มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ

Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com

ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซค์ วันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๗ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ


บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 437 หัวเรื่อง
ลัทธิอาณานิคมทางสายตา
สมเกียรติ ตั้งนโม
สาขาจิตรกรรม วิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

R
relate topic
140847
release date
ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบเรื่องพิเศษบริการฟรีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
H
บทความเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางสายตา ในส่วนที่เกี่ยวกับการสร้างภาพของอาณานิคม
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
คลิกไปหน้า homepage มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

Visual Culture : visual colonialism
ลัทธิอาณานิคมกับวัฒนธรรมทางสายตา
สมเกียรติ ตั้งนโม
สาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



Nicholas Mirzoeff
Introduction to part four
Visual Culture : visual colonialism
หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้ แปลและเรียบเรียงมาจากบทนำในส่วนที่สี่ของหนังสือ The Visual Culture Reader
Nicholas Mirzoeff บรรณาธิการและเขียนบทนำ
(บทความชิ้นนี้ยาวประมาณ 19 หน้ากระดาษ A4)



Introduction to Part Four
Nicholas Mirzoeff

หนึ่งในลักษณะต่างๆที่เป็นตัวกำหนดของยุคสมัยใหม่คือ ประสบการณ์เกี่ยวกับลัทธิอาณานิคมและระบบทาส

ความพยายามต่างๆเกี่ยวกับอาณานิคมซึ่งมีการตั้งรกรากในแถบทะเลแคริบเบียน จนกระทั่งถึงในช่วงปี ค.ศ.1914 นั้น ประมาณกันว่า 85 เปอร์เซนต์ของโลก ได้ถูกครอบครองและกลายเป็นอาณานิคมไป การแผ่ขยายของยุโรปได้ถูกทำให้เป็นไปได้ในกรณีต่างๆทางด้านวัตถุ ซึ่งมีลักษณะเด่นคือการค้าทาสแอตแลนติค ซึ่งรุ่งเรืองเฟื่องฟูนับจากคริสตศตวรรษที่ 17 ไปจนถึงช่วงต้นของคริสตศตวรรษที่ 19 ในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีการเคลื่อนย้ายชาวแอฟริกัน 10-15 ล้านคนโดยการใช้กำลังกระทำการดังกล่าว ซึ่งมีผลทำให้มีการฆ่าผู้คนไปจำนวนมากกับความพยายามอันนั้น

ระบบทาส เป็นผู้ค้ำประกันหรือรับรองเกี่ยวกับเรื่องเชื้อชาติสูงมากของชาวยุโรปที่ไม่จำเป็นต้องพูด การเลิกล้มระบบทาส ได้น้อมนำไปสู่ความเจริญเติบโตของ "ลัทธิเชื้อชาติในเชิงวิทยาศาสตร์"(scientific racism) ซึ่งอ้างว่า สามารถพิสูจน์ถึงความด้อยกว่าของเชื้อชาติอื่นได้ ในฐานะที่มันเป็นข้อเท็จจริงอันหนึ่ง

ข้อพิสูจน์ดังกล่าวเริ่มจากการวิจัยต่างๆเกี่ยวกับเรื่องของกระโหลกของ Blumenbach ในคริสตศตวรรษที่ 18 จนกระทั่งถึงความพยายามเมื่อเร็วๆนี้ เพื่อกำหนดนิยามคนผิวดำในฐานะที่เป็นความด้อยกว่าทางพันธุกรรม แต่ความพยายามทั้งหมดนี้ ดูเหมือนว่าจะประสบกับความล้มเหลว มันเป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างนัยะหรือความหมายในเชิงเหตุผลออกมาได้ จากความไร้เหตุผลของลัทธิเชื้อชาติ

อย่างไรก็ตาม ความไร้ประโยชน์เกี่ยวกับการแสวงหาความแตกต่างทางเชื้อชาติ โดยทำให้เป็นรูปธรรมขึ้นมานั้น ถือเป็นส่วนสำคัญอันหนึ่งของวัฒนธรรมทางสายตาของตะวันตก ตลอดยุคสมัยใหม่ และผลต่างๆของมันเป็นสิ่งที่เด่นชัดมาก ซึ่งดูออกจะดูเกินไปในชีวิตประจำวันร่วมสมัย

คำถามคือว่า มันมีหนทางต่างๆในการมองผู้คนที่ไม่ต้องทำให้เป็นเรื่องของเชื้อชาติได้ใช่ไหม? คำถามอันนี้จะได้รับการพิจารณาทั้งในช่วงก่อนพลังอำนาจของอาณานิคม และในส่วนของประชาชาติต่างๆหลังอาณานิคมในตัวของมันเอง

อันที่จริง นักปรัชญาแอฟริกัน V.Y. Mudimbe ได้ให้เหตุผลว่า ระบบของชาติต่างๆและอาณานิคมได้ถูกสร้างขึ้นมาโดยพลังอำนาจต่างๆอันยิ่งใหญ่ของคริสตศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นเพียงเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นมาเร็วๆนี้นี่เอง

ขณะที่ประชาชาติต่างๆเป็นจำนวนมากได้มีอิสรภาพมาเป็นทศวรรษๆแล้ว การสิ้นสุดของสงครามเย็น และการสร้างโลกและพลังอำนาจท้องถิ่นขึ้นมาใหม่อีกครั้งนั้น ได้คลอเคียงไปกับมัน ซึ่งทำให้วัฒนธรรมหลังอาณานิคมที่แท้จริง ซึ่งเมื่อมาถึงตอนนี้ มีความเป็นไปได้ขึ้นมาเป็นครั้งแรก

อะไรที่ทำให้หลังอาณานิคม ดูคล้ายคลึงกับก่อนเกิดการล่าอาณานิคม และก่อนการตกเป็นอาณานิคม?

(ก) ลัทธิอาณานิคมทางสายตา (Visual colonialism)
พลังอำนาจต่างๆของอาณานิคมมักจะได้รับการอ้างว่า บทบาทของมันนั้นมีศูนย์กลางอยู่ที่อักษรย่อว่า C3 (CCC สามตัวด้วยกัน) ซึ่งอักษรย่อนี้ ได้รับพูดขึ้นมาโดยมิชชั่นนารีหรือนักสอนศาสนาในต่างประเทศ David Livingstone: นั่นคือ Commerce, Christianity และ Civilization [การพาณิชย์, คริสต์ศาสนา, และ อารยธรรม]

สิ่งที่ชาวฝรั่งเศสเรียกว่า"พันธกิจในการสร้างความเจริญ"(civilizing mission) อาจดูเหมือนคล้ายๆกับว่า เป็นเพียงคำแก้ตัวสำหรับพัฒนาการทางการค้า แต่บรรดานักอาณานิคมคนอื่นๆกลับยึดถือบทบาทที่แต่งตั้งขึ้นมาโดยตัวของพวกเขาเองกันอย่างจริงจังมาก ผลที่ตามมาอันหนึ่งก็คือ มันกลายเป็นลัทธิอาณานิคมทางสายตาที่ค่อนข้างประสบผลสำเร็จอย่างสูง เรียงลำดับตั้งแต่แผนที่, ภาพถ่าย, และงานจิตรกรรม, เพื่อทำการสะสมรวบรวมเกี่ยวกับงานศิลปะและงานฝีมือของท้องถิ่น

วัตถุต่างๆเหล่านี้ได้ถูกสะสมรวบรวมขึ้นมาเป็นจำนวนมาก อย่างเช่นในพิพิธภัณฑ์ the Musee de I'Homme ในกรุงปารีส, the Museum of Mankind in London (พิพิธภัณฑ์ทางด้านมนุษยชาติในกรุงลอนดอน), the Musse du Congo Belge in Terveruen และอื่นๆ โดยรวมแล้ว วัฒนธรรมทางสายตาเกี่ยวกับลัทธิอาณานิคม ได้มีบทบาทอย่างมีนัยสำคัญอันหนึ่งต่อการอรรถาธิบาย และกำหนดนิยามถึงแบบแผนเกี่ยวกับอาณานิคม

นักมานุษยวิทยา Johannes Fabian ได้ให้เหตุผลว่า มานุษยวิทยาในแบบจารีต ซึ่งงอกงามขึ้นมาในความสัมพันธ์โดยตรงกับอาณานิคมทั้งหลายของชาวยุโรป ได้ถูกปรับเปลี่ยนในทางสายตาไปมาก กล่าวคือ มันมี"ความสามารถในการทำให้สังคมและวัฒนธรรมกลายเป็นภาพขึ้นมา จนเกือบจะกลายเป็นคำพ้องหรือความหมายเหมือนกันสำหรับการทำความเข้าใจสิ่งเหล่านี้เอาเลยทีเดียว"(Fabian 1983)

เขาเรียกระบบนี้ว่า "ลัทธิทางสายตา"(visualism), ซึ่งเป็นพันธมิตรอย่างใกล้ชิดกับความนึกคิดของยุคสว่าง(the Enlightenment)เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของการสำรวจ ที่ได้รับการนิยามโดย John Locke: "การรับรู้ของจิตใจ ได้ถูกอธิบายอย่างเหมาะสมส่วนใหญ่ โดยคำพูดต่างๆที่สัมพันธ์กับการเห็น"

สำหรับ Fabian และนักมานุษยวิทยาคนอื่นๆ ทางออกของปัญหานี้วางอยู่ในการผันเปลี่ยนไปจากความไว้วางใจโดยเฉพาะในการสังเกตด้วยสายตา ไปสู่การรวมตัวกับหลักฐานของประสาทสัมผัสอื่นๆทั้งหมด. มันค่อนข้างยากที่จะเห็นด้วยหรือยอมรับโดยดุษฎีกับข้อสรุปอันนี้ นั่นคือการให้ความวางใจทั้งหมดไปกับการสังเกต. ไม่มีนักวิจัยคนใดสามารถที่จะปฏิบัติการจริงๆได้ โดยการพึ่งพาอาศัยวิธีการสังเกตแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่พิจารณาหรือมองข้ามข้อมูลทางด้านประสาทสัมผัสอื่นๆทั้งหมด

มีการตำหนิประณามแง่มุมทางสายตาต่อนักมานุษยวิทยา ซึ่งมักจะละเลยหรือไม่สนใจในเรื่องที่ว่า ลัทธิทางสายตาต้องการที่จะสร้างระบบทางด้านเชื้อชาติขึ้นมา เพื่อเป็นการแบ่งแยกมนุษย์โดยพึ่งพาอาศัยขั้นบันไดวิวัฒนาการอันหนึ่ง ซึ่งขึงจากยุคบุพกาลไปจนกระทั่งถึงยุคอารยธรรมอยู่บ่อยๆ

ในงานที่คัดมานำเสนอจากความเรียงที่มีเสน่ห์ตรึงใจของเขาเรื่อง "Orientalism and the Exhibitionary Order" [ลัทธิบูรพาทิศและแบบแผนการแสดงออก], Timothy Mitchell ได้แสดงให้เห็นว่า การแสดงออกในทางมานุษยวิทยาแห่งคริสตศตวรรษที่ 19 ได้รับการอุทิศให้กับการนำเสนอสิ่งที่เขาเรียกว่า "ความจริงเกี่ยวกับตะวันออก"[Orientalist reality]ว่าเป็นอย่างไร (Mitchell 1992)

ลัทธิบูรพาทิศเป็นชื่อๆหนึ่ง ซึ่งตั้งขึ้นมาสำหรับการศึกษาของตะวันตกเกี่ยวกับสถานที่ในมโนภาพหรือจินตนาการ ซึ่งถูกรู้จักในฐานะที่เป็นบูรพาทิศ(Orient) ซึ่งมีรากฐานอยู่บนอาณานิคมต่างๆของชาวยุโรปในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ แต่ก็ลงรอยสอดคล้องกับความนึกคิดอันหนึ่งเกี่ยวกับตะวันออก ในฐานะที่เป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่แปลกประหลาดและเป็นอื่น(exotic and other)

ความจริงของตะวันออก(Orientalist reality)อันนี้ ได้รับการนิยาม "ในฐานะที่เป็นผลิตผล ของสาระหรือเนื้อแท้ทางวัฒนธรรมหรือเชื้อชาติที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง" ซึ่งถูกถือว่ามันตรงข้ามกันคนละมุมกับสิ่งเหล่านั้นของตะวันตก

ความเป็นตะวันออกได้ถูกทำเครื่องหมายอย่างจำเป็น โดยลักษณะของการไม่มีอยู่หรือขาดเสียซึ่งคุณภาพบางอย่างของตะวันตก ซึ่งงานแฟร์ต่างๆระดับโลก(world's fairs)หรืองานแสดงสินค้าหรือผลิตผลต่างๆที่เป็นสากล(universal exhibitions)เกี่ยวกับยุคนั้น มักจะเสาะหามานำเสนอต่อผู้เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการทั้งหลายเหล่านี้

Mitchell ได้ใช้เรื่องราวและคำอธิบายต่างๆของชาวอาหรับ ในฐานะผู้เยี่ยมชมนิทรรศการต่างๆดังกล่าว เพื่อให้เหตุผลว่า โลกในตัวของมันเองกำลังถูกออกคำสั่ง ดังเช่นนิทรรศการที่ไม่รู้จักจบสิ้นพวกนี้. บรรดาผู้เยี่ยมชมจากตะวันออกกลางได้พบเรื่องราวแปลกๆผิดธรรมดาที่ว่า บรรดาชาวตะวันตกค่อนข้างจะถูกครอบงำด้วย "ความตื่นเต้น" - เป็นคำพูดหนึ่งซึ่งพวกเขาไม่สามารถหาคำอื่นมาเปรียบเทียบกับมันได้

ไม่มีความพยายามใดๆถูกสงวนเอาไว้เพื่อนำเสนอการแสดงต่างๆเกี่ยวกับชีวิตและวัฒนธรรมของตะวันออก"ที่เป็นจริงๆ" คุณค่าของตะวันออก เป็นเพียงเพื่อรับใช้แค็ตตาล็อคฉบับหนึ่งเท่านั้น ซึ่งเรียกว่า "an object lesson" (บทเรียนทางวัตถุชิ้นหนึ่ง). บทเรียนดังกล่าวสอนว่า, ดังที่ Mitchell กล่าวไว้ดังนี้คือ

"ความเป็นวัตถุคือสาระอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่เพียงเป็นเรื่องของการจัดการทางสายตารายรอบผู้สังเกตการณ์ที่อยากรู้อยากเห็นเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับการเป็นตัวแทนการแสดงออกด้วย มันคือการลดทอนโลกใบนี้ลงมาเหลือเพียงระบบหนึ่งของวัตถุต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีการของการจัดระบบด้วยความระมัดระวังของพวกเขาอย่างหนึ่ง ที่ทำให้พวกเขาสามารถปลุกเร้าความหมายที่ใหญ่กว่าบางอย่างขึ้นมาได้ อย่างเช่น ประวัติศาสตร์ หรือจักรวรรดิ์ หรือความก้าวหน้า"

ความหมายที่แตกต่างเหล่านี้ ในตัวของพวกมันเอง ได้ถูกนำไปเชื่อมโยงกับวาทกรรมเกี่ยวกับเรื่องเชื้อชาติและความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ แบบแผนการแสดงนิทรรศการ แน่นอน วางอยู่บนความเชื่อมั่นเกี่ยวกับลัทธิทางสายตา(visualism) แต่นั่นไม่ใช่เป้าหมายของมันแต่อย่างใด มันพยายามที่จะใช้ภาพทางสายตาเพื่อแสดงออกถึงคำบรรยายหลัก(grand narrative - วาทกรรมหลัก) เกี่ยวกับโลกทัศน์ของจักรวรรดิ์ต่อประชากรในบ้านเมืองของตนเอง และต่อผู้คนในบังคับบัญชาด้วย

แบบแผนการแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับลัทธิอาณานิคมทางสายตา ได้ขยายกว้างออกไปสู่การเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน ทั้งของชาวยุโรปและผู้คนในท้องถิ่นต่างๆ. ไม่มีผลิตผลใดๆที่ดูจะไร้เดียงสาและมีอยู่ในชีวิตประจำวันมากไปกว่าราววางสบู่ที่แสนจะธรรมดา

ในผลงานที่คัดมาจากหนังสือที่ได้รับการต้อนรับของเธอเรื่อง Imperial Leather, Anne McClintock ได้แสดงให้เห็นว่า ความเจริญเติบโตอย่างน่าสังเกตของสบู่ ในฐานะที่เป็นสินค้าตัวหนึ่งในช่วงคริสตศตวรรษที่ 19 เนื่องมาจาก มันถูกรับรู้ในฐานะที่เป็นแก่นสารที่แท้จริงของวัฒนธรรมจักรวรรดิ์(imperial culture):

"สบู่ รุ่งเรืองเฟื่องฟูไม่เพียงเพราะ มันได้สร้างและเติมเต็มช่องว่างอันน่าตื่นเต้นในตลาดภายในเท่านั้น แต่เป็นเพราะ ในฐานะสินค้าในบ้านที่ราคาถูกและเคลื่อนย้ายได้ง่าย มันยังเป็นสื่อกลางอันจูงใจของความงดงาม หรือบทกวีของวิคตอเรียนเกี่ยวกับความสะอาดทางด้านเชื้อชาติ และความก้าวหน้าของจักรวรรดิ์ด้วย" (McClintock 1995)

แนวเรื่องที่ถูกทำซ้ำในการโฆษณาที่มุ่งไปยังมวลชนของยุคนั้น ได้แสดงภาพของเด็กผิวดำที่ถูกชำระล้างด้วยสบู่ซึ่งเป็นภาพในกรอบที่หนึ่ง และภาพในกรอบต่อมาภาพของเด็กผิวดำนั้น ขาวขึ้นตั้งแต่คอลงมาหลังจากได้ใช้สบู่ฟอกตัวแล้ว

ลัทธิจักรพรรดิ์นิยม โดยแท้จริงแล้ว ได้ชะล้างความเปรอะเปื้อนและจุดด่างพร้อยของความป่าเถื่อนแห่งยุคบรรพกาลทิ้งไป และ "ได้ทำให้ความบริสุทธิ์ของร่างกายที่เป็นเรื่องส่วนตัว กลายเป็นการอุปมาอุปมัยอันหนึ่งของการกำเนิดใหม่ของการเมืองเรื่องร่างกาย หรือความฉลาดของร่างกาย"

ดังนั้น ลัทธิโปรเตสแตนท์(Christianity), การค้า(Commerce), และอารยรรม(Civilization) จึงถูกโยกย้ายพร้อมกันไปทั้งหมดโดยราววางสบู่ ซึ่งเป็นการขายทั้งผลผลิตและวัฒนธรรมในทางการเมืองของลัทธิจักรพรรดิ์นิยมไปในเวลาเดียวกัน

Malek Alloula ได้หยิบเอาวัตถุที่ใช้ในชีวิตประจำวันอีกชิ้นหนึ่งขึ้นมา - โปสการ์ด - และแสดงให้เห็นว่ามันมีสถานะที่คลาสสิคอันหนึ่งเกี่ยวกับลัทธิบูรพาทิศ ซึ่งก่อนหน้านี้ตะวันออกเป็นมายาการ หรือสิ่งที่หลอกหลอนตะวันตกมาอย่างยาวนาน: "มันไม่มีสิ่งที่มาหลอกหลอน แม้ว่า จะปราศจากเรื่องเพศ และในลัทธิบูรพาทิศนี้ … รูปแกนกลางอันหนึ่งได้ปรากฏตัวขึ้น การก่อตัวขึ้นมาเป็นรูปเป็นร่างจริงๆของการถูกครอบงำ: ฮาเร็ม" (Alloula 1986)

ในฮาเร็มของอาหรับ หมายถึง"ต้องห้าม" และยังอ้างอิงถึงสถานที่พักอาศัยของผู้หญิงของครอบครัวอิสลามิก. งานเย็บปักถักร้อยจากเรื่องราวที่ยาวนานมาถึงสี่ศตวรรษ เกี่ยวพันกับฮาเร็มของสุลต่านในอิสตันบูล จินตนาการของตะวันตกได้แปรเปลี่ยนฮาเร็มทุกแห่ง ให้กลายไปเป็นพื้นที่แห่งการเสพสมและการหมกมุ่นในกาม

อัลจีเรียอาณานิคมของฝรั่งเศสในช่วงปี ค.ศ.1830, ปฏิบัติการอันหนึ่งที่ถูกทำให้เป็นเอกสารหลักฐานโดยบรรดาศิลปินทั้งหลาย อย่างเช่น Eugene Delacroix และศิลปินต่อๆมา Horace Vernet. ในทศวรรษแรกของคริสตศตวรรษที่ 20 ผลงานทางด้านวิจิตรศิลป์เกี่ยวกับภาพของผู้หญิงคนหนึ่ง ซึ่งอยู่กินฉันสามีภรรยากับผู้ชายที่เป็นคนสำคัญ(odalisque) หรือภาพเปลือยของผู้หญิงตะวันออก, ได้ถูกนำออกแสดงโดยภาพโปสการ์ด ซึ่งได้รับความนิยมกันอย่างท่วมท้น เป็นภาพวาดเกี่ยวกับผู้หญิงชาวอัลจีเรียน(Algerienne)

Alloula ตัวเขาเองเป็นชาวอัลจีเรียน ได้ศึกษาเรื่องภาพอันนี้ ซึ่งเป็นวัตถุทางสายตาที่ปัจจุบันทิ้งกันไปแล้วในงานเขียนของเขาเรื่อง The Colonial Postcard ในงานเขียนชิ้นดังกล่าว เขาพยายามที่จะ "หวนกลับไปสู่ภาพโปสการ์ดจำนวนมากมายมหาศาลเหล่านี้เกี่ยวกับผู้ใช้มัน" เพื่อแสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงภายใต้ผ้าคลุมหน้า ได้สร้างการปลุกเร้าอันหนึ่งต่อช่างภาพ ดังผ้าขาวของพวกเธอที่ผลิตเทคนิคที่เรียกว่า"whiteout", ช่องที่เจาะเอาไว้มองภายใต้ผ้าคลุมหน้าของผู้หญิง เรียกร้องการจ้องมองของตัวนักถ่ายภาพเอง และในความรู้สึกหนึ่งที่ "นักถ่ายภาพเองก็รู้สึกถูกถ่ายภาพ … เขา(ในฐานะนักถ่ายภาพ) ได้ถูกริบหรือแย่งเอาการจ้องมองของตัวเขาเองไป".

บางทีอย่างที่คาดเดาได้ การขานรับเป็นไปอย่างชัดเจน: "เขาอาจจะเปิดผ้าคลุมหน้าออก และนำเสนอการแสดงออกในสิ่งต้องห้าม". ด้วยเหตุนี้ จากสิ่งซึ่งดูเหมือนว่าเป็นเพียงภาพโปสการ์ดที่บริสุทธิ์ไร้เดียงสา กลับแสดงถึงการค่อยๆเปิดผ้าคลุมหน้าขึ้นสู่ ความเป็นภาพยอดนิยมของภาพเปลือยครึ่งตัวของผู้หญิงอัลจีเรียนที่เป็นย่างก้าวหนึ่งที่รุนแรง

การจ้องมองของอาณานิคม ต้องการเห็นและทำให้มันเป็นนิทรรศการงานหนึ่งขึ้นมาเกี่ยวกับผู้หญิงเหล่านี้. ความรู้สึกในเชิงอีโรติคหรือกามวิสัย เช่นดังที่มันเคียงข้างไปกับประเด็นดังกล่าว สำหรับอันนี้คือ ปฏิบัติการอันหนึ่งของพลังอำนาจของอาณานิคม

นักประวัติศาสตร์ศิลป์แอฟริกัน Suzanne Preston Blier ได้ให้ภาพเรื่องราวอันน่าประทับใจเกี่ยวกับ ปฏิบัติการต่างๆของพลังอำนาจของอาณานิคม ซึ่งได้แปรเปลี่ยนภาพที่ปลุกเร้าของศิลปะแอฟริกัน the Fon bocio figure ไป (Blier 1995)

ในภูมิภาคนี้ของแอฟริกาตะวันตก ความเป็นทาสมิได้สาบสูญไปไหน ด้วยการสิ้นสุดของการค้าทาสในแถบแอตแลนติค แต่ภายในแล้วมันยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะตอบสนองแรงงานสำหรับการเพาะปลูกต้นปาล์มน้ำมัน ที่เป็นวัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมการทำสบู่ ที่ได้รับการอธิบายโดย Anne McClintock. โดยในปี 1900 นั้น จำนวนมากของประชากรหนึ่งในสามในพื้นที่ Danhome ต่างเต็มไปด้วยทาสที่ทำสวนปาล์มน้ำมันดังกล่าว

ความรุนแรงของระบบทาสได้ถูกแสดงออกมาด้วยอำนาจอย่างเต็มที่ ในภาพ bocio ที่ถูกทรมานและพันธนาการ ซึ่งภาพนั้นขัดแย้งหรือตรงข้ามกันอย่างแหลมคมกับผลงานประติมากรรมที่ดูราบเรียบ ที่สร้างขึ้นมาสำหรับพวกผู้ดี the Fon ของยุคนั้น (the Fon - หมายถึงผู้คนที่อาศัยอยู่ที่ Benin ซึ่งอยู่ในแอฟริกาใต้ เคยเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศส)

ดังที่ Blier อธิบายในงานที่คัดตัดตอนมารวมอยู่ในหนังสือเล่มนี้ จากหนังสือที่ได้รับรางวัลชนะเลิศของเธอเรื่อง African Vodun: Social History and the Slave Trade, (แอฟริกันวูดู: ประวัติศาสตร์สังคมและการค้าทาส) ประติมากรรมเหล่านี้ "ได้นำเสนอหนทางอันหนึ่งเกี่ยวกับการยอมรับและปฏิเสธภาพลบ โดยการช่วยให้บรรดาผู้ใช้ของพวกเขาให้"คิดคำนึงผ่านความน่าสยดสยอง", ดังเช่น [Michael] Taussig กล่าว… ศิลปะได้จัดหาหรือนำเสนอช่องทางอันหนึ่ง ที่จะทำให้สุ้มเสียงที่ไม่อาจร้องออกมาสามารถเปล่งเสียงออกมาได้"

ขณะเดียวกัน Alloula รู้สึกสลดใจว่า การจับจ้องของผู้หญิงอัลจีเรียนไม่ได้ถูกนำเสนอในที่ใดเลยในแผ่นภาพโปสการ์ดต่างๆ, ประสบการณ์ของผู้บังคับหมวดได้ให้การแสดงออกที่ปรากฏแก่ตาใน the Fon bocio figure, ดังเช่นที่มันเป็นใน Kongo minkisi ภาพต่างๆที่แสดงถึงอำนาจ

ดั่งความสำคัญของมัน ที่ได้รับการวิเคราะห์ถึงวัฒนธรรมทางสายตาเกี่ยวกับประชาชาติจักรวรรดิ์ทั้งหลาย การสนทนาประเภทนี้ ด้วยประสบการณ์ของตัวพวกเขาเองที่ตกเป็นอาณานิคม มันยังคงถูกพัฒนาไปอย่างเต็มที่ในเรื่องราวและคำอธิบายต่างๆทางวิชาการ. ข้อจำกัดและการควบคุมต่างๆในทางวินัยเกี่ยวกับทักษะทางด้านภาษาและประสบการณ์ภาคสนาม ได้ถูกถ่ายเทไปสู่งานวิจัยที่มีข้อจำกัดในการเผชิญหน้าต่างๆเหล่านี้. ประสบการณ์ชายแดนพวกนี้ จะเป็นสนามชีวิตอันมีพลังสำหรับการศึกษาวัฒนธรรมทางสายตา

(ข) เชื้อชาติและอัตลักษณ์ที่ทำให้เป็นภาพทางสายตา (Visualizing race and identity)
ในปี ค.ศ.1735 นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน Karl Linnaeus ได้ประยุกต์ใช้แบบแผนการแบ่งหมวดหมู่ซึ่งเขาได้คิดประดิษฐ์ขึ้นสำหรับพืชมาใช้กับมนุษย์ เขาได้แบ่งมนุษยชาติออกเป็น 4 จำพวกด้วยกัน: คือ ยุโรป, แอฟริกัน, เอเชียน, และอเมริกัน (หมายถึงชาวอเมริกันพื้นเมือง)

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วัฒนธรรมตะวันตกได้พยามยามแสวงหาหนทางหรือวิธีการ ที่จะสร้างความแตกต่างเหล่านี้ขึ้นให้เป็นภาพทางสายตา แม้ว่าอันที่จริงแล้ว จากพยานหลักฐานที่มีอย่างล้นเหลือในเชิงวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน จะบอกกับเราว่า มันไม่มีแก่นสารใดๆของความแตกต่างในทางชีววิทยาระหว่างมนุษย์ด้วยกัน

ความคิดที่ว่า มันมีแบบฉบับความเป็นมนุษย์ที่แตกต่างกัน ซึ่งค่อยๆประมวลขึ้นมาอย่างค่อยเป็นค่อยไป จนกระทั่งเกิดการแบ่งแยกเชื้อชาติขึ้น แม้ว่ามันจะไม่เคยมีฉันทามติหรือความเห็นที่สอดคล้องกันส่วนใหญ่เกี่ยวกับเรื่องเชื้อชาติว่า เชื้อชาติเป็นสิ่งที่สามารถจะนิยามได้ก็ตาม

ในช่วงยุคสมัยที่ต่างกัน บรรดานักทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องเชื้อชาติ ได้ตรวจตราไปที่รูปของกระโหลก, สมอง, ศิลป, และปัจจุบันได้ดูกันที่ยีน เพื่อค้นหาเครื่องหมายที่ถาวรและเห็นได้ด้วยตาเกี่ยวกับเชื้อชาติ บ่อยครั้งแม้ว่าจะมีการปฏิเสธกันอย่างกว้างขวางต่อกรณีข้างต้น แต่สำหรับความแตกต่างในเรื่องผิวพรรณนั้นกลับเป็นสิ่งที่สามารถถูกพบได้ แต่อย่างไรก็ตาม มันไม่ได้มาช่วยในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่มีความแน่นอนเที่ยงตรงเท่านัก และอันที่จริงออกจะเหลวไหลด้วยซ้ำไปในเรื่องเกี่ยวกับการแบ่งแยกผู้คน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเกิดความล้มเหลวในการเห็นพ้องต้องกันสำหรับการอธิบายเรื่องเชื้อชาติในเชิงชีววิทยา แต่เชื้อชาติก็ยังสามารถถูกพิจารณากันได้ ในฐานะที่เป็นเรื่องทางวัฒนธรรม

สำหรับคำว่า"เชื้อชาติ"กับ"วัฒนธรรม" เป็นศัพท์คำพ้องในคริสตศตวรรษที่ 18. นักมานุษยวิทยาในคริสตศตวรรษที่ 19 ได้ให้นิยามใหม่เกี่ยวกับคำว่า"วัฒนธรรม" ให้หมายถึงวิถีชีวิตทั้งหมดในสังคมใดสังคมหนึ่ง เช่นดั่งในการแสดงออกของ"วัฒนธรรมยิว", และยังคงถูกใช้กันมาอย่างต่อเนื่องในบริบทของการทำให้เป็นเรื่องเชื้อชาติอันหนึ่ง คำถามคือว่า เชื้อชาติสามารถที่จะถูกทำให้หลุดออกมาจากวัฒนธรรมได้หรือไม่ และอย่างไร

งานเขียนเมื่อไม่นานมานี้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวได้เน้นว่า วัฒนธรรมไม่ควรได้รับการมองในลักษณะดังกล่าว แต่ควรถูกมองในฐานะที่เป็นบางสิ่งที่เลื่อนไหลเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และขอบเขตต่างๆของมัน มักจะอยู่ในการโต้เถียงกันเสมอด้วย

สำหรับ Antonio Benitez-Rojo: "วัฒนธรรมคือวาทกรรมอันหนึ่ง, ภาษา, และดังที่กล่าว มันไม่มีจุดเริ่มต้นหรือสิ้นสุด และมักจะอยู่ในความแปรผันเสมอ นับจากที่มันมักจะมองไปที่ความหมายของสิ่งที่มันไม่สามารถจัดการความหมายได้". ความเรียงต่างๆในส่วนนี้จะจับจ้องไปที่การท้าทายต่างๆที่ได้รับกำหนดโดยวิธีการศึกษาอันนั้น ทั้งภายในและภายนอกวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่งโดยเฉพาะ

ในความเรียงของเขาเกี่ยวกับ"ศิลปะของคนดำในสหราชอาณาจักร" ซึ่งพิมพ์ซ้ำในที่นี้ ในชื่อ Art of Darkness, Paul Gilroy ได้อภิปรายจากทัศนียภาพของการศึกษาด้านวัฒนธรรมในสหราชอาณาจักรร่วมสมัย "การเมืองเกี่ยวกับเรื่องเชื้อชาติที่เปลี่ยนไป" (the politics of race has changed)(Gilroy 1993b). เขาแสวงหาหนทางที่จะเปลี่ยนแปลงข้อถกเถียงที่มักจะเป็นเรื่องแคบๆเกี่ยวกับการต่อต้านเชื้อชาติ ไปสู่ความสลับซับซ้อนที่กว้างกว่า เกี่ยวกับวัฒนธรรมและความเป็นสมาชิกวัฒนธรรมนั้น

ในผลงานที่นำมาตีพิมพ์ชุดนี้ บางทีงานที่เด่นสุดก็คือ "The Black Atlantic (Gilroy 1993a) Gilroy ได้สำรวจถึงสิ่งที่หมายถึง การเป็นทั้งคนดำ และคนของสหราชอาณาจักร. มักจะมีการตั้งคำถามกันเสมอ เกี่ยวกับการนำเสนอเรื่องราวที่สร้างขึ้นมาเกี่ยวกับความเป็นสหราชอาณาจักร ซึ่งด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งที่ดูเป็นธรรมชาติ และแสดงออกโดยการอ้างอิงถึงความเป็นอังกฤษ(ผิวขาว)ก่อนอื่นใดทั้งหมด, มากกว่าชาวสก็อต, เวลสช์ หรือไอริช, และไม่มีการพูดถึงชนกลุ่มน้อยต่างๆทางชาติพันธุ์จำนวนมาก ที่ได้สร้างประชากรอดีตและปัจจุบันของสหราชอาณาจักรขึ้นมา

Gilroy ได้ให้เหตุผลว่า สหราชอาณาจักรต้องได้รับการทำความเข้าใจในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของคนดำแอตแลนติค, ภูมิศาสตร์ทางวัฒนธรรมอันหนึ่งที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาโดยขบวนการบีบบังคับของแอฟริกันที่ตกเป็นทาส และการอพยพย้ายถิ่นของทายาทหรือผู้สืบสกุลที่เป็นชนอิสระของพวกเขา เช่นเดียวกับโดยเส้นทางต่างๆที่ได้มาโดยผลผลิตทั้งหลายในเชิงพาณิชย์ของวัฒนธรรมอาณานิคม อย่างเช่น น้ำตาล, ชา, และกาแฟ

บรรดาศิลปินคนดำสหราชอาณาจักร ต่างกำลังมีส่วนร่วมในการเขียนประวัติศาสตร์ขึ้นมาใหม่ และกำลังเคลื่อนพ้นไปจากพวกแรก การบุกเบิกหรือหักร้างถางพงที่จำเป็นเกี่ยวกับประสบการณ์ของคนดำ ในการที่จะสร้างความเข้าใจใหม่ขึ้นมาอีกครั้งเกี่ยวกับวัฒนธรรมอังกฤษ และการสร้างสรรค์ของพวกเขาต้องได้รับการเติมเต็ม โดยการอ่านประวัติศาสตร์วัฒนธรรมกันใหม่อีกครั้ง ซึ่งได้วางความคิดเกี่ยวกับเรื่อง"เชื้อชาติ"ลงตรงกลาง มากกว่าจะวางอยู่ที่ชายขอบ

Gilroy ได้ช่วยสนับสนุนต่อการอ่านใหม่อันนี้ โดยการแสดงให้เห็นว่า งานจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงของ J.M.W. Turner ในภาพ The Slave Ship ซึ่งได้ให้ภาพเรือบรรทุกทาสที่ชื่อ Zong ซึ่งตกอยู่ท่ามกลางพายุ ได้โยนชาวแอฟริกันออกนอกลำเรือ เพื่อที่จะทำให้น้ำหนักบรรทุกของเรือเบาลง และสามารถที่จะเรียกร้องจากประกันได้ในเรื่องการตายของพวกทาส ซึ่งอันที่จริงถูกเข้าใจโดยผู้คนร่วมสมัยเดียวกันกับเขาทั้งหลาย ในฐานะการกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวเกี่ยวกับทาส และไม่ใช่ในฐานะภาพทิวทัศน์ทะเลอันงดงามเท่านั้น



ภาพประกอบ : J.M.W. Turner ในภาพ The Slave Ship

Gilroy มองงานจิตรกรรมของ Sonia Boyce, She Ain't Holding Them Up, She's Holding On (Some English Rose) ในฐานะที่เป็นการซักไซ้ไล่เรียงร่วมสมัยอันหนึ่งเกี่ยวกับ "มรดกทางวัฒนธรรมแบบผสมผสาน". งานจิตรกรรมของเธอได้วาดภาพหญิงสาวสหราชอาณาจักรผิวดำคนหนึ่งที่กำลัง"อุ้มชู"ครอบครัวของเธอ, รวมถึงคู่ชีวิต, ลูกๆ, และแม่, ตัดกับฉากหลังของภาพที่ไม่ได้เขียนขึ้นมาแบบเหมือนจริง ที่รวบรวมขึ้นมาจากความคิดศิลปะแบบแอฟริกันและคาริเบียน

สำหรับ Boyce คำถามเกี่ยวกับความเป็นอังกฤษ ในเชิงมโนคติและองค์ประกอบเป็นเรื่องรองจาก"การเมืองเพศสภาพของชีวิตประจำวัน"
(ดูภาพประกอบท้ายบทความนี้)

ดังความตึงเครียดที่เกิดขึ้นระหว่างจิตรกรรมของ Boyce และการตีความของ Gilroy ที่นำเสนอ การสนทนาที่ยังมีอยู่ต่อไปนั้นดูเหมือนว่าจะไม่ใช่เรื่องง่ายๆ กลุ่มที่ต่างกันอาจทำการศึกษาสิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรมเดียวกัน และมีการขานรับต่อเรื่องที่ศึกษาแตกต่างกันไปมาก bell hooks ได้อธิบายกรณีตัวอย่างข้างต้น ในการอ่านของเธอเกี่ยวกับภาพยนตร์ของ Wim Wenders, Wings of Desire (1988), ซึ่งนำมาจากผลงานการรวบรวมของเธอเกี่ยวกับความเรียงต่างๆที่ให้ชื่อว่า Yearnings (hooks 1990)

เริ่มต้นขึ้นในเบอร์ลิน ก่อนฤดูใบไม้ร่วงของยุโรปตะวันออก คนจำนวนมากได้เปล่งเสียงไชโยโห่ร้องด้วยความยินดีถึงภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว สำหรับสาร(message)ของมัน ที่เกี่ยวข้องกับความหวังและความกรุณา; hooks, ในทางตรงข้าม, มองมันในฐานะที่เป็น"อีกอันหนึ่งในชุดที่วัฒนธรรมของคนขาวหลังสมัยใหม่ ซึ่งจ้องมองไปที่ตัวของมันเองอย่างค่อนข้างวิพากษ์วิจารณ์, มีการแก้ไขปรับปรุง ณ ที่นี้และ ณ ที่นั่น, ต่อมาได้ตกหลุมรักกับตัวเองทั่วทั้งสรรพางค์กายอีกครั้ง"

hooks ได้ชี้ให้เห็นว่า เทพธิดาทั้งหมดได้ถูกพรรณาอย่างไม่มีปัญหาในฐานะที่เป็นคนขาว, ในขณะที่ประชากรที่ไม่ใช่คนขาวจำนวนมากของเบอร์ลิน ได้ถูกขับไล่หรือเนรเทศไปสู่ภาพที่เป็นฉากเบื้องหลัง. ขณะเดียวกัน Wenders ได้มองดูภาพยนตร์ของเขาในฐานะที่เป็นการเปิดให้มีการพูดคุยกันขึ้นมาใหม่อีกครั้ง เกี่ยวกับความทรงจำในประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่เกี่ยวกับอาณาจักรไรช์ที่สาม(the Third Reich)

hooks ได้หมายเหตุลงไปว่า "ภาพยนตร์เรื่องนี้มีนัยะที่บ่งถึงการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับความเป็นชายที่มากดขี่บีบคั้น ซึ่งได้ถูกเสยโดยการจารึกใหม่อีกครั้งของผู้ชายที่ชอบกีดกันทางเพศ ที่มาเชื่อมต่อกับสิ่งที่พิจารณาว่าเป็นความปรารถนาทางเพศ". เธอแสดงให้เห็นว่า Marion, ศิลปินนักแสดงการห้อยโหน ได้ถูกนำเสนอในฐานะที่เป็นวัตถุชิ้นหนึ่งสำหรับการจ้องมองของผู้ชาย มันเป็นการเล่าเรื่องเก่าๆขึ้นมาใหม่เกี่ยวกับความปรารถนาของผู้ชายในเรื่องเพศ และความปรารถนาของผู้หญิงสำหรับความรัก

ใน Wings of Desire, "เพียงผู้คนที่เป็นคนขาวเท่านั้นที่เป็นเทพธิดา เพียงผู้ชายผิวขาวเท่านั้นที่ได้พูดคุยกับอีกคนหนึ่ง เพียงผู้คนที่เป็นคนขาวเท่านั้นที่ตีความและแก้ไขปรับปรุงต้นฉบับเก่าๆ"

การอ้างอิงถึงศิลปินและนักทฤษฎี Coco Fusco, hooks สรุปว่า: "การเมินเฉยเรื่องชาติพันธุ์ของคนขาว เป็นการเพิ่มเติมความเหนือกว่าของมันนับเป็นเท่าทวีคูณ โดยการทำให้มันเป็นเรื่องธรรมชาติ. โดยปราศจากการพูดถึงเรื่องชาติพันธุ์ของคนขาวอย่างเฉพาะเจาะจงลงไป มันก็ไม่อาจเป็นการประเมินในเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับการสร้างความเป็นอื่นขึ้นมาได้"

ในช่วงเวลาที่นับจากความเรียงนี้ได้รับการตีพิมพ์ขึ้นมาเป็นครั้งแรก ได้มีการสนทนากันว่า Wenders ต้องการเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เยอรมัน. ความเป็นคนขาว มาถึงตอนนี้ เป็นหัวข้อที่ร้อนแรงในทางวิชาการหัวข้อหนึ่ง อย่างน้อยที่สุดส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า มันยินยอมให้นักวิชาการผิวขาวทั้งหลาย ได้ตราประทับเกี่ยวกับการทำงานในเรื่องของชาติพันธุ์. กระนั้นก็ตาม การสร้างความเป็นอื่นขึ้นมาในกันและกัน โดยคนดำและคนขาว ยังคงเป็นหัวข้อหนึ่งที่ยังคงมีประจุอยู่สูง

สภาวะของความเป็นอื่นนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ภายในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เช่นเดียวกับที่มันสามารถเกิดขึ้นได้กับการข้ามกลุ่มชาติพันธุ์ ในความเรียงของเขา "The Gangsta and the Diva", นักทฤษฎีการศึกษาด้านวัฒนธรรมชั้นนำ Andrew Ross ได้ให้เหตุผลว่า วัฒนธรรมป๊อปปิวล่าร์ของคนดำ มีลักษณะที่เป็นขั้วตรงข้ามของความรุนแรงที่ยอมรับกันทั่วไป ขั้วหนึ่งมีตัวแทนคือ gangsta rappers (พวกที่โจมตีอย่างรวดเร็ว) คล้ายๆพวก Treach of Naughty (ทรยศหักหลัง-ไม่เชื่อฟัง)โดยธรรมชาติ และอีกขั้วหนึ่งเป็นแบบจำลองที่เป็นพวกที่สวมใส่ชุดตรงข้าม และ singer Ru Paul (Ross 1994)

ขณะที่มีการยอมรับจากสาธาณชนน้อยมากเกี่ยวกับความเชื่อมโยงกันนี้ บ้าน (the "house") ที่เป็นตัวแทนในภาพยนตร์ Paris is Burning สามารถถูกนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นประโยชน์กับโครงสร้างครอบครัวของแก๊งต่างๆ. พวกแร็พเพอร์ Ice-T ได้อธิบายถึง LA gangland ว่าเป็น ghetto "เขตสลัมที่มีผู้คน(โดยเฉพาะพวกผู้ชาย)อาศัยอยู่กันอย่างแออัด ซึ่งรักที่จะถูกผลักไสไปสู่ข้อจำกัดต่างๆของมัน"

ในอาณาเขตทั้งคู่, "ความจริง"(realness) คือกูญแจทางสุนทรีย์ดอกหนึ่ง. สำหรับพวกแร็พเพอร์(rapper), ความจริงเป็นตัวแทนที่ดำรงอยู่จริงต่อพวกเกทโท(ghetto), แม้กระทั่งต้องตอบแทนด้วยความตาย, ดังเช่น Tupac Shakur และ the Notorious B.I.G. ที่ทั้งคู่ค้นพบ

ในโลกที่สวมเสื้อผ้าในชุดตรงข้าม, "ความจริง"(realness)หมายถึงความสามารถที่จะข้ามผ่านการแบ่งหมวดหมู่อะไรก็ตามที่ได้รับการเลียนแบบ แม้ว่าการเลียนแบบจะต้องคงไว้ซึ่งการยอมรับดังกล่าวนั้น - "เกือบจะตรงไปตรงมา แต่ไม่เสียทีเดียว", ดังที่ Homi Bhabha เกือบๆจะเสนอมันเช่นนั้น

Ross ได้ให้เหตุผลต่อมาว่า hardcore rap "เป็นเพียงสื่อกลางซึ่งชีวิตของเกทโท(ghetto)ได้บรรลุถึงบางสิ่งบางอย่าง ที่เข้าใกล้การยอมรับที่แท้จริง". เมื่อใครสักคนพิจารณาถึงว่า มันบ่อยมากแค่ไหนที่ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกของชีวิตในแถบชานเมือง ได้ถูกเล่นซ้ำบนจอโทรทัศน์ มันเป็นที่ชัดเจนว่าการนำเสนอหรือการแสดงออกอันนั้น มีศูนย์กลางอยู่ที่เอกลักษณ์ในโลกหลังสมัยใหม่ที่ทำให้เป็นอนุภาคหรืออะตอม

ความนิยมของผู้คนเกี่ยวกับ gangsta rap ท่ามกลางหมู่พวกเด็กๆในเขตชานเมือง เสนอว่า เยาวชนเป็นจำนวนมากได้รับการขับเคลื่อนโดยความหวังเกี่ยวกับความล้นเหลือทางเศรษฐกิจ และด้วยเหตุดังนั้น จึงผูกพันมั่นหมายกับการละทิ้งอย่างสิ้นเชิง เกี่ยวกับวัฒนธรรมบรรพบุรุษของคนขาว ที่ไม่สามารถให้อนาคตอันหนึ่งกับพวกเขาได้เลย ด้วยความมีเกียรติหรือฐานันดรเกี่ยวกับอาชีพการงาน"

พวก rapper และ drag queen เป็นตัวแทนแง่มุมที่ต่างกันของคนดำในเชิงที่ขัดแย้งเป็นปรปักษ์กัน - กับคนขาวเพิ่มมากขึ้น - ความเป็นชาย, ความหลากหลายของพวกเขา Ross ได้ให้เหตุผลว่า ควรจะจุดประกายการเริ่มต้นสำหรับ"การเมืองทางวัฒนธรรมใหม่เกี่ยวกับความเป็นชาย"

บางที การอ้าแขนรับเกี่ยวกับนักกีฬาบาสเก็ตบอลที่สวมใส่เสื้อผ้าอีกพวกหนึ่ง Dennis Rodman โดยเมืองที่ถูกแบ่งแยกทางเชื้อชาติที่ดังกระฉ่อนของชิคาโก จะเป็นเครื่องหมายหนึ่งที่การสนทนากันนี้ ในท้ายที่สุดแล้ว อย่างน้อยที่สุด ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปได้

(ค) อัตลักษณ์ และ การข้ามวัฒนธรรม (Identity and transculture)
ดังที่คริสตศตวรรษที่ยี่สิบได้น้อมนำไปสู่การลงเอยที่ปราศจากความโศกเศร้า การพัฒนาในเชิงประวัติศาสตร์ที่น่าประทับใจอันหนึ่งเกี่ยวกับปีหลังๆของมัน เป็นเรื่องของโลกาภิวัตน์และท้องถิ่นภิวัตน์(globalization and localization)ทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ไปพร้อมๆกัน. รัฐชาติ เป็นศูนย์กลางทางการเมืองและอัตลักษณ์สำหรับอดีตสองศตวรรษที่ผ่านมา ซึ่งดูเหมือนว่ามันกำลังเสื่อมถอยลงไปเรื่อยๆในการเผชิญหน้ากับความกดดันของรอยต่อนี้

กลุ่มพลังต่างๆในทางอำนาจเศรษฐกิจใหม่ที่ข้ามผ่านประชาชาติ อย่างเช่น สหภาพยุโรป (EU - European Union) และ กลุ่มข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA - North American Free Trade Agreement) ได้มาเป็นข้อจำกัดรัฐชาติลงไปอย่างมาก. ที่เพิ่มขึ้นมา บรรดาคนงานในประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้สร้างฐานที่มั่นการเจรจาตกลงของพวกเขาขึ้นมา ซึ่งพวกนี้ได้ถูกขุดเซาะทำลายโดยความสามารถของทุน เพื่อสถาปนาหรือกำหนดที่ตั้งของประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลายขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

บรรดาแรงงานในทุกหนทุกแห่งได้ถูกบีบบังคับให้ต้องกลายเป็นผู้อพยพ ด้วยเหตุนี้ สัญลักษณ์ใหม่อันหนึ่งของชนชั้นคนงานอเมริกันก็คือ รถบรรทุกเคลื่อนที่ไรเดอร์ (Ryder moving truck) มากกว่ารถ Thunderbird ที่แวววาวของช่วงทศวรรษที่ 1950s

การขานรับอันหนึ่งต่อความอ่อนแอลงนี้ของประชาชาติเป็นที่สนใจเพิ่มขึ้น เกี่ยวกับสิ่งที่ใครสักคนอาจเรียกว่า อัตลักษณ์ระดับไมโคร(micro-identity - เอกลักษณ์ขนาดเล็ก) ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นคือ ความไร้สาระอันน่ารังเกียจของสงครามบอลข่าน(Balkan War)

บรรดาศิลปิน นักวิจารณ์ และปัญญาชนทั้งหลายพยายามที่จะต่อต้านลัทธิอัตถิภาวนิยมใหม่นี้ โดยการแสวงหาเพื่อจะนิยามสิ่งที่นักวิจารณ์ชาวคิวบา Fernando Ortiz เรียกว่า transculture (การข้ามผ่านวัฒนธรรม), การหลอมละลายอันหนึ่งเกี่ยวกับของเก่า, ของใหม่ และการหยิบยืมปฏิบัติการต่างๆทางวัฒนธรรมมาใช้ (Ortiz 1947)

การศึกษาเกี่ยวกับการข้ามผ่านทางวัฒนธรรม(Transcultural studies) ได้เพ่งความเอาใจใส่ลงไปที่สถานที่เหล่านั้น ที่ซึ่งขอบเขตที่ถูกนิยามด้วยความระมัดระวังเกี่ยวกับเรื่องอัตลักษณ์ กลายเป็นสิ่งที่สับสนและทับซ้อนกัน มันเป็นภารกิจหนึ่งที่เรียกร้องต้องการทั้งประวัติศาสตร์ใหม่ๆ และความหมายใหม่ๆเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนนำเสนอ

ในความเรียงของเธอเรื่อง "passing for White, passing for Black", ศิลปินและนักปรัชญานามว่า Adrian Piper ได้ใช้ความยุ่งยากและอุปสรรคส่วนตัวของเธอ ในฐานะที่เป็นแอฟริกัน-อเมริกัน ซึ่งมีบรรพบุรุษชาวยุโรปด้วย เพื่อมาพิจารณาถึงปฏิกริยาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในอเมริกา (Piper 1992)

มันบังเอิญมากที่ว่า เธอมีผิวขาว ซึ่งเป็นเหตุให้คนเชื้อสายยุโรปอเมริกันจำนวนมากเกิดความสงสัยและไม่แน่ใจในชาติพันธุ์ของเธอ: "การหัวเราะเยาะและการตำหนิประณามของพวกเขา ซึ่งต่อมาทำให้พวกเขา ทั้งบอกปัดและลดทอนคุณลงจากสถานภาพของพวกเขา พวกเขาทำเครื่องหมายคุณไม่ใช่เพราะคุณทำผิด แต่เป็นเพราะคุณถูกทำให้ผิด"

การโปรายปรายและการกระจัดกระจายเกี่ยวกับบันทึกประสบการณ์ชีวิตของเธอ ด้วยการอ้างอิงข้อความต่างๆจากลำดับการที่กว้างขวางของวรรณกรรมและการวิจารณ์ Piper ได้แสดงให้เห็นว่า คำถามเกี่ยวกับ"การข้ามผ่าน"(passing)นั้น เป็นเรื่องที่ล่อแหลมและต้องใช้ความระมัดระวังสำหรับอัตลักษณ์ของความเป็นอเมริกันนับจากระบบทาสเป็นต้นมา

ความเรียงของเธอได้ยกเอาปัญหาข้อสงสัยเกี่ยวกับอัตลักษณ์ขึ้นมา ซึ่งจะต้องถูกนิยามกันอย่างไร และเครื่องหมายต่างๆของมันคืออะไรแน่. ในการพิจารณาถึงความเป็นอเมริกันโดยกำเนิด อย่างน้อยที่สุด 1 ใน 8 ของบรรพบุรุษของคุณ จะต้องเป็นอเมริกันพื้นถิ่น ขณะที่บรรพบุรุษของแอฟริกันทั้งหลายจะทำเครื่องหมายคุณในฐานะที่เป็นคนดำ

ในอีกด้านหนึ่ง 95 เปอร์เซนต์ของคนขาวอเมริกัน มีบรรพบุรุษแอฟริกันผสมอยู่บ้าง ซึ่งนั่นไม่ถูกยอมรับ เพราะว่าพวกเขาไม่มีสีผิวดำอย่างเห็นได้ชัดนั่นเอง: "ประเด็นแรกสุดสำหรับพวกเขา ไม่ใช่ว่าพวกเขาอาจจะยอมเปิดเผยโดยการยอมรับว่าพวกเขา อันที่จริงแล้วเป็นคนดำ แต่กลับกลายเป็นว่าพวกเขาได้สูญเสียหรือขาดสูญจากมันไปแล้วมากกว่า"

ภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกนี้ได้รับการแสดงออกอีกครั้งเป็นระยะๆในวัฒนธรรมอเมริกัน โดยดูจากภาพยนตร์ อย่างเช่นเรื่อง Jungle Fever และเรื่อง A Family Thing ถึงการทุ่มเถียงกันเกี่ยวกับเรื่องชาติพันธุ์ของนักกอล์ฟ Tiger Woods เมื่อเขาชี้ว่า หลังจากได้รับชัยชนะรายการแข่งขันกอล์ฟ US Masters ในปี ค.ศ.1997 แล้วนั้น เขาก็ไม่ใช่คนที่สืบเชื้อสายมาจากแอฟริกันธรรมดา แต่เป็นลูกผสมที่ซับซ้อนของไทย, แอฟริกัน, และอเมริกันพื้นถิ่น, เขาเป็นมูลเหตุแห่งการโต้เถียงกันไปทั่ว

มันดูเหมือนว่า แม้จะมีประสบการณ์อันยาวนานมากว่า 500 ปีเกี่ยวกับความตรงข้าม แต่มุมมองเกี่ยวกับการผสมข้ามพันธุ์ ก็ยังคงเป็นเรื่องต้องห้ามกันอย่างสุดๆอยู่ในวัฒนธรรมอเมริกัน มันถูกปฏิเสธหรือระงับยับยั้งโดยไม่ต้องฟังเหตุผลใดๆทั้งสิ้น

การสร้างอัตลักษณ์ความเป็นยูราอเมริกัน(Euramerican)ให้เป็นกลุ่มก้อนเดียวกันนั้น ขึ้นอยู่กับคนอื่นที่เป็นคนต่างชาติ การดำรงอยู่ของพวกเขาได้รับการรับรองซ้ำๆ โดยการแสดงออกทางด้านชาติพันธุ์ของมนุษย์

เครื่องหมายการเฉลิมฉลองครบรอบ 500 ปีเกี่ยวกับการเดินทางของโคลัมบัสที่ไปถึงอเมริกาในปี ค.ศ.1992 บรรดาศิลปินนักแสดง(performance artists) เช่น Coco Fusco และ Guillermo Gomez-Pena ได้นำเสนอการแสดงขึ้นมาใหม่ในเชิงล้อเลียนเสียดสีเกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้น โดยการนำตัวของพวกเขาเข้าไปอยู่ในกรงขังในการแสดงนี้ และมีการปิดป้ายว่า "Two Undiscovered Amerindian" (อเมรินเดียนสองคนที่ไม่ถูกค้นพบ), โดยการสมมุติว่าเป็นการร้องเรียกมาจากเกาะซึ่งไม่เป็นที่รู้จักในอ่าวเม็กซิโกที่เรียกว่า Guatinau. ดังที่ Coco Fusco รายงานเอาไว้ในเนื้อหาที่คัดตัดตอนมาจากหนังสือของเธอ English Is Broken Here, แต่ผลที่ตามมาไม่ได้เป็นไปอย่างที่พวกเขาคาดหวัง:

"สาธารณชนเป็นจำนวนมากเชื่อว่า อัตลักษณ์ทั้งหลายที่พวกเราสร้างขึ้นเป็นความจริงอันหนึ่ง. …บรรดานักวิชาการและปัญญาชนจำนวนหนึ่ง พวกศิลปินและขุนนางราชการทางวัฒนธรรม แสวงหาหนทางที่จะหันเหหรือเบี่ยงเบนความสนใจไปจากแก่นสารเกี่ยวกับการทดลองของพวกเรา สู่นัยะที่เกี่ยวพันกับเรื่องศีลธรรมต่างๆของการเสแสร้งแกล้งทำของพวกเรา" (Fusco 1995)

อีกครั้งหนึ่ง คำถามเกี่ยวกับ"ความจริง"(realness)และอัตลักษณ์ได้เข้ามาแทนที่คนอื่นๆทั้งหมด ขณะที่บรรดาคนดูบางคนมีเจตจำนงง่ายๆที่จะยอมรับการแสดงนั้นในพิพิธภัณฑ์ หรือในพื้นที่สาธารณะว่าจะต้องเป็นจริง คนอื่นๆรับรู้เกี่ยวกับการแสดงดังกล่าว(the performance)อย่างรวดเร็ว และ "รู้สึกถือครองบทบาทเกี่ยวกับการเป็นเจ้าอาณานิคม"

บรรดาภัณฑารักษ์พิพิธภัณฑ์และพวกมืออาชีพอื่นๆ ต้องการตั้งคำถามเพียงเรื่องเกี่ยวกับ"ความเป็นของจริง(authenticity)เกี่ยวกับการแสดง มากกว่าจะปฏิบัติกับมันในฐานะที่เป็นงานละครชิ้นหนึ่งเท่านั้น ขณะที่การแสดงดังกล่าวได้รับการออกแบบขึ้นเพื่อเป็นข้อสังเกต การวิจารณ์ การแสดงความคิดเห็นในความมีเหตุมีผลทั้งหลายของอดีต

Fusco สรุปว่า "ความเกี่ยวพันหรือความเอาใจใส่อย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับ"ความจริง"ของเรา เผยให้เห็นถึงความต้องการอันหนึ่งที่จะรับรองความมั่นใจว่า "บรรพกาลที่แท้จริง"(true primitive)ดำรงอยู่, ไม่ว่าเราจะเข้ากันได้กับเรื่องราวอันนั้นหรือไม่ก็ตาม, และเธอหรือเขาเป็นคนที่สามารถเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทางสายตาได้". ท่าทีที่มีอยู่ทั่วไปนั้น ได้ไปขุดเซาะสิ่งที่ Fusco เรียกว่า "ลัทธิวัฒนธรรมอันหลากหลายที่มีความสุข"(happy multiculturalism) และการปฏิเสธว่าเรื่องชาติพันธุ์มีที่ทางอยู่ในโลกของศิลปะ

นักวิจารณ์เชื้อสายลาตินอเมริกัน Nestor Garcia Canclini ได้เขียนหนังสือกว้างๆเกี่ยวกับที่ทางของวัฒนธรรมทางสายตา ในวัฒนธรรมโลกาภิวัตน์หลังสมัยใหม่, ในความเรียงของเขา"Remarking Reports"(รายงานเกี่ยวกับข้อสังเกต)ซึ่งนำมาพิมพ์ซ้ำในที่นี้, Canclini บันทึกหมายเหตุถึง บรรดานักวิจารณ์ตะวันตกจำนวนมากดังนี้…,

ลาตินอเมริกายังคงน่าสนใจหรือเอาใจใส่อย่างต่อเนื่อง เพียงในฐานะที่เป็นพื้นทวีปหนึ่งของธรรมชาติที่รุนแรง, เป็นดินแดนแห่งความเก่าแก่ ที่ไม่อาจก้าวไปสู่ความเป็นประชาชาติสมัยใหม่ได้, เป็นผืนดินที่ถูกทำให้อุดมสมบูรณ์โดยศิลปะอันหนึ่ง ที่ถูกนึกคิดและเข้าใจในฐานะที่เป็นเรื่องของเผ่าพันธุ์หรือความฝันของประชาชาติ มันไม่ได้ถูกคิดในฐานะที่เป็นเรื่องโลกและความสลับซับซ้อน (Canclini 1994)

ในบริบทที่ประวัติศาสตร์ศิลป์ส่วนใหญ่ได้ถูกเขียนขึ้นมา ในฐานะที่เป็นประวัติศาสตร์ศิลปะของชาติ อันนี้ได้ส่งผลกระทบต่อการกีดกันลาตินอเมริกาออกไปจากประวัติศาสตร์ศิลป์ เว้นแต่ในฐานะตัวอย่างหนึ่งของศิลปะบรรพกาลหรือมาจากต่างประเทศ(exotic). Canclini เน้นว่า อันนี้ไม่เพียงเป็นการเมินเฉยหรือไม่ให้ความเอาใจใส่ต่อวัฒนธรรมลาตินอเมริกันเท่านั้น ปัจจุบันมันเป็นเรื่องที่ไม่เข้าประเด็นกับยุคสมัยด้วย ซึ่งโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจได้ทำให้มันเป็นศิลปะนอกดินแดน(deterritorialized art)

เขายืนยัน โดยเป็นความบังเอิญไปคล้องจองกับศิลปิน Luis Felipe Noe ว่า, ศิลป"ไม่ได้ต้องการหนังสือเดินทาง(passport)". ผลงานต่างๆอย่างงานจิตรกรรม"จดหมายทางอากาศ"(airmail)ของ Eugenio Dittborn แสวงหาหนทางที่จะเป็น"หลายๆภาษาและย้ายถิ่น พวกมันสามารถมีบทบาทในบริบทต่างๆที่หลากหลายและหลายหลาก และยินยอมให้เกิดการอ่านที่แตกต่างกันได้ จากรากฐานที่ผสมผสานของพวกมัน"

เพื่อที่จะทำความเข้าใจผลงานนั้น เราต้องการที่จะหันไปสู่วิธีการเข้าถึงที่ยึดเอาศูนย์กลางอันหลากหลาย(polycentric approach)ชนิดหนึ่ง ซึ่งอันนี้เรียกร้องโดย Robert Stam และ Ella Shohat ในเรื่องดังกล่าว มากกว่าเรื่องของลัทธิความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมอันไร้เดียงสา(na?ve multiculturalism) ซึ่งความแตกต่าง ได้ถูกรวบรวมเอาไว้ในความคิดเห็นที่คลุมเครือเกี่ยวกับวัฒนธรรมอย่างง่ายๆ

ในความเรียงของเธอเรื่อง "Engendering New Worlds"(การกำเนิดโลกใหม่), ซึ่งหยิบเอามาจากงานพิมพ์ชุดพิเศษเกี่ยวกับ Art and Design ใน "New Art from Latin America", นักประวัติศาสตร์ศิลปะ Oriana Baddeley ได้ดำเนินรอยตามข้อถกเถียงในทำนองเดียวกันอันหนึ่งกับข้อโต้เถียงของ Canclini โดยการสำรวจถึงความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปเกี่ยวกับนิทานเปรียบเปรย(allegory)เกี่ยวกับเรื่องเพศ ในการเผชิญหน้ากันระหว่างชาวยุโรปกับคนพื้นเมืองต่างๆในลาตินอเมริกา:

"โดยจารีต การเผชิญหน้ากันได้ถูกนำมาพูดคุยในเทอมต่างๆทางด้านเพศที่เป็นไปอย่างเปิดเผย. ภาพเปลือยอินเดียนที่มีลักษณะอีโรติค ต้อนรับผู้มาถึงหรือผู้ได้รับชัยชนะชาวสเปนด้วยความใจเย็นอย่างสงบ … มันทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นการอุปมาอุปมัยอันทรงพลังภายในวัฒนธรรมลาตินอเมริกา" (Baddeley 1994)

ขณะที่ช่วงต้นของคริสตศตวรรษที่ 20 ศิลปะลาตินอเมริกันได้นำเสนอต่อการพบปะหรือเผชิญหน้าในฐานะที่เป็นการข่มขืนกระทำชำเราอันหนึ่ง แต่การถอดความเมื่อเร็วๆนี้ มองมันในเทอมต่างๆที่ค่อนข้างคลุมเครือและกำกวมมากขึ้น: "เพื่อบรรยายมันอย่างง่ายๆ การนิยามเกี่ยวกับสิ่งที่ถูกยัดเยียดหรือกำหนด และสิ่งที่ได้รับการสืบทอดรับช่วงในกรณีต่างๆทางวัฒนธรรม มันได้เปลี่ยนแปลงไป ลัทธิอาณานิคมไม่ได้ถูกปฏิเสธ แต่บรรทัดฐานที่นิยามอย่างชัดเจนเกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ได้ถูกแทนที่โดยคำถามต่างๆชุดหนึ่ง" มากกว่าจะทึกทักกันเอาเองว่า วัฒนธรรมต่างๆก่อนยุคอาณานิคมของอเมริเดียน(Amerindian) ยังคงสามารถให้ความหมายอันหนึ่งเกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ 20 ได้

ในแบบแผนหรือการวางรูปของจิตรกรภาพฝาผนังชาวเม็กซิกัน Diego Rivera, บรรดาศิลปินร่วมสมัยได้เคลื่อนย้ายไปจากเรื่องราวหรือแบบฉบับที่มีลักษณะทวิลักษณ์ อย่างเช่น ชาย/หญิง, เจ้าอาณานิคม/คนในอาณานิคม; ความดี/ความชั่ว, เพื่อสำรวจถึง "มรดกตกทอดอันสลับซับซ้อนเกี่ยวกับความเจ็บปวดและความทารุณโหดร้าย" ซึ่งภาคพื้นทวีปต้องเกี่ยวข้องกับมันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน. วัฒนธรรมไม่ได้เป็นแหล่งต้นตอที่มาของความแน่นอนอีกต่อไปแล้ว แต่มันเป็นที่ทางซึ่งความผสมผสานกันอย่างน่าสังเกตของชีวิตผู้คนชาวลาตินอเมริกัน ซึ่งสามารถได้รับการเข้าถึงได้

ขณะเดียวกัน เป็นไปได้ที่จะให้เหตุผล ในชื่อเรื่องหนังสือ 1997 ของ Nathan Glazer ที่ว่า "we are all multiculturalists now"(ตอนนี้ เราทั้งหมดต่างเป็นคนวัฒนธรรมอันหลากหลาย), แต่มันยังคงไม่ชัดเจนนักถึงความเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงที่ส่งผลถึง

ในโลกศิลปะ ปัจจุบันมันเป็นไปตามสมัยนิยมในการที่จะประณามหรือกล่าวโทษ"ศิลปะแนวการเมือง" ซึ่งแน่นอน มันเป็นผลลัพธ์ของผลงานที่ทำให้เป็นชายขอบขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ซึ่งได้เพ่งความเอาใจใส่ลงไปที่ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องราวเพศสภาพและเชื้อชาติ(gender and race) โทรทัศน์ยังคงแสดงให้เราเห็นอย่างต่อเนื่องถึง เพียงกลุ่มเพื่อนๆที่อาศัยอยู่ในเมืองนิวยอร์คเท่านั้น ผู้ซึ่งไม่รู้จักผู้คนใดๆที่มีผิวพรรณต่างสีเลย

Seinfeld ได้ไปไกลถึงขนาดอุทิศเรื่องราวทั้งฉากตอนหนึ่งให้แก่ความไม่สบผลสำเร็จของ George อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งพยายามค้นหาเพื่อนแอฟริกัน-อเมริกัน เพื่อที่จะพิสูจน์ถึงประเด็นหนึ่งซึ่งกำลังดำเนินไป ในเวลาเดียวกันนั้น บรรดามหาวิทยาลัยต่างๆในแคลิฟอร์เนียและเท็กซัส ที่ซึ่งมีการกระทำในลักษณะเป็นการยืนยันในสิ่งที่ต้องห้าม ซึ่งทำให้มองเห็นความตกต่ำลงอย่างน่าตื่นเต้นอันหนึ่ง ในการสมัครแข่งขันจากผู้สมัครรับเลือกตั้งที่เป็นคนดำและคนละติน

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า การอพยพย้ายถิ่น, การเข้าแทนที่ และการผสมผสานเป็นเงื่อนไขหลักที่สำคัญอันหนึ่งของชีวิตประจำวันร่วมสมัย. สิ่งที่อยู่ในระยะหน้าสิ่วหน้าขวานและหมิ่นเหม่ในงานวัฒนธรรมร่วมสมัยจำนวนมากทุกๆชนิด เป็นการเคลื่อนคล้อยไปสู่การข้ามผ่านวัฒนธรรม(transculture) ที่ยังคงถูกอ้าแขนรับหรือถูกปฏิเสธ อย่างใดอย่างหนึ่ง

ภาพประกอบ ผลงานจิตรกรรมของ Sonia Boyce
ชื่อภาพ She Ain't Holding Them Up, She's Holding On




สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 400 เรื่อง หนากว่า 4500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com




ขณะนี้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้ผลิตบทความทั้งหมดบนเว็ปในรูปของซีดีรอมเพื่อจำหน่าย สนใจ สั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com

 

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณขาลดขนาดของ font ลง
จะแก้ปัญหาได้

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
midarticle(at)yahoo.com

หนึ่งในลักษณะต่างๆที่เป็นตัวกำหนดของยุคสมัยใหม่คือ ประสบการณ์เกี่ยวกับลัทธิอาณานิคมและระบบทาส ความพยายามต่างๆเกี่ยวกับอาณานิคมซึ่งมีการตั้งรกรากในแถบทะเลแคริบเบียน จนกระทั่งถึงในช่วงปี ค.ศ.1914 นั้น ประมาณกันว่า 85 % ของโลก ได้ถูกครอบครองและกลายเป็นอาณานิคมไป เฉพาะการค้าทาสในแถบแอตแลนติค ซึ่งรุ่งเรืองเฟื่องฟูนับจากคริสตศตวรรษที่ 17 -19 ในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีการเคลื่อนย้ายชาวแอฟริกัน 10-15 ล้านคนโดยการใช้กำลังกระทำการดังกล่าว


พลังอำนาจต่างๆของอาณานิคมมักจะได้รับการอ้างว่า บทบาทของมันนั้นมีศูนย์กลางอยู่ที่อักษรย่อว่า C3 (CCC สามตัวด้วยกัน) ซึ่งอักษรย่อนี้ ได้รับพูดขึ้นมาโดยมิชชั่นนารีหรือนักสอนศาสนาในต่างประเทศ David Livingstone: นั่นคือ Commerce, Christianity และ Civilization

เครื่องหมายการเฉลิมฉลองครบรอบ 500 ปีเกี่ยวกับการเดินทางของโคลัมบัสที่ไปถึงอเมริกาในปี ค.ศ.1992 บรรดาศิลปินนักแสดง(performance artists) เช่น Coco Fusco และ Guillermo Gomez-Pena ได้นำเสนอการแสดงขึ้นมาใหม่ในเชิงล้อเลียนเสียดสีเกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้น โดยการนำตัวของพวกเขาเข้าไปอยู่ในกรงขังในการแสดงนี้ และมีการปิดป้ายว่า "Two Undiscovered Amerindian"
(อเมรินเดียนสองคนที่ไม่ถูกค้นพบ), โดยการสมมุติว่า เป็นการร้องเรียกมาจากเกาะซึ่งไม่เป็นที่รู้จักในอ่าวเม็กซิโก