นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็บไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ

Robber barons - English edition

The Midnight University



สารานุกรมฉบับมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ประวัติความเป็นมาของพวกร็อบเบอร์บารอน : จอมโจรผู้ดี
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
โครงการแปลตามอำเภอใจ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน


บทความเรียบเรียงนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสารานุกรมฉบับมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ ความเป็นมา
และพัฒนาการเกี่ยวกับศัพท์คำว่า Robber barons
นับจากคริสศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ จนถึงปัจจุบัน
midnightuniv(at)yahoo.com

(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 921
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 13.5 หน้ากระดาษ A4)




ประวัติความเป็นมาของพวกร็อบเบอร์บารอน : จอมโจรผู้ดี
สมเกียรติ ตั้งนโม : โครงการแปลตามอำเภอใจ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

ความนำ
Robber Barons (จอมโจรผู้ดี) เป็นศัพท์ที่แสดงความรังเกียจคำหนึ่ง ซึ่งถูกนำมาใช้เพื่ออธิบายถึงบรรดานักอุตสาหกรรมในช่วงปลายคริสศตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หมายถึงคนเหล่านั้นที่แสดงความมั่งคั่งร่ำรวยของตนเองอย่างออกนอกหน้า อันที่จริง วลีนี้ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นและเป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวางในฐานะที่เป็นชื่อเรื่องของงานประวัติศาสตร์ชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1934 โดย Matthew Josepson ที่พูดถึงความลึกลับซับซ้อนเกี่ยวกับความตกต่ำทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่

ศัพท์คำนี้ถูกนำไปใช้กับบรรดาผู้นำทางด้านอุตสาหกรรม และบริษัทบริวารต่างๆในช่วงปลายคริสศตวรรษที่ 19 อย่างเช่น Andrew Carnegie และ บริษัท Carnegie Steel, John D. Rockefeller และบริษัท Standard Oil, และ Cornelius and William Vanderbilt ที่มีบริษัทขนส่งทางรถไฟของพวกเขา. คนเหล่านี้ได้ใช้วิธีการสมัยใหม่ต่างๆ อย่างเช่น การลงทุนขนาดใหญ่ การผลิตที่มีความเชี่ยวชาญมาแทนที่วิธีการกระจายพลังการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้พวกเขายังใช้วิธีการ"บูรณาการตามแนวตั้ง"(veticle integration) ซึ่งไม่เพียงควบคุมขั้นตอนการผลิตจากโรงงาน และการขายผลผลิตในขั้นสุดท้ายเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการควบคุมทรัพยากรและวัตถุดิบในขั้นต้นด้วย

ดังนั้นจึงไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า ทำไมบริษัทเหล็กกล้าคาเนกีสติลล์ จึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับถ่านหินและแร่เหล็ก และทำไมบริษัทน้ำมันสแตนดาร์ดออยล์จึงเป็นเจ้าของบ่อน้ำมันและโรงกลั่นน้ำมันต่างๆ และควบคุมเส้นทางรถไฟที่ขนส่งน้ำมันไปสู่ตลาด

ศัพท์คำว่า"จอมโจรผู้ดี"(robber barons) ยังถูกนำไปประยุกต์ใช้กับผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงินทั้งหลาย อย่างเช่น Jay Gould และ J. Pierpont Morgan ผู้ก่อตั้ง บ.ทรัสท์ ซึ่งเป็นธุรกิจทางการเงินขนาดใหญ่ และจัดหาเงินกู้ให้กับบรรดานักอุตสาหกรรมทั้งหลาย

บรรดาผู้ให้การปกป้องคนเหล่านี้ได้อธิบายถึง Carnegie, Rockefeller, Vanderbilt, และเพื่อนๆ ของพวกเขาในฐานะที่เป็น"รัฐบุรุษทางด้านอุตสาหกรรม" เพราะคนเหล่านี้ได้ช่วยยกระดับและทำให้ระบบทุนนิยมอเมริกันทันสมัยมากขึ้น โดยทำให้ประชาชาติมีผลผลิตเพิ่ม และด้วยเหตุดังนั้นจึงส่งผลให้อเมริกันมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและมีความแข็งแกร่งขึ้นในระดับนานาชาติ

แต่อย่างไรก็ตาม ศัพท์คำว่า"จอมโจรผู้ดี"(robber barons) กลับนำเสนอทัศนะที่ต่างออกไป ซึ่งได้เน้นถึงความเมินเฉยและไม่แยแสต่อสวัสดิภาพของผู้คน รวมไปถึงบรรดาคนงานของพวกเขา ในขณะที่โจรกลุ่มนี้แสดงถึงความมั่งคั่งร่ำรวยของตนเอง แต่กลับรู้สึกว่าค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพวกคนงานเป็นความสิ้นเปลือง ยกตัวอย่างเช่น คฤหาสน์หลังใหญ่ของพวกเขา ที่ผิดแผกแตกต่างตัดกันกับเมืองของคนงาน หรือความซอมซ่อของที่อยู่อาศัยซึ่งบรรดาคนงานและลูกจ้างทั้งหลายใช้ชีวิตอยู่

william Vanderbilt ในฐานะร็อบเบอร์บารอนคนหนึ่งเคยกล่าวเอาไว้ว่า "สาธารณชนเป็นสิ่งที่น่าประณามสาปแช่ง" อันนี้เป็นการแสดงออกถึงท่าทีและทัศนคติที่ดูถูกเหยียดหยาม ที่ทำให้คำว่า"จอมโจรผู้ดี"กลายเป็นชื่อเรียก หรือฉายาอันน่ารังเกียจซึ่งคนเหล่านี้ได้มาเป็นสมบัติของตัว

คำอธิบายเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของคำว่า"จอมโจรผู้ดี"
รูปศัพท์คำว่า"จอมโจรผู้ดี"(robber baron)อาจย้อนกลับไปถึงราวคริสศตวรรษที่ 12-13 แรกเริ่มเดิมทีเป็นการอ้างอิงถึงบรรดาขุนนางในระบอบศักดินา(feudal lords) ซึ่งครอบครองพื้นที่ตลอดแม่น้ำไรน์ในยุโรป พวกเขาใช้ตำแหน่งของตนเองไปในทางที่ฉ้อฉล โดยการสกัดเรือของพวกพ่อค้าที่ผ่านเส้นทางในแม่น้ำดังกล่าว และมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการขนส่งโดยปราศจากอำนาจ/หน้าที่ หรือการได้รับมอบหมายจากจักรพรรดิ์โรมันอันศักดิ์สิทธ์ให้กระทำการดังกล่าว

สินค้าเป็นจำนวนมาก จะถูกขนส่งหรือเคลื่อนย้ายโดยผ่านแม่น้ำไรน์มากกว่าแม่น้ำสายอื่นๆ ในยุโรป อันนี้ทำให้แม่น้ำไรน์เป็นสมาชิกหนึ่งของกลุ่มแม่น้ำเล็กๆ กลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญ - อาทิเช่น แม่น้ำคองโก, แม่น้ำมิสซิสสิปปี้ และแม่น้ำอเมซอน - ซึ่งเป็นเส้นทางธรรมชาติมาแต่เดิมสำหรับแผ่นผืนทวีปนั้นๆ

ในรอบพันปีที่ผ่านมา - นับจาก ค.ศ.800-1800 - ค่าธรรมเนียมการขนส่งจะถูกรวบรวมจากขนาดของใบเรือต่างๆ ที่ขึ้นล่องอยู่ในแม่น้ำไรน์ของยุโรป. ช่วงระหว่างเวลานั้น ขุนนางเจ้าที่ดินทั้งหลาย - ในท่ามกลางขุนนางเหล่านี้ archbishops (หัวหน้าบาทหลวง) ซึ่งถือครองที่ดินตามศักดินาจากจักรพรรดิ์โรมันอันศักดิ์สิทธิ์ - จะทำการรวบรวมค่าธรรมเนียมขนส่งเหล่านี้ จากคนที่นำสินค้าผ่านด่านเพื่อหนุนเสริมสถานะทางการเงินของพวกเขา

เพียงจักรพรรดิ์โรมันเท่านั้น ที่จะมีอำนาจเก็บและรวบรวมค่าธรรมเนียมขนส่งเหล่านี้. การยินยอมให้บรรดาขุนนางและศาสนาจักรเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าว จากการจราจรอันคับคั่งบนแม่น้ำไรน์ ดูเหมือนจะเป็นทางเลือกที่ดึงดูดความสนใจแก่การจัดเก็บภาษีทรัพย์สินอื่นๆ และหน้าที่ต่างๆ ในการสะสมทุนของรัฐบาล. จักรพรรดิ์โรมัน, บรรดาชนชั้นสูง, และอาร์คบิชอพ, ถือเป็นบุคคลที่ได้รับอำนาจที่จะจัดเก็บค่าธรรมเนียมฯทั้งหลายเหล่านี้ ซึ่งในเวลาต่อมาดูเหมือนว่าการจัดเก็บค่าธรรมเนียมขนส่งดังกล่าวได้ค่อยๆ ขยับออกจากช่องทางหรือกฎเกณฑ์ที่เป็นทางการ

ท่ามกลางการตัดสินใจต่างๆ เกี่ยวกับการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการขนส่งบนแม่น้ำไรน์ มีหลักเกณฑ์กว้างๆ ดังนี้

- มีด่านในการเก็บค่าธรรมเนียมมากน้อยแค่ไหน?
- ที่ใดบ้างที่ด่านเหล่านี้ควรถูกสร้าง?
- ค่าธรรมเนียมควรถูกกำหนดให้อยู่ในอัตราเท่าใด?
- ประโยชน์ และข้อได้เปรียบ-เสียเปรียบต่างๆ

ขณะที่กระบวนการตัดสินใจนี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาอย่างไม่สลับซับซ้อนมากนัก โดยปัจจัยธรรมดาร่วมกันและไม่เป็นทางการ รวมถึงโครงสร้างอำนาจท้องถิ่น (เช่น บรรดาอาร์คบิชอพและคนชั้นสูง ซึ่งเป็นไปได้ที่จะเป็นผู้รับตราตั้งให้มีอำนาจในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมฯส่วนใหญ่) พื้นที่ระหว่างด่านหรือสถานีเก็บค่าธรรมเนียมฯ (ด่านเก็บค่าธรรมเนียมโดยทั่วไป ดูเหมือนจะมีระยะห่างจากกันอย่างน้อย 5 กิโลเมตร) และความสามารถที่จะปกป้องตนเองจากการโจมตี (ปราสาท ป้อมปราการต่างๆ ซึ่งค่าธรรมเนียมทั้งหลายได้ถูกเก็บรวบรวมเป็นประโยชน์ในเชิงยุทธวิธี จนกระทั่งฝรั่งเศสได้รุกรานในปี ค.ศ.1689 และทำลายสิ่งเหล่านี้จนราบเป็นหน้ากลอง)

ค่าธรรมเนียมต่างๆ ได้ถูกทำให้มีเกณฑ์มาตรฐาน เช่นจำนวนของเหรียญกษาปณ์เงินที่ยินยอมให้ถูกเรียกเก็บได้ หรือค่าธรรมเนียมในลักษณะเดียวกันเกี่ยวกับสินค้าต่างๆ ภายในลำเรือ

ในทางตรงข้าม คนที่ถูกรู้จักในนาม"จอมโจรผู้ดี"(robber barons) เป็นพวกที่ฝ่าฝืนหรือละเมิดต่อโครงสร้าง ซึ่งค่าธรรมเนียมต่างๆ ได้รับอนุญาตให้จัดเก็บในแม่น้ำไรน์ โดยการเรียกค่าธรรมเนียมสูงมากเกินกว่ามาตรฐานปกติ หรือมีการปฏิบัติการโดยปราศจากอำนาจหน้าที่ดังกล่าวที่ได้รับมอบหมายโดยจักรพรรดิ์โรมัน

บรรดานักเขียนในช่วงเวลาดังกล่าวได้พูดถึงปฏิบัติการเหล่านี้ในฐานะ"ค่าธรรมเนียมที่ไม่ชอบธรรม"(unjust tolls) และไม่เพียงเป็นการกระทำของจอมโจรผู้ดีเท่านั้น แต่มันยังเป็นการละเมิดต่อบุริมสิทธิ์ของจักรพรรดิ์โรมันอันศักดิ์สิทธิ์ด้วย พวกคนเหล่านี้ได้ออกนอกลู่นอกทางในเชิงพฤติกรรมอันเป็นบรรทัดฐานของสังคม ทั้งนี้เพราะโดยปรกติแล้วบรรดาพ่อค้าทั้งหลาย จักต้องผูกพันกับเรื่องของกฎหมายและขนบธรรมเนียมทางศาสนา โดยถูกเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมจากผลิตภัณฑ์หรือสินค้าต่างๆ ของพวกเขาด้วยราคาที่เป็นธรรมอยู่แล้ว

ในช่วงระหว่างวันเวลาในประวัติศาสตร์ของจักรพรรดิ์โรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ถูกรู้จักในช่วงที่เรียกว่า the Interregnum (1250-1273 อันเป็นช่วงว่างขั้นกลางที่ไร้กษัตริย์) เมื่อไม่มีจักรพรรดิ์องค์ใดเสวยอำนาจ จำนวนของด่านเก็บค่าธรรมเนียมก็ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดในช่วงว่างจากอำนาจจักรพรรดิ์. นอกจากนี้ "จอมโจรผู้ดี"ยังได้เริ่มที่จะทำกำไรจากเงินที่ได้มาใหม่ของพวกเขา ซึ่งเป็นความน่าอัปยศ โดยการปล้นชิงเรือสินค้าต่างๆ และมีการขโมยเรือทั้งลำ รวมถึงมีการลักพาตัวไปเรียกค่าไถ่

ในการโต้ตอบกับความเลวร้ายดังกล่าว ได้มีการรวมตัวกันขึ้นเป็นกองกำลังที่ไม่ชอบโดยกฎหมาย, "the Rheinischer bund" หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "พันธมิตรแม่น้ำไรน์"(Rhine Ledgue) พันธมิตรเหล่านี้ได้รับการก่อตัวขึ้นโดยพวกบรรดาชนชั้นสูง อัศวินต่างๆ และบรรดาขุนนางแห่งศาสนาจักร ผู้คนเหล่านี้ทั้งหมดเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างมาก ในการฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบของแม่น้ำไรน์

การเริ่มต้นปฏิบัติการอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1254 โดยพันธมิตรแม่น้ำไรน์ไม่ต้องสิ้นเปลืองเวลามากนักในการกำจัดธุรกิจที่ฉ้อฉลข้างต้นออกไป โดยการประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วในการเข้ายึดครองและทำลายปราสาทและป้อมปราการของพวกคนเหล่านั้น. ใน 3 ปีต่อมา จอมโจรผู้ดี 4 คนได้ตกเป็นเป้าหมาย และป้อมปราการระหว่าง 10-12 แห่งของจอมโจรผู้ดีเหล่านี้ ก็ได้ถูกทำลายหรือทำให้มันใช้งานไม่ได้อีกต่อไป

พันธมิตรแม่น้ำไรน์ไม่เพียงประสบความสำเร็จ ในการขจัดการเก็บค่ารรมเนียมที่ผิดกฎหมายและการปล้นสดมภ์ตามลำน้ำเท่านั้น อย่างน้อยที่สุดในโอกาสหนึ่ง พวกเขาได้เข้าแทรกแซงเพื่อช่วยเหลือการลักพาตัวเหยื่อเพื่อไปเรียกค่าไถ่ด้วย ซึ่งเหตุการณ์การลักพาตัวนี้กระทำโดย the Baron of Rietberg. ในปี ค.ศ.1255 พันธมิตรกลุ่มนี้ได้เข้ายึดป้อมปราการและปราสาท Rietberg และเข้าช่วยเหลือพระราชินีแห่งฮอล์แลนด์ไว้ได้ นั่นเป็นปฏิบัติการอันหนึ่งที่ได้รับทุนดำเนินการส่วนใหญ่จาก the city of Worms, เยอรมนี

ขบวนการดังกล่าว ได้รับการบุกเบิกโดยพันธมิตรแม่น้ำไรน์ สำหรับการร่วมกันขจัดจอมโจรผู้ดีทั้งหลาย - เพื่อปิดล้อมโจมตี เข้าจับกุมและโถมทำลายป้อมและปราสาทของเหล่าทรชนพวกนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ธุรกิจอันฉ้อฉลดังกล่าวก็ยังอยู่รอดต่อมาอีกนาน หลังจากพันธมิตรแม่น้ำไรน์ได้ทำลายตัวเองลงอันเนื่องจากความขัดแย้งในทางการเมืองของพวกเขา เกี่ยวกับการเลือกตั้งจักรพรรดิ์องค์ใหม่ขึ้นมา และการพลิกผันของกองทัพซึ่งได้ทำการต่อสู้กับจอมโจรผู้ดีที่เข้มแข็งผิดปรกติ

เมื่อช่วงว่างที่ไร้กษัตรินย์สิ้นสุดลง จักรพรรดิ์องค์ใหม่ Rudolf of Habsburg ได้ประยุกต์บทเรียนต่างๆ ที่เรียนรู้มาจากพันธมิตรแม่น้ำไรน์ เพื่อนำไปทำลายล้างกลุ่มโจรบนเส้นทางด่วนแห่ง Sooneck, โดยการวางเพลิงป้อมปราสาทและแขวนคอคนเหล่านั้น แต่ขณะเดียวกัน ตำแหน่งจอมโจรผู้ดีก็ไม่เคยยุติลงอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระหว่างสงครามร้อยปี อย่างไรก็ตาม การเลยเถิดของวันเวลาแห่งความรุ่งเรืองของพวกเขาในช่วงระหว่างว่างเว้นกษัตริย์ เป็นสิ่งซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นอีกเลยในเวลาต่อมา
(This article is about the medieval German nobles.)

จอมโจรผู้ดีในยุคอุตสาหกรรม
จอมโจรผู้ดี(Robber baron)ในยุคอุตสาหกรรม ถือเป็นศัพท์คำหนึ่งซึ่งฟื้นคืนชีพขึ้นมาในคริสศตวรรษที่ 19 ในสหรัฐอเมริกา ในฐานะที่เป็นการอ้างอิงถึงคำประณามหยามเหยียดถึงนักธุรกิจทั้งหลาย ซึ่งมีอิทธิพลครอบงำอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสะสมทรัพย์สมบัติส่วนตัวขนาดมหึมา

โดยแบบแผนแล้ว คำๆ นี้เป็นผลลัพธ์โดยตรงอันหนึ่งของการดำเนินการในหนทางที่ได้รับการกล่าวว่า ต่อต้านการแข่งขัน หรือดำเนินธุรกิจต่างๆ โดยปราศจากความเที่ยงธรรม ปัจจุบันศัพท์คำนี้อาจถูกใช้ในความเกี่ยวพันกับนักธุรกิจคนใดก็ได้ ซึ่งถูกรับรู้ว่ามีการปฏิบัติการทางธุรกิจที่น่าสงสัย น่าเคลือบแคลง เพื่อบรรลุถึงความมีอำนาจและความมั่งคั่งร่ำรวย

ศัพท์คำนี้หยิบยืมมาจากพวกขุนนางต่างๆ ชาวเยอรมันในสมัยกลาง ซึ่งเรียกเก็บค่าธรรมเนียมมากเกินไปอย่างผิดกฎหมายกับเรือต่างๆ ที่ขึ้นล่องอยู่ในแม่น้ำไรน์. แต่อย่างไรก็ตาม ศัพท์คำนี้ได้มีการโต้เถียงกันบางอย่างเกี่ยวกับต้นกำเนิดของมันและการนำมาใช้ อันที่จริงมันถูกนำมาใช้จนเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายโดยนักวิจารณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ นามว่า Matthew Josephson ในช่วงปี ค.ศ.1934 ระหว่างภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง. ศัพท์ซึ่งไม่เป็นทางการเช่นคำว่า กัปตันของอุตสาหกรรม (captains of industry) บางครั้งอาจถูกนำมาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงนัยะแฝงที่เป็นไปในเชิงลบของคำว่า "จอมโจรผู้ดี"(robber baron)

ผลกระทบที่มีต่อสังคม (Impact on society)
นักประวัติศาสตร์บางคนพิจารณาว่า การสะสมความมั่งคั่งร่ำรวยและพลังอำนาจขนานใหญ่ท่ามกลางผู้คนทั้งหลาย ที่ถูกรู้จักกันในนาม Robber barons (จอมโจรผู้ดี) ได้ก่อให้เกิดการจัดสรรปันส่วนทางด้านทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม เกิดความผิดพลาดอย่างถึงแก่นตลอดทั้งสังคม. ความจริงที่รุนแรงเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของจอมโจรผู้ดีในสหรัฐอเมริกา ถือเป็นแรงบันดาลใจให้นักเศรษฐศาสตร์และสังคมวิทยา ในคริสศตวรรษที่ 19 อย่าง Thorstein Veblen เขียนเรื่อง The Theory of the Leisure Class (ทฤษฎีของชนชั้นที่มีเวลาว่าง)

ในงานชิ้นนี้ Veblen ได้ให้เหตุผลว่า นักธุรกิจสมัยใหม่ไม่ได้แตกต่างไปจากพวกบาร์บาเลียน(คนป่า)เท่าใดนัก เพราะพวกเขาใช้พลังแบบสัตว์เดรัจฉาน, มีการใช้ทักษะต่างๆ ของการแข่งขันและความหลักแหลมเพื่อสร้างรายได้จากคนอื่นๆ และหาเงินจากชัยชนะโดยการแย่งชิงมากกว่าทำการผลิตสิ่งต่างๆ ของตัวเขาเองขึ้นมา

นักวิชาการสมัยใหม่ อย่างเช่นศาสตราจารย์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ Robert Heibroner อธิบายถึงคำว่าจอมโจรผู้ดี(robber barons)พวกนี้ด้วยวิถีทางในลักษณะเดียวกัน. ในงานของเขาเรื่อง The Worldly Philosophers (บรรดานักปรัชญาที่เจนโลก) Heibroner อ้างว่า จอมโจรผู้ดีทั้งหลายได้ใช้เล่ห์เหลี่ยม ความหลอกลวง, ความรุนแรง, การลักพาตัว และความไม่ซื่อสัตย์อย่างยิ่งยวดเพื่อบรรลุถึงอำนาจทางเศรษฐกิจ และความยิ่งใหญ่ทางด้านอุตสหากรรม ด้วยเหตุดังนั้นพวกเขาจึงเป็นที่รู้จักกันในนามของ"จอมโจรผู้ดี"

นักประวัติศาสตร์บางคนถกเถียงว่า จอมโจรผู้ดี โดยสาระแล้วเป็นพวกที่ทำการเปลี่ยนแปลงให้สหรัฐอเมริกาก้าวขึ้นสู่ความเป็นมหาอำนาจโลก เนื่องจากการลงทุนต่างๆ ที่สำคัญๆ ของพวกเขาในด้านอุตสาหกรรม, โครงสร้างพื้นฐาน, และการศึกษา. นักเขียนนวนิยาย Ayn Rand กล่าวสนับสนุนว่า ผู้คนเหล่านั้นก็คือ"ผู้ที่ให้การสนับสนุนทางด้านการเงินและการทำกุศลต่างๆ แก่มวลมนุษยชาติที่ยิ่งใหญ่ เท่าที่เคยมีมา" แม้ว่าจำนวนมากของผู้คนเหล่านี้พยายามแสวงหาการคงไว้ซึ่งความมั่งคั่งและความมีอิทธิพล โดยการสถาปนาราชวงศ์ต่างๆ ของตนขึ้นมา จำนวนมากของคนเหล่านี้ยังกลายเป็นบุคคลที่ได้รับการบันทึกว่า เป็นผู้มีใจรักในเพื่อนมนุษย์ด้วย (philanthropist)

นิวยอร์คซิตี ถือเป็นหนี้บุญคุณอย่างมากต่อสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่ และพิพิธภัณฑ์จำนวนมากที่สร้างสมขึ้นมาโดยคนเหล่านี้ พวกเขาได้ให้การอุปถัมภ์ค้ำจุนสิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งหลายอย่างไม่เห็นแก่ตัว อาทิเช่น Rockefeller Center, Grand Central Terminal, Cooper Union, The Frick Collection, Carnegie Hall และ The Astor Library. โดยเฉพาะคาเนกี้ได้ให้การกระตุ้นและสนับสนุนการรู้หนังสือของผู้คนทั้งหลาย และได้ให้ทุนสนับสนุนการสร้างห้องสมุดสาธารณะถึง 2500 แห่งทั่วอเมริกาและทั่วโลก

แต่อย่างไรก็ตาม จอมโจรผู้ดีเหล่านี้เพียงให้การอุดหนุนด้วยเงินจำนวนเล็กๆ น้อยๆ จากความมั่งคั่งร่ำรวยของพวกเขาเพื่อการสงเคราะห์และการกุศล และช่วงระหว่างที่บรรดาคนพวกนี้มีชีวิตอยู่ พวกเขาไม่เคยปรากฏว่ามีความโน้มเอียงอย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะ ที่จะนำพาไปสู่การรับรู้ของชุมชนในการเป็นผู้ที่มีคุณงามความดีต่อสาธารณชน

ยกตัวอย่างเช่น คนอย่าง J.P.Morgan ซึ่งได้ถูกบันทึกว่าได้กล่าวคำพูดที่แสดงออกถึงความรังเกียจเดียจฉันท์ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เช่น "ผมไม่รู้สึกเป็นหนี้ต่อสาธารณชนแต่อย่างใดเลย", อย่างไรก็ตาม Morgan ก็ได้ให้การช่วยเหลือและอุดหนุนอย่างสำคัญต่อศิลปกรรม และมหาวิทยาลัยต่างๆ

รายชื่อของนักธุรกิจที่ถูกขนานนามว่าเป็นจอมโจรผู้ดี

- John Jacob Astor (ทางด้านอสังหาริมทรัพย์, ขนสัตว์) -- มีฐานอยู่ที่ New York City, New York
- Jay Cooke (ทางด้านการเงิน)-- มีฐานอยู่ที่ Philadelphia, Pennsylvania
- Daniel Drew (ทางด้านการเงิน)-- มีฐานอยู่ในรัฐ the state of New York
- James Buchanan Duke (ทางด้านยาสูบ) -- มีฐานอยู่ใกล้ Durham, North Carolina
- James Fisk (ทางด้านการเงิน)-- มีฐานอยู่ใน the state of New York

- Henry Flagler (ทางด้านการรถไฟต่างๆ)-- มีฐานอยู่ที่ New York City และ Miami, Florida
- Henry Ford (ทางด้านรถยนต์)-- มีฐานอยู่ใน Dearborn, Michigan และ the Detroit, Michigan metropolitan area.
- Henry Clay Frick (ทางด้านเหล็กกล้า)-- มีฐานอยู่ใน Pittsburgh, Pennsylvania และ New York City, New York
- Jay Gould (ทางด้านการเงิน และการรถไฟ)-- มีฐานอยู่ในรัฐ the state of New York และ New York City, New York
- Edward Henry Harriman (ทางด้านการรถไฟ)-- มีฐานอยู่ในรัฐ the state of New York

- Collis P. Huntington (ทางด้านการรถไฟ)-- มีฐานอยู่ที่ California, Virginia, and New York
- James J. Hill (ทางด้านการรถไฟ)-- มีฐานอยู่ใน St. Paul, Minnesota
- J. P. Morgan (ทางด้านการธนาคาร)-- มีฐานอยู่ใน New York City. ปัจจุบันคือ JPMorgan Chase & Co.
- John D. Rockefeller (ธุรกิจน้ำมัน, บริษัทสแตนดาร์ดออยล์)-- มีฐานอยู่ใน New York City.
- Leland Stanford (ทางด้านการรถไฟ)-- มีฐานอยู่ใน Sacramento, California และ San Francisco, California
- Cornelius Vanderbilt (ทางด้านการรถไฟ, การขนส่งทางเรือ-shipping)-- มีฐานอยู่ใน New York City

ภาพของจอมโจรผู้ดีในวัฒนธรรมป๊อป
ในวัฒนธรรมป๊อปของอเมริกัน, Robber baron หรือจอมโจรผู้ดี ปรกติแล้วได้ถูกวาดภาพให้ออกมาในรูปของ คนที่อยู่ในชุดสูทที่สวมหมวกสีดำ และในมือถือไม้เท้า เช่นตัวอย่างภาพของ Rich Uncle Pennybags ซึ่งเป็นตัวแทนตัวหนึ่งในเกม Monopoly (ดูภาพประกอบ)


หนังสือที่เกี่ยวข้อง
- Burton Folsom, Jr.. The Myth of the Robber Barons. Herndon, VA: Young America's Foundation, 1993. ISBN 0963020315

- Robert Heilbroner. The Worldly Philosophers: The Lives, Times And Ideas Of The Great Economic Thinkers. Touchstone, 1999. ISBN 068486214X

- Matthew Josephson. The Robber Barons: The Great American Capitalists, 1861-1901, San Diego: Harcourt, 1995. ISBN 0156767902

- Howard Zinn. A People's History of the United States: 1492-present, HarperCollins, 2003 ISBN 0-060-52842-7

- Charles R. Morris. The Tycoons: How Andrew Carnegie, John D. Rockefeller, Jay Gould, and J. P. Morgan Invented the American Supereconomy. Times Books, 2005. ISBN 0805075992

เรียบเรียงจาก
- Robber baron From Wikipedia, the free encyclopedia
- Robber baron (industrialist) From Wikipedia, the free encyclopedia

++++++++++++++++++++++++++++++++++

Robber Barons


This disapproving term was used to describe late-nineteenth-century industrialists, espe+cially those who ostentatiously displayed their wealth. The phrase gained widespread popularity as the title of a history published in 1934 by Matthew Josephson in the depths of the Great Depression. It was applied to industrial leaders and corporations of the late nineteenth century, such as Andrew Carnegie and Carnegie Steel, John D. Rockefeller and Standard Oil, and Cornelius and William Vanderbilt and their railroads. Emphasizing efficiency, these men used increasingly modern practices like large-scale, specialized production in place of decentralized methods. They also practiced "vertical integration," controlling not only the manufacturing and sale of the final product but also the raw resources. Thus, Carnegie Steel was involved in coal and iron, and Standard Oil owned wells and refineries, and controlled railroads that transported the oil to market. The term robber barons also has been applied to financiers such as Jay Gould and J. Pierpont Morgan, who set up large trusts and provided loans for these industrialists.

Their defenders have described Carnegie, Rockefeller, Vanderbilt, and their peers as "industrial statesmen" because they enhanced and modernized the American capitalist system by making the nation more productive and thus stronger economically and internationally. But the term robber barons suggests a different view that puts more emphasis on their indifference to the public welfare and their display of wealth at the expense of their workers: huge mansions, for example, in contrast to the company towns or urban squalor in which their employees lived. Such comments as William Vanderbilt's "The public be damned!" expressed the scornful attitude that earned the robber barons their unsavory reputation.

Robber baron From Wikipedia, the free encyclopedia
The term robber baron dates back to the twelfth and thirteenth centuries, originally referring to certain feudal lords of land through which the Rhine River in Europe flowed. They abused their positions by stopping passing merchant ships and demanding tolls without being authorized by the Holy Roman Emperor to do so.
More goods have been moved through the Rhine than over any other river in Europe. This makes the Rhine a member of a small group of rivers - including the Congo, Mississippi and Amazon - which are the primary natural passageway through their continents.

For one thousand years - from 800 AD to 1800 AD - tolls were collected from ships sailing on the Rhine River in Europe. During this time, various feudal lords - among them archbishops who held fiefdom from the Holy Roman Emperor - collected tolls from passing cargo ships to bolster their finances.
Only the Holy Roman Emperor could authorize the collection of such tolls. Allowing the nobility and Church to collect tolls from the busy traffic on the Rhine seems to have been an attractive alternative to other means of taxation and funding of government functions.

The Holy Roman Emperor and the various noblemen and archbishops who were authorized to levy tolls seem to have worked out an informal way of regulating this process.
Among the decisions involved in managing the collection of tolls on the Rhine were:

- how many toll stations to have,
- where they should be built,
- how high the tolls should be,
- and the advantages/disadvantages.

While this decision process was made no less complex by being informal, common factors included the local power structure (archbishops and nobles being the most likely recipients of a charter to collect tolls), space between toll stations (authorized toll stations seem to have been at least five kilometers apart), and ability to be defended from attack (some castles through which tolls were collected were tactically useful until the French invaded in 1689 and leveled them).

Tolls were standardized either in terms of an amount of silver coin allowed to be charged or an "in-kind" toll of cargo from the ship.

In contrast, the men who came to be known as robber barons violated the structure under which tolls were collected on the Rhine either by charging higher tolls than the standard or by operating without authority from the Holy Roman Emperor altogether.

Writers of the period referred to these practices as "unjust tolls," and not only did the robber barons thereby violate the prerogatives of the Holy Roman Emperor, they also went outside of the society's behavioral norms, since merchants were bound both by law and religious custom to charge a "just price" for their wares.

During the period in the history of the Holy Roman Empire known as the Interregnum (1250-1273), when there was no Emperor, the number of tolling stations exploded in the absence of imperial authority. In addition, robber barons began to earn their newly-coined term of opprobrium by robbing ships of their cargoes, stealing entire ships and even kidnapping.

In response to this organized, military lawlessness, the "Rheinischer Bund," or Rhine League was formed by and from the nobility, knights, and lords of the Church, all of whom held large stakes in the restoration of law and order to the Rhine.

Officially launched in 1254, the Rhine League wasted no time putting robber barons out of business by the simple expedient of taking and destroying their castles. In the next three years, four robber barons were targeted and between ten and twelve robber castles destroyed or inactivated.

The Rhine League was not only successful in suppressing illicit collection of tolls and river robbery. On at least one occasion, they intervened to rescue a kidnap victim who had been kidnapped by the Baron of Rietberg.
In 1255, the League captured Rietberg Castle and rescued the Queen of Holland, an operation funded in large part by the city of Worms, Germany.

The procedure pioneered by the Rhine League for dealing with robber barons - to besiege, capture and destroy their castles - survived long after the League self-destructed from political strife over the election of a new Emperor and military reversals against unusually strong robber barons.

When the Interregnum ended, the new Emperor Rudolf of Habsburg applied the lessons learned by the Rhine League to the destruction of the highway robbers at Sooneck, torching their castle and hanging them. While robber barony never entirely ceased, especially during the Hundred Years' War, the excesses of their heyday during the Interregnum never recurred.
Retrieved from "http://en.wikipedia.org/wiki/Robber_baron"

Robber baron (industrialist) From Wikipedia, the free encyclopedia
Robber baron was a term revived in the 19th century in the United States as a pejorative reference to businessmen who dominated their respective industries and amassed huge personal fortunes, typically as a direct result of pursuing various allegedly anti-competitive or unfair business practices. The term may now be used in relation to any businessman who is perceived to have used questionable business practices in order to become powerful or wealthy.

The term derives from the medieval German lords who illegally charged exorbitant tolls against ships traversing the Rhine river (see robber baron). There has been some dispute over the term's origin and use. It was popularized by U.S. political and economic commentator Matthew Josephson in 1934 during The Great Depression. The informal term Captains of Industry may sometimes be used to avoid the negative connotations of "robber baron".

Impact on society
Some historians consider that the vast accumulation of wealth and power among the men known as robber barons constituted a substantial mis-allocation of resources across society. The harsh reality of the existence of robber barons in the United States inspired the 19th century economist and sociologist Thorstein Veblen to write The Theory of the Leisure Class. In this work, Veblen argues that the modern businessman is not different from a barbarian because he uses brute force, cunning and competitive skills to make money from others, and then lives off the spoils of conquests rather than producing things himself. Modern scholars, such as the Professor of Economics Robert Heilbroner, describe robber barons in a similar way. In his book The Worldly Philosophers Heilbroner claims that robber barons used deception, violence, kidnappings and extraordinary dishonesty to gain economic power and industrial supremacy. Hence they became known as robber barons.

Other historians argue that the robber barons were essential to the transformation of the United States into a world power, due to their significant investments in industry, infrastructure, and education. Novelist Ayn Rand stated that such men were among the "greatest benefactors of mankind who had ever lived". Although many of these men sought to retain their wealth and influence by establishing dynasties, many of them also became noted philanthropists.

New York City owes much of its monumental architecture and many of its museums to the generous patronage of these men, most notably Rockefeller Center, Grand Central Terminal, Cooper Union, The Frick Collection, Carnegie Hall and The Astor Library. Carnegie sought to encourage literacy and funded the establishment of 2500 public libraries across the U.S. and around the world. However, the robber barons contributed minor fractions of their wealth to charity[citation needed], and during their lives they did not appear to have any particular inclination towards the perceived common good. Although men such as J. P. Morgan were sometimes noted for such misanthropic statements as "I owe the public nothing", Morgan neverthless made significant contributions to the arts and universities.

List of businessmen who were called robber barons
- John Jacob Astor (real estate, fur) -- based in New York City, New York
- Jay Cooke (finance)-- based in Philadelphia, Pennsylvania
- Daniel Drew (finance)-- based in the state of New York
- James Buchanan Duke (tobacco) -- based near Durham, North Carolina
- James Fisk (finance)-- based in the state of New York
- Henry Flagler (railroads)-- based in New York City and Miami, Florida
- Henry Ford (automobile)-- based in Dearborn, Michigan and the Detroit, Michigan metropolitan area.
- Henry Clay Frick (steel)-- based in Pittsburgh, Pennsylvania and New York City, New York
- Jay Gould (finance, railroads)-- based in the state of New York and New York City, New York
- Edward Henry Harriman (railroads)-- based in the state of New York
- Collis P. Huntington (railroads)-- based in California, Virginia, and New York
- James J. Hill (railroads)-- based in St. Paul, Minnesota
- J. P. Morgan (banking)-- based in New York City. Presently JPMorgan Chase & Co.
- John D. Rockefeller (oil, the Standard Oil company)-- based in New York City.
- Leland Stanford (railroads)-- based in Sacramento, California and San Francisco, California
- Cornelius Vanderbilt (railroads, shipping)-- based in New York City

In popular culture
In popular American culture, robber barons were usually depicted as men in suits with black top hats and canes as typified by Rich Uncle Pennybags, the icon for the board game Monopoly.

Books
- Burton Folsom, Jr.. The Myth of the Robber Barons. Herndon, VA: Young America's Foundation, 1993. ISBN 0963020315

- Robert Heilbroner. The Worldly Philosophers: The Lives, Times And Ideas Of The Great Economic Thinkers. Touchstone, 1999. ISBN 068486214X

- Matthew Josephson. The Robber Barons: The Great American Capitalists, 1861-1901, San Diego: Harcourt, 1995. ISBN 0156767902

- Howard Zinn. A People's History of the United States: 1492-present, HarperCollins, 2003 ISBN 0-060-52842-7

- Charles R. Morris. The Tycoons: How Andrew Carnegie, John D. Rockefeller, Jay Gould, and J. P. Morgan Invented the American Supereconomy. Times Books, 2005. ISBN 0805075992


 



บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 900 เรื่อง หนากว่า 13000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

H
ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่ฟรี
ภาพประกอบดัดแปลงเพื่อใช้ประโยชน์ประกอบบทความฟรีของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปใช้ประโยชน์
R
related topic
140549
release date
เว็บไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลด text size ของ font ลง
ขนาด medium จะแก้ปัญหาได้
เว็บไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานไปที่ midarticle(at)yahoo.com
The author of this work hereby waives all claim of copyright (economic and moral) in this work
and immediately places it in the public domain... [copyleft]
กรุณานำบทความไปใช้ต่อโดยอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร
เว็ปไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอพระขอบคุณในการอนุเคราะห์ให้ใช้พื้นที่ฟรี เพื่อการเผยแพร่ความรู้ต่อสังคมจาก www.thaiis.com
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน จะได้รับการเก็บรักษาเอาไว้อย่างถาวร โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิง ความผิดพลาดใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นจากการเผยแพร่ อาจเป็นของผู้เขียนหรือกองบรรณาธิการ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้โดยไม่เจตนา
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน มีการเสนอบทความใหม่ทุกวัน เพื่อสนองความต้องการของนักศึกษา และผู้สนใจที่คลิกเข้ามาหาความรู้เป็นประจำ

นักประวัติศาสตร์บางคนถกเถียงว่า จอมโจรผู้ดี โดยสาระแล้วเป็นพวกที่ทำการเปลี่ยนแปลงให้สหรัฐอเมริกาก้าวขึ้นสู่ความเป็นมหาอำนาจโลก เนื่องจากการลงทุนต่างๆ ที่สำคัญๆ ของพวกเขาในด้านอุตสาหกรรม, โครงสร้างพื้นฐาน, และการศึกษา. นักเขียนนวนิยาย Ayn Rand กล่าวสนับสนุนว่า ผู้คนเหล่านั้นก็คือ"ผู้ที่ให้การสนับสนุนทางด้านการเงินและการทำกุศลต่างๆ แก่มวลมนุษยชาติที่ยิ่งใหญ่ เท่าที่เคยมีมา" แม้ว่าจำนวนมากของผู้คนเหล่านี้พยายามแสวงหาการคงไว้ซึ่งความมั่งคั่งและความมีอิทธิพล โดยการสถาปนาราชวงศ์ต่างๆ ของตนขึ้นมา จำนวนมากของคนเหล่านี้ยังกลายเป็นบุคคลที่ได้รับการบันทึกว่า เป็นผู้มีใจรักในเพื่อนมนุษย์ด้วย (philanthropist)

The Midnightuniv website 2006