ข้อมูลข่าวสารจากองค์กรต่างๆ
ลำดับที่ 361 หัวเรื่อง
สารบัญข้อมูล ส่งมาจากองค์กรต่างๆ
สมเกียรติ
ตั้งนโม
และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ร่วมพิจารณาคัดเลือก
บริการเผยแพร่
เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก
ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะแก้ปัญหาได้
บทความของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สามารถคัดลอกไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ หากนำไปใช้ประโยชน์
กรุณาแจ้งให้ทราบที่
midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com
การนำตลาดน้ำสู่ความเป็นจริง
: เศรษฐศาสตร์การเมืองเรื่องสิทธิน้ำ
ในประเทศชิลี 1976-1995
คาร์ล เจ. บาวเออร์
ยูนิเวอร์ซิตี้ออฟแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ สหรัฐอเมริกา
(บทความนี้ ยาวประมาณ 3.5 หน้ากระดาษ A4)
บทคัดย่อ
เป็นเวลา 15 ปีที่ประเทศชิลีเป็นตัวอย่างของการนำนโยบายสนับสนุนการตลาดมาใช้กับทรัพยากรน้ำ
นโยบายของประมวลกฎหมายน้ำฉบับปี 1981 ถูกยกย่องให้เป็นแบบอย่างให้หลายๆ ประเทศทำตาม
ตลาดค้าน้ำนั้นเป็นสิ่งที่มีข้อขัดแย้งอยู่ตลอดทั้งในด้านทฤษฎีและในทางปฏิบัติ ประโยชน์ที่เป็นไปได้นั้นรวมถึงการทำให้เกิดการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ขณะที่ต้องทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงและให้รัฐเข้ามาเกี่ยวข้องน้อยลง
แต่ข้อเสียก็มีอยู่คือทำให้เกิดการกีดกันทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้มูลค่าการซื้อขายไม่คงที่ และยังเป็นตัวอย่างของความล้มเหลวทางการตลาด ไม่มีประเทศใดที่ทดลองใช้นโยบายนี้มานานเท่ากับชิลี
1. บทนำ
ตลาดค้าน้ำของชิลีได้ตกเป็นข่าวใหญ่เมื่อไม่นานมานี้ว่า เป็นจุดเด่นของการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
ผู้มีอิทธิพลในชิลีและธนาคารโลกต่างพากันสรรเสริญประมวลกฎหมายน้ำที่ออกมาในปี
1981 ว่าเป็นแบบอย่างของการปฏิรูปตามแนวคิดเสรีนิยมแบบใหม่ที่ประสบความสำเร็จ
แต่สิ่งไม่ดีก็คือการที่ผู้คนมักกล่าวถึงความสำเร็จของประมวลกฎหมายน้ำฉบับนี้อย่างเกินจริง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือไม่ได้พูดถึงอย่างครบถ้วนทุกด้าน มักจะเป็นการกล่าวถึงในเชิงความเชื่อด้านการเมืองและตามหลักวิชามากกว่าจะกล่าวถึงสิ่งที่ได้มาจากการสังเกตุการณ์จริง บทเรียนที่ได้จากประสบการณ์ของชิลีก็คือการก่อตั้งตลาดทรัพยากรน้ำนั้นยากกว่าที่คาดกันเอาไว้
2. บริบททางทฤษฎี:
ควรเป็นตลาดหรือไม่
ข้อดีและข้อเสียของสิทธิน้ำในตลาดเสรีเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมากในปัจจุบัน
ในอีกด้านหนึ่งทรัพยากรน้ำก็เป็นสินค้า"สาธารณะ" ที่เกี่ยวพันกับผลประโยชน์ของคนหมู่มาก
อย่างเช่น เรื่องการเดินเรือและมลภาวะ ลักษณะของ"การผูกขาดธรรมชาติ" ด้วยเหตุผลเหล่านี้มูลค่าการซื้อขาย
จึงมักมีราคาสูงและสิทธิทรัพย์สินต้องถูกกำหนดให้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และเหลื่อมล้ำคาบเกี่ยวกัน
มากกว่าจะเป็นการผูกขาดและขายโอนได้
ภาพที่ซับซ้อนนี้ต้องมีการจัดสมดุลระหว่างข้อดีและข้อเสียอย่างระมัดระวัง ในด้านนี้เราจำเป็นต้องมีการศึกษาภาคสนามให้มากขึ้นเพื่อดูว่า ที่จริงแล้วนั้น ตลาดค้าน้ำทำงานอย่างไร
3. ประมวลกฎหมายน้ำ
1981: หลักการและจุดประสงค์
ประมวลกฎหมายน้ำฉบับปี 1981 ทำให้รัฐบาลทหารของชิลี หันเหออกจากแนวโน้มการควบคุมเศรษฐกิจที่มีการรวมศูนย์อำนาจของยุคทศวรรษ
60 และ 70 ไปสู่ด้านตรงข้ามอย่างสุดขั้ว กระนั้นก็ตามตรรกะทางการตลาดของประมวลกฎหมาย
1981 ก็มีแง่มุมที่ไม่แน่นอนบางอย่าง และได้สะท้อนการประนีประนอมที่เกิดขึ้นหลังจากการที่เกิดโต้เถียงอย่างรุนแรงมานานหลายปี
4. ปูมหลังทางกฎหมายและการเมือง:
ความคลุมเครือและความขัดแย้ง
ชิลีผ่านประมวลกฎหมายน้ำฉบับแรกออกมาในปี
1951 เป็นการออกกฎหมายทีละขั้นตอนในศตวรรษของการออกกฎหมาย นับจากที่ผ่านประมวลกฎหมายแพ่งออกมาในปี
1855 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ยืนยันความคิดที่คลุมเครือเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของน้ำ
(ซึ่งสะท้อนกฎหมายอาณานิคมสเปน)
ประมวลกฎหมายแพ่งประกาศไว้ว่าน้ำส่วนมากเป็น "ทรัพย์สินของชาติที่ใช้เพื่อการสาธารณะ" และก็ได้ปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้
5. ตลาดค้าน้ำในทางปฏิบัติ
การขายและโอนสิทธิน้ำที่แยกจากที่ดินไม่ใช่เรื่องปกติธรรมดาในประเทศชิลี แต่ขณะที่เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นเป็นประจำ
แต่มันก็เกี่ยวข้องกับผู้ใช้น้ำและการจัดสรรทรัพยากรใหม่เพียงน้อยนิดเท่านั้น
และผลก็คือตลาดขาดสภาพคล่อง แต่ในบางพื้นที่ก็เป็นข้อยกเว้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบทะเลทรายทางตอนเหนือ
(สภาพของทะเลทรายทางตอนเหนือที่กล่าวถึงนี้มีลักษณะเฉพาะที่ต้องการการศึกษาแยกต่างหาก)
กรณีที่ตรงข้ามกันคือที่จังหวัดลอสแอนดิสซึ่งตั้งอยู่ในทางตอนเหนือของที่ราบลุ่มแม่น้ำอาคอนคากัว(เขตที่ 5) ซึ่งอยู่ทางเหนือของเมืองหลวงซานติอาโก เขตนี้ร้อนและแห้งแล้งกว่าและมีการทำการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรสูงที่สุดในชิลีมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ
6. สาเหตุที่การค้าถูกจำกัด
เพราะเหตุใด การขายสิทธิน้ำแยกจากที่ดินจึงถูกจำกัดมากในประเทศชิลี คำตอบก็คือปัจจัยหลายอย่างที่คอยขัดขวางทำให้อุปสรรคมากขึ้น
และทำให้มูลค่าการซื้อขายน้ำสูงขึ้นด้วย
เรื่องทำนองเดียวกันนี้เกิดกับแทบทุกภาคของประเทศ รวมถึงข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพทางภูมิประเทศและโครงสร้างพื้นฐาน อย่างเช่น ความซับซ้อนของกฎหมายและการบริหาร ความคิดทางวัฒนธรรมและจิตใจหรืออุปนิสัย สัญญาณทางเศรษฐกิจ อย่างเช่น ราคาและมูลค่าที่ยังคงไม่ชัดเจนและในบางครั้งก็ขัดแย้งกันเอง (ยกตัวอย่างเช่น การระบุว่ามูลค่าของน้ำนั้นมีทั้งสูงและต่ำ)
อุปสรรคบางประการเหล่านี้สามารถแก้ได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงกฎหมายและนโยบายการเมือง นอกจากนี้ขณะที่รายละเอียดอื่นๆ อาจปรากฏเฉพาะแต่ในกรณีประเทศชิลีเท่านั้น แต่ปัจจัยทั่วไปอื่นๆ ที่เหมือนกันก็จะพบในประเทศอื่นๆ ด้วยเช่น
ก) สภาพภูมิประเทศและโครงสร้างพื้นฐาน
ข) ปัจจัยทางกฎหมาย และการบริหารปกครอง
ค) ทัศนะทางวัฒนธรรมและลักษณะนิสัย
ง) ราคาและมูลค่า
7. ชาวนาในชนบทกับตลาดค้าน้ำ
ชาวนาในชนบทส่วนมากต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนเรื่องปริมาณน้ำ และกรรมสิทธิในสิทธิน้ำตามกฎหมาย
โดยทั่วไปแล้ว โครงสร้างของคลองจะล้าหลังและไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ดี และยังไม่มีพลังเสียงมากพอในสมาคมคลองของท้องถิ่น
ซึ่งสมาคมเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะรับใช้ผลประโยชน์ของชาวนารายใหญ่มากกว่า
เมื่อเกิดปัญหาขัดแย้งเรื่องการใช้น้ำชาวนาไม่สามารถรักษาสิทธิหรือปกป้องผลประโยชน์ของตนได้เท่าที่ควร ชาวนาเหล่านี้ไม่มีอิทธิพลทางสังคมและไม่มีทรัพยากรที่จำเป็นในการนำทางไปสู่ความสำเร็จในระบบกฎหมายและการบริหาร และแม้แต่ตัวเองพวกเขาเองก็หลีกเลี่ยงไม่อยากเกี่ยวข้องกับเรื่องเหล่านี้
การที่เป็นเช่นนี้ทำให้การหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของคนกลุ่มนี้เป็นเรื่องยากขึ้นไปอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในทุกวันนี้ที่สิทธิน้ำได้รับความสนใจเพียงเล็กน้อย จากหน่วยงานของรัฐบาลและองค์กรเอกชนที่ทำงานด้านการพัฒนาด้านการเกษตรในพื้นที่ขนาดเล็ก
8. การปฏิรูปประมวลกฎหมายน้ำ
ในชิลีเรียกระบบนี้ว่า"ลัทธิสังคมนิยมปฏิรูป" จุดมุ่งหมายหลักคือ การเสริมสร้างประชาธิปไตย
เพิ่มเงินสนับสนุนโครงการเพื่อสังคมมากขึ้น และส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วโดยใช้กลไกตลาดและเน้นการส่งออก
จุดมุ่งหมายรองๆลงมาคือการปฏิรูปประมวลกฎหมายน้ำ 1981 ซึ่งลงความเห็นว่าส่งเสริมเรื่องการให้สิทธิเอกชนมากเกินไป
9. บทเรียนและบทสรุป
ประสบการณ์เรื่องสิทธิน้ำที่ชิลีได้รับเมื่อเร็วๆนี้ แสดงให้เห็นทั้งข้อดีและข้อด้อยของนโยบายน้ำที่เน้นการตลาด
นับเป็นเวลาถึง 15 ปีที่ประมวลกฎหมายน้ำเสนอโอกาสให้ศึกษาผลที่เกิดจากนโยบายนี้และเป็นเหตุผลว่าเพราะเหตุใดประเทศอื่นๆ
รวมทั้งองค์กรพัฒนานานาชาติจึงสนใจรูปแบบของชิลี
บทความนี้เน้นที่การซื้อขายสิทธิน้ำของเอกชนที่เกี่ยวกับการกสิกรรมเกือบทั้งหมดซึ่งเป็นสนามแข่งขันของการซื้อขายของตลาดที่ง่ายที่สุด และเป็นที่ที่เราคิดว่าจะมีสภาพคล่องมากที่สุด กระนั้นก็ตามผลที่ได้จากการศึกษาภาคสนามก็มีหลากหลายและแสดงให้เห็นว่ารูปแบบของชิลีเป็นสิ่งที่ประเทศอื่นๆ ควรจะเรียนรู้มากกว่าที่จะทำตาม
Mr.Prasittiporn
Kan-onsri [Noi]
Community University.
Assembly of the Poor. THAILAND.
99 , 3 Floor Nakorn Sawan Rd. Pomprab Bangkok 10100. THAILAND. Tel : 09-9273556
Mail : [email protected] , CC : [email protected] Web : http://www.thai.to/aop
, http://www.thai.to/munriver , http://www.thai.to/yomriver
สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I ประวัติ ม.เที่ยงคืน
e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้
1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ
Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
หรือหน้าสารบัญ ซึ่งมีอยู่ 2 หน้า
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com
ภาพรวมของเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ประกอบด้วย บทความทางวิชาการ บทความแปลและเรียบเรียง บทความถอดเทป บทความจากสมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ข่าว และกระดานแสดงความคิดเห็น (สำหรับส่วนที่นักศึกษา และสมาชิกกำลังชมอยู่นี้ เป็นเว็ปเพจใหม่ ที่รวบรวมข่าวสารข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ซึ่งส่งจดหมายมาถึงกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เพื่อทราบ หากกองบรรณาธิการพิจารณาแล้วว่า จดหมายหรือข้อมูลใด เป็นประโยชน์ต่อสังคม จะนำมาเผยแพร่แพร่ต่อบนหน้านี้
ประวัติเกี่ยวกับ"หน้าสารบัญข้อมูล
จากองค์กรต่างๆ" เริ่มเปิดดำเนินการขึ้นครั้งแรก เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๔
มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๗ วัตถุประสงค์เพื่อ รวบรวมข่าวสารข้อมูล ที่มีสาระประโยชน์ต่อสังคม
และเผยแพร่ออกสู่สาธารณชนในวงกว้าง หากสนใจส่งข่าวสารข้อมูล ส่งมาได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com
ข้อมูลหน้านี้
ได้รับจากองค์กรต่างๆซึ่งมีจดหมายมาถึง
กองบรรณาธิการ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สนใจเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณชน
กรุณาส่งไปที่
midnightuniv(at)yahoo.com