H

เว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ทางเลือกเพื่อการศึกษาสำหรับสังคมไทย :

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ 369 หัวเรื่อง
การวิเคราะห์ภาพยนตร์ (ตอนที่ ๒)
สมเกียรติ ตั้งนโม
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน


บริการเผยแพร่ เพื่อสาธารณประโยชน์
หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาดของ font ลง จะแก้ปัญหาได้

บทความของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สามารถคัดลอกไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ หากนำไปใช้ประโยชน์ กรุณาแจ้งให้ทราบที่

midnightuniv(at)yahoo.com
midnight2545(at)yahoo.com

080447
release date
R
นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆของเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
Wisdom is the ability to use your experience and knowledge to make sensible decision and judgements

การวิเคราะห์แนวโครงสร้างนิยม
วิเคราะห์การเล่าเรื่องของภาพยนตร์
(ตอนที่ ๒)
สมเกียรติ ตั้งนโม
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความนี้ ยาวประมาณ 34 หน้ากระดาษ A4
เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ 8 เมษายน 2547

บทความชิ้นนี้มาจากหนังสือเรื่อง Media and Society
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 เขียนโดย Michael O' Shaughessy และ Jane Stadler
สำนักพิมพ์ Oxford University Press ปีที่พิมพ์ 2002
(ในส่วนของ Part 3, Chapter 10 เรื่อง Narrative Structure and Binary Oppositions หน้า 131-149)


ตำแหน่งในเชิงโครงสร้างของตัวละครต่างๆ (The Structural position of characters)
ตัวละครทั้งหลายได้รับการวางตำแหน่งในการเล่าเรื่องอย่างไร และตำแหน่งอันนี้ได้ไปช่วยสนับสนุนความหมายอย่างไร? ข้างล่างต่อไปนี้ คือคำถามที่เป็นประโยชน์ในการตั้งขึ้นมาค้นหาการเล่าเรื่อง:

1. ใคร และ/หรือ อะไร ที่ทำให้สิ่งต่างๆเกิดขึ้นในการเล่าเรื่อง?
2. ผู้คนมีบทบาทในเชิงโครงสร้างอะไร ในการเล่าเรื่อง?
3. เรามองสิ่งต่างๆจากความคิดเห็นของใคร และเสียงของใครเป็นผู้ที่เล่าถึงการกระทำ หรือมีอิทธิพลเหนือการสนทนา?
4. อะไรคือวาทกรรมที่มีอิทธิพล หรือลำดับสูงต่ำของวาทกรรม?
5. ผู้หญิงได้ถูกวางตำหน่งอย่างแตกต่างไปจากผู้ชายในการเล่าเรื่อง ใช่หรือไม่?
6. ตอนจบของเรื่องได้บอกอะไรกับคุณเกี่ยวกับอุดมคติของภาพยนตร์เรื่องนั้น?

คำตอบต่อคำถามทั้งหมดนี้ จะนำผลที่ตามมาในกรณีต่างๆของความหมายของเนื้อเรื่อง

1. ใคร และ/หรือ อะไร ทำให้สิ่งต่างๆเกิดขึ้น? การกำหนดทางสังคมและจิตวิทยา
(Who and/or what makes things happenM Social and psychological determination)
เหตุการณ์ต่างๆอาจได้รับการขับเคลื่อนไปโดยการกระทำต่างๆของพลังอำนาจที่ไม่เกี่ยวกับบุคคล อย่างเช่น พายุทอร์นาโด และเหตุการณ์แผ่นดินไหว; โดยการบีบคั้นทางสังคม อย่างเช่น ความยากจนและสงคราม; โดยมนุษย์ ไม่ว่าเป็นกลุ่ม หรือในฐานะปัจเจก

จะด้วยเหตุใดก็ตามที่ได้มากำหนดเหตุการณ์ให้เป็นไปเหล่านี้ การเล่าเรื่องหรือการดำเนินเรื่องของภาพยนตร์กระแสหลักส่วนใหญ่ มักจะโฟกัสลงไปที่มนุษย์ในฐานะที่เป็นปัจเจก และให้รายละเอียดว่า พวกเขาตอบโต้กับเหตุการณ์เหล่านี้กันอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์เรื่อง Twister, พวกเราให้ความสนใจมากสุดไปที่ตัวละครหลักต่างๆว่าจะเกี่ยวข้องกับพายุทอร์นาโดอย่างไร และอะไรจะเกิดขึ้นบ้างกับพวกเขาในสถานการณ์ดังกล่าว

ในภาพยนตร์ส่วนใหญ่ เราได้รับการกระตุ้นโดยวิธีการที่เหตุการณ์ต่างๆได้รับการถ่ายทำ และวิธีการที่เรื่องราวนั้นๆถูกนำเสนอ โดยให้เราไปยึดครองตำแหน่งอันหนึ่งซึ่งนำพาตัวเองให้ไปเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน(หรือไปสัมพันธ์)กับตัวละครหลักต่างๆ(take up a position of identification with the main characters) หรือเน้นอยู่กับพวกเขา

ยิ่งไปกว่านั้น ปกติแล้ว เราได้รับการเชื้อเชิญให้เข้าใจตัวละครเหล่านี้ในเชิงจิตวิทยา มากกว่าในเชิงสังคม: นั่นคือ เราได้รับการกระตุ้นให้ถามถึงความประพฤติหรือสิ่งดลใจในฐานะปัจเจกชน แทนที่จะดำรงอยู่กับบริบทของสังคม, การเมือง, และเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่า ซึ่งทำให้เข้าใจการดำรงอยู่ของพวกเขา เราได้ถูกให้เหตุผลในเชิงจิตวิทยา จากชีวิตความเป็นอยู่ในอดีตและปัจจุบันของพวกเขา สำหรับหนทางที่พวกเขารูสึกและปฏิบัติ

จุดสำคัญนี้ได้น้อมนำเราไปสู่คำถามเกี่ยวกับการกำหนดในเชิงสังคมและจิตวิทยา

คำถามที่เราต้องการซักถามก็คือ: "อะไรทำให้เรา, ในฐานะปัจเจกชน, กระทำในหนทางทางที่เราทำลงไป; อะไรที่มากำหนดการกระทำต่างๆของเรา?

อันที่จริง เราสามารถที่จะแยกแยะเส้นทางที่มากำหนดนี้ได้เป็นสองพื้นที่: นั่นคือ พลังอำนาจจากภายนอก(external forces) (พลังอำนาจทางสังคมที่มาบีบบังคับเรา) และพลังอำนาจจากภายใน(internal forces) (เราตอบโต้หรือขานรับกับเหตุการณ์ต่างๆในเชิงจิตวิทยาอย่างไร)

อย่างค่อนข้างชัดเจน รูปแบบทั้งสองกรณีนี้เกี่ยวกับเงื่อนไขที่เป็นมูลเหตุต่างๆที่มันถูกเชื่อมโยงเข้าหากันและกัน. ยกตัวอย่างเช่น อัตลักษณ์ในเชิงจิตวิทยาของปัจเจกชนคนหนึ่งมิได้เป็นสิ่งที่ได้รับการแต่กำเนิด. ขณะที่เรามีคุณสมบัติและความสามารถที่มีอยู่อย่างถาวรหรือติดตัวมาแตกต่างกัน สิ่งเหล่านี้ได้รับอิทธิพลโดยพลังอำนาจจากภายนอก ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเพาะเจาะจงในแต่ละบุคคลหรือปัจเจก อย่างเช่น การเลี้ยงดูที่เราได้รับมาจากพ่อแม่ และสถานที่บางแห่ง, ผู้คนบางคน, และโอกาสบางอย่าง, รวมไปถึงประสบการณ์อันหลากหลาย ซึ่งเราเผชิญหน้าหรือประสบกับมันมาตลอด ขณะที่เราเจริญเติบโตขึ้น

พลังอำนาจต่างๆทางสังคม ในฐานะมูลเหตุที่มามีส่วนกำหนดอันหนึ่ง จะนำเราย้อนกลับไปสู่การแบ่งชนชั้นทางสังคมของเรา การแบ่งเพศ และเชื้อชาติ. สถานะทางสังคมที่เราทั้งหลายถือกำเนิดขึ้นมา จะมีส่วนกำหนดโอกาสต่างๆในชีวิตของเราอย่างมากมาย: ดังนั้น เด็กชาวอะบอริจิน หรือเด็กชาวอังกฤษที่มาจากสายโลหิต West Indian, หรือชาวแอฟริกาใต้ผิวดำ ซึ่งเกิดภายในเมืองในปี 2000 จะมีสุขภาพ, การศึกษา และความเป็นไปได้ในการจ้างงานที่มีลักษณะเฉพาะบางอย่าง

ขณะที่เราทั้งหลายเติบใหญ่ เราทั้งหมดต่างตกอยู่ภายใต้พลังอำนาจทางสังคม อย่างเช่น การตกต่ำทางเศรษฐกิจ, ภาวะสงคราม, ลักษณะทางชาติพันธุ์, การทะเลาะกันต่างๆ, และบทบาทของเพศสภาพ

การเล่าเรื่องต่างๆของผู้คน มีแนวโน้มเกี่ยวกับสิทธิพิเศษบางอย่าง หรืออย่างน้อยที่สุดได้แสดงให้เห็นความสนใจในเรื่องทางจิตวิทยามากว่าเรื่องทางสังคม. อันนี้สัมพันธ์ถึงอุดมคติทั้งหมดเกี่ยวกับลัทธิปัจเจกชนนิยมที่แทรกซึมอยู่ในสังคมตะวันตก. เราสามารถเห็นถึงสิ่งนี้ที่มันทำงานอยู่ในตัวอย่างทางประวัติศาสตร์ซึ่งพวกเราได้รับการสอน. โดยจารีตแล้ว ประวัติศาสตร์ได้ถูกนำเสนอในกรณีต่างๆของบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์, ความเป็นวีรบุรุษต่างๆ ซึ่งสร้างประวัติศาสตร์ (เรื่องของกษัตริย์และพระราชินีในประวัติศาสตร์)

พวกเราต่างเรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะปัจเจก - เช่น พระราชินีอลิซาเบธ, โคลัมบัส, จอห์น ออฟ อาร์ค, Yagan (ผู้นำของชาวอะบอริจิน ในคริสตศตวรรษที่ 19 ของชนเผ่า Nyungar ในดินแดนออสเตรเลียตะวันตก), กัปตันคุก, ฮิตเลอร์, และผู้นำคนอื่นๆ - มากกว่าการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

การเล่าเรื่องของภาพยนตร์และโทรทัศน์ ก็มีความสนใจในทำนองเดียวกันเกี่ยวกับความเป็นปัจเจก อันนี้อาจเป็นเพราะว่ามันง่ายกว่าที่จะนำเสนอ และทำความเข้าใจเรื่องของปัจเจก - ยกตัวอย่างเช่น พวกเขาสามารถที่จะถูกจดจำโดยอัตลักษณ์ที่น่าสนใจซึ่งมีมาแต่กำเนิดหรือเป็นคุณสมบัติของพวกเขา - มากกว่าการนำเสนอและทำความเข้าใจพลังอำนาจทางสังคม ซึ่งมีความสลับซับซ้อนกว่าและเป็นนามธรรม

ในกรณีของภาพยนตร์ มันเป็นที่ชัดเจนมาแต่ต้นแล้วว่า ผู้ชมทั้งหลายได้ให้ความสนใจในตัวนักแสดงต่างๆในฐานะปัจเจก. อันนี้อาจไปเชื่อมโยงกับขนาดของจอภาพยนตร์ และการใช้ภาพถ่ายใกล้(close-up) ซึ่งได้ขยายใบหน้าของคนในสัดส่วนมหึมา

ความสนใจในปัจเจกได้ข้ามผ่านพื้นที่สื่อส่วนใหญ่ และอุตสาหกรรมดังกล่าวได้สร้างความมีเสน่ห์ดึงดูดใจนี้ด้วยดาราต่างๆ, ผู้กำกับ, ในฐานะที่เป็นปัจเจกอย่างกระตือรือร้น และบุคลิกลักษณะของสื่อในฐานะที่เป็นสิ่งประดิษฐ์อันหนึ่งทางด้านการตลาด. ยกตัวอย่างเช่น เรื่องราวข่าวคราวต่างๆ บ่อยครั้ง มันได้ถูกสร้างขึ้นมารายรอบปัจเจกบุคคลที่สำคัญ และการรายงานข่าวกีฬาก็โฟกัสลงไปที่ดารานักกีฬาและความเป็นส่วนตัวต่างๆ. สำหรับตัวผู้เขียนเอง บ่อยครั้ง พบว่ามันง่ายมากที่จะคิดถึงประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ ในเทอมต่างๆของบรรดาผู้กำกับที่เป็นปัจเจก มากกว่าในเทอมต่างๆของขบวนการในภาพยนตร์

การเล่าเรื่องหรือการดำเนินเรื่องภาพยนตร์ส่วนใหญ่ จะโฟกัสลงไปที่ตัวละครหลักตัวหรือสองตัวเท่านั้น มันเชื้อเชิญเราให้สนใจในตัวละครเหล่านี้ ความสนใจของเราถูกยึดครองโดยการทำให้ตัวละครดังกล่าวเป็นที่น่าสนใจ - เช่น ดึงดูดใจ, ฉลาดหลักแหลม, โหดร้าย, น่ารัก, และอื่นๆ และโดยมีดาราต่างๆ ซึ่งตัวของดาราเหล่านี้บ่อยครั้ง มีความสามารถพิเศษในการดึงดูดใจคน, เป็นคนที่มีเสน่ห์, ซึ่งจะแสดงในส่วนนี้. แต่สิ่งซึ่งสำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ แบบแผนทั่วๆไปของการเล่าเรื่องนั้นได้แสดงให้เห็นว่า ตัวละครหลักต่างๆจะดำเนินชีวิตไปตามกระบวนการเปลี่ยนแปลงของชีวิต, เติบโต, และพัฒนาการไปในลักษณะที่เป็นปัจเจก

ขนานไปกับแบบแผนการดำเนินเรื่องของสถานการณ์ที่มั่นคง - เผชิญกับอุปสรรค์ - ได้พบกับสถานการณ์ที่มั่นคงอีกครั้ง(stable situation - disruption - new stable situation), ปกติแล้ว มันจะมีแบบแผนอันหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์

ตัวละครที่สำคัญต่างๆ เดิมที จะถูกนำเสนอในการเล่าเรื่องในฐานะที่มีข้อบกพร่องอะไรบางอย่างในอัตลักษณ์ของพวกเขา หรือมีปัญหาทางด้านอารมณ์ ถัดจากนั้น ภาพยนตร์จะเตรียมสถานการณ์อันหนึ่งขึ้นมาที่จะทดสอบพวกเขา

เขาจะต้องดำเนินชีวิตไปโดยผ่านปัญหาและอุปสรรคชุดหนึ่ง และในการกระทำดังกล่าว พวกเขาจะแก้ไขอัตลักษณ์ที่เป็นข้อบกพร่องของตัวเอง - พวกเขาจะดำเนินชีวิตไปโดยผ่านกระบวนการอันหนึ่งของพัฒนาการทางศีลธรรม และเจริญงอกงามขึ้นทางด้านอัตลักษณ์ อันนี้มิได้เกิดขึ้นเสมอๆ ตัวละครบางตัวยังคงติดตายอยู่กับสถานการณ์ที่เป็นข้อบกพร่องของพวกเขา และจบลงอย่างไม่มีความสุข

ในภาพยนตร์เรื่อง Citizen Kane เป็นตัวอย่าง ไม่เคยเลยที่จะเรียนรู้จากสถานการณ์ของเขาเอง. การดำเนินเรื่องจะโฟกัสลงไปที่ความเจริญงอกงามของตัวละคร มากกว่าที่จะเพ่งความสนใจลงไปที่เรื่องของปัญหาสังคมที่กระตุ้นปลุกปั่นสิ่งนี้

ดังเช่นในภาพยนตร์เรื่อง Thelma and Louise สิ่งที่สำคัญสำหรับเราคือว่า โดยผ่านเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่างๆ พวกเธอได้ค้นพบตัวเอง: พวกเธอเป็นอิสระจากบทบาทก่อนหน้านั้นของตัวเอง และได้พบพลังอำนาจของตน, ความเข้มแข็ง, และความรู้สึกต่างๆ. ในตอนท้าย ได้ไปจบลงตรงที่กระบวนการเกี่ยวกับความเจริญเติบโตของปัจเจกนี้ ซึ่งนั่นคือจุดโฟกัสของเรื่องราว - มากยิ่งไปกว่าความรู้สึกที่ถูกกดขี่ในฐานะที่เป็นผู้หญิง ซึ่งได้ไปกระตุ้นสนับสนุน หรือถือหางเหตุการณ์ต่างๆชุดหนึ่งที่ได้ถูกสะกดรอยโดยภาพยนตร์เรื่องนี้

การเน้นในเรื่องความเจริญเติบโตของปัจเจกดังกล่าว และการแก้ไขอุปสรรค ได้ไปขับไล่ไสส่งประเด็นปัญหาทางสังคมต่างๆออกไป และนำพาให้เรื่องดังกล่าวกลายเป็นเรื่องรองๆในการดำเนินเรื่องทั้งหลายของภาพยนตร์กระแสหลัก

ดังนั้น ภาพยนตร์และโทรทัศน์จึงมีแนวโน้มที่จะให้สิทธิพิเศษในเรื่องจิตวิทยาเหนือกว่าเรื่องสังคม อันที่จริงบางครั้งพวกเขาก็ได้รวมเอาเรื่องทั้งสองเข้าไว้ด้วยกัน แต่ความสนใจของเรานั่นเอง ในฐานะผู้ดูกลับไปเพ่งความเอาใจใส่ที่เรื่องของปัจเจก ซึ่งการเล่าเรื่องไม่ได้ต้องการที่จะทำเช่นนั้น

ในความเคลื่อนไหวของภาพยนตร์แบบ Soviet Montage ในช่วงทศวรรษที่ 1920s-1930s ได้ให้ความเอาใจใส่ต่อกลุ่มต่างๆและประเด็นปัญหาทั้งหลายทางสังคม มากกว่าเรื่องของปัจเจกในฐานะวีรบุรุษ ซึ่งบรรดาสมาชิกผู้ดูทั้งหลายสามารถที่จะเชื่อมผนึกตัวของพวกเขาได้ในระดับบุคคลกับวีรบุรุษคนนั้น. บ่อยครั้ง ภาพยนตร์เหล่านี้จะใช้นักแสดงที่ไม่ได้รับการฝึกฝนเพื่อแสดงเป็นตัวละครที่ไม่สลักสำคัญอะไร ซึ่งปรากฎตัวขึ้นหรือเป็นแบบฉบับของชนชั้นทางสังคมหรือเอกลักษณ์อย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะ

ภาพยนตร์เรื่อง Thelma and Louise ได้เสนอตัวอย่างที่น่าสนใจอันหนึ่งเกี่ยวกับดุลยภาพระหว่าง ประเด็นปัญหาทางสังคมและจิตวิทยาในกรณีของเพศสภาพ. ภาพยนตร์ดังกล่าวได้ยกเอาประเด็นปัญหาทางสังคมขึ้นมา ซึ่งเป็นเรื่องที่มีนัยสำคัญสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ อย่างเช่น การข่มขืน, งานบ้านที่แสนหนักหนาสาหัสและน่าเบื่อ, การกดขี่ของผู้ชาย, และการปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมทางกฎหมายที่มีต่อผู้หญิง

ภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้วางตัวละครหลักสองตัวไว้ในโครงสร้างข้างต้น ในหนทางที่มันได้ยกเอาความรับรู้ของเราขึ้นมาเกี่ยวกับฐานะตำแหน่งของผู้หญิงในสังคมใช่ไหม? หรือว่ามันโฟกัสลงไปที่ความปรารถนา ปัญหาต่างๆ และแรงกระตุ้นอันหลากหลายของผู้หญิงสองคนในฐานะปัจเจก ซึ่งได้ดำเนินชีวิตไปโดยผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่คลุมเครือในภาพกว้างทางสังคมนี้ใช่หรือไม่?

Angela Martin (1979) ได้ตั้งคำถามต่อไปนี้ กับการศึกษาภาพยนตร์แนวเรียกร้องสิทธิสตรี คือ: "คุณกำลังมองหาภาพต่างๆของผู้หญิงจริงๆอยู่ใช่ไหม หรือ ภาพยนตร์เรื่องนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้หญิงจริงๆหรือ?" ด้วยคำถามนี้ เธอกำลังแบ่งแยกระหว่างภาพยนตร์ต่างๆ ที่แสดงให้เห็นความเข้าใจในผู้หญิง ในฐานะปัจเจกในด้านจิตวิทยา กับ ภาพยนตร์ต่างๆเกี่ยวกับเงื่อนไขทางสังคมทั่วๆไปที่ผู้หญิงต้องจำทนอยู่ ในฐานะผู้หญิง

ภาพยนตร์ทั้งสองชนิดมีความสำคัญสำหรับนักสตรีนิยม แต่อย่างหลังค่อนข้างเน้นถึงปัญหาสังคมต่างๆที่ผู้หญิงทั้งหลายต้องประสบ และปรารถนาให้สิ่งเหล่านี้เปลี่ยนแปลง ถ้าเผื่อว่า ความเป็นอยู่ของผู้หญิงจะได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น

เราคิดว่า Thelma and Louise ได้ทำทั้งสองอย่างนี้

แต่ขณะที่ภาพยนตร์ส่งสัญญานถึงประเด็นปัญหาทางสังคมที่สำคัญหลายหลากข้างต้น ตัวละครหลักสองตัวที่ดำเนินเรื่องของภาพยนตร์ก็ทำให้ความเป็นไปได้ต่างๆในเชิงวิพากษ์ที่แหลมคม กลับทื่อลง:

- การเน้นความงอกงามของตัวละครหลักทั้งสองตัวในฐานะปัจเจก กลายเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าประเด็นปัญหาเกี่ยวกับเพศสภาพที่กว้างกว่า (แม้ว่าอาจมีคนถกว่า ความเจริญงอกงามอันนี้ เป็นตัวแทนที่แสดงถึงการยกระดับจิตสำนึกในการเรียกร้องสิทธิสตรีอันหนึ่งขึ้นมา)
- ความงอกงามของ Thelma และ Louise เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เป็นตัวแทนของผู้หญิงทุกคนเกี่ยวกับอิสรภาพที่พวกเธอสามารถบรรลุถึงได้
- โดยทั่วไปแล้วเวลาที่ดูภาพยนตร์ พวกเราดูมันในฐานะที่เป็นเรื่องของความพึงพอใจต่างๆซึ่งมันได้ให้กับผู้ชม อันนี้คือภาพยนตร์ธรรมดาๆ - ดูเพื่อความเพลิดเพลิน: ยกตัวอย่างเช่น ความตื่นเต้นเร้าใจของคนดี หรือการไล่ล่าคนชั่ว. มันเป็นไปได้ที่จะชมภาพยนตร์อย่างบริสุทธิ์เพื่อความตื่นเต้นของการดำเนินเรื่อง โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาต่างๆของสังคมเลย

ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่เราต้องการนำเสนอก็คือว่า ถ้าหากว่าคุณเน้นในเรื่องมูลเหตุและปัญหาต่างๆทางสังคมในการดำเนินเรื่อง ลำดับต่อมา คำตอบของการดำเนินเรื่องต่อสิ่งเหล่านี้ จะอยู่ในกรณีที่เกี่ยวกับประเด็นปัญหาและบริบทต่างๆของสังคม; แต่ถ้าเผื่อว่าคุณไปเน้นที่มูลเหตุและปัญหาต่างๆทางจิตวิทยา เรื่องราวที่ตามมาเกี่ยวกับคำตอบของการดำเนินเรื่องก็จะเป็นไปในตัวคุณสมบัติต่างๆที่เป็นปัจเจกของผู้คน และปัญหาหลายหลากทางสังคมจะกลายเป็นเพียงเบื้องหลังอันหนึ่งของปัญหาทั้งหลายทางจิตวิทยาเท่านั้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อันนี้เป็นสิ่งที่มีนัยสำคัญในความสัมพันธ์กับเรื่องที่ว่า เราได้รับการเชื้อเชิญให้ไปเข้าใจข้อมูลต่างๆที่แสดงถึงอาชญากรรมและอาชญากร ถ้าการดำเนินเรื่องได้นำเสนออาชญากรต่างๆในฐานะที่เป็นผลผลิตโดยการบีบคั้นทางสังคม และถ้าหากว่าการเล่าเรื่องโฟกัสลงไปที่พลังอำนาจเหล่านี้มาแต่ต้น ต่อจากนั้น ตรรกะของเรื่องราวก็จะนำพาให้พวกเราต้องเปลี่ยนแปลงสังคม เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรม

แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเผื่อว่าอาชญากรรมต่างๆได้ถูกกระทำโดยปัจเจกบุคคลซึ่งมีความผิดปกติทางจิตวิทยา เรื่องก็จะกลายเป็นว่า เขาคนนั้นจะต้องเปลี่ยนแปลงอุปนิสัยต่างๆของตัวเอง ลำดับต่อมา ทางออกหรือการแก้ปัญหานี้จะได้รับการนำเสนอ โดยการดำเนินเรื่องที่เราจะต้องปรับเปลี่ยนตัวบุคคลต่างๆ

อีกครั้งที่ประเด็นปัญหาทั้งหลายทางสังคมได้ถอยห่างเข้าไปสู่เบื้องหลัง ในขณะที่ประเด็นปัญหาส่วนตัวของปัจเจกได้ถูกนำมาอยู่ข้างหน้าหรือให้ความสำคัญ

ลองถามตัวเราเองว่า ปกติแล้ว อาชญากรรมได้ถูกนำเสนอในการดำเนินเรื่องบนจอภาพยนตร์และโทรทัศน์กันอย่างไร มันได้รับการพรรณาในเทอมต่างๆทางสังคมหรือทางจิตวิทยา อันนี้ให้เราลองสำรวจ ยกตัวอย่างเช่น คิดถึงตัวละครต่างๆที่แสดงเป็นคนร้ายหรือตัวอาชญากรในภาพยนตร์ อย่างเช่น Chopper, Face/off, Hannibal, Lock, และ Stock and Two Smoking Barrels.

2. อะไรคือบทบาทต่างๆในเชิงโครงสร้างที่ผู้คนมี ในการเล่าเรื่อง?
(What structural roles do people have in the narrative?)
หนทางที่ตัวละครต่างๆได้รับการวางตำแหน่งในการดำเนินเรื่องของภาพยนตร์ ได้บอกอะไรบางอย่างกับเราเกี่ยวกับว่า เราได้ถูกคาดหวังให้เข้าใจตัวละครเหล่านั้นอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น

ลองพิจารณาภาพยนตร์และละครโทรทัศน์กระแสหลักจำนวนมากว่า ได้วาดภาพตัวละครซึ่งไม่ใช่คนผิวขาวให้อยู่ในบทบาทที่เป็นรองอยู่เสมอมากน้อยแค่ไหน หรือเวลาคัดเลือกนักแสดงในบทบาทต่างๆ คนที่พูดภาษาอังกฤษสำเนียงแปล่งๆจะได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวร้าย หรืออาชญากรที่ชั่วช้า มากกว่าที่จะวางคนเหล่านี้ในตำแหน่งที่มีพลังอำนาจในเชิงบวกมากน้อยเพียงใด

ในช่วงหลังของบทความชิ้นนี้ เราจะมาพูดกันถึงบทบาทต่างๆในเชิงโครงสร้างในแบบที่แตกต่าง ซึ่งกำหนดให้กับผู้หญิงและผู้ชายในการดำเนินเรื่อง ยกตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์จำนวนมากได้เชิญชวนเราให้สนใจในบทบาทของพระเอก ในฐานะที่เป็นผู้ค้นหาความรู้ โดยจัดหาข้อมูลให้กับเราเกี่ยวกับว่า พระเอกในเรื่องคิดอะไรและรู้สึกอย่างไร: พวกเราถูกเชื้อเชิญให้สำนึกเป็นอย่างเดียวกับตัวพระเอก

ในทางตรงข้าม บ่อยครั้ง เราได้ถูกเชิญชวนที่จะมองตัวละครหญิงต่างๆโดยไม่รู้จักบุคลิกภาพส่วนตัวของพวกเธอ พวกเธอมีแนวโน้มที่จะเป็นวัตถุของความพึงพอใจทางสายตา บทบาทในเชิงโครงสร้างของพวกเธอ อาจเพียงแค่ร้องเพลงหรือแก้ผ้าอยู่เป็นประจำ: บรรดาผู้ชมทั้งหลาย ปกติแล้วจะถูกกระตุ้นให้จ้องมองพวกเธอ

ในทำนองเดียวกัน นักแสดงผู้ชาย บ่อยทีเดียวได้รับการวางตัวในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของภาพยนตร์ ขณะที่นักแสดงฝ่ายหญิงได้รับการวางตำแหน่งให้มาทำหน้าที่เสริม อย่างเช่น การเป็นภรรยา หรือแสดงเป็นแม่ หรือคนรัก ซึ่งอยู่ในฐานะที่เป็นรอง ในหนทางนี้ผู้หญิงจึงได้รับการวางโครงสร้างในฐานะตัวละครที่คอยสนับสนุน หรืออวัยวะประกอบที่อยู่ในบังคับบัญชาของผู้ชาย

นอกจากนี้ ในบทความเดียวกัน เราจะสำรวจถึงวิธีการที่นักแสดงต่างๆได้รับการวางตำแหน่งในตอนจบของเรื่องอย่างไรในเชิงโครงสร้างด้วย การวางตำแหน่งอันนี้ ยังกระตุ้นเราให้เข้าใจตัวละครในหนทางที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษบางอย่าง

การวิเคราะห์ตำแหน่งในเชิงโครงสร้างของตัวละคร เรียกร้องเราให้ไม่ต้องคิดมากเกี่ยวกับสิ่งที่ตัวนักแสดงทั้งหลายทำ เท่ากับตำแหน่งของพวกตัวละครในการดำเนินเรื่อง ประเด็นต่างๆเหล่านี้คือแกนกลางในการทำความเข้าใจภาพยนตร์เรื่อง Thelma and Louise ซึ่งโดยผ่านการพลิกผันเกี่ยวกับบทบาทในเชิงโครงสร้าง ได้นำเสนอให้ผู้หญิงอยู่ในบทบาทต่างๆที่เป็นแบบฉบับของผู้ชาย

3. เรากำลังดูสิ่งต่างๆจากแง่คิดหรือความคิดเห็นของใคร?
(Whose point of view do we see things from?)

"แง่คิด"หรือ"ความคิดเห็น"ถือเป็นศัพท์ที่สำคัญคำหนึ่งในด้านภาพยนตร์ ซึ่งได้ตั้งคำถามต่างๆเกี่ยวกับว่า บรรดาผู้ชมทั้งหลายได้ถูกวางตำแหน่งเอาไว้ที่ตรงไหน ในความสัมพันธ์กับตัวนักแสดงต่างๆบนจอและในโลกของการดำเนินเรื่อง และยังเกี่ยวกับข้อมูลดังกล่าวที่ได้พูดกับผู้ชมของมันอย่างไร

อันนี้เป็นการเน้นถึงวิธีการที่เราทั้งหลายได้ถูกเชื้อเชิญให้มองดูเหตุการณ์ต่างๆ บ่อยครั้ง ภาพยนตร์ทั้งหลายจะกระตุ้นให้เกิดการเชื่อมผนึกหรือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับตัวละครตัวหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผ่านการสร้างบุรุษที่หนึ่งขึ้นมา โดยการเล่าเรื่องด้วยเสียงบรรยาย, หรือโดยฉากที่เป็นการเสนอแง่คิด ซึ่งกระตุ้นให้พวกเราทั้งหลายมองดูสิ่งต่างๆมาจากมุมมองหรือทัศนียภาพของตัวละครตัวนั้น

ภาพถ่ายใกล้หรือที่เรียกว่า Close-up ต่างๆ ถือเป็นอีกเทคนิคหนึ่งซึ่ง โดยแท้จริงแล้ว นำพาเราไปสู่ความใกล้ชิดแนบสนิทกับตัวละครต่างๆบนจอ และสามารถที่จะเชิญชวนให้เกิดความรู้สึกของการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน. (หมายเหตุ: มันน้อยมากเพียงใดสำหรับตัวนักแสดงรองๆ ที่จะได้รับการถ่ายทำในลักษณะภาพใกล้ หรือภาพ close-up และมันน้อยมากเพียงใดที่กล้อง จะวางผู้ชมลงในตำแหน่งเดียวกับเสียงและภาพของตัวละครรอง หรือความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับตัวละครเหล่านี้) ในวิธีการข้างต้น เราอาจได้รับการเชื้อเชิญให้รู้สึกสงสาร เห็นอกเห็นใจในตัวละครต่างๆ แม้ว่าพวกเขาจะเป็นฆาตกรหรืออาชญากรก็ตาม

เรื่อง Psycho เป็นภาพยนตร์เรื่องหนึ่งซึ่งได้ใช้เทคนิคบางอย่าง เพื่อกระตุ้นบรรดาผู้ชมทั้งหลายให้สงสารและเห็นอกเห็นใจในตัวละครที่แสดงเป็น Marion Crane ซึ่งเป็นผู้ขโมยเงิน 40,000 เหรียญไป และการมองดูเหตุการณ์ต่างๆจากแง่คิดของเธอ การฆาตกรรมของเธอในภาพยนตร์ได้ทำให้ผู้ชมทั้งหลายรู้สึกช็อค เพราะความรู้สึกที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างเข้มแข็ง ได้รับการสร้างขึ้นมาร่วมกันกับเธอนั่นเอง แต่การดำเนินเรื่องต่อมาของภาพยนตร์ได้สร้างความรู้สึกสงสาร เห็นอกเห็นใจต่อการเป็นฆาตกรของเธอ โดยการแสดงให้เห็นเหตุการณ์ต่างๆมากมายซึ่งมองมาจากแง่คิดของเธอ

ในเรื่อง Thelma and Louise พวกเราได้รับการเชิญชวนให้รู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับตัวละครหญิงสองตัวอย่างต่อเนื่อง และมองดูสิ่งต่างๆจากมุมมองของพวกเธอ. เรื่องราวที่แตกต่างไปเลยทีเดียวจะเกิดขึ้น ถ้าเผื่อว่าภาพยนตร์ได้รับการเล่าผ่าน ยกตัวอย่างเช่น จากมุมมองหรือแง่คิดของตำรวจ หรือจากความคิดของสามีของ Thelma

การเล่าเรื่องหรือการดำเนินเรื่องส่วนใหญ่ เชื้อเชิญบรรดาผู้ชมทั้งหลายให้รู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับตัวละครต่างๆ และยังถูกทำให้เชื่อมโยงและเกี่ยวพันกับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในเชิงอารมณ์ความรู้สึก. การเชื่อมโยงทางด้านอารมณ์ความรู้สึกเกิดขึ้นเพราะว่า ผู้ชมทั้งหลายได้ถูกกระตุ้นให้รู้สึกสนุกสนาน และใกล้ชิดกับเหตุการณ์ต่างๆที่น่าตื่นเต้น

ในภาพยนตร์ เราเกือบจะรู้สึกคล้ายคลึงกับการนั่งรถไฟเหาะตีลังกาเมื่อได้ดูภาพดังกล่าว, หรือตื่นเต้นราวกับนั่งเครื่องบิน, หรือเป็นส่วนหนึ่งของการปล้นธนาคาร, การร่วมรัก, หรืออยู่ในสถานการณ์ขณะเครื่องบินตก, หรือในรถยนต์ที่ชนกัน, และอื่นๆ. ประสบการณ์เทียมที่เสมือนจริงนี้เป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับการทำงานของกล้อง การเลือกตัดต่อและลำดับภาพ รวมทั้งเทคนิคเสียงประกอบ ทั้งหมดเหล่านี้ได้ดูดดึงเราเข้าไปสู่การกระทำ, ทำให้เรารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ต่างๆที่กำลังได้รับการพรรณาถึง

การกระตุ้นความรู้สึกเกี่ยวกับประสบการณ์การเห็นนี้ มีพื้นฐานอยู่บนการตอบสนองทางด้านอารมณ์ความรู้สึกและความคิดในเชิงเหตุผล และอารมณ์ความรู้สึกที่ได้มาจากประสบการณ์ที่ตาเห็น บ่อยครั้ง มันให้ความรู้สึกเร้าใจมากกว่าการประเมินหรือตีความโดยผ่านการใช้สติปัญญาเกี่ยวกับประเด็นปัญหาและเหตุการณ์ต่างๆในลักษณะเดียวกัน

แต่อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่จะเสนอเหตุการณ์ต่างๆในวิธีการที่แตกต่าง การดำเนินเรื่องในภาพยนตร์บางเรื่องเชิญชวนในลักษณะที่ทำให้ผู้ดูรู้สึกถอยห่าง(detachment) มากกว่าที่จะมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับตัวละคร(identification) เพื่อที่จะทำให้การถอยห่างเป็นไปได้ง่ายขึ้น ภาพยนตร์เหล่านี้จะใช้ภาพแบบถ่ายไกล(long shots)(เพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมมีระยะห่างจากการแสดง) และใช้การตัดต่อภาพที่ช้าลง(ในขณะที่การตัดต่อภาพอย่างรวดเร็ว ทำให้เราต้องติดตามอย่างกระชั้นชิด)

นอกจากนี้ ภาพยนตร์พวกนี้ยังหลีกเลี่ยงการนำเสนอเหตุการณ์ต่างๆจากแง่มุมของตัวละครใดตัวละครหนึ่งโดยเฉพาะด้วย เทคนิคเหล่านี้ทั้งหมดได้รับการออกแบบขึ้นมา เพื่อสนับสนุนให้ผู้ชมทั้งหลายถอนตัวและใช้วิจารณญานในการดูของพวกเขา และทำให้คนดูตระหนักถึงการสร้างภาพยนตร์ในตัวของมันเอง ซึ่งไม่เหมือนกับเทคนิคต่างๆของภาพยนตร์ฮอล์ลีวูดในแบบจารีต ที่พยายามทำให้ผู้ชมเชื่อมั่นเกี่ยวกับความเป็นจริงของเรื่องราว

ขณะที่โดยธรรมเนียมแล้ว วิธีการของภาพยนตร์อันนี้อาจทำให้ผู้ชมรู้สึกตื่นเต้นน้อยลง ในด้านที่ว่า อารมณ์ความรู้สึกต่างๆไม่ถูกเชื่อมโยงหรือผูกมัดโดยตรงเท่าใดนัก แต่ก็เป็นประโยชน์หรือได้เปรียบในแง่ที่ว่า มันได้กระตุ้นให้เกิดความคิดในเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับสิ่งซึ่งกำลังได้รับการพรรณาถึงหรือวาดภาพออกมา

คุณสามารถที่จะพบตัวอย่างต่างๆที่ดีๆเกี่ยวกับสไตล์ที่ทำให้ผู้ดูรู้สึกถอนตัว(detached style) ในการชมภาพยนตร์หลายๆเรื่องของ Peter Greenaway หรือในการชมภาพยนตร์สารคดีหลายหลากของ Peter Watkins. ในส่วนตัวคุณ คุณคิดถึงตัวอย่างภาพยนตร์อื่นๆในแนวนี้อีกได้บ้างไหม?

ชนิดต่างๆของการวางตำแหน่งเชิงโครงสร้างเหล่านี้ เป็นสิ่งซึ่งสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างการตอบสนองของเราต่อการดำเนินเรื่องต่างๆ และมันยังสำคัญต่อการตระหนักรู้เกี่ยวกับกระบวนการเกี่ยวกับการสร้างอันนี้ ซึ่งในความจริง มันคือกระบวนการเกี่ยวกับการจัดการหรือการควบคุมอย่างชำนิชำนาญอันหนึ่งของการตอบโต้หรือขานรับของผู้ชมนั่นเอง

4. อะไรคือวาทกรรมหลัก หรือลำดับชั้นสูงต่ำของคำอธิบาย?
(What is the dominant discourse or the hierarchy of discourse?)
เพื่อพัฒนาไอเดียความคิด เกี่ยวกับการวางตำแหน่งในเชิงโครงสร้างของตัวละครต่างๆในการดำเนินเรื่อง ซึ่งได้มามีส่วนในการช่วยสื่อความหมาย ขอให้เรามาพิจารณากันถึงศัพท์คำว่า"วาทกรรมหลัก"(dominant discourse) และคำว่า"ลำดับชั้นสูงต่ำของคำอธิบาย"(hierarchy of discourse) ดังที่ถูกใช้โดย Colin MacCabe(1974)

สำหรับคำว่า"วาทกรรม"ได้ถูกพูดถึงในรายละเอียดมากมาย นิยามความหมายซึ่งง่ายที่สุด ได้ให้ความหมายมันในฐานะที่เป็น "เสียงหนึ่ง" หรือ "ฐานะตำแหน่งของคำพูด"(a voice or speaking position). ในการดำเนินเรื่องของภาพยนตร์ / โทรทัศน์ พวกเราถูกนำเสนอด้วยเสียงที่แตกต่างกันจำนวนหนึ่ง ซึ่งได้อธิบายหรือแสดงความคิดเห็นต่อสถานการณ์อันนั้น

ที่ชัดเจนที่สุดคือ สุ้มเสียงต่างๆของตัวละครทั้งหลาย ดังเช่นในภาพยนตร์เรื่อง Thelma and Louise เรามีเสียงต่างๆของ Thelma, Louise, สามีของ Thelma, เพื่อนชายของ Louise, ชายที่ถูกฆาตกรรม, นักสืบ, JD, นักขี่จักรยานแอฟโฟร-อเมริกัน, และอื่นๆ. ในความเป็นตัวเองของพวกเขา ตัวละครแต่ละตัวต่างมีมุมมองและความเข้าใจโลกในหนทางที่แตกต่างกันเลยทีเดียว

ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวยอมให้สุ้มเสียงเหล่านี้มาอยู่ร่วมกัน. MacCabe ให้เหตุผลว่า การดำเนินเรื่องจะทำการรวบรวมสุ้มเสียงทั้งหมดนี้สู่ลำดับชั้นสูงต่ำที่มีลักษณะเฉพาะอันหนึ่ง เช่น สุ้มเสียงหนึ่งมีความสำคัญมากกว่า, กล่าวคือมีความจริงยิ่งกว่าอีกสุ้มเสียงหนึ่ง เป็นต้น. อันนี้ได้อธิบายว่า เราทั้งหลายรู้ได้อย่างไรว่า ทัศนะทางเพศและที่มีต่อผู้หญิงซึ่งยึดถือโดย Harlan ชายที่พยายามจะข่มขืน Thelma เป็นสิ่งซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับ ในขณะที่ทัศนะดังกล่าวของ Louise เป็นสิ่งที่ถูกต้อง สุ้มเสียงของเธอหรือฐานะตำแหน่งคำพูดของเธอ มีสิทธิพเศษเหนือกว่าเขา

ในการดูภาพยนตร์ หน้าที่ของเราในฐานะผู้วิเคราะห์ จะต้องวิเคราะห์ออกมาให้ได้ว่า สุ้มเสียงของใคร คำอธิบายของคนไหนที่ภาพยนตร์คิดว่าถูกต้อง: เราต้องตัดสินลำดับชั้นสูงต่ำของสุ้มเสียงอันหลากหลายนั้น

รายการสนทนาทางทีวีของออสเตรเลียรายการหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมในเวลากลางวัน ชื่อว่ารายการ Beauty and the Beast ได้แสดงให้เห็นถึงลำดับชั้นสูงต่ำของคำอธิบายได้เป็นอย่างดี มันทำให้การยึดถือความคิดเห็นของตนหรือความเชื่อมั่นอันหนึ่งเด่นขึ้นมา, นั่นคือ ความคิดเห็นของคนแก่คนหนึ่งซึ่งมีท่าทีเด็ดเดี่ยว(the Beast) ซึ่งนั่งอยู่ตรงกลางระหว่างผู้พูดทั้งหลายที่เป็นผู้หญิง (the Beauties)

หัวข้อสนทนาได้ไล่เรียงตามลำดับ ตั้งแต่ประเด็นปัญหาต่างๆทางการเมือง อย่างเช่น การกดขี่ทางเพศภายใต้การปกครองของรัฐบาลตาเลบัน ไปจนระทั่งถึงว่า คุณจะทำอย่างไร ถ้าแฟนหนุ่มของคุณทำตัวออกนอกลู่นอกทางหรือไปจีบผู้หญิงอื่น

ขณะที่ผู้ร่วมรายการคนอื่นๆได้รับสิทธิในการพูดถึงประเด็นปัญหาเหล่านั้นไปตามรูปแบบของรายการ คนแก่(the Beast)กลับมีเวลาออกจอส่วนใหญ่และได้พูดมากกว่าคนอื่น และเขาเป็นคนที่ควบคุมการสนทนา ขัดจังหวะผู้พูดคนอื่นๆได้อย่างอิสระ พูดเกินกว่าคนอื่นๆ และเรียกให้มีการหยุดพักโฆษณา; ด้วยเหตุนี้ คำพูดหรือคำอธิบายของคนแก่(the Beast)จึงเป็นประธาน(dominant discourse); ส่วนคำอธิบายของบรรดาผู้หญิงที่ร่วมอยู่ในรายการ(the Beauty)เป็นเพียงแค่รองประธาน(subordinate)

หมายเหตุ: ในภาพยนตร์เรื่อง Thelma and Louise นี้ ตัวละครหรือบทสนทนารอง ทำไมจึงสามารถมีความสำคัญในการชี้นำเราได้ และโดยเฉพาะมันทำให้เราคิดถึงผู้คนและเหตุการณ์ต่างๆอย่างไร: ในฉากของการฆาตกรรม มีพนักงานที่เป็นสาวเสริฟคนหนึ่งซึ่งปรากฎตัวเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ เธอรู้เห็นเหตุการณ์ที่ชายคนนั้นที่ชื่อ Harlan ได้ถูกฆาตกรรม; เธอรู้จักกับนักสืบ และเธอได้เห็น Thelma และ Louise. ยิ่งไปกว่านั้น เธอเป็นสาวผมบลอนด์ เป็นที่ดึงดูดใจ ตลกขบขัน เป็นตัวละครหญิง(ซึ่งทำงานอย่างเดียวกันกับ Louise). ลักษณะอุปนิสัยเหล่านี้ เป็นคุณสมบัติประจำตัวของเธอซึ่งทำให้เธอเป็นพนักงานหญิงที่น่าเชื่อถือ และมีศักยภาพที่น่าไว้วางใจ

เธอได้กล่าวกับนักสืบนั้นว่า "พวกเธอ[Thelma และ Louise]ไม่ใช่ฆาตกร". ถึงแม้ว่าเราจะเห็น Louise ยิง Harlan ก็ตาม เรารู้ว่ามันมีข้อน่าสงสัยอันหนึ่งเกี่ยวกับพวกเธอว่า ควรถูกสอบสวนหรือพิสูจน์สำหรับการฆาตกรรมนี้ คำพูดของพนักงานหญิงยืนยันถึงความบริสุทธิ์ของพวกเธอ. เธอเข้าข้าง Thelma และ Louise

ในการดำเนินเรื่องต่อมาของภาพยนตร์ สุ้มเสียงอีกอันหนึ่งได้ไปคล้องจองกับคำพูดของ Thelma และ Louise. Thelma และ Louise ได้ล็อคตำรวจผิวขาวคนหนึ่งเอาไว้ในตัวรถของเขาท่ามกลางทะเลทราย. นักขี่จักรยานแอฟโฟร-อเมริกันคนหนึ่งผ่านมา และได้ยินเสียงของตำรวจร้องให้ช่วย เขาได้พ่นควันกัญชาให้กับตำรวจ แต่ไม่ได้ปล่อยตำรวจคนนั้นออกมา. ตัวละครตัวนี้อยู่บนจอไม่เกินไปกว่าหนึ่งนาที และไม่ได้พูดอะไรทั้งสิ้น

ภาพของแอฟโฟร-อเมริกันนี้ ประกอบกับการปรากฏตัวของตัวละคร, การกระทำของเขา, และซาวด์แทรคดนตรี (ซึ่งดังมาจากเพลงเร็กเก้ I Can See Clearly Now ของ Jimmy Cliff). ช่วงตอนที่แสดงความขบขันดังกล่าว ได้นำเสนอภาพของแอฟโฟร-อเมริกันในภาพยนตร์เพียงเท่านี้ ในขณะที่เกือบทั้งหมดของภาพยนตร์ได้ไปโฟกัสที่อเมริกันผิวขาวมากกว่าคนอื่นๆ

ความรักสงบสันติ การปฏิเสธที่จะช่วยเหลือตำรวจออกมา; การยกย่องเพลงของแอฟโฟร-อเมริกัน อย่าง sun-shiny day; และการยึดถือความสนุกสนาน, การหักกฎหรือละเมิดกฎหมายในเรื่องเกี่ยวกับการสูบกัญชาโดยคนที่คล้ายกับ Thelma และ Louise, การโลดแล่นบนท้องถนน, ได้หลอมรวมความเป็นพันธมิตรอันหนึ่งเข้าด้วยกัน ระหว่างนักปั่นจักรยานและ Thelma และ Louise

ความเป็นพันธมิตรกันนี้ที่เห็นได้ ซึ่งได้เชื่อมโยงภาพทั้งสองเข้าด้วยกัน คือ การกดขี่ที่มีต่อแอฟโฟร-อเมริกัน และการกดขี่ที่มีต่อผู้หญิงผิวขาว ด้วยเหตุนี้ในอีกฉากหนึ่งที่ปรากฏขึ้นมา ภาพของ Thelma และ Louise การดิ้นรนต่อสู้ของพวกเธอ ได้ถูกทำให้กว้างมากขึ้นไปครอบคลุมภาพของกลุ่มที่ไม่พอใจทางสังคมอื่นๆ

การใช้ภาพของนักปั่นจักรยานเป็นสิ่งที่น่าสนใจ; มันมีความหมายแฝงถึงความรับรู้อันหนึ่งเกี่ยวกับนิเวศวิทยา, ความรักสงบสันติ, วัฒนธรรมรองที่ต่อต้านสังคมเมือง, ซึ่งอาจจะเชิญชวนผู้ชมทั้งหลายให้เห็นอกเห็นใจที่จะห่วงใยเกี่ยวกับวัฒนธรรมรองนี้ เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับนักขี่จัรยาน และด้วยเหตุดังนั้น มันได้ยืดขยายความรู้สึกดังกล่าวไปถึง Thelma และ Louise ด้วย

MacCabe เสนอว่า นอกจากการสื่อของตัวละครต่างๆแล้ว เราจะต้องให้ความสนใจต่อการสื่อของภาษาภาพยนตร์ด้วย. อันนี้เขาหมายความว่า สิ่งต่างๆที่ประกอบอยู่ในการสื่อของภาพยนตร์ เช่น สไตล์ของมุมกล้อง, การจัดแสง, การตัดต่อภาพ, และอื่นๆ, สิ่งเหล่านี้จะเชื้อเชิญเราให้มองดูสิ่งต่างๆในหนทางที่เฉพาะเจาะจง, ตัวอย่างเช่น:

- กล้องได้แสดงให้เห็นว่า JD เป็นคนเซ็กซี่ โดยการที่กล้องได้กรอบไปที่ภาพเรือนร่างของเขา. นอกจากนี้ยังเนื่องมาจากการจัดแสงด้วย ซึ่งเชื้อเชิญผู้ชมทั้งหลายให้มองดูเขาในฐานะที่เป็นคนที่ดึงดูดใจ. (เขามีความคล้ายคลึงกับ James Dean เมื่อแรกพบและปรากฏตัว ซึ่งสร้างให้เขาเป็นที่น่าปรารถนา)

- นักสืบ ซึ่งแสดงโดย Harvey Keitel ได้ถูกวาดภาพให้เป็นผู้ปองร้ายอย่างมีศักยภาพ โดยการที่ภาพของเขาได้รับการถ่ายทำในมุมมืดและเต็มไปด้วยเงาสลัว

ร่วมกันกับการสื่อของภาพยนตร์ ซึ่งเป็นการสื่อผ่านภาพ, Thelma และ Louise ยังสื่อสารผ่านเสียงด้วย มันเป็นมิติของการได้ยิน(aural dimension of discourse). บทสนทนา, เสียงดนตรี, และซาวด์เอฟเฟคหรือเสียงประกอบ ได้มาทำให้วิธีการคิดและรู้สึกซึ่งมีลักษณะเฉพาะ ชัดเจนและมีความหมายเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ และตัวละครทั้งหลายในภาพยนตร์

วาทกรรมและการสื่อสารอื่นๆนอกจอภาพยนตร์(outside the film) สามารถมามีอิทธิพลต่อการอ่านของเราได้ด้วย. ขอให้ลองพิจารณาถึงการสื่อสารของบุคคลที่มีชื่อเสียงรอบๆ และค่านิยมต่างๆ รวมไปถึงทัศนคติหรือข้อคิดเห็นเกี่ยวกับดาราที่ส่งผลมาถึงภาพยนตร์

ไอเดียเกี่ยวกับ"ภาพลักษณ์ของดารา" หรือ "แนวโน้มของการตีความ" ซึ่งสัมพันธ์กับวิธีการต่างๆซึ่งความรู้ของผู้ชมเกี่ยวกับบทบาทอื่นๆที่แสดงโดยดาราคนหนึ่ง และการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทั้งหลายที่มีอยู่รายรอบคนมีชื่อเสียง สามารถมีอิทธิพลต่อการตีความต่างๆเกี่ยวกับการดำเนินเรื่องของภาพยนตร์ได้

บทบาทของนักสืบซึ่งแสดงโดย Harvey Keitel เป็นสิ่งที่น่าสนใจในการพิจารณานี้. นักสืบได้ตามรอย Thelma และ Louise ไป และเขาเป็นคนสำคัญในการนำ FBI ไปถึงตัวพวกเธอ. แรงกระตุ้นของเขาไม่ชัดเจนตรงไปตรงมา: เขาดูเหมือนกำลังนำเสนอมิตรภาพแก่ Thelma และ Louise แต่เราไม่รู้ว่า อันนี้เป็นเรื่องจริงที่ไม่ได้เสแสร้ง หรือมันเป็นเพียงแผนการอันหนึ่งที่จะจับกุมพวกเธอกันแน่

ในเทอมต่างๆเกี่ยวกับการสื่อที่อยู่รายรอบนักแสดงหรือดารา สิ่งซึ่งได้รับการสร้างขึ้นมาโดยบทบาทที่แสดงโดย Harvey Keitel จะมีผลอย่างไร? ข้อเท็จจริงคือว่า นักสืบที่แสดงโดยดาราคนหนึ่ง มันทำให้เขามีนัยสำคัญต่อพล็อตเรื่อง. ในช่วงเวลานั้น เขาเป็นเพียงคนเดียวของนักแสดงในภาพยนตร์ซึ่งมีความเท่าเทียมกับ Greena Davis และ Susan Sarandon ในกรณีต่างๆเกี่ยวกับสถานภาพของดารา. ถึงแม้ว่าปัจจุบัน พวกเขาทั้งหมดจะถูกบดบังรัศมีลงไปในระดับหนึ่งโดยสถานะของความมีชื่อเสียงของ Brad Pitt, แต่ในช่วงเวลานั้น Pitt แสดงเป็น JD เขายังคงเป็นคนที่ค่อนข้างไม่มีใครรู้จัก

ด้วยเหตุนี้ ผู้ชมทั้งหลายจึงเห็นว่า Keitel มีนัยสำคัญกว่าตัวละครชายคนอื่นๆ และมีความสำคัญเทียบเท่า Thelma และ Louise อย่างมีศักยภาพ. โดยเหตุนี้ ลำดับชั้นสูงต่ำเกี่ยวกับวาทกรรมหรือการสื่อของเรา จึงได้รับอิทธิพลโดยลำดับชั้นสูงต่ำของดารา

บรรดานักทฤษฎีทั้งหลายซึ่งศึกษาเรื่องของดารานักแสดงได้ให้เหตุผลว่า ภาพลักษณ์ของดารานั้นได้รับการสร้างขึ้น ไม่เพียงจากบทบาทต่างๆที่พวกเขาแสดงเท่านั้น แต่มันยังถูกสร้างขึ้นมาจากการโฆษณาที่อยู่รอบๆตัวพวกเขาด้วย - รวมไปถึงการสัมภาษณ์, รายงานบนหน้าหนังสือพิมพ์, ภาพถ่าย, และอื่นๆ

ดาราเป็นจำนวนมาก ได้แสดงบทบาททำนองเดียวกันในภาพยนตร์หลายๆเรื่อง ดังนั้นจึงได้พัฒนาภาพลักษณ์ซึ่งคงที่อันหนึ่งขึ้นมา ซึ่งอาจเหมาะสมกับบทบาทล่าสุดของพวกเขา หรือขัดแย้งกับมันก็ได้. Harvey Keiter ได้แสดงบทบาทจำนวนมากเกี่ยวกับพวกแก๊งต่างๆ, อาชญากรที่ชั่วช้า, และข้าราชการทุจริตในภาพยนตร์หลายเรื่อง อย่างเช่น Mean Street และ Taxi Driver และภาพยนตร์ส่วนใหญ่ ซึ่งเขาได้ปรากฏตัวออกมาค่อนข้างเร้นลับ

ภาพพจน์ของดารานี้ได้มีอิทธิพลต่อการอ่านของเรา เกี่ยวกับตัวเขาในภาพยนตร์ใช่หรือไม่? เราไม่ได้กำลังบอกว่า Keitel สามารถที่จะแสดงได้แต่เพียงเป็นตัวละครที่โฉดชั่ว ทุจริต เท่านั้น แต่ที่กล่าวมานี้ เขามีแนวโน้มที่จะแสดงบทบาทต่างๆอันนั้นได้ดี, บรรดาผู้ชมทั้งหลายจะเผชิญหน้ากับความสับสนคลุมเครือเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของเขาไหม ซึ่งมีแนวโน้มที่จะอ่านแรงกระตุ้นของเขาในฐานะบุคคลที่ควรสงสัย? กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ บรรดาผู้ชม เป็นไปได้มากที่จะอ่านเขาในฐานะเป็น"คนชั่ว"มากกว่า"คนดี"ใช่หรือไม่?

ในท้ายที่สุด ความเป็นไปได้อันนี้ได้รับการทำให้สับสนปนเปอย่างสนุกสนาน ถ้าหากว่า Robin Williams ได้แสดงบทบาทนั้น ภาพลักษณ์ความเป็นดาราของเขาที่สร้างสมขึ้นมาเป็นบุคลิก ซึ่งจะไม่คลุมเครือกำกวมแน่นอนในเชิงศีลธรรม และมันจะไม่เป็นปัจจัยในลักษณะเดียวกันกับความประหลาดใจ เมื่อมาถึงตอนท้ายของภาพยนตร์ และ Keitel ได้ถูกเปิดเผยออกมาเป็นตัวละครหนึ่งที่มี"หัวใจ"และ"น้ำจิตน้ำใจ" ซึ่งพยายามที่จะช่วยเหลือ Thelma และ Louise

เหตุผลของ MaCabe คือว่า บรรดาผู้ชมเข้าใจเกี่ยวกับสุ้มเสียงต่างๆที่แข่งขันกันเหล่านี้ทั้งหมด พวกเขาเชื่อมโยงและเปรียบเทียบมัน จนกระทั่งมันได้ถูกจัดลำดับสู่สถานะสูงต่ำ ซึ่งในท้ายที่สุดได้สร้างวาทกรรมที่สำคัญอันหนึ่งขึ้นมา อันนี้คือวาทกรรมที่ได้ให้ความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆแก่เราในที่สุด

โดยปกติแล้ว วาทกรรมต่างๆของภาษาภาพยนตร์ และภาพยนตร์ในตัวของมันเองได้ให้ทัศนะที่สมบูรณ์เต็มที่อันหนึ่งกับเราเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆมากมาย และเราควรที่จะเข้าใจพวกมันโดยรวมมากกว่าอันหนึ่งอันใด ที่เป็นสุ้มเสียง/วาทกรรมในเชิงตรงข้ามของตัวละครต่างๆที่เกี่ยวข้อง

มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องจำไว้ว่า ผู้ชมที่ต่างกันอาจอ่านข้อมูลแตกต่างกัน. อย่างเช่น คนที่แบ่งแยกทางเพศ, คนที่ชอบความรุนแรง อาจพิจารณาว่า ทัศนะของ Harvey เป็นวิธีการซึ่งดีที่สุดเกี่ยวกับการทำความเข้าใจโลกของเราใบนี้ ถึงแม้ว่าภาพยนตร์จะปรามคำพูดของเขาลงมาให้อยู่ในระดับต่ำ คนซึ่งกล่าวถึงข้างต้นก็จะวางเขาอยู่ในในระดับที่สูง. อันนี้คือเหตุผลที่ว่า ทำไมมันจึงเป็นประโยชน์ที่จะสร้างความต่างๆอันหนึ่งขึ้นมา ในการวิเคราะห์ข้อมูลระหว่าง การดูในสิ่งที่ภาพยนตร์คิดเกี่ยวกับเรื่องราวและสถานการณ์ต่างๆ กับสิ่งที่เราคิดในฐานะผู้ดู

เราไม่ได้กำลังเสนอว่า จริงๆแล้ว ภาพยนตร์มีภาวะที่มีสำนึกอันหนึ่งที่คิดถึงอะไรอย่างแท้จริง มากยิ่งไปกว่านั้นเราให้เหตุผลว่า เป็นไปได้ที่จะดูการจัดการของภาพยนตร์เกี่ยวกับวาทกรรมอันหลากหลายที่แตกต่าง และจากนั้น มันได้อนุมานหรือสรุปสิ่งที่เรากำลังได้รับการเชื้อเชิญให้คิดและรู้สึกอย่างไร

การดูภาพยนตร์ด้วยวิธีการนี้ มันเข้าท่าที่จะตั้งคำถามว่า "อะไรคือสิ่งที่ภาพยนตร์คิด เกี่ยวกับสิ่งที่มันกำลังแสดงให้เราเห็น?" หรือ "อะไรคือภาพสะท้อนของมัน?" (อะไรคือสิ่งที่มันฉายลงบนจอให้เราดู?). มองไปที่ลำดับชั้นสูงต่ำของวาทกรรมต่างๆของภาพยนตร์ และค้นหาวาทกรรมหลักของมันออกมา นั่นคือหนทางอันหนึ่งในการทำความเข้าใจภาพยนตร์ทั้งหมดที่กำลังนำเสนอ

กล่าวคือ สิ่งที่ภาพยนตร์คิดเกี่ยวกับสิ่งที่มันกำลังแสดงให้ชม และอันนี้ได้รับการจารึกลงในโครงสร้างการดำเนินเรื่องของมันอย่างไร สิ่งเหล่านี้คือคำถามต่างๆที่มีประโยชน์ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงความสนใจของเราไปจากปฏิกริยาส่วนตัวของเราเอง การตั้งคำถามพวกนี้ มันคล้ายคลึงกับการค้นหาการ"อ่านสิ่งที่ได้รับการชื่นชม"ของภาพยนตร์เอง คุณสามารถที่จะสืบเสาะหาข้อเท็จจริงวาทกรรมหลักของข้อมูลใดๆก็ได้ โดยการตั้งคำถาม

1. สุ้มเสียง / วาทกรรมที่แตกต่างอะไรและของใคร ที่ได้รับการนำเสนอ?
2. ระเบียบกฎเกณฑ์ชนิดใดที่คุณวางพวกมันในตำแหน่งสูงต่ำ (อันไหนที่จูงใจมากที่สุด)?
3. วาทกรรมหลักที่สำคัญ คืออะไร?

ในจุดนี้มันอาจเป็นเรื่องง่ายที่จะเคลื่อนคล้อยลงมาสู่ตำแหน่งของ"ผู้เจตนา"(intentionalist position) และให้เหตุผลว่า วาทกรรมหลักที่สำคัญก็คือสิ่งที่ได้รับการยึดถือโดยผู้กำกับ (สิ่งที่ภาพยนตร์คิด ก็คือสิ่งที่ผู้กำกับคิดนั่นเอง) ขณะที่ทัศนะของผู้กำกับเป็นสิ่งที่สำคัญ เราอ้างเหตุผลว่า มันมีวาทกรรมหลักอันหนึ่งในตัวข้อมูล ซึ่งเป็นผลผลิตที่ไม่เพียงเป็นเจตนาของผู้กำกับเท่านั้น แต่ยังเป็นเงื่อนไขปัจจัยอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก ที่มามีส่วนผลิตวาทกรรมนี้ขึ้นมาด้วย (Scott 1991, pp. 18-19)

5. ผู้หญิงได้ถูกวางตำแหน่งแตกต่างไปจากผู้ชายในการดำเนินเรื่องไหม?
(Are women positioned differently from men in the narrative?)
มันมีความแตกต่างอย่างสำคัญในวิธีการที่ ผู้ชายและผู้หญิงได้ถูกวางตำแหน่งในการดำเนินเรื่องใช่หรือไม่? บรรดานักวิจารณ์จำนวนมากเสนอว่า แบบแผนซึ่งเกิดขึ้นบ่อยๆที่เด่นชัดในบทบาทต่างๆเชิงโครงสร้าง ปกติแล้ว จะให้กับผู้ชายและผู้หญิง. การเปรียบเทียบข้างล่างนี้เกี่ยวกับการวางตำแหน่งต่างๆ ได้เสนอถึงบทบาทหลักบางอย่าง, ลักษณะเฉพาะบางประการ, และหน้าที่ต่างๆที่ผู้ชายและผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะ มี/บรรลุถึง ในการดำเนินเรื่อง เช่นเดียวกับเพศสภาพบางอย่างที่ข้ามผ่านแนวภาพยนตร์ต่างๆ

                          ตัวเอกที่เป็นผู้ชาย (Male hero)                        ตัวเอกที่เป็นผู้หญิง (Female heroine)
การทำให้รู้สึกเป็นอันหนึ่งเดียวกันกับพระเอก การลดทอนลงเป็นเพียงวัตถุ
เป็นตัวดำเนินเรื่อง ขับเคลื่อนและควบคุม หยุดการดำเนินเรื่อง และให้ภาพที่น่าดู

ตัวละครหลักที่สำคัญ ตัวละครที่สำคัญตัวที่สอง กระทำการ(active) ยินยอม ถูกกระทำ(passive)
ความรู้สึกแสดงออกโดยพฤติกรรมภายนอก ความรู้สึกแสดงออกโดยการนำเสนออารมณ์
เข้มแข็ง อ่อนแอ
ทำงาน / โลกสาธารณะ อยู่บ้าน / โลกส่วนตัว

ผู้สอบสวน ผู้ถูกสืบสวน
มีความรู้ ไม่มีความรู้
ภาพยนตร์แนวตะวันตก, ตื่นเต้นเร้าใจ ภาพยนตร์สะเทือนใจ / ภาพยนตร์เพลง
อันนี้คือลักษณะทั่วๆไป และไม่ได้ใช้ได้กับการดำเนินเรื่องทุกเรื่อง
แต่ได้แสดงให้เห็นแนวโน้มต่างๆที่น่าสนใจในการนำเสนอภาพตัวแทนของผู้ชายและผู้หญิง

ที่เรากล่าวถึงอย่างสั้นๆข้างต้น แสดงถึงความแตกต่างระหว่าง"ความมีตัวตน-เอกลักษณ์-ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับตัวพระเอก" กับ "ตัวนางเอกที่ถูกนำเสนอในฐานะที่เป็นวัตถุ". อันนี้เป็นการแยกแยะที่มีประโยชน์ และดึงความสนใจของเราไปสู่การที่เราจะดูภาพยนตร์ทั้งหลายกันอย่างไร

บางครั้งผู้เขียนขอให้นักศึกษาลองเขียนรายชื่อดาราที่เป็นนักแสดงฝ่ายหญิงและฝ่ายชายที่นักศึกษาชื่นชอบ พร้อมทั้งเสนอแนะเพิ่มเติมว่า สำหรับผู้ที่มีเพศเดียวกันกับดารานักแสดง ให้เขียนชื่อดาราที่เป็นเพศเดียวกันลงไป หมายถึงคนที่เราอยากจะเป็นแบบพวกเขา หรืออยากจะสวมบทบาทของพวกเขา, ส่วนสำหรับรายชื่อดาราหรือนักแสดงที่เป็นเพศตรงข้ามที่ชื่นชอบ ให้เขียนชื่อดารานักแสดงที่เขาหรือเธอปรารถนาลงไป ดาราชายหรือดาราหญิงที่พวกเขามองในฐานะที่เป็นวัตถุ

ข้างต้นนี้ได้ชี้ถึงความพึงพอใจในการชมหลักๆสองประการ ซึ่งเราได้ถูกนำเสนอและถูกให้ประสบการณ์ในฐานะผู้ชมภาพยนตร์ทั้งหลาย - มันเป็นโอกาสที่จะจินตนาการถึงตัวเราเอง ในฐานะบุคคลที่เราเพ้อฝันซึ่งมีพลังอำนาจ (เช่นเดียวกับตัวละครที่เราอยากเป็นเหมือนคนนั้นมากที่สุด) และโอกาสที่จะเพ่งมองลงไปยังคนที่รูปหล่อ/สวย ในเชิงกามวิสัย ซึ่งเป็นบุคคลที่เราปรารถนาและมองดูตัวละครนั้นในฐานะที่เป็นวัตถุ

Laura Mulvey ได้บันทึกถึงความพึงพอใจในการชมที่แตกต่างกันสองประการนี้ และหนึ่งในชิ้นงานต่างๆซึ่งมีอิทธิพลมากสุดของการวิจารณ์แนวเฟมินิสท์หรือสตรีนิยม เธอได้อธิบายถึงวิธีการที่ผู้ชายและผู้หญิงได้ถูกนำเสนอในภาพยนตร์ต่างๆดังนี้:

"ผู้หญิงในฐานะ"ภาพ"ของการถูกเฝ้ามอง, ผู้ชายในฐานะ"ผู้สนับสนุน"การเฝ้าดู: ในโลกที่ถูกบัญชาโดยความพึงพอใจทางเพศที่ไม่สมดุลกันนี้ในการมอง ได้ถูกแยกหั่นออกจากกัน ระหว่าง ชาย/เป็นผู้กระทำ กับ หญิง/ผู้ยอมตาม. ผู้ชายซึ่งเป็นฝ่ายกำหนดเพ่งมองภาพฉายไปตามจินตนาการยังเรือนร่างของผู้หญิง ซึ่งพวกเธอได้รับการวางรูปแบบหรือสไตล์ไปตามนั้น

ในบทบาทนักแสดงตามขนบจารีตของพวกเธอ ผู้หญิงถูกจ้องมองและต้องแสดงออกในเวลาเดียวกัน ด้วยการปรากฏตัวของพวกเธอ เพื่อสร้างผลกระทบต่อการจ้องมองอย่างไม่ลดละและส่งผลสะเทือนต่อเรื่องทางเพศ ดังนั้น พวกเธอจึงสามารถถูกพูดถึงในเชิงความหมายแฝงว่า "การเป็นผู้ที่ถูกเฝ้าดู"

ผู้หญิงแสดงตัวในฐานะวัตถุทางเพศ คือท่วงทำนองที่หวนกลับมาเล่นซ้ำ(leit-motif) ของความน่าดูในเชิงกามหรืออารมณ์เพศ(erotic spectacle - ภาพเร้าใจทางเพศ): จากหญิงสาวสวยที่เป็นนางแบบถ่ายภาพ จนถึง นักระบำเปลื้องผ้า(from pin-ups to striptease), จากหญิงผู้โง่เขลาจนถึงบัณฑิตปริญญา(from Ziegfeld to Busby Berkeley), เธอเพียงทำหน้าที่รองรับการจ้องมอง, แสดงบทบาทและเป็นเครื่องหมายของความปรารถนาของผู้ชายเท่านั้น"

เธอได้ให้เหตุผลต่อไปว่า ในภาพยนตร์กระแสหลักเป็นจำนวนมาก ผู้ชมทั้งหลายถูกเชื้อเชิญให้รู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับผู้ชาย และลดทอนผู้หญิงลงเป็นวัตถุ โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้ชมนั้นจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย. ดังนั้น ผู้ชมที่เป็นผู้หญิงจึงถูกเชิญชวนให้มองผ่านทัศนียภาพของผู้ชาย ดูสิ่งต่างๆผ่านสายตาของผู้ชาย

Mulvey สาธิตว่า การทำให้รู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระเอก ได้รับการสร้างขึ้นมาอันดับแรก โดยผ่านตำแหน่งการดำเนินเรื่อง และเทคนิคต่างๆในการตัดต่อ: ในการดำเนินเรื่อง บ่อยครั้ง ผู้ชายคือตัวละครหลักที่สำคัญต่างๆ - พวกเขาจะถูกนำเสนอ ณ ตอนเริ่มต้นเรื่อง; เรารู้อะไรมากมายเกี่ยวกับตัวพวกเขา และพวกเขาได้รับการนำเข้าไปเกี่ยวพันกับการแก้ปมปัญหาต่างๆในเรื่อง

โดยผ่านการตัดต่อและตำแหน่งของกล้อง บ่อยทีเดียว เราได้รับการกระตุ้นให้มองดูสิ่งต่างๆที่พวกเขาเห็น และด้วยเหตุดังนั้น เราจึงถูกเย็บติดกับความคิดเห็นของพวกเขา. เงื่อนไขปัจจัยต่างๆเหล่านี้ทั้งหมดได้สร้างสภาพความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขึ้นมา

ในอีกด้านหนึ่งนั้น ผู้หญิงได้ถูกมองมาจากภายนอก: เราแทบไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับความคิดของพวกเธอ หรือได้ยินเสียงของพวกเธอในฐานะผู้ดำเนินเรื่อง บ่อยมากทีเดียว พวกเธอเป็นส่วนหนึ่งของปริศนาอันลึกลับที่ถูกสืบสวน และเราไม่เคยมองอะไรต่างๆจากความนึกคิดของพวกเธอเลย

ยิ่งไปกว่านั้น ในการวิจารณ์ของ Mulvey เกี่ยวกับการดำเนินเรื่องต่างๆ บ่อยมากที่ผู้หญิงจะแสดงบทบาทตัวละครต่างๆที่ไร้อำนาจ, ถูกลงโทษ, ถูกกลั่นแกล้ง, ถูกรบกวนและข่มเหง, หรือตกอยู่ในอันตรายในโลกของการดำเนินเรื่อง. ฐานะตำแหน่งตัวละครนั้น ไม่เชิญชวนให้รู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเธอ

พวกเธอกลายเป็นเพียงวัตถุของการเฝ้าดูหรือเพ่งมอง ทั้งโดยตัวละครต่างๆที่เป็นผู้ชายในภาพยนตร์ ซึ่งเราเห็นว่ากำลังมองเธออยู่ และพวกเราด้วยในฐานะคนดู. กล้องชอบที่จะถ่ายภาพผู้หญิงที่อยู่ท่ามกลางแสงไฟ, โฟกัสภาพแบบละมุน, อยู่ในกรอบ, ประกอบด้วยเสียงดนตรี, และในชุดแต่งกายที่ยั่วเย้าอารมณ์ทางเพศ เพื่อสร้างภาพที่ตื่นเต้นเร้าใจในทางกาม บ่อยครั้ง เทคนิคต่างๆเหล่านี้จะถูกนำมาใช้เพื่อให้ผลอย่างเต็มที่ ขณะที่บรรดาตัวละครหญิงแสดงบทบาทของพวกเธอ - เช่น เต้นรำ, ร้องเพลง, และอื่นๆ - ซึ่งเชิญชวนให้กล้อง, ตัวละครผู้ชายทั้งหลาย, และผู้ชมรู้สึกพึงพอใจในการเฝ้าดูพวกเธอ

John Berger ได้สรุปความแตกต่างระหว่าง การพรรณาภาพของผู้ชายและผู้หญิง ดังนี้:

อันนี้ใครสักคนอาจทำให้มันง่ายขึ้นโดยการกล่าวว่า: ผู้ชายแสดงบทบาท และผู้หญิงเพียงปรากฏตัว. ผู้ชายจ้องมองไปที่ผู้หญิง ส่วนผู้หญิงมองดูตัวของพวกเธอเองในฐานะผู้ที่ถูกจ้องมอง การกำหนดนี้ไม่เพียงมาจากความสัมพันธ์ส่วนใหญ่ระหว่างชายและหญิง แต่ยังมาจากความสัมพันธ์ของผู้หญิงโดยตัวของพวกเธอเองด้วย. นักสังเกตการณ์เกี่ยวกับผู้หญิงในตัวของเธอเองคือผู้ชาย: ผู้หญิงคือคนที่ถูกสังเกต. ด้วยเหตุนี้ เธอจึงเปลี่ยนตัวของเธอเองไปสู่ความเป็นวัตถุ - โดยเฉพาะส่วนใหญ่แล้ว เป็นวัตถุชิ้นหนึ่งของการมอง: เพียงแค่การมองดูเท่านั้น
(Berger 1972, p.47)

ข้อความข้างต้นอธิบายถึงความสัมพันธ์ที่น่าอึดอัด ระหว่าง"อัตภาพของผู้หญิง"กับ"การปรากฏตัวที่เป็นส่วนตัว" และจุดที่ถูกเฝ้ามองซึ่งเป็นตำแหน่งของการยอมจำนน. อันนี้สัมพันธ์กับไอเดียหรือความคิดในการดำเนินเรื่องที่หยุดนิ่ง: การหยุดดำเนินเรื่องเพื่อทำให้ผู้ชมทั้งหลายสามารถรั้งรออยู่กับภาพที่เห็นเกี่ยวกับรูปร่างของผู้หญิง. ขณะที่ตัวนักแสดงหญิงอาจมีหน้าที่เสนอความพึงพอใจทางสายตา และสร้างความปรารถนาขึ้นมาในการดำเนินเรื่องต่างๆของภาพยนตร์ การกระทำหรือพฤติกรรมต่างๆของนักแสดงชาย ปกติแล้วคือสิ่งที่ขับเคลื่อนพล็อตเรื่องให้ก้าวไปข้างหน้า

ผลงานของ Mulvey พร้อมด้วยผลงานของนักเรียกร้องสิทธิสตรีคนอื่นๆ ได้ดึงความสนใจไปสู่"การเมืองเกี่ยวกับการจ้องมอง" และการเน้นลงไปที่การปรากฏตัวทางสายตา ซึ่งถูกนำไปเชื่อมโยงกับผู้หญิงในภาพยนตร์

ในเรื่อง Thelma and Louise แสดงให้เห็นถึงการรับรู้ และการพลิกกลับเกี่ยวกับการจ้องมองนี้ เมื่อ Thelma ใช้กระจกมองหลังเพื่อมองไปที่ JD (Brad Pitt) ในเชิงกามวิสัย. ในที่นี้ เขากลายเป็นวัตถุของการเพ่งมอง เขาไม่รู้ตัว และเรากำลังรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเธอในการดำเนินเรื่อง

ข้อเปรียบเทียบที่ผ่านมาเสนอว่า บ่อยครั้งที่ผู้หญิงเป็นตัวละครอันดับที่สองหรือมีบทบาทรองในภาพยนตร์ต่างๆ; ส่วนตัวละครชายนั้นมีความสำคัญกว่า แน่นอน อันนี้เป็นจริงสำหรับภาพยนตร์แนวต่างๆ อย่างเช่น แนวตะวันตกหรือหนังคาวบอย, ภาพยนตร์แนวตื่นเต้นเร้าใจ, แนววิทยาศาสตร์ และแนวอาชญากรรม การวิเคราะห์เนื้อหาได้เผยออกมาว่า ทั้งหมดนั้น ผู้ชายจะมีบทบาทนำหรือบทบาทสำคัญในการดำเนินเรื่องของภาพยนตร์มากกว่าผู้หญิง

แต่อย่างไรก็ตาม มันก็มีภาพยนตร์แนวอื่นๆที่ผู้หญิงมีบทบาทนำเช่นกัน - โดยเฉพาะ ภาพยนตร์เพลง, ภาพยนตร์แนวเมโลคราม่าที่สร้างความสะเทือนอารมณ์ และภาพยนตร์น้ำเน่าต่างๆ(soap operas) - แต่ดังที่เปรียบเทียบไว้ก่อนหน้า บทบาทที่กล่าวมาข้างต้นมีแนวโน้มที่จะแสดงออกในเชิงที่แตกต่างไปจากบทบาททั้งหลายของผู้ชาย บ่อยทีเดียว ผู้หญิงที่แสดงบทบาทต่างๆเหล่านั้นอยู่ กำลังแสดงปฏิกริยาโต้ตอบ (พวกเธอขานรับต่อเหตุการณ์ทั้งหลายมากกว่าที่จะแสดงออกหรือกระทำการด้วยตนเอง); การโฟกัสก็จะไปเน้นที่ความรู้สึกมากกว่าการกระทำ; และฉากนั้นก็มีแนวโน้มในลักษณะส่วนตัว โลกที่เกี่ยวกับบ้าน มากกว่าโลกของงานอาชีพอันเป็นโลกของการงานสาธารณะ

อันนี้เป็นแง่มุมในเชิงลบที่ไม่มีความจำเป็นใดๆ แต่พวกเขามีแนวโน้มที่จะวาดภาพของผู้หญิงในลักษณะที่มีอำนาจน้อยเช่นนี้ และโดยการนำเสนออาณาจักรของชายและหญิง ที่เกือบจะแยกออกจากกันและกันอย่างเด็ดขาด พวกเธอถูกมองเป็นผู้หญิงที่แยกขาดออกไปจากความหมายของชีวิตสาธารณะ

คุณอาจคิดว่าข้อสังเกตต่างๆเหล่านี้อ้างอิงถึง ข้อมูลสื่อประเภทต่างๆที่ผลิตขึ้นมาในอดีต และนั่นเป็นสถานการณ์ที่ปัจจุบันมีความแตกต่างออกไป เพราะมันมีรายการแสดงทางทีวีหลายๆรายการ อย่างเช่น Buffy, Sex and the City, Dark Angel และ Ally McBeal และ ภาพยนตร์หลายๆเรื่องอย่างเช่น Legally Blonde, Lara Croft, Gi Jane, Erin Brockovich, และ Jackie Brown

แต่อย่างไรก็ตาม มันยังคงมีค่าและความสำคัญที่จะพิจารณาถึงท่าทีต่างๆของเราที่มีอยู่ (และทัศนคติเกี่ยวกับผู้ผลิตสื่อที่มีอิทธิพลทั้งหลาย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในตำแหน่งที่ทรงพลังและทำการตัดสินใจเกี่ยวกับเนื้อหาสื่อ) และยังคงได้รับการชักจูงจากความประทับใจที่สั่งสมมา เกี่ยวกับความเป็นชายและความเป็นหญิง ซึ่งเราได้มาโดยตลอดการมองดูประวัติศาสตร์ต่างๆของเรา

ส่วนใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงทั้งหลาย ในหนทางที่เชื้อชาติและเพศสภาพได้ถูกนำเสนอ เป็นสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นเร็วๆนี้นี่เอง และปรากฏเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาในสัดส่วนที่เล็กน้อยมากอันหนึ่ง ของข้อมูลสื่อที่ได้รับการผลิตขึ้นมาทั้งหมดบนโลกใบนี้ ขอให้เราหมายเหตุลงไปด้วยว่า แนวโน้มที่ปรากฏตัวขึ้นมานี้ รวมถึงตัวละครหญิงที่เข้มแข็ง ถือป็นสิ่งประดิษฐ์ทางด้านการตลาดอันหนึ่ง และมันยังคงวางตำแหน่งคุณค่าของตัวละครเหล่านี้เอาไว้ ในความสัมพันธ์กับเรือนร่างที่ปรากฏของพวกเธออยู่เสมอ

แม้แต่ในเนื้อหาต่างๆ อย่างเช่นเรื่อง Charlie's Angels, ผู้หญิงไม่ใช่ตัวละครซึ่งมีอำนาจมากที่สุดในการดำเนินเรื่อง; พวกเธอทั้งหมดเชื่อตามหัวหน้าของพวกเธอ Charlie, แม้ว่าการปรากฏกายของพวกเธอจะเป็นแกนกลางความสำคัญของเรื่องก็ตาม

ตามการเปรียบเทียบบทบาทของดารานักแสดงหญิงชายข้างต้น เราสามารถเห็นได้ว่า ทำไม Thelma และ Louise จึงก่อกำเนิดความสนใจขึ้นมาได้ พวกเธอมิได้ทำตามแบบอย่างสถานะของเพศสภาพ แต่นำเสนอบทบาทอันหนึ่งในลักษณะที่พลิกกลับ อันนี้เป็นความก้าวหน้าของผู้หญิงใช่หรือไม่?

โดยการวาดภาพผู้หญิงซึ่งมายึดครองพลังอำนาจของผู้ชาย โดยผ่านการแสดงบทบาทต่างๆของผู้ชาย ภาพยนตร์ได้ยกความเข้มแข็งให้กับผู้หญิง. และด้วยเหตุที่มันเสนอว่า เพื่อที่จะประสบความสำเร็จ ผู้หญิงจะต้องแสดงในแบบผู้ชาย กลายเป็นกล้ามเนื้อหรือความเป็นชายเพื่อที่จะประสบความสำเร็จใช่ไหม? อีกนัยหนึ่งก็คือ มันเป็นการตำหนิประณามความเป็นหญิง และยืนยันถึงคุณค่าต่างๆของความเป็นชายในฐานะผู้มีอำนาจเหนือกว่าใช่หรือไม่?

นักวิจารณ์บางคนตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างเรียบๆว่า ภาพลักษณ์ต่างๆของความเข้มแข็ง, มั่นใจ, และเป็นไปในเชิงรุก โดยขนบประเพณีแล้วยังคงมีเสน่ห์ดึงดูดใจผู้หญิงในภาพยนตร์อยู่ และทำให้ความคิดเพ้อฝันทางเพศของผู้ดูที่เป็นชายบรรลุผลเกี่ยวกับการมีอำนาจเหนือผู้หญิง

อันนี้ได้ก่อให้เกิดคำถามเกี่ยวกับว่า ทำไมผู้ชายจึงรู้สึกสนุกสนานไปกับภาพยนตร์เรื่อง Thelma and Louise. โดยทั่วไปแล้วภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ให้ความพึงพอใจตามแบบฉบับของผู้ชายเกี่ยวกับภาพยนตร์แนวตะวันตก, แนวขับรถบนท้องถนน, และแนวคู่หู. คุณสามารถดูภาพยนตร์เรื่องนี้ได้โดยรู้สึกพึงพอใจเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ และไม่ได้คำนึงถึงเพศสภาพว่าเป็นประเด็นปัญหาอันหนึ่งแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ภาพยนตร์ที่กล่าวถึงข้างต้นยังเป็นเรื่องเกี่ยวกับการกดขี่ของผู้ชายที่มีต่อผู้หญิงด้วย และในการหยิบยกประเด็นปัญหาพวกนี้ขึ้นมา แน่นอน มันรวมถึงตัวละครชายที่หลายหลาก ซึ่งถูกทำให้เป็นตัวตลก, น่ารังเกียจ, หรืออ่อนแอ, และถูกลบหลู่ในการดำเนินเรื่อง (โดยเฉพาะสามีของ Thelma, Harlan, คนขับรถ, คนที่มีศักยภาพที่จะข่มขืน, ตำรวจ, เพื่อนชายของ Louise และอื่นๆอีกไม่มากมาย,). ในบริบทนี้ รวมถึงตัว JD, นักสืบ, และกระทั่งนักขี่จักรยานแอฟโฟร-อเมริกัน ต่างมีนัยสำคัญทั้งหมด

ในระดับหนึ่ง ภาพยนตร์เรื่องนี้ต่อต้านผู้ชาย แต่บทสรุปของผู้ชายซึ่งแม้จะเป็นไปในเชิงบวกไม่มากนัก ได้ทำให้ผู้ดูที่เป็นชายอยู่ในตำแหน่งของความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพวกเขา. ในระดับของการแข่งขันตามแบบฉบับ ผู้ชมที่เป็นชายสามารถที่จะวางตัวของพวกเขาเองเหนือกว่าผู้ชายที่เป็นตัวตลกหรือดูน่าขันพวกนั้น และรู้สึกสนุกสนานไปกับบทบาทต่างๆของคนทั้งสามนี้ (มันน่าสนใจที่จะหมายเหตุลงไปด้วยว่า ในบริบทดังกล่าวนั้น JD มีเซ็กซ์กับ Thelma และได้ขโมยเงินซึ่งเป็นของ Thelma และ Louise ไป)

ทั้งสามบทบาทนี้ เป็นแกนกลางในการให้ภาพกับผู้ชมที่เป็นชายในตำแหน่งที่มีความรู้สึกร่วมหรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับตัวละคร และในการกระทำเช่นนั้น ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงจำแนกว่า เพียงผู้ชายสามคนเท่านั้นที่เป็นคนเลว

6. ตอนจบของภาพยนตร์บอกอะไรกับคุณ เกี่ยวกับอุดมคติของภาพยนตร์?
(What does the ending tell you about the ideology of the film?)
ท้ายที่สุด ลองพิจารณาถึงความสำคัญเกี่ยวกับการดำเนินเรื่องในตอนท้ายและทางออกต่างๆ. สิ่งเหล่านี้คือส่วนที่สำคัญหรือเป็นแก่นสารอันหนึ่งของแบบแผนการดำเนินเรื่อง. ตอนจบทั้งหลายต่างมีนัยสำคัญในการกำหนดความหมายในเชิงอุดมคติของการเล่าเรื่อง. มีวิธีการที่แตกต่างกันเกี่ยวกับเรื่องราวตอนจบ ขอให้เรามาสำรวจกันถึงสิ่งต่อไปนี้

อันดับแรก, บันทึกเกี่ยวกับแบบฉบับของตอนจบซึ่งเป็นไปได้สามแนวทางดังนี้

1. closed / circular (จบ / เป็นวงกลม)
สถานการณ์ที่มั่นคง 2 ----------- ภาวะยุ่งยาก ------------ สถานการณ์ที่มั่นคง 1

2. Closed / progress (จบ / ก้าวหน้า)
สถานการณ์ที่มั่นคง 1 ----------- ภาวะยุ่งยาก ----------- สถานการณ์ที่มั่นคง 2

3. closed / unresolved (จบ / ไม่ได้แก้ปัญหา)
สถานการณ์ที่มั่นคง 1 ----------- ภาวะยุ่งยาก ----------- ???(ไม่มีคำตอบ)

การดำเนินเรื่องส่วนใหญ่ถูกปิดลงในแบบที่ว่า พวกมันได้ตอบคำถามทั้งหมดซึ่งมีขึ้นในการดำเนินเรื่อง และพวกมันได้แก้ไขปัญหาต่างๆที่ภาพยนตร์ได้ก่อขึ้นสำเร็จ. การจบในลักษณะเป็นวงกลม(closed / circular) เป็นหนึ่งในการจบเรื่องที่มาบรรจบกับจุดเริ่มต้น อันนี้ดูเหมือนจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางด้านภาพยนตร์ที่ธรรมดามากอันหนึ่ง (ซึ่งมีมากกว่าในนวนิยาย) ที่ซึ่งฉากการถ่ายทำในตอนจบ เป็นภาพสะท้อนหรือการซ้ำตรงๆกับฉากตอนเริ่มเปิดเรื่อง

ในภาพยนตร์เรื่อง American Beauty ถือเป็นตัวอย่างภาพยนตร์ที่ดีเรื่องหนึ่ง ซึ่งฉากเปิดตัวได้แสดงให้เห็นตอนจบของภาพยนตร์ ขนบจารีตอันนี้ได้ส่งสัญญานต่างๆถึงผู้ชมว่า ตอนจบกำลังมาถึง. มันอาจมีความเชื่อมโยงบางอย่างกับวิธีการในอดีต ซึ่งคนที่ไปชมภาพยนตร์ทั้งหลาย จะเสียค่าผ่านประตูเพียงครั้งเดียว และทางโรงภาพยนตร์ยินยอมให้คนดูเหล่านั้นอยู่กับภาพยนตร์ และดูภาพยนตร์เรื่องนั้นถูกฉายซ้ำอีกครั้ง

ผู้ชมทั้งหลายสามารถจะเข้าไปดูตอนไหนก็ได้ และสามารถชมภาพยนตร์ได้นานเท่าที่พวกเขาต้องการ ปกติแล้ว คุณจะออกจากโรงภาพยนตร์ก็ต่อเมื่อคุณได้ดูถึงตอนที่คุณได้เข้ามาชมภาพยนตร์นั่นเอง อันนี้ได้รับการบ่งชี้โดยการซ้ำของภาพต่างๆบนจอที่เกิดขึ้น ณ ช่วงขณะที่คุณเข้ามาดู

ลักษณะของวงกลมดังกล่าว จะถูกพบได้ในภาพยนตร์ต่างๆที่เป็นการเล่าย้อนกลับ หรือเรียกว่า flashback films โดยเฉพาะ ซึ่งการเริ่มเรื่องจะเริ่มจากจุดหนึ่ง แล้วดำเนินเรื่องกลับไปในอดีต ถัดจากนั้นก็จะย้อนกลับมายังจุดตั้งต้นหรือจุดเดิมอีกครั้งในตอนจบ. ภาพยนตร์เรื่อง Citizen Kane, The Virgin Suicides, และ The Usual Suspects ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของภาพยนตร์แนวนี้

จุดสำคัญในเชิงอุดมคติเกี่ยวกับการเล่าเรื่องหรือการดำเนินเรื่องอันนี้คือว่า ในความรู้สึกหนึ่ง พวกมันไม่ได้ไปไหนเลย มันไม่ได้ก้าวหน้าไปที่ใด มันเพียงนำคุณย้อนกลับไปสู่จุดที่คุณเริ่มต้นขึ้น. อันนี้เสนอว่า ความก้าวหน้าคือสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ นั่นคือมันเป็นไปไม่ได้ที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ. ด้วยเหตุดังนั้น สภาพการณ์ที่เป็นอยู่จึงได้รับการเสริมแต่งให้สมบูรณ์ขึ้น ทัศนะเกี่ยวกับสังคมเช่นนี้เป็นเรื่องของโชคชะตาหรือพรหมลิขิต และเป็นแนวอนุรักษ์นิยม

แต่อย่างไรก็ตาม การดำเนินเรื่องในแบบโครงสร้างวงจรย้อนกลับ สามารถที่จะชี้ถึงสิ่งต่างๆได้ด้วย. โครงสร้างของภาพยนตร์ดังกล่าวสามารถสร้างถ้อยแถลงอันหนึ่งขึ้นมา นั่นคือ ประเด็นปัญหา ณ แกนกลางหัวใจของภาพยนตร์เป็นเรื่องที่แก้ไขอะไรไม่ได้ หรือนั่นคือปัญหาอันหนึ่งซึ่งมีแนวโน้มที่จะปรากฏขึ้นมาบนผิวหน้าอีกครั้ง; แบบแผนอันหนึ่งที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในครอบครัว, ในชีวิตของปัจเจกชน, หรือในสังคม

ยกตัวอย่างเช่นภาพยนตร์เรื่อง Nil by Mouth และ The War Zone ทั้งสองเรื่องนี้มีการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวงจรความรุนแรงในบ้านและครอบครัว เป็นเรื่องของการกระทำการทารุณ และทั้งสองเรื่องได้รับการวางโครงเรื่องเพื่อหลีกเลี่ยงที่จะปิดฉากลงหรือก้าวต่อไปข้างหน้า

ตอนจบที่เปิด(open ending) หรือตอนจบที่ยังไม่ได้แก้ปัญหา(unresolved ending) จะปล่อยให้ผู้ชมทั้งหลายอยู่กับความรับผิดชอบที่จะกำหนดนิยามความคิดและตำแหน่งของตัวผู้ชมด้วยตัวเอง และกระทั่งสามารถกระตุ้นผู้ชมให้กระทำการ

มีภาพยนตร์ไม่กี่เรื่องเท่านั้นที่ดำเนินเรื่องในลักษณะวงกลมจริงๆ ซึ่งปฏิเสธความรู้สึกพึงพอใจกับการปิดฉากลงของผู้ชม. Lost Highway และ Memento คือภาพยนตร์สองเรื่องที่ทิ้งให้ผู้ชมอยู่กับจุดเริ่มต้นของการดำเนินเรื่อง, ผูกพันกับคำถามหรือข้อสงสัยต่างๆที่เราเริ่มต้นขึ้นมากับมันอยู่อย่างนั้น ทว่าในแต่ละกรณี เรามีความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับตัวละครต่างๆและสถานการณ์ของพวกเขา และผลลัพธ์มากมายที่ตามมา เราได้เคลื่อนเข้าไปสู่คำถามหรือข้อสงสัยในระดับที่ลึกกว่าอันหนึ่ง

ในภาพยนตร์ประเภทนี้ โครงสร้างการดำเนินเรื่องเป็นการบ่งชี้ถึงความร้ายการในเชิงปรัชญาเกี่ยวกับคำถามหรือข้อสงสัยต่างๆที่ไม่อาจตอบได้ เกี่ยวกับเอกลักษณ์และความทรงจำซึ่งพวกมันปลุกปล้ำอยู่

รูปแบบย้อนกลับ(flashback form)ของภาพยนตร์ เป็นที่นิยมในภาพยนตร์ประเภทที่เรียกว่า Film noir. Film noir อันนี้คือภาพยนตร์แนวตื่นเต้น คุกคาม และน่ากลัว ซึ่งออกมาในรูปมืดๆดำๆ เดิมทีมันเริ่มต้นขึ้นในราวทศวรรษที่ 1940s และ 1950s ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามนุษย์ได้ติดกับหรือตกอยู่ในหลุมพรางของโลกที่เป็นอันตราย เต็มไปด้วยศัตรูที่มุ่งร้าย

ภาพยนตร์เหล่านี้เสนอว่า อะไรก็ตามที่มนุษย์ได้กระทำลงไป พวกเขาได้ถูกชี้ชะตาไปแล้วว่ามันจะจบลงอย่างไร หรือมันจะจบลงตามลิขิตก่อนหน้าของพวกเขา ทำนองเดียวกันกับแบบแผนวงกลม สามารถถูกพบเห็นได้ในภาพยนตร์การ์ตูนจำนวนมาก หรือภาพยนตร์ตลกสถานการณ์(situation comedies)ต่างๆในทุกวันนี้

ในทางตรงข้าม การจบภาพยนตร์แบบ ปิด / ก้าวหน้า (close / progress) ซึ่งเป็นแบบที่สองยอมให้เรื่องดำเนินไปข้างหน้าและมีการเปลี่ยนแปลง. สิ่งต่างๆไม่ได้เป็นไปอย่างที่มันเป็นเมื่อตอนเริ่มเรื่อง (ไม่ว่าจะมีความสุขหรือไม่มีความสุขก็ตาม) อันนี้เสนอว่า มนุษย์สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ต่างๆในชีวิตของพวกเขาได้ ซึ่งเรื่องดังกล่าวได้ไปสัมพันธ์กับกระบวนการเกี่ยวกับศีลธรรมและความเจริญงอกงาม ซึ่งตัวละครสำคัญฝ่าฟันจนบรรลุผลสำเร็จ

ปกติแล้ว แบบแผนอันนี้เป็นไปในเชิงบวก - ตัวละครต่างๆจะเรียนรู้และกลายเป็นคนที่ดีขึ้นในระหว่างการดำเนินเรื่อง - และมันยังเสนอว่า พวกเราสามารถที่จะเคลื่อนไปจากสถานภาพเดิมได้

เมื่อเราดูภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง หรือโทรทัศน์รายการใดรายการหนึ่ง พยายามตัดสินใจว่า มันผลิตซ้ำแบบแผนตอนจบให้เป็นแบบ จบลง / เป็นวงกลม (closed / circular), หรือ จบลง / ก้าวหน้า (closed / progress)อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง. ลองพิจารณาดูว่า ภาพยนตร์เรื่อง Thelma and Louise เข้ากันได้กับแบบแผนเหล่านี้อย่างไร

หมายเหตุ, เรื่อง Thelma and Louise ได้รวมเอาแบบแผนตอนจบในลักษณะ จบลง / เป็นวงกลม และ จบลง / ก้าวหน้า ทั้งคู่นี้เอาไว้ด้วยกัน (การดำเนินเรื่องของภาพยนตร์เป็นจำนวนมาก มีแง่มุมตอนจบทั้งสองแบบนี้) ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว เริ่มต้นด้วยภาพของถนนและภูเขา ซึ่งในท้ายที่สุด Thelma และ Louise ได้มาถึงตอนจบ ณ จุดนี้ของภาพยนตร์. เราไม่รู้ว่าทำไมมันจึงมาถึงตรงนั้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น แต่มันคล้ายคลึงลางบอกเหตุในลักษณะพรหมลิขิตเกี่ยวกับโชคชะตา ที่พวกเธอกำลังมาถึงอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

แต่อย่างไรก็ตาม ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวก็ไปไกลเกินกว่าจุดนี้ และอย่างมีนัยสำคัญ มันได้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าและความเปลี่ยนแปลงของ Thelma และ Louise (พวกเธอได้ละทิ้งผู้คนที่มีอำนาจเหนือกว่า, งานบ้านที่จำเจ, และการกดขี่ต่างๆไปได้). อันนี้เป็นไปในเชิงบวก ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงสำหรับชีวิตที่ดีขึ้น, แม้ว่าตอนสุดท้ายอาจดูน่าเศร้าไปบ้างก็ตาม

ภาพยนตร์กระแสหลักของฮอล์ลีวูดมีแนวโน้มที่จะจบลงแบบปิดฉาก(closed ending) แต่อย่างไรก็ตาม ภาพยนตร์หลายต่อหลายเรื่องสามารถที่จะจบลงในลักษณะ ปลายเปิด / ปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข(open / unresolve) และอันนี้บางครั้ง เป็นกรณีที่สัมพันธ์กับภาพยนตร์กระแสหลัก

ภาพยนตร์แนวสยองขวัญ โดยจารีตแล้ว มักจะจบลงในลักษณะปลายเปิด(open ending) อย่างเช่นในภาพยนตร์ชุดเรื่อง Nightmare on Elm Street. ซึ่งไม่เพียงเพราะมันจะได้มีที่ว่างสำหรับนำเสนอตอนต่อไปเท่านั้น (แม้ว่าอันนี้จะเป็นเหตุผลในเชิงการตลาด) แต่มากไปกว่านั้นเพราะว่า ภาพยนตร์แนวสยองขวัญ มุ่งหมายที่จะคุกคามเรานั่นเอง

ส่วนหนึ่งของพลังและความพึงพอใจเกี่ยวกับภาพยนตร์สั่นประสาทก็คือ มันจะทำให้เราประสบกับความกลัว และเผชิญหน้ากับสิ่งต่างๆที่ทำให้เราตกใจและตรึงเราให้อยู่ในฉากภาพยนตร์ที่ปลอดภัย. แต่ธรรมชาติของความกลัวมันเกี่ยวข้องกับความรู้สึกไม่มั่นคง และมันคือสิ่งสำคัญสำหรับความสำเร็จของภาพยนตร์แนวนี้ ซึ่งตอนจบของเรื่องมักจะปล่อยให้ปลายเปิด เพื่อให้ความสยองขวัญสั่นประสาท และความรู้สึกอกสั่นขวัญหนีสามารถที่จะหวนกลับคืนมาได้

ดังนั้น จึงได้มีการปล่อยภาพยนตร์เอาไว้กับตอนเริ่มต้นของเรื่องที่จะต่อเนื่องตามมา ซึ่งได้งอกรากของมันอยู่ในมุมมืดของจิตใจเรา รอคอยที่จะผุดขึ้นมาในฝันร้ายและลอยอยู่บนผิวหน้าของความคิดเราเมื่อเราอยู่เพียงลำพัง และไฟทุกดวงได้ปิดสนิทลง

การปฏิเสธความรู้สึกสบายๆเกี่ยวกับการจบลงในลักษณะปิดฉาก(closed ending) ยินยอมให้โครงสร้างการดำเนินเรื่องได้สร้างความรบกวนขึ้นมา

บรรดานักวิจารณ์เสนอว่า ณ ห้วงเวลาอันไม่แน่นอนของสังคมและศีลธรรม ภาพยนตร์เชิงพาณิชย์อาจจะไม่นำเสนอตอนจบที่ได้รับการแก้ไขอย่างหมดจด(wood 1986). แต่อย่างไรก็ตาม ภาพยนตร์นอกกระแส ซึ่งมีการดำเนินเรื่องซึ่งไม่ได้เป็นไปตามแบบแผนธรรมดา เป็นเรื่องปกติที่เราจะพบว่า ตอนจบของภาพยนตร์ประเภทนี้ ทิ้งท้ายเอาไว้ในลักษณะปลายเปิด

ภาพยนตร์นอกกระแส ซึ่งมีการดำเนินเรื่องไม่ได้เป็นไปอย่างเดียวกับกระแสหลัก โดยตอนจบมักจะมีลักษณะแบบ เปิด / ไม่ได้แก้ปัญหา (open / unresolved) บ่อยทีเดียวอันนี้จะพบได้ใน "ภาพยนตร์ศิลปะ"(art film) ซึ่งเป็นแบบฉบับอันหนึ่งของภาพยนตร์ที่มีการปรับตัวในเชิงสติปัญญามากกว่าภาพยนตร์เชิงพาณิชย์

ภาพยนตร์ศิลปะ มักจะเสนอความท้าทายต่อผู้ชม และท้าทายต่อระเบียบกฎเกณฑ์ที่มีบทบาทสำคัญรวมถึงบรรทัดฐานที่ได้รับการยอมรับทางสังคม บ่อยมากที่พวกมันมีเป้าประสงค์ที่จะพูดบางสิ่งบางอย่างซึ่งมีความหมายออกมา และจำนวนมากมีจังหวะก้าวตอนจบในลักษณะเชื่องช้า และใช้วิธีการทางศิลปะอย่างมีสำนึกมากกว่า ตอนจบต่างๆของภาพยนตร์ประเภทนี้อาจมีลักษณะคลุมเครือโดยเจตนา ซึ่งเชื้อเชิญให้ผู้ชมทั้งหลายได้คิดอย่างไตร่ตรองเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาได้ดูมา และคิดแก้ปัญหาความหมายต่างๆ รวมทั้งสำรวจถึงสภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกทางศีลธรรมและสังคมที่เกิดขึ้น

ด้วยเหตุดังนั้น ภาพยนตร์เหล่านี้จึงอาจสะท้อนถึงความไม่แน่นอนของชีวิตจริงที่มีอยู่อย่างมากมาย; แน่นอน พวกมันจะไม่ได้ให้คำตอบอะไรแก่เราง่ายๆ และไม่ใช่ภาพยนตร์ที่เราดูแล้วสบายใจหรือรู้สึกอุ่นใจ. เรื่อง Happiness, Requiem for a Dream in the Dark เป็นตัวอย่างที่ดีของภาพยนตร์เหล่านี้ ซึ่งทำให้ผู้ชมรู้สึกไม่มั่นคงและท้าทาย เพราะว่ามันไปเกี่ยวข้องกับเนื้อหาเรื่องราวที่เกี่ยวกับการก่อกวน ต้องเผชิญกับความยุ่งยากในหนทางที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน โดยไม่มีการนำเสนอตัวละครใดๆซึ่งบรรดาผู้ชมทั้งหลายสามารถเข้าไปสัมพันธ์ด้วยได้โดยง่าย

ตอนจบแบบ เปิด / ไม่ได้แก้ปัญหา ยังพบได้ในภาพยนตร์แนวหน้า(avant-garde) ภาพยนตร์แนวทดลอง(experimental), และภาพยนตร์อิสระ(independent films). เราจะไม่สนทนาถึงภาพยนตร์ที่กล่าวถึงในบทความนี้ แต่มันมีความสำคัญที่ควรตระหนักว่า ภาพยนตร์เหล่านี้ดำรงอยู่ในฐานะภาพยนตร์นอกกระแสและเป็นภาพยนตร์ทางเลือก

ภาพยนตร์พวกนี้มีแบบแผนการดำเนินเรื่องที่ต่างออกไป หรือกระทั่งไม่มีการดำเนินเรื่องเลยก็มี หากสนใจตัวอย่างเกี่ยวกับผลงานเหล่านี้ สามารถดูได้จากภาพยนตร์อย่างเช่น SBS's Eat Carpet, หรือภาพยนตร์แนวทดลองและอิสระก็อาจดูได้จากโทรทัศน์ช่อง 4 อังกฤษ หรือ UK's Channel 4.

ในความสัมพันธ์กับตอนจบต่างๆ มาถึงตอนนี้ขอให้เรามาพิจารณาถึงคำถามเกี่ยวกับว่า ตัวละครต่างๆถูกวางเอาไว้ในตอนจบของการดำเนินเรื่องอย่างไรบ้าง ที่ชัดเจนมากสุด ให้เราลองพิจารณาดูว่า พวกเขาได้รับรางวัล หรือการกระทำและพฤติกรรมของพวกเขาถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น ให้ตั้งคำถามตัวละครว่า: เธอ / เขา ตายหรือมีชีวิตอยู่, ได้แต่งงานหรืออยู่เป็นโสด, อยู่ลำพังหรืออยู่กับใครคนหนึ่ง, ได้รับรางวัลหรือถูกลงโทษ, และอื่นๆ

ตำแหน่งเชิงโครงสร้างเหล่านี้ได้แสดงให้เราเห็นว่า เราจะคิดเกี่ยวกับตัวละครอย่างไร ดังที่สาธิตหรือแสดงเอาไว้มาตั้งแต่ต้นเรื่องในความสัมพันธ์กับตัวละครที่เป็นเกย์ในภาพยนตร์ต่างๆ

การจบลงแบบมีคู่ครอง (Coupling endings)
มีการพูดกันว่า ภาพยนตร์คือเครื่องจักรสำหรับการจับคู่(making couples) อันนี้เป็นเพราะตอนจบของภาพยนตร์ทั้งหลาย มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การแต่งงานกันในที่สุด หรือเสนอแนะการร่วมกันทางเพศในที่สุด ผลลัพธ์ขั้นสุดท้ายของการดำเนินเรื่องแนวสะเทือนอารมณ์(narrative drama), แนวทดสอบ, แนวขึ้งเครียด, และแนวที่ทำให้ผู้ดูต้องลุ้นอย่างใจจดใจจ่อ ระหว่างชายและหญิงที่จะได้อยู่ร่วมกันในฐานะคู่ครองที่ต้องการซึ่งกันและกัน ขณะเดียวกัน อันนี้ไม่ได้เป็นจริงอย่างชัดเจนกับภาพยนตร์ทุกเรื่องในแนวนี้

ความโดดเด่นของการมีคู่ครองจนสำเร็จ ในฐานะผลผลิตตอนจบอันสมปรารถนาของการดำเนินเรื่อง ได้ผลิตซ้ำอุดมคติอันหนึ่งเกี่ยวกับการแต่งงานกับเพศตรงข้าม อันนี้ได้ย้อนกลับไปถึงช่วงเวลาก่อนหน้าการมีภาพยนตร์ สู่ขนบจารีตต่างๆของมุขปาฐะ(story telling)หรือการเล่านิทาน, รวมถึงละครเวทีและนวนิยายทั้งหลาย

ยกตัวอย่างเช่น มันได้รับการหุ้มห่ออยู่ในแคบซูลของเทพนิยายต่างๆ ซึ่งเริ่มต้นด้วย"กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มันมี… อยู่เป็นนิจ และจบลงด้วยวลีข้อความที่ว่า "และแล้ว พวกเขาก็อยู่กับอย่างมีความสุขชั่วนิจนิรันดร์" (ซึ่งเป็นการพูดถึงการครองคู่กับเพศตรงข้าม หรือการได้แต่งงานกัน)

ลองพิจารณาถึงตอนจบในภาพยนตร์เรื่อง Thelma and Louise และบันทึกลงไปว่า ทัศนะเกี่ยวกับตัวละครและประเด็นปัญหาอะไรที่ตอนจบของภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ให้กับคุณ ตามที่กล่าวถึงข้างต้น

ตัวอย่างข้อคิดเห็นบางประการ
ตอนจบของภาพยนตร์เรื่อง Thelma and Louise เป็นแหล่งต้นตอข้อมูลของการถกเถียงกันมาก(Film Quarterly 1992) มีบันทึกว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการสร้างคู่ครองเรื่องหนึ่ง แต่การครองคู่นี้ถูกสร้างขึ้นมาระหว่างผู้หญิงกับผู้หญิง

บรรดาผู้ชมทั้งหลายสามารถมองการครองคู่นี้ได้ในหนทางที่แตกต่างกันมากมาย: ดังที่มันคล้ายคลึงกับมิตรภาพระหว่างคู่หูที่เป็นผู้ชาย, หรือตัวอย่างหนึ่งของพี่สาวน้องสาว, หรือไม่ก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้หญิงไม่ได้ต้องการผู้ชาย, และมองเรื่องนี้ในฐานะที่เป็นการยกย่องเชิดชูความรักแบบเลสเบี้ยน

ในที่นี้เรามีตัวอย่างที่ดีตัวอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับข้อมูลซึ่งมีความเป็นไปได้หลายหลาก(polysemic) ความหมายของมันขึ้นอยู่กับบรรดาผู้ชมนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม มันถูกอ่าน มันไม่ได้เป็นไปตามขนบธรรมเนียมเกี่ยวกับความผูกพันกันของชายและหญิง ภาพยนตร์เรื่องนี้กำลังทำบางสิ่งที่แตกต่าง

ผู้ชมบางคนอาจสนใจประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการตายของ Thelma และ Louise ส่วนบางคนอาจรู้สึกว่า ฉากสุดท้ายที่หยุดภาพจนนิ่งสนิท(freeze-frame) เป็นการปฏิเสธสิ่งซึ่งเป็นความสุขของเธอทั้งสอง หลังจากที่พวกเธอได้ไต่ขึ้นไปถึงขอบเหว: เราควรจะแสดงให้เห็นความตายของพวกเธอข้างล่าง เช่นพวกเธอได้ตกลงไปไปชนกับก้อนหิน. อันนี้ค่อนข้างเป็นการจบลงแบบรุนแรง ซึ่งจริงๆแล้ว จะติดตัวผู้ชมไปที่บ้านถึงความรู้สึกเกี่ยวกับความกดขี่ และผู้หญิงที่ต้องได้รับความทุกข์ทรมานตลอดไป

การที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่แสดงให้เห็นการปะทะกับส่วนล่างของหุบเหว เป็นการหลีกเลี่ยงอันหนึ่ง ซึ่งได้ลดทอนภาพยนตร์เรื่องนี้ลงมาเป็นภาพยนตร์แนวแฟนตาซีหรือความคิดเพ้อฝัน คนอื่นๆอาจรู้สึกว่า การจบลงเช่นนั้นค่อนข้างจะกดดันและเป็นไปในเชิงลบ: ภาพที่หยุดนิ่งยินยอมให้ผู้ชมทั้งหลายยกย่องคนทั้งคู่

เมื่อตอนที่ผู้เขียนกำลังสอนเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่อง Thelma and Louise ผู้เขียนมักจะชี้ให้เห็นว่า (ต่อนักศึกษาบางคนซึ่งพูดว่า การจบลงเช่นนี้ทำให้รู้สึกเศร้า เพราะ Thelma และ Louise ต้องตาย) อันที่จริงนั้น Thelma และ Louise ไม่ตาย. ภาพยนตร์มาจบลงตรงที่พวกเธอยังอยู่ ที่จริงนั้นภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้พวกเธอมีชีวิตอยู่ต่อไปชั่วนิรันดร์ โดยการหยุดภาพนิ่งเอาไว้ในหนทางหนึ่งซึ่งทำให้รู้สึกต่างไป ถ้าเผื่อว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ได้แสดงให้เห็นว่าพวกเธอปะทะเข้ากับอะไรบางอย่าง. ในความรู้สึกหนึ่งพวกเธอเป็นอมตะ และสำหรับผู้เขียนอันนี้เป็นการจบลงที่ค่อนข้างเป็นไปในเชิงบวก

ในข้อเท็จจริง ภาพนิ่ง(freeze-frame)ไม่ใช่ภาพตอนจบของภาพยนตร์เสียทีเดียว เช่นดังตอนเครดิตเริ่มต้นขึ้นตอนท้ายเรื่อง เราได้เห็นภาพจำนวนหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า Thelma และ Louise อยู่ด้วยกัน ซึ่งตัดมาบางส่วนจากภาพยนตร์ อันนี้ได้ดึงความสนใจของเรากลับไป, และยกย่องมิตรภาพของพวกเธอ

เราไม่ได้เห็นว่ารถไปปะทะกับอะไร ซึ่งอันนี้ดึงเราให้ถอยห่างจากความตื่นเต้นในจุดเร้าใจที่สุด หรือ climax ที่ภาพยนตร์แนวแอ็คชั่นจำนวนมากให้ความรู้สึกนั้นๆกับเรา แต่สังเกตไหมว่า การดำเนินเรื่องที่นำเสนอในช่วงตอนนั้นสักประมาณสิบนาที ก่อนที่ภาพยนตร์จะจบเป็นอย่างไร เมื่อ Thelma และ Louise ระเบิดรถบรรทุกในฉากที่น่าตื่นเต้นนั้น เราไม่ต้องการให้มีการระเบิดอีก! แล้วคุณล่ะ อยากจะให้ภาพยนตร์เรื่องนี้จบลงอย่างไร?

ขณะที่มีคนกล่าวว่า ภาพยนตร์เป็นเครื่องจักรอันหนึ่งในการสร้างคู่ครอง ซึ่งเป็นอย่างแรกที่ได้รับการชี้แนะโดยเนื้อหาต่างๆของภาพยนตร์ ยังมีการกล่าวบางอย่างอีกที่เป็นประโยชน์ว่า ภาพยนตร์คือสถาบันอันหนึ่ง ในฐานะสถานที่ที่ผู้ชมทั้งหลายไปเยี่ยมเยือน ภาพยนตร์เป็นสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งมีความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับคู่หนุ่มสาว

เมื่อการแสดงออกทางเพศได้ถูกควบคุม โรงภาพยนตร์ได้เสนอพื้นที่จารีตอันหนึ่งขึ้นมาในท่ามกลางบรรยากาศมืดสลัวสำหรับหนุ่มสาว, มีความเป็นส่วนตัว, และบรรยากาศอีโรติค-เอื้ออำนวยต่อเรื่องทางเพศ มันเป็นสถานที่ซึ่งพวกเขาสามารถทดสอบความคุ้นเคยสนิมสนมกันทางกายได้. อีโรติคและโรแมนซ์รักๆใคร่ๆ การโฟกัสลงไปที่เรื่องเพศและความรัก มักจะเป็นส่วนสำคัญอันหนึ่งของผลิตผลของภาพยนตร์ มันส่งเสริมหรือกระตุ้นความรู้สึกต่างๆเกี่ยวกับการจับคู่ในหมู่ผู้ชม

โรงภาพยนตร์ โดยขนบจารีตแล้ว คือสถานที่แห่งหนึ่งซึ่งคุณจะเชิญชวนหุ้นส่วนหรือคู่รักของคุณไป ทุกวันนี้คุณยังคงเห็นคนรักพากันไปที่โรงภาพยนตร์ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์อันโรแมนติคของพวกเขา. โฆษณาจำนวนมากบนจอในโรงภาพยนตร์ ก่อนที่ภาพยนตร์เรื่องที่เราตั้งใจไปดูจะฉาย ได้ถูกพูดถึงหรือให้ภาพเกี่ยวกับคู่รักเช่นกัน; มันจะโฟกัสไปยังกิจกรรมต่างๆทำนองนั้น อย่างเช่น การออกไปทานข้าวนอกบ้านด้วยกัน หรือการไปซื้อเฟอร์นิเจอร์สำหรับครอบครัว

ผมมักจะรู้สึกประทับใจอยู่บ่อยๆในเชิงตรงข้าม ระหว่างช่วงโฆษณาต่างๆในโรงภาพยนตร์ท้องถิ่น ซึ่งมีแนวโน้มที่จะให้ภาพหรือพรรณาถึงการใช้ชีวิตประจำวันจริงๆ, ราบเรียบเป็นปกติ, การปรับตัวของชีวิตครอบครัว, และภาพในลักษณะละคร, รวมทั้งเรื่องราวเพ้อฝัน(fantasy) และน่าตื่นเต้นที่ผู้ชมทั้งหลายพากันมาดู

ความตรงข้ามนี้ได้ถูกแสดงออกมาอย่างงดงามใน Brief Encounter, ซึ่งรวมถึงฉากๆหนึ่งที่คู่รักในภาพยนตร์มองดูรถพ่วงคันหนึ่งที่โฆษณาภาพยนตร์เรื่อง Flames of Passion (ไฟราคะ) - อย่างชัดเจน มันค่อนข้างดูแปลกๆ, อีโรติค, สุดยอดเกินกว่าปกติของความฝันเฟื่อง - ถัดจากนั้นตามมาทันทีด้วยโฆษณาอันหนึ่งเกี่ยวกับ "นมสำหรับลูกน้อย"! สองแง่มุมเกี่ยวกับเรื่องเพศสำหรับคู่รัก - อีโรติคและเป็นเรื่องทางโลกเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูก อันหลังนี้คือผลลัพธ์ที่มีศักยภาพอันหนึ่งของเรื่องก่อนหน้านี้ - ซึ่งได้ถูกนำมาวางเคียงกันในเชิงล้อเลียนในฉากดังกล่าว

การจบลงอย่างมีความสุขโดยคู่รักประสบความสำเร็จ คือบรรทัดฐานสำหรับภาพยนตร์ต่างๆของฮอล์ลีวูด นับจากทศวรรษที่ 1930s จนกระทั่งมาถึงช่วงทศวรรษ 1950s ภาพยนตร์ที่จบลงอย่างมีความสุขยังคงถูกสร้างกันอยู่ และปัจจุบัน บ่อยครั้งพวกมันถูกอ้างถึงในฐานะที่เป็นภาพยนตร์ที่ให้ความรู้สึกดีๆ

แต่นับจากทศวรรษที่ 1960s เป็นต้นมา มีภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นซึ่งไม่ได้จบลงอย่างมีความสุข และตอนท้ายของเรื่องไม่มีทางออกใดๆมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงอันนี้สามารถพบเห็นได้ในฐานะที่มันเป็นภาพสะท้อนอันหนึ่ง เดิมที เกี่ยวกับการมองโลกในแง่ดีของสังคมอเมริกัน และการทนอยู่กันมาของครอบครัว จากทศวรรษที่ 1930s จนมาถึง 1950s และหลังจากนั้น นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960s เป็นต้นมา มันเป็นภาพสะท้อนอันหนึ่งของความไร้เสถียรภาพมากขึ้น และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับคุณค่าต่างๆของสังคม และโยงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า หน่วยของครอบครัวได้ตกอยู่ภายใต้แรงกดดันค่อนข้างมากในอดีตถึงสามทศวรรษ

การจบลงแบบชีวิตคู่ มีความผันแปรไปได้มากมายหลายหลาก: ยกตัวอย่างเช่น การจบลงอย่างน่าเศร้าโดยที่ทั้งคู่ต้องจบชีวิตลง หรือความล้มเหลวของชีวิตคู่ได้สิ้นสุดลงแล้วมาครองรักกันใหม่. ภาพยนตร์แนวตะวันตกหรือหนังคาวบอยเป็นจำนวนมาก จบลงด้วยการที่พระเอกต้องเดินจากไปโดยลำพังคนเดียวท่ามกลางบรรยากาศพระอาทิตย์ตกดิน พระเอกยังคงต้องเดินทางต่อไป เพื่อแสวงหาและยังคงอยู่นอกกฎเกณฑ์ของสังคมและไม่ได้แต่งงาน

คู่ที่ไม่ใช่เพศตรงข้าม(เพศเดียวกัน)คือความเป็นไปได้อีกอันหนึ่ง: คู่หูผู้ชาย, คู่หูผู้หญิง, เกย์ และคู่รักเลสเบี้ยน. ภาพยนตร์ที่จบลงแบบชีวิตคู่ซึ่งเป็นผู้หญิง การดำเนินเรื่องแนวนี้กำลังมีเพิ่มมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่นภาพยนตร์เรื่อง The Stepfather ลงเอยด้วยแม่และลูกสาวได้อยู่ร่วมกัน หลังจากที่ชายชั่วคนนั้นได้ถูกฆ่าตาย

เรื่อง Desperately Seeking Susan เป็นเรื่องของผู้หญิงสองคนที่นำพาเรื่องไป ขณะที่ภาพยนตร์ให้ความมั่นใจว่า เธอแต่ละคนต่างพบผู้ชายซึ่งเป็นคนรักที่เหมาะสม แต่ตอนจบของภาพยนตร์ มันไม่ได้ลงท้ายด้วยการครองคู่อย่างสมรักกับแฟนหนุ่มของตัวเอง มันกลับแสดงให้เห็นภาพๆหนึ่งของผู้หญิงสองคนที่ผูกพันกันและกันแทน. ช็อตสุดท้ายของภาพยนตร์ พวกเธอได้ถ่ายรูปร่วมกันซึ่งทำเป็นภาพนิ่งที่ทั้งสองต่างๆจับมือและชูขึ้นพร้อมกันอย่างมีชัยชนะ และช็อตนี้มีข้อความบรรยายว่า "คู่รักที่แท้จริง"

ขณะที่ความสุขของความรักต่างเพศ(ชีวิตคู่แบบชาย-หญิง)ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนโดยภาพยนตร์ การจบลงด้วยมิตรภาพของผู้หญิงและมีความสัมพันธ์กันก็มีความสำคัญมากขึ้น. มันเป็นความผูกพันในลักษณะทำนองเดียวกัน แต่ไม่ได้ให้การสนับสนุนที่จบลงในแบบเดียวกันกับความสุขแบบเพศตรงข้าม ซึ่งสามารถเห็นได้ในภาพยนตร์เรื่อง Thelma and Louise

ภาพยนตร์เรื่อง My Best Friend's Wedding ซึ่งกำกับโดย PJ. Hogan นับเป็นการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจในตอนจบของภาพยนตร์แนวคู่หู ช่วงไตเติลของภาพยนตร์ได้ดึงความสนใจไปสู่ข้อเท็จจริงที่ว่า การแต่งงานเป็นศูนย์กลางของการดำเนินเรื่อง (ไตเติลของภาพยนตร์เรื่องนี้มีความคล้ายคลึงกับ Muriel's Wedding และภาพยนตร์ก่อนหน้านั้นที่กำกับโดย Hogan และภาพยนตร์อีกเรื่องหนึ่ง ที่รวมเอาเรื่องราวเกี่ยวกับมิตรภาพของผู้หญิงคู่หนึ่งไว้) โดยเหตุนี้ เราจึงอาจจะคาดหวังเอาไว้ว่าการแต่งงานจะจบลงด้วยความสุข

สำหรับภาพยนตร์เรื่อง My Best Friend's Wedding ได้วางพื้นฐานอยู่รายรอบตัวละคร ๔ ตัวคือ Julianne Potter (Julia Roberts), คือเพื่อนที่ดีที่สุด, Michael O' Neal (Dermot Mulroney) ผู้ซึ่งมั่นหมายที่จะแต่งงานกับ Kimmy Wallace (Cameron Diaz). Julianne มีเพื่อนอีกคนหนึ่งคือ George Downey (Rupert Everrett) ซึ่งเป็นเกย์.

Julianne ได้รับการวางตำแหน่งในฐานะตัวละครที่เป็นแกนหลักอย่างชัดเจนของภาพยนตร์เรื่องนี้: เธอเป็นตัวละครเอก ซึ่งพวกเราทั้งหลายใช้สายตาของเธอมอง เธอเป็นตัวละครหลักที่ผู้ดูรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเธอ และบรรดานักแสดงทั้งหมดในภาพยนตร์เรื่องนี้ Julia Roberts มีสถานภาพความเป็นดารามากที่สุด

Julianne ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการแต่งงานอย่างใกล้ชิด และตระหนักว่า จริงๆแล้วเธอหลงรัก Michael และตัวเธอเองต้องการเขาด้วย เธอวาดหวังที่จะก่อกวนและทำลายการแต่งงาน และเอาชนะโดยการดึงเขากลับมา และความพยายามต่างๆของเธอที่จะกระทำสิ่งนี้มาจากเค้าโครงการดำเนินเรื่อง

ในตอนจบของภาพยนตร์เรื่องนี้ เธอประสบกับความล้มเหลว: Kimmy และ Michael ได้แต่งงานกันอย่างมีความสุข และเธอต้องอยู่กับตัวเอง แม้ว่าเธอยังคงมีอาชีพการงานและเพื่อนเกย์(เพื่อนใหม่ที่แสนดี?). ภาพยนตร์จบลงด้วยฉาก Robert และ Everett ได้เต้นรำกันอย่างมีความสุขในงานแต่งงาน ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะไม่มีเซ็กซ์ด้วยกันหรือเป็นหุ้นส่วนชีวิตคู่กันก็ตาม

คำถามคือว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้จบลงอย่างมีความสุขใช่ไหม?

ในการเล่าเรื่องตามขนบประเพณี การได้แต่งงานเป็นการจบลงอย่างมีความสุข ส่วนการไม่ได้แต่งงานกัน ถือว่าไม่ลงเอยกันอย่างมีความสุข. จากมุมมองนี้ จะเห็นว่าเมื่อตัวละครต่างๆที่ไม่ได้แต่งงาน คือดาราเด่นของภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว ดังนั้นจึงปรากฏว่า ทั้งหมดของภาพยนตร์กำลังนำเสนอตอนจบแบบไม่มีความสุข(unhappy ending)

ตอนจบของภาพยนตร์อาจเสนอด้วย ถึงเจตจำนงที่มั่นคง, ผู้หญิงที่มีอาชีพการงาน ผู้ซึ่งมีบทบาทอย่างสำคัญเชิงรุกในการกำหนดชะตากรรมของตัวเธอเอง ซึ่งไม่ต้องการได้รับรางวัลจากความพึงพอใจต่างๆตามขนบประเพณีเกี่ยวกับการแต่งงานกับหุ้นส่วนชีวิตที่ปรารถนา (ในทางตรงข้าม สิ่งที่ประหลาดดูไร้สาระ, ความทุ่มเท, ซื่อสัตย์, ความมั่งคั่งร่ำรวย, เป็นแบบฉบับของผู้หญิงที่แสดงโดย Diaz)

แต่อย่างไรก็ตาม เราคิดว่ามันมีปัจจัยหรือองค์ประกอบมากมายในที่นี้ ที่แสดงถึงการที่ไม่แต่งงานและการมีมิตรภาพอันเข้มแข็งเป็นสิ่งที่ดี ถ้าเผื่อว่าเป็นคนที่ไม่ชอบการแต่งงานกับเพศตรงข้าม(heterosexual marriage) ซึ่งบรรดาคนนอกทั้งหลาย (ผู้หญิงที่มีอาชีพการงานที่ไม่ได้แต่งงานและรู้จักปรับตัว, ผู้ชายที่เป็นเกย์) คือความเป็นหนึ่งเดียวที่ค้นพบตอนจบอย่างมีความสุข. คำถามคือ อะไรที่น้อมนำเราไปสู่การอ่านแบบนี้?

๑. ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นแนวตลก(comedy) โดยจารีตแล้ว ภาพยนตร์แนวตลกจะจบลงอย่างมีความสุขสำหรับตัวละครหลักๆ ด้วยเหตุนี้การอ่านโดยทั่วไป เนื่องจากว่าตัวละครหลักไม่ได้แต่งงานในตอนท้ายเรื่อง การไม่ได้แต่งงานจึงกลายเป็นตอนจบอย่างมีความสุข และด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ตอนจบจึงได้ถูกกำหนดเอาไว้ให้กับตัวละครรองๆ

๒. ความปรารถนาทั้งหลายของตัวละครในเรื่องซึ่งแสดงโดยดารานักแสดงที่มีชื่อเสียงต่างๆ ปกติแล้ว มีน้ำหนักมากกว่าตัวละครทั้งหลายที่แสดงโดยดารานักแสดงซึ่งมีชื่อเสียงน้อยกว่า. ตัวละครต่างๆที่แสดงโดยดาราที่มีชื่อเสียง ตามปกติ จะจบลงอย่างมีความสุขยิ่งกว่าตัวละครทั้งหลายที่แสดงโดยดาราต่างๆที่มีชื่อเสียงน้อยกว่า ด้วยเหตุนี้ การอ่านโดยผ่านการวิเคราะห์ดารา การไม่ได้แต่งงานจึงถูกอ่านว่า เป็นที่น่าปรารถนามากกว่าได้แต่งงาน. (Mulroney โดยแท้จริงแล้ว ไม่เป็นที่รู้จักในฐานะที่เป็นดาราคนหนึ่ง และ Everett, ในช่วงเวลาที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการสร้างขึ้น เป็นที่รู้จักมากกว่า Diaz)

๓. ตัวละครที่แสดงโดย Julia Roberts และ Rupert Everett ต่างมีบทบาทไปในทางสนุกสนาน รอบรู้ หูตาไวเฉลียวฉลาด และเป็นที่ดึงดูดใจมากกว่าตัวละครต่างๆที่แสดงโดย Diaz และ Mulroney. เราได้ถูกเชื้อเชิญให้ชื่นชอบ Roberts และ Everett และหัวเราะไปกับคนทั้งสอง. บทบาทของของ Mulroney เป็นอะไรบางอย่างที่ไม่ใช่แกนหลัก: การแต่งงานกับเขาอาจจะสนุกสนานน้อยกว่าอิสรภาพและมิตรกภาพกับ Everett, George!

๔. โทนของภาพยนตร์แนวตลกเป็นเรื่องเสียดสีเกี่ยวกับกริยาท่าทีของคนอเมริกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องของการแต่งงานและเรื่องครอบครัว: เช่นดังในภาพยนตร์เรื่อง Muriel' s Wedding ผู้กำกับ Hogan ได้ใช้ซาวด์แทรกแบบ "camp" music ด้วยวิธีการนั้นมันจึงส่งเสริมอุดมคติต่างๆเกี่ยวกับการแต่งงานและชีวิตครอบครัว

เราอาจพูดเกินความจริงไปเกี่ยวกับข้อสรุปอันนี้ที่ว่า ภาพยนตร์ใส่ร้ายป้ายสีเรื่องการแต่งงานมากไป. ในฉากสุดท้ายเกี่ยวกับการแต่งงานของ Kimmy เชื้อเชิญให้ผู้ดูทั้งหลายรู้สึกพึงพอใจในภาพที่น่าตื่นเต้นเกี่ยวกับการแต่งงาน และอาจเป็นไปได้ที่ ภาพยนตร์ได้เสนอบทสรุปที่ว่า มันมีความเป็นไปได้ที่จะมีความสุขไม่ว่าจะมีการแต่งงานหรือไม่ก็ตาม: แต่ท้ายสุด ภาพยนตร์ได้ลงเอยด้วยภาพสองภาพที่แตกต่างกันเกี่ยวกับคู่ที่ประสบความสำเร็จ แต่อย่างไรก็ตาม มันเป็นภาพของ Julianne และ George ซึ่งอยู่ในฉากสุดท้ายของภาพยนตร์ร่วมกัน

ที่ไหนกัน ที่ถ้อยแถลงของภาพยนตร์อันนี้ได้ทิ้งเอาไว้เกี่ยวกับว่า ภาพยนตร์เป็นเครื่องจักรอันหนึ่งสำหรับการสร้างคู่? ความเอาใจใส่ที่เป็นแกนหลักของภาพยนตร์ คือสิ่งที่ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์ใกล้ชิดกัน และสิ่งเหล่านี้สามารถทำได้ดีที่สุดได้อย่างไร. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หัวข้อนี้ สัมพันธ์กับความผูกพันเกี่ยวกับการแต่งงานกับเพศตรงข้าม และในท้ายที่สุด มันคือประเด็นหลักที่เป็นแกนกลางของภาพยนตร์จำนวนมากและรายการแสดงทางโทรทัศน์ โดยเฉพาะแนวเมโลดราม่าต่างๆ, ละครน้ำเน่า, และตลกสถานการณ์, อันนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจที่จะสำรวจกันต่อไป

โดยเหตุที่ การจบต่างๆซึ่งเคยชี้ไปยังความสุขโดยผ่านการตั้งมั่นของการมีคู่ต่างเพศและชีวิตครอบครัวที่ดี เมื่อมาถึงต้นคริสตศตวรรษที่ ๒๑ เรื่องนี้กลับกลายเป็นปัญหาในหลายๆกรณี ความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับตอนจบที่มีความสุข สามารถถูกพบเห็นได้ในฐานะที่เป็นผลสะท้อนอันหนึ่งของสภาวะการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการแต่งงาน ความสัมพันธ์ทางเพศและชีวิตครอบครัวในสังคมตะวันตกประมาณ ๓๐ ปีที่ผ่านมา

มันเป็นวิกฤตการณ์อันหนึ่งในสถาบันต่างๆเหล่านี้ ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับ การจะอยู่อย่างไรให้อยู่เหนือจากความปรารถนาทางเพศและความสัมพันธ์ต่างๆ. การดำเนินเรื่องดังกล่าวได้สะท้อนเรื่องนี้ และได้เสนอความคิดเห็นบางอย่าง คำตอบหรือข้อเสนอบางประการเกี่ยวกับปัญหาทั้งหลายเหล่านี้ที่สามารถแก้ไขได้

เราสามารถมองไปที่การดำเนินเรื่องต่างๆในฐานะการวางข้อแก้ไขที่แตกต่างของประเด็นปัญหาดังกล่าวข้างต้น. ภาพยนตร์เรื่อง My Best Friend's Wedding ได้วางตอนจบในลักษณะชีวิตคู่ที่มีความสุขที่อยู่นอกเหนือบรรทัดฐานของการแต่งงาน และการมีเพศสัมพันธ์ต่างเพศในฐานะความเป็นไปได้อันหนึ่ง

เรื่อง The Next Best Thing เป็นภาพยนตร์อีกเรื่องหนึ่งที่นำแสดงโดย Rupert Everett ซึ่งได้ทำงานอย่างหนักเพื่อเพิ่มพลังและให้การสนับสนุนวาทกรรมหลักเกี่ยวกับชีวิตครอบครัวและความอบอุ่น ที่สวนกลับการขุดเซาะทำลายความเป็นไปได้ต่างๆสำหรับความสุขที่ถูกพบได้ในคู่ชีวิตแบบทางเลือก

The Next Best Thing เริ่มเรื่องตรงที่ภาพยนตร์เรื่อง My Best Friend's Wedding ได้ทิ้งท้ายเอาไว้ ห้วงเวลานี้เป็น Madonna แสดงแทน, ไม่ใช่ Julia Roberts ซึ่งเป็นเพื่อนรักที่สุดของ Everett เพราะโดยแก่นแล้ว Everett ได้เล่นบทบาทเดียวกันในภาพยนตร์ทั้งสองเรื่อง และเพราะ Roberts และ Madonna เป็นผู้หญิงที่มีพลังทั้งคู่ กล่าวคือเป็นผู้หญิงที่มีงานอาชีพอิสระ ความคิดที่ว่า การตีความต่างๆของเราเกี่ยวกับภาพยนตร์ขึ้นอยู่กับ"การเลื่อนไหลไปมาของการตีความ"เกี่ยวกับบทบาทของดารา และข้อเท็จจริงที่ว่า การดำเนินเรื่องของภาพยนตร์ บ่อยครั้ง ทำงานอย่างแข็งขันเพื่อเพิ่มพลังอุดมคติหลักต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่มันสอดคล้องกันในที่นี้

ถ้าหากว่าการเลื่อนไหลของการตีความเกี่ยวกับดาราและบทบาทต่างๆที่พวกเธอเล่น น้อมนำเราให้ไปดู The Next Best Thing ในฐานะภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่ทำขึ้นมาต่อจากเรื่อง My Best Friend's Wedding หากเป็นเช่นนั้น เราก็ไม่สามารถที่จะอ่านมิตรภาพระหว่างผู้ชายที่เป็นเกย์ กับผู้หญิงที่มีงานอาชีพ ในฐานะทางเลือกที่งอกงามได้อันหนึ่งของการแต่งงาน - อย่างน้อยที่สุดไม่ใช่เพราะความสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับเด็กๆ

ขณะที่เรื่อง The Next Best Thing เปิดตัวด้วยการให้บทบาทของ Madonna และ Everett ได้ก่อร่างสร้างชีวิตครอบครัวทางเลือก(alternative family)ขึ้นมา ซึ่งต่อมาภายหลังได้ถูกทำลายลง เมื่อ Madonna ได้เข้าสู่พิธีวิวาห์กับคนรักต่างเพศตามขนบจารีตกับ Benjamin Bratt และภายหลังต่อมาได้ห้ามเพื่อนรักเก่าของเธอเข้าหาเด็กๆที่พวกเขาเลี้ยงดูด้วยกัน

(อันนี้เป็นไปในเชิงเหน็บแนม, ณ ช่วงเวลาดังกล่าว ภาพยนตร์ได้สร้าง Bratt ขึ้นมา ซึ่งเขาเป็นหุ้นส่วนในชีวิตจริงของ Roberts ดังนั้นพลังต่างๆเกี่ยวกับการเลื่อนไหลของการตีความ และความสัมพันธ์ระหว่างโลกแฟนตาซีของภาพยนตร์ และโลกในชีวิตจริงกลายเป็นเรื่องที่มีพลังเพิ่มขึ้น)

ตัวอย่างอันนี้เป็นภาพประกอบที่มีพลังภาพหนึ่ง เกี่ยวกับการที่ผู้ดูอ่านภาพยนตร์ทั้งหลายอย่างสัมพันธ์กับข้อมูล และเกี่ยวกับหนทางที่สถาบันภาพยนตร์มีแนวโน้มที่จะเพิ่งพลังหรือให้การสนับสนุนอุดมคติกระแสหลักต่างๆมากขึ้น

ภาพยนตร์จำนวนมากได้สร้างหน่วยของครอบครัวขึ้นมาใหม่ โดยไม่คำนึงถึงวิกฤตของมัน ภาพยนตร์เรื่อง Parenthood ถือเป็นตัวอย่างที่ดีเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ภาพยนตร์เรื่องนี้ ไม่คำนึงถึงปัญหาทั้งหมดเกี่ยวกับการหย่าร้าง, การแยกกันอยู่, ปัญหาเกี่ยวกับเด็กๆ, พ่อที่หายหน้าหายตาไป, และความต้องการทางเพศ, ในตอนจบของภาพยนตร์ มันได้ให้การยกย่องเกี่ยวกับคุณค่าของชีวิตครอบครัว กล่าวโดยสรุป การดำเนินเรื่องของภาพยนตร์และโทรทัศน์ได้จัดการกับประเด็นปัญหาแกนกลางนี้ และตามแก้ปัญหาต่างๆที่เป็นไปได้เหล่านี้โดยลำดับ

การเล่าเรื่องของโทรทัศน์ (Television narratives)
ส่วนใหญ่ของสิ่งที่เราได้พูดคุยกันเกี่ยวกับการดำเนินเรื่อง ได้นำไปใช้กับภาพยนตร์ จะมีก็เพียงบางส่วนที่ประยุกต์ใช้ได้กับละครโทรทัศน์ ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลสื่อที่มีความสำคัญเท่าๆกันอีกชนิดหนึ่ง.มันเป็นไปได้ที่เราจะประยุกต์ใช้แนวคิดข้างต้นนี้ทั้งหมดกับโทรทัศน์ แต่กระนั้นก็ตาม มันก็มีบางสิ่งบางอย่างที่แตกต่างกันอย่างสำคัญ

ในทางที่ตรงข้ามกับพื้นที่ส่วนตัว บรรยากาศรายรอบที่มืดมิดของโรงภาพยนตร์ สถานที่เหมาะสมสำหรับคนรัก โทรทัศน์แรกทีเดียวถูกนำเสนอสำหรับครอบครัว ในฐานะความบันเทิงที่ดูกันภายในบ้าน สถานที่ตั้งของเครื่องรับโทรทัศน์ เดิมทีตามปกติจะตั้งอยู่ในพื้นที่รวมของครอบครัว เช่น ห้องรับแขกหรือห้องนั่งเล่น และมันจะถูกดูโดยสมาชิกทั้งหมด บ่อยครั้งสมาชิกทั้งหลายภายในครอบครัวจะดูโทรทัศน์ร่วมกัน

การดูโทรทัศน์ด้วยกันนี้ ปัจจุบันเริ่มที่จะแยกๆกัน บางส่วนเนื่องมาจากโปรแกรมรายการต่างๆที่แยกความสนใจของสมาชิกภายในครอบครัวนั่นเอง ซึ่งหมายความว่าสมาชิกทั้งหลายสามารถที่จะดูรายการต่างๆที่ตนสนใจในเวลาที่ต่างกันได้ แต่อีกเหตุผลหนึ่ง เนื่องมาจากการผลิตโทรทัศน์เพิ่มมากขึ้น และราคาของเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีราคาถูกลงตามลำดับ มาถึงตอนนี้ เราจะพบว่าโทรทัศน์มีอยู่ตามห้องต่างๆมากกว่าห้องรวมของครอบครัว อย่างเช่นห้องนอน เป็นต้น ซึ่งสามารถดูโทรทัศน์ได้เป็นการส่วนตัวมากขึ้น

ยังมีความแตกต่างอีกอันหนึ่งด้วย ระหว่างภาพยนตร์และโทรทัศน์ในความสัมพันธ์กับโครงสร้างการดำเนินเรื่อง รูปแบบเด่นๆของโทรทัศน์จะมีลักษณะที่เป็นตอนๆ(episodic)หรือเป็นชุด(series)ในเชิงโครงสร้าง รูปแบบที่ต่อเนื่องของโทรทัศน์ที่เป็นตอนๆนี้น้อมนำมันไปสู่ตอนจบที่มีลักษณะปลายเปิดมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในละครน้ำเน่า ซึ่งจะมีโครงสร้างการดำเนินเรื่องที่ไม่เคยปิดฉากลงอย่างสมบูรณ์

ละครชุดทางโทรทัศน์ จะรวมเอาแนวเรื่องบางอย่างที่ได้รับการกระจายๆกันออกไปในแต่ละสัปดาห์ ซึ่งจะถูกนำพาจากสัปดาห์หนึ่งไปยังอีกสัปดาห์หนึ่ง. ในทางตรงข้าม ภาพยนตร์มักชอบที่จะจบลงแบบปลายปิด

ในการดำเนินเรื่องของภาพยนตร์ มีแนวโน้มที่จะโฟกัสลงไปที่ตัวละครหลักๆตัวหรือสองตัวที่เป็นหัวใจของเรื่องราว และพล็อตเรื่องก็จะผูกพันอยู่กับคำถามหลักๆเพียงข้อหนึ่งเท่านั้น อย่างเช่น "อะไรจะเกิดขึ้นกับ Thelma และ Louise?" ส่วนละครโทรทัศน์ บ่อยครั้ง ได้ถูกจัดการขึ้นมารายรอบเรื่องราวต่างๆอย่างหลากหลาย และกลุ่มของตัวละครในชุมชนหนึ่ง

เรื่องราวที่หลากหลาย เดิมทีเดียวเป็นปริมณฑลของละครน้ำเน่า ซึ่งจะเก็บเอากลุ่มของเรื่องราวต่างๆจำนวนหนึ่งเอาไว้เพื่อนำมาทำขึ้นเป็นตอนๆ. วิธีการนี้ได้ถูกนำมาใช้ในละครชุดทางโทรทัศน์จำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น ลองพิจารณากันถึงวิธีการที่ละครชุดโทรทัศน์เรื่อง Northern Exposure นำเสนอ, หรืออย่าง Ally McBeal, Hamish Macbeth, และ Ballykissangel ที่แยกออกเป็นสามตอน ซึ่งในแต่ละตอนจะมีความสัมพันธ์กันและกัน เรื่องราวที่เป็นเนื้อหาซึ่งบรรจุอยู่ในตัวมันเองต่างๆ ปกติแล้ว จะสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการดำเนินเรื่องที่ต่อเนื่องกันของชุด. แนวเรื่องอันหลากหลายจะถูกทำให้เหมาะสมกับชุมชนต่างๆที่นำเสนอ และกลุ่มของตัวละคร

โทรทัศน์ยังมีแนวโน้มที่ถูกขับเคลื่อนด้วยบทสนทนาและแตกออกเป็นตอนๆมากกว่า แต่ละตอนที่มีเนื้อหาในตัวของมันเอง แนวเรื่องดังกล่าวสามารถจะได้รับการติดตามโดยใครสักคน ซึ่งไม่ได้ละความสนใจหรือขาดช่วงไปจากจอ. โครงสร้างการดำเนินเรื่องของโทรทัศน์เชิญชวนความผูกพันที่แตกต่างออกไปชนิดหนึ่ง และปฏิบัติการเกี่ยวกับการตีความที่แตกต่าง ซึ่งเกิดขึ้นมาจากบริบทของการรับรู้

บ่อยครั้ง แทนที่จะจ้องมองอย่างไม่กระพริบตาที่จอ เช่นดังที่พวกเรากระทำอย่างนั้นในโรงภาพยนตร์ ผู้ดูโทรทัศน์กลับชำเลืองมองไปที่มัน ในขณะที่พวกเขากำลังทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันต่างๆ อย่างเช่น ดูหนังสือ, รีดผ้า, ทำอาหารกลางวัน, และกำลังพูดโทรศัพท์อยู่, เป็นต้น

โครงสร้างการเล่าเรื่องเหล่านี้ของโทรทัศน์ ได้ตระเตรียมหรือปูทางไปสู่การสร้างคู่ด้วยใช่ไหม? ละครชุดทางโทรทัศน์จำนวนมากได้รับการสร้างขึ้นมารายรอบคู่หลักๆคู่หนึ่ง ซึ่งสำคัญกว่าตัวละครอื่นๆที่เหลือเล็กน้อย - อันนี้เป็นความจริงสำหรับเรื่องที่ยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างสามในสี่เรื่องที่เพิ่งพูดถึงไป และคำถามหลักคำถามหนึ่งในละครชุดทางโทรทัศน์เหล่านี้ก็คือ "จริงๆแล้ว คู่นั้นจะไปด้วยกันได้ไหม?" คำถามนี้ยังพบได้ในเรื่อง The X-Files ด้วย และในละครตลกเบาสมอง อย่างเช่น Seinfeld ที่ได้สำรวจอย่างสม่ำเสมอว่า คู่ต่างๆจะไปด้วยกันอย่างไร

ถ้าหากว่าในท้ายที่สุด คู่ๆหนึ่งสามารถไปด้วยกันได้หรือได้แต่งงานกัน ถัดจากนั้น ละครชุดโทรทัศน์เรื่องดังกล่าวก็จะใช้เวลาในหลายๆตอนสำรวจว่า อันนี้มันกำลังพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไปอย่างไร และดูเหมือนว่าจะให้ความพึงพอใจมากในความไม่แน่นอนเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาๆ ซึ่งพวกเขาจะอยู่กันอย่างมีความสุข หลังจากแก้ปัญหากันได้แล้ว

ละครแนวเมโลดราม่าที่ดูแล้วรู้สึกสะเทือนใจ อย่างเช่น Melrose Place ได้โฟกัสลงไปที่การสร้างคู่ครองและการทำลายคู่ครองเสมอๆ. ในอีกด้านหนึ่งนั้น ภาพยนตร์มีแนวโน้มที่จะเอาใจใส่หรือจดจ่อต่อปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ต่างๆและการแต่งงานของปัจเจก, ละครชุดโทรทัศน์เป็นจำนวนมากกลับให้ความเอาใจใส่ในเรื่องของสังคมกว้างกว่า: อย่างเช่น ชุมชนต่างๆสามารถที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและอย่างเกื้อหนุนกันอย่างไร? เป็นต้น

สิ่งที่เราเห็นในโทรทัศน์ เช่นเดียวกับในภาพยนตร์ คือเรื่องราวต่างๆที่ชวนให้เกิดความหลงใหลโดยคำถามเกี่ยวกับเรื่องเพศและความปรารถนาทางเพศ โดย"คู่ที่ผูกพันกัน" และโดยความเกี่ยวข้อง, ครอบครัว, (หน่วยของสังคมพื้นฐานที่สังคมตะวันตกได้รับการสร้างขึ้นมา). แต่ในโทรทัศน์ ความผูกพันกันเหล่านี้ได้ถูกเชื่อมโยงสู่การโฟกัสลงไปที่สมาชิกทั้งหลายของชุมชุมที่กว้างกว่า ซึ่งสัมพันธ์กับอีกชุมชนหนึ่ง และสัมพันธ์กับปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม ที่ชุมชนนี้ได้เผชิญหน้าในช่วงสิ้นสุดของคริสตศตวรรษที่ 20 และต่อจากนั้น

เรื่อง Sex and the City นับเป็นละครชุดทางโทรทัศน์ที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง ซึ่งได้สำรวจถึงประเด็นปัญหาและภาวะกลืนไม่เข้าคลายไม่ออกบางอย่างอันนี้ ที่ต้องเผชิญหน้ามาแต่ต้นโดยผู้หญิง(และผู้ชายด้วย) อันนี้ค่อนข้างเด่นชัดจากทัศนียภาพของการมีความสัมพันธ์กันทางเพศ ซึ่งพยายามที่จะสร้างความรักและมีความสุขกับคู่ครอง ทั้งทางเพศและอารมณ์ความรู้สึก

ผลลัพธ์คือ การสำรวจที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับว่า ผู้ชายและผู้หญิงมีความสัมพันธ์กันในยุคหลังสตรีนิยม(post-feminist), และหลังโลกนิวเคลียร์กันอย่างไร, การสำรวจอันหนึ่งซึ่งรู้หรือตระหนักกันเป็นอย่างดีเกี่ยวกับการต่อสู้กันทางอำนาจ, การกดขี่ข่มเหง, ความทารุณ, การตักตวงผลประโยชน์, และความปรารถนาทางเพศ

การเล่าเรื่องของโทรทัศน์ ส่วนหนึ่ง พยายามที่จะคิดหาทางออกเกี่ยวกับว่า เราจะอยู่กันอย่างไรในหนทางที่รู้สึกพึงพอใจกับความต้องการทางสังคมและความปรารถนาส่วนตัวของเรา; เราสามารถที่จะอยู่ในสังคมที่ประสบกับวิกฤตการณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจกันอย่างไร

ในแง่มุมนี้ การเล่าเรื่องของภาพยนตร์และโทรทัศน์ นับเป็นสถานที่ที่วิเศษในการสำรวจหรือสังเกตการณ์ว่า สังคมเข้าใจตัวของมันเองอย่างไร และอันนี้ได้มาอธิบายความพอใจของคนดู และความดึงดูดใจเกี่ยวกับบทละครต่างๆในโลกของสื่อเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี

ย้อนกลับไปตอนที่ ๑

 

 
 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

 

 

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)

 

H

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
หรือหน้าสารบัญ ซึ่งมีอยู่ 2 หน้า
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

เดือนเมษายน พศ.๒๕๔๗
วิธีการศึกษาและวิเคราะห์การดำเนินเรื่องของภาพยนตร์ในบทความชิ้นนี้ วางอยู่บนพื้นฐานของลัทธิโครงสร้างนิยม

Harvey Keiter ได้แสดงบทบาทจำนวนมากเกี่ยวกับพวกแก๊งต่างๆ, อาชญากรที่ชั่วช้า, และข้าราชการทุจริตในภาพยนตร์หลายเรื่อง อย่างเช่น Mean Street และ Taxi Driver และภาพยนตร์ส่วนใหญ่ ซึ่งเขาได้ปรากฏตัวออกมาค่อนข้างเร้นลับ
ภาพพจน์ของดารานี้ได้มีอิทธิพลต่อการอ่านของเรา เกี่ยวกับตัวเขาในภาพยนตร์

ภาพประกอบดัดแปลง เกี่ยวกับ"การวิเคราะห์การเล่าเรื่องของภาพยนตร์"

ในการศึกษาเกี่ยวกับสื่อ(media studies) ลัทธิโครงสร้างนิยมได้ถูกนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์ถึงการเล่าเรื่อง จุดมุ่งหมายกว้างๆของมัน ซึ่งต้องการที่จะลงไปลึกกว่าผิวหน้าของข้อมูลสื่อต่างๆนั่นเอง เพื่อดูว่าโครงสร้างของเรื่องเล่าได้ช่วยสนับสนุนความหมายอย่างไร

ดังเช่นในภาพยนตร์เรื่อง Thelma and Louise สิ่งที่สำคัญสำหรับเราคือว่า โดยผ่านเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่างๆ พวกเธอได้ค้นพบตัวเอง: พวกเธอเป็นอิสระจากบทบาทก่อนหน้านั้นของตัวเอง และได้พบพลังอำนาจของตน, ความเข้มแข็ง, และความรู้สึกต่างๆ. ในตอนท้าย ได้ไปจบลงตรงที่กระบวนการเกี่ยวกับความเจริญเติบโตของปัจเจกนี้ ซึ่งนั่นคือจุดโฟกัสของเรื่องราว - มากยิ่งไปกว่าความรู้สึกที่ถูกกดขี่ในฐานะที่เป็นผู้หญิง ซึ่งได้ไปกระตุ้นสนับสนุนหรือถือหางเหตุการณ์ต่างๆชุดหนึ่งที่ได้ถูกสะกดรอยโดยภาพยนตร์เรื่องนี้

หัวข้อเกี่ยวเนื่อง
ย้อนกลับไปตอนที่ ๑