Website
ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 432 หัวเรื่อง
ร่างกายกับการศึกษาที่ต้องเปลี่ยน
จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์
นิสิตปริญญาเอก ม.จุฬาลงกรณ์
(สมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
การศึกษากับสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัย
ร่างกายศึกษา
ศาสตร์แขนงใหม่ในสังคมบริโภค
จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์
นิสิตปริญญาเอก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(สมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หมายเหตุ : ผลงานวิชาการชิ้นนี้ชื่อเดิมคือ
อุ้ยอ้าย ฤ เป็นอื่น
: อวิชชาว่าด้วย "อ้วน" กับกระบวนการความรู้และการศึกษา
(บทความชิ้นนี้ยาวประมาณ
5 หน้ากระดาษ A4)
ในโลกแห่งคน "คลั่งผอม" ความอ้วนได้กลายเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ เนื้อไขมันกลายเป็นส่วนเกินที่น่าชัง คน จ่ำม่ำถูกเปรียบเป็น "ตุ่ม" หรือตัวตลกที่น่าขัน มุมมองเหล่านี้ได้ส่งผลต่อคนอ้วนที่ได้กลายเป็น "ความเป็นอื่น" (Other) ในสังคม
"ลดน้ำหนักเห็นผล ได้ในพริบตา" "กำจัดส่วนเกิน รับประกันไม่พอใจคืนเงิน" ฯลฯ และอีกนานับคำกล่าวอ้างได้ถูกหยิบยกมาโฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งได้กลายเป็นสิ่งเย้ายวนใจบรรดาคนหนุ่มสาวที่เกลียดชังส่วนเกินในร่างกาย
ปรากฏการณ์ที่เกิดนี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตคนไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผ่านกระบวนการสื่อสารประชาสัมพันธ์ความสวยงามแบบใหม่ที่เกิดขึ้นไปทั่ว ยิ่งทำให้การมองหรือการรับรู้เกี่ยวกับความอ้วนกลายเป็นประเด็นทางสังคม และกำลังกลายเป็นความจริงที่มีผลต่อการเปลี่ยนสังคม วัฒนธรรม และสมาชิกในสังคม
ในขณะเดียวกัน เราได้เห็นกระบวนการขัดเกลาทางสังคมที่ได้พยายามชู "ความรู้" ชุดใหม่ว่า ความอ้วนเป็นความจริงที่อันตราย "อ้วนไป ตายเร็ว" (Social Fact) ผลที่เกิดขึ้นยังนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมการบริโภค "ทางเลือก" ที่มังสะวิรัตหรืออะไรก็ตามที่ปิดฉลาก "low fat" ได้กลายเป็นเครื่องประกันสุขภาพ และก่อให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ยุคใหม่ที่คำนึงคุณภาพชีวิตมากยิ่งขึ้น
แต่กระนั้น ในอีกทางหนึ่ง ผลของวาทกรรมชุด "ไร้มัน" ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตแบบสองขั้วภายใต้นิยาม "ความงามแบบใหม่" ในบางประการ อาทิ
"กลัวอ้วน"
- ความเกลียดชังและบทลงโทษคนอ้วนให้กลายเป็นอื่น จนทำให้ใครก็ตามที่ไม่ผอม จะต้องเร่งหันมาปรับพฤติกรรมตนเองก่อนที่จะกลายเป็นผู้
"ไร้ที่ยืน" หรือกลายเป็นสิ่งแปลกปลอมที่อาจจะไม่สามารถ "ปรากฏกาย"
ได้ในสังคม ก่อให้เกิดคำถามว่า กระบวนการสร้างความรู้ใหม่ที่ทำให้คนอ้วนกลายเป็น
"ความเป็นอื่น" เช่นนี้เป็นชุดความรู้ที่ถูกต้องแล้วหรืออย่างไร
"คลั่งผอม"
- ซ้ำร้ายกว่านั้นมันนำไปสู่ปรากฏการณ์และวัฒนธรรม "คลั่งผอม" ที่ต้องคอยรีดไขมัน
และยอมทนเป็นไม้เสียบผี พร้อมกับสร้างความเชื่อ "สวยแบบเรียบๆ แบนๆ"
คือสุดยอดแห่งความงามที่ทันสมัยในยุคนี้ จนเกิดคำถามว่า สุขภาพที่ดีคือไม่อ้วน
หรือต้องสุดผอมกันแน่ และความผอมคือ "ความงาม" ที่แท้จริงหรือไร้จริงที่ลวงโลก
ในทางตรงข้าม หากไม่เป็นอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น เราก็จะเห็นปรากฏการณ์ต่อต้านหักล้างค่านิยมดังกล่าวแบบสุดขั้วด้วยการค่านิยมใหม่ที่ว่า
"ไม่เกรงอ้วน"
- คือไม่เกรงที่จะอ้วนแถมด้วยการยอมรับความอ้วนเป็นสภาพชีวิตที่มิอาจเปลี่ยนได้
จนนำไปสู่ขบวนการเคลื่อนไหว "สิทธิคนอ้วน" ซึ่งแม้นั่นได้สร้างความรู้ในแง่การมองเห็นในศักดิ์ศรีคุณค่าแห่งมนุษย์ทุกคน
แต่ในอีกทางหนึ่งมันได้ซ่อนมายาภาพที่เสนอว่า ความอ้วนก็ "เป็นเอก"
ได้ หรือเสมือนว่า "อ้วนก็สวยได้" ใครจะทำไม
"ลืมอ้วน (รักอ้วน)"
- ผลกระทบต่อเนื่องจากความเชื่อมั่นในความ "อ้วนอวบ สวยอึม" นำไปสู่ปล่อยปละละเลยร่างกายไม่สนไขมันส่วนเกิน
หรือไม่เช่นนั้นก็รักที่ขุนตัวให้อ้วน โดยไม่กังวลจะเป็น "ชายขอบ"
เพราะมีการรองรับความชอบธรรมด้วย "สมาคมคนอ้วน" จนเกิดคำถามต่อมาว่า
นั่นคือทางออกที่ดีของคนอ้วนอย่างนั่นหรือ และ "ความรู้ที่ดี" สำหรับชนชาวอ้วนคือต้อง
"ขุนน้ำหนัก" มากกว่า การรู้ทันไขมันที่จะไปอุดตันหัวใจได้ทุกเมื่อกระนั่นหรือ
ภาพต่างขั้วดังกล่าวได้นำมาสู่คำถามต่อมาว่า ชุดความรู้และความงามต่างแบบนี้เป็นความรู้แห่งความงามที่ถูกต้องแล้วหรืออย่างไร
และมันถูกต้องแล้วหรือกับการให้ความรู้เชิงเดี่ยว (Single) และสร้างค่านิยมสุดขั้วจนเกิดกระแสวัฒนธรรมใหม่
นั่นคือวัฒนธรรม "คลั่งผอม" กับวัฒนธรรม "รักอ้วน" ซึ่งดูเหมือนว่านี่กำลังเป็นกระแสแห่งการก่อเกิด
"อวิชชา" (ความไม่รู้/รู้ไม่ทั่ว/รู้ไม่ทัน) มากมายในสังคม ที่สำคัญมันกำลังทำลายกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมที่ความรู้
(วิชา) หรือสัจธรรมของความอ้วนที่แท้จริงกำลังถูกมองข้ามไป
ความจริงแห่งความอ้วน
: ความรู้ สู่การศึกษา
ปัจจุบัน พบว่าคนไทยมีปัจจัยเสี่ยงทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรถึง 14 ปัจจัย
เช่น เพศสารเสพติด สัมพันธ์ไม่ปลอดภัย ทุพโภชนาการ ออกกำลังกายน้อย ฝุ่นในอากาศ
สุขาภิบาลไม่ดี ความอ้วน ความดันโลหิตสูง บาดเจ็บจากการประกอบอาชีพ เป็นต้น
โดยเฉพาะกับเด็กไทยนั้น แม้เด็กไทยที่มีปัญหาโรคอ้วนนั้นมีไม่ถึงครึ่ง โดยมีประมาณ 25% เท่านั้น แต่ปัญหาที่พบก็คืออัตราการเกิดเด็กอ้วนในสังคมไทยเป็นไปอย่างรวดเร็วจนน่าวิตก ทั้งที่เมื่อ 20 ปีที่แล้วเด็กไทยยังผอมโกรกกันเป็นส่วนใหญ่ แต่ช่วงสิบปีที่ผ่านมานี้ ปรากฏว่าสัดส่วนเด็กไทยที่เป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นเร็วมาก จนกลายเป็นว่าสัดส่วนของเด็กไทยที่อ้วนขึ้น เกิดขึ้นเร็วที่สุด เร็วกว่าเด็กจีน อินเดีย เกาหลี ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม หรือแม้กระทั่งเร็วกว่าที่นิวซีแลนด์และออสเตรเลียเสียด้วยซ้ำ
จากการสำรวจนักเรียนชั้น ม.1-ม.6 พบโรคอ้วนถึงร้อยละ 10 เพิ่มจากเมื่อปี 2529 ที่สำรวจในอายุ 10-25 ปีพบโรคอ้วนแค่ร้อยละ 2 และเพิ่มเป็นร้อยละ 20 ในปี 2537 นอกจากนี้ในปี 2544 พบว่า อัตราภาวะโภชนาการของเด็กได้เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งถือว่าอ้วนเกินไป และยังพบว่าเด็กไทยประมาณร้อยละ 60 ออกกำลังกายน้อยกว่า 30 นาทีต่อวัน ซึ่งไม่เพียงพอและกิจกรรมส่วนใหญ่ยังส่งเสริมให้เด็กอ้วนง่าย โดยลักษณะการอ้วนที่พบจะเริ่มตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงวัยรุ่น โดยเด็กวัยรุ่นชายจะอ้วนมากกว่าวัยรุ่นหญิง แต่เมื่อเป็นผู้ใหญ่ เพศหญิงที่อ้วนจะมีโรคแทรกซ้อนมากกว่าเพศชาย
ข้อมูลดังกล่าว คือข่าวสารความรู้ด้านสถานการณ์สุขภาพของคนไทย ซึ่งทำให้เรารับรู้ได้ว่า ทุกวันนี้ "ความอ้วน" กำลังขยายตัวไปทั่วพื้นที่ต่างๆ ในสังคม และมันได้กลายเพิ่มปัจจัยเสี่ยงให้แก่สังคมไปโดยปริยาย และที่น่าเป็นห่วงก็คือ เด็กไทยในยุค "แดกด่วน" (Fast food) นี้ไม่เพียงแต่เติบโตมาพร้อมๆ วัฒนธรรมบริโภคทุกรูปแบบที่มีผลต่อวัฒนธรรมการเลี้ยงดูกลายเป็น "เด็กสมบูรณ์" ได้ง่ายแล้ว ยังหมายความว่าพวกเขามีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตก่อนวัยอันควรสูงกว่าผู้ใหญ่มากขึ้นด้วย
ที่ร้ายกว่านั้น ยังไม่ทันที่เด็กเยาวชนจะเรียนรู้หรือเข้าใจได้ว่าภาวะร่างกาย "เกินสมบูรณ์" นั้นอันตรายแค่ไหน พวกเขาก็ต้องผจญกับกระแสอินเทรนในแฟชั่น "เรือนร่างนิยม" ที่ดูจะมีอิทธิพลต่อความคิดความรู้สึกที่ทำให้ความอ้วนกลายเป็นอื่น
ที่น่าสังเกตก็คือ ผลกระทบจากปัญหาที่กล่าวนี้ ยังส่งผลไปถึงปัญหาคู่แท้สองโลกของความอ้วน นั่นคือความผอม ซึ่งเคยสะท้อนภาวะทุพโภชนาการของเด็กไทยที่ "อดอยาก ไม่มีกิน" กลับกลายพันธุ์ไปสู่ภาวะทุพโภชนาการทับซ้อนในแบบ "อยากอด งดกิน" เพื่อต่อต้านและทำลายล้างความอ้วนให้จงได้ และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งชุดความรู้ใหม่ที่เป็นจริงจากอวิชชาแห่งความอ้วน
โดยนัยนี้ ไม่ว่าเด็กไทยจะทันรู้ตัวหรือไม่ พวกเขาก็ต้องเผชิญกับกระแสแห่งทางสองแพร่งที่ต้องเลือกระหว่างการ "ลืมอ้วน" กับ "หลงผอม" ดังที่สะท้อนไปในข้างต้น
เมื่อมาถึงตรงนี้ก็คงต้องย้อนกลับไปที่การศึกษาที่ควรชูตัวความรู้หรือวิชชาที่แท้ ซึ่งมิใช่เพียงแค่กระบวนการทางข้อมูล (Data) ที่โชว์ข้อมูลสถิติต่างๆ เพื่อการรับรู้ในเชิงสถานการณ์อีกแล้ว หรือแค่ให้ความรู้ด้วยการณรงค์ทางสังคมเพื่อให้ตระหนักถึงภัยความอ้วนเท่านั้น หากแต่ยังหมายถึงการศึกษาที่ไม่ละเลยความรู้ถึงภัยแห่งความ "คลั่งผอม" ที่เติบโตความคู่กันมา ที่สำคัญต้องนำพาให้สมาชิกในสังคมได้เรียนรู้ด้วยว่า สุขภาพที่แข็งแรง ร่างกายที่สมส่วน ชีวิตที่สมดุลนั้นคืออะไร
เรียกได้ว่า การศึกษาที่จะชูความเข้าใจในเรื่องนี้ จึงมีมากกว่า "การเต้นแอโรบิคหมู่" หรือมีหลักประกัน "30 บาทรักษาทุกโรค" ของกระทรวงสาธารณสุข (เพราะนั่นหาใช่ที่สุดของคำตอบไม่) หรือแม้แต่การสอนสุขศึกษา / พลศึกษาในโรงเรียน ก็อาจจะยังไม่พอต่อการเข้าถึงความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ ด้วยเหตุว่า ไม่ว่าจะเป็นตัวความรู้ก็ดี การศึกษาเรื่องอ้วน(อ้วน) ก็ตาม ล้วนแล้วแต่มีสารัตถะเหนือกว่าเรื่องของการมีน้ำหนักเกิน (Overweight) แต่ยังเกี่ยวพันกับชุดความรู้/กระบวนการทางปัญญาที่เรียนรู้ทำความเข้าใจในความอ้วน รู้ถึงรู้ทันภาวะอ้วน การบริโภค ค่านิยมและผลกระทบต่อสุขภาพและปัญญาที่การศึกษาจะต้องนำไปให้ถึง และนั่นก็หมายความว่าการศึกษาจำต้องรื้อสร้างชุดความรู้ใหม่ๆ ที่เกี่ยวโยงสัมพันธ์ระหว่างเรื่องอ้วนกับชีวิตจริงให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งเรียนรู้ได้ในหลายมิติ เช่น
- การเรียนรู้/กระบวนการศึกษาที่มากกว่าการสอนให้เด็กหรือประชาชน "รับรู้" เรื่องโภชนาการ หรือ "รู้จักสุขบัญญัติ" ใดๆ (Nutrition Education / Health Education)
- กระบวนการศึกษาที่สร้างการเข้าใจความจริง และใส่ใจดูแลหรือป้องกันรักษาตนเองมากกว่าการเยียวยาปลายทางแบบต้อง "พึ่งหมอ รอยาช่วย" (Safety Education)
- กระบวนการเรียนรู้ในเรื่ององค์ความรู้เกี่ยวกับสมอง การศึกษาเรื่องของสมอง ภาวะความอ้วนกับผลกระทบต่อ "การเจริญเติบโตของสมอง" และพัฒนาการทางปัญญา (Brain-based Education / Brain-based Learning )- กระบวนการเข้าใจและเท่าทันความรู้ที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสร้าง การ "ทันรู้" สื่อข่าวสารโฆษณาทั้งหลาย เรียนรู้ที่จะ "รู้เลือก/บริโภคเป็น" มากกว่าปล่อยตัวไปกับกระแสบริโภคแบบ "บุฟเฟ่" ไม่เลือกกินหรือกินไม่เลือก (Media Education / Consumer Education)
- การศึกษาที่มากกว่าความรู้แต่สอนให้ "รู้ทัน" โลกาภิวัตน์ แทนที่จะต้องอินเทรนในกระแส "อ้วน/ผอม ยอมหลง" แต่สามารถตั้งหลักหรือเผชิญหน้าในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมได้อย่างดี (Global Education)
- การเรียนรู้ในคุณค่าหรือสิทธิมนุษยชน ที่มิใช่แค่ให้การเรียนรู้รักษาสิทธิ์ชาวอ้วนชาวผอม เรียกร้อง แต่เพื่อปลดแอกอคติชนต่างกลุ่ม (Human right Education)
และยังจะสามารถปรากฏได้ในอีกหลายรูปแบบวิชาที่มากกว่านั้น เป็นต้น
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือว่า การศึกษาที่จะขจัดอวิชชาในเรื่องความอ้วน (ผอม) นี้ มิใช่แค่การเรียนรู้ส่วนเสี้ยวของความรู้ที่เกี่ยวพันกับสุขภาพ และค่านิยมทางสังคมอย่างที่เคยเข้าใจ หากแต่รวมไปถึงการบูรณการวิชาอย่างเป็นองค์รวมในทุกๆ เรื่องที่กล่าวมา รวมความรู้เกี่ยวกับสุขภาวะจิต-กาย-ชีวิต สุขภาวะทางปัญญาและสุขภาวะของสังคม รวมถึงค่านิยม /คุณค่าในชีวิต (Value) ตลอดจนความรู้ความสามารถที่จะ "รู้แจ้ง" ในแก่นแท้ของการมีชีวิตอย่างมี "ดุลยภาพ" ทั้งในตนเองและในสังคม
หรือกล่าวในอีกทางก็คือ ถึงเวลาแล้วที่การศึกษาจะพูดถึงความรู้ว่าด้วย "อ้วน" อย่างจริงจังและถ่องแท้เสียที ที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในระบบโรงเรียนก็ดี นอกระบบโรงเรียนก็ดี หรือตามอัธยาศัยก็ควรหันมาใส่ใจในเรื่องนี้แบบที่เป็น "ความรู้หรือวิชชาแบบองค์รวม" ด้วย เพราะอย่างที่เน้นก็คือเรื่องอ้วน มิใช่แค่เรื่องของชั้นไขมันหรือไร้มันอีกแล้ว แต่คือเรื่องของความรู้ที่สัมพันธ์กับสุขภาวะของชีวิตทั้งในแง่ความเสี่ยง (Risk) ความสูญ (Loss) หรือความมั่นคง (Security) และความยั่งยืน (Sustainability) ของมนุษย์และสังคมไทยในอนาคต
อะไรคือสัจธรรมแห่งความอ้วน ก็คงไม่ยากนักที่จะตอบว่า
"You are what you eat"
เช่นเดียวกับอะไรคือสัจธรรมของการศึกษาในเรื่องนี้ ก็คงไม่ต่างจากที่กล่าวในข้างต้น
หากแต่โจทย์สำคัญในขณะนี้ คือทำอย่างไรจะให้คนในสังคมเข้าใจในสัจธรรมนี้ได้ โดยไม่สร้างความเป็นอื่นอันใดมาบดบัง "ปัญญา" และนี่ต่างหากคือหลักประกันชีวิตและสุขภาวะของสังคมไทยที่แท้ อันเป็นสิ่งท้าทายที่ทุกภาคทุกฝ่ายในสังคมต้องร่วมกันใช้พลังการศึกษาทุกรูปแบบ เพื่อคนไทยและสังคมไทยที่สมบูรณ์ (ไม่เกินสมดุล)
เอกสารอ้างอิง
รุ่งศักดิ์ ชโลธร. เอกสารประกอบการอภิปรายเชิงวิพากษ์ "ความอ้วน ความเป็นอื่นที่อันตราย" วิชา 2403603 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม (ผศ.ดร.สุภาวดี มิตรสมหวัง) สรุปงานในการอภิปรายในชั้นเรียน. 15 มกราคม 2547(หมายเหตุ : จำนวนของเอกสารอ้างอิงจากงานเขียนต้นฉบับที่ส่งมายังมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน มีมากกว่าที่แสดงข้างต้นนี้ เนื่องจากเกิดความผิดพลาดทางเทคนิคในการคัดลอกและเก็บข้อมูลช่วงโอนย้ายการทำหน้าเว็ปเพจ เพื่อเผยแพร่ จึงทำให้เอกสารอ้างอิงหายไปจำนวนหนึ่ง ผู้จัดทำจึงขออภัยมา ณ ที่นี้)
สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I ประวัติ ม.เที่ยงคืน
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 400 เรื่อง หนากว่า 4500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
ขณะนี้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้ผลิตบทความทั้งหมดบนเว็ปในรูปของซีดีรอมเพื่อจำหน่าย
สนใจ สั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com
ถึงเวลาแล้วที่การศึกษาจะพูดถึงความรู้ว่าด้วย "อ้วน" อย่างจริงจังและถ่องแท้เสียที ที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในระบบโรงเรียนก็ดี นอกระบบโรงเรียนก็ดี หรือตามอัธยาศัยก็ควรหันมาใส่ใจในเรื่องนี้แบบที่เป็น "ความรู้หรือวิชชาแบบองค์รวม" ด้วย เพราะอย่างที่เน้นก็คือเรื่องอ้วน มิใช่แค่เรื่องของชั้นไขมันหรือไร้มันอีกแล้ว แต่คือเรื่องของความรู้ที่สัมพันธ์กับสุขภาวะของชีวิตทั้งในแง่ความเสี่ยง (Risk) ความสูญ (Loss) หรือความมั่นคง (Security) และความยั่งยืน (Sustainability)ของสังคม
เรียกได้ว่า การศึกษาที่จะชูความเข้าใจในเรื่องนี้
จึงมีมากกว่า "การเต้นแอโรบิคหมู่"
หรือมีหลักประกัน "30 บาทรักษาทุกโรค" ของกระทรวงสาธารณสุข (เพราะนั่นหาใช่ที่สุดของคำตอบไม่)
หรือแม้แต่การสอนสุขศึกษา / พลศึกษาในโรงเรียน ก็อาจจะยังไม่พอต่อการเข้าถึงความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้
ด้วยเหตุว่า ไม่ว่าจะเป็นตัวความรู้ก็ดี การศึกษาเรื่องอ้วน(อ้วน) ก็ตาม ล้วนแล้วแต่มีสารัตถะเหนือกว่าเรื่องของการมีน้ำหนักเกิน
(Overweight) แต่ยังเกี่ยวพันกับชุดความรู้/กระบวนการทางปัญญาที่เรียนรู้ทำความเข้าใจในความอ้วน
รู้ถึงรู้ทันภาวะอ้วน การบริโภค ค่านิยมและผลกระทบต่อสุขภาพและปัญญาที่การศึกษาจะต้องนำไปให้ถึง
และนั่นก็หมายความว่าการศึกษาจำต้องรื้อสร้างชุดความรู้ใหม่ๆ
ที่เกี่ยวโยงสัมพันธ์ระหว่างเรื่องอ้วนกับชีวิตจริงให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งเรียนรู้ได้ในหลายมิติ