจิตของพวกมหาอำนาจ หรือพึ่งพิงภาวะที่ไม่อาจทำนายได้ และค่าใช้จ่ายสูง ๆ ของการส่งสินค้าทางไกล ประเทศนั้นก็ไม่มีความมั่นคงด้านอาหาร
ส่วนฝ่ายที่สนับสนุนอธิปไตยด้านอาหารชี้ว่า การปลูกพืชผลเพื่อการส่งออกขนาดใหญ่ ก่อให้เกิดการจ้างงานในระดับที่ต่ำกว่าการทำฟาร์มภายในครอบครัว และตำแหน่งงานที่เกิดขึ้นนั้นก็ให้ค่าตอบแทนต่ำและไม่มั่นคงด้วย ในขณะที่แบบจำลองที่ครอบงำอิงอยู่กับการใช้สารเคมีเข้มข้น การปลูกพืชเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่ โดยใช้พืชที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม แบบจำลองอธิปไตยด้านอาหารมองว่า วิถีปฏิบัติของการทำฟาร์มแบบอุตสาหกรรมเหล่านี้ เป็นการทำลายที่ดินสำหรับคนรุ่นต่อไป รวมทั้งเป็นปฏิบัติการที่ตรงกันข้ามกับการปฏิรูปการเกษตรอย่างแท้จริง และตรงกันข้ามกับการผสมผสานภูมิปัญญาตามจารีตประเพณีเข้ากับวิถีการทำฟาร์มที่ยั่งยืนและอิงกับระบบนิเวศน์การเกษตร