H

เว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ทางเลือกเพื่อการศึกษาสำหรับสังคมไทย :

ข้อมูลข่าวสารจากองค์กรต่างๆ
ลำดับที่ 361 หัวเรื่อง
สารบัญข้อมูล ส่งมาจากองค์กรต่างๆ
สมเกียรติ ตั้งนโม
และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ร่วมพิจารณาคัดเลือก

บริการเผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะแก้ปัญหาได้

บทความของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สามารถคัดลอกไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ หากนำไปใช้ประโยชน์ กรุณาแจ้งให้ทราบที่

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com

130347
release date
R
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆของเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
Wisdom is the ability to use your experience and knowledge to make sensible decision and judgements

องค์กรทั่วโลกสนับสนุนวันต้านสงครามสากล
20 มีนาคม 2547

รัฐบาลไทยควรเรียนรู้จากบทเรียนสเปญ!! ถึงเวลาถอนทหารไทยออกจากอิรัก ก่อนที่จะชักศึกเข้าเมืองเรา
"แนวร่วมเพื่อสันติภาพประเทศไทย" ขอแสดงความเสียใจกับพี่น้องชาวสเปญที่สูญเสียคนรักไปในเหตุการณ์การวางระเบิดเมื่อไม่นานมานี้ ประชาชนส่วนใหญ่ในสเปญคัดค้านการทำสงครามในอัฟกานิสถานและอิรักโดยสหรัฐและพันธมิตรจักรวรรดินิยมมาตลอด แต่รัฐบาลพรรคอนุรักษ์นิยมไม่ยอมฟังเสียงประชาชนเลย โศกนาฎกรรมการวางระเบิดเป็นสิ่งที่ตามมา นี่คือสาเหตุที่ชาวสเปญหันไปเลือกรัฐบาลใหม่ของพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย และนี่คือสาเหตุที่รัฐบาลใหม่ของสเปญประกาศว่าจะถอนทหารสเปญออกจากอิรักและเลิกการสนับสนุนสหรัฐ

ถึงเวลาแล้วที่ชาวไทยควรตั้งคำถามกับรัฐบาลว่า การสนับสนุนนโยบายสงครามของสหรัฐดุจทาสรับใช้ของนายกทักษิณจะมีผลในการชักศึกเข้าบ้านเราเหมือนกับที่เกิดในสเปญหรือไม่

วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม วันครบรอบหนึ่งปีแห่งการทำสงครามและการครอบครองอิรักโดยสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ภาคประชาชนสากลกำหนดเป็นวันประท้วงทั่วโลก

"ยกเลิกการยึดครองอิรักโดยสหรัฐและอังกฤษ ถอนทหารไทยจากอิรัก" 20 มีนาคม 2547 9 โมงเช้า คาราวานจาก ประตูมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ด้านคลองชลประทาน ไปยังกงสุลสหรัฐ

"แนวร่วมเพื่อสันติภาพประเทศไทย" จะร่วมกับองค์กรสากลต่างๆ ทั่วโลก ประท้วงคัดค้านการทำสงครามและการยึดครองอิรักโดยสหรัฐอเมริกาและอังกฤษในวันที่ 20 มีนาคม 2547 พร้อมกันนั้นเราเรียกร้องให้รัฐบาลไทยหยุดการสนับสนุนนโยบายจักรวรรดินิยมของสหรัฐและอังกฤษ โดยถอนทหารไทยออกจากอิรัก

สาเหตุที่สงครามและการยึดครองอิรักเป็นเรื่องผิด

- ข้อมูลที่ออกมาภายหลังการบุกอิรักพิสูจน์ให้ชาวโลกเห็นว่าในการทำสงครามกับอิรัก รัฐบาลสหรัฐและอังกฤษโกหกประชาชนตนเองและชาวโลกว่า อิรักมีอาวุธร้ายแรงเหลืออยู่ เพราะทุกวันนี้อาวุธเหล่านั้นไม่ได้ถูกค้นพบเลย

เจ้าหน้าที่ระดับสูงขององค์กรราชการลับในสหรัฐและอังกฤษถึงกับสารภาพว่า การปล่อยข้อมูลเท็จของนักการเมือง"เป็นเรื่องเหลวไหล" และถ้าอิรักเคยมีอาวุธเคมีหรืออาวุธชีวภาพ ก็เพราะรัฐบาลสหรัฐขายให้แต่แรกในยุคสงครามกับอิหร่าน นอกจากนี้มีข้อมูลออกมาจากฝ่ายรัฐบาลสหรัฐว่าจอร์ช บุชวางแผนจะบุกอิรักก่อนเหตุการณ์ 11 กันยา ซึ่งแสดงว่าการที่รัฐบาลสหรัฐโยงอิรักเข้ากับ"ขบวนการผู้ก่อนการร้าย" เป็นเรื่องเท็จเหมือนกัน สรุปแล้วข้ออ้างต่างๆ ในการบุกเข้าโจมตีอิรักเป็นเรื่องที่ผู้นำสหรัฐและอังกฤษโกหก สงครามนี้จึงขาดความชอบธรรมโดยสิ้นเชิง

- อดีตผู้นำอิรักเป็นเผด็จการป่าเถื่อนซึ่งสหรัฐเคยสนับสนุนในยุคสงครามกับอิหร่าน แต่การล้มรัฐบาลของซะดัมและการยึดครองอิรักในเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมาโดยสหรัฐและอังกฤษ ไม่ได้สร้างประชาธิปไตยแก่ชาวอิรักแต่อย่างใด ทั้งๆที่กลุ่มอิสลามชีอะห์และกลุ่มอื่นๆ เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งอย่างเร่งด่วน สหรัฐอเมริกาไม่ยอมให้มีการเลือกตั้งดังกล่าวและวางแผนจะครอบครองอิรักระยะยาว โดยโอนการบริหารประเทศวันต่อวันให้คณะกรรมการของชาวอิรักที่ยอมรับอิทธิพลของสหรัฐ และการยึดครองโดยกองทัพอเมริกาและอังกฤษ ดังนั้นแม้แต่ข้ออ้างว่าทำสงครามเพื่อสร้างประชาธิปไตยก็ฟังไม่ขึ้น

ข้ออ้างว่าทหารไทยกำลัง "ช่วยรื้อฟื้น" ประเทศอิรักไร้น้ำหนัก
ในการส่งทหารไทยไปอิรัก นายกรัฐมนตรีทักษิณอ้างตลอดว่าไปเพื่อ "ช่วยรื้อฟื้นประเทศอิรัก" แต่สถานการณ์ในอิรักในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า การครอบครองอิรักโดยกองทัพสหรัฐและพันธมิตรไม่สามารถรื้อฟื้นประเทศได้ เพราะสหรัฐอเมริกาคุมสถานการณ์ไม่ได้ สร้างสันติภาพ ความมั่นคง และความสงบไม่ได้ สาเหตุหลักก็เพราะชาวอิรักกลุ่มต่างๆ โกรธแค้นการที่ประเทศของเขาตกอยู่ภายใต้การยึดครองของต่างชาติ จึงเกิดสภาพสงครามกลางเมืองขึ้น

ในสถานการณ์แบบนี้ ตราบใดที่สหรัฐและพันธมิตรยังยึดครองอิรักอยู่ ไม่มีใครสามารถรื้อฟื้นประเทศอิรักได้ ยิ่งกว่านั้นบริษัทเอกชนต่างๆ ที่รัฐบาลสหรัฐนำเข้ามาเพื่อ "รื้อฟื้น"สาธารณูปโภค และจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติในอิรัก ล้วนแต่เป็นบริษัทที่ใกล้ชิดกับนักการเมืองในรัฐบาลสหรัฐ เช่น บริษัทแฮลิเบอร์ตัน และบริษัทเหล่านี้ไร้ประสิทธิภาพในการต่อไฟต่อน้ำให้ประชาชน และพบว่ามีการช่อโกงปัญชีอีกด้วย

คำถามที่เราต้องการถามรัฐบาลคือทำไมรัฐบาลไทยยังมุ่งหน้าส่งกำลังทหารชุดใหม่ไปที่อิรักในเมื่อไม่มีทางที่จะรื้อฟื้นประเทศได้?

ข้ออ้างอีกข้อหนึ่งของรัฐบาลไทยในการส่งทหารไทยไปอิรักคือเสนอว่าเป็น "การรักษาสันติภาพแบบที่เคยทำในตีมอร์ตะวันออก" แต่ในกรณีอิรักทหารไทยเข้าไปร่วมกับกองกำลังที่เคยก่อสงครามแต่แรก โดยที่รัฐบาลไทยถูกกดดันจากสหรัฐให้ส่งทหารไป ดังนั้นเป็นการรักษาสันติภาพโดยกองกำลังที่เป็นกลางแบบตีมอร์ตะวันออกไม่ได้

นายกรัฐมนตรีทักษิณสารภาพข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสาเหตุหลักที่ส่งทหารไทยไปอิรักเมื่อไม่นานมานี้ เมื่อแสดงความไม่พอใจที่สหรัฐวิจารณ์สภาพสิทธิมนุษยชนในไทย โดยที่นายกรัฐมนตรีแสดงความเสียใจที่สหรัฐไม่ตอบแทนการสนับสนุนที่รัฐบาลไทยให้กับสหรัฐ ในนโยบายต่างประเทศรวมถึงการครอบครองอิรัก

สรุปแล้วการส่งทหารไทยไปอิรักกระทำไปเพื่อสนับสนุนสหรัฐอเมริกา ไม่ใช่เพื่อรื้อฟื้นประเทศอิรักแต่อย่างใด และข้อเท็จจริงนี้ชาวอิรักเข้าใจดี นี่คือสาเหตุที่ทหารไทยเสียชีวิตและบาดเจ็บไปแล้ว

เมื่อไม่นานมานี้ทหารโปแลนด์ได้ยิงพลเรือนอิรักที่ไร้อาวุธตายไปหลายราย กองกำลังของโปแลนด์มีหน้าที่โดยตรงในการใช้อาวุธกับชาวอิรัก การที่ทหารไทยสังกัดอยู่ภายใต้หน่วยทหารโปแลนด์ ยิ่งแสดงให้เห็นว่าทหารไทยเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังติดอาวุธที่ครอบครองอิรักอย่างไม่ชอบธรรม ไม่ว่าเจตนาของทหารไทยจะเป็นอย่างไร รัฐบาลไทยทราบดีถึงสถานการณ์ดังกล่าว แต่ไม่มีการยอมรับความจริงกับประชาชนไทย

ในขณะที่สถานการณ์ในสามจังหวัดภาคใต้เต็มไปด้วยความรุนแรง การที่รัฐบาลไทยสนับสนุนการทำสงครามและการยึดครองอิรักอย่างไม่ชอบธรรมของสหรัฐกับอังกฤษ มีแต่จะเพิ่มความไม่พอใจในหมู่พี่น้องไทยชาวมุสลิมที่รักสันติภาพ ถ้ารัฐบาลต้องการจะลดความตึงเครียดในภาคใต้ รัฐบาลไทยควรจะทบทวนนโยบายที่สนับสนุนการกระทำของสหรัฐอเมริกา

ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลไทยจะต้องถอนทหารไทยออกจากอิรัก หยุดส่งทหารไทยไปตาย!

รัฐบาลสหรัฐอเมริกาถูกกดดันจากระแสทั่วโลก
ขณะนี้รัฐบาลสหรัฐอเมริกากำลังถูกกดดันจากกระแสของผู้รักความเป็นธรรม ทั้งภายในสหรัฐเอง ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก และจากภายในอิรัก ขบวนการภาคประชาชนโลกที่เพิ่งประชุมไปในงาน World Social Forum ที่อินเดียต้องการที่จะผลักดันให้สหรัฐลดบทบาทจักรวรรดินิยมลง เพื่อลดภัยสงครามทั่วโลก และเพื่อลดอำนาจของรัฐบาลสหรัฐในการผลักดันนโยบายเสรีนิยมต่างๆ ตาม Washington Consensus ที่กดดันให้ประเทศต่างๆ แปรรูปรัฐวิสาหกิจ นำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ เปิดประเทศให้กลุ่มทุนข้ามชาติเข้ามากอบโกย และเพิ่มบทบาทของกลไกตลาดโดยทั่วไป เพราะนโยบายเสรีนิยมดังกล่าวทำให้คนจนทั่วโลกจนลง และเพิ่มผลประโยชน์สำหรับกลุ่มทุนใหญ่แทนที่จะให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพและความต้องการของพลเมืองธรรมดา ดังนั้นการคัดค้านการยึดครองอิรักเป็นส่วนหนึ่งของการคัดค้านแนวเสรีนิยมด้วย

ขบวนการภาคประชาชนสากลเข้าใจดีว่า ความพ่ายแพ้ของสหรัฐอเมริกาในสงครามเวียดนามเมื่อสามสิบปีก่อน ซึ่งมาจากการต่อสู้ของชาวเวียดนาม การประท้วงคัดค้านสงครามทั่วโลก และการกบฏต่อสงครามโดยทหารสหรัฐเอง มีผลทำให้สหรัฐหมดกำลังใจในการใช้นโยบายก้าวร้าวในระดับสากล ดังนั้นเรามีความหวังว่าขบวนการสันติภาพในยุคปัจจุบันจะประสบผลสำเร็จเช่นเดียวกัน

วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม
09.00 พบกันที่สวนลุมพินี 10.30 เริ่มเดินไปสถานทูตสหรัฐ …ต่อไปสถานทูตอังกฤษ
จัดโดย "แนวร่วมเพื่อสันติภาพประเทศไทย"

สนับสนุนโดย: สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและตัดเย็บเสื้อผ้า กลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรี แนวร่วมนักศึกษาเพื่อสันติภาพ กลุ่มประชาธิปไตยแรงงาน กลุ่มศาสนิกชนชาวไทยเพื่อสันติภาพ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ศูนย์ประสานงานกรรมกร สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ โครงการฝึกอบรมเยาวชนเพื่อการพัฒนา ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย สมาพันธ์ประชาธิปไตย มูลนิธิวีรชนประชาธิปไตย มูลนิธิสันติภาพและวัฒนธรรม มูลนิธิสันติธร มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม กลุ่มเพื่อนประชาชน พันธมิตรสหภาพแรงงานประชาธิปไตย กลุ่มสนามเด็กเล่น ฯลฯ

องค์กรทั่วโลกที่สนับสนุนวันต้านสงครามสากล 20 มีนาคม
ดู website: www.march20th.org

All Together - Korea
Anti-War Coalition - South Africa
Asia Pacific Forum on Women, Law and Development
Asia Pacific Movement on Debt Development
Asian Peace Alliance
Asian Peace Alliance - Japan
Asian Women's Human Rights
ATTAC - Ag Globalisierung und Krieg, Germany
ATTAC - Japan

Bangladesh Krishok Federation
Bastaguerra, Italy

Campaign for Nuclear Disarmament (UK)
Campa๑a por la Desmilitarizaci๓n de las Am้ricas (CADA)
Campus Antiwar Network, US
Center for Economic Research and Social Change
Central Unica de los Trabajadores (CUT) (Brazil)
Centre for Development Studies, CIEDS Collective, India
Centro de Estudios Internacionales, Managua, Nicaragua
Chagos Refugees Group
Coalition for Nuclear Disarmament and Peace (India)
Code PINK: Women for Peace
Common Action for Peace and against the War
Condi - Iraqi National Democratic Coalition 0
Continental Campaign Against FTAA
Corp Watch (USA)

Documentation for Action Groups in Asia

Echec a la guerre-Montreal
El Foro Social de Madrid
El Taller International

Focus on the Global South
Forum Against the War (Italy)
Freedom from Debt Coalition

Gathering for Peace - Philippines
GENSUIKIN (Japan Congress Against A & H Bombs)
GENSUIKYO (Japan Council Against A & H Bombs) 0
German Peace Council
Global Exchange 0
Global Peace and Justice Coalition of Turkey
Globalize from Below - Korea
Grassroots Peace Network (National Network to End the War Against Iraq)
Greek Social Forum

Hemispheric Social Alliance

Iniciativa Mexicana Contra la Guerra. No en Nuestro Nombre
Institute for Popular Democracy
International Association of Peace Messenger Cities
International Civilian Campaign for the Protection of the Palestinian People (CCIPPP)
International South Asia Forum (INSAF)
Iraq International Occupation Watch Center
Italian Movements of the European Social Forum

JANANEETHI
Jubilee South

KALAYAAN! (Katipunan para sa Pagpapalaya ng)
Korean Confederation of Trade Unions (KCTU)
Korean Federation of Medical Groups for Health Rights
Korean Peopleนs Action Against FTA & WTO (KoPA)

LALIT, Mauritius
Le Mouvement de la Paix
Ledikasyon pu Travayer (LPT), Mauritius

Movement for Democratic Socialism (Japan)
Movimiento por la Paz, Spain (MPDL)
Movimento (dos trabalhadores rurias) Sem Terra (MST) (Brazil)

National Youth and Student Peace Coalition (USA)
NGO Federation of Nepal
Not in Our Name Project, USA
Nuclear Free Philippines Coalition

Peace Boat (Japan)
Peace Constitution League
Peace Initiative of Turkey
People's Plan Study Group (Japan)
People's Task Force for Bases Clean Up - Philippines
Polaris Institute
Promoting Enduring Peace

Red Mexicana de Accion frente al Libre Comercio

Social Movements Network
Solidarity (USA)
South Asian Network for Secularism and Democracy (SANSAD)
Stop the War Coalition - Greece
Stop the War Coalition - UK
Stop the War Initiative, Poland
Sumpay Mindanao

Tavolla della Pace
The All India Peace & Solidarity Organisation (AIPSO)
The ASR Resource Centre
The Campaign for the Accountability of American Bases (CAAB) UK
The Muslim Youth Movement of South Africa
The No War on Iraq Coordination - Turkey
The People's Peace Alliance (Pakistan)
The South Asian Women for Peace
The Swedish Peace Council

UN PONTE PER (Bridge to Baghdad) NGO - Italy
United for Peace and Justice (UFPJ) - US
US Peace Council Vimochana, Forum For Women Rights, India

Via Campesina

Workers Democracy, Thailand
World Peace Council
World Peace Now, Japan

Xarxa de Mobilitzacio Global (Barcelona)

Youth for Unity and Voluntary Action (YUVA) (India)

ZENKO (National Assembly for Peace and Democracy)

 

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

 

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)

 

H

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
หรือหน้าสารบัญ ซึ่งมีอยู่ 2 หน้า
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

เดือนมีนาคม พศ.๒๕๔๗
ข้อมูลข่าวสารทั้งหมดในหน้านี้ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รับจาก email ที่องค์กรต่างๆส่งถึง เพื่อเผยแพร่ต่อสังคมวงกว้าง

ภาพรวมของเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ประกอบด้วย บทความทางวิชาการ บทความแปลและเรียบเรียง บทความถอดเทป บทความจากสมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ข่าว และกระดานแสดงความคิดเห็น สำหรับส่วนที่นักศึกษา และสมาชิกกำลังชมอยู่นี้ เป็นเว็ปเพจใหม่ ที่รวบรวมข่าวสารข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ซึ่งส่งจดหมายมาถึงกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เพื่อทราบ หากกองบรรณาธิการพิจารณาแล้วว่า จดหมายหรือข้อมูลใด เป็นประโยชน์ต่อสังคม จะนำมาเผยแพร่แพร่ต่อบนหน้านี้

ประวัติเกี่ยวกับ"หน้าสารบัญข้อมูล จากองค์กรต่างๆ" เริ่มเปิดดำเนินการขึ้นครั้งแรก เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๗ วัตถุประสงค์เพื่อ รวบรวมข่าวสารข้อมูล ที่มีสาระประโยชน์ต่อสังคม และเผยแพร่ออกสู่สาธารณชนในวงกว้าง หากสนใจส่งข่าวสารข้อมูล ส่งมาได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com

ภาพผลงานจิตรกรรม โดยศิลปินเม็กซิกัน Alfredo Ramos Martinez
ข่าวสารข้อมูลจำนวนมาก ได้ส่งถึงกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนทุกวัน ในจำนวนนั้น มีข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งควรแก่การเผยแพร่ต่อสาธารณชน มากกว่าที่กองบรรณาธิการจะรับรู้แต่เพียงส่วนเดียว จึงได้นำมาเผยแพร่ต่อนักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่านร่วมกันพิจารณา

ข้อมูลหน้านี้ ได้รับจากองค์กรต่างๆซึ่งมีจดหมายมาถึง
กองบรรณาธิการ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สนใจเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณชน กรุณาส่งไปที่
midnightuniv(at)yahoo.com