Website
ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 426 หัวเรื่อง
บทวิเคราะห์การเมืองไทยรักไทย
อาจารย์ ธีรยุทธ บุญมี
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(บทวิเคราะห์ฉบับสมบูรณ์)
นโยบายไทยรักไทยโดยรวมแล้วเอื้อต่อทุนมากกว่ารากหญ้า
4 ปีที่ผ่านมารัฐบาลไทยรักไทยเน้นการเกื้อหนุน ทุนอภิสิทธิ์หรือทุนกาฝากรัฐ
ไทยรักไทยใช้วงเงินประมาณ 7.8 แสนล้านให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) แก้หนี้เสีย
มีโครงการอภิมหาโปรเจก เช่น สร้างเมืองใหม่ ขนส่งมวลชน รวม 2 ล้านล้าน กองทุนวายุภักษ์หนุนตลาดหุ้นประมาณ
1 แสนล้าน กองทุนสาธารณูปโภค 7 แสนล้าน
ขณะที่ชาวบ้านได้จากโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคปีละ 6 หมื่นล้าน กองทุนหมู่บ้าน
7 หมื่นล้าน โครงการพักชำระหนี้เกษตรกร 15,000 ล้าน โครงการแจกเงินหลังสุดสองหมื่นล้าน
ต่างกันประมาณ 20 เท่า
Non-TRT voting campaign
บทวิเคราะห์การเมืองระบอบทักษิณ(ไทยรักไทย)
ดร.
ธีรยุทธ บุญมี
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4
ปี ระบอบทักษิณ ก้าวสู่การเมืองระบอบเผด็จการพรรคเดียวของไทยรักไทย
มุ่งยึดสัมปทานประเทศ
(บทความชิ้นนี้ยาวประมาณ
9 หน้ากระดาษ A4)
(1)
การปฏิรูปการเมืองล้มเหลวเพราะเกิดการเมืองแบบตัดต่อพันธุกรรม
(GMO.)
เกิดสายพันธุ์ใหม่ยี้ท้องถิ่นผสมยี้อินเตอร์
การปฏิรูปการเมืองในปี 2540 มุ่งหวังสร้างระบบการเมืองใหม่ แต่กลับได้การเมืองแบบไทยรักไทย เป็นเสมือนทายาทอสูร (Monstrous baby) ที่เกิดมาใหญ่โตพิกลพิการและปิตุฆาตผู้ให้กำเนิดตัวเองด้วยการทำลายล้างเจตนารมณ์ปฏิรูปการเมืองเกือบหมด ดังนี้คือ
- ปฏิรูปการเมืองต้องการทำลายคอรัปชั่น แต่ปัจจุบันคอรัปชั่นขยายตัวทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
- ปฏิรูปการเมืองต้องการสร้างฝ่ายบริหารที่เข้มแข็ง แต่กลับได้รัฐบาลเข้มแข็งเกินไป จนกำลังเป็นระบอบเผด็จการพรรคเดียว
- ปฏิรูปการเมืองต้องการสร้างองค์กรตรวจสอบของสังคม แต่ถูกยึดโดยกลุ่มการเมืองใหม่และเก่าหมด
- ปฏิรูปการเมืองต้องการสลายการเมืองแบบกลุ่มอุปถัมภ์-อิทธิพลท้องถิ่น แต่ไทยรักไทยกลับใช้เทคโนโลยีชั้นสูงดึงกลุ่มวังน้ำเย็น กลุ่มวังบัวบาน กลุ่มวังพญานาค กลุ่มสุชาติ-เนวิน กลุ่มชลบุรี กลุ่มชาติพัฒน์ เข้ามาร่วมในลักษณะเป็นองค์กรใหม่ที่ตกแต่งพันธุกรรม คือกลายเป็น การเมืองแบบ GMO. (Genetically Modified Organization) เป็นการเปลี่ยนโครงสร้างการเมืองใหม่แต่คนละเจตนากับการปฏิรูปการเมือง โดยภาพรวมการเมืองเก่าเป็นยี้ท้องถิ่น แต่การเมืองใหม่จะพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ขึ้นเป็น ยี้ท้องถิ่นผสมยี้อินเตอร์
(2)
แนวโน้มการเมืองใหม่ - การเมืองเก่า
การก่อตัวระบอบเผด็จการพรรคเดียว
2.1 การเมืองเก่าตกยุค
พรรคและนักการเมืองเก่ายังไม่ตระหนักว่า โครงสร้างอำนาจ โครงสร้างการเมือง โครงสร้างสังคม
และค่านิยมในสังคมได้เปลี่ยนไป จนเกิดระบบการเมืองใหม่ที่พิกลพิการขึ้น การไม่ตระหนักรู้ว่า
ตัวเองตกยุคอาจทำให้พรรคการเมืองเก่าสูญพันธุ์เป็นเพียงพรรคตัวประกอบ
ที่กล่าวว่า การเมืองเก่าตกยุคก็เพราะยังอยู่กับปัญหาความขัดแย้งโครงสร้างกลุ่มอิทธิพล
ผลประโยชน์ท้องถิ่น ส่วนผู้นำ เนื่องจากต้องคอยระวังเผด็จการทหารจึงเลือกผู้ที่มีฐานะทัดเทียมทหาร
จากอดีตข้าราชการ เทคโนแครต ชนชั้นสูง คนมีชื่อเสียงดี อาทิ ม.ร.ว.เสนีย์-คึกฤทธิ์
ปราโมช, พจน์ สารสิน, พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์, พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ, ชวน หลีกภัย,
ซึ่งบริหารประเทศตามกรอบที่วางโดยข้าราชการและสภาพัฒน์ ( bureaucratic-led politics)
ซึ่งพิสูจน์จากวิกฤติเศรษฐกิจและการแข่งขันระดับโลกที่เข้มข้นในปัจจุบันว่า ไม่ได้ผล
2.2
แนวโน้มการเมืองใหม่
(ก) การเมืองใหม่คือการยึดอำนาจโดยกลุ่มทุนใหญ่
ในอดีตกลุ่มทุนใหญ่ทำหน้าที่สนับสนุนการเมืองเก่าของทหารและนักการเมืองจากภูมิภาคท้องถิ่นต่างๆ
เมื่อการเมืองเก่าล้มเหลวเพราะเป็นต้นเหตุของเหตุการณ์รุนแรงทางการเมือง การคอรัปชั่น
และวิกฤติเศรษฐกิจ กลุ่มทุนใหญ่จึงฉวยประโยชน์จากรัฐธรรมนูญใหม่ก้าวสู่อำนาจได้
ด้วยการสร้างพันธมิตรแบบ Synergy และ Synmoney อย่างเปิดเผยชัดเจนขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ
จากกลุ่มทุนโทรคมนาคมและสื่อสาร ขยายตัวเข้าสู่กลุ่มสื่อและบันเทิง กลุ่มเกษตรการค้า
พลังงานยานยนต์ ก่อสร้าง แต่ก็มีคุณูปการคือการสนองความต้องการสังคมด้วยการเสนอการบริหารแบบการเมืองนำราชการ
(ฺBusiness-led politics)
กลุ่มทุนใหญ่ของไทยรักไทย เป็นทุนอภิสิทธิ์หรือทุนกาฝากรัฐ ที่เติบโตจากการผูกขาดทรัพยากรรัฐหรือการเอื้อประโยชน์จากนโยบายรัฐมากกว่าการแข่งขัน พวกเขาจึงปลื้มปิติกับการได้ยึดกุมอำนาจรัฐโดยตรง จึงมุ่งสร้างระบบพรรคเดียว ไม่ให้คุณค่าการถ่วงดุลแบบประชาธิปไตย ยิ่งผู้นำไทยรักไทยไม่สนใจเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ความโปร่งใส หรือธรรมาภิบาล ก็ยิ่งเป็นที่ชื่นชมสนับสนุนของทุนเหล่านี้ ซึ่งคุ้นเคยกับการ ทับซ้อนผลประโยชน์รัฐ - เอกชน อยู่แล้ว
นโยบายไทยรักไทยโดยรวมแล้วเอื้อต่อทุนมากกว่ารากหญ้า 4 ปีที่ผ่านมารัฐบาลไทยรักไทยเน้นการเกื้อหนุน ทุนอภิสิทธิ์หรือทุนกาฝากรัฐ ไทยรักไทยใช้วงเงินประมาณ 7.8 แสนล้านให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) แก้หนี้เสีย มีโครงการอภิมหาโปรเจก เช่น สร้างเมืองใหม่ ขนส่งมวลชน รวม 2 ล้านล้าน กองทุนวายุภักษ์หนุนตลาดหุ้นประมาณ 1 แสนล้าน กองทุนสาธารณูปโภค 7 แสนล้าน ขณะที่ชาวบ้านได้จากโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคปีละ 6 หมื่นล้าน กองทุนหมู่บ้าน 7 หมื่นล้าน โครงการพักชำระหนี้เกษตรกร 15,000 ล้าน โครงการแจกเงินหลังสุดสองหมื่นล้าน ต่างกันประมาณ 20 เท่า
นโยบายประชานิยมแก่นแท้ ก็คือ ประชามาร์เก็ตติ้ง ที่ส่งผลเสียด้านศีลธรรม บริโภคนิยม การขาดประสิทธิภาพ คุณภาพของประชาชน นโยบายประชานิยมของทักษิณมีลักษณะเป็นโครงการย่อยๆ ช่วงสั้นๆ เช่น กองทุนหมู่บ้านให้ขาดแก่หมู่บ้านก้อนเดียว แต่ชาวบ้านต้องหมุนเงินจากแหล่งอื่นมาเวียนเทียนหนี้ ทำให้ตัวเลขหนี้เสียน้อยกว่าความจริงอย่างมาก
โครงการเอื้ออาทร 12 โครงการ ล้มเลิกไปส่วนหนึ่ง (คอมพิวเตอร์) ล้มเหลวชะลอตัวมีปัญหาด้านคุณภาพ (บ้าน แอร์ โทรทัศน์ แท็กซี่เอื้ออาทร) นอกจากนี้ยังมีนโยบายการตลาดที่หวือหวา แต่ล้มเหลวเงียบหายไปเช่น อีลิทการ์ด 1 โรงเรียน 1 อำเภอ 1 ครัวเรือน 1 บ่อน้ำ 1 อำเภอ 1 ปอเนาะ 1 ตำบล 1 ฟาร์ม
นอกจากนี้นโยบายสงครามยาเสพติด ชะลอตัวหลังฆ่าตัดตอนรายย่อยไป 2,500 ศพ การกวาดล้างคอรัปชั่น และปัญหาภาคใต้เลื่อนเส้นตายแล้วหลายหน นโยบายขายฝันระดับโลก เช่น ซื้อลิเวอร์พูล ครัวไทยครัวโลก ศูนย์กลางอาหารโลก ศูนย์กลางพลังงาน กรุงเทพเมืองแฟชั่น การสร้างแบรนด์เนม ที่รอประเมินผล ก็คือ ดีทรอยแห่งเอเซีย SMEs ที่ได้ผลน้อย เช่น OTOP (ยอดขายมาจากธุรกิจเดิมที่มีมานานแล้ว)
ประชามาร์เก็ตติ้งจึงไม่ใช่นโยบายแนวสวัสดิการถาวร ไม่ใช่การลงทุนระยะยาวในด้านการศึกษา วิจัย หรือการพัฒนาชุมชน แต่มุ่งกระตุ้นการบริโภค กระตุ้นกิเลสของชาวบ้านเป็นระยะๆ เช่น ล็อตเตอรี่รางวัลพิเศษ 30 ล้าน แจ็กพอตหวยบนดิน 100 ล้าน หวยลิเวอร์พูล 1,000 ล้าน
(ข) ไทยรักไทยใช้ยุทธศาสตร์ 3 ระดับ คือ รวมกำลังส่วนหัว โดดเดี่ยวส่วนกลาง อุปถัมภ์ส่วนล่าง เพื่อสร้างการเมืองพรรคเดียว ดังนี้
(1) ส่วนบนใช้ยุทธวิธี ซิเนอร์จี้, ซินมันนีฐ ซินเซเวอรี(Synsavoury) ธุรกิจกลุ่มแกนของพรรคให้เข้มแข็ง
(2) ส่วนกลางใช้ ยุทธวิธีตัดหัวตัดตีน แยกสลายทอนกำลังอำนาจการเมืองส่วนกลาง ทั้งอำนาจของกลุ่มนักเลือกตั้ง นักวิชาการ นักเคลื่อนไหวทางสังคม ยุทธวิธีตัดหัวที่กระทำต่อนักการเมืองท้องถิ่นกลุ่มต่างๆ คือ กดดันทำลายผู้สนับสนุนด้านเงินทุนแล้วควบรวมมาเป็นพวกที่กระทำต่อนักเคลื่อนไหวทางสังคมคือการดิสเครดิตอุดมการณ์ ต่อนักวิชาการใช้วิธีการทำลายความชอบธรรมทางวิชาการด้วยการโปรโมตวิชาการแบบซีอีโอ คู่มือคิด คู่มือฏิบัติให้โตเร็ว รวยเร็ว กำไรเร็ว ชูความรู้บูรณาการแบบเทียมๆ ขึ้นมาแข่งกับความรู้แนววิชาการซึ่งเน้นแบบองค์รวม การวิเคราะห์รากเหง้าและเหตุปัจจัยหลายมิติ
ยุทธวิธีตัดตีนกลุ่มการเมืองท้องถิ่น กลุ่มเคลื่อนไหวเอ็นจีโอ ใช้การขายตรงนโยบายประชานิยม
ที่กระทำต่อนักวิชาการ นักวิจารณ์ ก็คือการตัดพื้นที่สื่อในการแสดงความคิดเห็น ยุทธวิธีสร้างโครงสร้างการเมืองใหม่เหล่านี้ได้ผลชัดเจนในกรณีกลุ่มการเมืองท้องถิ่นต่างๆ นับตั้งแต่ กิจสังคม เสรีธรรม ความหวังใหม่ จนถึงกลุ่มหลังสุดคือ กรณีกลุ่มบุรีรัมย์ ชลบุรี โคราช(3) สำหรับชาวบ้าน เจาะลึกไปที่ค่านิยมเชิงวัตถุ อาจกล่าวได้ว่า พฤติกรรมในการลงคะแนนเสียงของคนไทยไม่ได้ขึ้นอยู่กับอุดมการณ์การเมือง แต่ขึ้นอยู่กับการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางวัตถุ ผลประโยชน์จากความผูกพันในระบบอุปถัมภ์หรืออื่นๆ รวมทั้งค่านิยมที่ต่างๆ กันคือ
คนรวยคาดการณ์แบบเก็งกำไร
คนชั้นกลางอยู่กับความคิดปฏิบัตินิยมแบบเป็นไปได้
คนจนอยู่กับความฝันการคาดหวัง จึงนิยมแทงหวย เสี่ยงโชคสำหรับชาวบ้าน นโยบายกองทุนหมู่บ้าน พักหนี้เกษตรกร แจกเงิน SML ของไทยรักไทย ทำให้ชาวบ้านรู้สึกเหมือนกับถูกหวยโดยไม่ต้องแทง พฤติกรรมของรัฐบาลนี้เป็นการอุปถัมภ์เชิงนโยบาย คือการใช้เงินส่วนรวมเพื่อเกิดประโยชน์กับตนเอง แต่ชาวบ้านไทยๆ จะมองเป็นบุญคุณที่ต้องตอบแทน โดยที่ไม่เข้าใจว่าแท้จริงแล้ว เศรษฐีหมื่นล้านมาหาข้าวกินร่วมกับชาวบ้านแบบมื้อต่อมื้อ กินเสร็จรอให้คนอื่นมาจ่ายเงินแล้วยังขอห่อกลับบ้าน
(ค) การเมืองพรรคเดียวจะนำไปสู่เผด็จการบุคคล ระบบญาติกาธิปไตย หรือคณาธิปไตย ระบบอุปถัมภ์เชิงนโยบายต่อชาวบ้าน เป็นพื้นฐานที่มั่นคงของระบอบเผด็จการพรรคเดียวที่ผ่านมาของหลายประเทศ พรรคแอลดีพีในญี่ปุ่นครองอำนาจ 46 ปี, พรรคก๊กมินตั๋งในไต้หวัน 53 ปี, พรรคอัมโนในมาเลเซีย 47 ปี, พรรค PAP ในสิงคโปร์ 45 ปี, และพรรคคองเกรสในอินเดีย 45 ปี, เผด็จการพรรคเดียวของไทยรักไทยจึงน่าจะเกิดขึ้นได้ ตั้งแต่การเลือกตั้งสมัยหน้าและจะอยู่ได้ในช่วงระยะยาวพอสมควร
ระบบพรรคเดียวในทุกประเทศมักเป็นระบอบเผด็จการ ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ เผด็จการโดยกลุ่มคณาธิปไตย หรือเผด็จการโดยบุคคลที่มักกลายเป็นญาติกาธิปไตย หรือสองอย่างผสมผสานไปพร้อมๆ กัน
ปัญหาการเมืองในอนาคตที่จะเกิดคือ ปัญหาการสืบทอดทายาททางการเมืองว่า จะเป็นในหมู่พวกพ้องหรือในหมู่เครือญาติ ซึ่งขณะนี้ก็มีบุคคลในสกุลผู้นำขยายบทบาทอย่างมาก ทั้งในภาคธุรกิจ ราชการ การเมือง และสังคม ญาติกาธิปไตยที่เกิดในญี่ปุ่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทยในสมัยถนอม-ประภาส มักสร้างปัญหาเป็นวิกฤติการเมือง สังคมได้ในช่วงท้าย ๆ
(3)
แนวโน้มปัญหาเศรษฐกิจ
3.1 เศรษฐกิจ Thaksinocrony มีเป้าหมายยึดสัมปทานประเทศเพื่อผลตอบแทนไว แต่ไม่ใส่ใจคุณภาพประเทศ
ช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจ เศรษฐกิจเอเซียผูกพันกันมากขึ้น เศรษฐกิจไทยฟื้นจากวิกฤติได้ 2 ปี แต่อนาคตจะขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจภูมิภาคและจีนเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม เริ่มมีปัจจัยที่น่าห่วงเกิดขึ้นหลายด้านคือ การส่งออกอาจจะไม่สดใสอย่างที่เคยหวัง ภาคที่ฉุดนำการเติบโตเกือบทั้งหมดเป็นภาคธุรกิจที่เป็นพวกพ้อง ผูกพันเกี่ยวข้องกับกลุ่มนำของไทยรักไทย จนอาจเรียกเศรษฐกิจ Thaksinomics ได้ใหม่ว่าเป็น Thaksinocrony
ส่วนการใช้จ่ายของภาครัฐอยู่ในข่ายการขาดวินัยการคลังที่ร้ายแรง ซึ่งจะทำให้เครดิตของประเทศเสียหาย การเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนชัดเจน นโยบายฆ่าตัดตอน ผู้นำชาวบ้านถูกสังหาร ปัญหาภาคใต้ โรคซาร์ส์ ไข้หวัดนก มีแนวโน้มยืดเยื้อ จนชะลอการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้
สิ่งสำคัญที่คนไทยต้องตระหนักอีกอย่างคือ ปรัชญาเศรษฐกิจการเมืองของไทยรักไทย ก็คือ การขอเปลี่ยนจากสัญญาบริหารประเทศ 4 ปี ไปเป็นสัมปทานประเทศ 30 ปี โดยจะเพิ่มค่าเช่าและจ่ายโบนัสอย่างงามแก่ประชาชนทุกๆ 4 ปี จากนั้นก็จะนำประเทศบางส่วนไปให้เช่าช่วงบ้าง ซับคอนแทรกซ์บ้าง ส่วนเนื้อๆ ของประเทศก็จะนำเข้าตลาดหุ้นภายในภายนอกเพื่อสร้างกำไรอย่างงาม
ส่วนงบประมาณหรือภาษีอากรประชาชนก็ขออาสาเป็นนายวาณิชธนกิจหรือกองทุนรวมบริหารให้ โดยสัญญาว่าจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยประจำแบบที่ประชาธิปัตย์เคยบริหารมา คนไทยต้องสังเกตว่า พวกนักสัมปทานไม่มีประสบการณ์ด้านการผลิต การวิจัยพัฒนาคุณภาพเอง อาศัยการซื้อเทคโนโลยี โนว ฮาวและทำมาร์เกตติ้งเพื่อขายบริการอย่างเดียว
ดังเห็นได้ว่า การกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งหมดของทักษิณอยู่กับการเน้นการบริโภค โดยไม่ได้เน้นด้านการผลิต คุณภาพการผลิต ประสิทธิภาพ ธรรมาภิบาล ฐานความรู้และการวิจัยของประชากรและภาคธุรกิจ ซึ่งจะส่งผลต่อการแข่งขัน การด้อยคุณภาพในที่สุด
ความสามารถในการบริหารจัดการของทักษิณจะเกิดประโยชน์อย่างมาก ถ้ามุ่งสร้างประเทศและประชาชนให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพเสียก่อน หรือมุ่งกระทำไปพร้อมๆกัน แต่เน้นที่คุณภาพและประสิทธิภาพเป็นหลักก็ได้
3.2 ยุคสมัยรัฐบาลทักษิณคนไทยต้องสมาทานเบญจคอรัปชั่น
ปัญหาสังคมที่รุนแรงที่สุด ที่จะนำมาซึ่งความขัดแย้งรุนแรงในอนาคตคือ การคอรัปชั่น ในยุครัฐบาลทักษิณ เราอาจจะมองพัฒนาการของคอรัปชั่นได้จาก 2 มุม คือ มุมคุณภาพและมุมปริมาณ
ก. มุมมองด้านคุณภาพของการคอรัปชั่น ได้พัฒนาคุณภาพสูงขึ้นเป็น เบญจคอรัปชั่น คือ
(1) การคอรัปชั่นเชิงนโยบาย(2) การคอรัปชั่นบูรณาการ ซึ่งร่วมมือกันทุกระดับ เช่น พรรคเสนอปรัชญาการบริหารประเทศแบบดิจิตอล รัฐมนตรีก็สนองนโยบาย ลูกน้องจัดการให้ บริษัทประมูลฮั้วกัน ข้าราชการให้ความร่วมมือ ดังที่ปรากฏเป็นข่าวที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้เปิดโปงขึ้น
(3) การคอรัปชั่นแบบผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งเป็นคอรัปชั่นเชิงซ้อน จัดการตามกฎหมายได้ลำบาก เช่น การทับซ้อนระหว่างรัฐกับเอกชน เช่น รัฐบาลเยือนต่างประเทศแต่เจรจาธุรกิจให้บางกลุ่ม ทำข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศแต่เอื้อแก่บางธุรกิจ เช่น เปิดเสรีกับออสเตรเลียได้หมึกไม่ทันแห้ง บริษัทยักษ์ใหญ่เกษตรก็บินไปลงนามข้อตกลงทางการเกษตรได้ทันที การทับซ้อนระหว่างส่วนตัวกับส่วนรวม เช่น เจรจาซื้อหุ้นลิเวอร์พูล ตัวเองได้ผลประโยชน์ในรูปเครดิตแต่จะใช้เงินรัฐหรือประชาชน การทับซ้อนในเชิงการปฏิบัติตามกฎหมาย แต่ได้ประโยชน์ทางการเมือง เช่น การจับกุม ดำเนินคดี คู่ต่อสู้ทางการเมืองอย่างเลือกปฏิบัติ
(4) คอรัปชั่นเชิงช่องว่างระหว่างสังคมไทยกับระบบโลก กลุ่มทุนใหญ่ได้เปรียบในการฉวยประโยชน์จากช่องว่างในการเข้าถึงข้อมูลและทิศทางการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้เพราะอำนาจรัฐของประเทศจำกัดลง ไม่สามารถควบคุมธุรกิจข้ามชาติ การทำสัญญาข้ามชาติ การเลี่ยงภาษี โยกย้ายเงินกระจายเงิน การซื้อขายตลาดล่วงหน้า และ Derivative ยิ่งนักธุรกิจเป็นนักการเมืองกุมอำนาจรัฐเองก็ยิ่งฉกฉวยประโยชน์ได้มาก
ช่องว่างทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะการสื่อสาร เช่น การกดอัดความถี่แตกลูกคลื่น เช่น เปิดทีวีช่อง 11/1-11/8 ช่องว่างทางกฎหมายซึ่งกฎหมายไทยตามไม่ทันการเปลี่ยนแปลงโลกยังติดยึดอยู่กับการทำถูกกฏระเบียบ ก็คือ ถูกกฎหมาย สังคมไทยไม่มีการควบคุมนอกเหนือกฎหมาย (extra-judicial control) เช่น การควบคุมทางสังคม ศีลธรรมที่เข้มแข็งพอ รัฐบาลทักษิณ เน้นจุดอ่อนนี้อย่างมากดังจะเห็นได้จาก การดึงนักเทคโนแครตด้านกฎหมายเข้าช่วยงานและแก้ปัญหาเกือบทุกด้าน
(5) การคอรัปชั่นทางศีลธรรม คือการกร่อนทำลายการยึดมั่นในศีลธรรมเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น ส่งเสริมการแทงหวย พนัน ธุรกิจนอกระบบให้เป็นธุรกิจในระบบ รัฐบาลทักษิณทำให้เส้นแบ่งทางคุณธรรมในสังคมไทยพร่ามัวไปหมดเกือบทุกด้าน เช่น ส่งเสริมธุรกิจผิดศีลธรรม เช่น หวยแต่เอารายได้ส่วนหนึ่งไปทำความดี คือให้ทุนการศึกษาเด็กการก่อหนี้สาธารณะซึ่งเป็นการเอาเงินอนาคตมาใช้ ก็คือ การใช้เงินของลูกหลาน ถ้ามากเกินขอบเขตก็จะเหมือนเป็นการโกงลูกหลานตัวเอง รัฐบาลทั่วโลกถือเป็นเรื่องทางศีลธรรมและวินัยการคลังที่ต้องระวังแต่รัฐบาลทักษิณภูมิใจที่ได้ก่อหนี้และปลูกฝังค่านิยมแบบรวยเร็ว ไม่เน้นสมดุลหรือระมัดระวังเรื่องความเสี่ยง ในอดีตคนไทยสมาทานเบญจศีล ในยุคสมัยรัฐบาลปัจจุบันเราคงต้องสมาทาน เบญจคอรัปชั่น แทน
ข. มุมมองด้านปริมาณของการคอรัปชั่น การคอรัปชั่นยุคนี้เป็นแบบ SML และ T คือการคอรัปชั่นทุกขนาดทั้งเล็ก (ระดับผู้นำท้องถิ่น หัวคะแนน) กลาง (ระดับนักการเมือง กินคอมมิชชั่น ค่าปรึกษาโครงการ) ใหญ่ (เชิงนโยบายผลประโยชน์ทับซ้อน) และยังเป็นแบบหนา (T, thick) คือการโกงกินอย่างโจ่งแจ้งเปิดเผย ไม่ฟังเสียงสังคมหรือสำนึกคุณธรรม ขอให้อยู่ในอำนาจและถูกระเบียบก็พอ สรุปก็คือ เล็กก็เอา กลางก็เอา ใหญ่ก็เอา และหนาด้วย
( 4 )
แนวโน้มสังคมและพรรคการเมืองไทย
4.1
อนาคตพรรคการเมือง ฝ่ายค้านอ่อนแอ
ไทยรักไทย มุ่งสร้างตัวเป็นสถาบันครอบนำเบ็ดเสร็จ (Hegemonic หรือ total institution)
คุมวิสัยทัศน์และความรู้ของสังคม คุมกลไกกฎหมาย ราชการ องค์กรตรวจสอบ ครอบนำชาวบ้านโดยผ่านนโยบายการขยายสมาชิกและเครือข่าย
แต่ไทยรักไทยดำเนินนโยบายการเมืองผิดพลาดที่ตั้งเป้าจะให้ได้ ส.ส.เกิน 400 เสียงเพื่อไม่ให้มีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจเลย
ซึ่งเป็นการปรามาสพลังชนชั้นกลางและพลังประชาธิปไตย จนน่าจะเกิดขบวนคัดค้านขึ้นในช่วงเลือกตั้ง
จึงคาดว่าไทยรักไทยจะได้ส.ส.เขตไม่ถึง 320 และปาร์ตี้ลิสต์ไม่ถึง 80 ตามที่ตั้งเป้า
เนื่องจากสูญเสียที่นั่งใน กทม.และแก่ผู้สมัครที่เด่นบางเขต
ประชาธิปัตย์ 4 ปีที่ผ่านมาของการเปลี่ยนผ่านมาสู่การเมืองใหม่ ไม่ได้ทำให้ประชาธิปัตย์ตระหนักแต่อย่างใด ยังต่อสู้ขัดแย้งในเชิงความคิดและกลุ่มก๊กแบบเก่า (factional politics) ประชาธิปัตย์ไม่ประสบความสำเร็จในการเลือกหัวหน้าพรรคและการเสนอนโยบายใหม่ จึงนำไปสู่ภาวะเสื่อมความนิยมจนเกิดการแตกแยกภายใน
ก่อนการเลือกตั้งสมัยหน้าถ้าประชาธิปัตย์ไม่ยอมปฏิรูปตัวเองจริงจัง เพื่อหาผู้นำและนโยบายที่สดใหม่ขึ้นมา เพื่อดึงเอาเสียงพลังประชาธิปไตย ชนชั้นกลาง เพื่อรักษาฐานเสียงเดิมในภาคใต้และ กทม. ก็จะตกที่นั่งลำบาก เป็นเพียงพรรคขนาดกลางเล็กประมาณ 80-85 เสียง ทางแก้คือ บัญญัติควรเปิดทางให้อภิสิทธิ์ซึ่งไม่ควรจะหลบฉากแต่ควรออกมาเป็นแม่ทัพในการเลือกตั้งที่จะถึง ซึ่งจะเป็นการเครี่ยวกรำตัวเองจนมีโอกาสได้รับศรัทธาจากชาวบ้านมากขึ้น
พรรคมหาชน โดยโครงสร้างเกิดจากกลุ่มการเมือง กลุ่มอิทธิพล กลุ่มธุรกิจ และผลประโยชน์ท้องถิ่นที่ถูกบีบคั้นจากไทยรักไทยอย่างแรง แต่ยึดศักดิ์ศรีไม่ยอมกลืนเลือด (แบบกลุ่มชลบุรีหรือกลุ่มโคราช) จึงได้จัดตั้งพรรคของตนขึ้นมาสู้ โดยโครงสร้างและวิธีคิดจึงไม่ใช่ทางเลือกใหม่ อย่างไรก็ตาม พรรคนี้ดึงดูดบุคลากรรุ่น 14 ตุลาได้จำนวนหนึ่ง และนำเสนอนโยบายที่เป็นระบบเพื่อแข่งกับไทยรักไทยได้ ถ้าประชาธิปัตย์ไม่ปรับอะไรเลย มีโอกาสที่พรรคนี้จะดึงเสียงชนชั้นกลาง พลังประชาธิปไตยที่ไม่พอใจไทยรักไทยไปได้บ้าง แต่ทั้งนี้ พล.ต.สนั่น, วัฒนา ฯลฯ ต้องมอบบทบาทให้คนรุ่นใหม่อย่างแท้จริง
พรรคชาติไทย น่าจะรักษาฐานเสียงเดิมได้จำนวนหนึ่ง
คือในราว 15-20 ที่นั่ง
รวมแล้วพรรคฝ่ายค้านจะอ่อนแอ ทั้งในด้านความคิด บุคลากร ฐานะทรัพยากร จะมีที่นั่งรวมเพียงประมาณ
100 กว่าเสียง และในสมัยหน้าไทยรักไทยก็จะกดดันชาติไทยและมหาชนให้สลายตัวและเข้าร่วมรัฐบาลตามยุทธวิธีเดิมที่ใช้ในช่วงสมัยแรกได้ง่ายดายอีกด้วย
4.2 ความขัดแย้งหลักทางสังคม คือ ความขัดแย้งระหว่างไทยรักไทยกับภาคประชาสังคม
ก. กลุ่มทุนมืออาชีพ
กลุ่มชนชั้นสูง ที่ไม่พอใจรัฐบาลทักษิณจะเพิ่มมากขึ้น จากความต่างทั้งด้านอุดมการณ์
ค่านิยม และผลประโยชน์ แต่กลุ่มนี้จะไม่มีพลังกดดันรัฐบาลมากนัก
ข. ใน 4 ปีข้างหน้า บารมีทักษิณน่าจะเพิ่มพูนขึ้นในกลุ่มธุรกิจใหญ่ กลุ่มนักการเมือง
และชาวบ้าน แต่จะสวนทางเป็นขาลงแบบดิ่งลงเหวในหมู่ปัญญาชน ชนชั้นกลาง สื่อมวลชนโดยรวม
กลุ่มองค์กรเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสังคมต่างๆ รวมทั้งสื่อ ผู้สังเกตการณ์ต่างประเทศด้วย
มายาคติเรื่องฝีมือความรู้หรือการจัดการแบบซีอีโอจะเสื่อมลงเพราะคนมองเห็นชัดมากขึ้นว่าใช้ไม่ได้กับทุกเรื่อง
เช่น การแก้ไข้หวัดนก กรณีภาคใต้ แต่ความเสื่อมจะอยู่ในแวดวงที่มีการศึกษาระดับหนึ่งเท่านั้น
ดังนั้น ผลคือระยะห่างระหว่างไทยรักไทยและภาคสังคมจะมากขึ้น ไทยรักไทยจะยังเน้นเพียงอำนาจ
กลไกการเมือง และชาวบ้าน โดยไม่แคร์ต่อเสียงชนชั้นกลางหรือเสียงสังคมทั่วไป
ค. ใน 4 ปี ข้างหน้า ภาคสังคม สื่อ นักวิชาการ องค์กรเคลื่อนไหว จะมีบทบาทเข้มข้นในการคัดค้านไทยรักไทย อาจมีการผนึกกำลังเป็นแนวร่วมมากขึ้นเพราะปัญญาชน ชนชั้นกลางและสื่อไทยมีประเพณีต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมายาวนาน จะเป็นกำลังและเป็นคู่ขัดแย้งหลักกับไทยรักไทยในอนาคต ประเด็นที่สู้อาจไม่ได้เริ่มต้นค้านระบบเผด็จการพรรคเดียว แต่จะเป็นเรื่องการคอรัปชั่น การเอื้อผลประโยชน์พวกพ้อง ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้เกิดความขัดแย้งสังคมขนานใหญ่ได้
จากนั้นจะขยายไปสู่การต้านเผด็จการพรรคเดียว การเผด็จอำนาจโดยบุคคล คาดว่าโดยรูปธรรมอาจจะมี การรณรงค์ไม่ออกเสียงให้ไทยรักไทย (non-TRT voting campaign) ตั้งแต่การเลือกตั้งผู้ว่า กทม.คราวนี้ หรือการเลือกตั้งคราวหน้า และท้ายที่สุดน่าจะเป็นการรณรงค์จนถึงขั้นการชุมนุมเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ถ้ามองว่า ไทยรักไทยจะเป็นสถาบันการเมืองหนึ่งในอนาคต สังคมไทยก็อาจจำเป็นต้องผลักดันให้เกิดการปฏิรูปภายในพรรคให้เป็นประชาธิปไตย ให้มีกระบวนการผลิตนโยบายเป็นเชิงสถาบันมากขึ้น หรือ จากล่างสู่บนมากขึ้น
ฝ่ายค้านเองอาจทำตัวให้มีคุณูปการสร้างสรรค์การเมืองไทย ด้วยการปฏิรูปตัวเองอย่างจริงจัง การทำแนวร่วมเป็นพันธมิตรด้วยอุดมการณ์ที่ต่างไปจากแนวทุนอภิสิทธิ์-ประชามาร์เกตติ้งของไทยรักไทย
สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I ประวัติ ม.เที่ยงคืน
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 400 เรื่อง หนากว่า 4500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
ขณะนี้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้ผลิตบทความทั้งหมดบนเว็ปในรูปของซีดีรอมเพื่อจำหน่าย
สนใจ สั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com
การคอรัปชั่นแบบผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งเป็นคอรัปชั่นเชิงซ้อน จัดการตามกฎหมายได้ลำบาก เช่น การทับซ้อนระหว่างรัฐกับเอกชน เช่น รัฐบาลเยือนต่างประเทศแต่เจรจาธุรกิจให้บางกลุ่ม ทำข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศแต่เอื้อแก่บางธุรกิจ เช่น เปิดเสรีกับออสเตรเลียได้หมึกไม่ทันแห้ง บริษัทยักษ์ใหญ่เกษตรก็บินไปลงนามข้อตกลงทางการเกษตรได้ทันที การทับซ้อนระหว่างส่วนตัวกับส่วนรวม เช่น เจรจาซื้อหุ้นลิเวอร์พูล ตัวเองได้ผลประโยชน์ในรูปเครดิตแต่จะใช้เงินรัฐหรือประชาชน