ข้อมูลข่าวสารจากองค์กรต่างๆ
ลำดับที่ 361 หัวเรื่อง
สารบัญข้อมูล ส่งมาจากองค์กรต่างๆ
สมเกียรติ
ตั้งนโม
และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ร่วมพิจารณาคัดเลือก
บริการเผยแพร่
เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก
ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะแก้ปัญหาได้
บทความของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สามารถคัดลอกไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ หากนำไปใช้ประโยชน์
กรุณาแจ้งให้ทราบที่
midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
การนัดหยุดงาน-ทฤษฎีและปฏิบัติ
การนัดหยุดงาน สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ก.ฟ.ผ.
กลุ่มประชาธิปไตยแรงงาน
(บทความนี้ ยาวประมาณ 5 หน้ากระดาษ A4)
การนัดหยุดงาน สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ก.ฟ.ผ.
ทุกวันนี้เวลาที่กรรมาชีพพิจารณาเรื่องการนัดหยุดงาน เรามักจะได้ยินคำวิจารณ์จากฝ่ายชนชั้นปกครอง และจากฝ่ายนักวิชาการภาครัฐและผู้รับใช้นายทุน หรือกระทั่งสื่อมวลชนของนายทุน ซึ่งมักมองว่าการนัดหยุดงานเป็นการใช้ "ความรุนแรงที่ไม่เหมาะสม" และในกรณีการคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ หลายคนในขบวนการแรงงานเองมองว่า การนัดหยุดงานที่อาจนำไปสู่การดับไฟ ตัดน้ำ เป็นการต่อสู้ที่ผิดพลาดเพราะจะสร้างศัตรูในหมู่ประชาชน
แต่การนัดหยุดงานเป็นการต่อสู้ที่มีหลายรูปแบบ และแต่ละรูปแบบล้วนแต่มีความชอบธรรมทั้งสิ้น เพราะเราไม่ได้อยู่ในยุคของการใช้แรงงานบังคับ หรือแรงงานทาส ดังนั้นสิทธิที่จะถอนตัวออกจากระบบการทำงานเพื่อประท้วง เป็นสิทธิพื้นฐานของกรรมาชีพ แม้แต่องค์กร I.L.O. (องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ) ก็ให้การยอมรับตรงนี้
เมื่อเร็วๆ นี้รัฐบาล"ไทยรักไทย"ที่ดูเหมือนมีอำนาจล้นฟ้า กลับต้องประนีประนอมระดับหนึ่งกับสหภาพแรงงาน ก.ฟ.ผ. เพราะต้องชลอการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเนื่องจากการรวมตัวกันของสหภาพแรงงานและการประท้วงอย่างต่อเนื่อง การเคลื่อนไหวครั้งนี้ของสหภาพแรงงานและพันธมิตรเป็นการเคลื่อนไหวใหญ่ที่สุดนับแต่เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 เป็นต้นมา อันนี้ได้สะท้อนถึงพลังการต่อสู้ของกรรมาชีพ และไม่ว่าผู้นำจะเรียกมันว่าเป็นการประชุมวิสามัญ หรือการชุมนุมใหญ่ก็ตาม แต่มันมีองค์ประกอบของการนัดหยุดงานอยู่ เพราะพนักงานนับพันไม่เข้าไปทำงาน
ดังนั้น ข้อสรุปแรกคือ การนัดหยุดงานมีหลายระดับ หลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบล้วนแต่เป็นสิทธิพื้นฐานของกรรมาชีพที่จะเลือกทำ เพราะเราไม่ใช่ทาส เราอยู่ในระบบประชาธิปไตยไม่ใช่หรือ?
ประเด็นต่อไปที่ต้องพิจารณาคือการชั่งน้ำหนักระหว่างความเดือดร้อนที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน ซึ่งอาจนำไปสู่ความไม่พอใจระดับหนึ่ง กับความสำคัญของการนัดหยุดงาน ตรงนี้องค์ประกอบแรกที่ต้องดูคือเป้าหมาย ถ้าเป้าหมายในการเรียกร้องมีความชอบธรรมสูง การที่ประชาชนจะเดือดร้อนบ้างในระยะสั้นมีความสำคัญรองลงมา ดังนั้น เราควรมาดูเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจว่ามันเลวร้ายอย่างไร
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นการยกทรัพย์สินส่วนรวมให้โจรและกาฝากเอกชน
5
พวกที่เชิดชูกลไกตลาดเสรีหวังจะฮุบเอาบริการสาธารณะต่างๆ ทั้งไฟฟ้า น้ำประปา
โทรศัพท์ ฯลฯ โดยเฉพาะกิจการที่สร้างกำไร ไปเป็นของส่วนตัวเพื่อกอบโกยผลกำไรจากการบริการสาธารณะซึ่งมีความแข็งแกร่งของกิจการมาจากการทำงานภาครัฐในระยะแรก
เราต้องฟันธงไปเลยว่าการที่คนส่วนน้อยกลุ่มหนึ่งที่เป็นนายทุนเอกชน จะได้กำไรจากสิ่งที่ทุกคนต้องใช้
เช่น น้ำ ไฟฟ้า โทรศัพท์ โรงพยาบาล วิทยาลัย ฯลฯ เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องนับตั้งแต่แรก
มันเหมือนการปล้นส่วยโดยกาฝากที่เกาะติดกับสาธารณูปโภค เราประกาศว่าพวกผู้ถือหุ้นเอกชนทั้งหลายเป็น
"กาฝาก" หรือ "พ่อค้าคนกลาง" ได้เพราะ
(1) พวกนี้ไม่ได้ทำงานอะไรเพื่อผลิตไฟฟ้าหรือน้ำประปาหรือบริการอย่างอื่น
(2) เขาไม่ได้เป็นผู้ใช้บริการสรุปแล้วการบริการประชาชนต้องเป็นเรื่องระหว่างผู้ผลิต(กรรมาชีพ) และผู้บริโภคเท่านั้น โดยมีรัฐเป็นผู้ประสาน การเชิญกลุ่มทุนเอกชนเข้ามาเพราะเขารวยและมีทุน (ซึ่งทุนที่เขามี มาจากขูดรีดการทำงานของผู้ผลิตหรือกรรมาชีพอื่นแต่แรก) เป็นการเชิญพยาธิกาฝากเข้ามากินส่วนเกินอย่างเดียว เป็นการยอมจำนนต่อการปล้นของโจร
และการมีกาฝากเอกชนเข้ามาในสาธารณูปโภค มีแต่จะสร้างปัญหาให้ประชาชนผู้ใช้บริการในระยะยาว โดยเฉพาะคนยากคนจน เพราะเอกชนสนใจการขโมยกำไรอย่างเดียว ไม่สนใจการบริการคนจน ไม่สนใจการลงทุนระยะยาว และไม่สนใจผลประโยชน์ส่วนรวม เช่นเดียวกับที่ดำเนินการมาแล้วในยุโรป เอเชีย ลาตินอเมริกา และสหรัฐฯ
กลุ่มนายทุนได้ปล้นเอาทรัพย์สินสาธารณะไปภายใต้นิยายสวยหรูว่า จะเพิ่มประสิทธิภาพ แต่มันเป็นเป็นแค่ประสิทธิภาพในการกอบโกยกำไรสำหรับคนส่วนน้อยเท่านั้น ในความเป็นจริงรถไฟมีประสิทธิภาพน้อยลง มีอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น ไฟฟ้าดับเป็นประจำเพราะมีการโกงกินและไม่ซ่อมสายไฟ น้ำประปาขาดแคลนเพราะมีการขายอ่างเก็บน้ำ และมีการขึ้นราคาค่าบริการให้สูงที่สุดเท่าที่จะสูงได้ ในขณะเดียวกันก็เกิดการระบาดของนักบัญชี ซึ่งถือว่าเป็นกาฝากชั้นสองที่มีหน้าที่คำนวนว่ากาฝากชั้นต้นควรแบ่งส่วนเกินที่ขโมยจากเราอย่างไร นักบัญชีไม่ได้มีผลผลิตอะไรและไม่ได้เป็นผู้บริโภคเช่นกัน ตัดทิ้งได้เหมือนการกำจัดเห็บจากหลังหมา
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นการกระทำเพื่อผลประโยชน์ชนชั้นนายทุนอย่างชัดเจน ไม่ใช่ผลประโยชน์คนอื่นหรือผลประโยชน์ส่วนรวม ไม่เชื่อก็ลองดูว่ากลุ่มไหนในสังคมไทยสนับสนุนการแปรรูป มีแต่ฝ่ายพรรคนายทุนกับสมาคมกลุ่มธุรกิจต่างๆ แต่ผู้บริโภค ภาคประชาชน และสหภาพแรงงานต่างๆ คัดค้าน
ในเมื่อเป้าหมายของสหภาพแรงงาน ก.ฟ.ผ. ที่จะคัดค้านการนำกาฝากเข้ามาสูบเลือดเรามีความชอบธรรมล้นฟ้าอย่างนี้ แถมข้อเรียกร้องหลักคือให้มีประชามติ ความเดือดร้อนเฉพาะหน้าของประชาชนที่อาจเกิดจากการนัดหยุดงานเป็นเรื่องรอง ถ้าพิจารณาเรื่องของพลังต่อรองแล้ว ยิ่งเห็นชัด เพราะสหภาพ ก.ฟ.ผ. ต้องการให้รัฐบาลจัดประชามติเรื่องนี้ตามแนวประชาธิปไตย
แต่รัฐบาลทำท่าจะไม่ฟังทั้งๆ ที่รวมตัวประท้วงมานาน ดังนั้นอาจต้องมีการเพิ่มพลังต่อรอง และแน่นอนสื่อมวลชนของรัฐและของทักษิณ ซึ่งเกือบจะทุกสื่อ คงออกมาปกป้องเจ้านายของตนและด่าการนัดหยุดงานแน่ๆ เราเลยไม่ต้องพิจารณาตรงนี้แม้แต่นิดเดียวนอกเหนือจากการเรียกร้องให้พนักงานสื่อตั้งสหภาพแรงงานเพื่อปกป้องเสรีภาพของสื่อ
พลังการนัดหยุดงาน
การนัดหยุดงานต่างจากการท้าทายนายทุนแบบฟ้องร้องผู้ใหญ่ การขอความเป็นธรรม ประท้วง
หรือการลงคะแนนเสียงในวันเลือกตั้ง ทำไม? ในประการแรกการนัดหยุดงานท้าทายระบบการผลิต
มันส่งสัญญาณให้นายทุนรู้ว่ามันคุมระบบการผลิตไม่ได้
เลนิน นักปฏิวัติสังคมนิยมชาวรัสเซียเคยเขียนไว้ว่า:
"ลูกล้อกงจักรทั้งหลายหยุดนิ่ง ถ้ามืออันแสนมีพลังของท่านห้ามไว้" นี่คือส่วนหนึ่งจากเนื้อเพลงของกรรมาชีพเยอรมัน และมันเป็นความจริง โรงงาน ที่ดินของเจ้าที่ดิน เครื่องจักร รถไฟ ฯลฯ เสมือนลูกล้อกงจักรในเครื่องจักรยักษ์ใหญ่ทุนนิยม เครื่องจักรที่สกัด แปรรูป และส่งผลผลิตไปยังจุดหมายปลายทาง เครื่องจักรยักษ์นี้เดินได้เพราะกรรมาชีพที่ขุดดินไถนา กรรมาชีพที่สกัดแร่ กรรมาชีพในโรงงาน กรรมาชีพก่อสร้าง กรรมาชีพในโรงซ่อมเครื่อง และกรรมาชีพในระบบขนส่งทางรถไฟ ... ถ้ากรรมาชีพไม่ยอมทำงานเครื่องจักรยักษ์นี้ทำท่าจะหยุดทำงาน การนัดหยุดงานทุกครั้งเป็นเครื่องเตือนใจนายทุนว่ากรรมาชีพต่างหากที่เป็นเจ้านายแท้ของระบบ "
นอกจากระบบการผลิตที่ต้องหยุดไปท่ามกลางการนัดหยุดงานแล้ว การข่มแหง การกลั่นแกล้ง และการสั่งการต่างๆ ในรูปแบบเผด็จการของเจ้านายของนายทุน หรือแม้แต่นายทุนรัฐวิสาหกิจซึ่งก็คือรัฐบาลนั่นเอง ก็ต้องหยุดลงชั่วคราวด้วย ในบรรยากาศแบบนี้กรรมาชีพจะรู้สึกว่าได้ปลดแอกชั่วคราวจากเผด็จการประจำวันของสถานที่ทำงานนั้นๆ ใครที่เคยนัดหยุดงานคงนึกภาพออก
บ่อยครั้งกรรมาชีพที่ร่วมการนัดหยุดงานจะประหลาดใจกับการพัฒนาของตนเองท่ามกลางการต่อสู้ เช่น ก่อนการนัดหยุดงานเขาอาจขาดความมั่นใจ ไม่กล้าตัดสินใจอะไร และคิดว่าตนเองโง่ ไร้พลัง โดดเดี่ยว อ่อนแอ แต่เมื่อเกิดการนัดหยุดงานขึ้น เขาจะออกไปในเวทีต่างๆ เพื่อไปพูดอธิบายถึงปัญหาของเขาต่อหน้ากรรมกรนับร้อย หรืออาจมีหน้าที่ในการประสานงาน การทำใบปลิวประชาสัมพันธ์ รับผิดชอบต่อเพื่อนกรรมกรนับร้อย นับพัน มีบทบาทต่างๆ ทั้งดูแลความปลอดภัย หรือแม้แต่การหุงข้าวให้การชุมนุม ทำให้ขบวนขับเคลื่อนต่อไปได้
สภาพที่รู้สึกว่าตนเองได้รับการปลดแอกดังกล่าว ความจริงไม่ได้มาจากการไร้ซึ่งการบังคับบัญชาของเจ้านายเท่านั้น แต่มันมาจากการที่เขาได้มีสำนึกรู้ว่าเขาได้ร่วมกับพี่น้องกรรมาชีพอื่นๆ ที่นัดหยุดงานด้วยกัน มาเป็นเจ้านายของสถานการณ์ได้ เขาได้เข้าใจสถานภาพที่แท้จริงของตนเอง และที่สำคัญที่สุดคือเป็นการกระทำของเขาเอง นั่นคือการพัฒนาจิตสำนึกทางชนชั้นของกรรมาชีพท่ามกลางการต่อสู้ การนัดหยุดงาน และการรวมพลังกัน .
นักปฏิวัติสังคมนิยมจากเยอรมันชื่อ โรซา ลักแซมเบอร์ค เคยอธิบายเรื่องการเชื่อมโยงการต่อสู้ประจำวันกับจิตสำนึกทางการเมืองไว้ในหนังสือ "การนัดหยุดงานทั่วไป" ว่า:
"หลังจากคลื่นแห่งการต่อสู้ทางการเมืองซบเซาลง มันจะทิ้งคราบของมันไว้บนก้อนหินของสังคม ซึ่งจากคราบนี้ การต่อสู้ทางเศรษฐกิจพันๆ ชนิดสามารถงอกขึ้นมาได้ และในทางตรงข้าม สภาพสงครามทางเศรษฐกิจที่ไม่มีวันหยุดยั้งเป็นสิ่งที่รักษาเปลวไฟของการต่อสู้เอาไว้เมื่อมีช่วงพักรบทางการเมือง มันเหมือนอ่างเก็บน้ำที่สะสมพลังของชนชั้นกรรมาชีพ ที่สามารถนำมาใช้เป็นประจำเมื่อการต่อสู้ทางการเมืองฟื้นตัว และในขณะเดียวกันมันสามารถดึงกระชากการต่อสู้ประจำวันอันน่าเบื่อหน่ายในเรื่องปากท้องให้ระเบิดขึ้นเป็นการกบฎทางการเมืองได้ "
ทั้งหมดนี้ทำให้เราเข้าใจว่าการนัดหยุดงานเป็นอาวุธสำคัญและจำเป็นของสหภาพแรงงานทุกแห่ง และเราเข้าใจได้อีกว่าทำไมเผด็จการรูปแบบต่างๆ มักพยายามห้ามปรามการนัดหยุดงานเป็นสำคัญ เช่นกรณี ร.ส.ช.ในช่วงพฤษภาทมิฬ กรณีเผด็จการทหารยุคสฤษดิ์-ถนอม กรณีเผด็จการซุฮาร์โตในอินโดนีเซีย หรือกรณีเผด็จการคอมมิวนิสต์(สายสตาลิน)ในจีน เวียดนาม และลาว
การนัดหยุดงานมีหลายรูปแบบ จากการประชุมวิสามัญ การนัดหยุดงานอย่างไม่เป็นทางการ การนัดหยุดงานหนึ่งชั่วโมง การนัดหยุดงานโดยไม่มีกำหนดจุดจบจนกว่าฝ่ายตรงข้ามจะประนีประนอม หรือการนัดหยุดงานทั่วไปที่รวบรวมกรรมาชีพสาขาต่างๆ มาหยุดงานพร้อมกันทั่วประเทศ
การนัดหยุดงานใน ก.ฟ.ผ. ไม่จำเป็นต้องนำไปสู่การดับไฟทันที เพราะอาจค่อยๆ เพิ่มจำนวนพนักงานที่หยุดงานได้ อาจค่อยๆ ปิดโรงไฟฟ้าแต่ละแห่งก็ได้ เพื่อให้เวลากับฝ่ายรัฐบาลในการพิจารณาข้อเรียกร้อง พูดง่ายๆ การนัดหยุดงานเป็นทั้งการประกาศขู่ล่วงหน้าและการปฏิบัติจริงพร้อมๆ กันได้ และที่สำคัญการนัดหยุดงานต้องอาศัยการแสดงความสมานฉันท์โดยสหภาพอื่นๆ ด้วย ทั้งในเรื่องเงินทอง กำลังใจ และการหยุดงานหนุนช่วยอีกด้วย
การนัดหยุดงานเป็นอาวุธเพียงชนิดหนึ่งในการต่อสู้ระยะยาวเท่านั้น แต่การลุกขึ้นต่อสู้ระยะสั้นมีประโยชน์ในตัวมันเองเสมอ เพราะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนะ ความเชื่อ และ ความคิดของกรรมาชีพพื้นฐานท่ามกลางการต่อสู้ พูดง่ายๆ การต่อสู้เรื่องปากท้องเชื่อมโยงกับเรื่องการเมืองเสมอ และส่งผลต่อการสร้างจิตสำนึกทางชนชั้นของกรรมาชีพ ดังนั้นถ้าขบวนการแรงงานและขบวนการภาคประชาชนไทยจะเข้มแข็ง เราต้องสร้างพลังของสหภาพแรงงาน และสร้างองค์กรทางการเมืองของกรรมาชีพ(พรรค)ไปพร้อมๆ กัน
กลุ่มประชาธิปไตยแรงงาน ขอสนับสนุนการต่อสู้ของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ก.ฟ.ผ. และทุกภาคส่วนของแรงงาน พี่น้องกรรมกรที่กล้าหาญ กล้าเผชิญหน้า และกล้าท้าทายอำนาจรัฐ ควรพร้อมใจกันต้านการแปรรูปอย่างเต็มที่โดยไม่มีเงื่อนไข และขอเชิญชวนให้พี่น้องกรรมกร สหภาพแรงงาน นักเรียน นักศึกษา และองค์กรภาคประชาชนเข้าร่วมต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทุกรูปแบบอย่างที่กำลังเกิดขึ้นทุกวันนี้
กลุ่มประชาธิปไตยแรงงาน
สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I ประวัติ ม.เที่ยงคืน
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้
1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
หรือหน้าสารบัญ ซึ่งมีอยู่ 2 หน้า
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com
ภาพรวมของเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ประกอบด้วย บทความทางวิชาการ บทความแปลและเรียบเรียง บทความถอดเทป บทความจากสมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ข่าว และกระดานแสดงความคิดเห็น (สำหรับส่วนที่นักศึกษา และสมาชิกกำลังชมอยู่นี้ เป็นเว็ปเพจใหม่ ที่รวบรวมข่าวสารข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ซึ่งส่งจดหมายมาถึงกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เพื่อทราบ หากกองบรรณาธิการพิจารณาแล้วว่า จดหมายหรือข้อมูลใด เป็นประโยชน์ต่อสังคม จะนำมาเผยแพร่แพร่ต่อบนหน้านี้
ประวัติเกี่ยวกับ"หน้าสารบัญข้อมูล
จากองค์กรต่างๆ" เริ่มเปิดดำเนินการขึ้นครั้งแรก เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๔
มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๗ วัตถุประสงค์เพื่อ รวบรวมข่าวสารข้อมูล ที่มีสาระประโยชน์ต่อสังคม
และเผยแพร่ออกสู่สาธารณชนในวงกว้าง หากสนใจส่งข่าวสารข้อมูล ส่งมาได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com
ข้อมูลหน้านี้
ได้รับจากองค์กรต่างๆซึ่งมีจดหมายมาถึง
กองบรรณาธิการ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สนใจเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณชน
กรุณาส่งไปที่
midnightuniv(at)yahoo.com