นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจทุกท่าน หากประสงค์จะตรวจดูบทความอื่นๆที่เผยแพร่บนเว็ปไซค์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ท่านสามารถคลิกไปดูได้จากตรงนี้ ไปหน้าสารบัญ
ผลงานวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็ปไซต์ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘ : ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
เว็ปไซต์นี้สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ
สำหรับผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน กรุณาส่งผลงานของท่านมายัง midarticle(at)yahoo.com หรือ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
The author of this work hereby waives all claim of copyright (economic and moral) in this work and immediately places it in the public domain... [copyleft] กรุณานำบทความไปใช้ต่อโดยอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร

The Midnight University

โครงการสัมมนาวิชาการ
ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ : มุมมองวิชาการ
สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ
คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ

กำหนดการสัมมนาวิชาการ
เรื่อง ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ : จากมุมองทางวิชาการด้านไทยศึกษา
วันที่ 16 - 17 พฤศจิกายน 2548
ณ หอประชุมศรีบูรพา(หอประชุมเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
จัดโดย สถาบันไทยคดีศึกษา ร่วมกับ คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ

(บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา)
บทความฟรี มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 734
เผยแพร่บนเว็ปไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๘

(บทความทั้งหมดยาวประมาณ 7 หน้ากระดาษ A4)



ชื่อโครงการ
โครงการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ : จากมุมมองทางวิชาการด้านไทยศึกษา

ผู้รับผิดชอบ
สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ

หลักการและเหตุผล
การประชุมนานาชาติด้านไทยศึกษา (The International Conference on Thai Studies) เป็นการจัดประชุมในระดับนานาชาติในแวดวงวิชาการด้านไทยศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่ประชุมของการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการอันเกิดขึ้นจากการค้นคว้าวิจัยใหม่ๆ ด้านไทยศึกษา ทั้งนี้ โดยมีกระบวนการในการคัดสรรและเชื้อเชิญให้ทั้งนักวิชาการที่มีชื่อเสียง มีผลงานเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการแล้ว และนักวิชาการรุ่นใหม่ให้เข้ามาร่วมในการเสนอผลงาน การประชุมดังกล่าวถือเป็นการประชุมประเพณีที่มีอายุยืนยาว และมีชื่อเสียงจนเป็นที่ยอมรับนับถือในระดับนานาชาติ

โดยธรรมเนียมปฏิบัติการจัดประชุมนานาชาติด้านไทยศึกษา มีการหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพสลับกันระหว่างนานาชาติกับประเทศไทยในฐานะที่เป็นเจ้าของที่พื้นที่ศึกษา (area studies) มีกำหนด 3 ปี ต่อ 1 ครั้ง สำหรับการประชุมครั้งที่เพิ่งผ่านมา คือ การประชุมนานาชาติด้านไทยศึกษา ครั้งที่ 9 (2548) ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคือ Northern Illinois University ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนการจัดประชุม ครั้งที่ 10 อันเป็นวาระของประเทศไทย นั้น สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับเลือกให้เป็นผู้ดำเนินการประชุมในปี พ.ศ.2551 โดยสถาบันไทยคดีศึกษาได้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพต่อคณะกรรมการจัดประชุมนานาชาติ ครั้งที่ 9 และได้รับเลือกอย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับการประชุมครั้งใหม่ในปี พ.ศ. 2551

ในการจัดประชุมด้านไทยศึกษา ครั้งที่ 9 ที่ DeKalb, Illinois ประเทศสหรัฐอเมริกา (เมื่อวันที่ 3 - 6 เมษายน 2548) ในขั้นตอนของการดำเนินงานคณะผู้จัดได้เปิดรับข้อเสนอการศึกษาวิจัยทางด้านไทยศึกษาอย่างกว้างขวาง มีการกำหนดกลุ่มเรื่อง (Theme) จำนวนถึง 18 กลุ่ม ทว่ากลุ่มเรื่องที่คณะผู้จัดได้ยกระดับความสำคัญสูงสุดที่ต้องการให้นักวิชาการเสนอผลงานศึกษาต่อที่ประชุมกว้างขวางมากที่สุดมีเพียง 2 เรื่อง เรื่องหนึ่งคือ "ภาคใต้ของประเทศไทย ---มุสลิมในประเทศไทย" (ส่วนอีกเรื่องคือ เรื่องของรัฐบาลทักษิณ) เหตุผลที่คณะกรรมการให้ความสำคัญกับกลุ่มเรื่องนี้เป็นพิเศษก็คือ เนื่องจากเป็นประเด็นที่มีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมากกว่า 100 ปี คือ เรื่องของ "การแบ่งแยกดินแดน" V.S "ความมั่นคง" และสิ่งที่นานาชาติให้ความสนใจในสถานการณ์ปัจจุบัน ก็คือ เรื่องของ "ขบวนการก่อการร้าย" (terrorism) ที่มีแนวโน้มสูงจนทำให้มองได้ว่าภาคใต้เป็นดินแดนที่มีวิกฤตทางด้านการเมือง

ในการจัดเตรียมการประชุมคณะผู้จัดได้เชิญชวนให้มีการนำเสนอบทความที่เกี่ยวกับวิกฤตที่เกิดขึ้นในภาคใต้ อาทิ เรื่องความสัมพันธ์ของภาคใต้กับรัฐบาลกลางทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เรื่องความมั่นคง วัฒนธรรม การเมือง ความแตกแยกทางศาสนา องค์กรอิสลามนานาชาติในประเทศไทย ขณะเดียวกันก็สนับสนุนข้อเสนอในเรื่องภาคใต้ ---มุสลิมในแง่มุมที่กว้างขวางออกไป เช่น เรื่องของชุมชนมุสลิมในประเทศไทย การศึกษาของมุสลิม การปรับตัวทางสังคมของมุสลิมเพื่อให้เป็นไทย การศึกษาด้านชาติพันธุ์ และประวัติศาสตร์ของภาคใต้ ชายแดนและการข้ามแดนในภาคใต้ ปัตตานีในฐานะรัฐริมทะเล การแลกเปลี่ยนพุทธศาสนาระหว่างไทยกับศรีลังกา และเรื่องของภาษาท้องถิ่น ผลจากการที่คณะผู้จัดการประชุมได้ยกระดับความสำคัญของกลุ่มเรื่อง "ภาคใต้ของประเทศไทย ---มุสลิมในประเทศไทย" ทำให้นักวิชาการทั้งจากประเทศไทยและต่างประเทศเสนอบทความทางวิชาการจำนวนมากที่เกี่ยวเนื่องเข้าร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็น "ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้"

สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติได้เล็งเห็นถึงคุณค่าของผลงานดังกล่าวข้างต้น ในฐานะที่เป็นผลงานที่มีฐานทางวิชาการจากการค้นคว้าวิจัยในหลากหลายสาขาวิชา อยู่ในมาตรฐานทางวิชาการระดับนานาชาติ และประเด็นของการศึกษาก็มีความเชื่อมโยงหรือมีนัยสำคัญต่อความเข้าใจปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะได้มีการจัดสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ : จากมุมมองทางวิชาการด้านไทยศึกษาขึ้น ทั้งนี้โดยให้เป็นการจัดสัมมนาในสถาบันอุดมศึกษาใน 4 ภูมิภาค ดังนี้

ภาคกลาง - จัดการสัมมนาทางวิชาการที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภาคเหนือ - จัดการสัมมนาทางวิชาการที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภาคอีสาน - จัดการสัมมนาทางวิชาการที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ภาคใต้ - จัดการสัมมนาทางวิชาการที่ มหาวิทยาลัยทักษิณ

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่ผลงานที่เป็นผลผลิตจากการศึกษาวิจัยทางด้านไทยศึกษา ในวงวิชาการและสาธารณะ เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีพื้นฐานความเข้าใจในแง่มุมประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจ

2. กระตุ้นวงการศึกษาของไทยให้เกิดการนำองค์ความรู้ใหม่มาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและการค้นคว้าวิจัย รวมถึงให้ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม

3. เพื่อผลักดันให้สังคมไทยให้ความสนใจต่อประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมีมุมมองที่กว้างขวางและหลากหลายยิ่งขึ้น

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เสริมสร้างให้เกิดการนำองค์ความรู้ในทางวิชาการมาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภายใต้อย่างมีบูรณาการ
2. ทำให้สาธารณะชนสามารถทำความเข้าใจกับปัญหาและก่อให้เกิดทางเลือกใหม่ๆ แก่สังคมไทยอย่างมีเหตุผล
3. เป็นการเพิ่มพูนองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการศึกษาวิจัย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาวิจัยด้านไทยศึกษาในอนาคต

วิธีการดำเนินงาน
1. เป็นการสัมมนาทางวิชาการ ที่มีการเสนอบทความสัมมนาในรูปของ panel discussion โดยมีผู้นำการสัมมนาที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ
2. บทความจะประกอบด้วยบทความทั้งที่เป็นของนักวิชาการไทยและนักวิชาการต่างประเทศ
3. บทความที่อยู่ในภาคภาษาอังกฤษ จะได้รับการแปล/แปลเก็บความเป็นภาษาไทย เพื่อสะดวกแก่ผู้ฟังซึ่งเป็นคนไทย รวมถึงเพื่อใช้เป็นเอกสารเผยแพร่และอ้างอิงทางวิชาการได้

วัน เวลา และสถานที่
ภาคกลาง ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร (วันที่ 16 - 17 พฤศจิกายน 2548)
ภาคเหนือ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ (สัมมนา 1 วัน ระหว่างเดือน ธันวาคม 2548 - มกราคม 2549)
ภาคอีสาน ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม (สัมมนา 1 วัน ระหว่างเดือน ธันวาคม 2548 - มกราคม 2549)
ภาคใต้ ที่มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา (สัมมนา 1 วัน ระหว่างเดือน ธันวาคม 2548 - มกราคม 2549)

จำนวนผู้เข้าร่วม
150 คน ประกอบด้วย อาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษา นักเรียน และประชาชนทั่วไป

ผู้รับผิดชอบดำเนินการ
ผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ร่วมกับ คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ

 

กำหนดการสัมมนาวิชาการ
เรื่อง ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ : จากมุมองทางวิชาการด้านไทยศึกษา
วันที่ 16 - 17 พฤศจิกายน 2548
ณ หอประชุมศรีบูรพา(หอประชุมเล็ก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
จัดโดย สถาบันไทยคดีศึกษา ร่วมกับ คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2548
ภาคเช้า
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน

09.00 - 09.15 น. กล่าวรายงาน โดย ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
09.15 - 09.30 น. กล่าวเปิดงาน โดย ฯพณฯ จาตุรนต์ ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

09.30 - 10.30 น. ปาฐกถานำ "ความเงียบของอนุสาวรีย์ลูกปืน: ความรุนแรงกับการ จัดการ 'ความจริง'
- จาก ดุซงญอ 2491 ถึง 'กรือเซ' 2547" ของ รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์
นำเสนอและตั้งข้อสังเกตโดย อาจารย์ ดร.เดชา ตั้งสีฟ้า คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

10.30 - 11.00 น. พัก - รับประทานอาหารว่าง

11.00 - 11.30 น. เสนอบทความเรื่อง "จุดอ่อนรัฐบาลทักษิณ : ทำไมปัญหาภาคใต้ถึงแก้ไม่ถูกทาง ?"
โดย นายอุกฤษฎ์ ปัทมานันท์ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

11.30 - 12.00 น. อภิปราย - ซักถาม
ผู้นำการสัมมนาและแสดงความคิดเห็น : รองศาสตราจารย์สุริชัย หวันแก้ว คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

12.00 - 13.30 น. พัก - รับประทานอาหารกลางวันตามอัธยาศัย

ภาคบ่าย
13.30 - 14.00 น. เสนอบทความเรื่อง "วัฒนธรรมการเมืองและความรุนแรงในภาคใต้ประเทศไทย"
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุกัณศีล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

14.00 - 14.30 น. เสนอบทความเรื่อง "วังวนแห่งความขัดแย้งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ : เรื่อง ของแนวความคิดหรือโครงสร้าง ?"
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี และอาจารย์ปัญญาศักดิ์ โสภณวสุ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

14.30 - 15.00 น. อภิปราย - ซักถาม
ผู้นำการสัมมนาและแสดงความคิดเห็น : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

15.00 - 15.30 น. สรุปการสัมมนาวันแรก

15.30 - 16.00 น. รับประทานอาหารว่าง
พิธีกรประจำวัน นางสาวสุนทรี อาสะไวย์ สถาบันไทยคดีศึกษา

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2548
ภาคเช้า
09.30 - 10.00 น. เสนอบทความเรื่อง "ความยากจนของชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ของประเทศไทย : กรณีศึกษาจังหวัดปัตตานี ?"
โดย รองศาสตราจารย์ศิริรัตน์ ธานีรนานนท์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

10.00 - 10.20 น. พัก - รับประทานอาหารว่าง

10.20 - 10.50 น. เสนอบทความเรื่อง "ความรุนแรงในภาคใต้มุมมองจากเยาวชน"
โดย อาจารย์อลิสา หะสะเมาะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

10.50 - 12.00 น. อภิปราย - ซักถาม
ผู้นำการสัมมนาและแสดงความคิดเห็น : คุณพิภพ ธงไชย คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ

12.00 - 13.30 น. พัก - รับประทานอาหารกลางวันตามอัธยาศัย

ภาคบ่าย
13.30 - 14.00 น. เสนอบทความเรื่อง "กำเนิดและความเป็นมาของ 'ลัทธิแบ่งแยกดินแดน' ของ มลายูมุสลิมในภาคใต้ของไทย"
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

14.00 - 14.30 น. เสนอบทความเรื่อง "อะไรคือยาวี ? ความหมาย ประวัติศาสตร์ ขอบข่าย และ อนาคต"
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิทย์ บารู คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

14.30 - 15.00 น. อภิปราย - ซักถาม
ผู้นำการสัมมนาและแสดงความเห็น : รองศาตราจารย์ ดร.โคทม อารียา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

15.00 - 15.30 น. สรุป - ปิดการสัมมนา

15.30 - 16.00 น. รับประทานอาหารว่าง

พิธีกรประจำวัน นางสาวอัจฉราพร กมุทพิสมัย สถาบันไทยคดีศึกษา


 

 




บทความที่นำเสนอก่อนหน้านี้ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
หากนักศึกษาและสมาชิกท่านใตสนใจ
สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่...คลิกที่ภาพ

 

สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)yahoo.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็ปไซคทั้งหมด กว่า 700 เรื่อง หนากว่า 10000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

 

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็ปไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

 

H
ภาพประกอบดัดแปลงเพื่อใช้ประกอบบทความฟรีสำหรับนักศึกษา จัดทำโดยมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เพื่อให้ทุกคนที่สนใจศึกษาสามารถ เข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมใดๆทั้งสิ้น
ขอขอบคุณ www.thaiis.com ที่ให้ใช้พื้นที่ฟรี

Free Documentation License
Copyleft : 2005, 2006, 2007
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies
of this license document, but changing it is not allowed.

ลิขซ้าย 2548, 2549, 2550 : สมเกียรติ ตั้งนโม
ผู้ที่นำข้อมูลวิชาการฟรีของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ เผยแพร่ หรืออ้างอิง โดยต้องไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ได้รับความยินยอมจากผู้เรียบเรียง สำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ตามที่ระบุไว้ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร โดยกรุณาระบุถึงเว็ปไซต์ และ URL มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน www.midnightuniv.org

 

R
related topic
101148
release date
คลิกไปหน้าสารบัญ(1)
คลิกไปหน้าสารบัญ
(2)
คลิกไปหน้าสารบัญ(3)
คลิกไปหน้าสารบัญ(4)
เพื่อดูบทความใหม่สุด
เว็ปไซต์เผยแพร่ความรู้
เพื่อสาธารณประโยชน์

หากนักศึกษาหรือสมาชิก ประสบปัญหาภาพและตัวหนังสือซ้อนกัน กรุณาลด text size ของ font ลง
จะช่วยแก้ปัญหาได้

อุดมศึกษาบนเว็ปไซต์ เพียงคลิกก็พลิกผันความรู้ ทำให้เข้าใจและเรียนรู้โลกมากขึ้น
สนใจค้นหาความรู้ในสารานุกรมมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน คลิกที่แบนเนอร์สีน้ำเงิน
สนใจเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน คลิกที่แบนเนอร์สีแดง