นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็บไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ

 

The Midnight University



การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยสงบในยุโรป
การปฏิวัติกำมะหยี่ของประชาชาติเชคฯ
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน


บทความที่ปรากฏบนหน้าเว็บเพจนี้ เรียบเรียงมาจากสารานุกรมวิกกีพีเดีย ในหัวข้อเรื่อง
Velvet Revolution
From Wikipedia, the free encyclopedia

โดยมีสาระสำคัญแสดงถึงการเปลี่ยนผ่านของระบอบการเมืองแบบคอมมิวนิสท์
ไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ในประเทศเชคโกสโลวาเกีย โดยปราศจากการนองเลือด
เรียกว่าการปฏิวัติกำมะหยี่

midnightuniv(at)yahoo.com

(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 885
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 14.5 หน้ากระดาษ A4)



การปฏิวัติกำมะหยี่ของประชาชาติเชคฯ
สมเกียรติ ตั้งนโม : มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
Velvet Revolution
From Wikipedia, the free encyclopedia


ความนำ
การปฏิวัติกำมะหยี่(The Velvet Revolution) (Czech: sametova revoluce, Slovak: nezna revolucia) (16 พฤศจิกายน - 29 ธันวาคม 1989) เป็นการอ้างถึงการปฏิวัติที่ไม่มีการเสียเลือดเนื้อในเชคโกสโลวาเกีย ในครั้งที่มีการโค่นล้มรัฐบาลคอมมิวนิสท์ในประเทศดังกล่าว

เริ่มต้นขึ้นด้วยวันที่ 17 พฤศจิกายน 1989, มีการชุมนุมเดินขบวนของนักศึกษาที่รักสันติในกรุงปราก พวกเขาถูกทุบตีอย่างรุนแรงโดยตำรวจปราบจลาจล เหตุการณ์ในวันนั้นได้จุดประกายให้มีการเดินขบวนของประชาชนขึ้นต่อมาในวันที่ 19 พฤศจิกายนไ ปจนกระทั่งถึงปลายเดือนธันวาคมปีเดียวกัน. โดยวันที่ 20 พฤศจิกายน บรรดาผู้ประท้วงโดยสันติจำนวนมากได้มาร่วมชุมนุมกันในกรุงปราก ซึ่งต่อมาได้ขยายตัวของผู้ชุมนุมเพิ่มขึ้นเป็น 200,000 คนต่อวัน ก่อนที่จะรวมตัวกันมากถึงประมาณครึ่งล้านคน. การสไตร์คครั้งนี้จัดให้มีขึ้นทุกวัน วันละสองชั่วโมง เหตุการณ์ครั้งนี้เกี่ยวพันกับพลเมืองของเชคโกสโลวาเกียทุกคน ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายนเป็นต้นมา

โดยที่ระบอบคอมมิวนิสท์อื่นๆของประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงได้พังทลายลงโดยรอบ และด้วยความงอกงามขึ้นของการประท้วงบนท้องถนน พรรคคอมมิวนิสท์เชคโกสโลวาเกียได้ประกาศในวันที่ 28 พฤศจิกายนว่า พวกเขาจะยุติอำนาจทางการเมืองแบบผูกขาด และรั่วลวดหนามได้ถูกถอนออกจากชายแดนที่กั้นระหว่างเยอรมันนีตะวันตกและออสเตรียในช่วงต้นเดือนธันวาคม

วันที่ 10 ธันวาคม ประธานาธิบดีคอมมิวนิสท์ Gustav Husak ได้แต่งตั้งรัฐบาลเชคโกสโลวาเกียขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ของคณะรัฐมนจรีในรัฐบาลชุดนี้ไม่ได้เป็นคอมมิวนิสท์นับจากปี ค.ศ.1948 และประกาศลาออก. Alexander Dubcek ได้รับเลือกให้เป็นประธานสภานิติบัญญัติของรัฐสภาแห่งสหพันธ์ในวันที่ 28 ธันวาคม และต่อมา Vaclav Havel ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีของเชคโกสโลวาเกียในวันที่ 29 ธันวาคม 1989

หนึ่งในผลลัพธ์ของการปฏิวัติกำมะหยี่ ทำให้มีการเลือกตั้งในแบบประชาธิปไตยครั้งแรกนับจากปี ค.ศ.1946 ซึ่งได้จัดให้มีขึ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1990 และทำให้เกิดรัฐบาลที่ไม่เป็นคอมมิวนิสท์อย่างสมบูรณ์ขึ้นมาเป็นครั้งแรกของเชคโกสโลวาเกีย ในรอบ 40 ปี

หัวข้อสำคัญในบทความนี้ประกอบด้วย

1). Political situation prior to the revolution (สถานการณ์ทางการเมืองก่อนการปฏิวัติ)
2). Chronology of the first week (ลำดับเหตุการณ์ในช่วงสัปดาห์แรก)
3). Key events of the following weeks (เหตุการณ์สำคัญในสัปดาห์ต่อๆมา)

1. สถานการณ์ทางการเมืองก่อนการปฏิวัติ (Political situation prior to the revolution)
เชคโกสโลวาเกียถูกปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสท์นับจากวันที่ 25 เดือนกุมภาพันธ์ 1948 เป็นต้นมาโดยไม่มีพรรคฝ่ายค้าน. นิตยสารทำเองที่ตีพิมพ์ความเห็นแย้งกับรัฐบาล(ที่โดดเด่นอย่าง Charter 77) ซึ่งออกเป็นประจำ(samizdat) ต้องเผชิญกับการก่อกวนจากบรรดาตำรวจลับ และสาธารณชนโดยทั่วไปรู้สึกเกรงกลัวที่จะให้การสนับสนุนนิตยสารนี้ เพราะพวกเขาอาจถูกไล่ออกจากงานหรือโรงเรียน ถูกสั่งห้ามอ่านหนังสือ ดูภาพยนตร์ซึ่งมีเนื้อหาไปในเชิงลบต่อระบอบสังคมนิยม

อันนี้รวมถึง ลูกๆของนายทุนหรือนักการเมืองที่ไม่ใช่คอมมิวนิสท์เก่าๆ ซึ่งสมาชิกต่างๆในครอบครัวของพวกเขาได้ถูกเนรเทศ คนเหล่านี้ได้ให้การสนับสนุน Alexander Dubcek, ในการต่อต้านการยึดครองของโซเวียต, ให้การส่งเสริมศาสนา, คว่ำบาตรการเลือกตั้งรัฐสภาลวง ซึ่งได้ร่วมกับนิตยสาร Charter 77 หรือสัมพันธ์กับคนเหล่านั้นที่ทำนิตยาสารดังกล่าว. กฎข้อบังคับต่างๆในช่วงเวลานั้น ได้บีบบังคับโรงเรียนทั้งหมด, สื่อต่างๆ และธุรกิจทั่วไปให้เป็นของรัฐ ให้มาอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐโดยตรง

การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป หลังจากการเสนอนโยบายเปเรสทรอยก้า(การปฏิรูปทางเศรษฐกิจและระบอบการเมือง ในช่วงทศวรรษ 1980s ของรัฐเซีย) ของประธานาธิบดี Mikhail Gorbachav ในปี 1985. ผู้นำคอมมิวนิสท์เชคโกสโลวาเกีย ได้ให้การสนับนโยบายเปเรสทรอยก้าด้วยปาก แต่ในทางปฏิบัติกลับกระทำการต่างๆ เพียงเล็กน้อยเท่านั้นในการก่อเกิดการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง และการพูดถึงเรื่องของกรุงปรากฤดูใบไม้ผลิปี 1968 (the Prague Spring of 1968) ยังคงถือเป็นเรื่องต้องห้าม. ในปี 1988 (see e.g. the Candle Demonstration - การจุดเทียนชุมนุม-เดินขบวน) และ 1989 ได้เริ่มเห็นถึงการเดินขบวนและการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลเป็นครั้งแรก แต่อย่างไรก็ตาม การชุมนุมเดินขบวนนี้ได้ถูกปราบปรามโดยพวกตำรวจ

แรงกระตุ้นที่แท้จริงสำหรับการปฏิวัติมาจากพัฒนาการในประเทศเพื่อนบ้านทั้งหลาย - โดยในวันที่ 16 เดือนพฤศจิกายน เพื่อนบ้านทั้งหมดของเชคโกสโลวาเกีย นอกจากสหภาพโซเวียตแล้ว ได้ขจัดการปกครองแบบคอมมิวนิสท์ออกไป. กำแพงเบอร์ลินได้ถูกรื้อทำลายในวันที่ 9 พฤศจิกายน และพลเมืองทั้งหลายของเชคโกสโลวาเกีย ได้เห็นและเป็นพยานถึงเหตุการณ์เหล่านี้ทั้งหมดจากจอทีวี (ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ). สหภาพโซเวียตยังให้การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงในบรรดาพวกหัวกระทิ ซึ่งเป็นชนชั้นปกครองของเชคโกสโลวาเกียด้วย แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้คาดการณ์ หรือมุ่งหวังไปถึงการโค่นล้มเกี่ยวกับระบอบคอมมิวนิสท์

2. ลำดับการณ์ของสัปดาห์แรก (Chronology of the first week)
- วันที่ 16 พฤศจิกายน 1989, ช่วงเวลาเย็นของวันนักศึกษาสากล(International Students Day)(การฉลองครบรอบ 50 ปีเกี่ยวกับการจากไปของ Jan Opletal, นักศึกษาชาวเชคฯ ซึ่งถูกฆาตกรรมโดยการยึดครองของนาซี ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2), นักเรียนโรงเรียนมัธยมและนักศึกษามหาวิทยาลัย Slovak มีการชุมนุมเดินขบวนอย่างสันติ ณ ใจกลางเมือง Bratislava(เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่สุดของสโลวาเกีย)

เหตุการณ์นี้ พรรคคอมมิวนิสท์ของสโลกวาเกียคาดว่าจะก่อให้เกิดปัญหา และตามข้อเท็จจริง การชุมนุมเดินขบวนถือว่าเป็นปัญหาหนึ่งในบรรดาประเทศคอมมิวนิสท์ทั้งหลาย กองกำลังติดอาวุธจึงเตรียมพร้อมนับจากก่อนวันเริ่มมีการชุมนุมเดินขบวนเสียอีก แต่อย่างไรก็ตาม ในตอนจบบรรดานักเรียนนักศึกษาได้เคลื่อนผ่านตัวเมือง และท้ายที่สุดได้ส่งตัวแทนเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาของสโลวัค เพื่อพูดคุยถึงข้อเรียกร้องของพวกเขา

- วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 1989, สหพันธ์เยาวชนสังคมนิยม(The Socialist Union of Youth (SSM/SZM, ซึ่งเป็นตัวแทนของพรรคคอมมิวนิสท์แห่งเชคโกสโลวาเกีย) ได้รวมตัวกันชุมนุมเดินขบวนเพื่อเป็นการรำลึกถึงวันนักศึกษาสากลเช่นกัน สมาชิกส่วนใหญ่ของ SSM โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นฝ่ายตรงข้ามกับผู้นำคอมมิวนิสท์ พวกเขาจึงกริ่งเกรงเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นว่าจะถูกก่อกวน

การชุมนุมเดินขบวนนี้ยอมให้นักเรียนนักศึกษาทั่วไปมีโอกาสเข้าร่วม และแสดงความคิดเห็นต่างๆโดยไม่ต้องกลัว. ราว 16.00 น. ผู้คนประมาณ 15,000 คน ได้เข้ามาร่วมกันกับการชุมนุมเดินขบวนครั้งนี้ พวกเขาได้เดินไปยังสุสานของ Opletal (นักศึกษาที่ถูกฆาตกรรมโดยนาซี) และหลังจากเสร็จสิ้นพิธีกรรมอย่างเป็นทางการแล้ว - ได้มีการเดินขบวนต่อไปยังย่านใจกลางเมืองกรุงปราก โดยถือเอาคำขวัญต่างๆ เกี่ยวกับการต่อต้านคอมมิวนิสท์ไปด้วย

- คำขวัญต่อต้านคอมมิวนิสท์,
ณ เวลา 19.00 น. บรรดาผู้ชุมนุมเดินขบวนได้ถูกหยุดโดยตำรวจปราบจลาจลที่รักษาการอยู่บนถนน Narodni พวกเขาทำการปิดกั้นเส้นทางหลบหนี และเข้าทุบตีนักเรียนและนักศึกษาอย่างโหดร้าย อีกครั้งที่ผู้เดินขบวนทั้งหมดได้ถูกตีจนแตกกระเจิง หนึ่งในผู้ซึ่งมีส่วนร่วม - ตำรวจลับที่เป็นตัวแทน Ludvik Zifcak - แกล้งทำเป็นตายอยู่บนถนน และหลังจากนั้นก็ลุกหนีไป. อันนี้ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าทำไมเขาจึงทำเช่นนั้น แต่ข่าวเล่าลือเกี่ยวกับ"นักศึกษาตาย" เป็นเรื่องที่ค่อนข้างมีน้ำหนักต่อรูปการณ์ในลำดับต่อมาของเหตุการณ์ต่างๆมากกว่า. และยังคงอยู่ในช่วงเย็นค่ำของวันนั้น บรรดานักเรียนนักศึกษาและนักแสดงละครเวทีตกลงกันว่าจะทำการสไตร์คกันต่อไป

- วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน :
- นักศึกษา 2 คนได้เข้าพบนายกรัฐมนตรี Ladislav Adamec ที่บ้านส่วนตัวของท่าน และได้อธิบายให้เห็นถึงเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นบนถนน Naradni

- ในช่วงแรกๆ มีนักศึกษาจากสถาบันศิลปการละครของกรุงปราก(the Prague Academy of Dramatic Arts) โดยบรรดานักศึกษาจากสถาบันดังกล่าวเริ่มก่อการสไตร์ค. อย่างค่อยเป็นค่อยไปในเวลาต่อมา การสไตร์คครั้งนี้ได้มีนักศึกษามหาวิทยาลัยทั่วทั้งเชคโกสโลวาเกียเข้าร่วม

- กลุ่มนักศึกษาดังกล่าวได้รับการสนับสนุนโดยโรงละครต่างๆในกรุงปราก ซึ่งได้เข้าร่วมในการสไตร์คครั้งนี้ด้วย. แทนที่จะแสดงละคร บรรดานักแสดงทั้งหลายกลับอ่านคำประกาศและแถลงการณ์ของบรรดานักศึกษาและศิลปินทั้งหลายให้กับบรรดาผู้ชม. โปสเตอร์ทั้งหลายที่จัดทำกันขึ้นมาเองจากที่บ้าน และแถลงการณ์ต่างๆ ได้ถูกติดประกาศในที่สาธารณะ

ทั้งนี้เพราะสื่อทุกชนิด(ทั้งวิทยุ, โทรทัศน์, และหนังสือพิมพ์)ได้ถูกควบคุมโดยพรรคคอมมิวนิสท์อย่างเข้มงวด ด้วยเหตุนี้จึงมีช่องทางอยู่ช่องทางเดียวที่จะเผยแพร่ข่าวสารได้ ด้วยการปิดประกาศดังกล่าวไปตามที่สาธารณะ. ในช่วงเย็น สถานีวิทยุโรปเสรี(Radio Free Europe) ได้รายงานว่า นักศึกษาคนหนึ่ง(ชื่อว่า Martin Smid)ได้ถูกฆ่าตายโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ช่วงระหว่างการชุมนุมเดินขบวนก่อนหน้านั้น ข่าวดังกล่าวได้ชักชวนให้บรรดาพลเมืองที่ยังลังเลใจอยู่ ไม่นำพาต่อความเกรงกลัวใดๆอีกต่อไป และเข้าร่วมกับบรรดาผู้ประท้วงในเวลาต่อมา

- วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน
- โรงละครต่างๆในเมือง Bratislava, Brno, Ostrava และเมืองอื่นๆได้เข้าร่วมกับการก่อการสไตร์ค ซึ่งดำเนินรอยตามตัวอย่างบรรดาเพื่อนร่วมวิชาชีพของพวกเขาจากกรุงปราก. สมาชิกทั้งหลายของสมาคมศิลปินและวรรณคดี เช่นเดียวกับองค์กรอื่นๆ และสถาบันต่างๆ ในพื้นที่ทั่วไปของสังคมก็ได้มีส่วนร่วมกับการสไตร์คครั้งนี้ด้วย

- บรรดาสมาชิกบางคนได้เข้าพบกับนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้บอกกับพวกเขาว่า ท่านได้ถูกห้ามปรามในการลาออกจากตำแหน่งถึงสองครั้ง และถ้าหากว่าพวกเขาต้องการให้การเปลี่ยนแปลงนี้บรรลุผลสำเร็จ จะต้องมีการชุมนุมเดินขบวนโดยฝูงชนอย่างเช่นในเยอรมันนีตะวันออก (ซึ่งมีนักศึกษาเข้าร่วมประมาณ 250,000 คน). ท่านยังได้ขอร้องพวกเขาด้วยว่า ให้ลดจำนวนคนบาดเจ็บล้มตายลง ในช่วงระหว่างเวลาวิกฤตของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้เหลือน้อยที่สุด

- บรรดาศิลปินสโลวัคประมาณ 500 คน, นักวิทยาศาสตร์ และคนในอาชีพอื่นๆ ได้มีการพบปะกันที่ Art Forum (สภาศิลปะ - Umelecka Beseda)ในเมือง Bratislava ตอน 17.00 น. โดยได้มีการประณามการทุบตีนักศึกษาในกรุงปรากเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายนที่ผ่านมา และได้มีการก่อตั้งองค์กรที่ชื่อว่า องค์กรสาธารณชนต่อต้านความรุนแรง(the Public Agaist Violence)ขึ้น ซึ่งต่อมากลายเป็นแกนนำพลังที่สำคัญ ซึ่งอยู่เบื้องหลังความเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงข้ามในสโลวาเกีย. สมาชิกที่ก่อตั้งของกลุ่มนี้รวมถึง Milan Knazko, Jan Budaj และคนอื่นๆ

- บรรดานักแสดงและผู้ชมในโรงละครของกรุงปราก ร่วมด้วย Vaclav Havel และสมาชิกที่โดดเด่นคนอื่นๆ ของนิตยสาร Charter 77 และองค์กรซึ่งไม่เห็นด้วยต่างๆ ได้สถาปนา กลุ่มลานคนเมือง(Civic Forum)ขึ้น (อันนี้เป็นองค์กรเทียบเท่ากับองค์กรสาธารณชนต่อต้านความรุนแรง [the Public Against Violence]สำหรับดินแดนของสาธารณรัฐเชคฯ)

ในฐานะที่เป็นขบวนการเคลื่อนไหวของมวลชนเพื่อการปฏิรูปการเมือง อันนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลา 22.00 น. พวกเขาเรียกร้องให้มีการขับไล่บรรดาเจ้าหน้าที่ระดับสูงสุด ซึ่งรับผิดชอบต่อความรุนแรงนี้ให้พ้นจากตำแหน่ง และให้มีการสืบสวนอย่างอิสระเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และยังได้มีการเรียกร้องให้มีการปลดปล่อยบรรดานักโทษทางการเมืองทั้งหลาย

นักศึกษามหาวิทยาลัยจำนวนมากประกาศว่าจะก่อการสไตร์ค. บนจอทีวี เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลเรียกร้องให้ยุติความวุ่นวาย และคืนความสงบและสันติกลับมา พวกเขาต้องการฟื้นฟูธุรกิจให้กลับมาสู่สภาวะปรกติ. โทรทัศน์ได้มีการถ่ายทอดการสัมภาษณ์ Martin Smid (นักศึกษาที่มีการายงานข่าวว่า ถูกฆ่าตาย) เพื่อเป็นการบอกกับสาธารณชนว่า ไม่มีใครที่ถูกฆ่า แต่อย่างไรก็ตาม มันไม่ค่อยได้ผลอันเนื่องจากการบันทึกรายการดังกล่าวมีคุณภาพค่อนข้างต่ำ จึงไม่แพร่หลาย. ดังนั้นข่าวลือต่างๆ จึงยังคงดำเนินต่อไป. กระนั้นก็ตาม รายการดังกล่าวได้รับการนำเสนอต่อมาอีกหลายวัน เพื่อยืนยันว่าไม่มีใครถูกฆ่าตาย แต่ ณ เวลานั้น การปฏิวัติได้ปะทุขึ้นมาอย่างรุนแรงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

- วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน
- นักศึกษาและโรงละครต่างๆ ได้ประกาศที่จะมีการสไตร์คอย่างยืดเยื้อ

- กลุ่มลานคนเมือง(Civic Forum) ได้มีการส่งตัวแทนของตนให้เข้าเจรจากันกับนายกรัฐมนตรี Ladislav Adamec โดยไม่มี Vaclav Havel และการเจรจากันครั้งนี้ค่อนข้างทำกันอย่างไม่เป็นทางการ. Adamec รู้สึกเห็นอกเห็นใจต่อข้อเรียกร้องต่างๆ ของนักศึกษา แต่อย่างไรก็ตาม เขาเพิ่งพ่ายแพ้คะแนนเสียงในที่ประชุมที่จัดให้มีขึ้นเป็นการพิเศษของคณะรัฐมนตรีในวันเดียวกัน และในแถลงการณ์อย่างเป็นทางการของรัฐบาล กลับปฏิเสธที่จะยอมอ่อนข้อใดๆ ต่อข้อเรียกร้องของนักศึกษา. กลุ่มลานคนเมืองจึงได้เพิ่มเติมข้อเรียกร้องอีกข้อหนึ่งเข้ามา นั่นคือ ให้มีการเลิกล้มสถานะทางการปกครองของพรรคคอมมิวนิสท์ตามรัฐธรรมนูญ

- บรรดาหนังสือพิมพ์ที่ไม่ฝักใฝ่คอมมิวนิสท์ เริ่มต้นตีพิมพ์ข้อมูลข่าวสารซึ่งโต้แย้งและหักล้างข้อความของพรรคคอมมิวนิสท์

- เริ่มมีการชุมนุมเดินขบวนเป็นครั้งแรกในกรุงปราก (โดยมีผู้คนเข้าร่วมถึง 1 แสนคน) และเริ่มมีการเดินขบวนกันที่เมือง Bratislava เป็นครั้งแรกเช่นกัน

- วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน
- มีการประชุมอย่างเป็นทางการขึ้นมาครั้งแรกระหว่างกลุ่มลานคนเมือง(Civic Forum) กับ นายกรัฐมนตรี. นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า โดยส่วนตัวแล้ว ท่านให้หลักประกันว่าจะไม่มีความรุนแรงใดๆ เกิดขึ้น และจะไม่มีการกระทำที่มุ่งร้ายใดๆ นำมาใช้กับผู้คน

- การชุมนุมเดินขบวนของฝูงชนเกิดขึ้นที่จัตุรัส Wenceslasในใจกลางกรุงปราก (และการชุมนุมเดินขบวนต่อๆ มา ได้รับการจัดขึ้นที่นั่นมาโดยตลอด) บรรดานักแสดง และนักเรียน/นักศึกษาเดินทางไปยังโรงงานต่างๆ ทั้งในและนอกกรุงปราก เพื่อขอการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน /เพื่อนร่วมอาชีพของพวกเขาในเมืองต่างๆ

- การชุมนุมเดินขบวนของฝูงชนเกิดขึ้นที่จัตุรัส Hviezdoslav ในใจกลางเมือง Bratislava (ในวันต่อมา และได้มีการเคลื่อนย้ายไปยังจุตุรัส Slovak National Uprising (การปฏิวัติแห่งชาติสโลวัค). นักเรียน/นักศึกษาได้เสนอข้อเรียกร้องอย่างหลากหลาย และขอให้ผู้คนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนสไตร์คของสาธารณชนในวันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน

- มีการชุมนุมเดินขบวนที่แยกออกไปอีกขบวนหนึ่ง ซึ่งเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักโทษทางการเมือง Jan Carnogursky (นายกรัฐมนตรีคนต่อมาของสโลวาเกีย) อันนี้เกิดขึ้นที่ด้านหน้าของที่ว่าการกระทรวงยุติธรรม. Alexander Dubcek ได้มีการปราศรัยในการชุมนุมเดินขบวนครั้งนี้ - อันนี้ถือเป็นการปรากฏตัวขึ้นมาเป็นครั้งแรกของเขา ในช่วงระหว่างการปฏิวัติกำมะหยี่. จากผลของข้อเรียกร้องทำให้ Carnogursky ได้ถูกปล่อยตัวในวันที่ 23 พฤษจิกายน

- มีการชุมนุมเดินขบวนในเมืองใหญ่ทั้งหมดของเชคโกสโลวาเกีย

- Cardinal Frantsek Tomasek พระสังฆราชคาธอลิคของผืนแผ่นดินของเชคฯ ได้ประกาศให้การสนับสนุนนักเรียน นักศึกษา และได้ตีพิมพ์แถลงการณ์ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์ถึงสถานการณ์ดังกล่าวในปริมณฑลทางสังคมทั้งหมดของเชคโกสโลวาเกีย

- สำหรับในช่วงเวลาแรกระหว่างการปฏิวัติกำมะหยี่ บรรดาผู้ชุมนุมเดินขบวนหัวรุนแรงเรียกร้องให้มีการล้มล้างข้อบังคับในรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้สถาปนาบทบาทนำของพรรคคอมมิวนิสท์ขึ้นมา อันนี้ได้รับการแสดงความรู้สึกออกมาโดย Lubomir Feldek ในคราวที่มีการประชุมพบปะกันครั้งหนึ่งขององค์กรสาธารณชนต่อต้านความรุนแรง(Public Against Violence) ข้อเสนอดังกล่าวได้รับการสนับสนุนอย่างทันท่วงทีโดยประชาชนทั้งหลาย ที่ได้มาร่วมชุมนุมเดินขบวนในวันที่ 25 พฤศจิกายน และในท้ายที่สุดก็ได้รับการยอมรับจากพรรคคอมมิวนิสท์ของสโลวาเกีย ในวันที่ 26 พฤศจิกายน

- ในช่วงเย็น, Milos Jakes ประธานพรรคคอมมิวนิสท์ของเชคโกสโลวาเกีย ได้มีการปราศรัยพิเศษขึ้น ณ สถานีโทรทัศน์สหพันธ์รัฐ. เขากล่าวว่า ระเบียบดังกล่าวจะต้องได้รับการปกปักรักษาไว้ ลัทธิสังคมนิยมนั้นเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับเชคโกสโลวาเกียเท่านั้น และวิพากษ์วิจารณ์ผุ้คนกลุ่มต่างๆ ที่ยืนอยู่เบื้องหลังการพัฒนาในเชคโกสโลวาเกีย

- บรรดาเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้นำของพรรคคอมมิวนิสท์ Milos Jakes ได้คงความแข็งกร้าว และรักษาสภาพการณ์ที่จะไม่มีการประนีประนอมเอาไว้ ซึ่งอันนี้ดูเหมือนว่าได้ไปช่วยเพิ่มเติมดีกรีของสิ่งที่ไม่อาจสัมผัสแตะต้องได้. ในคืนนั้น พวกเขาได้มีการเรียกระดมสมาชิกกองทัพประชาชน(People's Militia)(Lidove milice, องค์กรทหารกองหนุน ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาโดยตรงต่อพรรคคอมมิวนิสท์)เข้ามายังกรุงปราก เพื่อบดขยี้บรรดาผู้ประท้วงทั้งหลาย แต่ท้ายที่สุด กองทัพประชาชนดังกล่าวก็ถูกยับยั้งเอาไว้

- วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน
- กลุ่มลานคนเมือง(Civic Forum) ได้ประกาศให้มีการสไตร์คทั่วไปเป็นเวลา 2 ชั่วโมงสำหรับวันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน

- ได้มีการรายงานสดขึ้นมาเป็นครั้งแรกจากการชุมนุมเดินขบวน ณ จัตุรัส Wenceslas นี้ รายงานข่าวดังกล่าวปรากฏขึ้นบนจอทีวีสถานีโทรทัศน์สหพันธรัฐ และได้ถูกตัดออกอย่างรวดเร็ว, อีกครั้งที่หนึ่งในบรรดาผู้มีส่วนร่วม ได้มีการประณามกล่าวโทษรัฐบาลปัจจุบัน โดยการสนับสนุนของ Alexander Dubcek

- นักศึกษาที่ทำการสไตร์ค ได้บีบบังคับให้บรรดาผู้แทนทั้งหลายของรัฐบาลสโลวัค และผู้แทนของพรคคคอมมิวนิสท์ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเจรจาตกลงกัน ซึ่งบรรดาผู้แทนที่เป็นทางการทั้งหลายต่างพากันปกป้องและบอกปัดในทันที

- บรรดาลูกจ้างของสถานีโทรทัศน์สหพันธรัฐในส่วนของสโลวัค ได้มีการเรียกร้องบรรดาผู้นำ/ผู้บริหารทั้งหลายของสถานีโทรทัศน์สหพันธรัฐ ให้นำเสนอข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริงต่อเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศ มิฉะนั้นแล้วพวกเขาจะเริ่มก่อการสไตร์คกับทางสถานีฯ ด้วยเหตุนี้ การรายงานข่าวสดๆโดยไม่มีการเซ็นเซอร์จากขบวนของผู้ชุมนุมในเมือง Bratislava จึงได้มีการดำเนินการต่อมา

- วันพฤหัสที่ 23 พฤศจิกายน
- ข่าวช่วงเย็นได้แสดงให้เห็นว่า บรรดาคนงานของโรงงานต่างๆ แสดงความไม่พอใจ Miroslav Stepan, เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสท์ของกรุงปราก และเป็นนักการเมืองที่ได้รับความเกลียดชังมากที่สุด. กองทัพได้ให้ข้อมูลกับผู้นำคอมมิวนิสท์ว่า กองทัพพร้อมแล้วที่จะปฏิบัติการเข้าสลายผู้ชุมนุม แต่โชคดี ที่มันไม่ได้มีการใช้กำลังเข้าจัดการกับบรรดาผู้ชุมนุมเดินขบวนทั้งหลาย

- กองทัพและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกำลังเตรียมการสำหรับการปฏิบัติการต่อฝ่ายตรงข้าม แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากการประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้กล่าวปราศรัยทางโทรทัศน์ว่า ทหารจะไม่ปฏิบัติการใดๆ ที่เป็นอันตรายต่อประชาชนเชคโกสโลวาเกีย และเรียกร้องให้มีการยุติการชุมนุมเดินขบวนต่างๆ

- วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิการยน
- Milos Jakes ได้ถูกแทนที่โดยนักการเมืองหุ่นเชิด Karel Urbanek ในฐานะเลขาธิการทั่วไปของพรรคคอมมิวนิสท์ของเชคโกสโลวาเกีย

- สถานีโทรทัศน์สหพันธรัฐได้นำเสนอภาพข่าวต่างๆ นับจากเหตุการณ์วันที่ 17 พฤศจิกายนเป็นต้นมา และคำปราศรัยครั้งแรกของทางทีวีของ Vaclav Havel, ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับแผนการณ์สไตร์คของสาธารณชน. ทีวีและวิทยุเชคโกสโลวาเกียประกาศว่า พวกเขาจะร่วมก่อการสไตร์คในครั้งนี้ด้วยกับผู้คนทั้งหลาย

- การสนทนากับบรรดาผู้แทนของพรรคฝ่ายค้าน ได้ถูกเผยแพร่โดยสถานีโทรทัศน์ของสหพันธรัฐในส่วนของสโลวัค อันนี้นับเป็นครั้งแรกของการสนทนาอย่างอิสระบนจอทีวีเชคโกสโลวาเกีย นับจากการเริ่มต้นดำเนินการของสถานีฯ ผลลัพธ์ก็คือ สต๊าฟฟ์บรรณาธิการของหนังสือพิมพ์สโลวัค เริ่มที่จะเข้ามาร่วมกันกับฝ่ายตรงข้าม

- วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน
- ผู้นำคอมมิวนิสท์คนใหม่ได้จัดให้มีการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน และในทันทีนั้นเขาก็สูญสิ้นความน่าเชื่อถือไป ทั้งนี้โดยการที่เขาให้การปกป้องสนับสนุน Miroslav ?tep?n, และปล่อยให้ Ladislav Adamec ออกไป โดยไม่มีการพูดถึงข้อเรียกร้องใดๆ. ต่อจากวันนั้น, Stepan ได้ลาออกจากตำแหน่งของเขาในฐานะเลขาธิการฯพรรคคอมมิวนิสท์ ของกรุงปราก

- ผู้มีส่วนร่วมจำนวนมากในการชุมนุมเดินขบวนต่อต้านรัฐบาลเป็นประจำในกรุงปราก ได้เพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 8 แสนคน. ส่วนการเดินขบวนในเมือง Bratislava ได้เพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมสูงสุดราว 1 แสนคน

- วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน
- นายกรัฐมนตรี Ladislav Adamec พบกับ Vaclav Havel เป็นครั้งแรก

- สต๊าฟฟ์บรรณาธิการของ Pravda ของสโลวาเกีย อันเป็นหนังสือพิมพ์ส่วนกลางของพรรคคอมมิวนิสท์ของสโลวาเกีย ได้เข้าร่วมกับฝ่ายค้าน

- วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน
- การสไตร์คของสาธารณชนเป็นเวลา 2 ชั่วโมงเกิดขึ้นทั่วประเทศในช่วงระหว่าง 12.00 น.จนถึง 14.00 น. ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประชากรราว 75%. รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมยินยอมให้สาธารณชนค้นคว้า และหาอ่านวรรณกรรมต่อต้านคอมมิวนิสท์ในห้องสมุดต่างๆได้ ซึ่งอันนี้ถือเป็นการสิ้นสุดของการเซ็นเซอร์อย่างมีประสิทธิผล

- ชัยชนะต่างๆที่ตามมา แม้ว่าจะได้รับการสนับสนุนจากการสไตร์คของนักศึกษาและนักแสดงซึ่งยืนหยัดมาจนกระทั่งวันที่ 29 ธันวาคม แต่ความสัมฤทธิผลส่วนใหญ่ บรรลุโดยผ่านการเจรจาต่อรองต่างๆระหว่างรัฐบาล กับกลุ่มลานคนเมือง และองค์กรสาธารณชนต่อต้านความรุนแรงส่วนใหญ่

3. เหตุการณ์ที่สำคัญในสัปดาห์ต่อๆมา ( Key events of the following weeks)
- 29 พฤศจิกายน, รัฐสภายังคงถูกครอบงำโดยพรรคคอมมิวนิสท์ มีการถอนข้อบังคับที่ให้การรับรองบทบาทของผู้นำของพรรคคอมมิวนิสท์และลัทธิมาร์กซ์ ในฐานะที่เป็นอุดมการณ์รัฐที่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ. วันเดียวกันนั้น ประธานสภานิติบัญญัติของรัฐสภาสหพันธ์ลาออก

- 30 พฤศจิกายน,
- การศึกษาในเรื่องเกี่ยวกับลัทธิมาร์กซ์และลัทธิเลนิน และประวัติศาสตร์เกี่ยวกับขบวนการเคลื่อนไหวของคนงานนานาชาติ ได้ถูกยกเลิกในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยต่างๆอย่างเป็นทางการ

- สภาพรีซีดเดียม(Presidium)อันเป็นสภาบริหารสูงสุดของรัฐสภาสโลวัค (Slavak National Council)ได้ลาออก และถูกเข้าแทนที่โดยบรรดาสมาชิกที่ไม่ใช่คอมมิวนิสท์อย่างค่อยเป็นค่อยไป

- รัฐบาลสหพันธ์ตัดสินใจว่า รั้วลวดหนามควรที่จะถูกถอนออกไปจากพรมแดนที่ติดกับออสเตรีย (ต่อมาภายหลัง รั้วลวดหนามที่กั้นพรมแดนเยอรมันนีตะวันตก ก็ถูกรื้อถอนออกไปด้วย), และพลเมืองเชคโกสโลวัคนั้น ก็ไม่ต้องใช้วีซ่าสำหรับการข้ามพรมแดนอีกต่อไป เมื่อประสงค์จะไปข้างนอก. รั้วลวดหนาม ณ ชายแดนดังกล่าวกับออสเตรียได้ถูกรื้อถอนนับจากวันที่ 1 ธันวาคมเป็นต้นไป

- 3 ธันวาคม, ประธานาธิบดี Gustav Husak เสนอชื่อแต่งตั้งรัฐมนตรีสหพันธรัฐชุดใหม่ นำโดย Ladislav Adamec. มีรัฐมนตรีที่เป็นคอมมิวนิสท์ 15 คน มีเพียง 5 คนเท่านั้นที่ไม่ใช่คอมมิวนิสท์ (ซึ่งเรียกกันว่ารัฐบาล 15:5) คณะรัฐมนตรีชุดนี้ได้รับการปฏิเสธโดยกลุ่มลานคนเมือง และบรรดาผู้ร่วมชุมนุมทั้งหลาย

- 4 ธันวาคม, รัฐบาลประกาศให้ประชาชนมีเสรีที่จะเดินทางไปยังออสเตรีย (ต่อมาภายหลังเพิ่มเติมว่า ทุกคนมีอิสระที่จะเดินทางไปทุกๆ ประเทศได้) จึงไม่มีความจำเป็นใดๆ อีกต่อไปที่จะทำเรื่องร้องขอ ก่อนจะเดินทางไปยังออสเตรีย. ในสัปดาห์ต่อมา ผู้คนราว 250,000 คนได้ไปเยือนประเทศดังกล่าว ซึ่งจะเห็นคิวรถยนต์เป็นประจำซึ่งมาจากในเมือง Bratislava มุ่งสู่ชายแดนเพื่อข้ามไปยังออสเตรีย และทางฝั่งออสเตรียก็กระทำเช่นเดียวกัน

- 6 ธันวาคม, สมาชิกส่วนใหญ่ของรัฐบาลเชคโกสโลวาเกีย ได้ถูกแทนที่โดยสมาชิกที่ไม่ใช่คอมมิวนิสท์. Frantisek Pitra ยังคงเป็นนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลเชคโกสโลวาเกีย

- 8 ธันวาคม, ประธานาธิบดี Gustav Husak ได้ออกแถลงการณ์เพื่ออภัยโทษต่ออาชญากรรมทางการเมือง

- 10 ธันวาคม
- ประธานาธิบดี Gustav Husak เสนอชื่อแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีสหพันธรัฐ นำโดย Marian Calfa, อันนี้เป็นการแต่งตั้งบนพื้นฐานความตกลงกันระหว่างกลุ่มลานคนเมือง และพวกคอมมิวนิสท์ และเลิกลากันไป. ซึ่งการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดนี้ถือว่าเป็นรัฐบาลสหพันธรัฐครั้งแรกนับจากปี ค.ศ.1948 เป็นต้นมา ซึ่งพวกคอมมิวนิสท์ไม่ได้เป็นสมาชิกเสียงส่วนใหญ่

- การสไตร์คของโรงละครต่างๆ ได้ยุติลง แต่บรรดานักศึกษายังคงดำเนินการต่อไป. ตำรวจลับได้เผาเอกสารและสำนวนความต่างๆของพวกเขา (แฟ้มข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งไม่พอที่จะพิสูจน์หรือให้ความจริงเกี่ยวกับการสมรู้ร่วมคิด อันเป็นมูลเหตุให้เกิดความรู้สึกลำบากใจต่อผู้คนจำนวนมากในทศวรรศต่อมา)

- ผู้คนราว 1 แสนคนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการชุมนุมเดินขบวนจากเมือง Bratislava, เชคโกสโลวาเกีย ไปยังเมือง Hainburg, ออสเตรีย

- 11 ธันวาคม, รั้วลวดหนามได้รับการรื้อถอนจากพรมแดนต่างๆ ที่ขวางกั้นระหว่างเชคโกสโลวาเกียกับเยอรมันนีตะวันตก

- 12 ธันวาคม, สโลวาเกียมีรัฐบาลใหม่ นำโดย Milan Cic. ถือว่าเป็นรัฐบาลชุดแรกของสโลวาเกียนับจากปี ค.ศ.1969 เป็นต้นมา ซึ่งสมาชิกคอมมิวนิสท์ไม่ได้เป็นสมาชิกเสียงข้างมาก

- 14 ธันวาคม, Tom?? J. Bata บุตรชายของนายทุนและผู้บริหารกิจการที่มีชื่อเสียงของชาวเชคฯ Thomas Bata และเป็นประธานของบริษัทรองเท้า Bata Shoes (รองเท้าบาจา), ได้มาถึงเชคโกสโลวาเกีย ด้วยการต้อนรับจากประชาชนอย่างอบอุ่น ในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ของจารีตทางด้านอุตสาหกรรมของเชคฯ อันเก่าแก่และชนชั้นนายทุน ซึ่งก่อนหน้านี้เคยถูกปราบปรามโดยคอมมิวนิสท์ และมาถึงตอนนี้ได้หวนคืนกลับมา

- 21 ธันวาคม, กองกำลังประชาชน(people's militia - ทหารกองหนุน)ได้ถูกยกเลิกไป และบรรดาอาวุธยุทโธปกรณ์ของพวกเขาได้ถูกทหารยึดเอาไป หลังจากที่มันได้รับการสถาปนาขึ้นมา กองทัพประชาชน(ทหารกองหนุนประชาชน)นั้น ทำหน้าที่ต่อสู้ตามกฎหมาย ตลอดช่วงคอมมิวนิสท์ครองเมือง นับจากปี ค.ศ.1948 เป็นต้นมา

- 22 ธันวาคม, กลุ่มลานคนเมือง, องค์กรสาธารณชนต่อต้านความรุนแรง, พรรคคอมมิวนิสท์ของเชคโกสโลวาเกีย และผู้แทนของนักศึกษาทั้งหลาย รวมไปถึงกลุ่มการเมืองที่มีอยู่ต่างๆ เห็นพ้องกันว่า Alexander Dubcek ควรจะเป็นประธานสภานิติบัญญัติของรัฐสภาสหพันธ์ ขณะที่ Vaclav Havel ควรจะเป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐ

- 28 ธันวาคม, รัฐสภาสหพันธ์ยังคงประกอบด้วยบรรดาผู้แทนคอมมิวนิสท์ที่มาจากการเลือกตั้งที่กำหนดขึ้น ซึ่งมีการรับสมัครในปี ค.ศ.1986, ผ่านกฎหมายฉบับหนึ่งที่ยินยอมให้มีการทำงานร่วมกับบุคคลใหม่ๆ. ผู้ที่ไม่ได้เป็นคอมมิวนิสท์หลายคนกลายเป็นผู้แทนด้วยกฎหมายฉบับนี้. การปฏิรูปดังกล่าวของรัฐสภา"จากภายใน"ได้รับการประสานเสียงโดยนายกรัฐมนตรี Marian Calfa และได้ช่วยสถาปนาความชอบธรรมขึ้นมาใหม่ให้กับรัฐสภาในทันที โดยปราศจากการเรียกร้องต้องการการเลือกตั้งใดๆ (ซึ่งเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน 1990). Alexander Dubcek ได้รับเลือกเป็นประธานสภานิติบัญญัติในวันเดียวกัน

- รัฐสภาสหพันธ์เลือก Vaclav Havel ขึ้นเป็นประธานาธิบดี. อันนี้ดูจะแย้งกับสถานการณ์ เพราะ Havel ซึ่งมีความเห็นขัดกับคอมมิวนิสท์ ได้เป็นประธานาธิบดีโดยการเลือกตั้งอย่างอิสระจากบรรดาตัวแทนของคอมมิวนิสท์ ซึ่งเพียงแค่วันเดียวก่อนตกลงใจให้มีการจำคุกเขาอีกครั้ง. บรรดานักศึกษาตกลงที่จะยุติการก่อการสไตร์ค และถือกันว่าการปฏิวัติกำมะหยี่ได้สิ้นสุดลงแล้ว

สรุปเหตุการณ์ต่อมา
ในเดือนธันวาคมและเดือนต่อๆ มา พรรคคอมมิวนิสท์ได้สูญเสียสมาชิกของตนไปเป็นจำนวนมาก (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนเหล่านั้นซึ่งเข้าร่วมกับพรรคฯ เพียงเพื่อเป็นพาหนะสำหรับการส่งเสริมธุรกิจของพวกเขา รวมไปถึงพวกที่ประสงค์ไต่เต้าทางวิชาการและอาชีพทางการเมือง). รัฐสภาสหพันธ์ได้นำเสนอกฎหมายหลักๆ สำหรับการส่งเสริมสิทธิพลเมือง, เสรีภาพของประชาชน และเศรษฐกิจเสรี

การเลือกตั้งอย่างอิสระเป็นครั้งแรก ได้รับการกำหนดขึ้นในเดือนมิถุนายน 1990. เหตุการณ์ที่สร้างปัญหาต่างๆ รวมถึงการชะงักงันของรัฐสภาครั้งแรก มีมูลเหตุเนื่องมาจากชาวเชคฯและสโลวัคไม่อาจที่จะตกลงกันได้เกี่ยวกับชื่อของประเทศ. นอกจากนี้ยังมีการตำหนิและประณามกันอย่างฉุนเฉียวเกี่ยวกับเรื่องความร่วมมือกับตำรวจลับคอมมิวนิสท์ (เพราะไปเชื่อถือเอกสารที่ไม่สมบูรณ์ ดังที่บางแฟ้มได้ถูกเผาทำลายไปในเดือนธันวาคม 1989)

สิ่งที่ตามมาอีกอย่างหนึ่งก็คือ การเพิ่มขึ้นมาของอาชญากรรมต่างๆ (เนื่องมาจากการไม่ค่อยให้ความเคารพต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ และการอภัยโทษอย่างกว้างขวางโดย Havel ประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่งในความเป็นจริง ได้ปล่อยอาชญากรในความผิดเล็กๆน้อยๆ จากคุกไปเป็นจำนวนมาก)

โดยทั่วไป ประชากรมีความพึงพอใจ และมองว่าปัญหาต่างๆ เหล่านั้นเป็นราคาที่ต้องจ่ายสำหรับประชาธิปไตยของพวกเขา

ที่มาของคำศัพท์ "การปฏิวัติกำมะหยี่"
ศัพท์คำว่า "การปฏิวัติกำมะหยี่" (Velvet Revolution) ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นโดยนักหนังสือพิมพ์คนหนึ่งภายหลังเหตุการณ์ในช่วงแรกๆ คำนี้ถูกตะครุบโดยวงการสื่อทันที และท้ายที่สุดโดยเชคโกสโลวาเกีย. สื่อ, บนเว็บ infotainment เห็นถึงความสำเร็จอันนี้ และจารีตที่เริ่มต้นขึ้นมาของการประดิษฐ์คิดค้น และอ้างถึงชื่อที่มีลักษณะสำเนียงเป็นกวีอันนี้กับเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันต่างๆ (ดู color revolution ใน Wikipedia). แต่อย่างไรก็ตาม ในสโลวาเกีย ชื่อของการปฏิวัตินับจากเริ่มต้นของเหตุการณ์ดังกล่าวคือ Gentle Revolution (Nezna revolucia) หรือ"การปฏิวัติละมุน / การปฏิวัติอย่างสันติ"

ค้นคว้าเพิ่มเติม :
สำหรับผู้สนใจประเด็นเกี่ยวเนื่องกับเรื่องนี้ สามารถค้นหาเพิ่มเติมได้ใน

- Civic Forum and Public Against Violence (political movements that played major role in the revolution)
- Revolutions of 1989
- Velvet Divorce (peaceful dissolution of Czechoslovakia few years later)

External links
http://www.commondreams.org/views05/0117-31.htm

 

 

 



บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 850 เรื่อง หนากว่า 12000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

 

H
ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่ฟรี
ภาพประกอบดัดแปลงเพื่อใช้ประโยชน์ประกอบบทความฟรีของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปใช้ประโยชน์
R
related topic
080449
release date
เว็บไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลด text size ของ font ลง
ขนาด medium จะแก้ปัญหาได้
เว็บไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานไปที่ midarticle(at)yahoo.com
The author of this work hereby waives all claim of copyright (economic and moral) in this work
and immediately places it in the public domain... [copyleft]
กรุณานำบทความไปใช้ต่อโดยอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนร่วมกับมูลนิธิไฮน์ริคเบิลล์ เปิดชั้นเรียนฟรีสำหรับ น.ศ. และผู้สนใจ เพื่อศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีมลายูมุสลิมอย่างรอบด้าน
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน จะได้รับการเก็บรักษาเอาไว้อย่างถาวร โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิง ความผิดพลาดใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นจากการเผยแพร่ อาจเป็นของผู้เขียนหรือกองบรรณาธิการ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้โดยไม่เจตนา
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน มีการเสนอบทความใหม่ทุกวัน เพื่อสนองความต้องการของนักศึกษา และผู้สนใจที่คลิกเข้ามาหาความรู้เป็นประจำ

ศัพท์คำว่า "การปฏิวัติกำมะหยี่" (Velvet Revolution) ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นโดยนักหนังสือพิมพ์คนหนึ่งภายหลังเหตุการณ์ในช่วงแรกๆ คำนี้ถูกตะครุบโดยวงการสื่อทันที และท้ายที่สุดโดยเชคโกสโลวาเกีย. สื่อ, บนเว็บ infotainment เห็นถึงความสำเร็จอันนี้ และจารีตที่เริ่มต้นขึ้นมาของการประดิษฐ์คิดค้น และอ้างถึงชื่อที่มีลักษณะสำเนียงเป็นกวีอันนี้กับเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม ในสโลวาเกีย ชื่อของการปฏิวัตินับจากเริ่มต้นของเหตุการณ์ดังกล่าวคือ Gentle Revolution (Nezna revolucia) หรือ"การปฏิวัติละมุน / การปฏิวัติอย่างสันติ

The Midnightuniv website 2006

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90