เผยแพร่ครั้งแรกวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๗: มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ

2
0
0
4

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 380 หัวเรื่อง
การคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
พอล เลอมัง
สมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
จากสวิสซ์เซอร์แลนด์

เผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบ
ปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง
จะแก้ปัญหาได้


midnightuniv(at)yahoo.com

R
relate topic
300447
release date
ผลงานภาพประกอบดัดแปลง ใช้ประกอบบทความวิชาการ ฟรีสำหรับทุกคน
เว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เปิดขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้ โดยไม่มีเงื่อนไขทางการศึกษา วัฒนธรรม การเมืองและเศรษฐกิจใดๆมาเป็นอุปสรรค และยังมีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตความรู้ขึ้นมาเพื่อพัฒนาประเทศ อย่างยั่งยืน สมดุล และเป็นธรรม
The Alternative University


สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของไทย-หมดปัญหาแล้วหรือยัง
พอล เลอมัง
สมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากสวิสซ์เซอร์แลนด์
(บทความนี้ยาวประมาณ 4 หน้ากระดาษ A4)

ชื่อเดิมของบทความ
การคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของไทย - หมดปัญหาแล้ว หรือยังมีปัญหาอีกมาก

ในวันที่ 27 เมษายน 2547 ประเทศไทยก็จะมีกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ฉบับแรก นั่นคือ พรบ.คุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปแล้วเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2546 เป็นกฎหมายที่ประกอบด้วย 7 หมวดและมี 43 มาตรา

การออกกฎหมายดังกล่าวเป็นเรื่องดี เพื่อจะได้ให้การคุ้มครองสินค้าของไทยที่มีคุณภาพ มีชื่อเสียงหรือมีคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์ โดยเฉพาะสินค้าเกษตรหรือหัตถกรรม เป็นการป้องกันมิให้ผู้ผลิตอื่นเลียนแบบหรือปลอมแปลงสินค้าหลอกผู้บริโภคให้หลงผิดในแหล่งภูมิศาสตร์ของสินค้า ซึ่งคงไม่ผิดนักหากจะพูดว่าตลอดเวลาที่ผ่านมา การให้การคุ้มครองสินค้าของไทยจะรู้จักเพียงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นหลัก

จากกระแสโลกาภิวัฒน์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งแนวโน้มของการเปิดเสรีการค้าที่กว้างขวางและมากขึ้นเรื่อยๆ ประเทศไทยตกอยู่ในกระแสดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ไทยได้เข้าร่วมกลุ่มเศรษฐกิจระหว่างประเทศตั้งแต่แกตส์ จนกระทั่งเป็นองค์การการค้าโลกเพื่อรักษาประโยชน์ทางการค้าระหว่างประเทศ แต่ก็มีพันธะข้อผูกพันที่จะต้องปฎิบัติตามในหลายเรื่องซึ่งในภาพรวมถือว่าไทยปรับตัวเข้ากับกระแสดังกล่าวได้ดี

ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้าในองค์การการค้าโลก พันธกรณีหนึ่งที่ไทยต้องปฎิบัติตามคือ การออกกฎหมายคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เพื่อให้เป็นไปตามความตกลงว่าด้วยทรัพยสินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า ข้อ 22 ถึงข้อ 24

คงจำกันได้ว่าก่อนที่กฎหมายนี้จะออกมา นักวิชาการอิสระและ เอ็นจีโอได้ออกมาคัดค้านและเรียกร้องกันอย่างมากให้มีการทบทวน โดยเฉพาะให้มีการแก้ไขในสาระเพื่อให้การใช้บังคับครอบคลุมไปถึงชื่อพันธ์พืชและสัตว์ด้วย โดยหมายจะให้คุ้มครองพันธ์พืชพันธ์สัตว์ไทย เช่น ข้าวหอมมะลิ สุนัขหลังอาน หลังจากนั้นปรากฏว่าได้มีการทบทวนร่าง พรบ.และก็ได้แก้ไขตัดคำว่า พันธ์พืชพันธ์สัตว์เป็นคำสามัญออกไป......และตั้งแต่นั้นมาเรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ก็หายเงียบไป ราวกับว่าเรื่องนี้หมดปัญหาแล้ว ซึ่งในความเป็นจริงจะหมดปัญหาหรือไม่ คงต้องติดตามกันต่อไป

การออกกฎหมายคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและนักวิชาการและเอ็นจีโอพอใจแล้ว........กระนั้นหรือ ฝ่ายราชการรู้สึกว่าได้ทำตามพันธกรณีความตกลงระหว่างประเทศแล้ว...กระนั้นหรือ ฝ่ายนักวิชาการและเอ็นจีโอถือว่าได้ปกป้องผลประโยชน์ให้ประเทศ เรียกร้องแก้ไขสำเร็จแล้ว....กระนั้นหรือ

ต่อจากนี้ไป อะไรจะเกิดขึ้น สินค้าไทยจะเป็นจีไอหรือไม่ ข้าวหอมมะลิไทย ไหมไทย สุนัขหลังอานจะเป็นจีไอหรือไม่................มีใครรู้บ้าง

ผู้ผลิตท้องถิ่นหรือประชาชนตาดำๆ จะรู้หรือเข้าใจคำว่าจีไอแค่ไหนเพียงใด โอท๊อปจะเป็นสินค้าจีไอได้หรือไม่และจะมีกระบวนการปกป้องสินค้าเหล่านี้ในประเทศและนอกประเทศอย่างไร.......เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องที่น่าคิดต่อ... น่าเป็นห่วงโดยเฉพาะในประเด็นว่าเรื่องนี้หมดปัญหาแล้วหรือยังหรือว่ายังมีเรื่องที่ต้องทำและต้องทำอีกมาก หากไทยจะใช้ประโยชน์จากกฎหมายคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นี้

ในขณะที่ไทยยังไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรในเรื่องนี้ ประเทศหนึ่งได้พยายามหามาตรการที่จะปกป้องคุ้มครองสินค้าของเขา โดยใช้ประโยชน์จากกฎหมายทั้งสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และระบบการคุ้มครองแหล่งต้นกำเนิดสินค้า ประเทศนี้คือสวิสเซอร์แลนด์

สวิสเป็นประเทศทีมีสินค้าหลากหลายและล้วนมีคุณภาพสูงจนมีชื่อเสียงไปทั่วโลก โดยเฉพาะในเรื่องคุณภาพ เช่นนาฬิกา มีดพก เนย และชอกโกแล๊ต เป็นต้น แต่ไหนแต่ไรมาผู้ผลิตสวิสจะมุ่งรักษาคุณภาพของสินค้ามาก รักษากระบวนการผลิตดั่งเดิมบวกกับภูมิปัญญาท้องถิ่นทำให้สินค้าสามารถขายได้ในราคาที่สูง ยกตัวอย่างเช่น เนยสวิสที่ชื่อ Evitaz จะรักษากรรมวิธีดั่งเดิมอย่างเคร่งครัด ต้องใช้หญ้าจากภูเขาแอล์ปเท่านั้นในการเลี้ยงวัวเพื่อเอานมมาทำเนย รวมทั้งใช้วัสดุในการรมควันเนยก็ต้องใช้ไม้ในท้องถิ่นเท่านั้น ทำให้เนยดังกล่าวมีคุณลักษณะเฉพาะที่พิเศษของท้องถิ่น

อย่างไรก็ดีจากกระแสโลกาภิวัฒน์และการที่ต้องเปิดประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะกับสหภาพยุโรปที่ทำให้สินค้าสวิสถูกลอกเลียนแบบและปลอมแปลงมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้สวิสหันมาใช้มาตรการคุ้มครองสินค้าที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น มาตรการดังกล่าวคือการคุ้มครองแหล่งผลิตที่แท้จริง (Protected Designation of Origine- PDO) คล้ายกับระบบการควบคุมแหล่งต้นกำเนิดสินค้าของฝรั่งเศส ซึ่งฝรั่งเศสนั้นใช้ระบบนี้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1935 แล้วเพื่อคุ้มครองไวน์ของตนจากการถูกลอกเลียนแบบ ระบบดังกล่าวของฝรั่งเศสนี้ต่อมาสหภาพยุโรปได้นำมาใช้เมื่อปี ค.ศ. 1992

สำหรับสวิสนั้น จากเดิมที่เคยคิดว่าไม่จำเป็นต้องมีระบบคุ้มครองสินค้ามากมายนัก เพราะได้รับการช่วยเหลืออุดหนุนจากรัฐรวมทั้งมีระบบการคุมครองปรกติอยู่แล้ว ก็ได้เริ่มหันมาใช้ระบบการคุ้มครองแหล่งผลิตที่แท้จริงเพิ่มเติมในปี ค.ศ. 2000 โดยเริ่มจากเนย Evitaz เป็นรายการแรก หลังจากนั้นสินค้าสวิสหลายรายการก็ได้ทะยอยจดทะเบียนเข้ารับการคุ้มครองภายใต้ระบบแหล่งผลิตที่แท้จริง PDO รวมทั้งใช้ประโยชน์จากการคุ้มครองภายใต้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในกรอบองค์การการค้าโลกด้วย

ประโยชน์ของระบบคุ้มครองแหล่งผลิตที่แท้จริง ที่เห็นชัดเจนก็คือผู้บริโภคจะได้สินค้าที่แน่ใจว่ามาจากแหล่งผลิตที่แท้จริงเท่านั้น เช่น เนย Evitaz หากติดป้ายที่ควบคุม ก็ต้องมาจากแหล่งผลิตที่แท้จริงเท่านั้น ในกรณีของไทยหากจะเปรียบเทียบ เช่น ไข่เค็มไชยา ถ้าใช้ระบบนี้ก็จะต้องเป็นสินค้าที่ผลิตในไชยาของแท้เท่านั้น

ในส่วนของผู้ผลิต ประโยชน์ที่เกิดก็คือ เมื่อมีฉลากที่รับประกันแหล่งกำเนิดของสินค้าที่แท้จริงแล้ว ผู้บริโภคก็จะมีความเชื่อมั่นในสินค้ามากขึ้น ทำให้สามารถปรับราคาสูงขึ้น อย่างไรก็ดี ผู้ผลิตต้องรักษาคุณภาพให้มีมาตรฐานและทำอย่างเคร่งครัด ในสวิสการจดทะเบียนเพื่อขอรับป้ายควบคุมนี้ผู้ผลิตจะต้องจดทะเบียนระบบการคุมครองนี้กับสำนักงานการเกษตรของสหพันธ์รัฐ

ผลจากการใช้ระบบคุมครองสินค้าโดยปิดฉลากรับประกันนี้ทำให้ยอดขายสินค้าเพิ่มขี้นกว่าร้อยละ 20

จากตัวอย่างของสวิสที่ยกให้เห็นนี้ ทำให้ย้อนกลับมาดูในกรณีของประเทศไทย หลังจากกฎหมายคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ใช้บังคับแล้ว สิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องเร่งคำนึงและพิจารณาคืออะไร

ผมขอช่วยกันคิดดังๆ ว่า ควรส่งเสริมให้ประชาชนและผู้ผลิตจดทะเบียนสินค้าเป็นจีไอ ซึ่งแน่นอนว่าการจะให้เกิดเช่นนั้นได้ ประชาชนผู้ผลิตต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องจีไอเป็นอย่างดีเสียก่อน ต้องรู้ถึงประโยชน์และผลของการใช้ชื่อสินค้าที่ระบุถึงแหล่งภูมิศาสตร์ ในขณะเดียวกันภาครัฐก็ต้องเร่งช่วยในเรื่องของการศึกษาวิจัย วิเคราะห์ทางวิชาการเพื่อจะเป็นข้อมูลสนับสนุนเอกชนหรือประชาชนในการพิสูจน์ว่าสินค้าตัวใดเป็นจีไอได้ (จะได้ไม่ต้องมานั่งทะเลาะกันว่าเป็นหรือไม่เป็น)

นอกจากนั้นรัฐยังต้องเร่งประชาสัมพันธ์หรือสัมมนาเพื่อทำให้ประชาชนและผู้ผลิตไทยตระหนักด้วยว่าการที่จะได้ประโยชน์จากจีไอนั้น ต้องมีความซื่อสัตย์และรักษาคุณภาพสินค้าให้มาตรฐานเช่นในกรณีของสวิส (สิ่งนี้จะเป็นการป้องกันการเลียนแบบได้ทางหนึ่ง) ในส่วนของโอท๊อป ก็สามารถจะใช้ประโยชน์จากการคุ้มครองจีไอได้เช่นกัน รัฐจึงต้องเร่งให้ความรู้ไปยังทุกตำบลในเรื่องจีไอเพื่อให้สินค้าสามารถเข้าข่ายได้รับการคุ้มครองในโอกาสแรก

ในส่วนของการดำเนินการในต่างประเทศ เมื่อจดทะเบียนจีไอในประเทศแล้ว รัฐก็ควรเป็นหัวหอกในการสนับสนุนให้เอกชนไปจดทะเบียนจีไอในต่างประเทศเป้าหมายเพื่อจะได้รับการคุ้มครองในประเทศเป้าหมายนั้น

ดังนั้น จะเห็นว่าเรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือจีไอนั้น หากยังยืนยันที่จะใช้ประโยชน์จากกฎหมายนี้ ก็ถือว่ายังไม่หมดปัญหา ยังมีเรื่องต้องดำเนินการอีกมาก และ หากจะให้เกิดประโยชน์ในการคุ้มครองสินค้าที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นดังเช่นตัวอย่างของสวิสที่ยกมานั้น ก็อาจให้ลองพิจารณาระบบการคุ้มครองแหล่งกำเนิดสินค้าที่แท้จริงโดยควบคุมการจดทะเบียนตลอดจนติดป้ายสินค้า ก็น่าจะทำให้ประชาชนซึ่งก็คือผู้ผลิต ผู้บริโภคได้ประโยชน์สูงสุด.......ปัญหาอยู่ที่ว่าจะมีใครคิดทำหรือไม่เท่านั้นเอง

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

 

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)

 

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
คงจำกันได้ว่าก่อนที่กฎหมายนี้จะออกมา นักวิชาการอิสระและ เอ็นจีโอได้ออกมาคัดค้านและเรียกร้องกันอย่างมากให้มีการทบทวน โดยเฉพาะให้มีการแก้ไขในสาระเพื่อให้การใช้บังคับครอบคลุมไปถึงชื่อพันธ์พืชและสัตว์ด้วย โดยหมายจะให้คุ้มครองพันธ์พืชพันธ์สัตว์ไทย เช่น ข้าวหอมมะลิ สุนัขหลังอาน....และตั้งแต่นั้นมาเรื่องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ก็หายเงียบไป ราวกับว่าเรื่องนี้หมดปัญหาแล้ว
บทความเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ปัจจุบัน พรบ.ฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว พ.ศ. 2546
H