นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็บไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ

 

The Midnight University



ข้อมูลจากสารานุกรมวิกกีพีเดีย
บทนำเกี่ยวกับจักรพรรดินิยมทางวัฒนธรรม
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง

คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ข้อความบนหน้าเว็บเพจนี้เรียบเรียงจากข้อมูลในสารานุกรมวิกกีพีเดีย
ประกอบด้วยบทเรียบเรียงภาษาไทย และต้นฉบับภาษาอังกฤษ
สำหรับผู้สนใจเรื่องดังกล่าวในภาษาอังกฤษ กรุณาคลิก
English version
midnightuniv(at)yahoo.com

(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 868
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๔๙
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 11.5 หน้ากระดาษ A4)




บทนำเกี่ยวกับจักรพรรดินิยมทางวัฒนธรรม :Cultural imperialism
From Wikipedia, the free encyclopedia

ิจักรพรรดินิยมทางวัฒนธรรม (Cultural imperialism)
คำว่า"จักรพรรดินิยมทางวัฒนธรรม" หมายถึง ปฏิบัติการเกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน"วัฒนธรรม"หรือ"ภาษา"ของประเทศหนึ่งเข้าไปสู่อีกประเทศหนึ่ง ปรกติแล้ว มันเป็นกรณีที่ประเทศที่ใหญ่กว่า ซึ่งมีกำลังอำนาจทางเศรษฐกิจและการทหารที่มากกว่ากระทำกับประเทศที่เล็กกว่า หรือมั่งคั่งร่ำรวยน้อยกว่า

โดยทั่วไปแล้ว จักรพรรดินิยมทางวัฒนธรรมอาจจะเข้ายึดครองรูปแบบของกิจกรรมอันหนึ่ง อย่างเช่น นโยบายก่อนหน้านั้นหรือทัศนคติทั่วไปเอาไว้. จักรวรรดิต่างๆ ตลอดเวลาที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์ได้รับการสถาปนาขึ้นโดยใช้การสงคราม และการบีบบังคับทางกายภาพ(ลัทธิจักรพรรดินิยมทางด้านกองทัพ)เป็นเครื่องมือ. ในกรณีที่ขยายกว้างออกไป ประชากรทั้งหลายมีแนวโน้มที่จะถูกดูดซับเข้าไปสู่วัฒนธรรมที่มีอิทธิพลเหนือกว่า หรือได้เรียนรู้คุณลักษณ์ต่างๆ ทางอ้อม

สำหรับบทความชิ้นนี้ จะนำเสนอเรื่องของ ลัทธิจักรพรรดินิยมทางวัฒนธรรมตามหัวข้อดังหัวข้อต่อไปนี้

1. Early history (ประวัติศาสตร์ช่วงต้น)
1.1 English cultural imperialism (ลัทธิจักรพรรดินิยมทางวัฒนธรรมของอังกฤษ)

2. 20th century cultural imperialism (ลัทธิจักรพรรดินิยมในคริสตศตวรรษที่ 20)

3 Theory and Debate (ทฤษฎีและข้อถกเถียง)
3.1 Cultural Diversity (ความหลากหลายทางวัฒนธรรม)
3.2 Cultural Fascism (ฟาสซิสม์ทางวัฒนธรรม - ลัทธิเผด็จการชาตินิยมทางวัฒนธรรม)
3.3 Said and Post-Colonial Studies (ซาอิด และการศึกษาเกี่ยวกับหลังอาณานิคม)

ประวัติศาสตร์ช่วงต้น (Early history)
หนึ่งในตัวอย่างต่างๆ ซึ่งเป็นที่รู้กันเกี่ยวกับลัทธิจักรพรรดินิยมทางวัฒนธรรมก็คือ การสิ้นสูญของวัฒนธรรม Etruscan และภาษา ซึ่งมีมูลเหตุมาจากอิทธิพลของจักรวรรดิโรมัน

วัฒนธรรมกรีกได้สร้างโรงยิมต่างๆ, โรงละคร, และที่อาบน้ำสาธารณะขึ้นในสถานที่ต่างๆ ซึ่งพวกเขาได้รับชัยชนะ (ยกตัวอย่างเช่น จูเดียโบราณ ที่ซึ่งลัทธิจักรพรรดินิยมทางวัฒนธรรมของกรีกได้จุดประกายการปฏิวัติของผู้คนขึ้นมา) โดยยังผลให้ประชากรทั้งหลายตกอยู่ในความหมกมุ่นในวัฒนธรรมดังกล่าว. การแผ่ขยายของ Koine หรือ ภาษากรีก(ธรรมดา) ถือเป็นปัจจัยหลักอีกอย่างหนึ่งของการคร่ำเคร่งอันนี้

ในช่วงขณะที่มีการสำรวจทวีปอเมริกาเพิ่มขึ้น ประชาชาติยุโรปต่างๆ รวมถึงอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เบลเยี่ยม, เนเธอร์แลนด์, สเปน และ โปรตุเกส ทั้งหมดต่างๆแข่งขันกันที่จะอ้างสิทธิ์ในดินแดน โดยความหวังต่างๆเกี่ยวกับการเพิ่มความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของพวกเขาให้มากขึ้น ในอาณานิคมใหม่เหล่านี้ ผู้ประสบชัยชนะชาวยุโรปได้ยัดเยียดภาษาและวัฒนธรรมของพวกเขาลงไปในดินแดนต่างๆ เหล่านั้น

จักรพรรดินิยมทางวัฒนธรรมของอังกฤษ (English cultural imperialism)
กรณีตัวอย่างซึ่งเป็นที่เปิดเผยอันหนึ่งเกี่ยวกับลัทธิจักรพรรดินิยมทางวัฒนธรรมก็คือ the Prayer Book rebellion (การขัดขืนคัมภีร์บทสวด)ในปี ค.ศ.1549 ที่ซึ่งรัฐอังกฤษแสวงหาหนทางที่จะปราบปรามและบดขยี้ภาษาต่างๆ ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษลงด้วยภาษาอังกฤษ Book of Common Prayer (คัมภีร์เกี่ยวกับบทสวด). ในการแทนที่ภาษาลาตินด้วยภาษาอังกฤษ และภายใต้ลักษณาการของการปราบปรามลัทธิคาธอลิค ภาษาอังกฤษได้ถูกยัดเยียดเข้ามาในฐานะที่เป็นภาษาของโบสถ์หรือศาสนจักรอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเจตนาที่จะทำให้มันกลายเป็นภาษาของผู้คนทั้งหลาย

ณ ช่วงเวลาดังกล่าว ในหลายต่อหลายพื้นที่ของ Cornwall (เขตปริมณฑลที่อยู่เชิงเขาทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ) ไม่ได้พูดและเข้าใจภาษาอังกฤษ. ผู้คนจำนวนมากที่พูดภาษา Cornish ต้องถูกฆาตกรรมหมู่โดยทหารของกษัตริย์ เนื่องมาจากการที่พวกเขาต่างประท้วงต่อการยัดเยียดคัมภีร์บทสวดภาษาอังกฤษ(English Prayer book)นั่นเอง. บรรดาผู้นำของพวกเขาถูกประหารชีวิต และผู้คนทั้งหลายต่างประสบกับการโต้ตอบด้วยกำลัง ซึ่งเข้ามาบีบบังคับอย่างนับครั้งไม่ถ้วน

ตลอดคริสตศตวรรษที่ 18 และ 19 อังกฤษที่ตั่งมั่นแล้วและมีอิทธิพลเหนือกว่า ได้ส่งเสริมและสนับสนุนภาษาอังกฤษแก่บรรดาผู้พ่ายแพ้และสูญเสียในหมู่เกาะอังกฤษ (อย่างเช่น ภาษาเวลช์, ภาษาไอริช, และภาษาสก็อตทิช เกลิก [Scottish Gaelic language]) โดยการทำให้ภาษาเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย หรือไม่เช่นนั้นก็ทำให้คนที่พูดภาษาอื่น(ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ)เป็นพวกชายขอบ. ภาษาอื่นๆ จำนวนมาก และเกือบทั้งหมดได้ถูกกวาดทิ้งไปโดยประเด็นนี้ รวมถึงภาษา Cornish และ Manx ด้วย. ภาษาสก็อต เกลิก ได้รับการจำกัดขอบเขตอยู่ที่ Highlands (ที่ราบสูงในสก็อตแลนด์) และเกาะต่างๆของทางตอนเหนือ, นอกจากนี้ คนที่พูดภาษาไอริชจะถูกพบได้ก็เพียงในบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันตกเท่านั้น

ลัทธิจักรพรรดินิยมวัฒนธรรมในคริสตศตวรรษที่ 20 (20th century cultural imperialism)
ลัทธิจักรพรรดินิยมวัฒนธรรมในคริสตศตวรรษที่ 20 เดิมทีได้ถูกนำไปเชื่อมโยงกับสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต และในขอบเขตที่เล็กลงมากว่ากับประเทศอื่นๆ ที่พยายามมีอิทธิพลอย่างเข้มแข็งต่อประเทศเพื่อนบ้านทั้งหลาย. ประเทศต่างๆเป็นจำนวนมากนอกสหรัฐอเมริการู้สึกว่า การส่งออกทางวัฒนธรรมในระดับสูงที่ได้กระทำโดยผ่านกิจกรรมทางธุรกิจ และวัฒนธรรมป๊อปปูล่าร์ - เช่น หนังสือทางวิชาการ และหนังสือแนวป๊อปต่างๆ, รวมถึงภาพยนตร์, ดนตรี, และรายการโทรทัศน์ - สิ่งเหล่านี้ได้คุกคามวิถีชีวิตที่มีลักษณะเฉพาะของพวกเขา หรือคุณค่าทางศีลธรรม ที่ซึ่งการส่งออกทางวัฒนธรรมดังกล่าวเป็นที่นิยม

ในบางประเทศ รวมกระทั่งประเทศฝรั่งเศสมีนโยบายต่างๆ ที่ต่อต้านและคัดค้านการทำให้เป็นอเมริกันอย่างกระตือรือร้น. บรรดาผู้ผลิตวัฒนธรรมอเมริกันบางราย อย่างเช่นหนังสือ Reader's Digest ต่างขานรับ หรือหลีกเลี่ยงการต่อต้านดังกล่าว ด้วยการปรับปรุงเนื้อหาของพวกเขา(หรือผิวหน้าของมัน) ให้เหมาะกับบรรดาผู้อ่านท้องถิ่นต่างๆ

ประเทศจีน ในหลายๆต่อหลายช่วงเวลาตลอดคริสตศตวรรษที่ 20 ได้ดำเนินนโยบายในการควบคุมวัฒนธรรมพื้นถิ่นและศาสนาต่างๆ ของธิเบต และซินเกียง(จังหวัดที่ปกครองตนเองทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีนติดกับมองโกเลียและคาซัคสถาน), และให้การสนับสนุนชาวจีนฮั่นให้อพยพเข้าไปอยู่ดินแดนต่างๆ เหล่านั้น ยกตัวอย่างเช่น โดยผ่านบริษัทต่างๆเกี่ยวกับการก่อสร้างและการผลิตซินเกียง

อันนี้ได้รับการมองอย่างกว้างๆในฐานะที่เป็นลัทธิจักรพรรดินิยมทางวัฒนธรรม โดยการเนรเทศกลุ่มชนที่ไม่เห็นด้วยทั้งหลาย และบรรดาคนที่สนับสนุนพวกที่ไม่เห็นด้วยออกไป. การส่งเสริมที่กระทำทั่วทั้งประเทศเกี่ยวกับภาษาจีนมาตรฐาน ได้จุดประกายการถกเถียงขึ้นมาด้วย ทั้งในจีนแผ่นดินใหญ่และในไต้หวัน เกี่ยวกับว่าการส่งเสริมดังกล่าวได้ประกอบสร้างรูปแบบอันหนึ่งของลัทธิจักรพรรดินิยมวัฒนธรรมขึ้นมา เหนือภาษาถิ่นในดินแดนต่างๆ ใช่หรือไม่

ประเทศแคนาดา ก็กำลังปลุกปล้ำและต่อสู้กับอำนาจอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาที่มีมาโดยตลอด นอกจากข้อเท็จจริงที่ว่า ธุรกิจทั้งหลายของอเมริกันกำลังซื้ออุตสาหกรรมและทรัพยากรต่างๆ ของแคนาเดียนอยู่ในเวลานี้, ประชากรแคนาเดียนถูกนำเสนอผ่านสื่ออเมริกันอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าอันนี้จะสามารถได้รับการสรุปอย่างตรงไปตรงมาว่า เป็นลัทธิจักรพรรดินิยมทางวัฒนธรรมหรือไม่ก็ตาม ซึ่งอันนี้เปิดให้มีการถกเถียงกันได้ ดังที่สื่อแคนาเดียนส่วนใหญ่ ต่างก็ถ่ายทอดเนื้อหาอเมริกันอย่างสมัครใจ ด้วยเหตุผลง่ายๆคือว่า เพราะมันดึงดูดใจผู้ชมชาวแคนาเดียนได้มากกว่านั่นเอง; ดนตรีป๊อปส่วนใหญ่, ภาพยนตร์, และรายการทีวีในประเทศแคนาดาเป็นอเมริกันเสียส่วนมาก. แต่อย่างไรก็ตาม อะไรก็ตามที่เป็นป้ายฉลากอิทธิพลอเมริกัน รัฐบาลแคนาเดียนทั้งหลายต่างลุกขึ้นมาโต้ตอบ ด้วยการปกป้องคุ้มครองวัฒนธรรมของแคนาเดียนเอง

บรรดาตัวแทนอัล-กออิดะต่างกล่าวว่า การโจมตีของพวกเขาต่อผลประโยชน์ทั้งหลายของอเมริกัน ได้รับการกระตุ้นโดยส่วนหนึ่งมาจาก ปฏิกริยาเกี่ยวกับการเข้าใจหรือสำเหนียกถึงลัทธิจักรพรรดินิยมวัฒนธรรมอเมริกัน. ขอบเขตอันนั้นที่ลัทธิจักรพรรดินิยมวัฒนธรรมอเมริกัน คือต้นตอที่สำคัญอันหนึ่งเกี่ยวกับความเป็นปฏิปักษ์ในตะวันออกกลาง และได้ไปพ้องพานกับการนำของสหรัฐฯ ในเรื่อง "สงครามกับการก่อการร้าย" อันเป็นสารัตถะหนึ่งของข้อโต้เถียงที่ยิ่งใหญ่ในทุกวันนี้

ทฤษฎีและข้อถกเถียง (Theory and Debate)
ควรที่จะบันทึกว่า"จักรพรรดินิยมทางวัฒนธรรม" สามารถอ้างอิงถึงอำนาจการดูดซับและการปรับตัวทางวัฒนธรรมของประชากร หรือการยึดครองโดยสมัครใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมต่างชาติโดยปัจเจกบุคคล ซึ่งกระทำเช่นนั้นด้วยตัวของเขาเองโดยเจตจำนงอิสระ อย่างใดอย่างหนึ่ง. นับจากการที่ทั้งสองประการนี้ที่ค่อนข้างแตกต่างกันมาก ดังนั้นความถูกต้อง ความมีเหตุมีผลของรูปศัพท์คำนี้จึงได้ถูกทักท้วง. ศัพท์คำว่าจักรพรรดินิยมทางวัฒนธรรมจึงได้รับการทำความเข้าใจแตกต่างกันในเชิงวาทกรรม หรือคำอธิบายที่แสดงออกโดยเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น คำว่า "จักรพรรดินิยมทางด้านสื่อ"(media imperialism) หรืออย่างคำว่า "วาทกรรมเกี่ยวกับความเป็นชาติ" (discourse of nationality) (Tomlinson, 1991)

อิทธิพลทางวัฒนธรรม สามารถได้รับการมองโดยการรับเอาวัฒนธรรมมาในฐานะที่เป็นการคุกคาม หรือความรุ่มรวยที่เข้ามาเสริมเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้. ด้วยเหตุดังนั้น จึงดูเหมือนว่าจะเป็นประโยชน์ ที่จะต้องจำแนกความแตกต่างระหว่าง จักรพรรดินิยมทางวัฒนธรรมในฐานะ(ฝ่ายลุกหรือฝ่ายรับ - active or passive) ที่เป็นท่าทีหรือทัศนคติอันหนึ่งของความเหนือกว่า กับ ฐานะตำแหน่งของวัฒนธรรมหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งซึ่งแสวงหาการเติมเต็มผลิตผลทางวัฒนธรรมของตัวมันเอง โดยคำนึงถึงความขาดพร่องไปบางส่วน ด้วยการนำเอาผลิตผลหรือคุณค่าต่างๆ เข้ามาเสริม

ผลผลิตต่างๆ ที่ได้รับการนำเข้าหรือบริการต่างๆ สามารถแทนตัวของพวกมันเอง หรือได้รับการเชื่อมโยงกับคุณค่าต่างๆ บางประการ (อย่างเช่น ลัทธิบริโภคนิยม). แต่การรับวัฒนธรรม ไม่จำเป็นจะต้องสำเหนียกหรือรับรู้ถึงความเชื่อมโยงกันอันนี้ เพราะมันเป็นการดูดซับวัฒนธรรมจากต่างประเทศอย่างยอมจำนนโดยผ่าน การใช้สินค้าและบริการจากต่างประเทศ. เนื่องจากการที่มันค่อนข้างเป็นไปในลักษณะปิดบังซ่อนเร้น แต่มีธรรมชาติที่ทรงพลังอำนาจมาก ปรากฏการณ์อันนี้จึงได้รับการอธิบายโดยผู้เชี่ยวชาญบางคนในฐานะที่เป็น ลัทธิจักรพรรดินิยมอันเก่าแก่ซ้ำซาก(banal imperialism)

เศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ใหม่ เมื่อไม่นานมานี้ในช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ 20 และช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 21 ได้อำนวยความสะดวกให้กับกระบวนการดังกล่าว โดยผ่านการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆ(new information technology) แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงมีการถกเถียงกันอยู่ว่า กระบวนการดังกล่าวเป็นบางสิ่งที่ใหม่ทั้งหมด หรือเป็นเพียงความต่อเนื่องอันหนึ่งของลัทธิจักรพรรดินิยมที่เป็นมาทั้งหมด. ลัทธิจักรพรรดินิยมประเภทนี้ได้รับการสืบทอดมาจากสิ่งที่ถูกเรียกว่า"อำนาจละมุน"(soft power) ซึ่งฟังดูค่อนข้างเป็นไปในเชิงบวกมากกว่า

ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Cultural Diversity)
หนึ่งในเหตุผลต่างๆ ที่ให้ไว้กับการต่อต้านหรือคัดค้านรูปแบบใดๆ ก็ตามเกี่ยวกับ "จักรพรรดินิยมทางวัฒนธรรม" เสมอๆ ไม่ว่าจะโดยการรับมาด้วยความสมัครใจหรือในทางตรงข้าม ก็คือการคุ้มครองรักษาเกี่ยวกับ"ความหลากหลายทางวัฒนธรรม" อันนี้เป็นเป้าหมายอันหนึ่งที่ได้รับการมองว่าคล้ายคลึงกันกับการปกป้องคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพและนิเวศวิทยา ผู้ที่ให้การสนับสนุนความคิดนี้ ได้ให้เหตุผลว่า ความหลากหลายดังกล่าวเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในตัวของมันเอง หรือการที่มันมีคุณประโยชน์ก็เพราะว่า มันทำให้มีหนทางมากมายเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาต่างๆ และขานรับต่อหายนะภัยใดๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะเนื่องมาจากมูลเหตุทางธรรมชาติหรืออื่นๆ

ส่วนผู้ที่มีความคิดเห็นไปในทางตรงข้ามทั้งหลายกลับปฏิเสธความมีเหตุมีผลดังกล่าว เกี่ยวกับความคล้ายคลึงกับความหลากหลายทางชีวภาพ และ/หรือ ความสมเหตุสมผลของข้อถกเถียงสำหรับการสำเหนียกรับรู้ถึงความหลากหลายทางชีวภาพในตัวมันเอง

ฟาสซิสท์ทางวัฒนธรรม (Cultural Fascism)
บางคนอ้างว่า ความพยายามในการปกป้องคุ้มครองความบริสุทธิ์ของวัฒนธรรม ต่อการบุกรุกโดยไม่มีการบีบบังคับ(noncoercive incursion)ในตัวของมันเอง เป็นการยัดเยียดหรือบีบบังคับที่เลวร้ายกว่าอันหนึ่ง. บรรดาผู้ที่ให้การสนับสนุนทัศนะอันนี้ได้ให้เหตุผลว่า ไม่เพียงประชาชนควรมีสิทธิ์ที่จะเลือกว่า สื่อและผลผลิตต่างๆ อันใดที่พวกเขาควรบริโภค รวมถึงวัฒนธรรมภายนอกต่างๆเหล่านั้น แต่ยังรู้สึกว่านี่เป็นส่วนหนึ่งของลัทธิชาตินิยมอย่างหนึ่งด้วย ซึ่งน้อมนำไปสู่ทิศทางที่เป็นอันตรายยิ่ง

ลัทธิจักรพรรดินิยมทางวัฒนธรรมไม่เพียงเป็นชื่อที่ถูกนำมาใช้ผิดๆ และเป็นแนวคิดที่ใช้ไม่ได้ รวมทั้งไม่มีเหตุผลในเชิงสติปัญญาเท่านั้น แต่โดยธรรมชาติแล้วความคิดฟาสซิสท์ทางวัฒนธรรม หรือเผด็จการชาตินิยมทางวัฒนธรรม ยังเป็นการตำหนิประณามหรือโต้ตอบกับลัทธิสากลนิยม(cosmopolitanism-ความคิดที่ไม่สังกัดชาติและภาษา) และในท้ายที่สุด จะกลายเป็นพวกเชื้อชาตินิยม(racist)ไป. อันนี้เป็นส่วนหนึ่งของโลกทัศน์ที่ใหญ่กว่าอันหนึ่ง ซึ่งได้ถูกรับรู้ในฐานะที่เป็น ทฤษฎีการไหลเวียนทางการเมือง(Circular Political Theory) (ยิ่งกว่าที่จะมุ่งไปทางซ้ายสุดขั้ว, หรือดำเนินไปขวาสุดขีด) ซึ่งอธิบายถึงสิ่งที่เรียกว่า ขบวนการ"ต่อต้านจักรพรรดินิม"(anti-imperialist) และ "ลัทธิซ้ายใหม่"(new leftism) ในฐานะที่เป็นเพียงเหล้าเก่าในขวดใหม่อันตื้นเขินของลัทธิฟาสซิสท์คลาสสิกเท่านั้น

ส่วนผู้ที่มีความคิดไปในทางตรงข้ามตอบโต้ว่า มันเป็นเรื่องเล็กน้อยที่น่ารำคาญในความคิดเกี่ยวกับลัทธิฟาสซิสท์ และลัทธิชาตินิยมหรือความภาคภูมิในวัฒนธรรมอันนั้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องอันตรายร้ายแรงใดๆ เลย. บางคนเพิ่มเติมว่า รากเหง้าเกี่ยวกับความผิดพลาดคือคุณลักษณ์ผิดๆ ของเปลือกนอกลัทธิฟาสซิสท์ ซึ่งเมินเฉยหรือไม่ให้ความสนใจต่อความสำคัญเกี่ยวกับพื้นฐานทางสังคมของมัน คล้ายคลึงกับวาทศิลป์ในปากของคนที่มีอำนาจและคนที่ไร้อำนาจที่มีความหมายต่างกัน

อีกด้านหนึ่งนั้น เราสามารถที่จะโต้แย้งได้ว่า ความคิดที่แท้จริงของลัทธิจักรพรรดินิยมทางวัฒนธรรม ตัวมันเองไม่ได้มีความสลักสำคัญใดๆ เกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมเลย ดังที่ได้รับการเผยออกมาโดยการเปรียบเทียบเกี่ยวกับ ความทารุณโหดร้ายของญี่ปุ่นในประเทศจีนช่วงปลายทศวรรษที่ 1930s กับอิทธิพลของดนตรีแจ๊สและภาพยนตร์อเมริกันในปารีส ระหว่างยุคสมัยเดียวกัน

ซาอิด และการศึกษาเกี่ยวกับหลังอาณานิคม (Said and Post-Colonial Studies)
นักเขียน Edward Said หนึ่งในผู้ก่อตั้งความรู้เกี่ยวกับ"การศึกษาหลังอาณานิคม"(Post-colonial study) ได้เขียนเรื่องราวในหัวข้อเกี่ยวกับลัทธิจักรพรรดินิยมวัฒนธรรมเอาไว้อย่างกว้างขวาง และผลงานของเขาได้รับการพิจารณาโดยผู้คนจำนวนมากว่า เป็นศิลาฤกษ์หรือเสาหลักที่สำคัญในพื้นที่การศึกษานี้. ผลงานของเขาพยายามที่จะเน้นความสำคัญถึงความไม่ถูกต้องต่างๆ เกี่ยวกับสมมุติฐานเป็นจำนวนมากในเรื่องวัฒนธรรมและสังคม และได้ถูกให้ข้อมูลอย่างมากจากแนวคิดของ Michel Foucault เกี่ยวกับวาทกรรมและอำนาจ

ขอบเขตวิชาการใหม่ที่สัมพันธ์กันเกี่ยวกับทฤษฎีหลังอาณานิคม เป็นแหล่งต้นตอสำหรับผลงานที่ลึกซึ้งส่วนใหญ่ในความคิดเกี่ยวกับวาทกรรม และกลไกที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทหารของลัทธิจักรพรรดินิยม และความสมเหตุสมผลของมันก็ได้รับการโต้แย้งจากผู้คนเหล่านั้น ที่ปฏิเสธรูปแบบต่างๆ เหล่านี้ว่าเป็นเรื่องของ จักรพรรดินิยมอย่างแท้จริง

สำหรับผู้สนใจควรอ่านเรื่องดังต่อไปนี้ประกอบ

Cultural superiority
Transculturation
Media and ethnicity


บทความเรื่องเดียวกันในภาษาอังกฤษ นำมาจากสารานุกรมวิกกีพีเดีย
Cultural imperialism
From Wikipedia, the free encyclopedia

Cultural imperialism is the practice of promoting the culture or language of one nation in another. It is usually the case that the former is a large, economically or militarily powerful nation and the latter is a smaller, less affluent one. Cultural imperialism can take the form of an active, formal policy or a general attitude.

Empires throughout history have been established using war and physical compulsion (military imperialism). In the long term, populations have tended to be absorbed into the dominant culture, or acquire its attributes indirectly.

Contents

1 Early history
1.1 English cultural imperialism

2 20th century cultural imperialism

3 Theory and Debate
3.1 Cultural Diversity
3.2 Cultural Fascism
3.3 Said and Post-Colonial Studies


Early history
One of the first known examples of cultural imperialism was extinction of the Etruscan culture and language caused by the influence of the Roman Empire.

The Greek culture built gyms, theatres and public baths in places that its adherents conquered (such as ancient Judea, where Greek cultural imperialism sparked a popular revolt), with the effect that the populations became immersed in that culture. The spread of the koine (common) Greek language was another large factor in this immersion.

As exploration of the Americas increased, European nations including England, France, Belgium, the Netherlands, Spain and Portugal all raced to claim territory in hopes of generating increased economic wealth for themselves. In these new colonies, the European conquerors imposed their language and culture.

English cultural imperialism
A revealing instance of cultural imperialism is the Prayer Book rebellion of 1549, where the English state sought to suppress non-English languages with the English language Book of Common Prayer. In replacing Latin with English, and under the guise of suppressing Catholicism, English was effectively imposed as the language of the Church, with the intent of it becoming the language of the people. At the time people in many areas of Cornwall did not speak or understand English. Many speakers of the Cornish language were massacred by the King's army protesting against the imposition of an English Prayer book. Their leaders were executed and the people suffered numerous reprisals.

Throughout the 18th and 19th century the dominant British establishment promoted the English languages to the detriment of others within the British Isles (such as the Welsh language, Irish language and Scottish Gaelic language) by outlawing them or otherwise marginalising their speakers. Many other languages had almost or totally been wiped out by this point including Cornish and Manx. Scots Gaelic was confined to the Highlands and Islands of the north, and Irish speakers were only to be found on the western seaboard.

20th century cultural imperialism
Cultural imperialism in the twentieth century was primarily connected with the United States and with the Soviet Union, and to a lesser extent with other countries that exert strong influence on neighboring nations. Most countries outside the US feel that the high degree of cultural export through business and popular culture--popular and academic books, films, music, and television--threatens their unique ways of life or moral values where such cultural exports are popular. Some countries, including France, have policies that actively oppose Americanisation. Some American cultural producers such as Reader's Digest have responded to or altogether avoided such resistance by adapting their content (or the surface of it) to local audiences.

China has, in various periods over the 20th century, pursued repressive policies towards the indigenous cultures and religions of Tibet and Xinjiang, and has encouraged Han Chinese immigration into those regions, for example, through the Xinjiang Production and Construction Corps. This has been widely viewed as cultural imperialism by exile and dissident groups abroad and their supporters. The nationwide promotion of a standardized Chinese language has also sparked debate, both in Mainland China and Taiwan, about whether this constitutes a form of cultural imperialism over regional dialects.

Canada is also grappling with the ever-potent influence of the United States. Aside from the fact that American businesses are purchasing Canadian industries and resources, the Canadian population is continuously exposed to the American media. Whether this can be fairly termed "cultural imperialism" or not is open to debate, as most Canadian media outlets broadcast American content voluntarily simply because it attracts higher viewership from Canadian audiences; the most popular music, movies, and television programs in Canada are frequently American. Whatever the label for US influence, various Canadian governments have practiced Canadian cultural protectionism in response.

Representatives of al-Qaida have stated that their attacks on US interests have been motivated in part by a reaction to perceived US cultural imperialism. The extent to which American cultural imperialism is an important source of hostility in the Middle East, and the corresponding implications for the American-led "War on Terror" is a matter of great controversy.

Theory and Debate
It should be noted that 'cultural imperialism' can refer to either the forced acculturation of a subject population, or to the voluntary embracing of a foreign culture by individuals who do so of their own free will. Since these are two very different referents, the validity of the term has been called into question. The term cultural imperialism is understood differently in particular discourses. E.g. as "media imperialism" or as "discourse of nationality" (Tomlinson, 1991).

Cultural influence can be seen by the "receiving" culture as either a threat to or an enrichment of its cultural identity. It seems therefore useful to distinguish between cultural imperialism as an (active or passive) attitude of superiority, and the position of a culture or group that seeks to complement its own cultural production, considered partly deficient, with imported products or values.

The imported products or services can themselves represent, or be associated with, certain values (such as consumerism). The "receiving" culture does not necessarily perceive this link, but instead absorbs the foreign culture passively through the use of the foreign goods and services. Due to its somewhat concealed, but very potent nature, this phenomenon is described by some experts as "banal imperialism." The newly globalized economy of the late 20th and early 21st century has facilitated this process through the use of new information technology. However, it is still argued whether this process is something entirely new or just a continuation of imperialism as a whole. This kind of imperialism is derived from what is called, more positively, "soft power."

Cultural Diversity
One of the reasons often given for opposing any form of 'cultural imperialism,' voluntary or otherwise, is the preservation of cultural diversity, a goal seen as analogous to the preservation of ecological diversity. Proponents of this idea argue either that such diversity is valuable in itself, or instrumentally valuable because it makes available more ways of solving problems and responding to catastrophes, natural or otherwise.

Opponents of this idea deny the validity of the analogy to biodiversity, and/or the validity of the arguments for preserving biodiversity itself.

Cultural Fascism
Some claim that the attempt to preserve the purity of a culture against noncoercive incursions is itself a far worse imposition. Proponents of this view argue that not only ought people to have the right to choose what media and other products they consume, including those of external cultures, but also that this is part of a kind of nationalism that leads in a dangerous direction. Not only is "Cultural Imperialism" a misnomer and an intellectually invalid concept, but is by nature a culturally fascist accusation or retort against cosmopolitanism, and, ultimately, racist. This is part of a larger world view known as Circular Political Theory (the farther you go to the extreme left, the closer you come to the extreme right, and vice versa), which interprets so-called "anti-imperialist" movements and the "new leftism" as merely superficial reworkings of classic fascism.

Opponents of this idea respond that it trivializes the idea of fascism, and that nationalism or cultural pride as such is not intrinsically dangerous. Some add that the root of its mistake is to mischaracterize fascism by its surface traits, ignoring the importance of its social base; similar rhetoric in the mouths of the powerful and the powerless has a different meaning. On the other hand, one could retort that the very idea of cultural imperialism itself trivializes imperialism, as revealed by a comparison of Japanese atrocities in China in the late 1930s to the influence of American jazz and film in Paris during that same period.

Said and Post-Colonial Studies
The writer Edward Said, one of the founders of the field of post-colonial study, wrote extensively on the subject of cultural imperialism, and his work is considered by many to form an important cornerstone in this area of study. His work attempts to highlight the inaccuracies of many assumptions about cultures and societies and is largely informed by Michel Foucault's concepts of discourse and power. The relatively new academic field of post-colonial theory has been the source for most of the in-depth work on the idea of discursive and other non-military mechanisms of imperialism, and its validity is disputed by those who deny that these forms are genuinely imperialistic.

See also

Cultural superiority
Transculturation
Media and ethnicity


 




บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 850 เรื่อง หนากว่า 12000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

 

H
ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่ฟรี
ภาพประกอบดัดแปลงเพื่อใช้ประโยชน์ประกอบบทความฟรีของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการนำไปใช้ประโยชน์
R
related topic
200349
release date
เว็บไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลด text size ของ font ลง
ขนาด medium จะแก้ปัญหาได้
เว็บไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานไปที่ midarticle(at)yahoo.com
The author of this work hereby waives all claim of copyright (economic and moral) in this work
and immediately places it in the public domain... [copyleft]
กรุณานำบทความไปใช้ต่อโดยอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนร่วมกับมูลนิธิไฮน์ริคเบิลล์ เปิดชั้นเรียนฟรีสำหรับ น.ศ. และผู้สนใจ เพื่อศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีมลายูมุสลิมอย่างรอบด้าน
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน จะได้รับการเก็บรักษาเอาไว้อย่างถาวร โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิง ความผิดพลาดใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นจากการเผยแพร่ อาจเป็นของผู้เขียนหรือกองบรรณาธิการ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้โดยไม่เจตนา
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน มีการเสนอบทความใหม่ทุกวัน เพื่อสนองความต้องการของนักศึกษา และผู้สนใจที่คลิกเข้ามาหาความรู้เป็นประจำ

เศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ใหม่ เมื่อไม่นานมานี้ในช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ 20 และช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 21 ได้อำนวยความสะดวกให้กับกระบวนการดังกล่าว โดยผ่านการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆ(new information technology) แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงมีการถกเถียงกันอยู่ว่า กระบวนการดังกล่าวเป็นบางสิ่งที่ใหม่ทั้งหมด หรือเป็นเพียงความต่อเนื่องอันหนึ่งของลัทธิจักรพรรดินิยมที่เป็นมาทั้งหมด. ลัทธิจักรพรรดินิยมประเภทนี้ได้รับการสืบทอดมาจากสิ่งที่ถูกเรียกว่า"อำนาจละมุน"(soft power) ซึ่งฟังดูค่อนข้างเป็นไปในเชิงบวกมากกว่า