เว็บไซต์ใช้เวลาพัฒนามาตลอดเวลา ๖ ปี นับจากปี ๒๕๔๓ เพื่อสร้างอุดมศึกษาทางเลือกสำหรับทุกคนที่อ่านไทย โดยการประกาศสละลิขสิทธิ์เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ















บทความลำดับที่ ๑๑๒๙ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๐
Free Documentation License
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of this license
document,
but changing it is not allowed.
บทความวิชาการบนหน้าเว็บเพจนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์
ในการนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ ภายใต้ลิขซ้าย ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน นักศึกษาและสมาชิกได้รับอนุญาตให้คัดลอกไปได้คำต่อคำ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร เมื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
R
H
180150
release date
กลางวันคือการเริ่มต้นเดินทางไปสู่ความมืด ส่วนกลางคืนคือจุดเริ่มต้นไปสู่ความสว่าง- เที่ยงวันคือจุดที่สว่างสุดแต่จะมืดลง เที่ยงคืนคือจุดที่มืดสุดแต่จะสว่างขึ้น... midnight's
ร่วมกันสร้างสรรค์ความรู้และความเสมอภาคเพื่อเตรียมตัวสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของประชาธิปไตยในคริสตศตวรรษที่ ๒๑
สำหรับผู้ที่สนใจบทความวิชาการก่อนหน้า ท่านสามารถคลิกที่ภาพประกอบ เพื่อย้อนกลับไปอ่านบทความที่เพิ่งผ่านมาได้จากที่นี่

Feminist Issue
The Midnight University

เพศ/เพศสภาวะ (ธรรมชาติ/วัฒนธรรม)
บทนำเกี่ยวกับงานของ จูดิช บัตเลอร์ เธอคิดเรื่องอะไร?
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


บทความวิชาการชิ้นนี้เรียบเรียงมาจาก
งานภาษาต่างประเทศจำนวนหนึ่ง โดยแกนหลักในใช้งานเขียนของ
Catherine Rottenberg, Hebrew University of Jerusalem
First published 27 August 2003
โดยเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการให้ข้อมูลหนังสือสำคัญแต่ละเล่มของจูดิช บัตเลอร์
และคำสำคัญที่เธอนำมาใช้เพื่ออธิบายถึงเรื่องเพศและเพศสภาวะ
เช่น
sex/gender (nature/culture), performativity เป็นต้น
งานชิ้นนี้ถือเป็นบทนำที่จะช่วยทำให้รู้จักความคิดของบัตเลอร์มากขึ้น
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้มีการแก้ไขและตัดแต่งไปจากต้นฉบับบางส่วน
เพื่อความเหมาะสมเป็นการเฉพาะสำหรับเว็บไซต์แห่งนี้

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๑๒๙
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๒.๕ หน้ากระดาษ A4)

 

บทนำเกี่ยวกับงานของ จูดิช บัตเลอร์ เธอคิดเรื่องอะไร ?
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Butler, Judith (1956-)
นักวิจารณ์วรรณกรรม แนวสตรีนิยม (Literary Critic, Feminist)
Active 1976- in USA, North America

ความนำ
Judith Butler นับเป็นหนึ่งในบรรดานักทฤษฎีสตรีนิยม ที่มีอิทธิพลและสำคัญที่สุดในโลกวิชาการทุกวันนี้ หนังสือบุกเบิกและถือเป็นนวัตกรรมใหม่ของเธอในช่วงปี 1990 คือเรื่อง Gender Trouble ได้นำเสนอความคิดเกี่ยวกับ ปฏิบัติการทางเพศสภาวะ ซึ่งต่อมาภายหลังได้กลายเป็นตำราคลาสสิกในพรมแดนความรู้หลายหลากเช่นเดียวกับวัฒนธรรมศึกษา(cultural studies), สตรีนิยม(feminist), queer(การศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มรักร่วมเพศ), รวมถึงทฤษฎีวรรณกรรม, และปรัชญา

นักวิชาการจำนวนมากอ้างว่า Butler ได้ช่วยสร้างความรู้ทฤษฎีรักร่วมเพศ(queer theory) (พร้อมกับ Gayle Rubin และ Eve Sedgwick) เช่นเดียวกับคำอ้างที่ว่า เธอได้เปิดฉากอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับกรอบทฤษฎีใหม่อันหนึ่งในเชิงความคิดเรื่องอัตลักษณ์ของเพศสภาวะ และความเป็นผู้กระทำ/อัตสภาวะ (gender identity and subjectivity)

Judith Butler เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1956 และเติบโตขึ้นใน Cleveland, Ohio สหรัฐอเมริกา เธอเขียนงานระดับปริญญาตรีเสร็จสมบูรณ์ที่ Yale University และได้รับปริญญาเอก(Ph.D)ในสาขาปรัชญาจาก Yale ในปี 1984. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเธอได้ตามรอยการตอบรับเรื่อง Phenominology of Spirit ของ Hegel โดยบรรดานักปรัชญาฝรั่งเศสคริสตศตวรรษที่ ๒๐ Alexandre Koj?ve, Jean-Paul Sartre, and Jean Hyppolite.

ในช่วงกลางของทศวรรษที่, ๘๐ Butler ได้ศึกษางานของ Michel Foucault, ซึ่งงานเขียนขนาดใหญ่ของ Foucault ได้กลายมามีอิทธิพลสำคัญอันหนึ่งต่อความคิดและงานเขียนของเธอต่อๆ มา. Butler ยังมีความสนใจเพิ่มขึ้นในทฤษฎีฝรั่งเศสช่วงระหว่างปีเหล่านั้นด้วย และได้มีการแก้ไขปรับปรุงวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกให้สัมพันธ์กับการอ่านงาน Foucault, Jacques Lacan และ Gilles Deleuze ของเธอ

Butler สอนหนังสืออยู่ที่ Wesleyan, George Washington และถัดจากนั้นได้สอนที่ Johns Hopkins University ก่อนย้ายไปยัง University of California, Berkeley ในปี ค.ศ.1993. ปัจจุบัน เธอดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ Maxine Elliot Professor ในภาควิชาวาทศาสตร์และวรรณคดีเปรียบเทียบ (the Departments of Rhetoric and Comparative Literature) ที่ Berkeley, และได้รับรางวัลอันทรงเกียรติหลายหลาก อีกทั้งยังเข้าดำรงตำแหน่งสมาชิกทางวิชาการมากมาย รวมถึง Guggenheim Fellowship (1999) และ a Laurence S. Rockefeller Fellowship (2001-2002)

งานเขียนของ Judith Butler
Subjects of Desire
หนังสือเล่มแรกของ Butler, เรื่อง Subjects of Desire ได้รับการตีพิมพ์ขึ้นในปี ค.ศ.1987 เธอยังได้พิมพ์บทความอีกหลายเรื่องด้วยในช่วงกลางและปลายยุคแปดสิบ ส่วนใหญ่แล้วผลงานเหล่านี้วนเวียนอยู่กับคำถามเกี่ยวกับเรื่องเพศและเพศสภาวะ(sex and gender) ดังที่พวกมันได้รับการพรรณาหรืออธิบายในงานของบรรดานักคิดฝรั่งเศสหลายคน. บทความในช่วงต้นของเธอ "Variations on Sex and Gender: Beauvoir, Wittig and Foucault" ได้ปรากฏอยู่ในตำราทฤษฎีบทนำจำนวนมาก แต่งานเขียนของ Butler ก็ยังไม่เป็นจุดศูนย์กลางของความสนใจนานาชาติ จนกระทั่งมีการตีพิมพ์หนังสือเล่มที่สองของเธอในเรื่อง Gender Trouble จากนั้นผลงานของเธอจึงได้รับการให้ความเอาใจใส่ และถกเถียงอภิปรายกันทั่วไป

Gender Trouble
ความเกี่ยวพันแรกๆ กับเรื่องตัวตน/ผู้กระทำ(subjects) ถูกทำให้เป็นเรื่องของเพศสภาวะอย่างไร และด้วยจุดประสงค์ใด ? ใน Gender Trouble เป็นการสำรวจตรวจสอบขบวนแถวทางทฤษฎีส่วนใหญ่ถึงคำถามทั้งหลายเกี่ยวกับเพศสภาวะ และอัตสภาวะ/ความเป็นผู้กระทำ(subjectivity) เป็นการคลุกเคล้าผสมผสานกันของบรรดานักปรัชญาและนักทฤษฎีที่หลากหลาย เช่น Foucault, Freud, Hegel, Irigaray, Kristeva, Lacan, Nietzsche และ Wittig ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นเครื่องหมายการค้าของ Butler

ในเรื่อง Gender Trouble, Butler ได้ท้าทายความแตกต่างในเรื่อง sex/gender (nature/culture) ซึ่งมีลักษณะเป็นรากฐานของทฤษฎีสตรีนิยม(feminist theory) และแปรเปลี่ยนความคิดไปเป็นการปฏิบัติในทศวรรษที่ 1970s และ 80s และอ้างว่า เพศ(sex) มักจะถูกทำให้เป็นเรื่องของเพศสภาวะ(gender)ไปเสมอๆ, "เพศ"(sex) กลายเป็นข้อควรประพฤติปฏิบัติ(rubric)ภายใต้บทบาทหน้าที่ต่างๆ, ความปรารถนา, ความพึงพอใจ ฯลฯ ที่มีลักษณะของการผลิตซ้ำ จนกลายเป็นเอกภาพกับเศรษฐกิจแบบผู้ชาย ที่ทำให้ความรักต่างเพศ(ชายรักหญิง - หญิงรักชาย)เป็นเรื่องของธรรมชาติ(naturalizes heterosexuality)

Butler ยังนำเสนอความคิดเกี่ยวกับเพศสภาวะในฐานะการผลิตซ้ำในเชิงปฏิบัติ นั่นคือ ในฐานะที่เป็นความพยายามอย่างต่อเนื่อง ที่จะทำให้บรรทัดฐานเกี่ยวกับอำนาจนำ(อำนาจเหนือกว่า)ต่างๆ (hegemonic norms)เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา. การสับเปลี่ยนยักย้ายความคิดของ Nietzschian ที่ว่า มันไม่มี"ผู้กระทำอยู่เบื้องหลังการกระทำนั้น"(there is no "doer behind the deed") เธอแสดงคารมว่า มันไม่มีเอกลักษณ์เพศสภาวะอยู่เบื้องหลังการแสดงออกของเพศสภาวะ"( there is no gender identity behind the expressions of gender). เอกลักษณ์ถูกประกอบสร้างโดยผ่านการแสดงออกต่างๆ ที่ไดรับการกล่าวว่าเป็นผลลัพธ์ของมัน หรือในภาษาของ Butler เอง "เพศสภาวะ คือเนื้อหาสาระอันหนึ่งของการกระทำ และผลของมันค่อนข้างมากกว่าคุณสมบัติซึ่งมีอยู่แต่กำเนิดหรือลักษณะเฉพาะภายใน"

Butler กับลำดับงานเป็นทิวแถวทางปรัชญา, ทฤษฎีสตรีนิยม และจิตวิเคราะห์ งานเขียนที่ท้าทายของเธอ และข้ออ้างของเธอที่ว่า ความจริงของเพศสภาวะได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาโดยผ่านการทำซ้ำทางด้านบรรทัดฐานอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งอันนี้เป็นมูลเหตุกระตุ้นให้เกิดการถกเถียงกันอย่างมากในแวดวงวิชาการ. ในบางวงการ Butler ได้รับการกล่าวหาเกี่ยวกับการปฏิเสธความเป็นวัตถุของเรือนร่าง(the materiality of the body) โดยการลดทอนเพศสภาวะลงสู่"วาทกรรม"(discourse) ส่วนในบางแวดวง เธอถูกโจมตีว่า ได้ลดทอนเอกลักษณ์เพศสภาวะลงสู่ลัทธิความสมัครใจ (voluntarism เจตจำนงเป็นปัจจัยพื้นฐานที่มีอิทธิพลของปัจเจกชน) และเป็นรูปแบบของลัทธิชนชั้นสูง(elitism) เนื่องจากสไตล์งานเขียนที่ยุ่งยากซับซ้อนของเธอ

แต่อย่างไรก็ตาม ในขณะเดียวกัน นักวิจารณ์เป็นจำนวนมากอ้างว่า การทำให้เป็นแนวคิดขึ้นมาใหม่อีกครั้งเกี่ยวกับเรื่องเพศสภาวะของ Butler ในฐานะที่เป็นการกระทำซ้ำในทางปฏิบัติ(performative reiteration) ได้เปิดให้กับความเป็นไปได้ใหม่ๆ อันน่าตื่นเต้น ซึ่งได้อธิบายโดยการจำแนก sex/gender (nature/culture)

นักวิชาการก็เช่นเดียวกันกับนักกิจกรรมทั้งหลาย ต่างยืนยันว่า ความเบี่ยงเบนอย่างถึงรากของ Butler จากลักษณะเป็นขั้ว sex/gender - และแนวความคิดเกี่ยวกับเพศสภาวะที่ไม่ใช่สิ่งจำเป็นจนขาดเสียไม่ได้ของเธอ พร้อมกับการยืนหยัดของเธอที่ว่า "อำนาจ"ได้สร้าง"ความคิดให้แปรเป็นการปฏิบัติการในเชิงปฏิวัติเรื่องแนวคิดสตรีนิยม", เรื่อง Gender Trouble ได้วางความเป็นกลางและความเป็นธรรมชาติเกี่ยวกับร่างกายในทางชีววิทยาลงในเครื่องหมายคำถาม และนำเสนอกรอบทฤษฎีใหม่ทั้งหมดอันหนึ่งขึ้นมา สำหรับความคิดเกี่ยวกับเพศสภาวะและเอกลักษณ์ กล่าวคือ ในฐานะที่เป็นการทำซ้ำในเชิงพิธีกรรม

อันที่จริง หากว่าเพศสภาวะเป็นเรื่องในเชิงปฏิบัติ ถ้าเป็นเช่นนั้น ใครคนหนึ่งก็สามารถที่จะ"ปฏิบัติ"อย่างมีศักยภาพ กับเพศสภาพของตนแตกต่างไป และด้วยเหตุดังนั้นทำให้บรรทัดฐานความแตกต่าง(ทางเพศ)ยุ่งเหยิงสับสน. ความยุ่งเหยิงสับสนนี้สามารถน้อมนำไปสู่"การทำให้เป็นประชาธิปไตย"(democratization) เกี่ยวกับขอบเขตความรู้ในเรื่องบรรทัดฐานของเพศสภาวะ. นักวิชาการเป็นจำนวนมากต่างอ้าแขนรับสไตล์ของ Butler มาสวมกอด โดยอ้างว่า งานเขียนของเธอเป็นเรื่องในเชิงปฏิบัติในตัวของมันเอง ซึ่งมันได้กระตุ้นปลุกเร้าผู้อ่านทั้งหลายให้อ่านและคิดในเชิงที่แตกต่างตามลำดับ

Contingent Foundations: Feminism and the Question of Postmodernism
ในช่วงปีระหว่างการตีพิมพ์เผยแพร่หนังสือเรื่อง Gender Trouble และหนังสือเล่มต่อมา, Butler ยังคงสำรวจตรวตราคำถามต่างๆ เกี่ยวกับเพศสภาวะและอัตสภาวะ(gender and subjectivity)อย่างต่อเนื่อง. หนึ่งในบทความสำคัญที่สุดของเธอในช่วงนี้คือ"Contingent Foundations: Feminism and the Question of Postmodernism" (รากฐานต่างๆ อันไม่แน่นอน/ไม่คาดหมาย: สตรีนิยมและคำถามเกี่ยวกับลัทธิหลังสมัยใหม่) ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ขึ้นครั้งแรกใน Praxis Internationa 11.2 (1991) และตีพิมพ์ซ้ำใน Feminists Theorize the Political (Routledge 1992) ซึ่งเป็นการหวนกลับมาดูบทวิจารณ์ของเธอเกี่ยวกับการเมืองสตรีนิยม(feminist politics) ที่ก่อให้เกิดการจัดหมวดหมู่"ผู้หญิง"อย่างไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ และความพยายามต่อมาที่จะเป็นตัวแทนการคิดใหม่ และการล้มล้าง ผ่านแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องอำนาจที่มีประสิทธิผลของ Foucaulth. ในหนทางนี้ Butler ทำให้แนวคิดเสรีนิยมตะวันตกเกี่ยวกับ"ความเป็นอิสระ"(autonomous), อธิปไตย, และความสำนึกเรื่องตัวตน, เป็นปัญหาขึ้นมา

เรื่อง"Contingent Foundations," เป็นการตรวจสอบถึงสมมุติฐานต่างๆ เกี่ยวกับผู้ชายและลัทธิจักรวรรดินิยม ที่ให้ข้อมูลวาทกรรมรายรอบเรื่องราวสงครามอ่าวรอบที่หนึ่ง รวมทั้งพิสูจน์ถึงการไปพัวพันอยู่กับเรื่องการเมืองของ Butler อย่างต่อเนื่อง. ตลอดอาชีพนักวิชาการของเธอ, Butler เป็นคนพูดจาเปิดเผยในประเด็นปัญหาทางการเมืองเร่งด่วน เธอยังเป็นคนที่กระตือรือร้นในเรื่องสิทธิของชาวเกย์ และการเคลื่อนไหวต่างๆ ของพวกเรียกร้องสิทธิสตรีด้วย และรวมทั้งได้มีงานเขียนและงานพูดถึงประเด็นปัญหาต่างๆ เหล่านี้ออกมาอยู่เสมอๆ

เรียงลำดับจากปฏิบัติการที่เป็นการยืนยันให้มีการแก้ไขปรับปรุงการกีดกันทางเพศและคนกลุ่มน้อย โดยให้โอกาสทางเศรษฐกิจและการศึกษา(affirmative action)อย่างเท่าเทียม, มีการพูดถึงการแต่งงานของชาวเกย์ จนกระทั่งถึงเรื่องของสงครามอิรักและอัฟกานิสถาน และความขัดแย้งกันระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์

ฐานะตำแหน่งของเธอมักจะเป็นฝ่าย"ซ้าย", แต่กระนั้นก็ตาม Butler ไม่เคยเป็นพวกหัวรั้นหรือดันทุรัง. ข้อถกเถียงทางการเมืองของเธอ ค่อนข้างถูกนำไปเชื่อมโยงกับความผูกพันต่างๆ ในเชิงทฤษฎีอย่างแยกกันไม่ออก. Butler ได้ตั้งคำถามอยู่อย่างสม่ำเสมอต่อกรอบการอ้างอิงหรือความรู้ของพวกเรา เธอเรียกร้องให้ผู้อ่านทั้งหลาย รวมทั้งผู้ฟัง และนักกิจกรรม ช่วยกันวิพากษ์วิจารณ์การจัดหมวดหมู่ต่างๆ รายรอบสิ่งที่พวกเขาเคลื่อนไหวกันอยู่อย่างต่อเนื่อง

Bodies That Matter
งานชิ้นสำคัญลำดับที่สามของ Butler คือเรื่อง Bodies That Matter (1993) ซึ่งในหลายๆ กรณี เป็นประเด็นต่อเนื่องจากเรื่อง Gender Trouble ดังที่มันได้พูดถึงการวิจารณ์บางอย่าง ที่เป็นการยกระดับหนังสือก่อนหน้านั้น ขณะที่ทำให้ทฤษฎีความคิดในเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเพศสภาวะมีความละเอียดประณีตและขยายเพิ่มเติมออกไปมากขึ้น

การสร้างหลักการใหม่เกี่ยวกับงานของ Austin ในเรื่อง performative utterance (คำพูดในเชิงปฏิบัติ), ของ Jacques Derrida ที่น่าเร้าใจ, Butler ได้นำเสนอแนวคิดต่างๆ อย่างเป็นทางการเกี่ยวกับ "iterability" (การทำซ้ำ-พูดซ้ำ) and "(re)citationality" (การสดุดี[ซ้ำ]) เข้ามาสู่ความคิดของเธอในเรื่อง "การปฏิบัติการซ้ำเกี่ยวกับเพศสภาวะ" (gender performativity)

การทำซ้ำเกี่ยวกับบรรทัดฐานต่างๆ จำเป็นต้องมีมาก่อนการปรากฏตัวขึ้นมาของตัวตน และการริเริ่มนำตัวตนสู่แบบแผนสัญลักษณ์, ซึ่งสำหรับ Butler, ถูกประกอบสร้างขึ้นมาโดยบรรทัดฐานต่างๆ ที่ครอบงำ ซึ่งมันแพร่กระจายและวนเวียนอยู่ในสังคม. เพื่อที่จะคงความงอกงามต่อไปได้ภายในระบบอำนาจนำที่เหนือกว่า(hegemonic system) โดยดำเนินรอยตามมาแต่แรก อย่างไรก็ตามในลำดับการของมัน ตัวตนจะต้องอ้างและล้อเลียนบรรทัดฐานต่างๆ ที่สร้างคุณภาพของภาษาที่เข้าใจได้ขึ้นมาเป็นอันดับแรก

ถ้าหากว่าบรรทัดฐานต่างๆ ได้รับความเข้าใจในฐานะที่เป็นอุดมคติต่างๆ ที่มีอำนาจควบคุม และถ้าเผื่อว่าอัตลักษณ์หรือการแสดงตัวของตัวตนในฐานะที่เป็นผู้กระทำ เป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับการเอาอย่างหรือเลียนแบบบรรทัดฐานต่างๆ ทางเพศสภาวะที่มีอยู่, หากเป็นเช่นนั้น การแสดงตัวหรือการเข้าครอบครองบรรทัดฐานเหล่านี้ ก็จะบีบบังคับร่างกายให้กระทำหรือปฏิบัติตาม แสดงอากัปกริยา และประพฤติปฏิบัติตัวในหนทางต่างๆ ที่มุ่งมั่นเพื่อที่จะทำให้ความคิดเพ้อฝันเกี่ยวกับเพศสภาวะมีลักษณะเป็นธรรมชาติ และมีลักษณะสอดคล้องเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง

ด้วยเหตุดังนั้น กระบวนการเกี่ยวกับการมีนัยสำคัญจึงเกิดขึ้น ผ่านการทำซ้ำในเชิงปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอในบรรทัดฐานต่างๆ, และการทำซ้ำอันนี้ ทำให้มีผลต่างๆ ชุดหนึ่งต่อร่างกายขึ้นมาตามความจริงเชิงวัตถุ. หรือชัดเจนยิ่งขึ้น, ร่างกายที่สามารถเข้าใจได้นั้น เป็นการทำให้เป็นวัตถุที่เป็นจริงอันหนึ่ง หรือผลของการตกตะกอนเกี่ยวกับวาทกรรมต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งในที่นี้เราได้เห็นอิทธิพลของ Althusser (การตั้งคำถาม หรือซักไซ้ไล่เลียงการเริ่มต้นเข้าสู่ความเป็นอัตวภาวะ/ตัวตน[subjecthood]), J.L.Austin (แง่มุมในเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับวาทกรรม), Derrida (ไม่มีปฏิบัติการใดสามารถจะทำงานได้ โดยไม่มีพลังอำนาจของการกล่าวซ้ำ), และ Lacan (แบบแผนเชิงสัญลักษณ์ ในฐานะที่เป็นความสามารถที่ทำความเข้าใจได้ทางวัฒนธรรม) ในความคิดของ Butler

The Psychic Life of Power
Butler ยังได้หยิบยืมความคิดอย่างสร้างสรรค์มาจากเรื่องราวทางจิตวิเคราะห์ ในงานเขียนหลักลำดับที่สามของเธอ (ดังที่เธอได้กระทำในเรื่อง Gender Trouble) แนวความคิดที่เร้าใจ อย่างเช่น การเพิกถอนสิทธิ์, โรคจิตที่มีอาการหดหู่, และสภาพที่น่าสังเวช; แนวความคิดต่างๆ เหล่านี้ ได้มีการเพ่งความสนใจเป็นครั้งแรกในหนังสือปี 1997 ของเธอเรื่อง The Psychic Life of Power

เธอได้ให้เหตุผลว่า การประกอบสร้างเพศสภาวะขึ้นมานั้น มันปฏิบัติการโดยผ่านวิธีการต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นการเฉพาะ, โดยผ่านการลบออก(erasure)อย่างถึงรากชุดหนึ่ง. ตรรกะนี้เกี่ยวกับการปฏิเสธและสภาพที่น่าเวทนา เป็นพลังที่เกี่ยวกับการควบคุมของฐานะตำแหน่งต่างๆ ที่มีเอกลักษณ์ของบรรทัดฐานความรักต่างเพศ(heteronormative identity), และการกีดกันบางอย่างที่แตกต่างออกไป

นักวิชาการจำนวนมากมองหลักการใหม่เกี่ยวกับปฏิบัติการเพศสภาวะในปี 1993 ของ Butler ในฐานะที่เป็นการแก้ไขงานในช่วงแรกที่สำคัญอันหนึ่งของเธอ. ในเรื่อง Bodies That Matter, Butler ได้สาธิตหรือแสดงให้เห็นถึงแนวความคิดเกี่ยวกับเอกลักษณ์เพศสภาวะ ในฐานะที่เป็นความคิดในเชิงปฏิบัติ ซึ่งสามารถที่จะทำใหบรรดานักสตรีนิยมสามารถไปพ้นจากทางตันของนิยัตินิยมได้
(นิยัตินิยม - determinism - ทฤษฎีปรัชญาที่ถือว่า เหตุการณ์ทั้งหมดเป็นผลที่ตามมาอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้จากมูลเหตุก่อนหน้านั้น แนวคิดนี้มักถูกเข้าใจว่าปฏิเสธความเป็นไปได้ของเจตจำนงเสรี)

เพศสภาวะเป็นเรื่องของการบีบบังคับ
เพื่อให้ชัดเจนมากขึ้น, ความคิดในเชิงปฏิบัติของ Butler ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับการเลือก ซึ่งเพศสภาวะคือสิ่งที่คนๆ หนึ่งต้องการจะเป็นในวันนั้น แต่มันค่อนข้างเกี่ยวกับการถูกบีบบังคับให้"สดุดีหรือยกย่อง"เกี่ยวกับบรรทัดฐานต่างๆ ที่มีอยู่. บทนำเกี่ยวกับ iterability (ความสามารถในการทำซ้ำ) นำสู่ความคิดของเธอเกี่ยวกับความคิดในเชิงปฏิบัติ ซึ่งทำให้ Butler สามารถที่จะให้เหตุผลหรือคำอธิบายได้ดีขึ้นในหนทางที่ตัวตนต่างๆ ได้ถูกก่อรูปก่อร่างขึ้นมาโดยบรรทัดฐานทั้งหลาย และด้วยเหตุนี้ มันจึงไม่เคยเป็นตัวแทนที่เป็นอิสระหรือมีเสรีภาพเลย

เพื่อที่จะทำให้ตัวตนทางสังคมเจริญงอกงามขึ้น เราจะต้องทำบรรทัดฐานต่างๆ ที่มีอำนาจนำนั้นซ้ำๆ. แต่เพราะว่าบรรทัดฐานต่างๆ และวาทกรรมอำนาจนำเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับการทำซ้ำขึ้นใหม่(reiteration)จริงๆ เพื่อความยั่งยืนของพวกมัน. โดยเหตุนี้ ตัวผู้กระทำต่างๆ จึงไม่จำเป็นต้องถูกกำหนดโดยพวกมัน(บรรทัดฐานต่างๆ) มักจะเป็นไปได้เสมอที่ว่า ผู้กระทำต่างๆ จะทำซ้ำบรรทัดฐานทั้งหลายในลักษณะที่ไม่สามารถคาดเดาได้ และในวิธีการต่างๆ ในลักษณะที่สวนกระแส และล้มล้างอย่างมีศักยภาพ

Merely Cultural
ในช่วงกลางทศวรรศที่ 1990s เราได้พบเห็นการมีส่วนร่วมของ Butler ในการร่วมวงอภิปรายและถกเถียงเกี่ยวกับหัวข้อสตรีนิยม และหัวข้อในทางปรัชญาอันมีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก. ในปี 1992 เธอเสนอเอกสารชิ้นหนึ่งในการประชุมทางวิชาการ "Rethinking Marxism Conference", ซึ่งต่อมาภายหลังปรากฏใน Social Text ภายใต้ชื่อ "Merely Cultural"

เอกสารฉบับนี้พูดถึงการวิจารณ์บางอย่างที่แสดงความเห็นต่อต้านคัดค้านเธอ โดยบรรดานักสิทธิสตรีสายสังคมนิยมในช่วงเวลานั้น. กล่าวคือ ทฤษฎีของเธอเกี่ยวกับ"การปฏิบัติการซ้ำ"(performativity) (ดูภาคผนวก 1.) และความเอาใจใส่ของเธอในเรื่องเพศสภาวะ ได้ละเลยหรือเมินเฉยต่อพื้นฐานทางวัตถุเกี่ยวกับการกดขี่. Butler แย้งว่า ความพยายามที่จะธำรงรักษาความแตกต่างระหว่างพื้นฐานทางด้านวัตถุและวัฒนธรรม (ยกตัวอย่างเช่น เรื่องทางเพศ - sexuality) เป็นเรื่องของการผิดยุคผิดสมัยทางด้านทฤษฎี; การผลิตซ้ำเกี่ยวกับคนที่ถูกทำให้เป็นเรื่องเพศสภาวะ เธอให้เหตุผลว่า ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ทางสังคมของครอบครัว และการผลิตซ้ำของครอบครัวแบบชายรักหญิง และคนที่มีความรักเพศตรงข้ามทั้งหลาย(heterosexual persons)

ด้วยเหตุนี้ เรื่องทางเพศจึงไม่สามารถถูกคิดให้อยู่ภายนอกการวิเคราะห์เกี่ยวกับชีวิตทางวัตถุ และกฎเกณฑ์ทางสังคมเกี่ยวกับเรื่องทางเพศที่ไม่อาจแยกไปจากกระบวนการที่แท้จริงของการผลิตได้. ในปี 1995 เธอได้เป็นบรรณาธิการร่วมกับ Seyla Benhabib ในหนังสือ Feminist Contentions: A Philosophical Exchange (การโต้เถียงกันของแนวคิดสตรีนิยม: การแลกเปลี่ยนความคิดในเชิงปรัชญา), ซึ่งเป็นการรวบรวมบทความต่างๆ ที่นำเสนอในมุมมองทางทฤษฎีที่แตกต่างและขัดแย้งกันของผู้เขียนแต่ละคน

Excitation Speech
เรื่อง Excitable Speech และ The Psychic Life of Power ได้รับการตีพิมพ์ขึ้นมาพร้อมๆ กันในปี 1997. ในเรื่อง Excitable Speech, Butler ได้สนทนาถึงประเด็นปัญหาทางการเมืองร่วมสมัยบางอย่างที่รีบด่วน อย่างเช่น คำพูดที่แสดงความเกลียดชังทางด้านเชื้อชาติ, ภาพโป๊, และวาทกรรมเกี่ยวกับเรื่องเกย์ในกองทัพ โดยผ่านเลนส์ต่างๆ ของ"การปฏิบัติการซ้ำ"(performativity)

โดยการดึงเอา และการทำให้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่าง perlocutionary speech (ลักษณะของคำพูดชักนำ อย่างเช่น คำเชิญชวน คำจูงใจ[แต่อาจไม่ยังผล]) และ illocutionary speech acts (คำพูดในเชิงก่อให้เกิดการปฏิบัติ อย่างเช่น คำสั่ง และคำสัญญา) ของ J.L. Austin, Butler ได้ให้เหตุผลว่า มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจตัดสินได้ด้วยมาตรฐานเดียวกันหรือนำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้, ช่องว่างอันหนึ่ง หรือ"การแยกออกจากกัน"(disjuncture), ระหว่างคำพูดและการกระทำ, การเปล่งเสียงและความหมาย, การเปล่งเสียงและความตั้งใจ: คำพูด -กระทั่งคำพูดแสดงความเกลียดชัง- สามารถและให้กำเนิดผลต่างๆ อันไม่เป็นไปตามที่คาดหมายได้

Butler ยืนยันว่า, ปฏิบัติการคำพูดเป็นสิ่งที่ตื่นเต้นเร้าใจ เธอหมายความว่า คำพูดมักจะหลุดไปจากการควบคุมของผู้พูดที่กำลังพูดเสมอ(อย่างมีศักยภาพ). ในกรณีนี้ Butler พยายามสร้างเค้าโครงรูปแบบตัวแทน non-state-centered forms of agency และการต่อต้าน, ที่ซึ่งเป็นการยืนยันในช่องว่างที่มีศักยภาพ ระหว่างคำพูดและการกระทำ ที่ยินยอมให้ความเป็นไปได้เกี่ยวกับวาทกรรมที่เหมาะสมและแปรขบวนใหม่อีกครั้ง

การประเมินค่าใหม่เกี่ยวกับศัพท์ต่างๆ อย่างเช่น "queer", Butler แนะว่า เป็นการสาธิตว่าคำพูดสามารถถูกย้อนกลับสู่ผู้ที่พูดมันในรูปแบบที่แตกต่าง นั่นมันสามารถถูกอ้าง(cite) สวนกระแสหรือย้อนแย้งวัตถุประสงค์เดิม และอันที่จริง มันเป็นปฏิบัติการพลิกผันอันหนึ่งเกี่ยวกับผลต่างๆ

จิตวิเคราะห์และความคิดของ Foucault ในงานของ Butler
บางที ความพยายามที่เด่นชัดมากที่สุดของ Butler เพื่อนำความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับเรื่องจิตวิเคราะห์และความคิดของ Foucault เข้าสู่การสนทนาอย่างมีประสิทธิผล จะปรากฏอยู่ใน The Psychic Life of Power. ตามความคิดของ Butler, "ตัวตน"ไม่สามารถถูกคิดโดยปราศจากจิต(psyche)ได้ นับจากตัวตนได้ถูกสร้างขึ้นมา

วาทกรรมทางสังคมจะใช้อำนาจเพื่อสร้างและควบคุมตัวตน แต่ในเทอมต่างๆ นั้น (บรรทัดฐาน, การจัดหมวดหมู่ของอัตลักษณ์เหมือนๆ กัน, อย่างเช่น เพศสภาวะ) ไม่ใช่สิ่งที่จะถูกทำให้เป็นเรื่องภายในอย่างง่ายๆ; มันค่อนข้างเป็นเรื่องของ"จิต"(psychic)โดยผ่านท่าทีที่เศร้าๆ. ไม่มีตัวตนใดที่ปรากฏขึ้นมาโดยปราศจากการผูกพันกับเรื่องทางจิตและอารมณ์(passionate), บรรทัดฐาน, นับจากที่บรรทัดฐานต่างๆ เหล่านี้ได้สร้างเงื่อนไขของมันเกี่ยวกับความเป็นไปได้ขึ้นมา

มากยิ่งไปกว่านั้น พลังทางสังคมได้ทำการผลิตวัตถุประสงค์บางอย่าง และสกัดกั้นวัตถุประสงค์อื่นๆ จากสนามของการผลิต. การเพิกถอนหรือการห้ามปรามความรักบางอย่าง Butler ให้เหตุผลว่า มันกลายเป็นเงื่อนไขของความเป็นไปได้เกี่ยวกับการมีอยู่ทางสังคม. ความแตกร้าวเกี่ยวกับการเพิกถอนตัวตนอันนี้ เป็นเครื่องหมายข้อจำกัดของการโต้ตอบหรือการสะท้อนกลับ

Butler เรียกความแตกร้าวอันนี้ว่า"melancholic"(ลักษณะของความหดหู่), เป็นการดึงมาจาก Freud, นับจากที่ตัวตนไม่สามารถสะท้อนกลับต่อความสูญเสียนี้ได้ - การกระทำดังกล่าวจะคุกคามตัวตนด้วยการสลายตัว

ในความแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับแนวทางบางอย่างเกี่ยวกับจิตวิเคราะห์, Butler ให้เหตุผลว่า จิต (และตัวตน) จึงถูกสร้างขึ้นมาโดยผ่านพฤติกรรมที่เศร้าโศกห่อเหี่ยว ไม่ใช่โดยความอดกลั้นควบคุมมาแต่แรกบางอย่าง. ความห่อเหี่ยวโศกเศร้าคือผลของการสูญเสียที่ไม่อาจแสดงออกอย่างเปิดเผย - การสูญเสียอยู่ก่อนอันหนึ่งที่จะพูดและประกาศ - และอันที่จริงได้ก่อให้เกิดความแตกต่างขึ้นมาระหว่างโลกภายในและโลกภายนอก การสร้างตัวตนที่มีลักษณะที่เป็นปฏิกริยาโต้ตอบหรือสะท้อนกลับ

ในเรื่องThe Psychic Life of Power, Butler ได้แก้ไขปรับปรุงแนวคิดในช่วงแรกๆ ของเธอ เกี่ยวกับปฏิบัติซ้ำทางเพศสภาวะ(gender performativity). การใช้แนวคิดเกี่ยวกับความห่อเหี่ยวโศกเศร้า(melancholia), เธอให้เหตุผลว่า อัตลักษณะของเพศสภาวะในสังคมที่รักต่างเพศได้ถูกสร้างขึ้นมา ผ่านข้อห้ามอันหนึ่งเกี่ยวกับความรักเพศเดียวกัน(homosexual love). นี่หมายความว่า, ท่ามกลางสิ่งอื่นๆ, การเพิกถอนสิทธิ์เกี่ยวกับความรักเพศเดียวกัน ในบางหนทางมันมีมาก่อนข้อห้ามการมีความสัมพันธ์ทางเพศกับญาติพี่น้องท้องเดียวกัน(the incest taboo), ซึ่งเป็นคำกล่าวอ้างอันหนึ่ง ที่ทักท้วงสมมุติฐานที่สำคัญทางด้านมานุษยวิทยา, โครงสร้างนิยม, และจิตวิเคราะห์

โดยเหตุนี้ เพศสภาวะในตัวมันเองจึงกลายเป็นการกระทำที่หลุดออกไปจากความเศร้าโศกที่ไม่อาจแสดงออกได้อย่างเปิดเผย และไม่สามารถที่จะแก้ไขได้. เพศสภาวะผู้ชายได้ถูกสร้างหรือก่อขึ้นจากการปฏิเสธที่จะเสียใจในความเป็นชายในฐานะความเป็นไปได้อันหนึ่งเกี่ยวกับความรัก. ผู้ชายตรงๆ กลายเป็นผู้ชาย ซึ่งเขา"ไม่เคย"รัก และ"ไม่เคย"เสียใจ. ในความหมายนี้คือ สิ่งที่ได้รับการปฏิบัติอย่างชัดแจ้งในฐานะเพศสภาวะ ก็คือเครื่องหมายของการไม่ยอมรับหรือปฏิเสธที่แพร่หลายอยู่ทั่วไป

เป็นเรื่องสำคัญที่ควรจะหมายเหตุลงไปว่า ในตัวบทหรือเนื้อหานี้ เช่นเดียวกันกับงานชิ้นหลักๆ ของเธอทั้งหมด Butler ได้ถูกทำให้ไปเกี่ยวพันกับคำถามทั้งหลายในเรื่องของตัวแทน(agency). ความพยายามที่จะอธิบายถึงการต่อต้านในเชิงจิตวิทยาต่อบรรทัดฐานที่มีอำนาจครอบงำ(hegemonic norms), Butler ให้เหตุผลว่า, ดังที่ปรากฏชัดเกี่ยวกับอำนาจ ซึ่งมันได้เปลี่ยนจากเงื่อนไขหรือสภาพการณ์ของประธาน/ผู้กระทำ ไปสู่ผลต่างๆ ของมัน. เงื่อนไขต่างๆ ของอำนาจได้ยึดครองรูปแบบปัจจุบันและอนาคตเอาไว้

เนื่องจากลักษณะชั่วคราวของบรรทัดฐานต่างๆ มันมักจะเป็นโอกาสหนึ่งเสมอที่ผู้กระทำ(subject)จะนำเอา, รับ, หรือยึดครองบรรทัดฐานต่างๆ ในหนทางที่ไม่อาจคาดเดาได้. ตามความคิดของ Butler, การไม่ยอมรับและการห้าม อันที่จริงแล้ว เป็นกลไกต่างๆ ที่มีประสิทธิผลของอำนาจ; ด้วยเหตุดังนั้น บรรทัดฐานแบบความรักต่างเพศ จึงขีดกรอบหรือจำกัดลักษณะความรักเพศเดียวกันไว้ โดยการพยายามที่จะขจัดขัดขวางหรือเพิกถอนสิทธิ์ของมันไป. ความเกินเลยทางจิต (อย่างเช่น การมีอัตลักษณะที่ผิดแผกไปจากบรรทัดฐานที่มีอำนาจครอบงำ) จึงสามารถได้รับการมองในฐานะหนึ่งในผลต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพของข้อห้าม

หนังสือหลายเล่มเมื่อไม่นานมานี้ส่วนใหญ่ของ Butler อย่างเช่น Antigone's Claim (2000), และตำราที่เธอได้เขียนคู่กับ Ernesto Laclau และ Slavoj Zizek, Contingency, Hegemony, Universality: contemporary dialogues on the left (2000), Judith Butler, Ernesto Laclau และ Slavoj Zizek, ยังคงสืบค้นถึงคำถามต่างๆ เกี่ยวกับตัวแทน และลักษณะที่มีอยู่เป็นปกติวิสัยอันเป็นปัญหาในวาทกรรมต่างๆ เกี่ยวกับความเป็นสากลอย่างต่อเนื่อง

Antigone's Claim
ในเรื่อง Antigone's Claim, เป็นงานรวบรวมชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับคำบรรยายในช่วงปี 1998, ซึ่งเป็นการพูดออกมาอย่างชัดเจนอีกครั้งถึงมรดกตกทอดของ Antigone (Antigone - พระธิดาและพระกนิษฐาของกษัตริย์ Oedipus, [เพราะ Oedipus ทรงอภิเษกกับพระมารดาของพระองค์เอง, Antigone จึงอยู่ในสองสถานะดังกล่าว] ซึ่งทรงไม่เชื่อฟังคำบัญชาของกษัตริย์ Creon จึงถูกตัดสินลงโทษคุมขังในถ้ำจนสิ้นพระชนม์)(ดูภาคผนวก 2. เพิ่มเติม) สู่ลัทธิสตรีนิยม.

Butler อ่านการกระทำของ Antigone และประกาศอออกมาอย่างชัดเจนของพระองค์เกี่ยวกับการท้าทาย, การฝังพระศพพระอนุชา ซึ่งเป็นการขัดต่อพระบัญชาของกษัตริย์ Creon (ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระมาตุลา(ลุง - พี่ชายฝ่ายแม่) ซึ่งได้ครองราชย์ต่อจากกษัตริย์ Oedipus) และการปฏิเสธที่จะระงับการกระทำต่างๆ ของพระองค์, ในฐานะที่เป็นตำแหน่งหรือที่ทางต่างๆ ของตัวแทนความรู้สึกที่ผสมผสาน(ambivalent agency - ลักษณะไม่แน่นอนระหว่างบวกกับลบ - คู่ตรงข้าม)

Antigone's agency (ตัวแทนของแอนธิโกเน) ปรากฏตัวขึ้นมาผ่านการปฏิเสธของเธอ ที่จะเคารพเชื่อฟังคำบัญชาของ Creon, ("อันว่ากฏของท่านเป็นเพียงกฏของมนุษย์ และมนุษย์เยี่ยงเราจึงปฏิเสธมันได้ ข้ายอมตายดีกว่าจะอยู่อย่างทนทุกข์และปล่อยให้น้องชายร่วมสายโลหิตนอนตาย โดยไร้ผืนดินกลบหน้า") กระนั้นก็ตาม ภาษาเกี่ยวกับการปฏิเสธของเธอ ดูเหมือนหรือคล้ายคลึงกับศัพท์ต่างๆ เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย ความมีอิสระ(sovereignty)ที่เธอจะปฏิเสธ. พฤติกรรมของ Antigone และการถูกลงโทษ ยังคงเป็นการตั้งคำถามสำคัญๆ ที่เกี่ยวพันกับความสัมพันธ์ระหว่าง ญานวิทยา กับ เครือญาติ(kinship)

Butler ตั้งคำถามต่อเรื่องราวของ Antigone - ผู้ซึ่งปรากฏขึ้นมาบนข้อจำกัดต่างๆ มากๆ ของเครือญาติ และ"ความเข้าใจ"(intelligibility - ความเข้าใจโดยผ่านการใช้สติปัญญา) เพราะพระองค์ทรงเป็นพระธิดาของการการสมรสกันเองในสายเลือด(incestuous union) - ซึ่งสามารถได้รับการอ่านในฐานะที่เป็นการยกระดับความเป็นไปได้ทางการเมืองที่บังเกิดขึ้น เมื่อข้อจำกัดทั้งหลายเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนหรือการแสดงออกในรูปสัญลักษณ์ถูกเปิดเผยออกมา

สรุป
ผลงานของ Judith Butler มีจำนวนมหึมา ซึ่งไม่จำเพาะแต่เพียงที่เกี่ยวกับผลกระทบในเชิงปฏิวัติต่อแนวคิดสตรีนิยมและทฤษฎีรักร่วมเพศ(queer theory)เท่านั้น แต่ยังมีงานการศึกษาทางด้านวัฒนธรรม, และงานทางปรัชญาอีกด้วย และขณะที่เธอพัวพันกับปัญหาต่างๆ ทางปรัชญาและการเมืองส่วนใหญ่ งานเขียนของเธอในเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาทางด้านวรรณกรรม ก็เป็นงานที่มีความสำคัญไม่น้อยเช่นเดียวกัน

บรรดานักวิจารณ์วรรณกรรมเป็นจำนวนมากใช้ข้อคิดของ Butler เกี่ยวกับปฏิบัติการซ้ำในเพศสภาวะ(gender performativity) ในฐานะที่เป็นแบบจำลองความคิดเกี่ยวกับวรรณกรรม ซึ่งถือเป็นแหล่งวัฒนธรรมอันหนึ่งของการประกอบสร้างอัตลักษณ์และเพสสภาวะขึ้นมา. Butler ตัวเธอเองนั้นอ้างว่า การพรรณาหรือการเล่าเรื่องทางวรรณกรรม คือแหล่งต้นตอต่างๆ ที่ซึ่งทฤษฎีได้ถือกำเนิดขึ้น

เรียบเรียงจากงานของ
Catherine Rottenberg, Hebrew University of Jerusalem
First published 27 August 2003
http://www.litencyc.com/php/speople.php?rec=true&UID=5173

และสารานุกรมออนไลน์ wikipedia.org

+++++++++++++++++++++++++++

ภาคผนวก :

1. Performativity : ปฏิบัติการซ้ำ
ปฏิบัติการซ้ำ (Performativity) เป็นแนวคิดที่กี่ยวพันกับทฤษฎี speech act (การพูด), สัมพันธ์กับปฏิบัติการทางภาษา, และเชื่อมโยงกับผลงานของ John L. Austin.

แนวคิดเกี่ยวกับ"ปฏิบัติการซ้ำ"(performativity)ถูกนำมาใช้ในทางสังคมศาสตร์ด้วย รวมถึงพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน(หรือการกระทำ)ของปัจเจกชนทั้งหลาย ที่มีพื้นฐานอยู่บนบรรทัดฐานหรืออุปนิสัยต่างๆ. นักปรัชญาและนักทฤษฎีสตรีนิยม อย่าง Judith Butler ได้ใช้แนวคิดเกี่ยวกับ"ปฏิบัติการซ้ำ"(performativity)ในการวิเคราะห์ของเธอ เกี่ยวกับพัฒนาการของเพศสภาวะ เช่นเดียวกับการวิเคราะห์ของเธอในเรื่องวาทกรรมทางการเมือง

Eve Kosofsky Sedgwick อธิบายถึง "ปฏิบัติการซ้ำของกลุ่มรักร่วมเพศ"(Queer Performativity) ในฐานะโครงการที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปลี่ยนแปลงหนทางหรือวิธีการที่เราอาจนิยาม/ให้คำจำกัดความ และยับยั้งหรือยุติพรมแดนต่างๆ ที่มีต่ออัตลักษณ์(identity)

ความคิดต่างๆ ในเชิงทฤษฎี (Theoretical ideas)
Judith Butler, ได้เสนอวิธีการอ่านเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องการปฏิบัติการซ้ำ(performativity)ขึ้นมาใหม่ ซึ่งรากเหง้าของมันในทางภาษาศาสตร์และปรัชญาภาษา อธิบายคำว่า "ปฏิบัติการซ้ำ"(performativity) คือ "…อำนาจการกระทำซ้ำๆ ของวาทกรรม เพื่อสร้างปรากฏการณ์ต่างๆ ให้เป็นกฎระเบียบขึ้นมา…" (Butler qtd. In Identity: A reader, 2000) ส่วนมากแล้ว เธอใช้แนวคิดนี้ในการวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องพัฒนาการของเพศสภาวะ. ความคิดดังกล่าวได้ถูกนำเสนอครั้งแรกในปี 1988 ใน Theatre Journal ฉบับหนึ่ง. (Brickell, 2005)

แนวความคิดนี้ได้วางจุดเน้นบนท่าทีต่างๆ ซึ่ง อัตลักษณ์ได้ถูกส่งผ่านหรือนำมาสู่วิถีชีวิต โดยผ่านวาทกรรม. การปฏิบัติการต่างๆ(performative acts)คือแบบฉบับของคำพูดที่มีอำนาจ. อันนี้สามารถเกิดขึ้นได้ และได้รับการบังคับโดยผ่านกฎหมายหรือบรรทัดฐานของสังคมโดยรวม ด้วยการพูด, มีการกระทำอย่างต่อเนื่อง,และมันได้แสดงถึงระดับหนึ่งของอำนาจ

กุญแจสำคัญสำหรับคำว่า performativity ก็คือ repetition (การซ้ำ - พูดซ้ำ, กระทำซ้ำ)

2. Antigone :
"อันว่ากฏของท่านเป็นเพียงกฏของมนุษย์ และมนุษย์เยี่ยงเราจึงปฏิเสธมันได้ ข้ายอมตายดีกว่าจะอยู่อย่างทนทุกข์และปล่อยให้น้องชายร่วมสายโลหิตนอนตาย โดยไร้ผืนดินกลบหน้า" (แอนธิโกเน)

แอนธิโกเน เป็นละครโศกนาฏกรรมกรีกชื่อดังของโซโฟเคลสนักการละครผู้ยิ่งใหญ่. ตามตำนานกรีกแอนธิโกเนเป็นลูกสาว/นองสาวของกษัตริย์อิดิปุสแห่งเมืองธีปส์ ซึ่งเธอยังมีน้องสาวอีกคนชื่อ อิสมาเน มีน้องชายอีกสองคนคือ เอทีโอเคลส และโพลินีเคลส. เมื่ออิดิปุสได้รู้ความจริงเกี่ยวกับชาติกำเนิดของตน จึงรู้ว่าตนนั้นได้ทำปิตุฆาตและแต่งงานกับแม่ตนเองคือโจคัสตา ซึ่งเมื่อนางรู้ความจริงจึงแขวนคอตาย ส่วนอิดิปุสเลือกที่จะไถ่บาปให้แก่ความผิดที่ตนเองด้วยการควักลูกตาทิ้ง และออกเดินทางร่อนเร่ไป. เมืองธีปส์จึงตกอยู่ในความดูแลของลูกชายทั้งสองของอิดิปุส คือ เอทีโอเคลส และโพลินีเคลส ซึ่งจะผลัดกับปกครองเมือง โดยมีพระมาตุลา(ลุง)ครีออน ผู้เป็นพระเชษฐาของโจคัสตาเป็นที่ปรึกษา

เนื่องจากสงครามการสู้รบที่ยืดเยื้อ ทำให้น้องชายทั้งสองของแอนธิโกเนตาย เอทิโอเคลสนั้นได้รับการฝังร่างตามประเพณี แต่โพลินิเคลสน้องชายคนเล็กนั้น ศพถูกทิ้งไว้กลางดิน โดยครีออนกษัตริย์องค์ใหม่สั่งห้ามไม่ให้ผู้ใดฝังศพของพระองค์ แต่แอนธิโกเนฝ่าฝืนและทำการฝังพระศพของพระอนุชาผู้เป็นที่รัก เธอจึงถูกลงโทษโดยถูกขังให้ตายทั้งเป็น
(http://www.thaingo.org/prboard_1/view.php?id=5853) ผศ.ศรวณีย์ สุขุมวาท

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บรรณานุกรมเว็บไซต์

http://en.wikipedia.org/wiki/Judith_Butler
http://www.litencyc.com/php/speople.php?rec=true&UID=5173
http://www.thaingo.org/prboard_1/view.php?id=5853

 


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์





สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1100 เรื่อง หนากว่า 18000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com


สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

เพื่อให้ชัดเจนมากขึ้น, ความคิดในเชิงปฏิบัติของ Butler ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับการเลือก ซึ่งเพศสภาวะคือสิ่งที่คนๆ หนึ่งต้องการจะเป็นในวันนั้น แต่มันค่อนข้างเกี่ยวกับการถูกบีบบังคับให้"สดุดีหรือยกย่อง"เกี่ยวกับบรรทัดฐานต่างๆ ที่มีอยู่. บทนำเกี่ยวกับ iterability (ความสามารถในการทำซ้ำ) นำสู่ความคิดของเธอเกี่ยวกับความคิดในเชิงปฏิบัติ ซึ่งทำให้ Butler สามารถที่จะให้เหตุผลหรือคำอธิบายได้ดีขึ้นในหนทางที่ตัวตนต่างๆ ได้ถูกก่อรูปก่อร่างขึ้นมาโดยบรรทัดฐานทั้งหลาย และด้วยเหตุนี้ มันจึงไม่เคยเป็นตัวแทนที่เป็นอิสระหรือมีเสรีภาพเลย

คลิกแบนเนอร์สีฟ้าเพื่อค้นหาบทความตามที่ต้องการ
ก้าวสู่ศตวรรษใหม่ด้วยการทบทวนถึงเสรีภาพ ความเสมอภาค และประชาธิปไตยที่ยังไม่บรรลุดผลสำเร็จ
........
........
midnightuniv(at)gmail.com
UPDATE-180150