มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
กลางวันเรามองเห็นอะไรได้ชัดเจน
แต่กลางคืนเราต้องอาศัยจินตนาการ


Website ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สร้างขึ้นมาเพื่อผู้สนใจในการศึกษา
โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ

สนใจสมัครเป็นสมาชิก
กรุณาคลิก member page
ส่วนผู้ที่ต้องการดูหัวข้อบทความ
ทั้งหมด ที่มีบริการอยู่ขณะนี้
กรุณาคลิกที่ contents page
และผู้ที่ต้องการแสดงความคิดเห็น
หรือประกาศข่าว
กรุณาคลิกที่ปุ่ม webboard
ข้างล่างของบทความชิ้นนี้

หากต้องการติดต่อกับ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ส่ง mail ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
midnight2545(at)yahoo.com
midnightuniv(at)yahoo.com

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สมดุล และเป็นธรรมสำหรับสังคมไทย
บทความมหาวิทยาเที่ยงคืนชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซค์ วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ 2546
ภาพประกอบดัดแปลงเพื่อใช้ประกอบบทความเรื่อง "มหาวิทยาลัยในอินเดียเชิงเปรียบเทียบ" โดย ดร.ประมวล เพ็งจันทร์ 1. ภาพ portrait จากบทความเรื่อง Marco Polo part III นำมาจากหนังสือ National Geographic ฉบับเดือน July 2001 2. ภาพฉากหลัง Figure คน มาจากบทความเรื่อง Earth Pulse นำมาจากหนังสือเล่มเดียวกัน (เทคนิค photo collage)
ภาพประกอบดัดแปลงเพื่อใช้ประกอบบทความเรื่อง "มหาวิทยาลัยในอินเดียเชิงเปรียบเทียบ" นำมาจากหนังสือ National Geographic ฉบับเดือน July 2001 จากหน้า 111
R
relate
release date
040246

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 238 เดือนกุมภาพันธ์ 2546 ผลงานต้นฉบับของ...
ดร.ประมวล เพ็งจันทร์
ภาควิชา ปรัชญาและศาสนา
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

ในอดีตสถาบันการศึกษามันเป็นเทวาลัยแห่งการเรียนรู้ ขอใช้คำของอินเดีย, แต่ในปัจจุบันมันได้เปลี่ยนมาเป็นตลาดแห่งการค้า อย่างไรก็ตาม สภาพการแปรเปลี่ยนจากภายในไม่ปรากฎชัดจากข้างนอก

ในขณะที่เรากำลังพูดถึงสถาบันระดับอุดมศึกษา ในบางมิติยังเป็นประดุจเทวาลัย ก็คือยังต้องการให้สังคมยกย่อง ยอมรับ สังคมต้องเสียสละให้กับการสร้างสถาบันอุดมศึกษาขึ้น แต่เนื้อในของสถาบันอุดมศึกษากลายมาเป็นตลาดการค้า

"ตลาดการค้า"กับ"เทวาลัย"มันจะแตกต่างจากกันมากอย่างมากมายมหาศาล

แม้กระทั่งปัจจุบัน เป็นคำถามที่ดีมากที่ชาวบ้านปากมูลถามว่า เสรีภาพทางวิชาการ เป็นเสรีภาพของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย หรือเป็นเสรีภาพของประชาชนที่เป็นเจ้าของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นคำถามที่ดีมาก เพราะในอดีตที่เราทำให้เสรีภาพทางวิชาการ หมายถึงเสรีภาพของคนๆหนึ่งในมหาวิทยาลัย มันไร้ความหมายโดยสิ้นเชิงเลยถ้าเป็นอย่างนั้น

 

H
บทบาทแรก มหาวิทยาลัยต้องนำสังคม บทบาทที่สอง มหาวิทยาลัยต้องตอบสนองสังคม : ประมวล เพ็งจันทร์

เว็ปไซค์ของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ โดยไม่คิดมูลค่า เพื่อให้คนไทยทุกคน สามารถเข้าถึงอุดมศึกษาทางเลือกได้อย่างเท่าเทียม

หากประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลดขนาด font ลง จะแก้ปัญหาได้

มหาวิทยาลัยในอินเดียเชิงเปรียบเทียบ
ดร.ประมวล เพ็งจันทร์
ผู้สัมภาษณ์ สมเกียรติ ตั้งนโม
(ความยาวของบทสัมภาษณ์ ประมาณ 21 หน้ากระดาษ A4)

ผู้สัมภาษณ์ : สวัสดีครับ สำหรับในหัวข้อที่จะพูดคุยกับอาจารย์ในวันนี้ ผมตั้งใจจะสนทนากับอาจารย์ในหัวข้อ "มหาวิทยาลัยในอินเดียเชิงเปรียบเทียบ" ซึ่งในที่นี้หมายถึงการเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ดังนั้นก่อนอื่น ผมใคร่เรียนถามอาจารย์ถึงเรื่องงานวิจัยของอาจารย์ชิ้นหนึ่งซึ่งอาจารย์ได้ทำขึ้นเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยในอินเดีย ผมขอทราบชื่อที่เป็นทางการของงานวิจัยชิ้นนี้ก่อนครับ

ประมวล เพ็งจันทร์ : งานที่ผมทำชื่อว่า"ระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาของอินเดีย"

ผู้สัมภาษณ์ : เมื่อสักครู่ก่อนมีการบันทึกเทป อาจารย์ได้พูดถึงแนวนโยบายหรือปรัชญาที่น่าสนใจบางอย่างของมหาวิทยาลัยในอินเดียซึ่งมีอยู่ 3 ประการด้วยกัน อาจารย์พอจะพูดอีกครั้งได้ไหมครับ

ประมวล : ได้ครับ ความจริงเป็นแนวนโยบายของมหาวิทยาลัยที่ถูกกำหนดโดยคณะกรรมการกลุ่มหนึ่งที่ได้รับการตั้งขึ้นมา หลังจากอินเดียได้รับอิสรภาพจากอังกฤษ ทั้งนี้เพื่อจะมากำหนดแนวทางการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของอินเดีย ซึ่งมีอดีตประธานาธิบดี ราธะ กฤษณัน ของอินเดียเป็นประธาน

ที่นี้ในส่วนของการกำหนดทิศทางการศึกษา ส่วนที่เป็นภารกิจของมหาวิทยาลัย คณะกรรมการชุดนี้ได้มีข้อเสนอให้รัฐบาลถือปฏิบัติว่า มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาของอินเดีย ซึ่งกล่าวโดยย่อๆในเชิงสรุปมีภารกิจ 3 ประการ คือ

หนึ่ง, มหาวิทยาลัยมีภารกิจที่จะสร้างชาติ นั่นคือทำให้ประชาชนซึ่งได้รับการศึกษามีสำนึกร่วมกันในความเป็นชาติอินเดีย แม้ว่าจะแตกต่างกันด้วยภาษาและวัฒนธรรมหรือชาติพันธุ์ แต่จะต้องมีความสำนึกความเป็นอินเดียร่วมกัน

ภารกิจข้อที่สองก็คือ, ต้องทำให้ประชาชนชาวอินเดียมีความอยู่ดีกินดีพอสมควรตามอัตภาพ นั่นคือให้มีอาชีพที่เหมาะสมกับอัตภาพ และ

สุดท้าย, ต้องสร้างจิตสำนึกที่สูงส่งของอินเดีย ก็คือ อินเดียมีความสำนึกในความเป็นมนุษยชาติ ที่ไม่ติดข้องอยู่เพียงว่าจะมีอาชีพอยู่กินเท่านั้น แต่มีจิตสำนึก มีเป้าหมายตามคติโบราณเดิมของอินเดีย ก็คือ ต้องมีจิตที่มุ่งไปสู่ความหลุดพ้น

ผมคิดว่านโยบายทั้งสามประการนี้ เกิดขึ้นมาเนื่องมาจากปัญหาที่อินเดียเผชิญอยู่ในเวลานั้น คืออินเดียก่อนได้รับอิสรภาพ อินเดียตกอยู่ในภาวะที่แตกแยกอย่างสิ้นเชิง นั่นคือ คนอินเดียได้แตกออกเป็นกลุ่มๆ เป็นพรรค เป็นพวก เป็นฝักเป็นฝ่าย (สนใจคลิกไปอ่านเพิ่มเติม)

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา I webboard I ประวัติ ม.เที่ยงคืน

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

สำหรับสมาชิกที่ต้องการ download ข้อมูล อาจใช้วิธีการง่ายๆดังต่อไปนี้

1. ให้ทำ hyper text ข้อมูลทั้งหมด
2. copy ข้อมูลด้วยคำสั่ง Ctrl + C
3. เปิด word ขึ้นมา (microsoft-word หรือ word pad)
4. Paste โดยใช้คำสั่ง Ctrl + V
จะได้ข้อมูลมา ซึ่งย่อหน้าเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ
(กรณีตัวหนังสือสีจาง ให้เปลี่ยนสีเป็นสีเข้มในโปรแกรม Microsoft-word)

234. การวิพากษ์วัฒนธรรมมวลชน ของ นิทเช(เรียบเรียงโดย สมเกียรติ ตั้งนโม)
235. อุดมศึกษาในทัศนะของนิธิ (บทสัมภาษณ์ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์)
236. บทสัมภาษณ์ : โครงการวิจัยการศึกษาทางเลือก (สัมภาษณ์ สุชาดา จักรพิสุทธิ์)
237. ทลายความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องการทำแท้ง (กฤตยา อาชวนิจกุล มหาวิทยาลัยมหิดล)
238. มหาวิทยาลัยในอินเดียเชิงเปรียบเทียบ (สัมภาษณ์ ดร.ประมวล เพ็งจันทร)์

239. การสำรวจเชิงอนาธิปไตย กรณีเขื่อนปากมูล (จัดโดย มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
)
240. ความรู้ที่ขาดหายไปในกระบวนการตัดสินในของรัฐ กรณีเขื่อนปากมูล (จัดโดย มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
241. บนเส้นทางของความน่าเกลียด : ว่าด้วยเรื่องของสุนทรียศาสตร์ (เรียบเรียงโดย สมเกียรติ ตั้งนโม)

242. มหาวิทยาลัยไทยโดนไวรัส (งานวิจัยสาเหตุและปัญหามหาวิทยาลัยฉบับสังเคราะห์) สมเกียรติ ตั้งนโม

 

next
N