Website
ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 425 หัวเรื่อง
การวิจารณ์ศิลปะหลังอาณานิคม
นพพร ประชากุล
คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(ผลงานถอดเทปคำบรรยาย)
ขอนอกเรื่องนิดหนึ่งว่า
ในบรรดาเจ้าอาณานิคมด้วยกันเท่าที่ผมสัมผัส ฝรั่งเศสจะเป็นพวกที่ guilty ตระหนักน้อยที่สุดในเรื่องอันนี้
แบบเรียนที่ใช้ให้พวกอาณานิคมเรียน เป็นแบบเรียนเดียวกันกับที่เขาใช้เรียนในแผ่นดินแม่
ฉะนั้นก็จะบอกว่าบรรพบุรุษของพวกเราทุกคนที่เป็นสมาชิกของ french empirer สืบเชื้อสายมาจากพวกโกลลัวร์
เพราะฉะนั้นพวกเซนิกัล เขาก็จะงงๆ ว่าเราสืบเชื้อสายมาจากโกลลัวร์หรือ เหมือนพวกฝรั่งเศส
อาจารย์ที่สอนก็จะบอกว่า มีปัญหาหรือ เขาก็จะบอกว่าแน่ใจหรือว่าเรามาจากโกลลัวร์
อาจารย์ก็บอก แน่นอนอยู่แล้ว ในตำราก็บอกชัด แล้วทำไมเราไม่เหมือนคนฝรั่งเศส
เขาก็บอกว่า ของของคุณมาช้า คือคุณสืบเชื้อสายมาจากโกลลัวร์แต่มาทีหลัง ล้าหลัง
เรามาอยู่ที่นี่เพื่อมาดึงพวกคุณให้ขึ้นมาเท่าเรา we are here พวกนั้นก็เลยเข้าใจ
ซึ่งอันนี้ผมไม่ทราบว่าในโลกอังกฤษเขาจะทำได้ขนาดนี้ไหม ว่าไปบอกกับคนอินเดียว่าคุณสืบเชื้อสายมาจาก
พวกแองโกลแซกซัน ผมคิดว่าคนอังกฤษคงจะไม่ถึงขนาดนี้
Post Colonial Criticism
การวิจารณ์ศิลปะ-วรรณกรรมแนวหลังอาณานิคม
นพพร ประชากุล
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Post
Colonial Criticism
วันที่ ๖ ต.ค. ๒๕๔๖ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: โดย อ.นพพร ประชากุล
(ถอดคำบรรยายโดย วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ นักศึกษา ป.โท พัฒนาสังคม ม.เชียงใหม่)
(บทความชิ้นนี้ยาวประมาณ
27 หน้ากระดาษ A4)
อ.ไชยันต์ รัชชกูล ดำเนินรายการ:
การวิจารณ์แนว Post Colonial Criticism เมื่อหลายเดือนก่อน ที่จุฬาฯ จัดประชุมเรื่องทำนองนี้
แต่คนละเรื่องกับที่ อ.นพพร จะพูด ก็หวังว่าจะเป็นคุณูปการ เป็นข้อคิด หรืออย่างน้อยเป็นข้อทักท้วงถกเถียงกับความคิดที่เราเชื่ออยู่
เชิญ อ. นพพร
อ.นพพร ประชากุล :
การวิจารณ์แนวหลังอาณานิคม Post Colonial Criticism วลีที่ใช้เป็นชื่ออันนี้ประกอบด้วยสองคำ
คำว่า Criticism อาจไม่มีปัญหามาก แต่คำว่า Post Colonial เป็นคำที่ผมต้องสร้างความกระจ่างไว้แต่เนิ่นๆ
ก็คือคำว่า หลังอาณานิคม แล้วค่อยไปทำความเข้าใจกับกิจกรรมการวิจารณ์ที่ยึดแนวนี้เป็นหลัก
หัวข้อของผมวันนี้ประกอบด้วย ๔ ส่วน
ส่วนแรก จะพูดถึง Post Colonialism หรือแนวคิดหลังอาณานิคม
ส่วนที่สอง ถัดมาจะชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างงานวิจารณ์แนวหลังอาณานิคมกับงานประพันธ์หลังอาณานิคม บ่อยครั้งมาปนกันแล้วพูดคุยกันลำบาก ผมคิดว่าต้องแยกให้ชัด ว่าจะพูดถึงการวิจารณ์ในแนวนี้หรือการประพันธ์ในแนวนี้
ส่วนที่สาม จะพูดถึงเนื้อหาสาระที่พบได้ในการวิจารณ์แนวนี้
สุดท้าย จะปิดด้วย methodology หรือวิธีวิทยาที่ใช้ในการวิจารณ์แนวนี้
1.
หัวข้อแรก ขอเริ่มด้วยการให้คำนิยามแนวคิดหลังสกุลอาณานิคมว่า ในสาขาวิชาการและความเคลื่อนไหวทางความคิดที่ศึกษาวิเคราะห์อำนาจของตะวันตก
ที่มีเหนือภูมิภาคอื่นๆ ของโลก Object หรือวัตถุที่ศึกษาคือ อำนาจของตะวันตกที่มีต่อภูมิภาคอื่นๆ
ของโลก ซึ่งถ้าจะพูดให้ชัดกว่านี้คือ เป็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างตะวันตกกับภูมิภาคอื่นๆ
ของโลก เพราะว่ามันไม่ได้เป็นในทิศเดียวเสมอไป
เมื่อสักครู่ผมพูดว่าอำนาจของตะวันตกต่อภูมิภาคอื่นๆ ของโลก แต่ภูมิภาคอื่นๆ ของโลกก็ตอบโต้ได้เช่นเดียวกัน มีความสัมพันธ์เชิงอำนาจอื่นๆ ที่ตอบโต้สวนทางกลับมาได้ด้วย ตรงนี้คงต้องพยายามมองให้เป็นสองทิศทาง แต่ต้องยอมรับความจริงว่า ๘๐% ของการใช้อำนาจนั้น เป็นจากตะวันตกสู่ภูมิภาคอื่นๆ ของโลก มากกว่าที่จะเป็นในทิศกลับกัน
การที่ผมใช้คำว่าศึกษาวิเคราะห์ก็ทำให้เป็นวิชาการบริสุทธิ์ได้ง่าย ซึ่งที่จริงก็ไม่มีอยู่แล้ว วิชาการบริสุทธิ์ แต่ว่ากรณีของวิชาการแนว Post Colonial เขาประกาศออกมาแต่ต้นว่า เขามีลักษณะวิพากษ์ (critique) อยู่ในตัวเรียบร้อย ก็เป็นชุดวิชาการเดียว กระบวนทัศน์เดียวกันกับ Feminism, Marxism ในแง่ที่ว่า เอาล่ะ จะเป็นการวิเคราะห์ แต่เป็นการวิเคราะห์ที่แฝงลักษณะวิพากษ์ ไปสู่การปฏิบัติด้วย
นิยามที่พูดมานี้ฟังดูครอบคลุมดี แต่มันยังกว้างเกินไป เพราะมันยังมีแนวคิดอีกแนวหนึ่งซึ่งมันใกล้เคียงกันแล้วเอามาปนกันได้ง่าย นักวิชาการบางคนเอามาปนกันเลย เช่น อ่าน โรเบิร์ต ยัง Post Colonialism and historical introduction ปรากฏว่าอ่านไปได้ชั่วโมงหนึ่งก็จับได้แล้ว นี่มันไม่ใช่ Post Colonial อย่างที่เราเข้าใจ มันคือ Anti Colonial แต่ว่าโรเบิร์ต ยัง อาจไม่สนใจ เอามาปนกันได้ แต่ผมคิดว่าต้องเคลียร์ตรงนี้ก่อน
แนววิชาการอีกแนวหนึ่งที่ใกล้เคียงกันกับ Post Colonial มากๆ คือ anti Colonialism หรือ แนวคิดต่อต้านอาณานิคม ซึ่งแนวคิดต่อต้านอาณานิคม สามารถจะไปร่วมแชร์คำจำกัดความข้างหน้าที่ผมใช้เมื่อกี้ได้ เพราะมันก็ศึกษาวิเคราะห์อำนาจของตะวันตกที่มีต่อภูมิภาคอื่นของโลกเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราคงจะต้องมาจำกัดความเฉพาะลงไปอีก โดยมาจ้องที่คำว่า Post ซึ่งใช้ใน Post Colonial
คำว่า post อันนี้ หากสื่อความหมายว่า แนวคิด Post Colonial มันเกิดขึ้นภายหลังที่ปรากฏการณ์อาณานิคมจบสิ้นไปแล้ว พูดง่ายๆ ว่าแนวคิดนี้เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ถ้าจะพูดให้เจาะจงลงไปก็คือมาเริ่มขึ้นเอาในตอนปลายทศวรรษ ๑๙๗๐ ค่อนข้างจะช้าทีเดียว มันเกิดขึ้นหลังจากที่อาณานิคมจบสิ้นไปนานแล้วด้วย อย่างน้อยก็ ๒ ทศวรรษ แต่ว่านักวิชาการในกลุ่มดังกล่าว เขาตระหนักว่า แม้ว่าปรากฏการณ์อาณานิคมจะผ่านพ้นจบไปแล้วก็ตาม แต่ว่าอำนาจของตะวันตกที่อยู่เหนือภูมิภาคอื่นของโลกยังคงดำรงอยู่ จนถึงปัจจุบันนี้ แล้วอำนาจที่ว่านี้มันไม่ได้เล็กน้อยไปกว่าสมัยอาณานิคมเลย เพียงแต่ว่ามันเปลี่ยนรูปแบบ
ทีนี้เราก็มามองว่าในเมื่ออาณานิคม ซึ่งเป็นการใช้กำลังบังคับโดยตรง ด้วยแสนยานุภาพทางทหาร มันจบสิ้นไปหมดแล้ว โอเค! บางคนอาจจะบอกว่าสงครามอิรักเมื่อเร็วๆ นี้ ก็ถือว่าเป็น accident ที่นานๆ จะโผล่ขึ้นมาที ไม่ใช่ว่าจะทำสงครามอย่างนี้อยู่ได้ทุกวัน ก็พูดได้ว่า การใช้กำลังทหารของตะวันตกจบสิ้นลงไปแล้ว แต่อำนาจที่ว่านี้มันยังอยู่ได้ด้วยวิธีการแบบใด ตรงนี้ขอชิงตอบเสียตั้งแต่เนิ่นๆ เลย ไม่อมพะนำ คำตอบก็คือว่า อำนาจของตะวันตกยังดำรงอยู่โดยใช้ "อำนาจเชิงสัญลักษณ์" อำนาจที่ผ่านสัญลักษณ์ ไม่ได้ผ่านแสนยานุภาพทางทหาร ไม่ได้เอา gun boat ไปปิดปากอ่าว ไม่ได้เป็นแสนยานุภาพทางการเมืองหรือเศรษฐกิจ แต่เป็นเรื่องของสัญลักษณ์
การใช้อำนาจเชิงสัญลักษณ์ กระทำผ่านสิ่งที่ภาษาไทยเรียกว่า "ประดิษฐกรรมทางวัฒนธรรม" Cultural artifact ก็จะเห็นเลยว่า มันเป็นคนละตรรกะกับการใช้กำลังบังคับอย่างตรงๆ ซื่อๆ เอาปืนไปจี้ แต่เป็นการใช้วิธีโน้มน้าว ตรรกะของมันเป็นตรรกะของการโน้มน้าวใจให้ยอมรับ โดยไม่ฝืนใจ ไม่รู้สึกว่าตัวเองถูกบังคับ ตรงนี้ผมว่ามันแนบเนียนและมันมีประสิทธิภาพยั่งยืนกว่าการเอากำลังทหารไปนั่งเฝ้า จุดนี้ทำให้เราเห็นความแตกต่างระหว่างวิชาการแนวหลังอาณานิคม กับแนวต่อต้านอาณานิคม แนวต่อต้านอาณานิคมมีมาก่อน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาก่อน คือมันเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงที่ระบบอาณานิคมมันเริ่มเสื่อมลงมาแล้ว คือต้นศตวรรษที่ ๒๐ ต้องรอให้อาณานิคมมันตกตะกอนก่อน
Anti colonialism มันไม่ได้เกิดทันที มันจะทอดเวลาหลังจากที่อาณานิคมตกตะกอนจนกระทั่งเริ่มเห็นแล้วว่าอะไรเป็นอะไร ก็จะเกิดอันนี้ขึ้นมา ซึ่ง anti colonialism เกิดขึ้นในช่วงที่ระบบอาณานิคมเริ่มเสื่อมอำนาจ อันนี้เป็นทัศนะพวก French-friend scholar ชอบมองอย่างนี้ ว่า "ที่ใดมีอำนาจที่นั่นย่อมมีการต่อต้าน" จริง ถูกต้อง แต่การต่อต้านมันจะเริ่มขึ้นเมื่ออำนาจที่กดมันเริ่มเสื่อม คือเป็นข้อเท็จจริงพื้นๆ ง่ายๆ อันนี้มันนำเราไปไกลมาก ว่า ทฤษฎี proletariantation ของมาร์กซ์ จะถูกต้องแค่ไหน ถ้าฝ่ายที่ dominate ยังคง strong มากๆ แล้วกดอีกฝ่ายหนึ่งลงไปเยอะๆ มันจะมีแรงที่ไหนขึ้นมาต่อต้าน มันอาจจะต้องกลับทิศกัน คือฝ่ายผู้กดขี่มันเริ่มเสื่อม หรือว่าอำนาจเริ่มถดถอย แล้วข้างล่างเริ่มสะสมอำนาจมากขึ้นหรือเปล่า อันนี้ขอฝากทิ้งไว้
เพราะฉะนั้น anti-colonialism จะศึกษากลไกที่เจ้าอาณานิคมใช้ควบคุมอาณานิคมโดยตรง ได้แก่ การทหาร การเมืองและเศรษฐกิจ เป้าหมายของการวิเคราะห์ในแนว anti-colonialism คือพุ่งเป้าไปที่ liberation คือการปลดปล่อย พูดง่ายๆ คือพุ่งเป้าไปสู่การประกาศเอกราช เพราะฉะนั้นรายไหนรายนั้นเขาก็จะเอา analysis เหล่านั้นมาอยู่ในกรอบของ nationalism ในยุคนั้นไม่เคยมีใครคิดว่าจะเป็นเรื่องเลวร้ายได้ ซึ่งเวลาเราย้อนกลับไปอ่านงานของ anti-colonialism อย่างของ Amil Cabral, France Fanon เราจะมีความรู้สึกตลอดเวลาว่า คนพวกนี้เขาไม่รู้หรอกหรือว่า ชาติจะกลายมาเป็นเครื่องมือที่มากดขี่ไม่แพ้เจ้าอาณานิคมเจ้าเก่า แต่ทุกคนกำลังชื่นมื่นและแสวงหา identity ของชาติที่กำลังจะคลอดออกมาหลังจากปลดแอกอาณานิคม
เพราะฉะนั้นตรงนี้ชัดเจนแล้วว่า anti-colonialism เป็นชุดความรู้ที่ไม่สามารถมาอธิบายอำนาจของตะวันตกในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคที่อาณานิคมจบไปแล้วได้ มันไม่เพียงพออีกแล้ว ผมไม่ได้หมายความว่าอำนาจทางเศรษฐกิจหรือการเมืองของตะวันตกหายไป มันแปรรูปมาอยู่ในองค์กรเหนือชาติ supranational อิทธิพลของสหรัฐอเมริกาใน UN อันนี้มันก็ชัดเจนมาก ที่บอกว่า ๑ ประเทศ ๑ โหวด ประเทศซูรินัมก็มีโหวดเท่ากับประเทศออสเตรเลีย ใช่ แต่มันก็คือภาพที่พื้นผิว หรือว่า international of labor ตามที่ Immanuel Wallerstein ได้เคยวิเคราะห์ไว้ ว่าในยุคอาณานิคม ระบบทุนนิยมโลกมีศูนย์กลางอยู่ที่ยุโรปแล้วก็มี periphery (ส่วนรอบนอก)ป้อนวัตถุดิบให้ มันก็ยังใช้ได้อยู่ในระดับหนึ่ง ที่ว่าแม้ว่าโลกที่สามในปัจจุบัน (พวก post colonial เขาไม่ให้เอ่ยคำว่า 'โลกที่สาม' ทำไมต้องมีโลกที่หนึ่ง, สอง, สาม) สมัยก่อนตอนสัญญาเบาริ่ง อันนั้นชัดเจนมากว่าเราเป็น periphery ล้วนๆ
แต่ต่อมา เราก็เป็นเสือตัวที่เท่าไหร่ไม่รู้ มีอุตสาหกรรม แต่มันก็ยังจริงอยู่ที่ว่า ตะวันตกเลือกเอาการผลิตส่วนที่เป็นขยะ สิ้นเปลืองทรัพยากร ทำลายสิ่งแวดล้อม และใช้แรงงานเยอะ เอามาโยนให้โลกที่สามทำ เสร็จแล้วเอาไปประกอบชิ้นส่วนไฮเทคที่โลกที่หนึ่ง มันก็ยังมีอยู่ แต่ว่า post colonial ไม่มานั่งสนใจสิ่งเหล่านี้อีกแล้ว เพราะถือว่านักวิชาการในกลุ่ม anti colonial เขาก็ทำหน้าที่ของเขาได้ เราแยกงานกันทำในระดับหนึ่งเพราะทุกคนจะทำทุกอย่างไม่ได้ เพราะฉะนั้นตรงนี้ post colonialism ไม่มามองส่วนที่เป็นการใช้กำลังอย่างซึ่งๆ หน้า หันไปมองส่วนอื่นซึ่ง anti colonialism ไม่ได้ใส่ใจเท่าที่ควร
ทีนี้มันมีอีกประเด็นว่า ตรรกะของอำนาจที่นักวิชาการแนว post colonial มาพบยุคหลังอาณานิคม ซึ่งก็เป็นตรรกะด้านสัญลักษณ์ พอย้อนกลับไปดูยุคอาณานิคมที่คิดว่ามีแต่เรื่องทหาร เศรษฐกิจ การเมือง เราก็พบว่า มิติเชิงอำนาจแบบสัญลักษณ์ มันถูกใช้ควบคู่มากับการทหาร และก็เศรษฐกิจมาตั้งแต่ยุคอาณานิคมแล้ว พวก post colonial ย้อนขึ้นไปก่อนหน้าอาณานิคมอีก ก็พบว่า การเสนอภาพภูมิภาคอื่นของโลกในลักษณะที่ด้อยกว่ายุโรปมันก็มีมาตั้งแต่ Renaissance แล้ว ตั้งแต่สมัยยุคกลาง ตั้งแต่แผนที่ mappy mundi มันก็เริ่มมีแล้ว มีเวอร์ชั่นต่างๆ เราจะเห็นเลยว่า ยุโรปจะต้องอยู่ตรงกลาง เอเชียงอกมาตรงนี้ แอฟริกาโผล่มาตรงโน้น น่าสนใจมากว่า ยุโรปชาวตะวันตกได้จัดตั้งตัวเองเป็นศูนย์กลางของโลกมาตั้งแต่ไหนแต่ไร ไม่ใช่มารอจนเกิด colony
เพราะฉะนั้นตรงนี้แหละที่บอกว่า อำนาจของสัญลักษณ์มันมีมาตั้งนานแล้ว มันเป็นเหตุผลที่ทำให้เราเข้าใจได้ว่า ทำไมดินแดนบางดินแดนที่ภูมิใจมากว่าไม่เคยตกเป็นอาณานิคม คือไม่เคยตกเป็นเป้าของการใช้กำลังทหารยึดครองโดยตรง ทำไมถึงได้รับอิทธิพลจากตะวันตกพอๆ กับชาติที่ตกเป็นอาณานิคม ยกตัวอย่างเรื่องแปล Vandetta ที่ว่าทำไมพม่า อินโดนีเซีย ไทย ก็ตกอยู่ใต้ ผมใช้คำว่า ถูกสะกดด้วยอำนาจของสัญลักษณ์ของตะวันตกพอๆ กันเลย ไม่ใช่ว่าเขาต้องเอาปืนมาจี้ให้ทำ แต่เต็มใจทำ ในแง่นี้
ผมจะขอย้ำอีกครั้งว่า แบบแผนการใช้อำนาจของตะวันตกที่แนวคิดหลังอาณานิคมสนใจ จึงไม่ใช่อำนาจทางทหาร การเมือง เศรษฐกิจ อย่างที่อยู่ใน classic colonialism แต่เป็นอำนาจที่อยู่ใน culture หรือวัฒนธรรม วัฒนธรรมถูกมองว่าเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของการใช้อำนาจระหว่างเผ่าพันธุ์ เพราะมันเป็นพื้นที่ของการสื่อความหมายและการสื่อคุณค่า กระทำผ่านทางภาพโฆษณา งานวรรณกรรม หนังสือตำราเรียน นี่ผมกำลังยกตัวอย่าง cultural artifact (ประดิษฐกรรมทางวัฒนธรรม)
ขอนอกเรื่องนิดหนึ่งว่า ในบรรดาเจ้าอาณานิคมด้วยกันเท่าที่ผมสัมผัส ฝรั่งเศสจะเป็นพวกที่ guilty ตระหนักน้อยที่สุดในเรื่องอันนี้ แบบเรียนที่ใช้ให้พวกอาณานิคมเรียน เป็นแบบเรียนเดียวกันกับที่เขาใช้เรียนในแผ่นดินแม่ ฉะนั้นก็จะบอกว่าบรรพบุรุษของพวกเราทุกคนที่เป็นสมาชิกของ french empirer สืบเชื้อสายมาจากพวกโกลลัวร์ เพราะฉะนั้นพวกเซนิกัล เขาก็จะงงๆ ว่าเราสืบเชื้อสายมาจากโกลลัวร์หรือ เหมือนพวกฝรั่งเศส อาจารย์ที่สอนก็จะบอกว่า มีปัญหาหรือ เขาก็จะบอกว่าแน่ใจหรือว่าเรามาจากโกลลัวร์ อาจารย์ก็บอก แน่นอนอยู่แล้ว ในตำราก็บอกชัด แล้วทำไมเราไม่เหมือนคนฝรั่งเศส เขาก็บอกว่า ของของคุณมาช้า คือคุณสืบเชื้อสายมาจากโกลลัวร์แต่มาทีหลัง ล้าหลัง เรามาอยู่ที่นี่เพื่อมาดึงพวกคุณให้ขึ้นมาเท่าเรา we are here พวกนั้นก็เลยเข้าใจ ซึ่งอันนี้ผมไม่ทราบว่าในโลกอังกฤษเขาจะทำได้ขนาดนี้ไหม ว่าไปบอกกับคนอินเดียว่าคุณสืบเชื้อสายมาจากพวกแองโกลแซกซัน ผมคิดว่าคนอังกฤษคงจะไม่ถึงขนาดนี้
ประดิษฐกรรมทางวัฒนธรรม(Cultural artifact) ภาพโฆษณา หนังสือ ตำราเรียน บันทึกการเดินทาง มันสนุกตรงที่ว่า เขาไม่รู้ตัวว่าเขากำลังเหยียดคนอื่นเต็มๆ ขนาดที่กำลังยกย่องกำลังชื่นชมกับความ exotic มันแฝงการเหยียดไว้โดยที่เจ้าตัว นักเดินทางเองไม่ค่อยจะรู้ตัว โอเค มีอันที่เหมือนกับที่ อ.ธงชัยเอามาเขียนใน the others within ที่บอกว่า เจ้าจากกรุงเทพเดินทางไปดูคนป่าคนดง และก็ชัดเจนมากว่ามีทัศนคติที่ตัวเองเหนือกว่า แต่ใน travellox ของฝรั่งแยบยลกว่านี้คือ เราไปค้นพบ เราไป explore เราไปตื่นเต้น แต่จริงๆ พอวิเคราะห์ด้วยแนว post colonial จะเห็นชัดๆ เลยว่า เป็นการทำให้ชนเผ่าอื่นเขาเป็น the other เป็นคนอื่นที่แปลกพวกออกไป เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย การตกแต่งภายในบ้าน
แม้กระทั่งคหกรรมศาสตร์
ยุควิคตอเรียน มีการจัดวางเตรียมพื้นที่ให้ลูกชายได้เล็งเห็นวิธีการปกครองที่จะไปปกครองอินเดีย
เพราะฉะนั้น "ประดิษฐกรรมทางวัฒนธรรม" เหล่านี้ถือได้ว่าเป็นภาพเสนอ
เป็น representation หมายความว่า มันไม่ได้เอาความเป็นจริงทั้งหมดมานำเสนอ ภาพเสนอเป็นการคัดเลือกเอาคุณลักษณ์บางอย่างมา
เรียบเรียง ขับเน้น และกดอันอื่นไว้ไม่ให้เห็น แล้วก็นำเสนอออกมาประหนึ่งว่าเป็นตัวแทนของทั้งหมด
มันเป็น representation ของความสัมพันธ์ระหว่างเผ่าพันธุ์ และชิ้นงานทางวัฒนธรรมพวกนี้มันยังพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเผ่าพันธุ์ในกรอบความรู้
และกรอบความเชื่อบางอย่างในยุคนั้นๆ ด้วย ตรงนี้ทำให้ cultural artifact พวกนี้มันเป็นส่วนหนึ่งของ
"วาทกรรม" ซึ่งเดี๋ยวเราจะเห็นตัวอย่างของสบู่แคร์ว่ามันเป็นยังไง
ผมขอสรุปส่วนนี้ด้วยแผนผังง่ายๆ
ความสัมพันธ์ระหว่างตะวันตกกับตะวันออก เป็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ถ้าเป็น anti colonial เขาก็จะดูเรื่องของการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ ที่จะใช้ธำรง domination(การครอบงำ-มีอำนาจเหนือ) นี้ไว้ อันนี้เป็นสิ่งที่ anti colonial ศึกษา แต่พอในยุคหลัง post colonial มาดูที่วัฒนธรรม มาดูที่ภาพเสนอ และสรุปรวบยอดเป็นวาทกรรม ซึ่งมันก็เป็นอีกด้านหนึ่ง ถ้าเราไปคิดว่าเรื่องข้างบนของแท้ ข้างล่างแค่ปลายเหตุ วัฒนธรรมมันก็เป็นแค่ปลายเหตุ เราก็จะบอกว่าด้านบน hard อันล่าง soft อันบนเรื่องใหญ่
แต่พวกนี้(หลังอาณานิคม)เขาจะกลับทิศ มันไม่ใช่ด้านล่าง มันไปควบคู่กัน และมันทำให้อันข้างบนเป็นไปได้ ถ้าไม่มีอันข้างล่างรองรับ อันข้างบนก็เป็นไปไม่ได้ตั้งแต่ต้น พอข้างบนมันจบไปแล้ว ๑๙๔๗ แทบจะไม่เหลือแล้ว แต่อันข้างล่างนี้ยังอยู่มาได้ แสดงว่าอันนี้แหละ เผลอๆ เป็นหัวใจที่แท้จริงของความสัมพันธ์เชิงอำนาจ สรุปว่าผมจบหัวข้อที่ ๑ เรื่องว่า What is post colonialism? ไปแล้ว
ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่คงจะต้องเน้นย้ำคือ anti colonialism กับ post colonialism มันถูกหล่อเลี้ยงด้วยวิชาการคนละชุดกัน ถ้าเรามาดูของ anti colonialism ส่วนที่ก้าวหน้าที่สุดเลยในนั้นก็คือ Marx เพราะ imperialism ก็คือ capitalism ขั้นสูงสุดที่ก้าวข้ามชาติขึ้นมา กับ Freud กรณีของ Fanon ก็จะวิเคราะห์ตัวตนของคนอาณานิคม คือ colonial subject ถูกจัดวางให้มีลักษณะเป็นคนโรคจิตชนิดหนึ่ง เนื่องจาก schizophrenia คือว่าด้านหนึ่งมีค่านิยมของท้องถิ่นของตัว อีกด้านหนึ่งก็ไปรับค่านิยมของตะวันตก เพราะฉะนั้นมันก็อิหลักอิเหลื่ออยู่ตลอดเวลาว่า เมื่อไรจะเป็นพื้นเมืองดีเมื่อไรจะเล่นบทเป็นฝรั่ง คนๆ เดียวกัน
คือเคยมีกษัตริย์ของเราที่ท่านเป็นตะวันตกมากๆ ก็จะมีวิถีชีวิตด้านหนึ่ง ด้านเหนือโต๊ะก็เป็นตะวันตก แต่ด้านใต้โต๊ะเป็นพื้นเมือง อันนี้ อ.คึกฤทธิ์เป็นคนเล่าเองว่า สิ่งที่ประทับใจเป็นบุญวาสนาในชีวิตคือเมื่อตอนอายุ ๑๓-๑๔ ขวบยังทันถวายการรับใช้รัชกาลที่ ๖ ด้วยการอยู่รับใช้ใต้โต๊ะนวดพระบาท อ.คึกฤทธิ์ก็เล่าอย่างตรงไปตรงมาว่า บนโต๊ะท่านก็คุยเรื่องฝรั่ง เชคสเปียร์ แล้วท่านก็เสวยขาไก่ เสร็จก็โยนลงไปใต้โต๊ะให้มหาดเล็ก สมัยนั้นก็คือ อ.คึกฤทธิ์ รับประทานต่อของเหลือจากพระองค์ท่านก็เป็นสิริมงคลอย่างสูง ตรงนี้พอเราเอามาคิดก็เข้าข่ายว่า บนโต๊ะท่านจะเป็นตะวันตก แต่อีกด้านหนึ่งที่อาจลึกเร้นลงไปก็เป็นตะวันออก เป็นศักดินาไทยเต็มร้อย
เพราะฉะนั้นตรงนี้ ดีสุดก็ Marx กับ Freud แต่ว่า post colonialism จะไปรับอิทธิพลจากวิชาการอีกชุดหนึ่งซึ่งเป็นรุ่นหลัง ถ้าเราจะอยู่ในแนว Marx อย่างน้อยที่สุดก็หันมาใช้กรัมชี่เป็นหลักแล้ว ไปใช้แนวคิด hegemony ความเป็นเจ้าเกิดจากการที่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งสมยอมได้ ไม่ใช่ไปใช้กำลังบังคับ
อัลธุสแซร์, ลากอง (Lacan) เป็นจิตวิเคราะห์ เอาฟรอยด์มาอ่านใหม่ โดยเอามาเชื่อมโยงกับภาษาแล้วก็ทำได้ดีระดับหนึ่ง จิตใต้สำนึกมี structure เหมือนภาษา การสร้างตัวตนที่แต่ก่อนเรามองว่า super-ego มาดันกับ id แล้ว ego อยู่ตรงกลาง ego ก็เลยไม่เสถียร มันเกิดจากแรงปะทะจากแรงขับดันจากสัญชาติญาณดิบ id แล้วก็มาเจอ super-ego จากสังคม
ลากองก็เอามาอ่านใหม่ บอกว่า super-ego มันไม่ใช่อะไรอื่นหรอก มันก็คือภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง you จะตั้งตนเป็น subject ได้ สมัยก่อนเราก็บอกว่า ตามฟรอยด์ก็คือ เรายอมรับกฎของบิดาได้ แต่ลากองมาบอกว่า เรายอมรับกฎของภาษาได้ด้วยการพูด I ฉัน คือตั้งตนเป็น subject ว่าเป็นประธาน คือไม่มีพื้นที่อื่นเลยที่คุณจะเป็น subject ได้นอกจากพื้นที่ของภาษา ซึ่งฟังดูก็รับได้ในระดับหนึ่ง จะเห็นว่ามันซับซ้อนกว่ายุค anti colonialism
ไหนจะอิทธิพลจากพวก structuralism โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาขาวิชา semiotics สัญศาสตร์ พวก post colonialism จะใช้เยอะมาก แล้วก็ที่สำคัญที่สุด สิ่งที่พวกอเมริกันเรียกว่า post structuralism ซึ่งกรณีของฟูโกต์จะเห็นชัดมากว่ามีอิทธิพลมหาศาลต่อแนวคิด post colonial เพราะฉะนั้นพูดในภาษาปัจจุบัน เราก็จะบอกว่า post colonialism เป็นอะไรที่คาบเกี่ยวกับ cultural study มากๆ มาคาบเกี่ยวกับวัฒนธรรมศึกษาอย่างมาก และก็ตัดขาดไม่ได้เลยจาก feminism และ class study การศึกษาชนชั้นซึ่งไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นแบบมาร์กซิสม์เสมอไป จบหัวข้อแรกด้วยว่า post colonialism คืออะไร
2.
หัวข้อที่ ๒ post colonial writing กับ post colonial criticism มันต่างกันอย่างไร
นั่นก็คือเรามาพิจารณาภายใน field ภายในพื้นที่ของ post colonialism เราก็จะพบว่ามีกิจกรรมที่แตกต่างกันอยู่
๒ ประเภท อันแรกก็คืองานประพันธุ์แนวหลังอาณานิคม และอีกอันก็คือ งานวิจารณ์ในแนวหลังอาณานิคม
บางทีเรียกว่า post colonial reading อันนี้มันต่างกันยังไง
คำตอบง่ายมาก post colonial writing คืองานสร้างสรรค์ทางศิลปะ วรรณกรรม ที่แสดงเจตนาให้เห็นว่าจะวิพากษ์ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างเผ่าพันธุ์ ซึ่งก็อาจจะเขียนออกมาในรูปของเรื่องสั้น กวีนิพนธ์ นวนิยาย หรือ painting (จิตรกรรม) เช่น วรรณกรรมที่เสนอภาพพฤติกรรมเชิงอำนาจ เวลาคนต่างเผ่าพันธุ์มาเจอกัน แล้วเขาพยายามทำให้เรารู้สึกได้ถึงความเหลื่อมล้ำ ความอิลักอิเหลื่อ หรือสภาพ hybrid ลูกผสม ตะวันตกก็ไม่ใช่ ตะวันออกก็ไม่เชิง ทำให้เราเกิดความรู้สึกตระหนักในเรื่องพวกนี้ขึ้นมา อันนี้ก็คือ Post colonial writing
แต่ข้างต้นนี้ มันไม่ใช่ประเด็นของผม ประเด็นผมคือ Post colonial criticism มันเป็นกิจกรรมการวิเคราะห์ มันไม่ใช่งานสร้างสรรค์เชิงศิลปะ มันเป็นกิจกรรมวิเคราะห์ซึ่งในทางวิชาการมุ่งเปิดโปงและก็วิพากษ์ domination (การครอบงำ)ของตะวันตก โดยที่ใช้พื้นที่ทางวัฒนธรรมเป็นหลัก หัวข้อที่สอง การประพันธ์กับการวิจารณ์ในแนวหลังอาณานิคม ต่างกันยังไง จบไปแล้ว
3.
หัวข้อที่ ๓ เนื้อหาสาระของการวิจารณ์แนวหลังอาณานิคม เราต้องเริ่มที่จุดเริ่มต้น
คือหนังสือเรื่อง Orientalism ของ Said (เอ็ดเวิร์ด ซาอิด) พึ่งเสียชีวิตไปได้เมื่อสองอาทิตย์นี้เอง
ซาอิดหยิบเอาแนวคิดเรื่อง Knowledge as Power ของฟูโกต์ มาจับวิชาการกลุ่มหนึ่งในโลกตะวันตก
วิชาการกลุ่มนั้นเรียกชื่อรวมๆ ว่า Orientalism หรือบูรพทิศศึกษา ซึ่งมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่
๑๙ เอาเข้าจริงมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๘ ตั้งแต่มองเตสกิเออ ไปอ่าน The spirit
of Law ก็เจอแล้ว
พูดถึงเรื่องจีน ศตวรรษที่ ๑๘ เป็นศตวรรษที่ยุโรปบ้าจีน ยังไม่บ้าอินเดีย คือ the Enlightenment ในยุโรป กำลังแสวงหาโมเดลที่เอามาเปรียบเทียบแล้วจะมายืนยัน the Enlightenment ของตัวเอง ดังนั้นเขาก็ไปหลงละเมอกับระบบจอหงวน โดยบอกว่าจักรวรรดิจีนเป็นจักรวรรดิที่มีระบบการคัดคนเข้ามา ไม่ได้ใช้ชาติกำเนิดแบบยุโรปยุคเก่า ซึ่งขณะนั้นศตวรรษที่ ๑๘ กำลังต่อสู้อยู่ กำลังจะปฏิวัติ ก็เลยมาอ้างว่า ดูจีนสิ ขุนนางมาจากการสอบนะ แล้วก็ไม่สนใจการใช้อำนาจของฮ่องเต้ คือชูเฉพาะเรื่องนี้ ก็จะคลั่งจีนกันอยู่พักนึง จนตอนหลังมองเตสกิเออก็เริ่มเป๋ ชักจะไม่แน่ใจว่าจีนจะเป็นโมเดลที่ดี เพราะว่าเวลาเฝ้าฮ่องเต้คลานกัน คือคัดคนผ่านระบบจอหงวนมาอย่างดีก็จริง แต่พอผ่านมาแล้วก็ดันมาคลาน มารับฟังคำสั่งของฮ่องเต้โดยไม่วิพากษ์วิจารณ์อะไรเลย มันจะใช่ the Enlightenment หรือ หลังๆ ก็เริ่มซากับการคลั่งจีน
พอมาเข้าศตวรรษที่ ๑๙ คลั่งอินเดีย ย้าย playground มาที่อินเดีย บอกว่าอินเดียต่างหากจะให้คำตอบต่อการแสวงหา Spirituality ของเราชาวยุโรป ซึ่งถูก rationality เข้าครอบงำ ความเป็นเหตุผลนิยมมาครอบงำในศตวรรษที่ ๑๘ พอมาเข้าสู่ยุคโรแมนติกในศตวรรษที่ ๑๙ บอกว่ามันไม่ได้มีแต่เหตุผล ชีวิตมันต้องมีจิตวิญญาณ ความรู้สึก อินเดียต่างหากจะให้สิ่งเหล่านี้ ก็เลยไปสนใจศาสนาพราหมณ์แล้วก็คลั่งกันใหญ่ ความคลั่งไคล้เหล่านี้ไม่ใช่ความคลั่งไคล้ลอยๆ มันคือการสร้างองค์ความรู้อย่างละเอียดลออ เกี่ยวกับภาษา วิถีชีวิตของชาวตะวันตก
ซึ่ง ซาอิด มองย้อนกลับไปในสิ่งเหล่านั้นก็พบว่า ในสิ่งเหล่านั้นมันมีกระบวนการยกตนข่มท่านแฝงอยู่ชัดเจน ในแง่ที่ว่าพยายามทำให้ตะวันออกกลายเป็นอื่น กระบวนการที่ Spivak เรียกว่า "othering" to other somebody คนละความหมายกับ to alienate. to other คือกีดกันผลักให้ไปเป็นคนอื่นซึ่งไม่ใช่พวกเดียวกับเรา ซึ่งเราอาจจะบอกก็ใช่ ตามสามัญสำนึกของเรา สีผิวต่างกัน ก็ต้องเป็นอื่นอยู่แล้ว ไม่สิ ก็ในเมื่อยุโรปอ้างคำว่า man ตลอด ศตวรรษที่ ๑๘ the Enlightenment man จะลุกขึ้นมาปลดปล่อยตัวเอง mankind มนุษยชาติ มันก็ต้อง include หมดทั้งโลก แต่ปรากฏว่าเอาเข้าจริง man ในที่นี้คือ white man เท่านั้น
กระบวนการทำให้ตะวันออกเป็นอื่นกระทำโดยการฉายภาพความลึกลับ จิตวิญญาณ ความอลังการ โลกตะวันออกเป็นสิ่งที่อธิบายไม่ได้ด้วยเหตุผล เป็นสิ่งที่เราต้อง acquire ถามว่าหยิบยื่นจิตวิญญาณทั้งหลายเพื่ออะไร ก็เพื่อจะให้มันแปลกแยกไปจาก rationality ของตะวันตก แล้วท่ามกลางความชื่นชมนั้น จริงๆ แล้วเป็นการกดข่มอยู่ในที ซึ่งอันนี้อธิบายยากมาก แต่ถ้าเป็น Feminism จะเข้าใจง่ายเลย
ขอเปรียบเทียบกับ Feminism
ที่บอก lady first ผู้หญิงมาถึงเราต้องเปิดประตูให้ คุณเป็นแม่พระ ก็คือเราเตะโด่งเขาขึ้นไปอยู่บนนั้น
เพื่อที่เขาจะได้ไม่มายุ่งกับกิจของเรา หมายความว่าการที่เราชื่นชม ยกย่อง เทิดทูนใครไม่ได้หมายความว่าเราไม่ได้ไปดูหมิ่นเขา
จริงๆ เราอาจดูหมิ่น เหยียดหยามเขา แต่เราเตะโด่งให้ขึ้นไปอยู่บนนั้น แล้วก็ไหว้ซะ
เสร็จแล้วบอกว่าเอ็งอย่ามายุ่งกับข้านะ ผมว่าอันนี้คือการเตะโด่งตะวันออกขึ้นไป
ว่าอลังการณ์ แต่เดี๋ยวเราจะเห็นว่าจริงๆ มันคือการใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้น
พอซาอิดจับวิชาการ ที่เรียกว่า Orientalism เจอแบบนั้น ทีนี้พอมาจับกระแสแฟชั่น
ที่เรียกว่า Orientalism เหมือนกัน ในยุโรป คือกระแสนิยมตะวันออก เช่นตกแต่งภายในบ้านแบบญี่ปุ่นของคนอังกฤษ
นอกเรื่อง เมื่อวานมีเพื่อนเอาของมาฝากบอกว่าซื้อมาจากปารีส มีคนซื้อมาฝากจากปารีส
เขียนตัวเบ้อเร่อว่า "ชา" เขาบอกเป็นชาไทยที่ได้รับความนิยมมากในปารีส
เราก็แกะมาดู ที่แท้มันคือชา (เป็นชาฝรั่งและก็เบอร์กามอท) เอิร์ลเกรย์ แล้วก็ใส่ดอกอะไรเต็มไปหมด
สีเปรอะไปหมด แล้วบอกว่านี่เป็นชาไทย มันเป็นเอิร์ลเกรย์ชัดๆ ถ้าบอกว่ามันเป็นกระแสบ้าๆ
บอๆ อย่างที่ ออสการ์ ไวด์ เคยพูดไว้ "The whole of Japan is a pure invention,
there is no such country there are no such people" หมายถึงญี่ปุ่นที่ตะวันตกคลั่งกัน
มันไม่มีตัวตน มันเป็นประดิษฐกรรมล้วนๆ ไม่มีวัฒนธรรมแบบนี้ในประเทศไหนโลก ไม่มีคนแบบนี้ในโลก
ดังนั้นสิ่งที่ซาอิดพบในกระแสคลั่งตะวันออก ก็คือสิ่งที่เรียกว่า Exoticism.
exotic ก็คือ"ถิ่นแดนไกลนิยม" เป็นรูปแบบหนึ่งของการทำให้เป็นอื่นนั่นเอง
ฉะนั้นทั้งหมดนี้ซาอิดสรุปให้เราฟังว่า วิชาการที่เราเรียกว่า Orientalism สร้างขึ้นจากการที่เอายุโรปเป็นศูนย์กลาง
Euro-centric attitude นั่นเอง ซึ่งแนวคิดของซาอิดเป็นแรงบันดาลใจให้นักวิชาการตะวันตกจำนวนมากหันมามองความสัมพันธ์ระหว่างตะวันตกกับตะวันออกใหม่อีกครั้ง
รวมทั้งมองยุค Colonial ใหม่อีกหน
ผมลองทำตัวอย่างมาให้เห็นว่างานแนว Post colonial เขาทำอะไรกันมาแล้วบ้าง หยิบขึ้นมาสุ่มๆ เช่นทางมานุษยวิทยา นักวิชาการชื่อ Talal Asad ที่เขียนหนังสือชื่อ Anthropology and the colonial encounter (๑๙๗๓) เขาบอกว่า anthropology เอาล่ะ ยุค colonial ก็มีคนบอกไว้แล้วว่า anthropology มันมา serve colonialism ในแง่ที่ว่าเป็นตัวป้อนข้อมูลให้เจ้าอาณานิคม แต่ Asad บอกว่ามันไปไกลกว่านั้น anthropology มันคือ twin หรือฝาแฝดของ colonialism มันคือ project เดียวกัน one and same project คือ anthropology ในยุคต้นๆ คือการที่ชาวตะวันตกจัดวางตัวเองว่าเหนือกว่า ผ่านวิวัฒนาการในระดับที่สูงกว่า แล้วย้อนกลับไปดูชนเผ่าทั้งหลายว่าพวกนี้คือประจักษ์พยานของเราเมื่อ ๒๕,๐๐๐ ปีที่แล้ว เราเคยเป็นอย่างนี้แต่เราไม่ได้เป็นอีกแล้ว เราอยากจะรู้จักตัวเราตอนโน้น ก็ไปดูที่แอฟริกา เพราะฉะนั้นมันอันเดียวกับ colonial ฉะนั้นมันไม่ได้แค่ไป serve แต่มันเป็น twin อันนี้คือสิ่งที่ Asad พยายามพิสูจน์
บางคนเอาคณิตศาสตร์มาดู เขาบอกในโลกนี้ก่อนที่ชาวตะวันตกจะเอาคณิตศาสตร์ของตัวเอง มันมีคณิตศาสตร์ตั้ง ๕๐๐-๖๐๐ ประเภท ในนิวกินีก็มีคณิตศาสตร์ของชนเผ่า เขามีวิธีนับของเขา แล้วปรากฏว่าพอตะวันตกเข้าไป หนังสือของ Alan Bishop ที่ศึกษาเรื่อง Western Mathematics the Secret weapon of Cultural Imperialism (๑๙๙๐) เขาก็บอกว่ามันเป็นโมเดลคณิตศาสตร์ที่ถูกหยิบยื่นเข้าไปทั่วโลก แล้วก็ไปลบคณิตศาสตร์แบบอื่นจนหมดสิ้น ไม่ได้หมายความว่าคณิตศาสตร์ของยุโรปไม่ดี แต่หมายความว่าคุณมีสิทธิอะไรที่จะเอานี่ไปลบคณิตศาสตร์แบบอื่นทิ้งหมดเลย เหลืออยู่แบบเดียว
ในด้านวรรณกรรม Spivak เรื่อง Three women texts and Critique of Imperialism ก็เอาวรรณกรรมโรแมนติกอย่าง เจน แอร์ มานั่งดู ว่านิยายน้ำเน่าที่แท้แล้วมันไม่ได้เน่า มันแฝงการใช้อำนาจจากตะวันตกซ่อนเอาไว้อย่างมีพลังมากพอๆ กับยกกำลังทหารทีเดียว วรรณกรรมที่เราเห็นเป็นเรื่องเบาๆ ที่แท้แล้วมันปลูกฝังอะไรไว้เยอะมาก Spivak ก็จะเอา post colonialism ไปสังสรรค์กับ feminism ออกมาแล้วก็น่าสนใจมาก
ตัวอย่างอีกอันหนึ่ง แผนที่ E. Carter เขียนหนังสือเรื่อง Space and Power (๑๙๙๓) ชี้ให้เห็นว่าแผนที่ที่จัดทำในโลกตะวันตก มันเป็นการจัดวางความสัมพันธ์เชิงอำนาจเอาไว้อย่างลึกซึ้งทีเดียว ซึ่งอันนี้ใน skill ของ internal colonialism ของไทย อ. ธงชัยก็เคยศึกษาเรื่องนี้ ใน Siam mapped
[ พูดเรื่อง internal colonialism ผมสอนวิชานี้ที่ธรรมศาสตร์ ผมบอกนักศึกษาว่า ครึ่งหนึ่งเรามานั่งด่าฝรั่ง ตะวันตกทำยังไงกับตะวันออก อีกครึ่งหนึ่งเรามาด่าไทย ก็คือ ไทยก็ทำสิ่งเดียวกันกับล้านนา กับอีสาน ครึ่งแรกอ่านเรื่องฝรั่ง เอา Fanny and the Region of Siam ตัวจริงตายเพราะได้เมียฝรั่ง มานั่งวิเคราะห์ทีละย่อหน้า สนุกสนานมาก กับอีกครึ่งหนึ่งมานั่งอ่าน สาวเครือฟ้า ซึ่งสนุกมาก และนักศึกษาบางคนก็รับไม่ได้ บางคนเป็นคนเหนือบอก ไม่เอา อย่างนี้ผมไม่รับ มันทำให้ผมไม่สบายใจ อ้าว ทำไมคุณไม่ต้องการเข้าใจที่มาที่เป็นอยู่ตอนนี้หรือ ไม่รู้ดีกว่าครับ ผมขอ drop เลย ก็ได้บทเรียนครับว่าเรื่องอย่างนี้อย่าสุ่มสี่สุ่มห้า อย่าไปเหมาว่าเขาเป็นคนล้านนาแล้วต้องมาซึ้งกับเรื่องมาเปิดโปง internal colonialism เขาไม่ได้ซึ้งด้วย เขาอายก็มี เราก็ต้องเข้าใจเขา หรือการที่เรามาพูดเรื่องอย่างนี้กับเขา เท่ากับเราจัดวางตัวเองไว้ในตำแหน่งที่มีอำนาจเหนือกว่ามาทำให้เขารู้สึกว่าเขาเสียหน้าได้ มันก็เป็นไปได้ ]
สุดท้ายครับ สบู่ ก็เป็นอันหนึ่งที่เอามาพูดได้เยอะ อยากจะแนะนำเรื่องนี้ของ Anne McClintock. Emperial Leather: race gender and sexuality in the colonial context (๑๙๙๕) เล่มนี้ขอแนะนำ อ่านสนุก บทแรกอาจจะงง ไม่สนุกมาก ที่ไปเอารูปถ่ายที่สามีเป็นกามวิตถารและถ่ายภรรยามาชี้ว่าเป็น colonial discourse อาจจะงง ไปอ่านบทที่ ๒-๓ จะสนุกและวางไม่ลงเลย เขาเอาโฆษณาสบู่แคร์มาวิเคราะห์
(ภาพโฆษณาสบู่เพียรส์) ภาพบน - เด็กคนขาวเอาเด็กคนดำลงไปอาบน้ำในอ่าง และใช้สบู่เพียรส์ถู ตัวของเด็กดำก็ลงไปอยู่ในอ่างน้ำทั้งตัวยกเว้นศีรษะ พอแกขึ้นมาจากอ่าง เด็กขาวก็เอากระจกให้เด็กดำส่องดูว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงใช่ไหม ส่วนที่ถูกสบู่ชะล้างก็ขาว แต่หน้ายังไม่ได้โดนล้างก็เลยยังดำอยู่ โฆษณาสบู่เพียรส์ สิ่งแรกคือ การที่เอาเด็กมาใช้ประโยชน์ในการทำเรื่องน่าเกลียดๆ มันมีมานานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งจะมาใช้กันในปัจจุบันที่เอาเด็กมาขายสินค้า เห็นทำกันตั้งแต่ยุควิคตอเรียนแล้ว ไม่ใช่ว่าเกิดขึ้นในยุคครึ่งหลังของศตวรรษที่ ๑๙ เห็นชัดว่า เด็กเล่นกัน ความไร้เดียงสาก็มากลบเกลื่อนเรื่องของอำนาจได้ ผมเห็นครั้งแรกปฏิเสธไม่ได้ว่ามันน่ารัก แต่พอเราชื่นชมจบ เราก็ถามตัวเองว่านี่มันอะไรกัน สบู่เพียรส์เปลี่ยนสีผิวได้ เราลองมาทำตรรกบทง่ายๆ
สบู่ เปลี่ยนสีผิวได้ อนึ่ง สบู่ ใช้ชะล้างสิ่งสกปรก ดังนั้น สีผิวดำ จึงเป็นสิ่งสกปรก
ตกลงสีดำเป็นสิ่งไม่พึงปรารถนาในยุคนั้น [ แต่ยุคที่ผมไปเรียนในยุโรป ทศวรรษ ๑๙๖๐ มันกลับพลิก ผิวสีนี้เป็นที่คลั่งไคล้ เราก็เลยฉวยโอกาสว่า ตอนนั้นไปเรียนหนังสือขี่ช้างไปนะ รู้เท่าทันก็เลยฉวยโอกาสจากความคลั่งไคล้ของตะวันตกซะเลย แต่เราก็ไม่ใช่คนดำ คือเขาเลือกคลั่งคนเอเชีย ] สบู่มันล้างสีผิวจริงๆ ไม่ได้ มันเป็นเพียง Trope (การเปรียบเปรย) คำนี้พวกนักสังคมศาสตร์บอกว่าต้องซับซ้อนแน่ๆ เลย ผมว่าไม่ใช่ trope เป็นแค่โวหาร แล้วทำไมไม่ใช้ metaphor เพราะว่า มันต้องมาแยกแยะวุ่นวายมาก
ภาษาไทยยิ่งไปกันใหญ่เลย metaphor อุปลักษณ์ เอาอะไรมาแทนอีกอย่างหนึ่งเพราะมันคล้ายกัน metonymy นามนัย เอาอะไรมาแทนอะไรเพราะมันชิปกัน synecdoche เอาส่วนย่อยไปแทนส่วนใหญ่ ตกลงสบู่เป็น trope แทน western civilization แทนอารยธรรมตะวันตก เพราะฉะนั้นเมื่อสบู่เป็น trope สีผิวของน้องคนนี้ก็เป็น trope แทนความล้าหลัง ความป่าเถื่อน ที่สบู่หรือ civilization จะไปช่วยชำระล้างให้สว่างขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นยาสีฟันดาร์กี้มันก็เลยถูกประท้วงว่าคุณไม่มีสิทธิมาแอบแฝงแบบศตวรรษที่ ๑๙ ณ ปลายศตวรรษที่ ๒๐ ยังทำแบบนี้อยู่ได้ยังไง ก็เลยต้องเปลี่ยนชื่อเป็นดาร์ลี่ นี่เป็นคุณูปการของ post colonial
ฉะนั้นโฆษณาขายสบู่อันนี้มันจึงเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่พวก post colonial เรียกว่า colonial discourse โฆษณาสบู่ชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของ "วาทกรรมอาณานิคม" ก็คือมันไปสอดคล้องกับ epistemic หรือกรอบความรู้ที่ว่า คนขาวสูงส่งเจริญกว่าเผ่าพันธุ์อื่น ดังนั้น คนขาวจึงจะต้องนำเอาความเจริญไปให้คนอื่น ดังนั้น ผมยกตัวอย่างมาให้ดูเพื่อบอกว่า เขาศึกษากับทุกเรื่อง คณิตศาสตร์ก็ได้ แผนที่ก็ได้ โฆษณาก็ได้
4.
หัวข้อสุดท้าย วิธีวิทยาที่เราใช้ใน Post colonial criticism โดยเอาภาพห้องรับแขกเป็นตัวสาธิต
(จากนิตยสาร Art d?cor) ผมแบ่งให้เห็นว่ามันแบ่งเป็น ๓ moment แรกสุดที่ใช้คือ
Semiotics มันง่ายดี สัญศาสตร์หรือสัญวิทยา คือการวิเคราะห์กระบวนการสื่อความหมายและคุณค่า
ในประดิษฐกรรมทางวัฒนธรรม(cultural artifact) โดยดูว่า ความหมายและคุณค่ามันสื่อผ่านรหัสบางอย่างที่เราเรียกว่า
cultural code หรือรหัสทางวัฒนธรรม โดยดูว่าวัตถุชิ้นหนึ่งเป็น signifier มันก็มีความหมาย
signified อันนี้เป็นวัตถุ อันนี้มีลักษณะแนวคิดเกี่ยวกับ ความสูงส่ง ความรัก
ความเป็นไทย ความเป็นอินเตอร์ ประสิทธิภาพ
อันนี้คือมโนคติที่บรรจุอยู่ในวัตถุนี้ ถามว่าอะไรทำให้มันสื่อ ก็ cultural code ถ้าเราไม่มี cultural code เราจะมองไม่ออกว่าอันนี้หมายความว่าอย่างไร คอนเซ็ปต์พวกนี้มีฐานะเป็น myth เป็นมายาคติ สมมติว่าเรา สิ่งที่พูดต่อไปนี้คือ post colonial incorrect มากๆ เลย คือเราเอาหน้าบันไปให้พวกเอสกิโม เขาก็ดูไม่ออกว่ามันคือตะวันออก เพราะเขาไม่ได้แชร์ cultural code อันนี้ แต่ทีนี้สถานที่แห่งนี้เป็นห้องรับแขกหลักในบ้านท่านเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ใช้ต้อนรับแขกตะวันตก ตะวันออกมานั่งเจรจาความในนี้
เราลองมาดู พอเดินเข้าไปในห้องสิ่งแรกที่ดึงสายตาเราที่จงใจมากคือหน้าบัน ผมคิดว่าชัดเจนที่มันสื่อถึงความเป็นตะวันออกมากๆ และถูกคัดเลือกมาให้เป็นตัวแทนที่ดีมากในแง่ที่ว่ามันตรงกับ myth หรือมายาคติที่คนตะวันตกมีต่อคนตะวันออก และคนตะวันออกมีต่อตัวเอง "ฉันคือความอ่อนช้อย ฉันคือความอลังการ ฉันคือ refinement ฉันคือตะวันออก" ลวดลายที่แกะสลักอยู่ในไม้มันแสดงชัดถึงความประณีต ละเอียด อ่อนช้อย ซึ่งมันตรงกับที่วัฒนธรรมไทยเสนอภาพตัวเองต่อฝรั่งและต่อตัวเอง
คือต้องแยกแยะอย่างนี้ครับว่า ทำไมเขาไม่เอาอย่างอื่น ต้องนึกเปรียบเทียบว่าตรงนี้อะไรมาปรากฏได้บ้าง อาจเป็นรูปของโมเน่ต์ก็ได้ ซึ่งไม่ถูกเลือกมา เขาจะเลือกของตะวันออกให้มาอยู่ในตำแหน่งนี้และอย่าลืมที่ผมพูดเรื่องเตะโด่ง มันจะเข้าข่ายนี้ เลือกเอางานไทยและไม่เลือกเอาหยาบๆ เขาจงใจเลือกอันนี้และตั้งไว้ในตำแหน่งที่เด่นมาก ขณะที่เราเหลือบตามาข้างล่าง เก้าอี้และโต๊ะรับแขกเหล่านี้ เราจะเห็นว่าสไตล์ของมันไม่ใช่ตะวันออกเลย มันคือตะวันตก และก็เจาะจงเลือกตะวันตกอะไรมานำเสนอ ถ้าประวัติศาสตร์ศิลป์มองก็จะบอกว่า Art D?cor คือรูปแบบเครื่องเรือนที่เรียบง่าย เส้นจะต้องบริสุทธิ์ แข็งแกร่ง ไม่มีลวดลายละเอียดอ่อนช้อยไม่มีดอกไม้
เพราะฉะนั้นพอเรามองชุดรับแขกตรงนี้ เราก็เริ่มเห็นแล้วว่ามัน contrast กับอันที่อยู่ข้างบน ตอนที่อยู่ในห้องเรารับรู้แล้วแต่เรายังไม่รู้ตัวว่าเรารับรู้แล้วถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจบางอย่างที่แฝงอยู่ ตรงนี้เราก็เริ่มได้สมการ
ตะวันออก = ความอ่อนช้อย
อลังการ ประณีต(Refinement)
ตะวันตก = ความเรียบง่าย, efficiency, purity, simplicity
ดูขาโต๊ะสิครับ บึกบึน แข็งแกร่ง ขณะที่ถามว่าหน้าบันข้างบนสอดรับกับอะไรบางอย่างในห้องที่อยู่ต่ำกว่านั้น มันอยู่บนโต๊ะก็คือ กล้วยไม้ ดอกกล้วยไม้เหล่านี้น่าสนใจมาก ตอนซื้อมามันจะชูช่อ แล้วเดือดร้อนมากเวลาเอามาจัด ผมก็นั่งดู เขาจัดเก่ง เขาตบมันให้มันอยู่ในแนวนอนเป็นพุ่มแบนจงใจมาก เพราะถ้าชูขึ้นมา ตะวันออกมันจะ signified เป็นแค่เพศสถานะ ดอกกล้วยไม้ทั่วโลกรับรู้ว่ามันคืออะไร ยกเว้นคนไทย เวลาไปถามใครเขาก็บอกอวัยวะเพศผู้หญิง เราเป็นพวกเดียวที่ไม่รู้ มันเป็นเรื่องมายาคติของเขาซึ่งเราไม่ได้แชร์ด้วย เพราะฉะนั้นตรงนี้หลายท่านเริ่มเห็นแล้วว่า มีเรื่องของเพศสถานะเข้ามาสวมทับลงไปกับเรื่องตะวันตกตะวันออก
ดูต่ออีกหน่อยครับ ม้า ท่านทูต ขี่ม้ามาเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี อยู่ตรงกลางระหว่างตะวันตกข้างล่างกับตะวันออกข้างบน มีอะไรอีกเยอะแยะในห้องนี้ พัดลมแสดงให้เห็นว่าเป็นพัดลม colonial ซึ่งห้องนี้ติดแอร์มาชาติหนึ่งแล้วแต่เขาไม่เอาพัดลมนั้นออก แน่นอนเป็นสัญลักษณ์ของยุคๆ หนึ่ง เพราะฉะนั้นตรงนี้ผมคิดว่า ได้แล้วนะครับว่า ตะวันออกคืออะไร คือความอลังการ slender, refinement, ตะวันตกคือ efficiency ตรงนี้เข้ามาสู่จุดที่ว่า แล้วไง?
เขาออกแบบไว้ดีแล้ว East meets West ตะวันตกครึ่งหนึ่งข้างล่าง ตะวันออกครึ่งหนึ่งเอาไว้ที่สูงอันควรแก่การบูชาเตะโด่งขึ้นไป แต่ผม introduce อีกข้อหนึ่ง ใช่ ตะวันออกเราอลังการ ละเมียดละไมก็จริง แต่มันทำหน้าที่อะไรในห้อง มันทำหน้าที่เป็นเครื่องประดับ ตะวันออกเป็นได้อย่างมาก decoration คุณไม่มีส่วนร่วมในการใช้งาน คุณเป็นได้แค่เครื่องประดับที่ติดข้างฝา ไว้สำหรับชื่นชม ส่วนเก้าอี้ของพวกเราชาวตะวันตกเป็นสิ่งที่ใช้งานได้จริง และเน้นประสิทธิภาพการใช้งาน คือนั่งคุยแล้วมันสบาย
เปรียบเทียบกับเก้าอี้รับแขกบ้านผมเอง คุณพ่อคุณแม่ผมเคยใช้เก้าอี้อย่างนี้แล้วเราก็มีความสุขกัน จนกระทั่งวันหนึ่ง เราต้องแสดงความเป็นไทยแล้ว ไปซื้อเก้าอี้แกะสลักมา แล้วนั่งไม่ได้นั่งแล้วเจ็บ อึดอัดไปหมด ของใช้ตะวันออกมันเน้นชัดเลยว่าใช้งานไม่สะดวก ต้องของใช้ตะวันตกถึงจะมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นแค่นี้ก็เห็นแล้วว่า ที่เราคิดว่ามันเท่าๆ กัน ตะวันตกตะวันออกในลักษณะของ East meets West ที่แท้แล้วมันซ่อน hierarchy หรือเรากลับสูงกลับของคุณค่าในเรื่องที่ว่า ตะวันตกใช้งานได้จริง แล้วมานั่งเจรจากันบนเฟอร์นิเจอร์ตะวันตก นานๆ เหลือบมองเครื่องประดับตะวันออกสักครั้ง แล้วความเป็นตะวันตก สามารถ identify ได้กับเพศชาย เนื่องจากมีประสิทธิภาพ เอาจริงเอาจัง ส่วนตะวันออกก็คือ ผู้หญิงที่เปราะบาง น่าเทิดทูน ควรเก็บหล่อนไว้ที่ข้างฝา คติพวกนี้มาอยู่ในนี้ครบ ถามว่าใครสร้าง จริงๆ แล้ว คนไทยก็คิดแบบนี้ได้ ไม่ใช่เรื่องประหลาด แต่ว่าอันนี้คือมัณฑนากรฝรั่งเศสผู้หญิงมาจากปารีส ลงทุนไปเยอะมาก เขาต้องการเป็นหน้าเป็นตา ใครก็จะมาว่าเขาไม่ได้ว่าเขาเป็นพวกอดีตเจ้าอาณานิคม ซึ่งผมบอกได้ว่าแกยังเป็นเจ้าอาณานิคม ถ้าเราดู trope ก็ชัดว่าอะไรเป็น trope ของอะไร
พอจบ moment semiotics เราก็จะมาดู moment ที่ ๒ คือ discourse เอา cultural artifact ไปเปรียบเทียบกับ discourse ประเทศอื่นในช่วงเดียวกัน เช่น คำปราศรัยของนักการเมือง ตำราเรียน วรรณกรรม อันนี้เราจะพบเลย อันนี้เกิดขึ้นยุคฟองสบู่ประมาณปี ๒๕๓๕-๓๖ ยุคนั้น discourse ของตะวันตกเอง เขาไม่มานั่งดูถูกตะวันออกแล้ว เขาไม่กล้าแล้ว เป็นยุคที่คนตะวันตกชี้นิ้วหรือกระซิบบอกคนตะวันออกว่า อย่ามาไล่ตามก้นฉัน จงเป็นตัวของตัวเอง กลับไปหารากเหง้า identity ของคุณ คุณเคยหลงละเมอวิ่งไล่ตามฉันมา ตอนนี้คุณต้องกลับไปหาความเป็นไทย เป็นใบสั่งจากตะวันตกเมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว เราก็รับลูกมาในรูปของ สวช. จนลืมไปแล้วว่าคือใบสั่งของตะวันตก
มันไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่ discourse ของตะวันตกเรื่องที่ว่า ตะวันออกต้องเป็นตัวของตัวเอง มันมาเกิดเอาในยุคประมาณทศวรรษ ๒๕๓๐ ตะวันออกที่แต่ก่อนอย่างมากสมัยสนธิสัญญาบาวริ่ง เดี๋ยวนี้มันผิดยุค มันเริ่มคุกคามตะวันตกได้แล้วด้วยความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของมัน ฝรั่งหลายคนแห่กันมาทำงานที่นี่ ผมกำลังจะบอกว่า ถ้าเป็นยุคอาณานิคมรูปแบบนี้ ไม่ผ่าน สมัยศตวรรษที่ ๑๙ อาจจะไม่ผ่าน มีปัญหาเรื่องความเท่าเทียมกัน แต่ว่าตอนนี้มันสอดคล้องกับกระแส multi culturalism ว่าเราต่างเป็น culture อันหลากหลายที่มาอยู่ร่วมโลกเดียวกัน ผมชี้ให้เห็นว่ามันซ่อน hierarchy
สุดท้าย Methodology แนวนี้จะเน้นประเด็นที่ว่า ethnic relation มันเกี่ยวโยงกับ gender เพศสถานะ และก็ class ชนชั้น อย่างเช่นอำนาจทางชาติพันธุ์ มันอาจจะไปแฝงตัวอยู่ในความสัมพันธ์หญิงชาย คือเป็นความสัมพันธ์พระเอกนางเอก เราก็เลยมองถึงช่องเลือกรับของเขา จริงๆ มันแฝง ethnic แต่ว่ามันพรางตัวมาในรูปเพศหญิง หรือในรูปของชนชั้น เรื่องผิวขาวผิวเหลือง ที่แท้มันปรากฏตัวด้านทุกด้าน คนก็ไปนึกว่าเป็นเรื่องของชนชั้น วาทกรรมว่าด้วยชาติพันธุ์อาจจะไปเสริมแรงกับเรื่องเพศสถานะหรือชนชั้น
ก่อนสรุป ขอดูรูปสจ๊วต-แอร์
เราจะเห็นว่า ขึ้นชื่อว่า discourse มันไม่เข้าใครออกใคร มันแชร์กันได้ทั่วโลก
ขนาดว่าคนไทยต้องพลอยเสนอภาพตัวเองออกมาแบบนี้ ดูซิครับว่า binary opposition
มันชัด ไม่ใช่ว่านัก semiotician ไปยัดเยียดให้ มันมีอยู่ในรูปจริงๆ
(ภาพสาธิต - เป็นภาพโฆษณาของสายการบินไทย ผู้ชายอยู่ในชุดกัปตัน ผู้หญิงยืนคู่อยู่ในชุดไทย(air
hostess)และยกมือไหว้ ที่หน้าอกกลัดด้วยดอกกล้วยไม้) ภาพนี้ ผู้หญิงอยู่ในชุดที่ขนานกับผู้ชายไม่เอา
เลือกให้ผู้หญิงต้องแบกรับภาระนุ่งความเป็นไทย ผู้หญิงแทน Localism แต่ผู้ชายชิงโบยบินหนีไปจากความเป็น
local ไปสู่ความเป็น inter เขาเป็นสจ๊วต แต่หมายความว่าถูกจัดวางอย่างนี้ แล้วดูการแสดงความนบนอบของผู้ชายไทย
แต่ของเขา ท่า bossy ท่าที่เวลาเราตรวจงาน ส่วนผู้หญิงทำอะไร ไหว้ เอาอีกแล้ว
เราจะต้องขายอย่างนี้อีกแล้ว ยิ้มสยาม ทำไมต้องทำอย่างนี้?
เขาฉลาดเขาไม่ได้โง่เลย สำหรับภาพนี้ เขาต้องการให้ผู้อ่านภาพเข้าถึงความหมายว่า หนึ่ง คือคุณเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของเราได้ เรามีผู้ชายที่จะพาคุณไปสู่ที่หมายได้อย่างปลอดภัย แต่ขณะเดียวกันคุณจะได้รับบริการจากผู้หญิงของเรา ซึ่งมีชื่อเสียงในพจนานุกรม Longman เขาเอามาขายอย่างหน้าตาเฉย เราไม่มีสิทธิไปโกรธแค้นเขา
ตัวอย่างโฆษณานอนกับแอร์ ประท้วงกันแหลกราญว่ามันล้อเลียนว่ากัปตันนอนกับแอร์ บอกว่าเหยียดเพศ จนต้องถอดโฆษณานั้นออก แต่พออันนี้ไม่เห็นมีใครโวยวาย โฆษณาขององค์กรตัวเองที่เหยียดผู้หญิงอย่างน่าเกลียดกว่า แถมทัดดอกกล้วยไม้อีก ไม่เห็นมีใครว่าอะไรซักคำ อย่างนี้ต่างหากที่ต้องประท้วง
ทีนี้เราลองเอา ๓ หน้าแรกของ Fanny มาอ่านกัน การเข้าสู่ประเทศไทยของพวกนี้ มี ๕๐๐ วิธี จะต้องเข้าทางปากสันดอนแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วต้องมาพูดเรื่องสันดอนนี่ทุกครั้ง มันคือ penetration ชัดๆ กว่าจะผ่านสันดอนมาได้ แม่น้ำเจ้าพระยามันไว้ใจไม่ได้นะ มันลดเลี้ยวเคี้ยวคด พอเข้าไป Fanny อายุ ๑๘ ก็ไปยืนที่กราบเรือ ถามพ่อคือกัปตันน็อกซ์ "พ่อคะ เรืออะไร?" เธอคว้ากล้องส่องทางไกลจากพ่อเธอมา แล้วก็ส่องไปที่เรือที่มีกรมพระยาดำรงและก็หลุยส์ที่เป็นลูกแอนนา แล้วก็บอกพ่อว่า
"เอ๊ะ นั่นดูเหมือนคุณหลุยส์นะคะพ่อ" หยุดแค่นี้แล้วเราวิเคราะห์ได้เยอะมากเลย ว่ากันไปจบเรื่องเลยเราก็จะ get ว่า Siam ของเรา either ประมุขเป็นเด็กคือ ร.๕ ยังทรงพระเยาว์ either เด็กเกินไป or แก่เกินไป ก็คือสมเด็จเจ้าพระยาฯ ถูกนำเสนอภาพคนแก่ที่ล้าหลัง แล้วพอ ร.๕ ทรงเจริญพระชนม์ขึ้นมา ท่านเปลี่ยนไปเลย กลายเป็นเหมือนสมเด็จเจ้าพระยา จากที่เคยเล่นหัวกับ Fanny ท่านเรียกมาพบเลย (ตัวละครในเรื่อง) บอกว่า "อย่าให้มันเกินเลย ฉันไม่เอาด้วยนะ" ร.๕ จากเด็กแล้วกระโจนไปเป็นคนแก่ ไม่มีตรงกลาง ไม่มีความเป็นหนุ่มเป็นสาวที่ไฟแรง
คนเขียนคือ G.R. Winny เขียนในปี ๑๙๖๔ เขาจัดวางสยามให้เป็นเด็กและคนชรา either เด็ก or คนชรา ตะวันตกเป็นผู้หญิงตัวเล็กๆ คนเดียว ก็สามารถจะเข้ามาช่วยเด็กและคนชรานี้ได้ เพราะฉะนั้นผู้หญิงคนนี้เธอคือผู้ชายปลอมตัวมาเป็นผู้หญิง หยิบกล้องจากพ่อมาส่อง "การจ้องมอง" ปรกติเป็นเรื่องของผู้ชายที่ไปจ้องมองผู้หญิง ที่เราเรียกว่า male guest พวกภาพโป๊ ฉะนั้นผู้หญิงคนนี้ถูกสวมใส่บท ใช้กล้องซึ่งเป็นเทคโนโลยีตะวันตก มองดูผู้ชายและ identify ผู้ชาย เราจะได้ภาพว่านั่นคือผู้ที่พยายามจะมาปลดปล่อยสยามกับความล้าหลัง เคียงคู่กับสามี
ตอนจบของเรื่องนี้รับไม่ได้ ก็คือเธอเป็นผู้หยิบยื่นประชาธิปไตย ตอนนั้นเริ่มมีนักเรียนไทยจำนวนหนึ่งเรียนกฎหมาย และมีคนหนึ่งจะไปเรียนต่อฝรั่งเศสคือประสิทธิ์ มีจิตใจฝักใฝ่การปฏิวัติ เธอก็เอาสร้อยเส้นหนึ่งให้ประสิทธิ์ จากนั้นกลับมา มานำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ แล้วเรื่องก็จบด้วยอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่ถนนราชดำเนิน ขาดคำจารึกที่เหมาะสมไปคำหนึ่งคือ "แด่ Fanny Nox ผู้ให้ประชาธิปไตย"
มันคือ discourse ของยุค ๖๐s เขาเขียนให้คนอังกฤษด้วยกันอ่าน เราไปดักฟังเขา ยุคนั้น feminism มาแรง ผมถึงบอกว่า เทคนิคมันแฝงอยู่ใน gender … เรื่องมันมีอยู่ว่า ผู้หญิงคนนั้นคือตัวแทน empirer ที่จบไปแล้ว เขาไม่ลุกขึ้นมาแต่งนิยายเรื่องพม่า เขาเลือก Siam
บัดนี้ การวิจารณ์ในแนวหลังอาณานิคมมันเป็นคนละเรื่องกับกระแสบริภาษตะวันตก กระแสบริภาษตะวันตกแบบสุกเอาเผากิน คือ post colonial criticism มันคนละเรื่องกับการด่าฝรั่งแบบโง่ๆ บริภาษตะวันตกอย่างที่ผมว่าคือ กล่าวโทษว่าปัญหาภายในสังคมไทยที่ตัวเองก่อขึ้นคืออิทธิพลตะวันตก จากนั้นจึงโหยหารากเหง้าความเป็นไทย ซึ่งมาดูจริงๆ รากเหง้าที่โหยหามันก็ตอกย้ำค่านิยมเก่าๆ ของศักดินา
ผมมีคำอธิบายจตุสมดมภ์ทั้ง ๔ ของสังคมไทย อำนาจนิยม อวิชชานิยม มุสานิยม ริษยานิยม ทั้ง ๔ เป็นเสาหลัก ซึ่งมันมีอยู่ก่อนอิทธิพลตะวันตก และแทบจะไม่ได้รับผลกระทบจากอิทธิพลตะวันตกเลย เรารับเฉพาะตัวตึกมา ระบบการศึกษา โรงพยาบาล ฯลฯ แต่ส่วนอื่นคือ ๔ อันนี้ เพราะฉะนั้นกระแสด่าตะวันตก โหยหาความเป็นไทย มันก็เลยมาสวมทับลงไปบนกรอบความรู้เก่าๆ อันนี้ แล้วมันน่าเชื่อถือ
เราตามก้นฝรั่งจริงในแง่วัตถุ เพราะฉะนั้นผมคิดว่า post colonial criticism เราวิจารณ์ตะวันตกบนฐานของการรู้ทันเกมของตะวันตก และก็รู้ทันเกมตัวเองด้วยว่าตัวเองก็สมยอมอยู่ภายใต้มาตลอด อิหลักอิเหลื่ออยากเป็นอย่างเขา คือรู้ทันตัวเองรู้ทันคนอื่น เพราะฉะนั้นต้องรู้ทันถึงขั้นว่าผู้ที่ปลุกกระแสรากเหง้าตะวันออกขึ้นมาไม่ใช่ใครหรอกครับ คือตะวันตกนั่นเอง เพราะอะไร นี่เป็นสมมติฐานของผมคนเดียว
สมัยหนึ่ง ตะวันตกเคยใช้ development มาชู มาสร้างถนนมิตรภาพ พยายามให้โลกที่สามลืมตาอ้าปาก เพื่อยันกับคอมมิวนิสต์ สิ่งที่มันย้อนกลับมาคือ พอสงครามเย็นจบ ไม่มีความจำเป็นแล้วที่ต้องใช้ "การพัฒนา" มายัดเยียดให้ตะวันออก ปรากฏว่าตะวันออกมันพัฒนาขึ้นไป มันผลิตรถยนต์ ผลิตอะไรแข่งกับตะวันตกได้หมดเลย คราวนี้ทำยังไง จะเปลี่ยนพวกนี้ได้ยังไงก็เขาเป็นคนหยิบยื่นอาวุธ "การพัฒนา" นี้ให้ ฉันก็หยิบอาวุธอันใหม่ "รากเหง้าความเป็นตะวันออก" กลับไปหาสมุนไพร ฯลฯ จะได้ไม่มาแข่ง ผมมองว่าอย่างนี้แต่มันพิสูจน์ไม่ได้ นี่เป็น hidden agenda ของตะวันตกที่จะเปลี่ยน economic development ผมคิดว่ามันต้องรู้ทัน ไม่ใช่ไปด่าฝรั่งปาวๆ
สุดท้ายครับ มันเป็นเรื่อง paradox หรือความขัดแย้งในตัวเองอย่างมาก การนิยามในแนว post colonial มันไปเจริญรุ่งเรืองอยู่ในโลกตะวันตก แต่มันไม่ค่อยแพร่หลายในโลกที่สาม คือมันเป็นอาวุธที่ดีมากสำหรับโลกที่สาม แต่โลกที่สามไม่เข้าใจ มันกลายเป็นตัวเจ้าอาณานิคมที่เป็นคนใช้อาวุธนี้ แปลก คือไปนั่งอ่านกันเองในหมู่คนตะวันตก ถามว่าคนเหล่านี้ base ตัวเองตรงไหน Homi Bhaba คนอินเดีย เขียน Location of culture. สอนอยู่ที่ลอนดอน Spivak อยู่โคลัมเบีย ถามว่ากลับไปที่อินเดียหรือเปล่า แล้วเอา post colonial ไปให้คนอินเดียฟังบ้างไหม เขาบอก เวลาเขากลับไปอินเดีย คนเขาไม่มาถามว่าอยากรู้เรื่อง post colonial เขาอยากรู้เรื่องเกี่ยวกับฟูโกต์ แดริดา Spivak ก็บอก อ้าวก็นี่มันของตะวันตกนี่ แล้วไม่อยากรู้หรือว่าเรามีอาวุธอีกแบบหนึ่ง คนอินเดียบอกไม่สนใจเพราะเป็นของคนตะวันออกด้วยกัน ไม่น่าสนใจ
เพราะฉะนั้นผมก็เลยคิดว่ามันเป็น paradox เพราะมันเป็นการวิพากษ์ตะวันตก แต่แพร่หลายอยู่ในตะวันตกและก็เก๋มากในหมู่คนตะวันตกว่าเป็น post colonial คนตะวันออกหรือเผ่าพันธุ์อื่นไม่สนใจอาวุธอันนี้ แล้วเผลอๆ บอกเป็นขยะตะวันตกด้วย
อ.ไชยันต์ รัชชกูล: มีหลายประเด็นทีเดียว ทั้งยั่วยุ ทั้งขัดแย้งกับความคิดที่มีอยู่ จะตั้งคำถามหรือให้อธิบายให้กระจ่างชัดหรือตั้งข้อโต้เถียง ขอเชิญเลยครับ
อ. อานันท์ กาญจนพันธุ์: ตอนสุดท้ายที่สรุป เท่าที่ผมเข้าใจถ้าเป็นอย่างของ Said เขาให้ความหมายว่า คนตะวันตกสร้างภาพของคนตะวันออกขึ้นมา แล้วก็ทำให้คนตะวันออกเชื่อว่าภาพนั้นเป็นภาพของตัวเอง ก็หมายความว่าภาพนั้นมันมีมาตั้งนานแล้ว สร้างมาตั้งแต่สมัยอาณานิคมแล้ว ทำให้คนตะวันออกเชื่อว่าเราเป็นคนชอบเรื่องของจิตวิญญาณ และคนตะวันตกชอบเรื่องของกลไก วัตถุนิยม แล้วเราก็เชื่อว่า ภาพที่เขาสร้างมาเป็นภาพของตัวเองจริง ซึ่งก็เป็นการครอบงำที่เขาว่า
แต่ตอนที่อาจารย์สรุปตอนท้ายมันกลายเป็นว่า มันมีนัยยะที่บอกว่า ปัจจุบันเนื่องจากว่าคนตะวันออกไปแข่งกันคนตะวันตกได้ ดังนั้นคนตะวันตกก็มาบอกว่าให้กลับไปสู่รากเหง้าของตัวเอง ผมก็เลยไม่เข้าใจว่ามันยังไง เพราะที่จริงเขาก็บอกมาตั้งแต่แรกแล้ว ไม่ใช่กลับมาบอกให้เรากลับไปหาราก ที่จริงเขาบอกว่าตั้งแต่แรกแล้ว เป็นอย่างนี้มาตั้งนานแล้ว คนตะวันออกก็เชื่ออย่างนี้มาตั้งนานแล้ว เชื่อในความเป็นจิตวิญญาณ มันมาตั้งแต่แรกแล้ว สงสัยว่ามันต่าง มันเปลี่ยนยังไง
อ. นพพร: พอช่วงหลังอาณานิคมมันจบไปแล้ว
มันก็มีกระแสพัฒนา แล้วผลจากกระแสพัฒนา มันคล้ายๆ กับว่าเป็นภาพคนตะวันออกปรับตรงนั้นไปแล้ว
คนตะวันออกก็มองว่าตัวเองหลุดพ้นจากสภาพเก่าที่เคยถูกยัดเยียด ตรงนี้กลายมาเป็นฝรั่งไปหมดแล้ว
ซึ่งมันก็เป็นช่วงที่สั้นมาก ช่วงหลังสงครามโลกมาจนถึงสิ้นสงครามเย็น ประมาณแค่
๓๐ กว่าปี แต่มันก็มากพอที่จะทำให้เป็นเช่นนั้น
ตัวอย่างตอนผมเป็นเด็ก ผมอยู่บ้านนอก ใช้ไม้บรรทัดไม้ มันก็เกิดกระแสมาว่าต้องใช้ไม้บรรทัดพลาสติก
เพราะไม้บรรทัดไม้มันล้าหลัง มันขีดไม่ตรง ตอนหลังเรากลับมาหารากเหง้ามาใช้ไม้บรรทัดไม้
ตอนนั้นเราอายเพื่อนที่เขามีไม้บรรทัดพลาสติกกันหมดแล้ว ก็รบเร้า ในที่สุดก็ได้ไม้บรรทัดพลาสติก
หลังจากนั้นก็อยู่กับไม้บรรทัดพลาสติกมาตลอด
อ. อานันท์: ความเข้าใจผมคิดว่า มันเป็นอันเดียวตลอดต่อเนื่อง ผมไม่คิดว่ามันแยกอย่างที่อาจารย์ว่า ภาพที่ถูกสร้างขึ้นคนก็เชื่อและการที่ไปยอมรับไม้บรรทัดพลาสติกหรือตะวันตก มันยอมรับเพราะว่าเราด้อยกว่าตามที่เขาสร้างมาตั้งแต่แรกแล้ว ไม่ได้ยอมรับเพราะเราหลงใหล จริงๆ แล้วมันก็ด้อยกว่าเขาถึงต้องเอาอันนี้มา คล้ายๆ มาทดแทนความด้อยของเรา ผมไม่คิดว่ามันแบ่ง ผมมองว่ามันเป็นอันเดียวกัน การสร้างภาพมันต่อเนื่อง
แต่ทีนี้พอมาถึงที่อาจารย์บอกว่า กลับไปสู่เรื่องสมุนไพร อันนี้ตรงข้ามแล้ว อาจารย์คิดว่าอันนี้เป็นอันที่เขาสร้างขึ้น ในการที่ว่าภาพเป็นความรู้ดั้งเดิม อะไรต่างๆ เหล่านี้ แต่เวลานี้การกลับไปสู่รากเหง้ามันกลับไปคนละอย่างกับที่เขาสร้าง กับที่เป็น orientalism เดี๋ยวนี้มันกลายเป็นว่าใช้อันนี้เป็นวาทกรรมตอบโต้ มันเป็นคนละอันกัน ดังนั้นมันก็เลยมีปัญหากับผมที่ว่า อันนี้มายังไง
เพราะที่อาจารย์พูดตอนแรกมันเป็น discourse แล้วกลายเป็นว่าเราไปเปลี่ยนเราไปรับฝรั่ง เสร็จแล้วเขาให้กลับมาสู่ discourse อันเดิม แต่ผมคิดว่า discourse อันเดิมอันนั้นมันถูกกลับไปใช้ตอบโต้ในแง่ที่ว่า เขาก็ไม่ได้ใช้เหมือนกันแน่นอน ใช้ ๒ ส่วน ใช้เป็นอุดมคติ พวกที่ยังคงเชื่อ orientalism อย่างเดิมก็มีเยอะ อย่างเช่นความเป็นชุมชน การกลับไปสู่ความรู้ท้องถิ่น ซึ่งเป็นลักษณะธุรกิจ อันนี้ผมคิดว่ายังอยู่ในวาทกรรม orientalism แต่ว่ามันก็มีการใช้ได้หลายอย่าง มันขึ้นอยู่กับว่า อันที่มันเป็นปัญหากับผมก็คือว่า การพูดโดยไม่มีบริบทมันมีปัญหา
เพราะว่าการใช้วาทกรรมตัวเดียวกัน ต่างบริบทกัน มันต่างความสัมพันธ์เชิงอำนาจกันด้วย ดังนั้นเมื่ออาจารย์พูดในลักษณะที่มันไม่มีบริบท เป็นเรื่องสภาพทั่วไป มันก็เลยมีปัญหาว่า วาทกรรมที่เราพูดถึงมันกำลังอยู่ในบริบทความสัมพันธ์อะไร เพราะในการต่อสู้กับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ไม่ว่าวาทกรรมอะไรมันถูกใช้ได้หลายอย่าง ในหลายความหมาย เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็เป็นปัญหาในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ต้องมีบริบท เพราะไม่งั้นแล้วเราอาจจะตกหลุมพรางของการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ คล้ายๆ กับว่าไปตกหลุมของการใช้วาทกรรมตรงนั้นมากกว่า เพราะวาทกรรมมันใช้ได้หลายอย่าง
อ. ไชยันต์: ประเด็นที่ Thesis ของ Said เป็น thesis หนึ่ง ส่วนที่ thesis ว่าไปหาสมุนไพร นุ่งโสร่ง อันนี้เป็น thesis ของนพพร ไม่ใช่ thesis ของ Said เพราะฉะนั้นอันนี้ไม่ตอบ มันคนละส่วนกัน
อ. จิราพร วิทยศักดิ์พันธุ์: สิ่งที่ Said วิเคราะห์คือวิเคราะห์ลักษณะของวาทกรรมชุดหนึ่ง ซึ่งมันก็ไม่ได้เป็นวาทกรรมของตะวันตกทั้งหมด แต่วาทกรรมของตะวันตกที่พูดถึงตะวันออกสามารถอ่านได้แบบนี้ เพียงแต่ในขณะที่เวลาตะวันตกอยากจะเข้ามาพัฒนา แน่นอนก็ใช้วาทกรรมอีกชุดหนึ่ง คือมันคนละอัน แต่ว่าสุดท้ายเข้ามาสอดประสานกัน เพราะว่าเวลาตะวันตกใช้ก็คงไม่ได้บอกว่าใช้อันนี้เพื่ออยากจะมาครอบงำคุณ เพราะว่าเวลาเขาอยากจะแสดงความชื่นชมโดยนัยยะคือการกดขี่
ทีนี้เวลาที่ตะวันตกอยากจะพัฒนาประเทศโลกที่สาม แน่นอนก็ต้องพยายามบอกว่า มาเรียนวิทยาศาสตร์กันไหม ตรงนี้เป็นที่มาของการพยายามให้คนรู้สึกว่าการเป็นคนที่ศิวิไลซ์ ฉะนั้นตรงนี้พอคนเห่อมากๆ จนเป็นตะวันตก ก็มีความพยายามชุดหนึ่งที่จะบอกว่ากลับไปหารากเหง้า ซึ่งตรงนี้จริงๆ แล้ว เวลา อ.ศิลป์ พีระศรี มาสอนศิลปะตะวันตกให้นักเรียนศิลปากร อ.ศิลป์ก็บอกว่าให้กลับไปหารากเหง้า ก็เป็นจุดนั้น กำลังจะบอกว่าสิ่งที่ อ.อานันท์เข้าใจว่ามันเป็นชุดเดียวกันหรือเปล่า จริงๆ แล้วมันก็คือเป็นการพยายามเข้าใจวาทกรรมตะวันตกในช่วงเวลาต่างๆ กัน
ส่วนที่อยากถามอาจารย์ต่อคือ ลักษณะนี้เหมือนกับว่า เราได้ภาพครึ่งหนึ่งว่า วาทกรรมที่ใช้เกี่ยวกับเรื่องความเป็นตะวันออก เอามาใช้เพื่อจะแสดงว่าเรามีอำนาจเหนือกว่า แล้วก็หายไป ถ้าจะให้อาจารย์ช่วยอธิบายเชื่อมโยงถึงปัจจุบันที่ตะวันตกไม่ได้ใช้อาวุธมาจี้ตะวันออกแล้ว แต่มันถาโถมไปด้วยภาพยนตร์ เพลง โฆษณาต่างๆ ทำให้ตะวันออกสมยอมอย่างมากๆ เลยที่จะได้มาและก็อยากเป็นตะวันตก อยากใส่สายเดี่ยว อยากซื้อผลิตภัณฑ์ผิวขาว ตะวันออกในที่นี้มันก็ไม่ใช่ตะวันออกแบบเอเชีย ตรงนี้อาจารย์ช่วยมองว่าตะวันตกได้ประโยชน์อะไรอย่างมากๆ
อ.นพพร: ตะวันตกนิยมสร้างภาพโดยมีหลักการที่เราเรียกว่า Ambiguity เป็นกลวิธีของการสร้างความเป็นอื่นที่ดีที่สุด คือการเตะโด่งขึ้นไปข้างบนแล้วก็เหยียบลงไปข้างล่าง ขณะที่คนตะวันออกถูกทำประหนึ่งว่าเลิศลอย. ปรมาตมัน ที่คนตะวันตกต้องมาเดินตาม transcendental นั่งสมาธิเพื่อจะได้เข้าถึง ขณะเดียวกัน ในเวลาเดียวกันก็จะบอกว่าคนตะวันออกสกปรก มักมากในกาม sensuality ช่ำชองเรื่องกามารมณ์ ร้อนแรงไปด้วยไฟราคะ ถ้าเปรียบตะวันออกเป็นผู้หญิงก็เป็นทั้งแม่พระและนางแพศยาไปพร้อมกัน
เพราะฉะนั้นความกำกวมตรงนี้มันทำเปิดโอกาสให้เล่นได้ทั้งเป็นสูงส่งศักดิ์สิทธิ์ก็เล่นได้ มาถึงอีก moment หนึ่ง discourse เดียวกัน มันสามารถจะสลับกันไปสลับกันมาได้ เพราะว่ามันเป็น discourse ที่ข้างในมี double context มีกลวิธีที่จะปรับให้ตะวันออกเป็นอื่น เพราะว่าตะวันตกเราอยู่ตรงกลางๆ เราไม่ได้ทั้ง spiritual ขณะเดียวกันเราก็ไม่ได้เหมือนพวกเอเชียที่ทำกิจกรรมทางเพศโดยไม่รู้จักเบื่อหน่าย ฉะนั้นความกำกวมเหล่านี้ เมื่อไหร่ก็สามารถจะดึงเอาด้านใดด้านหนึ่งมาใช้ได้ดี เหมือนกับที่ผู้หญิงสามารถจะเป็นจากแม่พระมาสู่นางแพศยา โดยไม่มีอะไรกลางๆ เหมือนผู้ชาย ผู้ชายจะไม่เป็นทั้งพ่อพระกับไอ้แพศยาพร้อมกัน อยู่ตรงกลางๆ
อ.จิราพร: ตะวันออก แม้จะรู้สึกว่าตะวันตกไม่ได้ดูถูกเรามากมาย แต่ว่าในความที่อยากเป็นตะวันตกมีมาก ทุกวันนี้ที่คนอยากผิวขาวอยากเป็นลูกครึ่ง จะต้องขวนขวายหาซื้อประดิษฐกรรมของใช้จริงๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเครื่องสำอางค์ เพื่อจะบอกว่าเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญ ความเป็นตะวันตกซึ่งทุกคนต้องแสวงหา ในท้ายสุดเราเองที่ยินดีจะควักกระเป๋ามาซื้อเครื่องสำอางค์ราคาแพงมหาศาลของตะวันตก
อ.นพพร: ก็คือผลประโยชน์ของ Multi national corporations ขายสินค้าของตัวเองได้ จริงๆ มันผูกพันกันในแง่ที่ว่า globalization ที่จริงคือ Westernization คือแค่ว่าแม็คโดนัลด์กระจายไปทั่วโลก แต่ขณะเดียวกันพอเรามาดูตุ๊กตาบาร์บี้ มันกลับเล่นอีกแบบหนึ่งคือว่า แต่ก่อนตุ๊กตาบาร์บี้มีแบบเดียวคือผมทอง เดี๋ยวนี้มีผิวดำ ฟันดำ มีแต่งชุดไทย คือเล่นกับ multi culturalism ในแง่ที่ว่า ไม่จะอยู่ที่แอฟริกา หรืออยู่ที่หนองหมาว้อ ก็เข้าร่วมในกระบวนการ barbinization ได้ คือเราเป็นโลกหนึ่งเดียวกันด้วยอาศัยบาร์บี้เดียวกัน แต่ในนั้นเรามีความต่างนะ และเราเคารพความต่าง เราไม่เหมือนยุคเก่าแล้ว เราเคารพความมีอยู่ของวัฒนธรรม ขายสองอย่างพร้อมกัน
อ.จิราพร: เห็นด้วยว่า multi culture คือเพียงแต่ว่าให้คนนั้นสามารถเปรียบเทียบตัวเองได้เพื่อเป็นลูกค้า คือ identify แล้วซื้อ แต่ในขณะเดียวกันถามถึงใจจริงๆ เขาอยากเป็นอะไร เราก็ยังอยากเป็นตะวันตกมากกว่าตะวันออก แท้จริงตะวันออกก็ยังเป็น the other มันไม่ได้ขาวแบบผุดผ่อง การเล่นสองระดับคือว่าเชิดชูชื่นชม แต่ก็กด แล้วก็บอกว่าฉันก็ต้องการให้ผู้หญิงทุกคนเป็นเหมือนพวกเธอ เธอก็เป็นลูกค้าฉันได้ คือการควบคุมทางอุดมคติ อุดมคติของการเป็น us จริงๆ แล้วก็คือ us ตะวันตกเท่านั้น เพราะไม่งั้นจะขายสินค้าได้ยังไง
อ.นพพร: ผมคิดว่ากระตุ้น เขากระตุ้นยังไง ฉันรู้ดีว่าคุณไม่มีวันเป็นฉันได้ สีผิว วิถีชีวิต และคุณก็ต้องตระหนักแน่ๆ ว่าคุณเป็นอย่างฉันไม่ได้ แต่จะต้องอยากเป็นอย่างฉัน มาถึงจุดหนึ่งฉันกระตุ้นอย่างนี้อย่างเดียวมันก็จะถึงจุดต่ำ คุณก็จะเห็นแล้วว่าเป็นไม่ได้ เพราะฉะนั้นฉันก็เลยแทรกอัตลักษณ์ของคุณเข้าไปในนี้ด้วย คุณจะได้เป็นทั้งแบบฉันได้และก็เป็นตัวของตัวเองไปพร้อมกัน ในที่สุดแล้วผมว่าเป็นการเล่นกลที่แนบเนียนมาก ฉลาดมาก บาร์บี้เป็น method และเป็นตัวอย่างของโฆษณาที่เล่นกับอันนี้สุดๆ เลย แล้วถ้าจะโยงต่อไป … ก็คือว่า สภาพ globalization มา serve capitalism ขั้นสุดท้าย late capitalism ในรูปของ orientalism ตรงที่ว่าเราให้การแบ่งแยกที่แท้จริงแล้ว ทุกอย่างมาคละเคล้าปะปนกันได้ อันที่เด่นอยู่ตรงกลางระหว่างความคละเคล้าคือตะวันตกอยู่ดี มันเหนือชั้น
อ.อานันท์: ที่ อ.จิราพรพูด ผมคิดว่ามันเป็นการครอบงำหลายชั้นซ้อนกัน ต้องแยกให้ชัดเจน ผมคิดว่าถ้าเป็นเรื่องของการครอบงำทางอำนาจ มันยังเป็นแบบ orientalism แต่ที่มันเป็นการครอบงำทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นเรื่องของบริโภคนิยมอะไรต่างๆ ออกมา การครอบงำมันไม่ได้มีชั้นเดียว มันมีหลายชั้นซ้อนกัน ดังนั้นเวลาเราจะเอาวิธีวิเคราะห์อันเดียวไปอธิบายสองอันมันเป็นปัญหา ที่ อ.จิราพรถาม มันอยู่ในช่วงของการครอบงำทางเศรษฐกิจ แล้วมันก็ต้องสร้างภาพตัวแทนขึ้นมา แต่ว่าอันนั้นมันไม่ได้แปลว่ามันละเลยภาพการครอบงำทางอำนาจซึ่งก็คือภาพ orientalism ที่คุณจะต้อง spiritual อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นมันไม่ได้หมายความว่าเปลี่ยนภาพไป มันภาพเดิมแต่ว่ามันซ้อนภาพใหม่มาได้เรื่อยๆ
อ. Hans Decrop: ผมมีข้อสงสัย ๒ ข้อ เรื่องที่อาจารย์เสนอเรื่อง anti colonialism กับ post colonialism ผมฟังผมไม่รู้สึกเสียหาย… ข้อสงสัยที่ผมมีก็คือว่า ภาพที่อาจารย์วิเคราะห์สถานทูตฝรั่งเศส ผมรู้สึกหนักใจแทนคนจัดห้อง เพราะว่าถ้าสมมติว่าเอาตะวันตกอยู่ข้างบน แล้วไทยอยู่ข้างล่าง อาจารย์ก็ต้องวิจารณ์ว่าตะวันตกอยู่เหนือตะวันออก
อ.นพพร: ผมจะแยกอย่างนี้ ฝรั่งเป็นคนๆ คนนี้เพื่อนผมผมคบ แต่ฝรั่ง as the whole คือผมมีเพื่อนอเมริกันเยอะ แต่ผมจะด่า American people as the whole ให้เขาฟังบ่อยๆ คนฝรั่งเศสเป็นรายๆ มีทั้งชอบและไม่ชอบ แต่ละคนก็จะต่างกันไป แต่ the French people as the whole จะเป็น object ซึ่งผมโจมตีบ่อยมาก
อ. Hans: คือผมไม่รู้สึกเสียหายหรอกครับ แต่ว่าใช้คำว่า ฝรั่ง มันเป็น Region อะไรบางอย่างที่มาครอบงำตะวันออก แค่ใช้คำว่า ฝรั่ง มันเป็นการตกอยู่ในหลุมของความเป็น other ซึ่ง ฝรั่ง ผมยังไม่เคยเจอนะครับ
อ.นพพร: ข้อสอง มันมี Possibility ได้หลายอย่างมากในการวางของเขา เช่นที่ว่า ทำไมคุณไม่เอาความอลังการหรือประณีตอ่อนช้อยของตะวันตกมาขายเราบ้าง เช่นเก้าอี้หลุยส์ ในห้องเดียวกัน ถ้าเป็นเก้าอี้หลุยส์ มันจะไม่ contrast กับหน้าบันข้างบนมากเกินไป ผมจะไม่มีสิทธิมาพูดว่าตะวันออกถูกจัดวางให้ประณีตอ่อนช้อยเพื่อให้เป็นผู้หญิง และตะวันตกถูกจัดวางให้เป็นผู้ชายด้วยความแข็งแกร่งบึกบึน เพราะพอเป็นเก้าอี้หลุยส์ ก็คือเอาความอ่อนช้อยประณีตของทั้งสองอารยธรรมมาประชันกัน เพราะฉะนั้นโอกาสที่ผมจะวิเคราะห์ว่าคุณจัดวาง hierarchy มันก็มีโอกาสได้น้อยลงไป ถ้าเกิดเขาใช้วิธีเอาเก้าอี้หลุยส์มาอยู่ข้างล่างและหน้าบันอยู่ข้างบน ผมก็จะฟันธงลงไปไม่ได้ ทำนองเดียวกัน ถ้าเขาเอาชุดเก้าอี้เรียบๆ เดิมของเขา แต่เขาเปลี่ยนข้างบนจากหน้าบันเป็นอะไรของไทยสักอย่างที่มันเรียบง่าย ไม่ประณีตอลังการ ผมก็จะพูดยากอีกเช่นกัน เพราะมันเรียบทั้งคู่ แต่นี่เขาเลือก เขาเจาะจง contrast มันชัดขนาดนี้ทำให้สามารถพูดมาได้เต็มปาก
อ.ไชยันต์: ตัวอย่างทั้งในห้องรับแขกนี้กับตัวอย่างสจ๊วตกับแอร์โฮสเตส ทำไมคนอื่นเขาถึงไม่รู้สึกอย่างนั้น สมมติที่อาจารย์พูดว่าเอาหน้าบันไปให้คนเอสกิโมหรือคนซิมบับเวดู ก็ไม่รู้ว่านี่หมายความว่ายังไง เพราะเขาไม่มี cultural code ที่จะแปลความหมายอันนั้น ในทำนองเดียวกัน สิ่งซึ่งปรากฏอยู่ในรูปชายหญิงสองคน สจ๊วตกับแอร์โฮสเตสมันไม่เป็น cultural code ของคนทั่วๆ ไป อาจารย์กำลังจะพูดว่าจริงๆ มันหมายความว่าอย่างนี้ ก็คือกำลังจะบอก cultural code อันใหม่ which is not understood สมมติผมเป็นคนซิมบับเว แต่ผมไม่รู้สึกอย่างนั้น ทีนี้กำลังจะเป็นการชนกันระหว่างว่า cultural code อันหนึ่งที่เอ็งว่า ไม่ใช่นะ มันต้อง cultural code อันนี้
อ.นพพร: อาจารย์หมายความว่าคนไทยทั่วไปเขาไม่แชร์ cultural code อันนี้หรือครับ เช่นว่า ผู้หญิงแทนความเป็นไทย
อ.ไชยันต์: อย่างเช่นก็เพราะคนไทยไม่รู้หรือคนไทยไม่ได้แชร์ cultural code ว่า ดอกกล้วยไม้มีความหมายเช่นนั้น ก็เหมือนคนเอสกิโมไม่ได้แชร์ cultural code ว่า หน้าบันมีความหมายเช่นนั้น เป็นความหมายเดียวกันเลยครับ คือเขาไม่รู้สึกอย่างนั้น แต่เรื่องนอนกับแอร์ เขารู้สึก เขาแปลทันทีเลย อันนี้เป็น cultural code ที่มันตรงใจเขา แต่ภาพนี้ไม่ได้มีใครรู้สึกอย่างนั้นมาก่อน พออาจารย์มาพูด พออาจารย์พูดเราอาจจะคล้อยตาม เราก็คล้อยตาม cultural code ของอาจารย์ที่กำลังจะบอกว่า อันนี้มันเป็นแบบนี้ แต่คนอื่นอาจไม่เคยถอดแบบนี้ก็ได้
อ.อภิญญา เฟื่องฟูสกุล: อาจารย์กำลังจะบอกว่า สิ่งที่เรียกว่า cultural code มันก็ discourse อันหนึ่ง ก็เป็น discourse ของ semiotics ที่สอนให้เรามองอย่างนี้ คำถามของ อ.ไชยันต์ก็คือ จะ define ว่าไปแล้ว semiotics จะ justify discourse ของตัวเองอย่างนี้ยังไงว่า discourse อันนี้มันดีกว่า ถูกต้องกว่าการมองแบบอื่น
อ.นพพร: cultural code ที่ผมวิเคราะห์ออกมาให้เห็น มันคืออันเดียวกับที่คนไทยมีอยู่แล้วนะ เพียงแต่ว่าระบบของการสื่อความหมายทางวัฒนธรรม มันมี… คือมันสามารถกลบเกลื่อนให้แลดูเป็นธรรมชาติได้เสมอ คือการที่คนในสังคมไม่รู้สึกผิดปกติกับมัน ก็เพราะว่าเราแชร์ cultural code อันนี้อยู่ทุกเมื่อเชื่อวันจนกระทั่งเรารู้สึกมันเป็นธรรมชาติว่า ผู้หญิงต้องทำงานบ้านถึงต้องยืนไหว ผู้ชายเป็นหัวหน้าครอบครัวถึงต้องทำท่า bossy คือเราไม่รู้สึกว่านี่มันคือ construction ทางสังคม เราคิดว่ามันเป็นธรรมชาติอยู่กับเรามาแต่ไหนแต่ไรแล้ว
อ.อภิญญา: สมมติว่าตัว cultural code อันนั้นทำงานยังไง แต่สิ่งที่ semiotics as a discourse เราจับคู่ตรงข้ามหรือการจับ cultural code มาจัดวางในลักษณะมีกฎเกณฑ์อะไรบางอย่างของ semiotic cultural code มันอาจอยู่ตรงไหนก็ได้ แต่ semiotics เลือกที่จะมองความสัมพันธ์ของ cultural code นี้ในแบบฟอร์มอันหนึ่ง เสร็จแล้วแบบฟอร์มนั้น ทำให้คนที่มองด้านอื่นเห็นว่า semiotics เขาสามารถอ่านรหัสอันนี้ออกมาแบบที่ semioticians convince เรา อาจารย์กำลังบอกว่า โอเค cultural code จะอยู่ตรงไหนก็ได้ แต่ว่ากรอบการมอง คล้ายๆ ว่าอยากจะตั้งคำถามว่า you as a discourse…
อ.นพพร: ก็จะตอบว่า คือถ้า push คำถามอาจารย์ไปให้ถึง extreme ก็คือคุณกำลัง… คำอธิบายของผมมันไม่ได้เกิดจากการที่คนทั้งหมด แต่มันเกิดจากการที่มันมีศักยภาพอยู่ในตัวชิ้นงานนั้นแล้ว เพียงแต่ semioticians ดึงเอาสิ่งที่คนเห็นเป็นธรรมชาติออกมาให้ดู ก็คือผมไม่สามารจะไป force text ไปปลุกมันได้ว่า เช่นผมไม่สามารถจะอธิบายได้ว่า ในรูปนี้เห็นไหมว่าผู้หญิงถูกจัดวางเป็นแม่ ผู้ชายถูกจัดวางในฐานะลูก ภาพสจ๊วต-แอร์ สื่อถึงระบบมาตาธิปไตยที่อยู่ในสังคมไทยมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ผมทำไม่ได้ ไม่มีทางเพราะ text มันไม่เอื้อ
อ.ไชยันต์: มันจะเป็นว่า สิ่งซึ่งปรากฏอยู่ Object มันจะมีความหมาย in current อยู่ในสิ่งนั้นตามความหมายของ semioticians
อ.นพพร: ถูกต้อง จะต้องมีความหมายเช่นนั้น คล้ายๆ กับว่า Subjective invitation และก็ cultural code ของคนทั่วๆ ไปที่จะดูอะไร แล้วแต่ที่จะไปถอดมันว่าอะไรเป็นอะไร ในพัฒนาการของวิชาการ semiotics มุมมองแบบ structuralist ก็มีหน้าที่แสดงให้เห็นโครงสร้างใหญ่ที่แชร์โดยคนส่วนใหญ่ออกมาในรูปที่หมดจดงดงามว่า เรามี binary opposition เป็นคู่ที่เห็นชัดขนาดนี้ แล้วเราก็กดทับได้จริงๆ เรื่องนี้มันแน่นอนอยู่แล้ว
พออีกวันผมมาด้วยมุมมองแบบ post structuralist ผมก็จะมาตำหนินายนพพรเมื่อวานนี้ว่าคุณมาถอด binary opposition ได้ยังไงนะ จริงๆ มันมีความเลื่อนไหลกว่านี้ คุณไปกดทับเอาไว้ เอาเฉพาะส่วนที่มา serve พอมาถึง post colonialism มันไม่ได้เป็นวิชาการอย่างเดียว มันเป็นวิชาการที่แฝง critique แล้วหวังถึงขั้นจะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้นมันก็ต้องมี political act pressure อย่างนี้ไงมันถึงจะต้องนำไปสู่ความตระหนักว่า คุณกำลังขายตัว มันถึงได้ตะโกนบอกคนไทยว่าคุณกำลังขายตัวให้กับคนอื่น
อ.อภิญญา: ถ้าอย่างนั้น post structuralism กับ post colonialism ความต่างกันที่ตัวเองเข้าใจคือ post structuralism เป็นวิธีการมองที่ไม่บอกว่าตัวเองเป็นคนชี้ถูกชี้ผิด คำถามที่อยากจะถามที่อาจารย์พูดว่า แล้ว post colonialism แชร์ตรงนี้ของ post structuralism หรือเปล่า เพราะถ้ามันแชร์มันจะหาจุดยืนของมันในฐานะที่เป็นเครื่องมือแห่งการปลดปล่อย
อ.นพพร: ใน post colonialism มันเป็นอะไรที่หลากหลายมาก ถ้าเราจะเอากระแสที่เรียกว่าล่าสุดก็คือ Spivak ก็คือแดริเดียนเลย คือเอาแดริดามาใช้ เอาง่ายๆ เลยคือ Can the subaltern speak? คนข้างล่างจะพูดอะไรได้ไหม? เขาบอกพูดไม่ได้เลย เพราะว่ามันถูกกดหลายชั้นจนกระทั่งว่า แล้วคนอื่นที่มาปลดปล่อยมัน มัน speak for มันตลอด มันพูดแทนให้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น subject convent subject ไม่มีแล้ว agency ก็ไม่มี ซึ่งตอนหลังมีหลายคนรับไม่ได้กับ Spivak บอกว่าอย่างนี้เป๋ออกไปจากปณิธานของ post colonialism ที่เราจะต้องมา critique เพื่อปลดปล่อย แต่คุณเอาวิชาการมาวนในอ่างแบบนี้ ในที่สุดมันก็ไม่ไปไหนสิ Spivak ก็บอกว่า ไม่ ฉันต้องการจะมาปลดปล่อยทางปัญญา เข้าไปมองได้หลายรูปแบบแล้วเลื่อนไหล การตั้งตนเป็น subject สามารถกระทำได้เป็นครั้งคราวขึ้นอยู่กับว่าคุณอยู่ตรงไหน ที่เขาเรียก subject position ว่าตรงนี้ฉันจะตั้งตัวเป็น subject
อ.ไชยันต์: ถ้าเกิดสมมติว่า post colonial criticism เห็นว่า นี่คือ political act ที่จะตีความเช่นนี้ นั่นยอมรับกันได้ แต่จะยอมรับลำบากถ้าจะบอกว่า สิ่งซึ่งเป็น text จะต้องมีความหมายเช่นนี้ตามที่ semioticians ว่า อันนี้รับลำบากเพราะว่า ที่เราบอกว่า มี text อย่างหนึ่ง คนเขาบอกว่าตีความอย่างนี้นะ ไม่ว่าตีความตามที่เข้าใจกันมา ไม่ใช่นะ ไม่ใช่เป็นความเข้าใจที่ถูกนะ ความจริงคือเข้าใจอย่างนี้ เป็นแบบหนึ่ง แล้วการพูดบอกว่า อันนี้ไม่ใช่ ต้องเป็นเช่นนี้
อ.นพพร: ก็คือ semiotics มันอยู่ในช่วงที่เราเรียกว่า Western นะ ขณะเดียวกันเขาไม่ได้บ้านะ เขาแยกแยะว่ามี moment according to อะไร ก็คือ according to potential text อุมแบร์โต เอโก ใช้คำว่า intention of the work ก็คือว่าเราอย่าไปหา intention of the author เพราะว่า author คุณโทรศัพท์ไปถามเขา เขาก็ลืมไปหมดแล้ว เขาไม่รู้หรอกกำลังทำอะไร แต่สิ่งที่ epistemic มาตลอดคือ เรามัวแต่ไปถามว่าคนแต่งหรือผู้สร้างเขาจงใจมีเจตนาอย่างไรมาตลอด แล้วก็มาเขียนว่าคนนี้ผิด แต่เราต้องมาดู intention ของตัว text ให้คน ๕๐๐ คนมาดูรูปนี้ผมเชื่อว่าเขาก็เห็นผู้ชายกับผู้หญิงเหมือนกัน ผู้หญิงแต่งชุดไทยผู้ชายแต่งชุดสากล แต่นอกจากนั้นที่เหลือ intention of the reader คือการตีความไปตาม… คือบอกเงื่อนไขวิธี…ถึงขั้นเป็นภาพแห่งความรุนแรงก็ได้ อันนั้นคือ interpretation ส่วนตัวที่มาสวมทับลงไป มี ๓ intentions ทีนี้เอาล่ะ ยุคของ semiotics คือยุคที่เราจะไม่มาชูความเลื่อนไหล ความไม่เสถียรของโครงสร้าง เราไม่ชูอย่างนั้น พอตอนหลังก็มาชู เราก็ชูเรื่องที่เรามีจนเกินเหตุ จนบอกว่ามันไม่มี meaning อยู่ใน text มันก็เกินไป
อ.ไชยันต์: เช่นคนอินเดีย ซึ่งตกอยู่ในอาณานิคมอังกฤษมานานแล้ว และก็เป็นประเทศซึ่งอังกฤษใช้ความพยายามมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ อย่างพม่า สิงคโปร์ จีน ความพยายามของอังกฤษน้อยมากเมื่อเทียบกับอินเดีย จนกระทั่งปัจจุบันมีคนอินเดียที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ และก็ใช้ภาษาอังกฤษดีมาก ปรากฏว่านี่ตกอยู่ในอาณานิคมของอังกฤษ
มีอีกกรณีหนึ่งอย่างเช่น ญี่ปุ่น ซึ่งถึงแม้ไม่ได้เป็นอาณานิคมตรงๆ แต่ว่าได้รับอิทธิพลตะวันตกอย่างมาก จนกระทั่งผู้ชายญี่ปุ่นตอนนี้แต่งตัวเหมือนกับตะวันตกเป็นของธรรมดาๆ ใส่สูท ผูกเนคไท มีคนไปท้วงว่า ทำไมแต่งสูทผูกเนคไทตามฝรั่ง เขาบอกสูทนี้พ่อให้มา พ่อบอกปู่ให้มาอีกที คือสูทตัวนี้ ๓ generations มาแล้วที่คนญี่ปุ่นใส่กัน ทีนี้เรามากลับกัน ที่เอาภาษาอังกฤษมาใช้ในอินเดีย มันทำให้ความเข้มใน context ของอินเดีย เพราะว่าคนพูดภาษาเยอะแยะมาก ภาษาฮินดีเป็นภาษาที่คนพูดมากที่สุด แต่เมื่อรวมแล้วภาษาฮินดีเป็นส่วนน้อยของภาษาอื่น เพราะฉะนั้นภาษาอังกฤษมัน serve ความเป็นประเทศของอินเดีย ไม่ใช่ว่าเพราะรับภาษาอังกฤษเข้าไปเป็นการครอบความคิดต่างๆ
ในทำนองเดียวกับญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเขาพูดภาษาอังกฤษไม่ทัน แต่ขณะเดียวกันรับอย่างอื่น ในขณะที่คนอินเดียไม่ได้รับอย่างนั้น เพราะฉะนั้นเขาจะรับอะไรไม่รับอะไร มันเข้าเท้าเขา คือไม่ใช่ว่ารับเรื่อยเปื่อย เขา selective ในแต่ละด้านแต่ละเรื่องที่มันจะเหมาะ…ของเขา บางอย่างก็รับบางอย่างก็ไม่รับ นี่จึงเป็นข้อวิจารณ์ว่า มิใช่ว่าอิทธิพลตะวันตกเข้าครอบงำ มันไม่ใช่ว่าอำนาจมีทางเดียว มันมีการใช้กลับไปกลับมาของฝ่ายที่ถูก dominated
อ. นพพร: ทำไมเลือกรับเฉพาะข้างบน แต่ข้างล่าง…ทำไมไม่กลับทิศว่าให้ข้างบนเป็นไทย… ไม่ทำ คงมีเหตุผลด้าน aesthetic สุนทรียศาสตร์อะไรสักอย่างที่เราต้องเลือกอย่างนั้น ซึ่งอันนี้น่าสนใจว่า post colonial ต้องเข้าไปดูข้างในว่า… แต่ว่าปฏิกิริยา มันสามารถที่จะ…ได้ตามไปด้วย ใช่เลย อย่างนี้ตรงใจฉัน แต่อีกพวกหนึ่งคือต้องเข้าใจตรงกันกับที่คนที่สมาทานทั้งหมดนั้น คนที่จะต่อต้านเขาก็ใจตรงกันนะ เพราะฉะนั้นต้องมีตรงกลาง ฉันยอมรับส่วนนี้แต่ขอโต้แย้งส่วนน้อย จริงอยู่ที่บรรยายมาไม่ได้มาคำนึงถึงความหลากหลายตรงนี้เพราะเวลาจำกัด
อ. Hans: คำว่า post colonial criticism มันค่อนข้างจะบ่งบอกถึง political ideal ส่วน post modernism มันจะปราศจาก political ideal ผมก็เลยสงสัยว่ามันขัดแย้งอยู่ในคำว่า post colonial criticism หรือเปล่า ถ้าเผื่อ post colonial criticism กับ post modernism เป็นอันเดียวกัน
อ.นพพร: นักวิชาการบางคนเขาจะสมาทาน postmodernism แล้วก็มาใช้เป็นกรอบของ post colonial กับอีกพวกหนึ่งก็ไม่รับ postmodern เลย กับอีกพวกหนึ่งเลือกรับบางเรื่องที่คิดว่ามาช่วยทำให้ชัดเจนขึ้น และก็ทำให้ political agenda ของเขามันไม่ Naive เช่นเรื่อง agent กับ subject ถ้าเราไม่รับแนวคิดแบบ postmodernism เลย เราก็จะหลงระเริงว่า ฉันเดินขบวนหน้าสถานทูต ฉันก็ต่อสู้แล้ว อะไรอย่างนี้ พวก postmodernism ก็มาชี้ว่า agency มันไม่ง่ายอย่างนั้น มันถูกล็อค แล้วการที่คุณต้องดิ้นอยู่ใน space ที่เป็นจริง ไม่ใช่ไปดิ้นอยู่ใน space ที่ถูกล็อค ก็เลยตอบคำถามอาจารย์ว่า post colonialism มันถูกหล่อเลี้ยงบางส่วนด้วย postmodernism เหมือนที่ feminism เองก็ถูกหล่อเลี้ยงด้วย ฟูโกต์-แดริดาได้ ผมเข้าใจว่ามันคืออันที่มันมา serve political agency ได้ มันส่องแสงให้เห็นว่าตรงไหนที่คุณถูกล็อค ตรงไหนที่คุณยังพอ… แต่ถ้าเผื่อว่ามันเข้ามาขัดกับเป้าหมายที่ตั้งปณิธานทั้งหมดเลย เขาก็จะไม่รับ เพราะเขาถือว่าอย่างนั้นมันไม่มีเหตุผลแล้วที่จะใช้คำว่า post colonial
ผู้ร่วมสัมมนา: ดิฉันคิดว่าแนวคิดต่างๆ เป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้เรามองสังคม เข้าใจเท่าทัน แต่เราจะทำยังไงให้มันมีการใช้ประโยชน์ได้จริงๆ นำไปสู่การแก้ไขด้วย การพูดคุยกันก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง แต่มันจะเกิดขึ้นได้ยังไงในบรรดาผู้คนที่อยู่กันเองไม่มีทางพูดกันรู้เรื่อง
อ.นพพร: อันนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่เคย rest กันมาแล้วใน feminism เอาที่หัวใจเลยนะครับ ถ้าเผื่อถามว่าไปเดินขบวนหน้าสถานทูต มันก็ไม่ใช่ทางออก เพราะตอนนี้ในกลุ่มนี้มันบอกเราว่าอะไรๆ มันไม่ง่ายอย่างนั้น ส่วนตัวถามว่าจะแก้ไขอะไรยังไง ผมเชื่อในเรื่องความคิดว่า ความคิดมันชี้นำในระยะยาวได้ เอาง่ายๆ ผมสะเทือนใจที่รัฐมนตรีหญิงของสวีเดนถูกแทงตายในช่วงนั้น เพราะว่านี่คือคนที่ผมเชื่อว่า คนๆ นี้เขาก็เชื่อเหมือนผม ว่าการพูดปาวๆ ทุกวัน เจอหน้าใครก็ปาวๆ นี่คือสิ่งที่ผมทำอยู่ทุกวัน หาโอกาสคุยเรื่องพรรค์นี้เพราะถือว่าไปปฏิวัติอะไรใหญ่ๆ ไม่ได้แล้วในยุคนี้ เพราะว่าประวัติศาสตร์มันสอนเรา มันต้องค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป เพราะฉะนั้นเจอหน้าใครก็ปาวๆ
นักศึกษา: ไม่ทราบว่าอาจารย์พบข้อจำกัดของ semiotics บ้างไหม?
อ.นพพร: ข้อจำกัดของ semiotics มันเป็นเรื่องที่ว่า เราไม่มั่นใจใน cultural code ที่คนเสพเขาแชร์กันจริงในยุคนั้น เช่นถ้าเป็นชิ้นงานก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยกตัวอย่างประวัติศาสตร์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๑ กับครั้งที่ ๒ มันมีบรรยากาศบางอย่างร่วมกัน ที่เราไม่ได้ไปอยู่และเราไม่มีวันรู้สึกได้จริง บางทีเราไม่มั่นใจ เราต้องไป research นอกงานนั้น คือไปอ่านที่เป็น mentality ของคนยุคนั้นซึ่งเหนื่อยยากมากเลย เพื่อที่จะกลับมาดูงานชิ้นเดียว รูปๆ หนึ่งว่าจริงๆ สิ่งที่เขาแชร์คนดูในยุคนั้นเขาแชร์อะไรกัน เช่น
เราดูรูปผู้หญิงตะวันออกกลางที่ผู้ชายฝรั่งวาด
เขาจะวาดออกมาในลักษณะที่ผู้หญิงกลายมาเป็น เราไปมองว่าเป็น sex object แล้วพอจิตรกรหญิงตะวันตกเข้าไปวาดบ้าง
เขาเข้าไปในฮาเร็มแล้วทุกคนแต่งตัวกันเต็มยศเลย แล้วก็ยืนยันว่าในฮาเร็มเป็นอย่างนั้นจริง
เราไม่แน่ใจ เราต้องไปค้นดูว่าจริงๆ มันเป็นอย่างไรกันแน่ แล้ว cultural code
ของคนดูภาพ เขาแชร์ความรู้อะไรบ้างซึ่งเราไม่ได้แชร์ด้วย ตรงนี้คือข้อจำกัด
สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I ประวัติ ม.เที่ยงคืน
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด
กว่า 400 เรื่อง หนากว่า 4500 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 120 บาท(รวมค่าส่ง)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
ขณะนี้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้ผลิตบทความทั้งหมดบนเว็ปในรูปของซีดีรอมเพื่อจำหน่าย
สนใจ สั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com
ขอเปรียบเทียบกับ Feminism ที่บอก lady first ผู้หญิงมาถึงเราต้องเปิดประตูให้ คุณเป็นแม่พระ ก็คือเราเตะโด่งเขาขึ้นไปอยู่บนนั้น เพื่อที่เขาจะได้ไม่มายุ่งกับกิจของเรา หมายความว่าการที่เราชื่นชม ยกย่อง เทิดทูนใครไม่ได้หมายความว่าเราไม่ได้ไปดูหมิ่นเขา จริงๆ เราอาจดูหมิ่น เหยียดหยามเขา แต่เราเตะโด่งให้ขึ้นไปอยู่บนนั้น แล้วก็ไหว้ซะ เสร็จแล้วบอกว่าเอ็งอย่ามายุ่งกับข้านะ ผมว่าอันนี้คือการเตะโด่งตะวันออกขึ้นไป ว่าอลังการณ์ แต่เดี๋ยวเราจะเห็นว่าจริงๆ มันคือการใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้น